RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262473
ทั้งหมด:13573753
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 328, 329, 330 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44513
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2019 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯปัดเอื้อนายทุนสร้างรถไฟยึดTOR
INN News 25 กรกฎาคม 2019 - 18:58

นายกรัฐมนตรี แจงสภาเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ดูเศรษฐกิจการค้า ยัน ไม่เอื้อประโยชน์นายทุนสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ชี้ ทำตามร่าง TOR

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ขึ้นชี้แจงต่อสภา ว่า เรื่องการรักษาความสมดุลเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำมีกันทุกประเทศที่ต้องแก้ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ รวมทั้งการค้าเสรี ซึ่งประเทศไทยคงต้องมาดูว่าจะปรับตัวอย่างไรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ส่วนการเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้หารือกับหลายประเทศในช่วงการทำงาน 5 ปีที่ผ่านมา

ส่วนการค้าปลีกในปัจจุบันที่ลดลงสาเหตุมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านรูปแบบออนไลน์มากขึ้นทำให้ยอดขายในรูปแบบเดิมลดลงดังนั้นผู้ค้ารายย่อยต้องปรับตัว

ส่วนปัญหาหนี้การแก้ไขปัญหาหนี้ต้องแก้ที่จิตสำนึก เนื่องจากที่ผ่านมาการแก้ปัญหาทั้งหนี้นอกระบบและในระบบจากการเจรจาแก้ไข้ลดดอกเบี้ยยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะลูกหนี้ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้จากพฤติกรรมการใช้จ่าย

ขณะที่ ประเด็นการเปิดประมูลรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินที่มีฝ่ายค้านอ้างว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นายทุน ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะรัฐบาลได้เปิดประมูลและยึดตามหลัก TOR ซึ่งผู้ที่เข้าประมูลได้ผ่านตามการประมูลตามหลักเกณฑ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44513
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/07/2019 7:57 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร่ง “เวนคืนที่ดิน-รื้อผู้บุกรุก” ส่งมอบ 4,421 ไร่ ให้ ซี.พี.สร้างไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 July 2019 - 14:15 น.

Click on the image for full size

ในที่สุดเจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” ออกมาย้ำหมุดอีกครั้งจะลุยพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอย่างเต็มสูบ แม้จะเป็นเรื่องใหม่ในเครือ ซี.พี.และระดับประเทศก็ตาม

หลังกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เป็นผู้ชนะประมูลก่อสร้าง วงเงิน 224,544 ล้านบาท และรับสัมปทานบริหารโครงการทั้งแอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟความเร็วสูงและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เป็นระยะเวลา 50 ปี

ตอนนี้รอสรุปการส่งมอบพื้นที่ระหว่างรัฐและเอกชนที่ยังจูนกันไม่ลงตัว ทำให้ฤกษ์เซ็นสัญญายังไม่นิ่ง

แต่คาดหมายไม่เกินสิ้นเดือน ก.ค.นี้ จะจดปากกาเซ็นสัญญากลุ่ม ซี.พี.ได้อย่างแน่นอน หลัง “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ได้รวบรวมพื้นที่ส่งมอบให้เสร็จสรรพ รอแค่ ซี.พี.โอเคเท่านั้นทุกอย่างก็เดินหน้า

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ในฐานะประธานคณะทำงานชุดย่อยดำเนินการเรื่องการส่งมอบพื้นที่กล่าวว่า ได้หารือกับกลุ่ม ซี.พี.แล้ว เบื้องต้นสรุปพื้นที่จะใช้ก่อสร้างมีทั้งหมด 3,571 ไร่ รวมพื้นที่เวนคืนอีก 850 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 4,421 ไร่ จากเดิมที่ประเมินว่าต้องใช้พื้นที่ตลอด 2 ข้างทางร่วม 10,000 ไร่

ขณะนี้พร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ยังมีพื้นที่อุปสรรค 2 ส่วน คือ พื้นที่บุกรุก 210 ไร่ มีผู้บุกรุกเบื้องต้น 513 ราย อาทิ ย่านประดิพัทธ์ 29 หลัง พระราม 6-พญาไท 81 หลัง หัวหมาก 27 หลัง วัดเสมียนนารี 32 หลัง บางละมุง 159 หลัง พัทยา-บ้านห้วยขวาง 95 หลัง เขาชีจรรย์ 3 หลัง

ที่เหลือกระจายไปอยู่บริเวณมักกะสัน คลองตัน 9 หลัง เขาพระบาท 30 หลัง บางแสน 1 หลัง ดอนสีนนท์ 2 หลัง พานทอง-ชลบุรี 10 หลัง ลาดกระบัง 15 หลัง คลองหลวงแพ่ง 13 หลัง และมีพื้นที่เช่าของ ร.ฟ.ท.รวม 83 สัญญา 210 ไร่

ทั้งนี้ การส่งมอบคงไม่สามารถระบุเป็นวันเดือนปีอย่างที่ ซี.พี.ต้องการได้ จะระบุแค่ว่าแต่ละพื้นที่จะใช้เวลาเคลียร์กี่ปีนับจากวันลงนามในสัญญา ซึ่งพื้นที่บุกรุกใช้เวลา 2 ปี มีสัญญาเช่า 1 ปี ขณะที่พื้นที่เวนคืนกำลังเร่งรัดออก พ.ร.ฎ.เวนคืน จะใช้เวลา 2 ปี

“คณะทำงานจะส่งข้อมูลทั้งหมดให้ ซี.พี.และต้องดูแผนก่อสร้างของ ซี.พี.ว่าจะเข้าพื้นที่ได้จุดใดก่อน ไม่เกินปลายเดือน ก.ค.นี้น่าจะเซ็นสัญญาได้”

ส่วนการเคลียร์เรื่องสาธารณูปโภคกีดขวางเส้นทาง เช่น สายไฟแรงสูง ท่อประปา ท่อน้ำมัน ก็ต้องมาหารือว่ามีจุดไหนจะต้องรื้อย้ายจริง ๆ ถ้ามี ร.ฟ.ท.จะประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ แต่ถ้าจุดไหนที่ ร.ฟ.ท.เห็นว่าไม่ต้องย้ายก็ไม่จำเป็นต้องย้าย ส่วนการทุบตอม่อโฮปเวลล์กว่า 200 ต้น ยังไม่ได้ข้อยุติว่าใครจะเป็นคนทุบ

สำหรับแผนการส่งมอบพื้นที่ TOD (พื้นที่เชิงพาณิชย์) ปัจจุบันทำรังวัดแล้ว พื้นที่มักกะสันมีพื้นที่รวม 142.26 ไร่ พร้อมส่งมอบ 132.95 ไร่ อีก 9.31 ไร่ติดพื้นที่พวงราง โดย ร.ฟ.ท.จะให้งบฯสำหรับดำเนินการรื้อย้าย 300 ล้านบาทกับ ซี.พี.ไปดำเนินการเอง ส่วนศรีราชามีพื้นที่ 27.45 ไร่ พร้อมส่งมอบทั้งหมด แต่ ซี.พี.จะต้องออกค่าใช้จ่ายสร้างแฟลตทดแทนให้พนักงานรถไฟบริเวณนั้น จำนวน 3 อาคารก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2019 9:02 am    Post subject: Reply with quote

ขยับเซ็นไฮสปีด 3 สนามบิน เหตุยังติดปมย้าย”ท่อน้ำมัน-สายไฟแรงสูง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 23:08


รฟท.ขยับเซ็นซี.พี. รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เหตุยังติดรื้อย้ายสาธารณูปโภคไม่ชัดเจน เร่งเจรจา “ปตท.-กฟผ.” ทำแผนรื้อย้ายท่อน้ำมัน ช่วง พญาไท-ดอนเมือง และสายไฟแรงสูง 16 จุด โดยต้องรับภาระ ค่ารื้อย้าย ตามสัญญาเช่าที่รถไฟ ด้วย

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การเจรจาแผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม.ให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ล่าสุด เมื่อวันที่26 ก.ค.

ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่อง การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งการรวบรวมข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ซึ่งจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติม โดยนัดหารือกับ กลุ่ม ซี.พี.ในวันที่ 31 ก.ค.เพื่อตรวจสอบข้อมูลร่วมกันอีกครั้ง

ทั้งนี้ เนื่องจาก ตามแนวเส้นทางก่อสร้าง จะมีสาธารณูปโภคของหน่วยงานต่างๆ ทั้งที่อยู่ใต้ดิน และบนพื้นดิน ซึ่งอาจกีดขวางการก่อสร้าง หรือมีผลกระทบต่อการให้บริการรถไฟฟ้าได้ อาทิ ท่อน้ำมัน,ท่อแก้ส ,ท่อประปา ที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งพบว่า ช่วง พญาไท-ดอนเมือง มีท่อน้ำมัน และท่อแก้สอยู่ สาวนสายไฟฟ้าแรงสูง

พบกระจายอยู่ตลอดแนวเส้นทาง ประมาณ 16 จุด ซึ่งตัดกับแนวรถไฟความเร็วสูง อาจต้องขยับ หรือยกสูงเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อระบบการจ่ายไฟฟ้าของรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น

โดยเมื่อได้ข้อมูลครบถ้วน ชัดเจน จะประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่วน ท่อประปา จะมีปัญหาการรื้อย้ายน้อยกว่า เพื่อหารือถึงแผนการรื้อย้าย ว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร และจะมีผลต่อการก่อสร้างของซี.พี.หรือไม่ ซึ่งยอมรับว่า การลงนามสัญญากับกลุ่มซี.พี.

จะไม่ทันเดือนก.ค.นี้ เพราะต้องรอให้แผนการส่องมอบพื้นที่ทั้งหมด ชัดเจนครบถ้วนก่อน

“การรื้อย้ายระบบสาธาณูปโภค ที่กีดขวางการก่อสร้าง ตอนนี้ ข้อมูลยังไม่ครบ และยังต้องหารือกับหน่วยงานที่เป็นเข้าของสาธารณูปโภคอีก ว่าจะใช้เวลารื้อย้ายแค่ไหน ซึ่งสัญญา ซี.พี.มีเวลาก่อสร้าง 5 ปี หลังเซ็นสัญญา แต่หากหน่วยงานบอกว่าใช้เวลาย้ายสาธารณูปโภค 5 ปี แบบนี้ ซี.พี.ก่อสร้างไม่ทัน

ดังนั้นต้องไปหารือแผนงานกันให้ชัดเจน”

อย่างไรก็ตาม ระบบสาธารณูปโภค ต่างๆ หน่วยงานขอเช่าที่รถไฟ ในการใช้ประโยชน์ ซึ่งสัญญาเช่า ระบุว่า หากรฟท.ต้องการใช้พื้นที่ หน่วยงานนั้นๆ จะต้องดำเนินการรื้อย้าย. และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายด้วย

สำหรับพื้นที่ใช้ในการก่อสร้างที่สรุปตรงกัน มีกว่า 4,300 ไร่ เป็นพื้นที่รถไฟ จำนวน 3,571 ไร่ พื้นที่เวนคืน 850 ไร่ ( มีจำนวน 42 แปลง จะใช้เวลาส่งมอบ 2 ปี นับจากออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน

โดยพื้นที่ของรฟท.จำนวน 3,571 ไร่ นั้น พร้อมส่งมอบในช่วงแรกจำนวน 3,151 ไร่ ( 80% ) ส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1. พื้นที่ถูกบุกรุกจำนวน 210 ไร่ จะเคลียร์ ภายใน 2 ปี 2. พื้นที่ติดสัญญาเช่า จำนวน 210 ไร่ จำนวน 83 สัญญา ดำเนินการภายใน 1 ปี

ที่ดินมักกะสัน ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือประมาณ 9.31 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งทางซีพี ต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้ ส่วนสถานีศรีราช จำนวน 27.45 ไร่ โดยซีพีจะต้องก่อสร้างแฟลตบ้านพักรถไฟ ทดแทนให้ก่อน จึงจะเข้าพื้นที่ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 7:46 pm    Post subject: เหตุที่ทำให้รถไฟความไวสูงล่าช้าตอนที่หนึ่ง Reply with quote

ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ช่วงแรก 3.5 กิโลเมตร และสาเหตุปัญหาความล่าช้า ของโครงการ ตอนที่ 1 เรื่อง รายละเอียดการก่อสร้าง

เอาล่ะครับ ได้ฤกษ์มาโพสต์เรื่องรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งหลายๆ คนเอาไปพูดกันว่าระยะทางแค่นี้ ทำไมยังไม่เสร็จซักที ผมจะมาเล่าให้ถึงสาเหตุจากปัญหาที่เจอในช่วงแรก และในปัจจุบันนี้ของโครงการ

ขอแบ่งเป็น 3 ตอนนะครับ จะได้ไม่ยาวเกินไป ผมว่าผมเขียนยาวจนคนไม่อยากอ่านแล้ว ฮ่าๆ

โครงการรถไฟความเร็วสูง สรุปใน 1 โพสต์ ตามลิ้งค์นี้เลยครับ

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/661235757648240?s=1160002750&sfns=mo

คลิปสำรวจความคืบหน้า ตลอดเส้นทาง 3.5 กิโลเมตรครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo

ลิ้งค์ตอนที่ 2
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่ๆหน้าไซท์มากๆนะครับที่ให้เข้าไปชมและ อธิบายรายละเอียดให้ฟังทั้งหมด

เรามาดูที่รายละเอียดโครงการช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร กันก่อนครับ

1.ช่วงนี้เริ่มต้นบริเวณ ด้านทิศเหนือของสถานีกลางดง ไปประมาณ 1 กิโลเมตร ปลายทาง จะอยู่ด้านใต้ ของสถานีปางอโศก ประมาณ 500 เมตร

2.ระยะทางรวม 3.5 กิโลเมตร

3.รูปแบบการก่อสร้างช่วงนี้เป็นระดับดิน คู่ขนานไปกับโครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟ แบ่งเป็น 3 แบบคือ

3.1 แบบคันทาง ซึ่งเป็นการทำคันทางแบบถมทับบนดินเดิม

3.2 แบบตัดพื้นบนดินแข็ง ซึ่งจะทำทางทับบนดินที่ถูกปาดออก และดินด้านล่างมีความแข็งเพียงพอ สามารถ วางแผ่น Geomembrane และถมหินชั้น Top Layer sub grade ได้เลย

3.3 แบบตัดพื้นบนดินอ่อน ซึ่งเป็นการทำทางบทดินที่ถูกปาดออก และดินด้านล่างมีความแข็งเพียงพอ จะต้องมีการขุดดินเดิมออก และถมหินลงไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงก่อนจะ มีการลงชั้น Geomembrane และถมหินชั้น Top Layer sub grade เหมือนแบบที่ 3.2

4. รายละเอียดและส่วนประกอบคันทาง คันทางทั้งหมด 6 ชั้นคือ
4.1 ชันดินเดิม (Foundation)

4.2 ชั้น Embankment Layer Group C Soil (เป็นดินลูกรัง)

4.3 ชั้น Bottom Layer Group A&B Soil (เป็นหินคลุก)

4.4 ชั้น Sand Cushion & Geo Membrane (เป็นชั้นอัดทราย และ ปิดหน้าด้วยแผ่น Geo Membrane เพื่อป้องกัน น้ำใต้ดินซึมขึ้นมาทำลายชั้นด้านบนซึ่งเป็นชั้นสำคัญในการรองรับน้ำหนักของ โครงสร้างและตัวรถไฟความเร็วสูง ซึ่งชั้นนี้จะมีสาย Ground ของทางรถไฟ ที่จะติดตามเสาทุกเสา ป้องกันไฟลง Ground

4.5 ชั้น Top Layer ซึ่งเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด และทางหลวงไม่มีหินเกรดนี้ ต้องมีการพัฒนาร่วมกับทางจีน ขอสูตรมาลองผสม โดยเป็นการผสมของหินคลุก กับสารประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นชั้นหินละเอียด ตอนเทต้องใช้รถเทยางมะตอย มาเทเป็นชั้น

แต่ข้อดีคือ มันแน่นและแข็งแรงมาก บดอัดแค่ 2 รอบ ก็สามารถให้รถบรรทุก วิ่งไปมาได้ โดยไม่เกิดการทรุดตัวแล้วครับ ซึ่งตรงนี้มีประโยชน์กับกรมทางหลวงมากๆ เพราะได้เป็นการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับ กรมทางหลวงเองด้วย

ในชั้นนี้จะเป็นชั้นวาง กล่องรับ Cable และสายส่งไฟฟ้าด้วย

4.6 ชั้นหินรองราง ซึ่งจะอยู่ในสัญญารถไฟความเร็วสูงของจีน ที่จะมาพร้อม หมอนรองราง, ราง, เสา OCS และ ตัวรถไฟ พร้อมระบบควบคุม

*** เห็นหลายๆคนสงสัยว่าทำไมมันอลังการจัง คือระบบรถไฟความเร็วสูงความเรียบต้องสนิดมาก เพราะถ้ามีการทรุด หรือนูน ทำให้รถไฟตกรางได้ครับ

และที่สำคัญการก่อสร้างตรงนี้ เป็นการออกแบบมาตรฐานการใช้งาน 100 ปี ครับ ***

ซึ่งทางพี่กรมทางหลวง ก็บอกชัดเจนเลยว่า การทางหลวงไม่มีมาตรฐานนี้ และอุปกรณ์หลายๆตัวไม่มีผลิตในประเทศ หรือ สูตรการผสมดินบางตัว เราไม่เคยเห็น เลยต้องมีการศึกษารายละเอียดร่วมกัน ซึ่งทางกรมทางหลวงเองชื่นชมทางจีนว่าเป็นอาจารย์คนนึงเลย เพราะเค้าผ่านการสร้างความเร็วสูงมาทั่วประเทศจีนแล้ว

เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังในโพสต์หน้านะครับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากในรูปนะครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/710350119403470
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 7:47 pm    Post subject: เหตุที่ทำให้รถไฟความไวสูงล่าช้าตอนที่สอง Reply with quote

ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ช่วงแรก 3.5 กิโลเมตร และสาเหตุปัญหาความล่าช้า ของโครงการ ตอนที่ 2 การปรับมาตรฐานการตรวจสอบ และการปรับสูตรต่างๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานจีน

ซึ่ง Key point หลักของการสร้างทางรถไฟสายนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ของประเทศชาติมากที่สุดคือ เราต้องใช้อุปกรณ์ก่อสร้างภายในประเทศให้มากที่สุด

ดังนั้นช่วงที่ 3.5 กิโลเมตร ที่ว่านี้ มีความสำคัญมากในการเทียบมาตรฐาน การก่อสร้าง และวัสดุที่มีภายในประเทศ เทียบระหว่าง ไทย กับ จีน เพื่อจะใช้ Spec ไทย ทดแทน Spec จีน ให้ได้มากที่สุด

ดังนั้น ข้อนี้คงแก้ข่าว ท่าน สส.บางท่านที่บอกว่า รถไฟความเร็วสูง สายนี้ไทยเสียท่าจีน ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยไม่ได้งาน แล้วก็ไม่ได้ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ ซึ่ง ถ้าเราไม่สร้าง ช่วง 3.5 กิโลเมตรนี้ ก็คงเป็นอย่างที่ท่านพูดจริงๆ แต่พอเราทำ 3.5 กิโลเมตรนี้ เราสามารถ Apply วัสดุก่อสร้างไทย ไปได้มากที่สุด

โครงการรถไฟความเร็วสูง สรุปใน 1 โพสต์ ตามลิ้งค์นี้เลยครับ

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/661235757648240?s=1160002750&sfns=mo

ลิ้งค์โพสต์ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ช่วงแรก 3.5 กิโลเมตร และสาเหตุปัญหาความล่าช้า ของโครงการ ตอนที่ 1

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo

คลิปสำรวจความคืบหน้า ตลอดเส้นทาง 3.5 กิโลเมตรครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo

————-

ทำไมต้องให้กรมทางหลวง เป็นคนก่อสร้าง ทางรถไฟ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรนี้ แล้วทำไมมันช้านัก???

ผมว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่มีมาตลอดช่วงก่อสร้างจนถึงตอนนี้

ก่อนอื่นต้องมาบอกก่อนว่า ตอนที่เราได้แบบและมาตรฐาน การก่อสร้างนั้นมาจากทางจีน ซึ่งเค้ามีมาตรฐาน การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหลายหมื่นกิโลเมตรแล้ว ซึ่งเค้าผลิตอุปกรณ์ และ ทีมงานก่อสร้างซึ่งเป็นมืออาชีพ และมีมาตรฐานอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนามาให้เหมาะสม กับการใช้งานแล้ว

ซึ่งพอเค้าโยนมาตรฐานนั้นมาให้เรา พอเรามาอ่าน ก็งง ไปหมด เพราะเราไม่มีของแบบนั้นอยู่เลย วัสดุบางอย่างก็ต้องมีการปรับสูตรใหม่หมด บางอย่างฝ่ายกรมทางหลวงเองยังไม่เคยเห็นมาตรฐานนี้เลยด้วยซ้ำ และของหลายๆอย่างไม่มีผลิตในประเทศเลย

ดังนั้น การทำ เส้นทางระยะ 3.5 กิโลเมตรนี้ เป็นการทำ Pilot plant ซึ่งจะบอกว่า

อะไรมีอยู่ในมาตรฐานเดิม
อะไรต้องปรับปรุงสูตร และวิธีการผลิต
อะไรต้องนำเข้ามาจากจีน หรือไปติดต่อให้เอกชนในประเทศ ผลิตตามมาตรฐานจีน

ซึ่งทั้งหมดนี้จะออกมาเป็นราคากลางของ TOR ที่เอามาใช้ประมูล ในสัญญาอื่นๆ ตามมา

ซึ่งทางทีมงานซ่อมสร้างของกรมทางหลวง ยังยอมรับกับผมเองเลยว่าโครงการนี้ให้ Know how กับทางกรมทางหลวงมาก ในอนาคต อาจจะมีการ Apply ความรู้จากการก่อสร้างนี้ไปใช้ในการพัฒนาทางหลวงเช่นกัน

ซึ่งในช่วงออกแบบและศึกษา การใช้ของ วิธีการก่อสร้างและวัสดุตรงนี้ ก็ใช้เวลาไปเกือบปี จากปี 60 ซึ่งผลลัพธ์ของการศึกษา ช่วงปีแรก ก็คือ TOR การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทุกสัญญาที่ทาง รฟท ไปเปิดประมูล และทางทีมงานซ่อมสร้าง ก็จะมีการทำหนังสือ วิธีการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงออกมา เพื่อเป็นมาตรฐานการก่อสร้างในจุดอื่นๆ ทั้งในสายนี้ และในอนาคตต่อไป

ซึ่ง Key point หลักของการสร้างทางรถไฟสายนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ของประเทศชาติมากที่สุดคือ เราต้องใช้อุปกรณ์ก่อสร้างภายในประเทศให้มากที่สุด

ดังนั้นช่วงที่ 3.5 กิโลเมตร ที่ว่านี้ มีความสำคัญมากในการเทียบมาตรฐาน การก่อสร้าง และวัสดุที่มีภายในประเทศ เทียบระหว่าง ไทย กับ จีน เพื่อจะใช้ Spec ไทย ทดแทน Spec จีน ให้ได้มากที่สุด

ดังนั้น ข้อนี้คงแก้ข่าว ท่าน สส.บางท่านที่บอกว่า รถไฟความเร็วสูง สายนี้ไทยเสียท่าจีน ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยไม่ได้งาน แล้วก็ไม่ได้ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ ซึ่ง ถ้าเราไม่สร้าง ช่วง 3.5 กิโลเมตรนี้ ก็คงเป็นอย่างที่ท่านพูดจริงๆ แต่พอเราทำ 3.5 กิโลเมตรนี้ เราสามารถ Apply วัสดุก่อสร้างไทย ไปได้มากที่สุด

แล้วทางจีนมาสอนให้ทีมงานก่อสร้างของเราบ้างที่เห็นได้ชัดเจน

ที่เห็นชัดๆ คือ ทางจีนมาสอนตั้งแต่พื้นฐานการบ่มปูนเลย เพราะมาตรฐานของจีนเค้าสูง และ มีการพัฒนาโครงการในพื้นที่ หนาวจัดและร้อนจัด ซึ่งโครงสร้างต้องรับได้ จึงต้องทำการทดสอบปูนที่ใช้ในโครงการด้วยมาตรฐานที่สูงกว่าที่เราทำในปัจจุบัน

ซึ่งเอามาใช้ในทุกส่วนของโครงการ ตั้งแต่ รางรับน้ำ ยัน กำแพงกันดิน

การก่อสร้างของเราโดยทั่วไปใช้การบ่มปูนเพื่อทดสอบการรับแรงโดยการแช่น้ำ และบ่มด้วยกระสอบ แล้วนำมาทดสอบ ในระยะเวลา ต่างกัน เช่น 3 วัน 14 วัน และ 28 วัน

แต่ทางจีน สำหรับการบ่มหน้าไซท์งาน ก็ทำแบบเดียวกับเรา แต่การบ่มละเอียดเพื่อการทดสอบอย่างได้มาตรฐาน ของเค้าใช้การนำปูนเข้าบ่มในห้องแอร์ที่มีอุณหภูมิ คงที่ พร้อมมีสเปรย์ ให้ความชื่นในห้อง ซึ่งบ่มก็มี 3 ระยะเช่น 3 วัน 14 วัน และ 28 วัน เช่นกัน เพื่อทดสอบการรับแรงดันของปูนครับ

(ผมก็ไม่ทราบรายละเอียดลึกๆ เหมือนกันครับ ใครมีความรู้ ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มหน่อยนะครับ)

อีกเรื่องที่สำคัญ คือทางจีนมี Spec ปูนที่ไม่เหมือนของเรา โดยใช้ ขี้เถ้าปลิว (Fly Ash) ของโรงไฟฟ้า มาผสมกับปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ให้กับปูน ซึ่งทางทีมก่อสร้าง บอกว่า ถ้าบ้านเรา Fly Ash ถือว่าเป็นสิ่งปนเปื้อนสำหรับปูน แต่กลับกัน การที่ใช้ Fly Ash มาผสม ในตอนเริ่มต้น ปูนจะยังรับแรงได้ไม่มาก แต่ในระยะยาว ปูนจะมีความแกร่ง มากกว่าสูตรเดิม ที่เราใช้กันอยู่

ซึ่งอย่างที่บอกว่า โครงสร้างของจีนเค้าออกแบบให้ใช้งานได้ 100 ปี ดังนั้นเค้ามองถึงผลระยะยาวของโครงสร้างมากกว่าครับ

อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งนี่มีประโยชน์กับการทำงานของกรมทางหลวงในอนาคตด้วยเช่นกันครับ

ซึ่งตอนนี้ ทางหัวหน้างานก่อสร้าง ยืนยันมาว่า ตอนนี้ทีมงานที่ทำงานใน 3.5 กม แรกของ กรมทางหลวง สามารถดำเนินการได้ทุก item แล้ว และทางโครงการกำลังทำ เอกสารการควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง อยู่ครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/710985569339925
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กตู่ให้ลงนามเรื่องรถไฟความไวสูงเชิ่อมสามสนามบินตามกำหนดเดิม
https://www.thebangkokinsight.com/184521
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2019 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.บีบ‘ซีพี’ผุดทางยกระดับ เชื่อมขุมทอง‘มักกะสัน’
ออนไลน์เมื่อ 01 สิงหาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 25-26
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,492 วันที่ 1-3 สิงหาคม 2562

รฟท.ขีดแนวเส้นทางสร้างทางยกระดับจากแยกอโศกเชื่อมเข้ากลางที่ดินมักกะสันมอบซีพีดำเนินการ รองรับมิกซ์ยูส หวังลดผลกระทบจราจรพื้นที่โดยรอบ สร้างความสะดวกให้คนเข้าพื้นที่ พร้อมเดินหน้า รื้อย้ายโรงงานอู่ซ่อม บ้านพักข้าราชการ ก่อนส่งมอบที่ดินมักกะสันผืนใหญ่ปัจจุบันมีสภาพเป็นโรงซ่อม อู่ พวงราง บ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาลเก่าแก่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังถูกรื้อย้ายพลิกโฉมให้กลายเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์กลางใจเมืองรองรับศูนย์คมนาคมมักกะสันเกตเวย์ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เชื่อมการเดินทางด้วยรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่กลุ่มซีพีและพันธมิตร ชนะประมูล และได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว 50 ปี อย่างไรก็ตาม พื้นที่นี้ไม่มีปัญหาผู้บุกรุก เนื่องจากรฟท.เป็นผู้ใช้ประโยชน์อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริเวณนี้จะพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ทั้งการอยู่อาศัย ศูนย์รวมธุรกิจ แหล่งงาน ศูนย์การค้า โรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระบบราง อนาคตจะมีคนเข้าใช้พื้นที่จำนวนมาก อาจกระทบพื้นที่โดยรอบ ดังนั้นเอกชนต้องลงทุนก่อสร้างถนน และทางยกระดับ จากภายในโครงการเชื่อมต่อกับทางสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาจราจรในระยะยาว

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รฟท.อยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ 150 ไร่ เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับกลุ่มซีพี เช่าระยะยาว 50 ปี มูลค่า 52,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขทีโออาร์ กรณีชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยเป้าหมายส่งมอบพื้นที่ช่วงแรกภายใน 2 ปี ขณะส่วนที่เหลือซึ่งเป็นพื้นที่พวงรางจะเร่งส่งมอบให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปีนับจากเซ็นสัญญาเนื่องจากพื้นที่มักกะสันถูกล้อมไปด้วยเมือง แม้จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ แต่เมื่อมีคนเข้าพื้นที่ เกรงว่าจะเกิดปัญหาจราจรแออัด กระทบพื้นที่โดยรอบ ดังนั้นจึงต้องก่อสร้างถนน ทางเชื่อมระบายการจราจร ได้มอบให้ซีพี ก่อสร้างถนนทางยกระดับตั้งแต่แยกอโศก เชื่อมเข้าแปลงที่ดิน เนื่องจากต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ซึ่งเชื่อว่าจะผ่านการอนุมัติ หากมีแผนแก้ปัญหาจราจรให้ในระยะยาวโดยไม่กระทบการสัญจรบนทางสาธารณะ ซึ่งรัฐได้ประโยชน์ และเอกชนต้องออกค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ภายในโครงการเอกชนต้องทำทางจักรยาน ทางเดินเท้า โซนพื้นที่สีเขียวและอาคารสำนักงาน เพื่อเป็นสมาร์ทซิตี มีนวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบอื่นจะมีอะไรบ้างนั้น เป็นหน้าที่ที่เอกชนกำหนด เพียงแต่ระบุว่าพัฒนารูปแบบมิกซ์ยูสสำหรับความคุ้มค่า ประเมินว่า มูลค่า 52,000 ล้านบาท ที่ให้ซีพีเช่า หากรฟท.ลงทุนเองก็ใช้งบใกล้เคียงกัน ดังนั้นให้เอกชนลงทุน รฟท.ได้ค่าเช่า น่าจะคุ้มกว่า“ฐานเศรษฐกิจ” สำรวจพื้นที่โดยรอบที่ดินมักกะสันพบว่ามีโครงการของเอกชนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งโรงแรมอาคารสำนักงานเกรดเอคอนโด มิเนียม เนื่องจาก เป็นย่านใจกลางเมืองเชื่อมการเดินทางด่วนรถไฟฟ้าสะดวกที่สุด

ขณะที่ การวิเคราะห์ของ คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ที่ดินมักกะสันที่รฟท. จะให้เอกชนเข้าไปพัฒนาพื้นที่กว่า 120 ไร่ สัญญาเช่า 50 ปี กำหนดการใช้พื้นที่สูงสุดของ GFA อยู่ที่ประมาณ 2,400,000 ตร.ม. ความต้องการขั้นตํ่าสำหรับการพัฒนาพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 850,000 ตร.ม. ซึ่งคอลลิเออร์ส มองว่า หากเอกชนเข้ามาพัฒนาที่ดินย่านดังกล่าวบนพื้นที่กว่า 120 ไร่ คาดการณ์ว่าจะใช้งบประมาณในการลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท และใช้เวลากว่า 10 ปีถึงจะคุ้มทุน โดยจะต้องนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ รวมถึงคอนโดมิเนียม ลีสโฮลด์ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินขนาดใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2019 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

สื่อจีนพูดถึงรถไฟไทยจีน
https://news.cgtn.com/news/2019-08-01/China-Thailand-Railway-INqEbn7Suc/index.htm


Last edited by Wisarut on 13/08/2019 10:57 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2019 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 30 กรกฏาคม 2562

ฉบับ 3492 หน้า 6 ระหว่างวันที่ วันที่ 1-3 สิงหาคม 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ได้มีการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ผ่านเกณฑ์คะแนนด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินซึ่งกรอบวงเงินการร่วมลงทุนของรัฐกับเอกชนไม่เกิน 119,425 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก จึงเท่ากับ กลุ่มซีพี เป็นผู้ชนะการประมูล คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.61 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 7 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ”คือการรถไฟแห่งประเทศไทย-กระทรวงคมนาคม ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้าที่หมายถึงการสูญเสียโอกาสของประเทศ ทำไม “เอกชน-รัฐ” จึงมีการยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

ถ้าเป็นโครงการอื่นๆ จะยาวนานขนาดนี้หรือไม่...
โครงการนี้สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้น ติดขัดตรงไหน มีอะไรในกอไผ่...

สิ่งเหล่านี้กลายเป็นคำถามหลักของสังคมไทยที่ถามกันให้ทั่วไปในทุกโต๊ะเสวนา...การลงนามจึงยืดเยื้อยาวนานจากรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 1 มาเป็น รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2 เปลี่ยน “รัฐมนตรี” จาก อาคม เติมพิทยาไพสิฐ มาเป็น “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” แต่บัดนี้ยังไม่มีการลงนาม ยังต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดในสัญญากันแบบต้องใช้ “แว่นขยาย” ล่าสุด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ออกมา บอกว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดูรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้รอบคอบ เนื่องจากขณะนี้อยู่ในขั้นตอนร่างสัญญา และใกล้จะลงนามร่วมกับเอกชนแล้ว ขอให้ดูรายละเอียด โดยเฉพาะการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการให้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องสัญญาร่วมกันในอนาคต

การส่งมอบที่ดินในความหมายคือ พื้นที่รวมที่ไฮสปีดวิ่งผ่านรวม 4,500 ไร่ เป็นพื้นที่ต้องเวนคืนราว 850 ไร่ และเป็นพื้นที่ติดปัญหาประมาณ 20% หรือประมาณ 2,000 ไร่ โดย รฟท.กำหนดส่งมอบหลังออก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน ภายใน 2 ปี


สัญญาณทางการเมืองที่ส่งผ่านออกมาคือ รายละเอียดสัญญายังไม่จบ! “รัฐมนตรีศักดิ์สยาม” จึงออกมาสำทับแบบนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทุกท่านได้ติดตามเกาะติดโครงการนี้ ผมขอนำรายละเอียดสัญญาในโครงการนี้มาทยอยนำเสนอในคอลัมน์นี้ต่อเนื่องซึ่งอาจจะยาวมาก แต่ขอตัดนำเสนอเป็นตอนๆ เพื่อบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์และตอนสรุป ผมจะมาขมวดปมให้เห็นภาพอีกครั้งนะครับ


สำหรับร่างสัญญารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ผ่านการตรวจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น สาระสำคัญอยู่ในข้อ 3.4 ข้อตกลงร่วมลงทุนระหว่าง รฟท. และเอกชนคู่สัญญา

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รฟท. โดยอาศัยมติคณะกรรมการนโยบาย เมื่อวันที่ (...) และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ (...) ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบให้อำนาจแก่ รฟท. ในการเข้าร่วมลงทุนกับเอกชนและพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ได้ตกลงเข้าร่วมลงทุนกับเอกชนคู่สัญญาในโครงการและเอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการ นี้ ขอบข่ายของงาน รูปแบบการร่วมลงทุนและสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย 4.1 ขอบข่ายของงาน ภายใต้หลักการของโครงการฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามข้อ 3.1(2) และขอบข่ายของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3 คู่สัญญาตกลงให้ขอบข่ายของงานภายใต้สัญญาร่วมลงทุนครอบคลุมถึงงานดังต่อไปนี้ โดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องดำเนินการดังกล่าวด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

(1) รถไฟความเร็วสูง
(ก) งานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานการออกแบบและงานการก่อสร้างงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงการจัดหา ผลิต ติดตั้งงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง การทดสอบแต่ละระบบ (Individual Testing) การทดสอบระบบโดยรวม (Integrated System Testing) การทดลองเดินรถ (Trial Run) การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 และขอบเขตของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3
(ข) งานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง เอกชนคู่สัญญา มีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานการให้บริการเดินรถ และงานการซ่อมและบำรุงรักษาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในส่วนของรถไฟความเร็วสูงรวมถึงงานการจัดหาและการติดตั้งงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง เพื่อทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพไปหรือชำรุดเสียหาย งานดูแลรักษาความสะอาดและงานรักษาความปลอดภัย ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 และขอบเขตของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3 (2) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ (ก) งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานการออกแบบและงานการก่อสร้างเพื่อปรับปรุงงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในส่วนของ แอร์พอร์ต เรลลิงค์ รวมถึงการจัดหา ผลิต ติดตั้งงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ การทดสอบแต่ละระบบ การทดสอบระบบโดยรวม การทดลองเดินรถ การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 และขอบเขตของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3

(3) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย
(ก) งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติการออกแบบและงานการก่อสร้างงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย และงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงการจัดหาผลิต ติดตั้งงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ส่วนต่อขยาย การทดสอบแต่ละระบบ การทดสอบระบบโดยรวม การทดลองเดินรถ การฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 และขอบเขตของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3

(4) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาพื้นที่สนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การเช่าและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1 รวมถึงเป็นไปตามข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ และการดำเนินการอื่นใดภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 ขอบเขตของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.3 ติดตามตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44513
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2019 9:49 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟ “ไทย-จีน” สะดุดยื้อเซ็นสัญญา 2.3-“ศักดิ์สยาม” ชง “สมคิด” ช่วยเจรจา
เผยแพร่: 9 ส.ค. 2562 08:21 ปรับปรุง: 9 ส.ค. 2562 08:41 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” สั่งรวบรวมปัญหาอุปสรรครถไฟไทย-จีน หลังการเจรจาเงื่อนไขสัญญา 2.3 ไม่ยุติ เร่งชง “สมคิด” ช่วยเจรจาจีน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวบรวมประเด็นและปัญหาต่างๆ ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย เนื่องจากยังมีความล่าช้าอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องการเจรจาในสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ซึ่งไทยยืนยันว่าการก่อสร้างโครงการของไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย เช่น การประกันผลงาน ฝ่ายจีนเสนอระยะเวลา 1 ปี ขณะที่กฎหมายไทยต้อง 2 ปี เป็นต้น

“ผมให้รวบรวมปัญหาทุกเรื่องเพื่อนำหารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ช่วยผลักดัน เนื่องจากเป็นเรื่องระหว่างไทย-จีน หากได้ข้อยุติ กระทรวงคมนาคมพร้อมปฏิบัติต่อไป ซึ่งจะนำรายงานต่อ ครม.ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ นอกจากนี้ รองนายกฯ สมคิดยังได้ให้รายงานทุกโครงการที่มีข้อติดขัดเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา เนื่องจากต้องการให้ทุกรัฐวิสาหกิจเร่งเพื่อประสิทธิภาพ และหากแห่งใดมีศักยภาพในการลงทุนให้เร่งดำเนินการ” นายศักดิ์สยามกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้ส่งร่างสัญญาให้ฝ่ายจีนพิจารณาแล้ว ส่วนประเด็นเงื่อนไข ค่าปรับ คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้พิจารณาไปแล้ว เหลือยังไม่เรียบร้อยในเรื่องการประกันผลงาน เบื้องต้นจีนจะยอมรับการปฏิบัติตามกฎหมายไทยแต่ยังไม่ได้ข้อยุติทั้งหมด

รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนการก่อสร้างงานโยธา กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท อยู่ระหว่างประมูลด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) จำนวน 12 สัญญา วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท โดยขณะนี้เคาะราคาแล้ว 2 สัญญา เตรียมเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติเพื่อลงนามสัญญาผู้รับเหมา และอยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติผู้ชนะประมูลอีก 3 สัญญา ส่วนอีก 6 สัญญาจะเปิดเคาะราคาประมูลในวันที่ 31 ส.ค.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 328, 329, 330 ... 545, 546, 547  Next
Page 329 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©