Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181761
ทั้งหมด:13492999
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขนส่งสาธารณะอุดรธานี
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขนส่งสาธารณะอุดรธานี
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2019 10:51 am    Post subject: Reply with quote

เล็งเปิดรถเมล์ไฟฟ้าอุดรธานีเชื่อมทุกระบบขนส่ง
ข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
พุธที่ 5 มิถุนายน 2562 เวลา 17.13 น.

ปิดจ๊อบรถเมล์ไฟฟ้าอุดรธานี 6 สาย ขอส่วนลดค่าโดยสารให้นักเรียน-นักศึกษา รูปแบบบัตรรายสัปดาห์-รายเดือน ลดภาระผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนลดเดินทางเชื่อมต่อหลายเส้นทาง



รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า ผลการประชุมสัมมนาครั้งที่ 3 โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนสางสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี เมื่อวันที่ 28 พ.ค.62 พบว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นด้วยกับผลการศึกษาดังกล่าว แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ระยะเวลา 20 ปี (63-82) จำนวน 6 เส้นทางและใช้ระบบรถเมล์ไฟฟ้า ระยะทางรวม 100.5 กม. วงเงินรวมประมาณ 2,021 ล้านบาท ได้แก่

1.สายสีแดง สถานีรถไฟอุดรธานี-สนามบินนานาชาติอุดรธานี
2.สายสีส้ม รอบเมืองอุดรธานี
3.สายสีเขียว ศาลแรงงาน ภาค 4-ถนนโพศรี-ถนนศรีสุข
4.สายสีน้ำเงิน ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์-ตลาดผ้านาข่า
5.สายสีชมพู ม.ราชภัฎอุดรธานี วิทยาเขตสามพร้าว-ทุ่งศรีเมือง-ถนนอดุลยเดช และ
6.สายสีเหลือง แยกบ้านเลื่อม-แยกบ้านจั่น

โดยจะนำร่อง 2 สายก่อน คือ 1.สายสีแดง และ สายสีส้ม ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย  

ส่วนกรณีเส้นทางนำร่อง 2 เส้นทางก่อน คือ

1.สายสีแดง ใช้รถเมล์ไฟฟ้า 9 คัน วงเงิน 494 ล้านบาท และ
2.สายสีส้ม ใช้รถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) ใช้รถ 8 คัน วงเงิน 254 ล้านบาท

ทั้ง 2 สายคาดว่าจะเปิดให้บริการปี 66 ผู้เข้าร่วมสัมมนามองว่า ถ้าเป็นนักเรียนและนักศึกษา ควรจะมีส่วนลดค่าโดยสารให้ ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบจำหน่ายบัตรรายสัปดาห์หรือบัตรรายเดือน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งกรณีที่ใช้รถเมล์ไฟฟ้าในการเดินทางหลายต่อ เพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง บางครั้งผู้โดยสารต้องจ่าย 20 บาทตลอดสายทุกครั้งที่ใช้บริการ และต้องรอรถเมล์ไฟฟ้านาน ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อรถเมล์จำนวนมาก อาจเปลี่ยนไปใช้รถรับจ้าง รถรับจ้าง หรือแท็กซี่ ที่ยอมจ่ายค่าโดยสารครั้งเดียวประมาณ 100-200 บาท ทั้งนี้เมื่อมีรถเมล์ไฟฟ้าใช้ทางผู้ประกอบการเดินรถต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมารองรับการเดินทางของผู้โดยสาร อาทิ การตรวจสอบตำแหน่งรถ




ด้านกรณีเดินทางด้วยรถเมล์หลายต่อนั้น หากอนาคตผู้ประกอบการเป็นรายเดียวกัน เช่น สายสีแดง และสายสีส้ม ต้องนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ ทำให้ง่ายต่อการบริการจัดการและทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้ เช่น ขึ้นสายสีแดงจ่าย 20 บาทตลอดสาย จากนั้นมาขึ้นสายสีส้มต่ออาจจะจ่ายเพิ่มอีก 10 บาท หรือไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ ซึ่งต้องไปพิจารณาอีกต่อไป เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องหารเดินทางมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ร่วมสัมมนากังวลว่า รถเมล์ไฟฟ้าทั้ง 6 สาย จะทับซ้อนบางแนวเส้นทางการเดินรถของอุดรซิตี้บัสที่ให้บริการปัจจุบัน 2 สาย คือ สายที่ 20 สายสีแดง เส้นทางบิ๊กซีอุดรฯ-สนามบินอุดรธานี และ 2.สายที่ 21 สายน้ำเงิน เส้นทางสี่แยกตลาดรังษิณา-สี่แยกบ้านจั่น โดยเฉพาะจุดจอดรถเมล์ที่ป้ายเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, ยูดีทาวน์ และสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งยอมรับว่าจุดจอดอาจจะทับซ้อนกันบ้างบางส่วน แต่แนวเส้นทางวิ่งไม่เหมือนกัน
 
และอนาคตรถเมล์ไฟฟ้าสายสีแดงที่จะนำร่องนี้ หากเปิดให้บริการแล้วได้รับความนิยมจากผู้โดยสารจำนวนมาก มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ที่จะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการบนดิน หรือลอยฟ้า ทำให้ไม่มีผลกระทบกับอุดรซิตี้บัสแน่นอน แต่ในทางกลับกันอุดรซิตี้บัสจะเป็นระบบการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ (ฟีดเดอร์) ที่จะขนส่งผู้โดยสารให้ใช้บริการแทรมด้วยซ้ำ หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วจะสรุปประกอบผลการศึกษาให้สมบูรณ์ คาดแล้วเสร็จเดือน ก.ค. 62 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา ส.ค. 62 จากนั้นเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) คาดว่าจะเป็นปลายปี 62
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2019 9:52 am    Post subject: Reply with quote

เปิด 6 จุดจอดแล้วจรเมล์ไฟฟ้าอุดรฯ
อังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 14.05 น.

เปิดแผนพัฒนาจุดแล้วจรรถเมล์ไฟฟ้าอุดรธานี  6 แห่ง ก่อนสรุปผลการศึกษาเสนอกระทรวงคมนาคม และ คจร. เห็นชอบต่อไป


รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า สัปดาห์นี้จะประชุมพิจารณาเห็นชอบรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนสางสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี หลังจากที่ได้สรุปผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทฯ ระยะเวลา 20 ปี (63-82) คือ แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 100.5 กม. วงเงินรวมประมาณ 2,021 ล้านบาท ใช้ระบบรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถเมล์ไฟฟ้า) ได้แก่ 1.สายสีแดง สถานีรถไฟอุดรธานี-สนามบินนานาชาติอุดรธานี 2.สายสีส้ม รอบเมืองอุดรธานี 3.สายสีเขียว ศาลแรงงาน ภาค 4-ถนนโพศรี-ถนนศรีสุข 4.สายสีน้ำเงิน ค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์-ตลาดผ้านาข่า 5.สายสีชมพู ม.ราชภัฎอุดรธานี วิทยาเขตสามพร้าว-ทุ่งศรีเมือง-ถนนอดุลยเดช และ 6.สายสีเหลือง แยกบ้านเลื่อม-แยกบ้านจั่น โดยจะนำร่อง 2 สายก่อน คือ 1.สายสีแดง และ สายสีส้ม ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาจุดจอดแล้วจร เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะตามแนวเส้นทางที่จัดเตรียมไว้ สำหรับแนวเส้นทางได้จัดตำแหน่งจุดจอดแล้วจรไว้ 6 แห่ง ได้แก่ 1.บริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง สถานีรถไฟอุดรธานี พื้นที่ก่อสร้าง 15,120 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ราบ 4,320 ตารางเมตร สำหรับจอดรถจักรยานยนต์ (จยย.) 720 ตารางเมตร รองรับรถ จยย. 60 คัน และ พื้นที่อาคารจอดรถ 3,600 ตารางเมตร รองรับรถยนต์ 355 คัน สามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะผ่านสถานีรถไฟอุดรธานี 2.บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 พื้นที่ก่อสร้าง 9,975 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบทั้งหมด รองรับรถยนต์ 164 คัน และรถ จยย. 62 คัน


    

3.สายสีเขียว บริเวณสถานีศาลแรงงานภาค 4 พื้นที่ก่อสร้าง 7,700 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบทั้งหมด รองรับรถยนต์ 268 คัน และ รถ จยย. 147 คัน  4.สายสีชมพู บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์สามพร้าว) พื้นที่ก่อสร้าง 4,800 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบทั้งหมด รองรับรถยนต์ 150 คัน และ รถ จยย. 82 คัน  5.สายสีน้ำเงินทิศเหนือ บริเวณสถานีตลาดผ้านาข่า พื้นที่ก่อสร้าง 3,250 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบทั้งหมด รองรับรถยนต์ 100 คัน และ รถ จยย. 60 คัน และ 6.สายสีน้ำเงินทิศใต้ บริเวณสถานีค่ายยุทธศิลป์ประสิทธิ์ พื้นที่ก่อสร้าง 3,500 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบทั้งหมด รองรับรถยนต์ 103 คัน และ รถ จยย. 50 คัน ส่วนวงเงินในการลงทุนนั้นไม่ได้ระบุไว้เพราะจะทำให้มูลค่าโครงการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการพัฒนาจุดจอดแล้วจรนั้นหากจังหวัดเป็นผู้พัฒนาเอง ในพื้นที่ 6 แห่งดังกล่าวจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายราคาที่ดินที่จะลงทุนได้ ขณะเดียวกันยังมีแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) และ การจัดระบบจราจรภายในจังหวัดด้วย
    
อย่างไรก็ตามหากรายงานฉบับสมบูรณ์ได้รับความเห็นชอบแล้ว สนข. จะสรุปผลการศึกษาทั้งหมดนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาช่วงเดือน ก.ย.62 ก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณา เพื่อมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

ดึงBTSลงทุน1.2หมื่นล.ลุยรถไฟฟ้าต่อยอด‘อุดรซิตี้บัส’รับศูนย์กลางไมซ์
ออนไลน์เมื่อ 18 พฤษภาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3470 ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2562
Click on the image for full size

“อุดรธานีพัฒนาเมือง” เร่งต่อยอด “อุดรซิตี้บัส” ผนึกบีทีเอสผุดรถไฟฟ้า 2 เส้นทางลงทุนนำร่อง 1.2 หมื่นล้านรับเปิดพื้นที่ไมซ์-เศรษฐกิจเมืองสีเขียว เผยช่วงเปิดเดินรถซิตี้บัสทะลัก 800 คนต่อวันจากกรณีบริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด เปิดให้บริการเดินรถโดยสาร “อุดรซิตี้บัส” รูปแบบสมาร์ทบัสด้วยรถปรับอากาศใน 2 เส้นทางจำนวน 10 คันเบื้องต้นพบว่ามีประชาชนใช้บริการจำนวนมากไม่น้อยกว่า 800 คนต่อวัน ล่าสุดได้ศึกษาเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเข้ามาทดแทนทั้ง 2 เส้นทางรองรับผู้ใช้บริการที่หนาแน่น จากการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานีที่จะใช้รูปแบบไมซ์และเศรษฐกิจสีเขียวมากระตุ้นหลังจากนี้

จากการให้สัมภาษณ์ ของ พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานบริหาร บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด ระบุว่าได้หารือร่วมกับกลุ่มบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในพื้นที่กรุงเทพฯเพื่อชวนร่วมลงทุนกับ “อุดรพัฒนาเมือง” และเทศบาลเมืองอุดรธานีตลอดจนภาคเอกชนในพื้นที่ร่วมพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า

เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 8 กิโลเมตร และ 15 กิโลเมตร จากเส้นทางซิตี้บัสในปัจจุบันซึ่งผ่านพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญหลายแห่ง อาทิ ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม ศูนย์ราชการ ตลาดชุมชน“เมืองแห่งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมยังเป็นมนต์เสน่ห์ของอุดรธานี

อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ศูนย์กลางสามเหลี่ยมมรดกโลกคือ ฮาลองของเวียดนาม หลวงพระบางของสปป.ลาว และบ้านเชียงที่อุดรธานีของไทย อยู่ระหว่างการประสานความร่วมมือกันให้ต่อยอดธุรกิจต่อกันหากมีรถไฟฟ้าจะเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น”

ด้านนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่อุดรธานีได้เห็นความก้าวหน้าใน 2 เรื่อง คือ มีรถโดยสารอุดรซิตี้บัสให้บริการ 2 เส้นทาง และศูนย์ประชุมมณฑาทิพย์ที่จุคนได้มากถึง 1.2 หมื่นคน อีกทั้งความคืบหน้าของการเกิดขึ้นของรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่กำหนดเปิดบริการปี 2568 มีสถานีอุดรธานีที่เกิดศักยภาพสูงได้ในอนาคต

“โดยเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมจากสนามบินไปยังสถานีรถไฟอุดรธานีมีความคุ้มค่าน่าลงทุน ระยะทาง 15 กิโลเมตร จะเริ่ม เก็บข้อมูลการเดินทางจากปัจจุบันเป็นต้นไปก่อนก้าวไปสู่การศึกษาออกแบบ

โดยต้องการให้บริการ 15 นาทีต่อขบวน สำหรับจุดเดโปหรือศูนย์ซ่อมบำรุง บริษัท ติดต่อขอเช่าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในจุดยูดีทาวน์ ย่านเศรษฐกิจสำคัญ ส่วนแนวเส้นทางไม่ต้องเวนคืน ใช้เขตผิวทางของถนนเป็นหลัก เบื้องต้นจะใช้แบบรถรางไฟฟ้า โดยแนวทางการเพิ่มผู้โดยสารจะเห็นชัดเจนจากการพัฒนาศูนย์กลางของไมซ์และเศรษฐกิจต่างๆอาทิ ศูนย์ของกลุ่มลุ่มนํ้าโขงฝั่งตะวันออก”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©