Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181419
ทั้งหมด:13492657
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 199, 200, 201 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 12:06 am    Post subject: Reply with quote

ลดแน่นอน!ค่าโดยสารรถไฟฟ้า "ศักดิ์สยาม"ลั่นรอฟังข่าวดี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 กรกฎาคม 2562 เวลา 15:15
ปรับปรุง: 21 กรกฎาคม 2562 เวลา 15:18




"ศักดิ์สยาม"ลั่น นโยบายลดค่าโดยสารขนส่งทุกระบบ "รถไฟฟ้า- รถเมล์" ชัดเจนภายในปีนี้แน่นอน ยันรัฐบาลต้องหาทางลดค่าครองชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชาชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การลดค่าโดยสารขนส่งทุกระบบนั้น เป็นนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งหลังจากแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาแล้วจะมีข่าวดีแน่นอน ซึ่งเรื่องลดค่าโดยสาร จะเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในปีนี้

โดยในวันที่ 30 ก.ค.นี้ จะมอบนโยบายหน่วยงานกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะให้ไปหาแนวทางในการลดค่าโดยสารขนส่งระบบต่างๆ ที่ชัดเจนด้วย โดยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีนโยบายเรื่องค่ารถไฟฟ้า 15 บาท ตลอดสาย ซึ่งจะนำมาร่วมดำเนินการในนโยบายรัฐบาลและของกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ จะสรุปออกมาอย่างไร เท่าไร ขอพิจารณาข้อมูลก่อน เช่น ภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาระต้นทุนของเอกชนในแต่ละโครงการ เป็นต้น

โดยก่อนหน้านี้ เคยมีนโยบาย รถไฟฟรี รถเมล์ฟรี ซึ่งรัฐจะต้องเข้าไปอุดหนุน ดังนั้น การลดค่าโดยสารระบบขนส่งต่างๆ จะมีรูปแบบคล้ายกัน โดยเป้าหมายสำคัญคือต้อง ลดค่าครองชีพให้ประชาชน ให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด

"ผมตั้ง ตัวขี้วัดการทำงาน ไว้ 1 เดือน ดังนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการ"นายศักดิ์สยามกล่าว

ซี่ง พรรคภูมิใจไทย มีนโยบายเอง แกร๊บถูกกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีเรื่องค่ารถไฟฟ้า 15 บาท ตลอดสาย จะนำมาร่วมดำนินการในนามรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 12:54 am    Post subject: Reply with quote

ทีดีอาร์ไอประเมินค่ารถไฟฟ้า 30 บาท/เที่ยวเหมาะสม
22 กรกฎาคม 2562

ทีดีอาร์ไอ เผยราคารถไฟฟ้าเที่ยวละ 30 บาท กำลังดี เผย 15 บาทต่อเที่ยว ภาครัฐต้องชดเชยให้เอกชนอ่วม ด้านผู้ว่าฯ รฟม. ระบุรอนโยบายชัดเจนเพื่อเป็นกรอบเจรจาคู่สัมปทาน นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงประเด็นแก้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง และมีการพูดถึงตัวเลขราคา 15 บาทตลอดสาย ในส่วนของทีดีอาร์ไอเห็นว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม จำเป็นต้องศึกษาจากองค์ประกอบรอบด้าน เช่น ฐานรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการ รายละเอียดของโครงข่ายเส้นทาง และอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น ฐานข้อมูลในต่างประเทศ ต้นทุนค่าเดินทางในระบบรถไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายต่อเดือน สิงคโปร์ ค่าเดินทางจะอยู่ที่ 4-5 % โดยในส่วนของคนไทยนั้นข้อมูลเบื้องต้นค่าโดยสารเดินทางไปกลับต่อวันของรถไฟฟ้าไม่ควรเกิน 100 บาท เมื่อวางเป็นโจทย์แล้ว มาคิดต่อว่า ถ้าค่าเฉลี่ยของรถไฟฟ้าเดินทางต่อเที่ยวอยู่ที่ 30 บาท หรือไปกลับวันละไม่เกิน 60 บาท ประชาชนที่มีฐานเงินเดือนประมาณเดือนละ 18,000 บาท มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเดือนประมาณ 1,200 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ผู้ใช้บริการจะพอแบกรับไหว“ประเมินเบื้องต้นว่าค่าเดินทางระบบรถไฟฟ้าทั้งโครงข่าย 30 บาทต่อเที่ยว ถือเป็นราคาที่เหมาะสม” นายสุเมธ กล่าวทั้งนี้ ยอมรับว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ต้องนำไปสู่การชดเชยให้กับเอกชนผู้ถือสัมปทานนั้น ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอยู่ในพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป ส่วนประเด็นว่าหากมีการกำหนดกรอบค่าโดยสารไม่ว่าจะเป็น 15 บาทต่อเที่ยว หรือ 30 บาทต่อเที่ยว ในส่วนสัมปทานเดินรถไฟฟ้าที่ภาครัฐกับเอกชนมีในปัจจุบันจะต้องจ่ายชดเชยมากแค่ไหนนั้น“อย่างกรณีกำหนดค่าโดยสารต่อเที่ยว 15 บาทนั้น คิดง่าย ๆ ว่าหากคำนวณจากผู้โดยสาร เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสวันละ 800,000 คน รถไฟฟ้าใต้ดิน 300,000 คน รถไฟฟ้าสีม่วงอีก 100,000 คน แอร์พอร์ตลิ้งค์ 100,000 คน ไปคำนวณกับค่าโดยสารเฉลี่ยของผู้โดยสารปัจจุบันคนละ 30 บาท เห็นชัดเจนว่าจะต้องไปชดเชยให้แก่การเดินทางของประชาชนเฉลี่ยคนละ 15 บาทต่อวัน ส่วนนี้ถือว่าเป็นภาระค่อนข้างหนัก” นายสุเมธ กล่าวทั้งนี้ ยังมีประเด็นอื่นที่ต้องศึกษาในรายละเอียด เช่น การนำระบบตั๋วพิเศษ เช่น ตั๋วรายสัปดาห์ ตั๋วเดือน มาเป็นกลไกช่วยลดภาระให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ การปรับลดค่าโดยสาร ทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้นก็จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างที่อยู่อาศัยภายในเมืองตามแนวรถไฟฟ้าด้วยขณะที่ประเด็นกรมการขนส่งทางรางมีการศึกษาว่าการชดเชยต้นทุนค่าเดินทางให้แก่ประชาชนนั้นจะดำเนินการลักษณะนำเงินภาษีท้องถิ่น หรือมีการตั้งกองทุน แบบใดจึงจะเหมาะสม ถือว่าเป็นเรื่องต้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมด้วย ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม. จะรอความชัดเจนนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการ เนื่องจากสัญญาสัมปทานในอดีต เช่น โครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน หัวลำโพง-เตาปูน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ถือสัมปทาน รวมถึงอยู่ระหว่างก่อสร้างซึ่งลงนามไปแล้ว ทั้งรถไฟฟ้าสีชมพู มีนบุรี-แคราย และสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง หากภาครัฐมีนโยบายกำหนดกรอบเก็บค่าโดยสารไม่เกินราคาที่กำหนด 15 บาท หรือเท่าใดก็แล้วแต่ ก็ต้องนำไปเป็นประเด็นที่ต้องเจรจากับเอกชนคู่สัมปทาน เพราะเป็นเรื่องปกติ เมื่อรายได้เอกชนลดลงจะมีการถามหาแนวทางที่ภาครัฐชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 11:47 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดตล่าสุด "รถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล" เช็กด่วน "บ้านใคร" จะได้ใช้ก่อน
โดย ทีมเศรษฐกิจ
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
15 กรกฎาคม 2562 เวลา 05:05 น.


ในช่วงของหัวเลี้ยวหัวต่อของการเข้ามาของรัฐบาลใหม่ และสิ้นสุดการบริหารประเทศของรัฐบาล “บิ๊กตู่ 1” หากจะสรุปโครงการที่ดูมีความคืบหน้า และสร้างความหวังในการพัฒนาประเทศ เห็นจะเป็น “โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่”

และโครงการที่โดดเด่นคือ “โครงการรถไฟฟ้าหลากสี” ความฝันของคนเมืองหลวงและปริมณฑล ที่จะช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัดเป็นอันดับ 1 ของโลกไปได้บ้าง โดยในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถเดินหน้าประมูลตอกเสาเข็มได้หลากหลายโครงการ ทำให้ระบบรถไฟฟ้าต่อเชื่อมกันเป็นระบบมากขึ้น และในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนนี้

“ทีมข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ” จึงขอพาไปอัปเดตความคืบหน้าของรถไฟฟ้าทุกสายที่กำลังดำเนินการอีกครั้ง เพื่อให้เห็นว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เดินหน้าไปอย่างไร


สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง–บางแคและเตาปูน–ท่าพระ
เริ่มที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครชั้นใน (ฝั่งพระนคร) กับฝั่งธนบุรี ระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 16 กิโลเมตร รวม 11 สถานี เริ่มเส้นทางวิ่งใต้ดินเชื่อมต่อกับสถานีหัวลำโพงของรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ จากนั้นวิ่งยกระดับไปถึงบางแค 7 สถานี ได้แก่ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง





ส่วนอีกช่วงคือ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เชื่อมต่อจากสถานีเตาปูนไปท่าพระ สร้างแบบยกระดับทั้งหมด ระยะทาง 11 กิโลเมตร รวม 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิรินธร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญฯ 13 ซึ่งสถานะปัจจุบันก่อสร้างงานโยธาทั้ง 2 ช่วงเสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว

โดยขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อสร้างเสร็จทั้งหมดแล้ว อยู่ระหว่างเร่งติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ซึ่งเสร็จไปแล้ว 83.19% กำหนดทยอยเปิดให้บริการช่วงหัวลำโพง–บางแค ได้ภายในเดือน ส.ค.–ก.ย.2562 และช่วงเตาปูน–ท่าพระ เปิดให้บริการในเดือน มี.ค.2563.


สายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต
ต่อมาเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร รวม 16 สถานี มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ยาวต่อเนื่องตามแนวพหลโยธินไปสิ้นสุดที่บริเวณคูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี สถานะโครงการปัจจุบัน รฟม.ก่อสร้างงานโยธาเสร็จแล้ว 100% และกำลังติดตั้งระบบรถไฟฟ้า คาดว่าจะเปิดให้บริการเร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดปี 2564

โดยล่าสุดจะเริ่มเปิดให้บริการระยะแรกเพิ่ม 1 สถานี คือสถานีห้าแยกลาดพร้าว ในเดือน ส.ค.นี้

จากนั้นจะทยอยเปิดให้บริการเพิ่มอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม และสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายในเดือน ธ.ค. และจะเปิดได้ครบทั้ง 16 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้ ศรีปทุม กรมทหารราบที่ 11 วัดพระศรีมหาธาตุ พหลโยธิน 59 สายหยุด สะพานใหม่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต ภายในปี 2563.


สายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร รวม 30 สถานี เริ่มตั้งแต่ถนนแคราย ผ่านติวานนท์ เลี้ยวผ่านแจ้งวัฒนะ ข้ามไปรามอินทรา ก่อนสิ้นสุดที่มีนบุรี โดยก่อสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าเล็กๆแบบรางเดี่ยว หรือโมโนเรล มีเป้าหมายเพื่อกระจายความหนาแน่นการจราจรในเมืองไปยังชานเมืองฝั่งตะวันออก

โดยสถานะโครงการปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 1 ด้านการออกแบบและก่อสร้างโยธา งานผลิต จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า และระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีความก้าวหน้างานโยธาก่อสร้างไปแล้ว 38.20% ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าก้าวหน้าแล้ว 26.85%

ตามแผนงานกำหนดเปิดให้บริการได้ปี 2564 ดังนั้น ในระหว่างนี้ประชาชนในย่านนั้นต้องทำใจ ทนรถติดมหาโหดไปอย่างน้อยอีก 2 ปี.


สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟฟ้า 23 สถานี โดยเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวโมโนเรลแบบยกระดับเช่นเดียวกับสายสีชมพู ต้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าว เลี้ยวเข้าศรีนครินทร์ และไปสิ้นสุดที่สำโรง สมุทรปราการ

สำหรับสถานะโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินงานระยะที่ 1 ด้านงานออกแบบและก่อสร้างโยธา งานผลิต จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า และระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาไล่เลี่ยกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู อยู่ที่ 37.85% และงานระบบรถไฟฟ้าก้าวหน้าแล้ว 27.78% ซึ่งตามแผนงานมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2564 เช่นกัน.

สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ–มีนบุรี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย-มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้ารางใหญ่ ระยะทาง 22.57 กม. ทั้งหมด 17 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี จุดเริ่มต้นโครงการและเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นผ่านสถานี รฟม. วัดพระราม 9 รามคำแหง 12 รามคำแหง กกท. หัวหมาก ลำสาลี ศรีบูรพา คลองบ้านม้า จากนั้นยกระดับที่สถานีสัมมากร น้อมเกล้า ราษฎร์พัฒนา มีนพัฒนา เคหะรามคำแหง มีนบุรี และสิ้นสุดโครงการที่สุวินทวงศ์

สำหรับสถานะโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโยธา มีความก้าวหน้า 39.29% ส่วนงานระบบรถไฟฟ้ากำลังนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยตามแผนงานกำหนดเปิดให้บริการได้ปี 2566 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ช่วยเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


รัฐคาดเปิดบริการเต็มระบบปี 64
ทั้งนี้ รฟม.ยังมีแผนเดินหน้าโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย อีก 13.4 กม.เป็นรถไฟใต้ดินตลอดสาย 11 สถานี ประกอบด้วย บางขุนนนท์ ศิริราช สนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลานหลวง ยมราช ราชเทวี ประตูน้ำ ราชปรารภ ดินแดง ประชาสงเคราะห์ โดยอยู่ระหว่างเสนอ ครม.พิจารณาเช่นกัน คาดว่าจะเริ่มตอกเสาเข็มได้ปลายปี 2563 และเปิดให้บริการปี 2569.

สายสีม่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (สีม่วงใต้) มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่บริเวณสถานีเตาปูน และมีเส้นทางสิ้นสุดบริเวณครุใน ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 17 สถานี

แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี สถานียกระดับ 7 สถานี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กำลังถูกขับเคลื่อนเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านความเห็นชอบจากมติ ครม.แล้ว อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา มีกำหนดเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569.

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ขึ้นไปทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แนวเส้นทางเชื่อมโยงตอนเหนือ-ใต้ของกรุงเทพฯตามแนวเส้นรถไฟเดิม ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างดำเนินการเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีการก่อสร้างรางใหม่ 2 ราง ระยะทางรวม 15 กม. จำนวน 3 สถานี ปัจจุบันก่อสร้างงานโยธาเสร็จนานแล้ว และอยู่ระหว่างติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งจะเสร็จปีหน้า

อีกช่วงคือ บางซื่อ-รังสิต ก่อสร้างรางใหม่ 4 ราง ระยะทาง 26.3 กม. มี 10 สถานี ปัจจุบันงานก่อสร้างสัญญาแรกของสถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร และศูนย์ซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว 91.49% ส่วนการก่อสร้าง 8 สถานีที่เหลือในสัญญา 2 สร้างได้แล้ว 99.73% ขณะที่งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลติดตั้งไปได้แล้ว 51% และทั้งหมดจะเสร็จได้ปีหน้า แต่กว่าจะเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้เต็มรูปแบบ ต้องรอไปถึงต้นปี 2564 เลยทีเดียว

ส่วนแผนการทำโครงการส่วนต่อขยายจากรังสิต-ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ปัจจุบันได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้ว อยู่ระหว่างของบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษาโครงการ และเปิดประมูลต่อไป ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ยังต้องรออีกระยะ เพราะเพิ่งอยู่ในช่วงที่กระทรวงคมนาคมกำลังปรับแบบการก่อสร้าง.


โครงการรถไฟฟ้าในเมืองหลักภูมิภาคอีก 4 จังหวัด
นอกจากโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว รัฐบาลยังมีกระจายโครงการรถไฟฟ้าออกไปสู่หัวเมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ โดยมี รฟม. เป็นหัวหอกในการดำเนินการ โดยมีโครงการรถไฟฟ้าในเมืองหลัก 4 จังหวัด

มีรายละเอียดดังนี้ คือ โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร กำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2567 โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2570

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2568 และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วง ม.พิษณุโลก-ห้างเซ็นทรัลฯ พิษณุโลก ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2569

**********

ทั้งหมดนี้เป็นความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าหลากสีภายใต้รัฐบาล “บิ๊กตู่ 1” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องที่รัฐบาลประยุทธ์ 2/1 ต้องเร่งสานต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ประมูลไปแล้วให้เสร็จตามกำหนด

รวมถึงเร่งให้มีการประมูลอีก 2 ช่วงที่เหลือ คือ สายม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ให้มีความโปร่งใส และดูแลให้ทุกสายที่ดำเนินการสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างแท้จริง โดยไม่มีฟันหลอ เหมือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง จนเป็นปัญหาอย่างที่ผ่านมา

บ้านใครหรือที่ทำงานใครอยู่ใกล้แถวไหนก็เตรียมตัวไปใช้บริการ เพราะหลายเส้นทางใกล้เปิดให้ใช้แล้ว ขณะที่สิ่งที่ต้องตามลุ้นกันต่อไม่แพ้กัน หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ คือ การคิดค่าโดยสารจะเป็นเท่าไร เพราะตอนนี้หลายคนบ่นอุบว่ารถไฟฟ้าของเมืองไทยราคาแพงเหลือเกิน คงต้องฝากฝังรัฐบาลชุดใหม่ช่วยพิจารณาค่าโดยสารดูแลชาวบ้านกันด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 11:49 am    Post subject: Reply with quote

ทีดีอาร์ไอหนุนตั๋วรถไฟฟ้าเที่ยวละ 30 บาท
ข่าวทั่วไป
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 - 08:06 น.
ที่มา : หน้า 1 หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2562

“ทีดีอาร์ไอ” รับลูก “ศักดิ์สยาม” หนุนตั๋วรถไฟฟ้าเที่ยวละ 30 บาท ชี้ 15 บาทตลอดสายรัฐต้องชดเชยให้เอกชนอ่วม ด้าน ขร.เสนอตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร ด้านบีทีเอสพร้อมคุยรัฐหาแนวทาง


จากกรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ระบุว่าหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วจะมีข่าวดีการลดค่าโดยสารขนส่งทุกระบบ ที่ถือเป็นนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล โดยคาดว่าเรื่องลดค่าโดยสารสาธารณะจะเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ และจะมอบนโยบายให้หน่วยงานกระทรวงคมนาคมไปหาแนวทางในการลดค่าโดยสารขนส่งระบบต่างๆ ที่ชัดเจนด้วย โดยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีนโยบายเรื่องค่ารถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย ก็จะนำมาร่วมดำเนินการในนโยบายรัฐบาลและของกระทรวงคมนาคมด้วย ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือต้องลดค่าครองชีพให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด


ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงประเด็นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าและมีการพูดถึงตัวเลขราคา 15 บาทตลอดสายว่า ในส่วนของทีดีอาร์ไอเห็นว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารเท่าไรจึงจะเหมาะสม จำเป็นต้องศึกษาจากองค์ประกอบรอบด้าน เช่น ฐานรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการ รายละเอียดของโครงข่ายเส้นทาง และอื่นๆ ยกตัวอย่าง เช่น ฐานข้อมูลในต่างประเทศ ต้นทุนค่าเดินทางในระบบรถไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายต่อเดือน ที่สิงคโปร์ ค่าเดินทางจะอยู่ที่ 4-5% โดยในส่วนของคนไทยนั้นข้อมูลเบื้องต้นค่าโดยสารเดินทางไปกลับต่อวันของรถไฟฟ้าไม่ควรเกิน 100 บาท เมื่อวางเป็นโจทย์แล้ว มาคิดต่อว่าถ้าค่าเฉลี่ยของรถไฟฟ้าเดินทางต่อเที่ยวอยู่ที่ 30 บาท หรือไปกลับวันละไม่เกิน 60 บาท ประชาชนที่มีฐานเงินเดือนประมาณเดือนละ 18,000 บาท มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเดือนประมาณ 1,200 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ผู้ใช้บริการจะพอแบกรับไหว



“ประเมินเบื้องต้นว่าค่าเดินทางระบบรถไฟฟ้าทั้งโครงข่าย 30 บาทต่อเที่ยว ถือเป็นราคาที่เหมาะสม” นายสุเมธ กล่าว และว่า ทั้งนี้ยอมรับว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ต้องนำไปสู่การชดเชยให้แก่เอกชนผู้ถือสัมปทานนั้น ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอยู่ในพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป ส่วนประเด็นว่าหากมีการกำหนดกรอบค่าโดยสารไม่ว่าจะเป็น 15 บาทต่อเที่ยว หรือ 30 บาทต่อเที่ยว ในส่วนสัมปทานเดินรถไฟฟ้าที่ภาครัฐกับเอกชนมีในปัจจุบันจะต้องจ่ายชดเชยมากแค่ไหนนั้น อย่างกรณีกำหนดค่าโดยสารต่อเที่ยว 15 บาทนั้น คิดง่ายๆ ว่าหากคำนวณจากผู้โดยสาร เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสวันละ 8 แสนคน รถไฟฟ้าใต้ดิน 3 แสนคน รถไฟฟ้าสีม่วงอีก 1 แสนคน แอร์พอร์ตลิงก์ 1 แสนคน ไปคำนวณกับค่าโดยสารเฉลี่ยของผู้โดยสารปัจจุบันคนละ 30 บาท เห็นชัดเจนว่าจะต้องไปชดเชยให้แก่การเดินทางของประชาชนเฉลี่ยคนละ 15 บาทต่อวัน ส่วนนี้ถือว่าเป็นภาระค่อนข้างหนัก





นายสุเมธ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่ต้องศึกษาในรายละเอียด เช่น การนำระบบตั๋วพิเศษ เช่น ตั๋วรายสัปดาห์ ตั๋วเดือน มาเป็นกลไกช่วยลดภาระให้แก่ประชาชน นอกจากนี้การปรับลดค่าโดยสารทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้นก็จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างที่อยู่อาศัยภายในเมืองตามแนวรถไฟฟ้าด้วย ขณะที่ประเด็นกรมการขนส่งทางรางมีการศึกษาว่าการชดเชยต้นทุนค่าเดินทางให้แก่ประชาชนนั้นจะดำเนินการลักษณะนำเงินภาษีท้องถิ่นหรือมีการตั้งกองทุนแบบใดจึงจะเหมาะสม ถือว่าเป็นเรื่องต้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมด้วย



ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน คงต้องรอฟังนโยบายที่ชัดเจนจาก รมว.คมนาคมก่อน หลังจากนั้นจึงจะหารือร่วมระหว่างกรมการขนส่งทางรางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้งนี้เบื้องต้นมองว่าการที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเหลือ 15 บาทตลอดสาย สามารถทำได้ แต่คงทำในส่วนของการเดินรถโดยภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ของ รฟท. ขณะที่การเดินรถในส่วนของเอกชน เนื่องจากมีการทำสัญญาเดินรถอยู่ ดังนั้นต้องดูว่าจะมีรูปแบบใดที่จะสามารถทำได้บ้าง



“ตอนนี้กรมการขนส่งทางรางกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ เพราะที่ผ่านมามีประชาชนร้องเรียนมามากว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพง และมองว่าหากจะเริ่มปรับลดค่าโดยสาร ตอนนี้รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีผู้โดยสารใช้บริการน้อยอยู่ หากปรับลดค่าโดยสารลง อาจจะดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีคนมาใช้บริการมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะไม่ได้เสียรายได้เลย” นายสราวุธกล่าว และว่า นอกจากนี้ ขร.ได้ส่งเรื่องผ่านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เสนอ รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม ขร. และกระทรวงการคลัง มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการสนับสนุนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของรัฐบาลและนำไปปฏิบัติต่อไป




ขณะที่ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.จะรอความชัดเจนนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการ เนื่องจากสัญญาสัมปทานในอดีต เช่น โครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน หัวลำโพง-เตาปูน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ถือสัมปทาน รวมถึงอยู่ระหว่างก่อสร้างซึ่งลงนามไปแล้ว ทั้งรถไฟฟ้าสีชมพู มีนบุรี-แคราย และสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง หากภาครัฐมีนโยบายกำหนดกรอบเก็บค่าโดยสารไม่เกินราคาที่กำหนด 15 บาท หรือเท่าใดก็แล้วแต่ ก็ต้องนำไปเป็นประเด็นที่ต้องเจรจากับเอกชนคู่สัมปทาน เพราะเป็นเรื่องปกติ เมื่อรายได้เอกชนลดลงจะมีการถามหาแนวทางที่ภาครัฐชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการแน่นอน ทั้งนี้ยอมรับว่าเมื่อกระทรวงคมนาคมให้นโยบายชัดแล้วก็พร้อมเจรจากับผู้ประกอบการ ส่วนจะได้ข้อสรุปอย่างไรคงต้องพิจารณาข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการที่จะมีเสนอมาด้วย


อย่างไรก็ตามหากดำเนินการในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่–เตาปูน ที่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในลักษณะพีพีพี กรอสคอสต์ โดย รฟม.จ้างเอกชนเก็บค่าโดยสาร และส่งมอบเงินทั้งหมดให้ รฟม. ผลกระทบก็จะตกอยู่กับ รฟม.ที่จะมีรายได้ที่ลดลง ก็จะต้องมีการของบประมาณมาชดเชยกับรายได้ที่หายไป


นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมีความพยายามที่จะเข้ามาปรับลดค่าโดยสารแต่ต้องดูความเป็นไปได้ว่าจะทำอย่างไร ซึ่งในส่วนของภาคเอกชนพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายรัฐเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนแนวทางจะปรับราคาค่าโดยสารลงมาเหลือเท่าไรนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาคุยหารือร่วมกันก่อน ทั้งกระทรวงคมนาคม และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ บีทีเอส และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน นอกจากการหารือแนวทางปรับลดค่าโดยสารแล้ว ต้องหารือด้วยว่าภาครัฐจะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างไร


ทีดีอาร์ไอหนุนค่ารถไฟฟ้า 30 บาท/เที่ยว
เศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย

22 กรกฎาคม 2562 -15:31:03

กรุงเทพฯ 22 ก.ค. - ทีดีอาร์ไอ มาแล้ว !!! รับราคารถไฟฟ้าเที่ยวละ 30 บาท กำลังดี ฟันธง 15 บาทแรงไป ภาครัฐต้องชดเชยให้เอกชนอ่วม ขณะที่ผู้ว่าฯ รฟม. ระบุรอนโยบายชัดเจนของกระทรวงคมนาคมเพื่อเป็นกรอบเจรจาคู่สัมปทาน

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงประเด็นแก้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง และมีการพูดถึงตัวเลขราคา 15 บาทตลอดสาย ในส่วนของทีดีอาร์ไอเห็นว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม จำเป็นต้องศึกษาจากองค์ประกอบรอบด้าน เช่น ฐานรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการ รายละเอียดของโครงข่ายเส้นทาง และอื่น ๆ

ยกตัวอย่าง เช่น ฐานข้อมูลในต่างประเทศ ต้นทุนค่าเดินทางในระบบรถไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายต่อเดือน สิงคโปร์ ค่าเดินทางจะอยู่ที่ 4-5 % โดยในส่วนของคนไทยนั้นข้อมูลเบื้องต้นค่าโดยสารเดินทางไปกลับต่อวันของรถไฟฟ้าไม่ควรเกิน 100 บาท เมื่อวางเป็นโจทย์แล้ว มาคิดต่อว่า ถ้าค่าเฉลี่ยของรถไฟฟ้าเดินทางต่อเที่ยวอยู่ที่ 30 บาท หรือไปกลับวันละไม่เกิน 60 บาท ประชาชนที่มีฐานเงินเดือนประมาณเดือนละ 18,000 บาท มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเดือนประมาณ 1,200 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ผู้ใช้บริการจะพอแบกรับไหว

“ประเมินเบื้องต้นว่าค่าเดินทางระบบรถไฟฟ้าทั้งโครงข่าย 30 บาทต่อเที่ยว ถือเป็นราคาที่เหมาะสม” นายสุเมธ กล่าว

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ต้องนำไปสู่การชดเชยให้กับเอกชนผู้ถือสัมปทานนั้น ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอยู่ในพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป ส่วนประเด็นว่าหากมีการกำหนดกรอบค่าโดยสารไม่ว่าจะเป็น 15 บาทต่อเที่ยว หรือ 30 บาทต่อเที่ยว ในส่วนสัมปทานเดินรถไฟฟ้าที่ภาครัฐกับเอกชนมีในปัจจุบันจะต้องจ่ายชดเชยมากแค่ไหนนั้น

“อย่างกรณีกำหนดค่าโดยสารต่อเที่ยว 15 บาทนั้น คิดง่าย ๆ ว่าหากคำนวณจากผู้โดยสาร เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสวันละ 800,000 คน รถไฟฟ้าใต้ดิน 300,000 คน รถไฟฟ้าสีม่วงอีก 100,000 คน แอร์พอร์ตลิ้งค์ 100,000 คน ไปคำนวณกับค่าโดยสารเฉลี่ยของผู้โดยสารปัจจุบันคนละ 30 บาท เห็นชัดเจนว่าจะต้องไปชดเชยให้แก่การเดินทางของประชาชนเฉลี่ยคนละ 15 บาทต่อวัน ส่วนนี้ถือว่าเป็นภาระค่อนข้างหนัก” นายสุเมธ กล่าว

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นอื่นที่ต้องศึกษาในรายละเอียด เช่น การนำระบบตั๋วพิเศษ เช่น ตั๋วรายสัปดาห์ ตั๋วเดือน มาเป็นกลไกช่วยลดภาระให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ การปรับลดค่าโดยสาร ทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้นก็จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างที่อยู่อาศัยภายในเมืองตามแนวรถไฟฟ้าด้วย

ขณะที่ประเด็นกรมการขนส่งทางรางมีการศึกษาว่าการชดเชยต้นทุนค่าเดินทางให้แก่ประชาชนนั้นจะดำเนินการลักษณะนำเงินภาษีท้องถิ่น หรือมีการตั้งกองทุน แบบใดจึงจะเหมาะสม ถือว่าเป็นเรื่องต้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมด้วย



ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม. จะรอความชัดเจนนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการ เนื่องจากสัญญาสัมปทานในอดีต เช่น โครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน หัวลำโพง-เตาปูน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ถือสัมปทาน รวมถึงอยู่ระหว่างก่อสร้างซึ่งลงนามไปแล้ว ทั้งรถไฟฟ้าสีชมพู มีนบุรี-แคราย และสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง หากภาครัฐมีนโยบายกำหนดกรอบเก็บค่าโดยสารไม่เกินราคาที่กำหนด 15 บาท หรือเท่าใดก็แล้วแต่ ก็ต้องนำไปเป็นประเด็นที่ต้องเจรจากับเอกชนคู่สัมปทาน เพราะเป็นเรื่องปกติ เมื่อรายได้เอกชนลดลงจะมีการถามหาแนวทางที่ภาครัฐชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการแน่นอน

ทั้งนี้ ยอมรับว่าเมื่อกระทรวงคมนาคมให้นโยบายชัดแล้วก็พร้อมเจรจากับผู้ประกอบการ ส่วนจะได้ข้อสรุปอย่างไร คงต้องพิจารณาข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการที่จะมีเสนอมาด้วย .-


Last edited by Wisarut on 23/07/2019 12:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

ปูเสื่อรอ! “ศักดิ์สยาม” แย้มปีนี้ได้นั่งแน่รถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย จ่อรื้อสัมปทานทางด่วน BEM
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 กรกฎาคม 2562 เวลา 17:27 น.
'ศักดิ์สยาม' ประกาศต้องลดค่ารถเมล์-รถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย ภายในปีนี้
วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 16:14 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม​ เปิดเผยว่า นโยบายการช่วยเหลือค่าครองชีพ​ของ​ประชาชน​ โดยเฉพาะค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่มีราคาแพง คาดว่าภายหลังการมอบนโยบายหัวหน้าหน่วยในสังกัดของกระทรวงคมนาคมในวันที่ 30 ก.ค.นี้ จะเริ่มดำเนินการได้

ส่วนนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล​ที่กำหนดให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือเพียง 15 บาทตลอดสายทุกระบบนั้น อาจจะทำได้ถูกกว่านี้ด้วย แต่ต้องขอศึกษารถไฟฟ้าแต่ละระบบแต่ละสายทางก่อนว่า เอกชนมีภาระต้นทุนอย่างไร


พรัอมกล่าวว่า การจะให้รถไฟฟ้าราคาถูกลง รัฐอาจจะต้องนำงบประมาณ​มาอุดหนุน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม ก็ต้องไปสำรวจเช่นกันว่าแต่ละหน่วยงานมีภาระหนี้สินอยู่ที่เท่าไหร่

“เบื้องต้น อาจจะนำโมเดลมาตรการอุดหนุนรถเมล์ฟรี-รถไฟฟรี มาศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำมาปรับใช้กับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า โดยจะพยายามหาฐานราคาที่อยู่ตรงกลางและมีความเหมาะสมมากที่สุด”

ส่วนเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) อย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่าจะต้องนำทุกคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างกันมาทบทวนหารือใหม่ เท่าที่วางแผนไว้ คดีใดที่ถึงที่สุดแล้วก็ให้จ่ายค่าชดเชยไปตามที่ศาลพิพากษา

ส่วนคดีใดที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการหรือศาลปกครองกลาง ก็ให้พยายามหาช่องทางในการต่อสู้คดีไปก่อน ไม่ใช่ว่าจะต้องยอมเอกชนในทุกคดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2019 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ประธานที่ปรึกษาบีทีเอสระบุ พร้อมรับนโยบายค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย แต่รัฐต้องสนับสนุนด้วย
เขียนโดย Workpoint News
22 กรกฎาคม 2562

ผู้บริหารบีทีเอสระบุ พร้อมรับนโยบายรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แต่ก็ต้องมาดูการสนับสนุนของภาครัฐด้วย ว่าเมื่อให้ลดราคาค่าโดยสารแล้ว จะมีการสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง

วันนี้ (22 ก.ค.) นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ว่า ทางบีทีเอสเองพร้อมที่จะปรับลดค่าโดยสารลงตามแนวทางของ รมว.คมนาคม คนใหม่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ หลังจากที่เมื่อวานนี้ นายศักดิ์สยามออกมาให้ข้อมูลว่ามีแนวทางที่จะลดค่าโดยสารบีทีเอสเป็น 15 บาทตลอดสาย

ทั้งนี้ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของบีทีเอสระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางในการลดค่าโดยสารดังกล่าวของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากประชาชนจะได้ประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลงดังกล่าว และในต่างประเทศก็มีการดำเนินนโยบายเช่นนี้เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมาดูด้วยว่าหลังจากลดค่าโดยสารแล้ว ทางภาครัฐมีมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง

บีทีเอสเด้งรับ "15บาท" ตลอดสาย คมนาคมบัญชา เร่งคุยค่าชดเชย
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
23 กรกฎาคม 2562 เวลา 05:30 น.


บีทีเอสเด้งรับนโยบายคมนาคม พร้อมปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าลงทันทีไม่มีเงื่อนไข เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ส่วนเงินชดเชยจากการปรับลดค่าโดยสารนั้นมั่นใจว่ารัฐบาลคงหาวิธีได้ ด้านกรมรางหนุนหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้า ชี้เป็นนโยบายที่ทำได้ สายสีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์มีลุ้นสุด ชง รมว.คมนาคม ตั้งทีมพัฒนาโครงสร้างค่าโดยสารแล้ว ส่วนผู้ว่าการ รฟม.แบ่งรับแบ่งสู้เกรงเอกชนฟ้องร้องภายหลัง ขณะที่ “ศักดิ์สยาม” ให้เวลา 1 เดือน หามาตรการแบ่งเบาภาระเพื่อลดค่าโดยสารให้ได้


จากกรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มีนโยบายที่จะปรับลดค่าโดยสารรถสาธารณะทั้งระบบ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ที่มีแนวโน้มให้ปรับราคาลงมาใกล้เคียงที่ 15 บาท/ตลอดสาย ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ผู้เกี่ยวข้องในระบบขนส่งสาธารณะได้ออกมาขานรับนโยบายดังกล่าวกันคึกคัก โดยนายอาณัติ อาภาภิรม ประธานที่ปรึกษา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ยอมรับว่า นโยบายลดราคาค่าโดยสารรถสาธารณะทั้งระบบเป็นเรื่องที่ดี และบีทีเอสเห็นด้วย พร้อมที่จะดำเนินการกับนโยบายรัฐบาลทุกอย่าง ทุกประการเพื่อ ช่วยเหลือประชาชนให้มีการระบบขนส่งมวลชนที่ดี ซึ่งหากรัฐบาล กระทรวงคมนาคม มีนโยบายชัดเจนออกมาก็พร้อมร่วมมือ ส่วนแนวทางจะปรับราคาค่าโดยสารลงมาเหลือเท่าไหร่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาคุยกัน ทั้งกระทรวงคมนาคม และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบคือ บีทีเอส และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน และวิธีการแนวทางปรับลดราคาแล้ว ภาครัฐจะช่วยสนับผู้ประกอบการอย่างไรบ้างนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมาคุยกัน ซึ่งการสนับสนุนค่าโดยสารให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้ประชาชนได้เดินทางระบบสาธารณะที่ถูกลงนั้นเป็นเรื่องที่หลายๆประเทศก็ทำกัน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะท้ายที่สุดคนที่ได้ประโยชน์คือประชาชน

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่ดี เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน แต่คงต้องรอฟังนโยบายที่ชัดเจนจาก รมว.คมนาคม ก่อน จากนั้น ขร.และหน่วยงานทางราง จะร่วมหารือเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ เบื้องต้นมองว่าการที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเหลือ 15 บาทตลอดสายสามารถทำได้ แต่คงเป็นในส่วนที่เดินรถโดยภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนการเดินรถในส่วนของเอกชนนั้น เนื่องจากมีการทำสัญญาเดินรถอยู่ คงต้องดูว่าจะมีรูปแบบใดที่จะสามารถทำได้บ้าง ส่วนที่ประชาชนร้องเรียนว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพงนั้น ขร. กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่และขณะนี้เสนอเรื่องผ่านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เสนอ รมว.คมนาคมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้าง อัตราค่าโดยสารการขนส่งทางรางแล้ว เพื่อพิจารณามาตรการสนับสนุนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของรัฐบาล และนำไปปฏิบัติต่อไป

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าว่า คงต้องรอให้มีความชัดเจนก่อนจึงจะตอบได้ว่าจะดำเนินการได้ด้วยวิธีไหน แต่มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดค่าโดยสารตามนโยบาย ซึ่งหากจะดำเนินการจริงก็ต้องไปดูรายละเอียดในเรื่องของสัญญาต่างๆที่ทำไว้ร่วมกันก่อนว่าเป็นอย่างไร หากเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ที่เปิดให้ เอกชนร่วมลงทุนในลักษณะพีพีพี กรอสคอสต์ ที่เปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเก็บค่าโดยสาร และส่งมอบเงินทั้งหมดให้ รฟม. ผลกระทบก็จะตกอยู่กับ รฟม.ที่จะมีรายได้ที่ลดลง ก็จะต้องมีการของบประมาณมาชดเชยรายได้ที่หายไป ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ปรับลดค่าโดยสารตามนโยบายของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง คือองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จึงต้องของบประมาณจากภาครัฐมาชดเชยการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เปิดให้บริการรถไฟชั้น 3 ฟรี และต้องของบประมาณจากรัฐมาสนับสนุนการดำเนิน งานอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ วันเดียวกันนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวเพิ่มเติมถึงการจะปรับลดค่าโดยสารรถขนส่งมวลชนสาธารณะว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตนจะเรียกประชุม 23 หน่วยงานในสังกัด เพื่อมอบนโยบาย โดยจะมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณาหาแนวทางและมาตรการการปรับลดภาระค่าครองชีพด้านการเดินทางให้แก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน โดยแต่ละหน่วยงานต้องกลับไปศึกษาและพิจารณาดูภาระขององค์กรว่าปัจจุบันมีภาระมากน้อยแค่ไหนและ ยังพอมีช่องว่างเหลือพอที่จะออกมาตรการลดภาระค่า ครองชีพหรือลดค่าโดยสารได้หรือไม่อย่างไร โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องนำเสนอผลการศึกษา และมาตรการส่งกลับมาให้ตนพิจารณาภายใน 1 เดือน จึงจะรู้ว่าจะสามารถปรับลดค่าโดยสารอะไรได้บ้าง หรือไม่อย่างไร


“คีรี” แนะ “ศักดิ์สยาม” ดูภาระเอกชนก่อนทำรถไฟฟ้าราคาถูกซัด รฟม.ปมลงทุนสีเหลืองต่อขยาย
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 20:46 น.

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง กล่าวว่า กรณีที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายลดภาระค่าครองชีพประชาชน โดยจะปรับลดค่าโดยสารให้อยู่ในระดับราคา 15 บาท ถือเป็นคนที่มีความคิดดีที่จะช่วยเหลือประชาชน ขอชื่นชม

แต่การลดภาระประชาชนนั้น ก็อยากให้รัฐบาลเข้าใจด้วยว่าเอกชนที่ลงทุนโครงการต่างๆ ไปก่อนหน้านี้เขาต้องแบกรับภาระต้นทุนเท่าไหร่ และจะทำอย่างไรไม่ให้พวกเขาเหล่านี้เสียเปรียบ เพราะถ้าหากมีมาตรการใดออกมาแล้วมีผลกระทบกับเอกชน ต่อไปรัฐก็ควรจะลงทุนทำโครงการต่างๆ เอง


ไม่แคร์หากไม่ได้ต่อขยายสีเหลือง

ส่วนโครงการสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม จำนวน 2 สถานี เงินลงทุนประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท เป็นการเสนอโดยบีทีเอสและจะลงทุนก่อสร้างเองด้วย เพราะในทีโออาร์ตั้งแต่แรกไม่มีตรงนี้ บีทีเอสจึงขอสร้างให้ไปถึงตรงจุดดังกล่าว แต่ถ้ากระทบกับใครแล้วทำให้บีทีเอสไม่ได้ก่อสร้าง ก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่อยากให้ทำบีทีเอสก็จะไม่ทำ

“ที่มีข่าวว่า ไม่ให้สร้างเพราะจะทำให้การการันตีรายได้ของบริษัทอื่นลดลงก็เป็นเรื่องที่แย่มาก และถ้าบีทีเอสไม่ได้สร้างส่วนต่อขยายนี้ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรด้วย เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่บีทีเอสแล้ว อยู่ที่รฟม.”

นายคีรีกล่าวต่อถึงการเจรจาต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2562 ว่า ยังอยู่ระหว่างเจรจากับกทม.และกระทรวงมหาดไทย ตอนนี้ยังมีเวลาคุยกันเพราะเดดไลน์ของประเด็นนี้อยู่ที่ประมาณเดือน ก.ย.นี้ ขอให้การเจรจาในขั้นสุดท้ายออกมาก่อน บีทีเอสไม่รีบ

“ถ้าอยากให้เอกชนลงทุน เราก็ต้องมองก่อนว่ามี IRR เท่าไหร่ ซึ่งปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 9% ทุกโครงการ ถือว่าไม่สูงแต่อยู่ในกรอบของผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลอยู่ ส่วนค่าโดยสารที่กทม.ต้องการให้เก็บสูงสุดที่ 65 บาท ขอไม่ออกความเห็นในขณะนี้ เพราะยังอยู่ในระหว่างการเจรจา”

ทั้งนี้ นายคีรีกล่าวอีกว่า ต้องขอแก้ความเข้าใจเรื่องสัมปทาน 40 ปีก่อน ที่บอกว่า 40 ปีคือการรวมเอาสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุปี 2572 มารวมด้วย ซึ่งที่จริงแล้วยังไม่หมดอายุ เหลืออีกประมาณ 10 ปี

“สัมปทานบีทีเอสเดิมมีอายุ 30 ปี ตอนนี้กำลังเข้าปีที่ 20 คุณจะยึดกลับไปแล้วเหรอ คิดอย่างนี้พูดอย่างนี้คือการบิดเบือน ดังนั้นจะเป็น 40 ปีได้อย่างไร”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2019 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ฝากถึง รมว.คมนาคม ที่จะลดค่ารถไฟฟ้า

15 บาทตลอดสาย มันไม่เวิร์ก ทั้งผู้ประกอบการ และเงินในคลังของรัฐบาล ทำไมต้องไปดัมพ์ขนาดนั้น แค่กระดิกนิ้ว สั่งการให้ รฟม.เอาตั๋วเที่ยวกลับมาในสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ก็พอแล้ว แบบที่ BTS ทำอะ ไปศึกษาดูงานได้ ไม่ต้องไปต่างประเทศ

แอร์พอร์ตลิงก์ จริงๆ ก็ควรมีตั๋วเที่ยวนะ แต่เห็นว่าจะถูกโอนไปอยู่กับ CP ในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้ว งั้นฝากไปถึงสายสีแดง ที่จะเปิดในอนาคตอันใกล้ ขอให้มีตั๋วเที่ยวด้วย แล้วรีบผลักดันตั๋วร่วม ลดค่าแรกเข้า

แค่นี้ก็ช่วยได้เยอะแล้ว ไม่ต้องไปขายฝัน 15 บาท บ้าบอ
https://www.facebook.com/TSLowcost/photos/a.203598999679005/2429810323724517/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2019 10:02 am    Post subject: Reply with quote

เปิดโมเดลหั่นราคาตั๋วรถไฟฟ้า รัฐอุดหนุน-เหมาซื้อบริการเอกชน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 10:17 น.


เป็นไปได้ไหมกับนโยบายหั่นราคารถไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสาย ตามที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แย้มจะมีข่าวดีให้คนกรุง

โดยเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่รัฐลงทุนสร้างเอง เช่น สายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ จากสูงสุด 42 บาท เหลือ 15 บาท หากนั่งเชื่อมสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อจาก 70 บาท เหลือ 43 บาท


เมื่อภูมิใจไทยขึ้นเป็นใหญ่ หนีไม่พ้นจะต้องหยิบมาดู แม้จะเป็นนโยบายของพรรคร่วมก็ตาม โดยเตรียมนำมาแพ็กรวมในนโยบายรัฐบาลและของกระทรวงคมนาคม ไม่เกินสิ้นปีนี้น่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน ขอเวลา 1 เดือนพิจารณาข้อมูลต้นทุนรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางที่เอกชนรับสัมปทาน และค่าใช้จ่ายที่รัฐอาจจะต้องอุดหนุน

ส่วนราคาสุดท้ายจะเคาะ 15 บาท 20 บาท 30 บาท ตลอดสายหรือไม่ เร็ว ๆ นี้น่าจะมีคำตอบ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ก่อนหน้านี้เคยศึกษาโมเดลเก็บค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มี 2 แนวทาง คือ 1.นำรถไฟฟ้าที่รัฐดำเนินการเอง เช่น สายสีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ มาลดราคาซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที 2.เจรจาเอกชนผู้รับสัมปทานของสายสีน้ำเงิน คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) โดยรัฐเหมาซื้อการบริการเอกชน เช่น ซื้อตั๋วเหมาล่วงหน้าเป็นรายปี และรับภาระส่วนต่างบางส่วน

“แนวทางนี้อาจต้องใช้เวลา และรัฐอาจต้องชดเชยรายได้ส่วนต่างให้เอกชน หรืออาจจะไม่ต้องชดเชยก็ได้ เพราะเมื่อลดราคาแล้ว จะเป็นผลดีต่อโครงการ เพราะผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%”

ด้าน นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง กล่าวว่า นับเป็นนโยบายที่ดีที่รัฐบาลจะลดภาระค่าครองชีพของประชาชน แต่การลดภาระประชาชนนั้นก็อยากให้รัฐบาลเข้าใจด้วยว่า เอกชนที่ลงทุนโครงการต่าง ๆ ไปก่อนหน้านี้ต้องแบกรับภาระต้นทุนเท่าไหร่ และจะทำอย่างไรไม่ให้มีการเสียเปรียบ เพราะถ้าหากมีมาตรการใดออกมาแล้วมีผลกระทบกับเอกชน ต่อไปรัฐบาลก็ควรจะลงทุนทำโครงการต่าง ๆ เอง

ดูแล้วนโยบายนี้มีความเป็นไปได้สูง จะนำร่องได้แค่สายสีม่วงและแอร์พอร์ตลิงก์ หลังฟังเสียงสะท้อนจากฝั่งเจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว น่าจะต้องเปิดโต๊ะเจรจากันยาว และคงไม่ใช่แค่บิ๊กบีทีเอสที่คิดแบบนี้ คาดว่าทาง “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” คงคิดไม่ต่างกัน นั่นคือรัฐต้องอุดหนุนเอกชน

ถ้ารัฐไม่แบกรับตรงนี้ สิ่งที่คิดคงเป็นได้แค่นโยบายขายฝัน !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2019 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

‘สามารถ’ชี้ไม่ควรแตะสัมปทาน 15บาทตลอดสายที่รัฐลงทุนเอง
ออนไลน์เมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,490
วันที่ 25 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายไม่ง่าย BTS-MRT รอเงื่อนไขภาครัฐกรณีจ่ายชดเชยให้เอกชน ด้าน “สามารถ” จากปชป. ชี้ทำได้เฉพาะสายที่รัฐลงทุนเอง ยกเส้นสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ ลดได้ทันทีนับจากเข้ารับตำแหน่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ พร้อมรัฐมนตรีจากพรรคร่วมมีนโยบายลดราคาค่าโดยสารสาธารณะ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชน โดยจะปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพ มหานครและปริมณฑลเหลือ 15 บาทตลอดสาย จากราคาปกติ 42-59 บาทต่อเรื่องนี้นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ผู้รับสัมปทานและให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า ขอดูรายละเอียดเงื่อนไขจากทางภาครัฐก่อนว่ามีกำหนดว่าอย่างไรบ้าง เนื่องจากบีทีเอสมีทั้งเส้นทางรับสัมปทาน และบริการรับจ้างเดินรถ แต่ละสัญญาจึงแตกต่างกันไปทั้งนี้ ปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสารในภาพรวมวันละประมาณ 9 แสนคน หรือเฉลี่ยประมาณ 8 แสนคนต่อวันในวันทำงานปกติ โดยปริมาณผู้โดยสารหลักยังอยู่เขตในเมือง ส่วนต่อขยายเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนเส้นทางช่วงรับจ้างวิ่งให้บริการ รายได้ทั้งหมดจะเป็นของกรุงเทพ มหานคร (กทม.) ส่วนสัมปทานจะครบในปี 2572 นั้น บีทีเอสรับรายได้ทั้งหมด เมื่อครบสัมปทานรายได้จะเป็นของกทม.ทั้งหมดด้วยเช่นกัน
“ปีที่ผ่านมาปริมาณผู้โดยสารเริ่มคงที่ในช่วงปลายปีเป็นต้นมา ล่าสุดได้รับจ้างวิ่งให้บริการช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการจำนวน 9 สถานี โดยปริมาณผู้โดยสารเพิ่มอีกประมาณเกือบ 1 แสนคนต่อวัน”แหล่งข่าวระดับสูงของกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า ส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ กทม.จ้างบีทีเอสวิ่งให้บริการทั้งช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และหมอชิต-คูคต ประมาณ 1.86 หมื่นล้านบาท โดยจ้างให้บริการระยะเวลา 25 ปี หรือสิ้นสุดในปี 2585 โดย กทม.รับรายได้จากค่าโดยสารทั้งหมด ดังนั้นกระทรวงคมนาคมสามารถจะปรับราคาเหลือ 15 บาทได้ทั้งหมด ทั้งในส่วนสัมปทานเดิม และส่วนต่อขยายที่จ้างบีทีเอสวิ่งให้บริการ โดยส่วนสัมปทานจะต้องเจรจาในรายละเอียดว่ารัฐจะเข้าไปช่วยเหลือในส่วนต่างๆนั้นด้วยวิธีไหนได้บ้างหรือชดเชยเอกชนอย่างไรด้านแหล่งข่าวระดับสูงของบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า ในส่วนสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่นั้น BEM รับเฉพาะค่าให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาปีละ 1,800 ล้านบาทเท่านั้น รายได้จากค่าโดยสารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จัดเก็บไว้ทั้งหมด มีระยะเวลา 30 ปี ส่วนสายสีนํ้าเงินทั้งส่วนที่ให้บริการในปัจจุบันและส่วนต่อขยายที่จะเปิดให้บริการเดือนกันยายน 2562 ที่ระยะเวลาสัมปทานไปสิ้นสุดในอีก 30 ปีนั้น BEM รับรายได้ส่วนแบ่งจากค่าโดยสาร“สำหรับปริมาณผู้โดยสารในวันปกติประมาณ 3.8-4 แสนคน ส่วนค่าเฉลี่ยประมาณ 3.2 แสนคน รายได้ต่อปีประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ยการเติบโตปีละประมาณ 5.5%”ด้านนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ กล่าวว่า เสนอแนวคิดให้กับรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเส้นทางที่รัฐบาลลงทุนเอง อย่างเช่น สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ซึ่ง รฟม.จ้าง BEM เดินรถ หากลดราคาก็ไม่กระทบต่อรายได้ของเอกชน สำหรับราคาค่าโดยสารสายสีม่วงเริ่มต้น 16 บาทจนถึง 42 บาท แต่ราคาเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ประมาณ 28 บาท ดังนั้นหากจะปรับเป็น 15 บาทตลอดสาย ก็อาจจูงใจประชาชนในจังหวัดนนทบุรีใช้บริการมากขึ้น รฟม.ก็อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต“ถ้าจะให้ราคารถไฟฟ้ามีราคาถูก ประชาชนสามารถเข้าถึงง่าย ต่อไปเส้นทางที่ออกนอกเมืองภาครัฐต้องลงทุนเองทั้งหมด ดังนั้นการลดราคาค่าโดยสารจะไปแตะเส้นที่ให้สัมปทานไม่ได้”ห
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 10:00 am    Post subject: Reply with quote

ลดค่าตั๋วรถไฟฟ้ามาแน่ นำร่อง"สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์" ปลุกเรือขนรถบรรทุกข้ามอ่าวไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562 เวลา 01:31

ผู้จัดการรายวัน360-“ศักดิ์สยาม” กดปุ่มเปิดใช้ฟรี "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ให้ทดลอง 5 สถานี 2 เดือน ส่วนการวิ่งเต็มรูปแบบ "หัวลำโพง-หลักสอง" จะเริ่มตั้งแต่ 29 ก.ย.นี้ ต้นปี 63 เปิดให้บริการช่วงเตาปูน-ท่าพระ มีเส้นทางเชื่อมต่อเป็นวงกลม ลั่นนโยบายลดค่าตั๋ว เล็งเริ่ม "สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์" เหตุรัฐลงทุนเอง ยันมีวิธีที่จะไม่ใช้ภาษีอุดหนุน เตรียมนัดถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวันนี้ ส่วนการแก้รถติดถนนพระราม 2 ยังไม่พอใจ แก้ได้ 75% สั่งทางหลวงทำแผนแก้จราจรก่อนเซ็นสัญญารับเหมา "ยกระดับพระราม 2" พร้อมปลุกแผนเรือขนส่งสินค้าและบรรทุกรถข้ามอ่าวไทย จากประจวบฯ ไปแหลมฉบัง



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (29 ก.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พร้อมด้วยนายถาวร เสนเนียม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดการทดลองให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เข้าร่วมพิธี ณ สถานีสนามไชย ซึ่งรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่าน ได้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีสนามไชยไปยังสถานีท่าพระ และมอบของที่ระลึกให้ประชาชนกลุ่มแรกที่มารอขึ้นรถไฟฟ้า ณ สถานีท่าพระ

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และเตาปูน-ท่าพระ เมื่อเปิดให้บริการครบ คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 4 แสนคนต่อวัน รองรับได้ถึง 8 แสนคนต่อวัน โดยจะมีรถไฟฟ้าเพิ่ม 35 ขบวน ซึ่งจะช่วยเป็นทางเลือกการเดินทางและลดปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ได้ และจะให้บริการฟรีช่วง 2 เดือนแรก รวม 5 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ และสถานีท่าพระ จากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง และจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบและจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติจากสถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง ในวันที่ 29 ก.ย.2562 เป็นต้นไป และในต้นปี 2563 จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ซึ่งจะมีเส้นทางเชื่อมต่อเป็นวงกลม

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย มีส่วนที่เป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับความลึก 30 เมตร โดยมาตรการด้านความปลอดภัยในการช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดเหตุนั้น ทุก 750 เมตรจะมีอุโมงค์ที่สามารถปีนออกมาได้ และตลอดเส้นทางมีกล้อง CCTV บันทึกภาพไว้เป็นเวลา 30 วัน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ส่วนแนวคิดการปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า รัฐจำเป็นต้องอุดหนุน แต่จะหาแนวทางอื่นที่จะไม่ให้กระทบงบประมาณ หรือนำภาษีของคนทั้งประเทศ มาใช้ เพราะหากจะทำ ต้องอธิบายได้ คงต้องดูต้นทุนจริงๆ และหารือกับผู้ให้บริการ เชื่อว่ามีวิธีการที่ไม่กระทบต่องบประมาณ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายพญาไท-สุวรรณภูมิ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งรัฐลงทุน จะสามารถดำเนินการได้ก่อน ส่วนจะลดได้เท่าไร จะเป็น 20 บาทตลอดสาย หรืออาจจะมากกว่าหน่อย ขอพิจารณาข้อมูลโดยละเอียดก่อน แต่ลดแน่ๆ โดยวันที่ 30 ก.ค.นี้ จะประชุมมอบนโยบายหน่วยงาน จากนั้นจะเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา ภายใน 1 เดือนจะมีความชัดเจน และจะเริ่มปรับลดราคาในส่วนที่ทำได้ก่อนภายในปีนี้

วันเดียวกันนี้ นายศักดิ์สยาม ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาจราจร ที่ถนนพระราม 2 พบว่า ปัญหาดีขึ้น สามารถลดปัญหารถติดสะสมจาก 2 กม. เหลือ 400 เมตร และรถสามารถเคลื่อนตัวได้ แต่ก็ยังไม่พอใจ เพราะแก้ไปได้ 75% ยังเหลืออีก 25% เป้าหมายต้อง 100% ส่วนการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ระยะทาง 10.8 กม. วงเงิน 10,500 ล้านบาท ได้กำชับว่าจะต้องวางแผนจัดการการก่อสร้างไม่ให้กระทบต่อการจราจร

นอกจากนี้ มีแผนเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาจราจรบนถนนพระราม 2 โดยใช้การขนส่งด้วยเรือ Ro-Ro ซึ่งใช้เรือขนาดใหญ่ ในการขนส่งยานพาหนะหรือสินค้าจากท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ข้ามอ่าวไทยไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะสามารถลดปริมาณรถบรรทุกบนพระราม 2 จากที่มีประมาณ 60,000 คันลงได้ โดยภาครัฐพร้อมอำนวยความสะดวก คาดว่า จะเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 199, 200, 201 ... 277, 278, 279  Next
Page 200 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©