View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
Posted: 03/07/2019 1:22 am Post subject: |
|
|
คนดอนเมืองเฮ! กลางปีหน้า ทอท. เปิดสกายวอล์กติดแอร์ ข้ามถนนวิภาฯเชื่อมเข้าอาคาร 2 ดอนเมือง
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 - 22:13 น.
นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทอท. เตรียมที่จะก่อสร้าง ทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) เชื่อมต่อจากสกายวอล์กของโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต บริเวณสถานีดอนเมือง เข้ามายังอาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น ซึ่งอยู่ติดกับอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 (Terminal 2) หรืออาคารผู้ภายในประเทศ (Domestic) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารและประชาชนทั่วไป
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงจะก่อสร้างสกายวอล์กจากสถานีดอนเมือง ข้ามถนนวิภาวดีรังสิตเข้ามาภายในรั้วของสนามบินดอนเมือง ระยะทางประมาณ 200 เมตร โดยสกายวอล์กส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ภายในมีการติดตั้งทางเดินแบบเลื่อนอัตโนมัติ (Walkway) แต่ไม่ติดแอร์ ขณะที่ทอท. จะก่อสร้างสกายวอล์กเชื่อมต่อจากจุดดังกล่าวอีก 110 เมตร เพื่อเชื่อมสกายวอล์กเข้ามาสู่ภายในสนามบินดอนเมือง โดยในเฟสที่ 1 จะก่อสร้างเป็นสกายวอล์กขนาดความกว้าง 6 เมตร เชื่อมไปยังบริเวณชั้น 2 ของอาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น ซึ่งจะเป็นสกายวอล์กติดแอร์ตลอดเส้นทาง แต่ไม่ใช่ทางเลื่อนอัตโนมัติเหมือนกับของ รฟท. รวมทั้งจะมีการติดตั้งลิฟต์เพื่ออำนวยความสะดวกคนพิการและมีการมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้เป็นสกายวอล์กข้ามถนนด้วยนอกเหนือไปจากการให้บริการผู้โดยสารที่เข้ามาใช้สนามบิน
ขณะนี้จัดทำร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) สกายวล์คเสร็จแล้วจะใช้เงินลงทุนราว 50 ล้าน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนก.ค. ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ 5-6 เดือน และเปิดให้บริการได้ไม่เกินกลางปีหน้า สามารถรองรับการเปิดให้บริการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่จะเปิดในช่วงต้นปี 2564 ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่จอดรถ ซึ่งผู้โดยสารสามารถหันมาเดินทางโดยระบบรถไฟแทนได้ เหมือนกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ
นายศิโรตม์ กล่าวว่าในปี 2564 จะเริ่มโครงการพัฒนาดอนเมือง เฟส 3 โดย จะมีการทุบอาคารเก่าและก่อสร้างอาคารใหม่ ซึ่งสกายวอล์กจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ามายังสนามบินดอนเมืองได้สะดวกมากยิ่งขึ้นช่วงที่จะมีการปิดพื้นที่เพื่อก่อสร้าง ซึ่งในอนาคต มีแผนที่จะก่อสร้างสกายวอล์ค เชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 อีกจุดหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ สนามบินดอนเมืองยังมีโครงการก่อสร้างอาคารที่จอดรถยนต์แห่งใหม่ บริเวณทิศเหนือ ซึ่งคาดว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) จะอนุมัติให้ดำเนินการสร้างได้ในเดือนนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะรองรับรถยนต์ได้ 2,700 คัน ช่วยเพิ่มพื้นที่จอดรถและบรรเทาปัญหาจราจรภายในสนามบินดอนเมืองอีกทางหนึ่ง |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 31136
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 03/07/2019 1:35 pm Post subject: |
|
|
รฟท.เล็งของบ90 ล้านปรับแบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่
ไทยโพสต์ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:21 น.
3 ก.ค. 2562 แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพงมหาชัย ระยะทาง 37 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 5.68 หมื่นล้านบาทว่า โครงการดังกล่าวยังอยู่ในแผนงานของ รฟท. โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของบประมาณประจำปี 2563 เพื่อจ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคา วงเงิน 90 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษาประมาณ 16 เดือน เพื่อดำเนินการออกแบบการก่อสร้างใหม่ในส่วนเฉพาะที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2564
การออกแบบก่อสร้างใหม่นั้น อาจจะปรับแผนการดำเนินงานโดยออกแบบเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อระหว่างหัวลำโพงวงเวียนใหญ่ก่อน และก่อสร้างเป็นทางวิ่งระดับดินและยกระดับตั้งแต่วงเวียนใหญ่มหาชัย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้า (BTS) สายสีเขียว ช่วงสะพานตากสินบางหว้า โครงการรถไฟฟ้า (MRT) สายสีม่วง ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่แยกท่าพระได้ และเป็นผลทำให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงขอยืนยันจะดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพงมหาชัย ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป แหล่งข่าว กล่าว
สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง มหาชัยนั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้เคยศึกษาความเหมาะสมไว้เมื่อปี 50 โดยเสนอให้ทำการปรับปรุงทางรถไฟสายแม่กลองเดิม จากสถานีหัวลำโพงไปยัง อ.มหาชัย จ.สมุทรสาคร และสามารถเชื่อมต่อไปยัง จ.สมุทรสงคราม ที่สถานีปากท่อในระยะต่อไป โดยในการศึกษาฯ ของ สนข. ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.แผนการพัฒนาทางรถไฟให้เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์จากหัวลำโพงถึงมหาชัยก่อน และ 2.การพัฒนาศูนย์คมนาคมขนส่งตากสิน เพื่อเป็นการขยายเขตการให้บริการรถไฟชานเมืองและระบบขนส่งมวลชน
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง มหาชัย จะเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองที่มีรูปแบบ (Commuter Train) มีระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Catenary) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าระบบจ่ายไฟรางสาม (Third Rail) ที่ใช้กันอยู่ในโครงข่ายของรถไฟฟ้าในเขตเมืองที่ทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นรถไฟชานเมือง และสามารถต่อระยะทางให้ยาวขึ้นได้
ด้านนายศุภฤกษ์ สุดยอดประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐาน และหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานระบบการเดินรถและสิ่งอำนวยความสะดวก กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง กล่าวภายหลังลงพื้นที่เส้นทางรถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่ บริเวณใต้สะพานถนนราชพฤกษ์ แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กทม.ว่า การลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อศึกษาจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส วุฒากาศ (ทางออกที่ 1 และ 2) ที่มีระย่างห่างกันประมาณ 150 เมตรเท่านั้น โดยได้สำรวจความเหมาะสมในการติดตั้งป้ายหยุดรถไฟบริเวณใต้สะพานถนนราชพฤกษ์ และไฟส่องสว่าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเดินทางด้วยระบบการขนส่งทางราง
รถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย มีระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟ 5 แห่ง ได้แก่ สถานีวงเวียนใหญ่ ตลาดพลู วัดสิงห์ รางโพธิ์ และมหาชัย ป้ายหยุดรถไฟ 6 แห่ง และที่หยุดรถไฟ 7 แห่ง ให้บริการเดินรถไป-กลับ วันละ 34 เที่ยว ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 3 บาท สูงสุด 10 บาท ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนที่โดยสารรถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่จะไปต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ต้องลงรถไฟที่สถานีรถไฟตลาดพลู แล้วเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ตลาดพลู ระยะทางประมาณ 1 กม. และถ้าลงสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ จะเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส วงเวียนใหญ่ ก็มีระยะทาง 1 กม.เช่นกัน นายศุภฤกษ์ กล่าว |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
Posted: 04/07/2019 7:39 pm Post subject: |
|
|
ส่อยืดเยื้อ! คมนาคม ปิดบัญชีหนี้ค่าโง่หมื่นล้านไม่จบ โฮปเวลล์ ดื้อไม่ส่งหลักฐาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:32 น.
คมนาคมตั้งทีมวิศวะคำนวณตอม่อโฮปเวลล์ เคลียร์ค่าโง่หมื่นล้าน ซัดคู่ความดื้อไม่ส่งหลักฐาน ทำสรุปมูลหนี้ไม่นิ่ง
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของการชดใช้ค่าเสียหายกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำนวนเงิน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี หลังจากที่มีการค้นหาหลักฐานเพื่อตรวจสอบมูลค่าความเสียหายจริง เพื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายตามที่ศาลมีคำสั่ง
ล่าสุดได้จัดตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมที่จะไปประเมินมูลค่าเสาตอม่อทั้งหมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามที่ระบุไว้ในคำพิพากษาของศาลหรือไม่ โดยคณะทำงานจะประกอบด้วยตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเฉพาะฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง ผู้แทนจากกรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่เชิญหน่วยงานทั้ง 3 นี้ เพราะว่าทั้ง 3 หน่วยงานมีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้าง โดยเฉพาะการสร้างเสาตอม่อที่เป็นลักษณเดียวกับเสาตอม่อโฮปเวลล์ นอกจากนี้จะเชิญวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) มาร่วมประเมินมูลค่าตามหลักวิศวกรรม คาดว่าประมาณวันจันทร์หน้าจะนัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางกันต่อไป
ส่วนการตรวจสอบตัวเลขค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากยังหาหลักฐานไม่ได้ เพราะโครงการนี้มีรูปแบบการก่อสร้างในลักษณะให้เอกชนผู้รับสัมปทานสร้างไป ออกแบบไป (Turnkey Project) ทำให้แบบการก่อสร้างทั้งหมดอยู่กับฝ่ายโฮปเวลล์ ซึ่งได้แจ้งให้โฮปเวลล์นำหลักฐานต่างๆ มาให้แล้ว แต่โฮปเวลล์ส่งมาเพียงแบบร่างเท่านั้น คณะทำงานไม่สามารถเอามาคำนวณมูลค่างานก่อสร้างได้ ส่วนหลักฐานอื่นๆ โฮปเวลล์อ้างว่าได้ส่งให้อนุญาโตตุลาการไปหมดแล้ว |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 31136
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/07/2019 9:38 am Post subject: |
|
|
]รถไฟฟ้าสายสีแดงขบวนแรกจากญี่ปุ่น ถึงไทย ต.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 6 กรกฎาคม 2562
ไทยเตรียมรับรถไฟฟ้าสายสีแดงขบวนแรกจากญี่ปุ่น ช่วงต.ค.นี้ คาดเปิดบริการปลายปี 2563
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ ประเทศญี่ปุ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้เยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟของบริษัท Hitachi และพบหารือกับนายคาวาฮาตะ ผู้อำนวยการโรงงาน General Manager, Hitachi Kasado Works เพื่อเร่งรัดการผลิตขบวนรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งบริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ไทยได้ตามกำหนดการ โดยขบวนรถไฟ 2 ขบวนแรก จะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือนตุลาคม 2562 เพื่อดำเนินการทดสอบขบวนรถ ก่อนเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย
หลังจากรับขวนรถไฟฟ้าแล้วจะนำขบวนรถมาทดสอบระบบช่วงบางซื่อ-รังสิต ประมาณปลายปีนี้ถึงปี 2563 โดยจะต้องมีการทดสอบระบบเสมือนจริงอย่างน้อย 6 เดือน ถึงจะเปิดให้บริการได้ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คาดว่ามีปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 300,000 เที่ยวคนต่อวัน |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
Posted: 07/07/2019 12:31 am Post subject: |
|
|
เปิดโฉมขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง
เสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2562 เวลา 12.45 น.
อาคม บินลัดฟ้าไปแดนปลาดิบ ส่องโฉมขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง คาดรถไฟ 2 ขบวนแรก ถึงไทยเดือน ต.ค.62 เพื่อนำมาทดสอบขบวนรถ ก่อนเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 63 เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้แทนกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค.62 ณ ประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้นายอาคม และคณะ ยังได้เยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟของบริษัทฮิตาชิ (Hitachi) และพบหารือกับ นายจุนิชิ คาวาฮาตะ ผู้อำนวยการโรงงานฮิตาชิ คาซาโดะ เวิร์กส์ (Mr. Junichi Kawahata, General Manager, Hitachi Kasado Works) Hitachi Kasado Works Factory CEO เพื่อเร่งรัดการผลิตขบวนรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งบริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ไทยได้ตามกำหนดการ โดยขบวนรถไฟ 2 ขบวนแรก จะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือน ต.ค.62 เพื่อดำเนินการทดสอบขบวนรถ ก่อนเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 63 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย
สิ้นสุดการรอคอย! ต.ค.นี้รถไฟฟ้า 2 ขบวนแรกจากญี่ปุ่นถึงไทยเร่งเปิดหวูดสายสีแดงปลายปี63
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08:47 น.
หลังเผยโฉมภาพเสมือนจริงมานาน ในที่สุดขบวนรถไฟฟ้าที่จะนำมาวิ่งบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ได้เผยโฉมหน้าจริงออกมาแล้ว
โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้แทนกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ ประเทศญี่ปุ่น
พร้อมกับเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟของบริษัท Hitachi และพบหารือกับ คุณคาวาฮาตะ ผู้อำนวยการโรงงาน (Mr. Junichi Kawahata, General Manager, Hitachi Kasado Works) Hitachi Kasado Works Factory CEO เพื่อเร่งรัดการผลิตขบวนรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง
ซึ่งบริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ไทยได้ตามกำหนดการ โดยขบวนรถไฟ 2 ขบวนแรก จะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือนตุลาคม 2562 เพื่อดำเนินการทดสอบขบวนรถ ก่อนเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย
อนึ่ง การรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งซื้อทั้งหมด 130 ตู้ รวมอยู่ในงานสัญญา3 วงเงิน 32,399ล้านบาท สำหรับวิ่งสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิตในแผนเดิมในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้รถจะเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่น และมาถึงประเทศไทยประมาณเดือน พ.ย.นี้
จากนั้นจะนำขบวนรถมาทดสอบระบบประมาณปลายปี2562ถึงปี 2563 เนื่องจากจะต้องมีการทดสอบระบบเสมือนจริงอย่างน้อย 6 เดือน ถึงจะเปิดให้บริการได้ ตามแผนจะเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 คาดว่ามีปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 300,000 เที่ยวคนต่อวัน
สำหรับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าสายสีแดงจะใช้ระบบ ETCS ตามมาตรฐานยุโรปที่สามารถใช้ได้กับหลายระบบ ซึ่งรูปแบบของขบวนรถไฟฟ้าที่จะใช้ให้บริการในโครงการ เป็นรถไฟฟ้าวิ่งบนรางขนาด 1 เมตร มีระบบสายส่งไฟเหนือศีรษะ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ขบวนรถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,126 คน และประเภท 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,714 คน
ถึงไทย ต.ค.นี้! รถไฟสีแดง 2 ขบวนแรก เร่งเปิดปลายปี 63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:40
ปรับปรุง: 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:41
รถไฟฟ้าสายสีแดงผลิตใกล้เสร็จ "อาคม"ตรวจถึงโรงงาน ฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เผย 2 ขบวนแรก ถึงไทย ต.ค.นี้ เริ่มนำทดสอบ ตั้งเป้าเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 2563 เป็นของขวัญปีใหม่
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ ประเทศญี่ปุ่น
โดย ได้เยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟของบริษัท Hitachi และพบหารือกับ คุณคาวาฮาตะ ผู้อำนวยการโรงงาน (Mr. Junichi Kawahata, General Manager, Hitachi Kasado Works) Hitachi Kasado Works Factory CEO เพื่อเร่งรัดการผลิตขบวนรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง
ซึ่งบริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ไทยได้ตามกำหนดการ โดยขบวนรถไฟ 2 ขบวนแรก จะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือนตุลาคม 2562 เพื่อดำเนินการทดสอบขบวนรถ ก่อนเปิดเดินรถภายในสิ้นปี 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 31136
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
Posted: 10/07/2019 7:00 pm Post subject: |
|
|
อาคม-ไพรินทร์ ประชุมนัดสุดท้ายบิ๊กคมนาคมเผย บิ๊กตู่ ชมทางลอดภูเก็ต เร่งติดระบบสายสีแดงรับรถไฟฟ้ามาถึงต.ค.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 21:14 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ โดยมี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงฯ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงฯ นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เข้าร่วมการประชุม ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงฯ
โดยรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (9 กรกฎาคม 2562) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ชื่นชมโครงการก่อสร้างทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4021 กับ 4024 กับ 4028 กับถนนเทศบาล (ห้าแยกฉลอง) จังหวัดภูเก็ต ของกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งเป็นทางลอดแห่งที่ 4 ของจังหวัด และมีพิธีเปิดใช้ทางลอดฯ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมให้ ทล. ติดตามพฤติกรรมการใช้ทางลอดดังกล่าวของประชาชน เพื่อปรับปรุงแก้ไขกรณีเกิดปัญหาในการใช้งานให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ส่วนการดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายในจังหวัดภูเก็ต อาทิ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ให้กระทรวงฯ พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางเพื่อให้ครอบคลุม อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว
รวมทั้งดูแลความสะอาดเรียบร้อยของเส้นทางในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อร่วมสร้างความสวยงามให้แก่จังหวัด และการดำเนินโครงการทางพิเศษสายกะทู้ ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต กำชับให้ส่งผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้อยที่สุด
นอกจากนี้ ครม.รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2561 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว และเห็นว่ารายงานดังกล่าวถูกต้องตามที่สมควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งคณะกรรมการ สบพ.ได้รับทราบแล้วในการประชุมครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ขอให้ข้าราชการทุกส่วนราชการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดมั่นในหลักการ นโยบาย และยุทธศาสตร์ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล
และให้กรมท่าอากาศยานพิจารณาเพิ่มห้องน้ำสาธารณะ พื้นที่ละหมาด และการจำหน่ายสินค้า ณ ท่าอากาศยานนราธิวาส เพื่อรองรับการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ของชาวไทยมุสลิมและญาติที่มาส่ง ซึ่งมีจำนวนมากและมีการเดินทางเป็นประจำทุกปี
รวมถึงให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งดำเนินการเรื่องระบบอาณัตสัญญาณและระบบติดต่อสื่อสารของรถไฟชานเมืองสายสีแดงให้สอดคล้องกับตู้ขบวนรถไฟฟ้าที่จะมาถึงประมาณเดือนตุลาคม 2562 พร้อมวางแนวทางรองรับกรณีการติดตั้งรางรถไฟ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนที่อยู่โดยรอบ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
Posted: 18/07/2019 1:44 pm Post subject: |
|
|
วิ่งขนรถใหม่พุ่งชนสกายวอล์ครถไฟฟ้า ปิกอัพพังยับ3คัน
พฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2562 เวลา 06.30 น.
โชเฟอร์ไม่ชินทางขับรถบรรทุกรถ ชนสกายวอล์คสถานีรถไฟฟ้าทุ่งสองห้องกลางดึก บริเวณสะพานกลับรถฝั่งตรงข้ามยาคูลท์ กระบะใหม่เอี่ยมพังยับ 3 คัน ใช้เวลาเคลื่อนย้ายกว่า 2 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลางดึกที่ผ่านมา ร.ต.อ.สาคร กันภัย รอง สว.(สอบสวน) สน.วิภาวดี ได้ไปตรวจสอบเหตุรถบรรทุกพ่วงบรรทุกรถยนต์ชนคานสะพานสกายวอล์คหน้าสถานีรถไฟฟ้า (สายสีแดง) ทุ่งสองห้อง ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก บริเวณสะพานกลับรถฝั่งตรงข้ามบริษัทยาคูลท์ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกพ่วงยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน 60-1389 กรุงเทพมหานคร ส่วนพ่วง ทะเบียน 60-2584 กรุงเทพมหานคร ของบริษัท วิฮีเคิล จำกัด บรรทุกรถยนต์มา 5 คัน ชนเข้ากับคานสะพานสกายวอล์ค ทำให้รถกระบะฟอร์ดเรนเจอร์ที่บรรทุกมาด้านหน้าพังเสียหาย 2 คัน พลิกหงายท้องลงมาทับรถกระบะฟอร์ดอีกคัน รวมเสียหาย 3 คัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้ทำการปิดทางขึ้นจุดกลับให้ไปใช้จุดกลับรถที่แยกหลักสี่แทน จากนั้นเจ้าหน้าที่ใช้รถยกเอารถกระบะฟอร์ดเรนเจอร์ป้ายแดงที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 คัน ลงมาไว้บนถนน ก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นรถบรรทุกพ่วงออกจากพื้นผิวการจราจร ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ถึงสามารถเคลียร์เส้นทางได้
นายสุพรรณ แซ่ลี้ ผู้ขับขี่ กล่าวว่า ตนขับรถบรรทุกรถกระบะยี่ห้อฟอร์ดมา 5 คัน และรถฟอร์ด รุ่นเอฟีเวอร์เรส 1 คัน เพื่อมาส่งให้ลูกค้า โดยมาจาก อ.ปลวกแดง จ.ระยอง แต่ไม่ชำนาญเส้นทางทำให้หลงทางมาลงในถนนวิภาวดีฯ และกำลังจะหาจุดกลับรถ ขณะกำลังจะขึ้นสะพานได้ไปชนกับคานสะพานทางเดินข้าม ทำให้รถกระบะที่บรรทุกมาส่วนหน้าด้านบนชนคานสะพานทางเดินข้ามไปสถานีรถไฟฟ้า ทำให้รถที่บรรทุกมาด้านบนรถพ่วงชนเสียงดัง และมีเศษกระจกแตกตกลงมาบนพื้นถนน จึงรีบจอดรถลงมาดู
จากการตรวจสอบพบว่า บริเวณจุดเกิดเหตุเป็นถนนวิภาวดีขาออก ก่อนทางขึ้นสะพานกลับรถฝั่งตรงข้ามบริษัทยาคูลท์ มีการก่อสร้างสกายวอล์คทางเดินข้ามไปสถานีรถไฟฟ้าทุ่งสองห้อง ซึ่งมีความสูงเพียง 4.5 เมตร เพิ่งสร้างเสร็จยังไม่ได้ใช้งาน ทำให้รถบรรทุกที่บรรทุกรถยนต์มาด้านบนส่วนของตัวรถยนต์ที่เกินออกมาชนเข้ากับคานสะพานได้รับความเสียหาย เบื้องต้นทางบริษัทรถพ่วงมีประกันรถยนต์เข้ามาดูแลรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด รวมทั้งจะประสานรถไฟฟ้าถึงค่าเสียหายของสกายวอล์คและแก้ไขความสูงที่ลดลงมาเพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซ้อนอีก |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 31136
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/07/2019 3:41 pm Post subject: |
|
|
29 ก.ค.ได้นั่งรถไฟฟ้าลอดเจ้าพระยา ชงครม.ใหม่อัด2หมื่นล.เร่งมอเตอร์เวย์-สายสีแดง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 18 July 2019 - 11:49 น.
2 เมกะโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าสายสีแดงและมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี รอรัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ อัดฉีดงบฯ 17,600 ล้านบาท จ่ายเวนคืนผู้รับเหมาก่อสร้างสางปัญหาเร่งเดินหน้าโครงการ ร.ฟ.ท.ยังคงเป้าเปิดบริการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันเป็น ม.ค. 64 กรมทางหลวงสปีดมอเตอร์เวย์บางใหญ่ไม่ขึ้นเลื่อนเปิดใช้ คนฝั่งธนฯเฮ ! รฟม.ให้ประชาชนทดลองนั่งสายสีน้ำเงิน 29 ก.ค.จากหัวลำโพง-ท่าพระ เปิดหวูดจริง ก.ย.นี้ ค่าโดยสาร 16-42 บาท
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า อยู่ระหว่างทำรายละเอียดการเพิ่มงบประมาณก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่จะขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายกรอบวงเงินโครงการจำนวน 9,600 ล้านบาท หลังกระทรวงคมนาคมให้ ร.ฟ.ท.กลับมาทำข้อมูลเพิ่มเติม คาดว่าจะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ยังไม่มั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติได้เร็วหรือช้า หากได้รับอนุมัติจะเป็นการเพิ่มงบฯก่อสร้างรอบที่ 5 ทำให้โครงการใช้งบฯก่อสร้างทั้งหมดจาก 95,222 ล้านบาท เป็น 104,822 ล้านบาท
รับเหมาขอขยายสัญญา
สำหรับวงเงินเพิ่มขึ้น 9,600 ล้านบาทมาจากการขยายเวลา งานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นไม่ได้อยู่ในแบบตั้งแต่แรก แยกเป็นสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง มีความคืบหน้าประมาณ 90% ขอขยายเวลาถึงเดือน พ.ย. 2562 ขอค่าชดเชยประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการรื้อสิ่งปลูกสร้างของ ร.ฟ.ท.ออกจากพื้นที่และปลูกสร้างขึ้นใหม่มาแทน เช่น ย้ายตึกบริการสินค้า ย้ายพวงราง ส่วนใหญ่เป็นงานที่เพิ่มขึ้นจากแบบเดิมที่ไม่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่แรก
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้น งานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ มีความคืบหน้า 99% ขอขยายถึงเดือน ต.ค. 2562 เนื่องจากติดส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสกายวอล์ก ขอค่าชดเชยประมาณ 1,000 ล้านบาท
งานระบบจ่ายภาษีอาน
และสัญญาที่ 3 งานติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถของกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิ เฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) มีความคืบหน้าประมาณ 50% ขอขยายสัญญาถึงเดือน ม.ค. 2564 วงเงินที่ขอเพิ่มประมาณ 4,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านภาษีและสร้างอาคารเพิ่มจำนวน 6 อาคารที่บางซื่อ เพื่อรองรับงานในสัญญาที่ 3
การของบฯก่อสร้างเพิ่มไม่ได้มีผลต่อการเปิดบริการโครงการที่กำหนดในเดือน ม.ค. 2564 แต่อาจจะส่งผลต่อการเบิกจ่าย ซึ่งโครงการใช้เงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) มาดำเนินการ นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ต้องจัดงบฯกว่า 100 ล้านบาท สำหรับซ่อมบูรณะโครงสร้างช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เพื่อรองรับกับการเปิดบริการด้วย เพราะโครงสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2555
เข็นเปิดบริการ ธ.ค. 63
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในเดือน ต.ค.นี้รถ 2 ขบวนแรกจะมาถึงประเทศไทย จากนั้นเริ่มทดสอบตัวรถเพื่อนำไปวิ่งบนรางจริงในช่วงต้นปี 2563 ล่าสุดมีนโยบายให้เปิดใช้ช่วงปลายปี 2563 เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้สั่งซื้อรถทั้งหมด 130 ตู้ จำนวน 25 ขบวน สำหรับวิ่งทั้งสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 10 ขบวน เป็นรถแบบ 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,126 คน และช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 15 ขบวน เป็นรถแบบ 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,714 คน ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟ้าวิ่งบนราง 1 เมตร มีระบบสายส่งไฟฟ้าอยู่เหนือศีรษะ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ซึ่งระบบอาณัติสัญญาณจะใช้ระบบ ETCS ตามมาตรฐานยุโรปที่สามารถใช้ได้กับหลายระบบ
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ระหว่างรอการอนุมัติขยายกรอบวงเงินก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น 9,600 ล้านบาท จะใช้เงินที่ยังมีเหลืออยู่สำหรับดำเนินการไปก่อน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการก่อสร้างและการเปิดบริการที่จะเร่งให้เปิดใช้ปลายปี 2563 หรืออย่างช้าในเดือน ม.ค. 2564
เร่งปิดบัญชี เผือกร้อนรัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่เร่งด่วนตอนนี้มีดับไฟค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี และเพิ่มงบฯก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2562 คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เห็นชอบขยายกรอบเวลา งานสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุงของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ออกไปอีก 70 วัน ทำให้กำหนดแล้วเสร็จเดิมที่วางไว้ในเดือน พ.ย.นี้ขยับออกไปแล้วเสร็จประมาณเดือน ม.ค. 2563 โดยการขยายเวลานี้จะไม่กระทบกับงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกล และจัดหาตู้รถไฟฟ้า แต่อย่างใด
ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เตรียมร่างทีโออาร์เปิดประมูลหาเอกชนมาบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้งเชิงพาณิชย์ ร้านค้า และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การรักษาความปลอดภัย การรักษาความสะอาด การบริการด้านจอดรถ รองรับการเปิดบริการในปี 2564
มอเตอร์เวย์บางใหญ่รอค่าเวนคืน
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. เพิ่มจาก 5,420 ล้านบาท เป็น 19,637 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,217 ล้านบาท กรมจะนำงบประมาณจากการประหยัดค่าก่อสร้างประมาณ 5,000 ล้านบาท และขอจาก ครม.ประมาณ 8,000 ล้านบาท มาจ่ายให้กับผู้ถูกเวนคืนที่ยังเหลือกว่า 3,000 ราย
ปัจจุบันกรมรอเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่จะต้องทำเรื่องเสนอกลับเข้าไปใหม่ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่จะเป็นผู้นำเสนอ อาจจะใช้เวลาในการพิจารณาและส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการ ซึ่งปัจจุบันล่าช้าไปแล้วรวม 2 ปี เพราะผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้เกือบ 50% จากทั้งหมด 25 สัญญา เนื่องจากติดเวนคืนที่ดิน
ทั้งนี้ จากความล่าช้ามีการประเมินว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การเปิดใช้ เพราะกว่ากรมทางหลวงจะเวนคืนเสร็จน่าจะเป็นภายในปี 2564 สร้างเสร็จปี 2566 เปิดใช้ปี 2568
29 ก.ค.เปิดทดลองสายสีน้ำเงิน
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ได้เริ่มการทดลองเดินรถเสมือนจริง (trail run) เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2562 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฟรีในวันที่ 29 ก.ค.นี้ จากสถานีหัวลำโพง-ท่าพระก่อนในระยะแรก โดยจะเปิดให้นั่งเป็นช่วงเวลา
เนื่องจากผู้เดินรถต้องการสร้างความมั่นใจในการให้บริการ หลังจากนั้นถึงจะเปิดบริการไปถึงสถานีหลักสอง และเปิดให้บริการจริงวันที่ 30 ก.ย.นี้ตามที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ได้กำหนดไว้ในสัญญา
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การเดินรถในช่วงทดลองใช้บริการนี้จะใช้รูปแบบวิ่งไป-กลับ เฉพาะในส่วนต่อขยาย ซึ่งผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนขบวนรถได้ที่สถานีหัวลำโพง กรณีต้องการเดินทางต่อเนื่องไปยังสายสีน้ำเงินเดิม (ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ)
ทั้งนี้ เมื่อ รฟม.มีความมั่นใจว่าระบบอาณัติสัญญาณของเส้นทางเดิมและส่วนต่อขยายปรับเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงจะปรับไปใช้รูปแบบการเดินรถแบบต่อเนื่อง ต่อไปในอนาคต ซึ่งสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้จะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่วิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และคาดว่าหลังเปิดบริการเต็มรูปแบบทั้งโครงข่ายในเดือน มี.ค. 2563 จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 3 แสนเที่ยวคนต่อวัน เป็น 8 แสนเที่ยวคนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารเก็บอัตราเดิม 16-42 บาท |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 28760
Location: ADTEC
|
|
Back to top |
|
 |
|