Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180451
ทั้งหมด:13491685
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 239, 240, 241 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2019 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดลายแทง “คมนาคม” รอรัฐบาลใหม่ บิ๊กโปรเจกต์! ค้างท่อ 1.7 ล้านล้าน
เผยแพร่: 24 มิ.ย. 2562 09:47 ปรับปรุง: 24 มิ.ย. 2562 12:42 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

เปิดลายแทง “คมนาคม” รอรัฐบาลใหม่ บิ๊กโปรเจ็กต์! ค้างท่อ 1.7 ล้านล้าน เผือกร้อน! เวนคืน “มอเตอร์เวย์” ซื้อฝูงบินล็อตใหญ่-เทอร์มินัล 2

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนผ่านแผนปฏิบัติการ (Action Plan) รายปี โดยในปี 2562 มี 41 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท

แต่ทว่า เพราะเป็นรอยต่อที่รัฐบาล คสช.จะสิ้นสุด และรัฐบาลจากการเลือกตั้งกำลังจะเข้ามาทำหน้าที่แทน จึงเป็นที่จับตาว่าโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ จะได้รับการขับเคลื่อนต่อเนื่องให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่

โดยช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โครงการะบบรางถือว่าได้รับการผลักดันเป็นพิเศษ มีการอนุมัติงบลงทุนจำนวนมหาศาลเป็นประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ เฟสแรก 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กม. เงินลงทุนกว่า 1.18 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และทยอยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2562-2566

ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กม. เงินลงทุนกว่า 2.72 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนจัดทำรายละเอียดเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) พิจารณา จากนั้นจึงจะเสนอ ครม.ชุดใหม่

“วรวุฒิ มาลา” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การลงทุนรถไฟทางคู่เฟส 2 คาดว่ารัฐบาลอาจจะมีการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากรถไฟทางคู่ระยะแรกที่มีการอนุมัติพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อทยอยการลงทุน ซึ่งอาจจะอนุมัติโดยดูเส้นทางที่จะทำให้ครบโครงข่าย โดยเฉพาะเส้นทางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาจจะได้รับการอนุมัติก่อน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ สามารถเชื่อมการขนส่งโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าจากหนองคาย นครพนม อุบลราชธานี มายังชุมทางถนนจิระ แก่งคอย เพื่อส่งต่อไปยังท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง

ขณะที่รถไฟทางคู่สายใหม่จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติตั้งแต่ปี 2561 และล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2562 ครม.ได้อนุมัติเส้นทางบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท ถือเป็นโปรเจกต์รถไฟที่มีมูลค่าการลงทุนรวมถึง 1.5 แสนล้านบาท ที่รอรัฐบาลใหม่มาตัดเค้กเปิดประมูล

ยังไม่รวมรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยายอีก 3 สายที่ ครม.อนุมัติไปแล้ว มูลค่า 23417.61 ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ที่อยู่ในขั้นตอนเตรียมเปิดประมูล

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีโปรเจกต์ที่อยู่ในแผนงานมูลค่าหลายแสนล้านบาทเข้าคิวรอรัฐบาลใหม่ทำคลอด เช่น รถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ซึ่งได้มีการปรับกรอบวงเงินเพิ่มเป็น 50,633.50 ล้านบาทที่ต้องเสนอ ครม.พิจารณา

การดำเนินโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม. เงินลงทุนกว่า 2.10 แสนล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 210 กม. เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท

@รถไฟฟ้าสีส้ม และม่วงใต้ กว่า 2 แสนล้าน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มี 2 โครงการสำคัญ ซึ่งคณะกรรมการร่วมทุนรัฐและเอกชน (PPP) เห็นชอบแล้ว รอจ่อเข้า ครม. ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุนค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท ค่าระบบและรถไฟฟ้ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

ส่วนสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเตรียมประมูลก่อสร้าง โดย รฟม.ตั้งเป้าจะประกวดราคาก่อสร้างในช่วงปลายปี 2562

@เผือกร้อน งบเวนคืนมอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี” พุ่งปรี๊ด

กรมทางหลวงมีโครงการใหญ่อย่าง มอเตอร์เวย์ ซึ่งได้รับอนุมัติไปแล้ว 3 โครงการ ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด ซึ่งได้เปิดประมูลเริ่มก่อสร้างแล้ว แต่ยังติดปัญหาการเพิ่มงบค่าเวนคืนที่ดิน สายบางใหญ่-กาญจนบุรี จากกรอบเดิม 5,420 ล้านบาท เป็น 19,637 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,217 ล้านบาท ซึ่งปมค่าเวนคืนที่พุ่งกระฉูดให้งานก่อสร้างดีเลย์ถึง 2 ปีแล้ว และเป็นเผือกร้อนรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ

นอกจากนี้ ยังมีมอเตอร์เวย์สายใหม่ และที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ที่เข้าคิวรออนุมัติ ได้แก่ มอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ มูลค่าเงินลงทุนรวม 79,006 ล้านบาท มอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-ชายแดน/มาเลเซีย มูลค่า 37,470 ล้านบาท, ทางยกระดับ อุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 29,269.97 ล้านบาท และทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว 32,285 ล้านบาท, ที่พักริมทาง มอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา 1,579.88 ล้านบาท, ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา ช่วงชลบุรี-พัทยา 1,504 ล้านบาท, สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง 620 ล้านบาท

@ชงผุดทางด่วน N2 และสายกระทู้-ป่าตอง

สำหรับโครงการทางด่วนนั้น มีโครงการใหม่ที่เตรียมนำเสนอ ครม. คือ สายกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กม. เงินลงทุน 14,177.22 ล้านบาท และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W corridor ด้านตะวันออก วงเงินลงทุน 14,382 ล้านบาท เบื้องต้น กทพ.จะใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือTFF

@เรื่องด่วน จัดหาฝูงบินใหม่ 38 ลำของการบินไทย 1.6 แสนล้าน

ขณะที่แผนจัดหาฝูงบินใหม่ จำนวน 38 ลำ วงเงินประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ของการบินไทย ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์แล้ว ยังต้องลุ้น ครม.ใหม่ว่าจะเอาด้วยหรือไม่ ซึ่งตามแผนการบินไทย แบ่งการจัดหาล็อตแรกจำนวน 25 ลำก่อน เพื่อให้มีการทยอยรับมอบใน 2 ปี เพื่อมีเครื่องบินใหม่มาเสริมประสิทธิภาพการให้บริการ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟู แก้ปัญหาขาดทุน

@ทอท.ดันก่อสร้างเทอร์มินัล 2

โครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงินโครงการ 4.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ถูกวิพากษ์วิจารณ์การประมูลออกแบบ และการปรับแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นอีกประเด็นร้อนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ

@ฟื้นฟู ขสมก. ซื้อรถเมล์ใหม่ 2,188 คัน วงเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท

สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.พร้อมสนอ ครม.แล้ว โดยจะมีการแก้ปัญหาหนี้สินกว่าแสนล้านบาท พร้อมกับการซื้อรถใหม่ 3,000 คัน วงเงินลงทุน 21,210.343 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้จัดหาแล้ว 489 คันวงเงิน 1,891.452 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะดำเนินการภายใน 3 ปี (62-64) โดยปี 2562 จะปรับปรุงสภาพรถโดยสาร NGV (เดิม) จำนวน 323 คัน

ขณะที่จะมีการซื้อรถใหม่ จำนวน 2,188 คัน ได้แก่ จัดซื้อรถไฟฟ้า (EV) จำนวน 35 คัน พร้อมสถานีเติมก๊าซ วงเงิน 466.94 ล้านบาท

ที่เหลือจะเป็นแผนในปี 2563 ได้แก่ เช่ารถโดยสารใหม่ จำนวน 700 คัน วงเงินรวม 7,000 ล้านบาท (เช่ารถไฮบริด 400 คัน วงเงิน 4,800 ล้านบาท, เช่ารถ NGV 300 คัน วงเงิน 2,200 ล้านบาท) และปี 2564 จัดซื้อรถโดยสารไฮบริด จำนวน 1,453 คัน วงเงิน 11,624 ล้านบาท




ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนโปรเจกต์ภายใต้การกำกับของ รมว.คมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ใช้นโยบาย One Transport โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561-2565) วงเงินลงทุนรวม 1,714,241 ล้านบาท โครงการส่วนใหญ่ดำเนินการเห็นเป็นรูปธรรม และบางโครงการใกล้แล้วเสร็จ

ระยะที่ 2 โครงการที่ดำเนินการในปี 2566-2570 วงเงินลงทุนรวม 636,863 ล้านบาท

ระยะที่ 3 ดำเนินการในปี 2571-2575 วงเงินลงทุนรวม 418,121 ล้านบาท

ระยะที่ 4 ดำเนินการในปี 2576-2580 วงเงินลงทุนรวม 318,436 ล้านบาท

ทว่า! หากโควตาเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นของพรรคภูมิใจไทย ส่วนพลังประชารัฐได้แค่รัฐมนตรีช่วยฯ ...มีความเป็นไปได้ที่หลายโครงการคมนาคมอาจต้องมีการ “ปรับ...เปลี่ยนจากแผน ไม่มากก็น้อย”

แม้หัวโต๊ะ ครม.จะยังเป็น “พลเอก ประยุทธ์” คนเดิม แต่ต้องไม่ลืมว่า ครม.ใหม่เป็นนักการเมืองกว่าครึ่ง โดยเฉพาะพวก “รุ่นเก่า...เก๋าเกม” ที่จะเบ็ดเสร็จ สั่งหันซ้ายหันขวาคงจะไม่ง่าย...เหมือนเดิมแน่นอน!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2019 6:53 am    Post subject: Reply with quote

ประโยชน์ของรถไฟทางคู่ต่อการขนส่งสินค้าเกษตรแปรรูปของอีสาน
แจงสี่เบี้ย
รวมคอลัมนิสต์ด้านเศรษฐกิจ การเงิน จากแบงก์ชาติ
กรุงเทพธุรกิจ 25 มิถุนายน 2562

ภาคอีสานเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศ ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย มากกว่าครึ่งมาจากภาคอีสาน

ในขณะที่ผลผลิตยางพารายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายส่งเสริมการปลูกยางของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังส่งสินค้าเกษตรที่ผลิตในอีสานออกไปขายในต่างประเทศด้วย

แม้ว่าสินค้าเกษตรจะเหมาะกับการขนส่งทางรางเพราะมีน้ำหนักมาก ปริมาณขนส่งต่อครั้งสูง และมูลค่าต่อหน่วยต่ำ แต่ส่วนหนึ่งเพราะข้อจำกัดของเครือข่ายเส้นทางรถไฟที่มีเพียง 4,430 กิโลเมตรทั่วประเทศ ซึ่งน้อยกว่าถนน 100 เท่า รวมทั้งความไม่แน่นอนของเวลาที่ใช้ในการขนส่ง ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอื่นยังไม่เพียงพอ ทำให้การขนส่งทางรางไม่เป็นที่นิยมนัก โดยข้อมูลสถิติของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) (ข้อมูลปี 2559) ชี้ให้เห็นในภาพรวมว่า การขนส่งทางรางมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของการขนส่งทั้งหมดในประเทศไทยเท่านั้น

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่คาดว่าจะช่วยยกระดับศักยภาพการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ หากถามว่าการขนส่งสินค้าเกษตรแปรรูปของอีสานจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้อย่างไร คำตอบคือ โครงการนี้จะตอบโจทย์อย่างน้อยใน 3 เรื่อง ได้แก่
(1) ช่วยลดเวลาการขนส่งและเพิ่มความแน่นอน เพราะรถไฟไม่ต้องจอดรอสับหลีกขบวนอีกต่อไป
(2) โครงข่ายรถไฟครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น นอกเหนือจาก 2 เส้นทางเดิม ซึ่งได้แก่ ชุมทางถนนจิระ-หนองคาย และชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี แล้วจะมีเส้นทางใหม่อีก 1 เส้นทาง คือ บ้านไผ่-นครพนม ซึ่งทุกเส้นทางสามารถเชื่อมต่อไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบังได้ และ
(3) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานมีความพร้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มสถานที่เก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) ซึ่งจะเอื้อให้การรวบรวมสินค้าเกษตร ก่อนเคลื่อนย้ายต่อไปยังท่าเรือ ทำได้สะดวกขึ้น

คำถามต่อไป แล้วโครงการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนได้เพียงใด เมื่อแล้วเสร็จ คาดว่าจะช่วยลดเวลาที่ใช้ในการขนส่งได้ถึงร้อยละ 30 เช่น การส่งสินค้าจากขอนแก่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยการใช้รถไฟรางเดี่ยวในปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 12-14 ชั่วโมง เพียงจะลดลงเหลือ 9-10 ชั่วโมงเท่านั้นหากเป็นการขนส่งโดยรถไฟรางคู่ ซึ่งใกล้เคียงกับการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ต้นทุนถูกกว่า 2 เท่า นอกจากนี้ หากสินค้าเกษตรสำคัญของอีสานทั้ง 4 ชนิด คือ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งมีผลผลิตรวมประมาณ 80 ล้านตันต่อปี เปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คาดว่าจะสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี

Click on the image for full size

อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการที่ ธปท. ได้หารือกับภาคธุรกิจในพื้นที่ พบว่าการขนส่งทางรางจะตอบโจทย์ได้นั้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ
(1) ลักษณะสินค้า หากเป็นสินค้าที่เสียหายได้ง่ายในระหว่างขนย้าย การขนถ่ายหลายครั้ง อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย
(2) ปริมาณการขนส่ง การขนส่งทางรางจะคุ้มก็ต่อเมื่อขนส่งปริมาณมาก ๆ ต่อครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมอาจได้รับประโยชน์จากการขนส่งในระบบรางไม่มากนัก และ
(3) ที่ตั้งของผู้ประกอบการ หากโรงงานตั้งอยู่ไกลจากสถานีขนถ่ายสินค้า ผู้ประกอบการอาจไม่ได้ประโยชน์จากการขนส่งทางรางเท่าที่ควร

จากประโยชน์และข้อจำกัดข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรประเภทแป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล และยางพารา มีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยเกิดความเสียหายขณะขนย้าย และส่วนมากเป็นกิจการขนาดใหญ่ ทำให้ง่ายต่อการรวบรวมและขนส่ง ขณะที่ข้าวมีโอกาสเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางรางน้อยกว่า เพราะเป็นสินค้าที่เสียหายจากการขนส่งได้ง่าย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ผู้ซื้อเน้นคุณภาพเป็นหลัก ประกอบกับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้การรวบรวมสินค้าจำนวนมากเพื่อขนส่งโดยรถไฟแต่ละครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รถไฟทางคู่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการขนส่งสินค้าเกษตรของภาคอีสาน จากจำนวนเส้นทาง ความแน่นอนด้านเวลา และสถานที่เก็บตู้สินค้า คาดว่าผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่บางประเภทที่จะให้ความสนใจต่อการขนส่งทางรางมากขึ้น อย่างไรก็ดี การขนส่งระบบรางจะได้รับความนิยมมากขึ้น หากมีกุญแจสำคัญ คือ การมีหน่วยงานกลางที่มาทำหน้าที่บริหารจัดการส่วนกลาง เช่น การผลักดันให้เกิดการแบ่งปันตู้คอนเทนเนอร์ในขบวนเดียวกัน (เศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน หรือ Sharing Economy) เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมมีส่วนร่วมได้มากขึ้น และการลงทุนด้านเทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า (GPS Tracking) ในขบวนรถไฟ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะสินค้า และวางแผนการขนส่งได้แม่นยำขึ้น การขนส่งระบบรางก็จะมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจในภาคอีสานได้มากขึ้น

โดย...

โชติพัฒน์ กลิ่นสุคนธ์
สุพิชญา สุวรรณโภชน์
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2019 10:04 am    Post subject: Reply with quote

ชาวศรีราชาเฮ! รถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยองไม่ผ่านชุมชนแล้ว
เผยแพร่: 2 ก.ค. 2562 18:31 ปรับปรุง: 2 ก.ค. 2562 18:34 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวศรีราชาดีใจ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย ยกเลิก 3 เส้นทางที่ทำการศึกษาในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง หลังพบมีการเวนคืนที่ดิน กระทบชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ล่าสุดเลือกเส้นทางที่ 4 โดยไม่ผ่านชุมชน

วันนี้( 2ก.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย นายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เป็นประธานประชุมรับฟัง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ หลังชาวบ้านในพื้นที่ ต.สรุศักดิ์ ,ต.หนองขาม ,ต.บ่อวิน ในอำเภอศรีราชา เกิดความวิตกกังวลกับเส้นทางดังกล่าว โดยหวั่นจะถูกเวนคืนที่ดิน เพื่อใช้ในการก่อสร้างเส้นทาง โดยเชิญนายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน มาชี้แจงให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงเส้นทางและแนวทางที่จะเกิดขึ้น โดยมีข้าราชการ ,ชาวบ้าน และผู้นำท้องถิ่น กว่า 500 คน มาร่วมรับฟังในครั้งนี้

นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ได้ทำการศึกษาตั้งแต่เดือน ก.พ. ถึง เดือน ก.ค. นั้น โดยได้ทำการศึกษาพร้อมกันทั้งสิ้น 4 เส้นทาง คือ AB1-AB2-AB3 และ AB4 ซึ่งยังไม่ได้เลือก เส้นทางใดเป็นเพียงการศึกษาความเหมาะสม

โดยที่ผ่านมาบริษัทที่ปรึกษาได้ลงมาเก็บข้อมูลในเส้นทางต่างๆ แล้ว ทั้ง 4 เส้นทาง เพื่อตัดสินว่าเส้นทางใดมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งตลอดระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทางนั้น ประชาชน ได้รับข้อมูลและข่าวสารที่เผยแพร่ออกไปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนและหวั่นวิตก กับเส้นทางดังกล่าว ดังนั้นเพื่อสร้างความสบายใจ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงต้องลงมาชี้แจงและเพื่อยืนยันความชัดเจนในเส้นทางที่จะเกิดขึ้น

นายปัฐตพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลจากการศึกษากว่า 95 % พบว่า เส้นทาง AB1-ABและ AB3 นั้น จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง , มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชน โดยจะมีผลกระทบมากกว่า เส้นทาง AB4 ดังนั้น เส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้ คือ เส้นทาง AB4 และเมื่อออกทำมาชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ได้หายวิตกกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นแล้ว

สำหรับเส้นทาง AB4 นั้น จะเริ่มต้นที่สถานีศรีราชา ซึ่งใช้เส้นทางเดิมไปจนถึงสถานีบางละมุง โดยไม่มีการเวนคืนที่ดิน และเมื่อใกล้ถึงเส้นทางบางละมุงจะมีทางแยกออกมาทางทิศตะวันออก โดยจะตัดผ่านไปทางทิศใต้บริเวณห่างจากหมู่บ้านแมกไม้แหลมฉบัง 2 พอสมควร พร้อมผ่านถนนสายห้วยกู และผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง

จากนั้นจะข้ามถนนมอเตอร์เวย์ มาตัดกับถนนสายนาวัง ตัดเข้ามาที่บริเวณภูเขาไม้แก้ว ใกล้สำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดาด้านทิศใต้ พร้อมมาตัดข้ามถนนทางหลวงสายสัตหีบ-พนมสารคาม ใกล้หมู่บ้านชาญสมอน ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง โดยเส้นทางจะเลียบนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง มาทางทิศใต้ ผ่านหมู่บ้านลีโอ เรนซิเด้นซ์ จากนั้นจะข้ามมาที่ตำบลเขาไม้แก้ว และเข้าสู่เขตพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง บริเวณวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

จากนั้นจะวกลงมาทางด้านทิศใต้ ผ่านบริษัทจิลสตีล สถานีไฟฟ้าแรงสูงบ้านค่าย และตัดผ่านใกล้วัดหนองสะพาน เข้าสู่ตัวเมืองระยอง ทางด้านทิศเหนือด้านวัดน้ำคอก(เก่า) โดยเส้นทางทั้งหมดระยาว 64 กิโลเมตรแต่ถ้าร่วมเส้นทางรถไฟเดิม จะยาวทั้งสิ้น 74 กิโลเมตร

นายปัฐตพงษ์ กล่าวอีกว่าหลังจากนี้ เมื่อศึกษาความเหมาะสม และยืนยันเส้นทางที่ชัดเจนแล้ว จึงจะต้องเสนอของบจากกระทรวงคมนาคม เพื่อออกแบบรายละเอียดเส้นทางที่เลือกไว้ โดยใช้ระยะเวลาในการออกแบบประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี จากนั้นก็จะต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA.) และด้านการเวนคืน พร้อมนำเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 7-8 ปี ถึงจะเห็นเป็นรูปธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2019 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวศรีราชาเฮ! รถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยองไม่ผ่านชุมชนแล้ว
เผยแพร่: 2 ก.ค. 2562 18:31 ปรับปรุง: 2 ก.ค. 2562 18:34 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายปัฐตพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลจากการศึกษากว่า 95 % พบว่า เส้นทาง AB1-ABและ AB3 นั้น จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง , มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชน โดยจะมีผลกระทบมากกว่า เส้นทาง AB4 ดังนั้น เส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้ คือ เส้นทาง AB4 และเมื่อออกทำมาชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ได้หายวิตกกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นแล้ว

สำหรับเส้นทาง AB4 นั้น จะเริ่มต้นที่สถานีศรีราชา ซึ่งใช้เส้นทางเดิมไปจนถึงสถานีบางละมุง โดยไม่มีการเวนคืนที่ดิน และเมื่อใกล้ถึงเส้นทางบางละมุงจะมีทางแยกออกมาทางทิศตะวันออก โดยจะตัดผ่านไปทางทิศใต้บริเวณห่างจากหมู่บ้านแมกไม้แหลมฉบัง 2 พอสมควร พร้อมผ่านถนนสายห้วยกู และผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง

จากนั้นจะข้ามถนนมอเตอร์เวย์ มาตัดกับถนนสายนาวัง ตัดเข้ามาที่บริเวณภูเขาไม้แก้ว ใกล้สำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดาด้านทิศใต้ พร้อมมาตัดข้ามถนนทางหลวงสายสัตหีบ-พนมสารคาม ใกล้หมู่บ้านชาญสมอน ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง โดยเส้นทางจะเลียบนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง มาทางทิศใต้ ผ่านหมู่บ้านลีโอ เรนซิเด้นซ์ จากนั้นจะข้ามมาที่ตำบลเขาไม้แก้ว และเข้าสู่เขตพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง บริเวณวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

จากนั้นจะวกลงมาทางด้านทิศใต้ ผ่านบริษัทจิลสตีล สถานีไฟฟ้าแรงสูงบ้านค่าย และตัดผ่านใกล้วัดหนองสะพาน เข้าสู่ตัวเมืองระยอง ทางด้านทิศเหนือด้านวัดน้ำคอก(เก่า) โดยเส้นทางทั้งหมดระยาว 64 กิโลเมตรแต่ถ้าร่วมเส้นทางรถไฟเดิม จะยาวทั้งสิ้น 74 กิโลเมตร



เมื่อดูรูปการณ์ แล้ว หวยจะออกทาง AB4 ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 1 - 10.7 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 2 - 15.8 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 3 - 13.0 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม เหมราชชลบุรี - 4.4 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด - 9.0 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ระยอง - 0.8 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม เหมราชระยอง -1.0 กิโลเมตร


มีแค่ห้าสถานีจากบางละมุง ไประยอง ระยะทาง 64 กิโลเมตร (ทางจากศรีราชา ไป บางละมุงแค่ 10 กิโลเมตรเอง) โดยผ่าน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง กับ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง แต่งานนี้ นิคมปลวกแดงท่าจะอด เพราะรถไฟไม่ผ่าน แต่ถ้าผ่านบ่อวิน ก็ได้พวกทำงานในนิคมอุตสาหกรรมแถวบ่อวิน และ ได้คนจาก วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย ด้วย นอกเหนือจากที่ได้จากพัฒนานิคม และ เขาไม้แก้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2019 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวศรีราชาเฮ !! โครงการรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง ไม่ผ่านชุมชนแล้ว


https://www.youtube.com/watch?v=9SBefz-U7vo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2019 9:57 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-แก่งคอย ดีเดย์ก.ย.นี้เปิดให้บริการ
ออนไลน์เมื่อ 04 กรกฎาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3484 ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2562

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางสายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ช่วยขยายขีดความสามารถของเส้นทางขนส่งหลักในการเชื่อมโยงการขนส่งระบบรางจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกและมุ่งสู่ท่าเรือแหลมฉบัง สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่อีอีซีของรัฐบาล

รถไฟทางคู่เส้นทางสายนี้เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มอีกจำนวน 1 ทาง ขนาดความกว้างของราง 1 เมตรคู่ขนานไปกับทางเดิม โดย

สัญญาที่ 1 บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ
สัญญาที่ 2 บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด

ดำเนินการงานโยธาและงานระบบแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางนํ้าเปรี้ยว ถึงสถานีชุมทางคลองสิบเก้า แยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีชุมทางแก่งคอย

ทั้งนี้เดือนกันยายน 2562 เมื่อเปิดให้บริการจะเป็นการยกระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ช่วยเปลี่ยนโหมดการขนส่งมาสู่ระบบรางได้มากขึ้นโดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบัวใหญ่เตรียมเฮ การรถไฟลุยตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อสร้างทางลอดรถไฟทางคู่
เสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2562 เวลา 22:45 น.

นครราชสีมา - ชาวบัวใหญ่เตรียมเฮ ตัวแทนการรถไฟลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการก่อสร้างทางลอดรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น
นครราชสีมา – ผู้สื่อข่าวรายงานคืบหน้า กรณีความเดือดร้อนของประชาชนชาวอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จากการใช้งานสะพานและทางลอดใต้รางรถไฟในโครงการรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น โดยปัญหาที่พบหลักๆ คือการไม่มีทางเดินเท้ารวมถึงความไม่ชัดเจนของป้ายและสัญญาณไฟจราจร ทำให้เกิดข้อร้องเรียนมากมายส่งไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย จนถึงขั้นที่นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาต้องเดินทางลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาพร้อมตั้งคณะทำงานประสานกับผู้บริหารการรถไฟให้เร่งเข้ามาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนชาวบัวใหญ่ได้รับความปลอดภัยจากการเดินทางมากยิ่งขึ้น



ล่าสุด ในวันนี้ (6 กรกฎาคม 2562) เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานและผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ได้ร่วมลงพื้นที่ เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงสภาพปัญหาที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ทางลอดใต้ทางรถไฟ 3 แห่ง ได้แก่ ทางแยกมอชูมิตร ชุมชนดอนขุนสนิท และจุดตัดทางหลวงหมายเลข 202 ที่ประชาชนในเขตอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาได้ส่งหนังสือร้องเรียนมายังการรถไฟแห่งประเทศไทย



และเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยการเพิ่มในส่วนของป้ายจราจรและสัญญาณไฟเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้นไปก่อนเป็นการชั่วคราว สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรฐานทางลอดใต้ทางรถไฟในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกแก่ผู้ใช้ทางให้มากที่สุดเป็นการต่อไป.


รฟท.ลงพื้นที่แก้ปัญหาทางลอดรถไฟทางคู่
เสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2562 เวลา 11:58

ชาวบัวใหญ่เตรียมเฮ ตัวแทนการรถไฟลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการก่อสร้างทางลอดรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น

ความคืบหน้า กรณีความเดือดร้อนของประชาชนชาวอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จากการใช้งานสะพานและทางลอดใต้รางรถไฟในโครงการรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น โดยปัญหาที่พบหลักๆ คือการไม่มีทางเดินเท้ารวมถึงความไม่ชัดเจนของป้ายและสัญญาณไฟจราจร ทำให้เกิดข้อร้องเรียนมากมายส่งไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย จนถึงขั้นที่นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาต้องเดินทางลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาพร้อมตั้งคณะทำงานประสานกับผู้บริหารการรถไฟให้เร่งเข้ามาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนชาวบัวใหญ่ได้รับความปลอดภัยจากการเดินทางมากยิ่งขึ้น




ล่าสุด ในวันนี้ (6 กรกฎาคม 2562) เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานและผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ได้ร่วมลงพื้นที่ เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงสภาพปัญหาที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ทางลอดใต้ทางรถไฟ 3 แห่ง ได้แก่ ทางแยกมอชูมิตร ชุมชนดอนขุนสนิท และจุดตัดทางหลวงหมายเลข 202 ที่ประชาชนในเขตอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาได้ส่งหนังสือร้องเรียนมายังการรถไฟแห่งประเทศไทย

และเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยการเพิ่มในส่วนของป้ายจราจรและสัญญาณไฟเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้นไปก่อนเป็นการชั่วคราว สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรฐานทางลอดใต้ทางรถไฟในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกแก่ผู้ใช้ทางให้มากที่สุดเป็นการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2019 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ตรวจพินิจการก่อสร้างสถานีไผ่นาบุญ กม. 162 ทางสายแก่งคอย คลองสิบเก้า และ chord line
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2599273840093764&id=997632000257964&__tn__=C-R



#ข่าวประชาสัมพันธ์ 78/2562
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 12 กรกฎาคม 2562#

การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย พร้อมก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกันยายน 2562 นี้

การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย พร้อมก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2562 โดยรายละเอียดการก่อสร้างในปัจจุบัน สัญญา 1 มีความก้าวหน้าไปแล้ว 94.74% ขณะที่สัญญา 2 ก่อสร้างเสร็จแล้ว 100 % ซึ่งช่วยพัฒนาระบบการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางรางสู่ภาคตะวันออก และอีอีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม มอบหมายนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางราง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี พ.ศ.2558-2565 ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถขับเคลื่อนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ให้เกิดการก่อสร้างได้แล้วหลายเส้นทาง โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่ภาคตะวันออก เชื่อมต่อไปยังโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างเป็นไปได้ด้วยดี และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง ภายในกรอบเวลาที่กำหนดเดือนกันยายน 2562 นี้ โดยมีรายละเอียดความก้าวหน้าในการก่อสร้าง ดังนี้
สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย งบประมาณการก่อสร้าง 9,825 ล้านบาท ระยะทางก่อสร้างทาง 97 กิโลเมตร พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างไปแล้ว 94.74% และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562
สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ งบประมาณการก่อสร้าง 407 ล้านบาท ระยะทางรวม 9 กิโลเมตร ซึ่งมีการก่อสร้างอุโมงค์และทางลอดใต้เขาพระพุทธฉาย 1.2 กิโลเมตร ขณะนี้ก่อสร้างได้เสร็จแล้ว 100 %
นายวรวุฒิฯ กล่าวว่า เมื่อการดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย เสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ และเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางราง เช่น น้ำมัน ก๊าซแอลพีจี ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุคอนเทนเนอร์ ระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างประหยัดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาสู่ระบบราง และลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2019 2:44 pm    Post subject: Reply with quote

ก.ย.นี้สร้างเสร็จสมบูรณ์รถไฟทางคู่ “ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย” เชื่อมโลจิสติกส์ภาคอีสาน-ทะเลตะวันออก
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 July 2019 - 10:51 น.

Click on the image for full size

การรถไฟเผยทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ก.ย.นี้ งานสัญญา 1 มีความก้าวหน้า 94.74% สัญญา 2 เสร็จแล้ว 100% ช่วยพัฒนาระบบการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางรางสู่ภาคตะวันออก และอีอีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม มอบหมายนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางราง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี พ.ศ.2558-2565

Click on the image for full size

ปัจจุบัน การรถไฟสามารถขับเคลื่อนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ให้เกิดการก่อสร้างได้แล้วหลายเส้นทาง โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่ภาคตะวันออก เชื่อมต่อไปยังโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างเป็นไปได้ด้วยดี และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง ภายในกรอบเวลาที่กำหนดเดือนกันยายน 2562 นี้

โดยมีรายละเอียดความก้าวหน้าในการก่อสร้าง ดังนี้

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย งบประมาณการก่อสร้าง 9,825 ล้านบาท ระยะทางก่อสร้างทาง 97 กิโลเมตร พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างไปแล้ว 94.74% และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ งบประมาณการก่อสร้าง 407 ล้านบาท ระยะทางรวม 9 กิโลเมตร ซึ่งมีการก่อสร้างอุโมงค์และทางลอดใต้เขาพระพุทธฉาย 1.2 กิโลเมตร ขณะนี้ก่อสร้างได้เสร็จแล้ว 100%

Click on the image for full size

นายวรวุฒิกล่าวว่า เมื่อรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย เสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ และเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางราง เช่น น้ำมัน ก๊าซแอลพีจี ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุคอนเทนเนอร์ ระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างประหยัดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาสู่ระบบราง และลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2019 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ก.ย.นี้สร้างเสร็จสมบูรณ์รถไฟทางคู่ “ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย” เชื่อมโลจิสติกส์ภาคอีสาน-ทะเลตะวันออก
ประชาชาติธุรกิจ วัน เสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2562 เวลา 10:51 น.

เสร็จก.ย.นี้! รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: เสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2562 เวลา 10:38



รฟท.เผย ทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เสร็จในเดือนก.ย. 2562 เพิ่มขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางรางสู่ภาคตะวันออก และอีอีซี หนุนเปลี่ยนขนส่งจากถนนสู่ราง ลดต้นทุนและประหยัดพลังงาน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยระยะทาง 106 กิโลเมตร มีความก้าวหน้า โดยจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2562

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย งบประมาณการก่อสร้าง 9,825 ล้านบาท ระยะทางก่อสร้างทาง 97 กิโลเมตร พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างไปแล้ว 94.74% และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ งบประมาณการก่อสร้าง 407 ล้านบาท ระยะทางรวม 9 กิโลเมตร ซึ่งมีการก่อสร้างอุโมงค์และทางลอดใต้เขาพระพุทธฉาย 1.2 กิโลเมตร ขณะนี้ก่อสร้างได้เสร็จแล้ว 100 %

ทั้งนี้ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม มอบหมายนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางราง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี พ.ศ.2558-2565 ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถขับเคลื่อนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ให้เกิดการก่อสร้างได้แล้วหลายเส้นทาง

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ และเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางราง เช่น น้ำมัน ก๊าซแอลพีจี ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุคอนเทนเนอร์ ระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างประหยัดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาสู่ระบบราง และลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 239, 240, 241 ... 388, 389, 390  Next
Page 240 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©