Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180156
ทั้งหมด:13491390
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 326, 327, 328 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2019 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน: จีนเฮ ไทยเซ บทเรียนที่ต้องเรียน
https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347/1674426726035557/?type=3&theater

สามารถ โพสต์ บทเรียน รถไฟความเร็วสูง เงินไหลไปจีนถึง 80% แนะทางแก้
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
ศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2562 เวลา 18:15 น.


“สามารถ” โพสต์ บทเรียนรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่ ไหลไปจีนถึง 80% กว่า 1.39 แสนล้าน แนะ รัฐบาลใหม่ ลงทุนช่วง "โคราชไปหนองคาย" ยังไงไม่ให้เสียเปรียบอีก


วันที่ 5 ก.ค.2562 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน จีนเฮ ไทยเซ บทเรียนที่ต้องเรียน” ว่า ข่าวรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เงียบหายไปนาน หลังจากที่มีการปั่นกระแสให้เป็นข่าวโด่งดังเมื่อ 4-5 ปี ที่ผ่านมา แต่สุดท้ายการก่อสร้างสัญญาแรกเพียงระยะทางสั้นๆ แค่ 3.5 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมด 252 กิโลเมตร ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนระยะทางที่เหลืออยู่ในระหว่างการประมูลแยกเป็นสัญญาๆ

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา มีมูลค่าโครงการ 176,002.396 ล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธา 120,162.126 ล้านบาท และงานอื่นที่เหลือมีมูลค่า 55,840.27 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟฟ้า 50,633.50 ล้านบาท (2) การออกแบบรายละเอียดงานโยธา 1,706.77 ล้านบาท และ (3) งานควบคุมการก่อสร้างงานโยธา 3,500 ล้านบาท


การลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นการลงทุนทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลไทย โดยที่รัฐบาลจีนไม่ได้ร่วมลงทุนด้วยเลย ก่อนเริ่มลงมือก่อสร้างโครงการนี้ ผู้เกี่ยวข้องออกมาคุยกันใหญ่ว่า แม้ว่าเราจะลงทุนเองทั้งหมดก็ตาม แต่เราจะพยายามรักษาให้เงินไหลไปสู่จีนน้อยที่สุด หรือให้เงินส่วนใหญ่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือจะพยายามให้วิศวกรไทย และผู้รับเหมาไทยได้ทำงานมากที่สุด รวมทั้งจะใช้วัสดุ อุปกรณ์ในประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญ จะให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากวิศวกรจีนสู่วิศวกรไทย แต่เอาเข้าจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยมีดังนี้


1. ฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้างงานโยธา และจัดหาพร้อมติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟฟ้า คิดเป็นเงินรวม 55,840 ล้านบาท ซึ่งในการออกแบบนั้น จีนใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคหรือสเปกของจีน นั่นหมายความว่าจะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ของจีนเป็นส่วนใหญ่

2. การก่อสร้างงานโยธา ซึ่งมีวงเงิน 120,162.126 ล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลต้องการให้ผู้รับเหมาไทยได้รับงานเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่พอถึงเวลาประมูลปรากฏว่า ผู้รับเหมาไทยต้องไปจับมือกับบริษัทจีนเข้าร่วมแข่งขันการประมูล โดยมีบริษัทจีนเป็นแกนนำ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ของจีน ตามสเปกที่จีนกำหนดไว้ หากไม่จับมือกับบริษัทจีน ผู้รับเหมาไทย อาจจะต้องซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในราคาที่สูงลิ่ว การจับมือกับบริษัทจีน โดยมีบริษัทจีนเป็นแกนนำนั้น จะทำให้จีนได้รับเงินจากการก่อสร้างงานโยธาเป็นส่วนใหญ่ ถึงประมาณ 70% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 84,000 ล้านบาท ในขณะที่ผู้รับเหมาไทยจะได้รับเงินจากงานโยธาประมาณ 30% เท่านั้น หรือคิดเป็นเงินประมาณ 36,000 ล้านบาท

3. รวมเงินทั้งหมดที่จีนจะได้รับจากโครงการนี้ทั้งงานโยธาและงานระบบราง งานไฟฟ้าเครื่องกล งานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างงานโยธาประมาณ 139,840 ล้านบาท (55,840+84,000) จากเงินทั้งหมด 176,002.396 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 80% นั่นหมายความว่าเงินลงทุนโครงการนี้โดยรัฐบาลไทยทั้งหมด 100% สุดท้ายจะไหลออกไปสู่ประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ถึงประมาณ 80%

4. ไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้วิศวกรไทยทั้งในช่วงการออกแบบ และควบคุมงาน เนื่องจากจีนไม่เปิดโอกาสให้บริษัทไทยเข้าร่วมงานดังกล่าว

ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นบทเรียนที่เราจะต้องตระหนักและเรียนรู้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำขึ้นอีก ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงต่อไป คือ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ดังนั้น ผมจึงขอเสนอแนะดังนี้

1. ให้จีนร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง นครราชสีมา-หนองคายด้วย เพราะจีนจะได้รับประโยชน์จากเส้นทางรถไฟความเร็วสายนี้ด้วย ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงคุนหมิงของจีนโดยผ่านลาว หากจีนร่วมลงทุนด้วย เขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้โครงการนี้ขาดทุน

2. ให้วิศวกรไทยได้ร่วมออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

3. ให้ผู้รับเหมาไทย ได้รับงานก่อสร้างด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้รับเหมาไทยมีขีดความสามารถสูง ไม่จำเป็นที่ผู้รับเหมาไทยจะต้องจับมือกับบริษัทจีน เพื่อเข้าแข่งขันการประมูล หรือในกรณีที่จำเป็นจะต้องร่วมงานกับบริษัทจีน รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ผู้รับเหมาไทยเป็นแกนนำ หากทำได้เช่นนี้ เงินก็จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้ง วิศวกรไทย จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จนในที่สุด อาจจะไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ หรือพึ่งพาน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการสำคัญนี้ในรัฐบาลใหม่ จะต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด และเคร่งครัดเพื่อไม่ให้ไทยต้องตกเป็นเบี้ยล่างเขาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 11:06 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวเรื่องเครือข่ายรถไฟความไวสูงเชื่อมกรุงเทพกับประเทศเพื่อนบ้านก็ทำให้เพื่อนบ้านหูผึ่งเอาเหมือนกัน
https://www.todayonline.com/world/thailand-plans-trans-asean-bullet-train-linking-china-laos-and-even-singapore
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 11:36 am    Post subject: Reply with quote

‘สกพอ.’ลุยแผนฟีดเดอร์ เชื่อมรถไฟความเร็วสูง
8 กรกฎาคม 2562
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2394127920634139&set=a.2081528948560706&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

8 ก.ค. 62 รฟท. ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา รวมราคา 26,659.952 ล้านบาท กำหนดยื่นข้อเสนอราคา วันที่26 สิงหาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น.ได้แก่

1. สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ราคากลาง 5,359,162,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=36453
2. สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับ ช่วงบันไดม้า - ลำตะคอง ราคากลาง 12,043,417,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=36455
3.สัญญาที่ ที่ 3-5 งานโยธาสำหรับ ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา ราคากลาง 9,257,373,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=36455

ยังรอประกาศเพิ่มอีก 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 งานโยธา สำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว, สัญญาที่ 4-4 งานโยธา สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุง เชียงรากน้อย และสัญญาที่ 4-7 งานโยธา สำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ส่วนสัญญา 4-1 งานโยธา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง รอความชัดเจนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินก่อน
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2394452480601683


Last edited by Wisarut on 08/07/2019 4:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ เปิดประมูลไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา รวม 3.8 หมื่นล้าน นัดยื่นซอง 26 ส.ค.
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 - 18:42 น.
พร็อพเพอร์ตี้
รับเหมาคึก! 26 ส.ค.นี้เปิดยื่นซองประมูล 4 สัญญารถไฟไทย-จีน มูลค่า 38,461 ล้านบาทรับรัฐมนตรีใหม่
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 -19:31 น.

ประมูลไฮสปีดไทย-จีน – รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ค. รฟท. ได้ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 4 สัญญา รวมมูลค่าทั้งสิ้น 38,460 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. สัญญาที่ 3-2 งานโยธา อุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร ราคากลาง 5,359.162 ล้านบาท

2. สัญญาสัญญาที่ 3-3 งานโยธา ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร ราคากลาง 12,043.41 ล้านบาท

3. สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร ราคากลาง 9,257.37 ล้านบาท และ

4. สัญญาที่ 4-5 งานโยธา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร ราคากลาง 11,801.21 ล้านบาท

ทั้งนี้ จะเปิดให้ผู้สนใจสามารถขอซื้อเอกสารประกวดราคาด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-23 ส.ค. 2562 และเปิดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 26 ส.ค. 2562 ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.

//-----------------
https://www.thebangkokinsight.com/173333/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2019 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟ เปิดประมูลไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา รวม 3.8 หมื่นล้าน นัดยื่นซอง 26 ส.ค.
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 - 18:42 น.
พร็อพเพอร์ตี้
รับเหมาคึก! 26 ส.ค.นี้เปิดยื่นซองประมูล 4 สัญญารถไฟไทย-จีน มูลค่า 38,461 ล้านบาทรับรัฐมนตรีใหม่
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 -19:31 น.


เอเอสแอสโซซิเอท จับมือ ไชนาสเตท และ เนาวรัตน์พัฒนา ตั้งเป้าประมูลโครงการรถไฟความไวสูได้อีก 1-2 สัญญา หลังจาก ชนะได้โครงการ สัญญาที่ 4-3 งานโยธา ช่วง นวนคร - บ้านโพ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ราคากลาง 13,293 ล้านบาท โดย ประมูลได้ราคา 11,525 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.34% โดย รฟท. ชี้แจงว่าผู่้ชนะการประมูลสามารถทำได้ในราคาดังกล่าว และ หมายใจจะได้อีกสองโครงการ
https://www.thebangkokinsight.com/173573/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2019 9:53 am    Post subject: Reply with quote

ทำยาก!!รฟท.ส่งมอบพื้นที่ที่เดียวหมื่นไร่
อังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 18.12 น.

รฟท. นัดซีพีถกส่งมอบพื้นที่ 12 ก.ค.นี้ ชี้ลอตแรกพร้อมส่ง 8 พันไร่ ยันส่งพร้อมทั้งหมดเป็นไปได้ยาก เผยได้รับงบ 200 ล้าน เคลียร์ปัญหาพื้นที่บุกรุก

 นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)ว่า ในวันที่ 12 ก.ค.นี้ คณะทำงานของ รฟท. และกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี จะประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดการส่งมอบพื้นที่โครงการดังกล่าว เพื่อจัดทำเป็นสรุปแนบท้ายสัญญา โดยหากการประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันทั้งสองฝ่าย ก็จะนัดวันลงนามสัญญาร่วมกันได้ มั่นใจว่าจะทันกรอบที่กำหนดไว้ภายในเดือน ก.ค.นี้  แต่หากการประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป ก็ยังมีเวลาคุยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
       
นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า สำหรับความพร้อมการส่งมอบพื้นที่ที่ใช้ก่อสร้างตามแผนงานของ รฟท. ประมาณ 1 หมื่นไร่นั้น หลังจากลงนามสัญญาสามารถส่งมอบได้ทันที80% ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 8,000 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 20% ยอมรับว่ายังติดปัญหาไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากบางส่วนเป็นพื้นที่ถูกบุกรุก ล่าสุด รฟท.ได้รับอนุมัติงบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ประมาณ 200 ล้านบาท เร่งรัดดำเนินงานเรื่องนี้ให้เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดอพยพให้แล้วเสร็จภายใน2-3 ปี ตอนนี้เชื่อว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะได้ลงพื้นที่จริง สำรวจความต้องการของผู้บุกรุกแล้ว
           
นายวรวุฒิ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการพูดถึงข้อเสนอของกลุ่มซีพี ที่ต้องการให้ รฟท. ส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดของโครงการรวม 1 หมื่นไร่พร้อมกันว่า ยังไม่เคยพูดถึงกรณีส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดของโครงการพร้อมกัน เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากทุกโครงการที่ผ่านมา ไม่เคยมีเอกชนรายใดสามารถเข้าพื้นที่พร้อมกันทั้งหมดอยู่แล้ว รวมทั้งโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงเชื่อว่ากลุ่มซีพีจะเข้าใจ ทำให้เกิดการเจรจารายละเอียดส่งมอบพื้นที่ในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่พร้อมส่งมอบก็เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการอยู่แล้ว และพื้นที่สำคัญๆ เช่น สถานีมักกะสัน ก็มีความพร้อมส่งมอบได้เลย 100 ไร่ เอกชนก็สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีส่วนนี้ได้ก่อน.
 
ทำทางรถไฟความไวสูงจากกรุงเทพไปปักกิ่ง?
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1708122
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2019 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟ เปิดประมูลไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา รวม 3.8 หมื่นล้าน นัดยื่นซอง 26 ส.ค.
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 - 18:42 น.
พร็อพเพอร์ตี้
รับเหมาคึก! 26 ส.ค.นี้เปิดยื่นซองประมูล 4 สัญญารถไฟไทย-จีน มูลค่า 38,461 ล้านบาทรับรัฐมนตรีใหม่
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 -19:31 น.

https://www.thebangkokinsight.com/173333/


ลุยประมูลต่อไม่หยุดไฮสปีดไทย-จีนอีก4สัญญา
9 กรกฎาคม 2562

บิ๊กรับเหมาได้ลุ้นต่อเนื่อง !!!การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดประมูลไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา รวม 3.8 หมื่นล้าน นัดยื่นซอง 26 ส.ค.นี้แหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 กค. 2562 เว็บไซต์การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 4 สัญญา รวมมูลค่าทั้งสิ้น 38,460 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. สัญญาที่ 3-2 งานโยธา อุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร ราคากลาง 5,359.162 ล้านบาท

2. สัญญาที่ 3-3 งานโยธา ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร ราคากลาง 12,043.41 ล้านบาท

3. สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร ราคากลาง 9,257.37 ล้านบาท และ

4. สัญญาที่ 4-5 งานโยธา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร ราคากลาง 11,801.21 ล้านบาท

นอกจากนั้นยังรอประกาศอีก 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 4-4 งานโยธา ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และสัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ในส่วนสัญญาที่ 4-1 งานโยธาช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง รอความชัดเจนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)


Last edited by Wisarut on 16/07/2019 6:44 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2019 8:10 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไฮสปีดไทย-จีน เมกะโปรเจคเชื่อมเศรษฐกิจ
โดย วรรณิกา จิตตินรากร
กรุงเทพธุรกิจ 12 ก.ค. 62

Click on the image for full size

ขับเคลื่อนมาตลอดรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิ้งทวนสัปดาห์สุดท้ายก่อนเข้าสู่ยุครัฐบาลใหม่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานเจ้าของโครงการ คลอดเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) งานโยธาเพิ่มอีก 4 สัญญา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ประมูลไปแล้ว 7 สัญญา มูลค่ากว่า 5.8 หมื่นล้านบาท

วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) เพิ่มเติมจำนวน 4 สัญญา ส่งผลให้ขณะนี้ ร.ฟ.ท.สามารถผลักดันประมูลงานโยธาโครงการดังกล่าวได้แล้วรวม 11 สัญญา เหลือช่วงที่รอการประมูลอีก 3 สัญญา ในส่วนนี้จะมีช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองที่อาจจะช้าออกไป เนื่องจากต้องรอเจรจากับผู้ชนะการประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพราะมีการใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการร่วมกัน

สำหรับ 4 สัญญาล่าสุดที่อยู่ระหว่างประกาศประกวดราคามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 38,460 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.สัญญาที่ 3-2 งานโยธาอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร ราคากลาง 5,359 ล้านบาท
2.สัญญาที่ 3-3 งานโยธาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร ราคากลาง 12,043 ล้านบาท
3.สัญญาที่ 3-5 งานโยธาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร ราคากลาง 9,257 ล้านบาท และ
4.สัญญาที่ 4-5 งานโยธาช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร ราคากลาง 11,801 ล้านบาท

โดย ร.ฟ.ท.เปิดให้เอกชนที่สนใจร่วมประมูลสามารถซื้อเอกสารประกวดราคาด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-23 ส.ค.นี้ และเปิดให้ยื่นข้อเสนอทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 26 ส.ค.2562

"รถไฟไทย-จีนเดินหน้ามาเป็นระยะแล้ว การรถไฟออกประกวดราคาก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ก็เหลือแค่ 7 สัญญาที่รอประมูล คือ 4 สัญญาที่ประกาศไปแล้ว อีก 2 สัญญาที่กำลังปรับปรุงทีโออาร์ ทั้งหมดจะประมูลให้จบภายในปีนี้ เหลือสัญญาบางซื่อ-ดอนเมืองที่รอเจรจากับผู้ชนะไฮสปีดสามสนามบินก่อน"

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตอนนี้การก่อสร้างรถไฟไทย-จีนระยะที่ 1 ก็เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงวางแผนผลักดันในส่วนของระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายต่อทันที โดยเมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 751 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธาระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้แล้วเสร็จกรอบเวลาดำเนินการ 19 เดือน

โดยหลังจาก ครม.อนุมัติวงเงินดังกล่าว ทราบว่า ร.ฟ.ท.ก็จะเริ่มว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดำเนินการออกแบบรายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะไม่ล่าช้า เนื่องจากที่ผ่านมาทำทีโออาร์เพื่อเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาไว้แล้ว และเมื่อได้ตัวที่ปรึกษา ทางที่ปรึกษาจะใช้เวลาในการออกแบบรายละเอียดได้แล้วเสร็จทั้งโครงการภายใน 12 เดือน

"ตามแผนงานการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2-3 ช่วง โดยช่วงแรกจากนครราชสีมา-ขอนแก่น จะใช้เวลาออกแบบประมาณ 6 เดือนก็จะแล้วเสร็จ จากนั้นจะแบ่งเป็นตอนเพื่อทำการประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างได้ โดยโครงการนี้ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด เพื่อเชื่อมต่อกับระยะที่ 1 ที่มีจีนช่วยในการศึกษาออกแบบ"

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เผยว่า การว่าจ้างที่ปรึกษาจะได้ตัวประมาณเดือน ก.ย.นี้ เมื่อออกแบบแล้วเสร็จ ทาง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องของการประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้าง โดยเบื้องต้นคาดว่าจะแบ่งการประกวดราคางานโยธาออกเป็น 10 ตอน ซึ่งการดำเนินงานในส่วนของระยะที่ 2 นี้ มั่นใจว่าจะเดินหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ฝ่ายจีนจะเป็นเพียงพี่เลี้ยงเท่านั้น ตามกำหนดคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569

ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนไม่ใช่เพียงโครงการที่สร้างตามนโยบายรัฐบาล เพราะถือเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติ เป็นส่วนสำคัญที่จะเชื่อมโยงภูมิภาค เป็นความสำเร็จของ 3 ประเทศ ไทย ลาว และจีน จะทำให้ไทยมีเส้นทางเชื่อมต่อกับประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจโลกอย่างจีน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นโครงการสำคัญที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง มั่นใจว่ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาก็จะต้องสานต่อโปรเจคนี้

จากแผนการดำเนินงานทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเมกะโปรเจครถไฟความเร็วสูงสายสัมพันธ์ไทยจีนนี้ มีกำหนดเปิดให้บริการครบทั้งโครงการใน 7 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ไทยเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งจากหนองคายไปยังลาว และขึ้นรถไฟต่อจากนครหลวงเวียงจันทน์ผ่านลาวตอนเหนือไปยังเมืองคุนหมิง ถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเชื่อมต่อเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม หรือ One Belt One Road
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2019 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

'ธนินท์' สั่งเดินหน้า 'ไฮสปีด' เต็มตัว
12 กรกฎาคม 2562
เจ้าสัวซีพี "ธนินท์ เจียรวนนท์" ลั่นพร้อมขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงสู่ความสำเร็จ เปิดมิติใหม่ประเทศไทย ย้ำเดินหน้าโครงการไม่กระทบธุรกิจปัจจุบัน



เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 เว็บไซต์ www.cp-enews.com รายงานงานสัมมนาวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ครั้งที่ 3/2019 ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวเปิดใจและให้ความมั่นใจกับคณะผู้บริหารต่อการที่เครือฯเข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน



นายธนินท์ กล่าวว่า เครือซีพีกำลังลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่ใช่ใหม่เฉพาะระดับประเทศ แต่เป็นเรื่องใหม่ในระดับอาเซียน เนื่องจากประเทศต่างๆ ในแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ต่างยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นการที่เครือฯเข้ามาช่วยประเทศด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการนี้ จะทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามอง โดยจะเป็นตัวเลือกที่สำคัญในการลงทุนหรือการย้ายฐานการผลิต

“หลายคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ซีพีจะไปรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ผมอยากให้มองย้อนกลับไปตอนที่ซีพีนำเซเว่นอีเลฟเว่นเข้ามาเปิดในประเทศไทย ช่วงเวลานั้น ทุกคนต่างทัดทาน แม้กระทั่งเจ้าของเซเว่นอีเลฟเว่นเอง ยังบอกผมว่า รอหน่อยดีไหม เวลายังไม่เหมาะ คุณลงทุนตอนนี้ก็เสี่ยงเกินไป แต่ผมกลับคิดต่างและมองว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งไม่ต่างกับเมื่อ 53 ปีก่อน ตอนที่ผมเริ่มทำเรื่องการเลี้ยงไก่หนึ่งหมื่นตัว มีแต่คนบอกว่าจะเป็นไปได้ยังไง ที่คุณจะเลี้ยงไก่หนึ่งหมื่นตัว แน่นอนว่า ถ้าเราทำเองย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนั้นซีพีไปเรียนรู้จากอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย”

นอกจากนี้นายธนินท์ ยังได้ยกตัวอย่างถึงการที่เครือฯ เข้าไปลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมว่า เวลานั้นหลายคนปรามาสว่า คนเลี้ยงไก่ คิดยังไงจะมาทำโทรศัพท์ ในเรื่องนี้ประธานอาวุโสมองว่า ข้อมูลคืออาหารสมอง ซีพีทำอาหารคน การทำเรื่องของข้อมูลก็คือการทำอาหารสมอง การดูทีวีก็คือการให้อาหารสมอง ใช้อินเทอร์เน็ตก็คืออาหารสมองเช่นกัน


เคล็ดลับอยู่ที่ “การนำเรื่องที่ยากที่สุด มาทำให้ง่ายที่สุด” ในขณะที่คนเก่งทั่วไป มักจะเลือกทำของง่ายๆแต่ความลับคือ ในโลกนี้ไม่มีของอะไรที่ทำง่ายแล้วจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว แต่ต้องทำเรื่องยาก และต้องเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา เพื่อทำให้เป็นเรื่องง่าย จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ

นายธนินท์ กล่าวอีกว่า การที่ซีพีมาทำรถไฟความเร็วสูง ถือเป็นความท้าทาย นับตั้งแต่ทีโออาร์ที่มีความยาก เนื่องจากรัฐบาลได้นำทีโออาร์จากประเทศต่างๆทั่วโลกมาเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อดีต่างๆ มาทำเป็นทีโออาร์ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย เพราะต้องการให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด จึงยากมากสำหรับเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างยั่งยืน แต่ซีพีก็ต้องศึกษา นำมาเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เครือฯ ได้ทำเรื่องใหม่

“เมื่อเราเป็นผู้นำ เราต้องสร้างความเปลี่ยนแปลง ต้องกล้าเสี่ยง ถ้าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร โดยต้องมองให้ทะลุ เท้าต้องติดดิน ที่สำคัญต้องมีความเข้าใจธุรกิจให้ลึกจริง”

นายธนินท์ กล่าวด้วยว่า รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างรถไฟมาแล้วสี่พันกิโลเมตร หลังจากนั้นมีการสร้างรถไฟเพิ่มขึ้นอีกเพียงสองร้อยกว่ากิโลเมตร ครั้งนี้จึงถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่จะสานต่อโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ จีนกับญี่ปุ่นจับมือร่วมกันทำรถไฟความเร็วสูงเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการช่วยกันคิดช่วยกันทำ ประสานประโยชน์เพื่อแผ่นดินไทย ซีพีทำธุรกิจในประเทศไทย บนแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ จึงมีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ดังนั้นต้องทำโครงการนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ไปรับมาแล้วทำไม่สำเร็จ ก็จะกลายเป็นภาระของประเทศ เมื่อรับมาแล้ว เราต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย จิตใจ มันสมอง ทำให้โครงการนี้สำเร็จให้ได้
“
การทำรถไฟความเร็วสูงถือว่าอยู่ในงบประมาณที่สามารถบริหารจัดการได้ จะไม่กระทบธุรกิจที่ถืออยู่ การลงทุนในครั้งนี้อยู่ในวิสัยทำได้และผ่านการประเมินแล้ว” นายธนินท์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานในบ่ายวันนี้ ตัวแทนของเครือซีพี จะหารือครั้งสำคัญกับ การถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เพื่อสรุปรายละเอียดส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าพร้อมส่งมอบ แล้วราว 80% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งหากตกลงกันได้ คาดว่าจะมีการกำหนดการลงนามในสัญญาต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พ.ค.2562 อนุมัติร่างสัญญาร่วมทุนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544 ล้านบาท ที่ให้รฟท. ลงนามกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้ชนะประมูล

ในร่างสัญญา ซี.พี.ให้รัฐร่วมลงทุน 10 ปี ตั้งแต่ปีที่ 6-15 ปีละ 14,965 ล้านบาท รวม 149,650 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 117,227 ล้านบาท ซึ่งไม่เกินกรอบวงเงินที่ ครม.กำหนดไว้ 152,457 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 119,425 ล้านบาท
ซี.พี.ยังเสนอผลประโยชน์ให้รัฐ 30 ล้านบาทต่อปี รวม 10 ปี เป็นจำนวนเงิน 300 ล้านบาท นอกจากค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชา กว่า 5 หมื่นล้านบาท และค่าใช้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท เป็นต้น (ภาพ-www.cp-enews.com)

//---------------------------------

เจ้าสัวซีพี ย้ำไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ความท้าทายใหม่ระดับอาเซียน

12 กรกฎาคม 2562
ประธานอาวุโส เครือซีพี สร้างความเชื่อมั่นทีมผู้บริหาร พร้อมขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงสู่ความสำเร็จ เปิดมิติใหม่ประเทศไทย ตอบแทนคุณแผ่นดิน ย้ำเดินหน้าโครงการไม่กระทบธุรกิจปัจจุบัน “CP-NEWS” เผยแพร่ข้อความ งานสัมมนาวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ครั้งที่ 3/2019 ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ ประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ได้กล่าวเปิดใจและให้ความมั่นใจกับคณะผู้บริหารต่อการที่เครือฯ เข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประธานอาวุโสธนินท์ กล่าวว่า เครือซีพีกำลังลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่ใช่ใหม่เฉพาะระดับประเทศ แต่เป็นเรื่องใหม่ในระดับอาเซียน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ต่างยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น การที่เครือฯ เข้ามาช่วยประเทศด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการนี้ จะทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามอง โดยจะเป็นตัวเลือกที่สำคัญในการลงทุนหรือการย้ายฐานการผลิต “หลายคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ซีพีจะไปรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ผมอยากให้มองย้อนกลับไปตอนที่ซีพีนำเซเว่นอีเลฟเว่นเข้ามาเปิดในประเทศไทย ช่วงเวลานั้น ทุกคนต่างทัดทาน แม้กระทั่งเจ้าของเซเว่นอีเลฟเว่นเอง ยังบอกผมว่า รอหน่อยดีไหม เวลายังไม่เหมาะ คุณลงทุนตอนนี้ก็เสี่ยงเกินไป แต่ผมกลับคิดต่างและมองว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งไม่ต่างกับเมื่อ 53 ปีก่อน ตอนที่ผมเริ่มทำเรื่องการเลี้ยงไก่หนึ่งหมื่นตัว มีแต่คนบอกว่าจะเป็นไปได้ยังไง ที่คุณจะเลี้ยงไก่หนึ่งหมื่นตัว แน่นอนว่า ถ้าเราทำเองย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนั้นซีพีไปเรียนรู้จากอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย” นอกจากนี้ ท่านประธานอาวุโสธนินท์ยังได้ยกตัวอย่างถึงการที่เครือฯ เข้าไปลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมว่า เวลานั้นหลายคนปรามาสว่า คนเลี้ยงไก่ คิดยังไงจะมาทำโทรศัพท์ ในเรื่องนี้ท่านประธานอาวุโสมองว่า ข้อมูลคืออาหารสมอง ซีพีทำอาหารคน การทำเรื่องของข้อมูลก็คือการทำอาหารสมอง การดูทีวีก็คือการให้อาหารสมอง ใช้อินเทอร์เน็ตก็คืออาหารสมองเช่นกัน เคล็ดลับอยู่ที่ “การนำเรื่องที่ยากที่สุด มาทำให้ง่ายที่สุด” ในขณะที่คนเก่งทั่วไป มักจะเลือกทำของง่าย ๆ แต่ความลับคือ ในโลกนี้ไม่มีของอะไรที่ทำง่ายแล้วจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว แต่ต้องทำเรื่องยาก และต้องเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา เพื่อทำให้เป็นเรื่องง่าย จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ประธานอาวุโสธนินท์ กล่าวอีกว่า การที่ซีพีมาทำรถไฟความเร็วสูง ถือเป็นความท้าทาย นับตั้งแต่ทีโออาร์ที่มีความยาก เนื่องจากรัฐบาลได้นำทีโออาร์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อดีต่าง ๆ มาทำเป็นทีโออาร์ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย เพราะต้องการให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด จึงยากมากสำหรับเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างยั่งยืน แต่ซีพีก็ต้องศึกษา นำมาเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เครือฯ ได้ทำเรื่องใหม่ “เมื่อเราเป็นผู้นำ เราต้องสร้างความเปลี่ยนแปลง ต้องกล้าเสี่ยง ถ้าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร โดยต้องมองให้ทะลุ เท้าต้องติดดิน ที่สำคัญต้องมีความเข้าใจธุรกิจให้ลึกจริง” ประธานอาวุโสธนินท์กล่าวด้วยว่า รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างรถไฟมาแล้วสี่พันกิโลเมตร หลังจากนั้นมีการสร้างรถไฟเพิ่มขึ้นอีกเพียงสองร้อยกว่ากิโลเมตร ครั้งนี้จึงถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่จะสานต่อโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ จีนกับญี่ปุ่นจับมือร่วมกันทำรถไฟความเร็วสูงเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการช่วยกันคิดช่วยกันทำ ประสานประโยชน์เพื่อแผ่นดินไทย ซีพีทำธุรกิจในประเทศไทย บนแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ จึงมีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ดังนั้นต้องทำโครงการนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ไปรับมาแล้วทำไม่สำเร็จ ก็จะกลายเป็นภาระของประเทศ เมื่อรับมาแล้ว เราต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย จิตใจ มันสมอง ทำให้โครงการนี้สำเร็จให้ได้“การทำรถไฟความเร็วสูงถือว่าอยู่ในงบประมาณที่สามารถบริหารจัดการได้ จะไม่กระทบธุรกิจที่ถืออยู่ การลงทุนในครั้งนี้อยู่ในวิสัยทำได้และผ่านการประเมินแล้ว” ท่านประธานอาวุโส กล่าวปิดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 326, 327, 328 ... 542, 543, 544  Next
Page 327 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©