View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 13/08/2019 10:41 am Post subject:
รอลุ้น!นั่งรถไฟไปเขาคิชฌกูฎ เปิดพิกัดระบบรางสายใหม่
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด"
อังคารที่ 13 สิงหาคม 2562 เวลา 08.00 น.
สัปดาห์นี้ไปดูเส้นทางรถไฟสายใหม่ด้านตะวันออก พาดผ่าน 4 จังหวัด แต่ขออดใจรออยู่ในขั้นตอนศึกษา หากสำเร็จจะเป็นอีกทางเลือกของนักเดินทางท่องเที่ยวและสายบุญได้ขึ้นไปกราบไหว้ขอพรรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฎ
สัปดาห์นี้มีข่าวดีรัวๆ ของรถไฟสายใหม่ด้านตะวันออก ที่จะพาดผ่าน 4 จังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ โดยนำเสนอร่างผลสรุปการศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจการเงิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น
ผลการจัดรับฟังความคิดเห็นยกแรก ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ อยากให้รัฐบาลอนุมัติและก่อสร้างโดยเร็วเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่ยังมีข้อกังวลเรื่องจุดตัดทางรถไฟตามแนวเส้นทาง ผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งการเวนคืนพื้นที่ ประชาชนต้องการทราบรายละเอียดที่ชัดเจนว่าเวนคืนพื้นที่จุดใดบ้าง จะผ่านบ้านตัวเอง อาคารสิ่งปลูกร้าน ร้านค้า เรือกสวนไร่นา หรือพื้นที่ทำกินหรือไม่?? และขอให้ภาครัฐจ่ายค่าชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรม
นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. บอกว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม ได้ลงพื้นที่สำรวจในเบื้องต้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.62 หากผลการศึกษาพบว่า เหมาะสม คุ้มค่ากับการลงทุน รฟท.จะตั้งงบประมาณเพื่อออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง และรูปแบบสถานี ใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี จะมีความชัดเจนในด้านต่างๆ มากขึ้น เมื่อแล้วเสร็จจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาต่อไป คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปี 66 โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด มีทั้งหมด 34 สถานี ระยะทางรวม 333 กิโลเมตร(กม.) วงเงินลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านบาท
"ปัจจุบันจาก จ.ระยอง ถึง จ.ตราดไม่มีทางรถไฟ ประชาชนเดินทางด้วยรถยนต์เพียงอย่างเดียว หากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ต้องโดยสารรถทัวร์ หรือรถตู้ ดังนั้นหากเพิ่มการเดินทางทางรางเข้าไป นอกจากจะเป็นอีกทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก และปลอดภัยแก่ประชาชน ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะผลไม้ ช่วยลดต้นทุนให้ชาวสวน ขณะเดียวกันยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เช่น เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี ซึ่งแต่ละปีจะมีประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก รถไฟสายนี้มีที่ตั้งของสถานีอยู่ใกล้กับเขาคิชฌกูฎด้วย จะทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น" วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท.ย้ำ
สำหรับแนวเส้นทางคัดเลือกโครงการแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1. แนวเส้นทางช่วงที่ 1 เส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม สู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา สถานีระยอง
2. แนวเส้นทางช่วงที่ 2 เส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม สู่พื้นที่ อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุด ถึง อ.เมือง จ.ระยอง และ
3. แนวเส้นทางช่วงที่ 3 เส้นทางเชื่อมโยงโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) และการท่องเที่ยว มีจุดเริ่มต้นจาก อ.เมือง จ.ระยอง ผ่านพื้นที่ จ.จันทบุรี และสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า Container Yard : CY ที่มีความเหมาะสมสำหรับรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ เบื้องต้นกำหนดไว้ 3 แห่ง ได้แก่
1.บริเวณใกล้ทางเข้านิคมอมตะซิตี้ระยอง
2.บริเวณ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
3.บริเวณ อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด
รวมถึงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ใกล้กับสถานีเมืองตราดอีก 1 แห่ง
แนวทางแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟมี 6 รูปแบบ ได้แก่
1.ทางรถไฟยกระดับ
2.ทางลอด
3.สะพานกลับรถ
4.ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ
5.ถนนเชื่อมจุดตัดใกล้เคียง
6.อุโมงค์รถไฟ
พร้อมมาตรการป้องกันและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนในแนวเส้นทางก่อสร้าง อาทิเช่น การฉีดพรมน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขณะก่อสร้างบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และติดตั้งเครื่องหมายจราจร ไฟเตือน ป้ายเตือน ตลอดแนวเส้นทางก่อสร้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เป็นต้น
อีกทั้งรฟท.ยังมีแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟ ด้วยการดึงเอกลักษณ์และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครับสำหรับผู้ใช้บริการ
อดใจรอรถไฟสายใหม่ที่ไปถึง จ.ระยองและตราด อีกทางเลือกของนักเดินทางท่องเที่ยวและสายบุญได้ขึ้นไปกราบไหว้ขอพรรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฎตามความเชื่อและศรัทธา ซึ่งจะเปิดให้สักการะแค่ปีละครั้งเท่านั้น
..............................
ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก : www.thailandhotelforums.com
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 13/08/2019 4:59 pm Post subject:
รฟท. ขอนำส่งข่าวที่น่าสนใจ ประจำวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2562 จำนวน 1 ข่าว ดังนี้
1. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หัวข้อข่าว 'รฟท.'ลุยทางคู่ตะวันออกเร่งฟังความเห็น-ออกแบบ
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจ การบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟฯ ได้ว่าจ้าง บริษัทที่ปรึกษาโครงการ เพื่อศึกษา ความเหมาะสม ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราดคลองใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ข้อเสนอแนะจาก ทุกภาคส่วน มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังความเห็นเป็นจำนวนมากซึ่งโครงการนี้
มีระยะทางรวม 333 กิโลเมตรแบ่งเป็น 3 ช่วง ภายหลังจากการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนแล้ว การรถไฟฯ จะนำข้อมูลที่ได้มาสรุปและรวมรวบเสนอคณะกรรมการรถไฟฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการ สำรวจและออกแบบรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประมูลหา ผู้รับเหมา คาดว่าจะประมูล ได้ช่วงกลางปี 2564 และจะสามารถเร่งรัดเริ่มงานก่อสร้าง ในช่วงปลายปีเดียวกัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 4 ปี
https://www.facebook.com/pr.railway/photos/a.708007162547491/2858800234134829/?type=3&theater
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47028
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 14/08/2019 9:00 am Post subject:
ร.ฟ.ท.เดินหน้ารับฟังความเห็น ก่อนลุยรถไฟทางคู่ตะวันออก
กรุงเทพธุรกิจ 14 สิงหาคม 2562
เดินหน้ารถไฟทางคู่เส้นสายใหม่ หลังการรับฟังความคิดเห็นชาวชลบุรี เตรียมแผนพัฒนาเส้นทาง ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมผลไม้และการท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออก
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการ เพื่อศึกษาความเหมาะสม ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว จำเป็นต้องการมีการแสดงความคิดเห็นการมีส่วนร่วมจากประชาชนตามแนวเส้นทางที่ได้รับการคัดเลือก
เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ข้อเสนอแนะจาก ทุกภาคส่วน มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังความเห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งโครงการนี้มีระยะทางรวม 333 กิโลเมตรแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 เชื่อมโยง นิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง
ช่วงที่ 2 เชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรมสู่พื้นที่อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุด ถึงอำเภอเมืองและ
ช่วงที่ 3 เชื่อมโยงโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) และการท่องเที่ยวมีจุดเริ่มต้นจากอ.เมือง จ.ระยอง ผ่านพื้นที่ จ.จันทบุรี และสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ส่วนพื้นที่ย่านเก็บกองและขนถ่ายสินค้า (Container Yard : CY) เบื้องต้นกําหนดไว้ 3 แห่ง ได้แก่
1.บริเวณใกล้ทางเข้านิคมอมตะซิตี้ระยอง
2.บริเวณ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
3.บริเวณอ.เมืองตราด จ.ตราด
ภายหลังจากการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนแล้ว การรถไฟฯ จะนำข้อมูลที่ได้นำมาสรุปและรวมรวบเสนอคณะการรมการรถไฟฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการสำรวจและออกแบบรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประมูลหาผู้รับเหมา คาดว่าจะประมูล ได้ช่วงกลางปี 2564 และจะสามารถเร่งรัดเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายปีเดียวกัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 4 ปี
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 06/09/2019 10:35 am Post subject:
บทสรุปเพื่อเริ่มโครงการ รถไฟ คู่ตะวันออกสาย ศรีราชา - ระยอง / มาบตาพุด - ระยอง / ระยอง จันทบุรี - ตราด คลองใหญ่ ได้ความดั่งนี้
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote: สรุป โครงการ ทางรถไฟ ทางคู่ศรีราชา-ระยอง และ มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่
หลังจากที่ผมเคยโพสต์เรื่อง โครงการการขยายทางรถไฟสายตะวันออกไปถึงจังหวัดตราด ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่เร่งศึกษา และออกแบบ มาในยุครัฐบาลที่แล้ว และส่วนตัวผมให้ความสำคัญ ในการพัฒนาทางรถไฟสายนี้มากๆ เพราะสามารถเปลี่ยนการเดินทางขนส่งคน และสินค้า
โดยเฉพาะสินค้าส่วนหนึ่งคือสินค้าทางการเกษตร เช่น ผลไม้ ต่างๆ ซึ่งลูกค้าหลักของเราในช่วงที่ผ่านมาคือจีน และปัจจุบันเราส่งสินค้า ทางเรือ และรถบรรทุก ผ่านช่องทางต่างๆ ถ้าทางรถไฟสายนี้เสร็จ เราจะสามารถเดินรถไฟจากจันทบุรีไปท่านาแล้ง และเปลี่ยนรถ เป็นรถสินค้าจีนข้ามจากท่านาแล้ง ผ่านลาว เข้าจีน ใช้เวลา ไม่เกิน 3 วัน ซึ่งเทียบกับการเดินทางด้วยเรือ จะใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะถึงเมืองจีน
วันนี้ขอเอาเอกสารการประชุมครั้งที่ 2 ที่มีการออกแบบรายละเอียดมาสรุปให้ฟังครับ
ใครอยากอ่านรายละเอียดเต็ม สามารถอ่านได้ในลิ้งค์นี้ครับ
http://doubletracktotrat.com/files/pr/printing_media/printing_media2.pdf
ทางรถไฟเป็นทางคู่ เขตทาง 50 เมตร
ออกแบบ เส้นทางให้รับความเร็วได้สูงสุด 160 กม/ชม
พร้อมรั้วตลอดเส้นทาง และ ทางข้ามทางลอด เพื่อให้ประชาชน รอบโครงการ สามารถเดินทางได้ปรกติ
สถานีมีทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ
สถานีขนาดใหญ่(สถานีจังหวัด) 3 สถานี ได้แก่ ระยอง, จันทบุรี และตราด ตามแบบจะเผื่อพื้นที่ไว้สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงด้วย
สถานีขนาดกลาง (สถานีอำเภอขนาดใหญ่) 3 สถานี ได้แก่ ห้วยโป่ง, แกลง และทุ่งเบญจา
สถานีขนาดเล็ก 16 สถานี
ป้ายหยุดรถไฟ 6 จุด
รูปแบบการก่อสร้างสถานีขนาดใหญ่ จะสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมภายในพื้นที่ หรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนตัวผมชอบการออกแบบสถานีทั้ง 3 สถานีเลยครับ
ตำแหน่งย่านสินค้า (CY) มีทั้งหมด 3 จุด คือ
1. CY อมตะซิตี้ ซึ่งอยู่ติดกับนิคมอมตะซิตี้ และถนนทางหลวง 311 เพื่อรับสินค้าจากนิคม ในพื้นที่ปลวกแดง ไปส่งท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมต่อการเดินทางไปปลายทางอื่นๆ
2. CY ทุ่งเบญจา อยู่ในพื้นที่ อ.ท่าใหม่ ซึ่งน่าจะกลายเป็นศูนย์ขนส่งผลไม้ และสินค้าทางการเกษตรหลักเลยครับ
2. CY ตราด จะอยู่ที่บริเวณ ต.ท่ากุ่ม
ศูนย์ซ่อมบำรุง มี 1 ที่ คือ Depot ตราด
รูปแบบการเดินรถไฟ
ความเร็วสูงสุดของรถไฟโดยสาร 160 กม/ชม
ความเร็วสูงสุดของรถไฟสินค้า 120 กม/ชม
ระยะเวลาเดินทางจาก มาบตาพุด-ตราด ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 12 นาที
ถ้าออกจากกรุงเทพ-ตราดน่าจะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ในการเดินทาง
ราคาค่าตั๋วเดินทาง
ชั้น 1 ราคา 1.96 บาท/กิโลเมตร
ชั้น 2 ราคา 1.16 บาท/กิโลเมตร
ชั้น 3 ราคา 0.40 บาท/กิโลเมตร
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ในปีที่เปิดประมาณ 15,000 คน/วัน
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ทั้งโครงการ ในปีที่เปิดประมาณ 18,000 คน/วัน
ปริมาณผู้โดยสาร ทั้งโครงการ ในปีที่เปิดประมาณ 653,000 ตัน/ปี
มูลค่าการลงทุน และความคุ้มค่าในการลงทุน
ทั้งโครงการ ต้องใช้เงินลงทุนทั้งหมด ไม่รวมค่ารถจักรและขบวนรถที่จะเข้ามาให้บริการอยู่ที่ 93,500 ล้านบาท
ซึ่งเป็นค่าเวนคืน 22,400 ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา 71,000 ล้านบาท
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
แบ่งเป็นหลายกรณี แต่อยากให้ดู 2 กรณีที่น่าสนใจ คือ
ถ้าสร้างทั้งหมดตามโครงการ
EIRR = 7.5%
NPV = -27,000 ล้านบาท
B/C = 0.5
แต่ถ้าลงทุนแค่ บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี
EIRR = 12.12%
NPV = 338 ล้านบาท
B/C = 1.02
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ตามเกณฑ์การพิจารณาโครงการของรัฐบาล สามารถสร้างช่วง บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี ได้เลย เพราะมี EIRR เกินเกณฑ์ที่คุ้มค่าในการลงทุน
ตามแผนของโครงการที่คำนวณจะเปิดให้บริการ ปี 2574
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/734727850299030
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 10/09/2019 3:40 pm Post subject:
วิดิโอโครงการ รถไฟ คู่ตะวันออกสาย ศรีราชา - ระยอง / มาบตาพุด - ระยอง / ระยอง จันทบุรี - ตราด คลองใหญ่ ได้ความดั่งนี้
https://www.youtube.com/watch?v=VuK3FMCj_zQ
โผบัญชีรายชื่อสถานี ช่วงระยอง จันทบุรี - ตราด
sf_alpha wrote: (ชุมทาง) ระยอง ? ***
ระยอง **
เขิงเนิน * (แถว ๆ IRPC ด้านหลัง)
ตะพง *
เพ ** (ไปเสม็ด)
กระเฉด +
สองสลึง **
วังหว้า *
แกลง **
บานนา +
ประแสร์ *+
กองดิน +
นายายอาม **
ช้างข้าม +
หนองสีงา *
ทุ่งเบญจา + (ไม่ผ่านเมือง ไปผ่านตรงวัด เลยน่าจะเป็นแค่ป้าย)
ท่าใหม่ ** (CY, ไม่ผ่านเมืองท่าใหม่อีกนั่นแหละ แต่น่าจะใกล้สุขุมวิท แถว ต. สองพี่น้อง เพราะเป็น CY)
เนินสูง +
จันทบุรี *** (สถานีจันทบุรีจริงน่าจะอยู่ตรงนึ้ แถว ๆ มรภ. รำไพฯ หรือ เขาไร่ยา)
แสลง +
มะขาม *+ (ใน video เอาสถานีจันทุบรีไว้ตรงนี้ แต่ผมว่าไม่น่าใช่ เป็นสถานีมะขาม/ปากแซง)
คลองนาราย *
พลิ้ว *+
เกวียนหัก/ตะปอน +
ขลุุง **
หนองซุง/ระหาน +
แสนตุ้ง ** (ไปเกาะช้าง อนาคตชุมทางถ้าต่อไป พระตะบอง)
เขาสมิง *
ตราด *** (CY)
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1962077&page=2
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 10/09/2019 5:25 pm Post subject:
โผบัญชีรายชื่อสถานี ช่วงบางละมุง - ระยอง และ บ้านฉาง - ระยอง
1. บางละมุง - ระยอง
1.0 บางละมุง ชุมทางที่เป็น สถานีขนาดเล็ก ที่ กม. 144 + 080 จุด Bifurcation อยู่ที่ กม. 142 + 600 หรือ 2 กม. เหนือ สถานี บางละมุง ถือได้ว่า ชุมทางจริงยังอยู่ที่ศรีราชา แม้ว่า จุด Bifurcation อยู่ใกล้สถานีบางละมุง
1.1 บ่อวิน สถานีขนาดเล็ก ที่ กม. 160 + 150 แถว เทสโก้ โลตัส บ่อวิน มี Container yard แถว นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ซึ่งอยู่ติดกับนิคมอมตะซิตี้ และถนนทางหลวง 311 แถวเขาไม้แก้ว เพื่อรับสินค้าจากนิคม ในพื้นที่ปลวกแดง ไปส่งท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมต่อการเดินทางไปปลายทางอื่นๆ
1.2 พนานิคม สถานีขนาดเล็ก ที่กม. 172 + 850 ใกล้ๆ เรือนมณีรีสอร์ต
1.3 นิคมพัฒนา สถานีขนาดเล็ก ที่กม. 180 + 325 ใกล้ องค์การบริหารส่วนตำบลพนานิคม
1.4 หนองละลอก สถานีขนาดเล็ก ที่กม. 188 + 300 ใกล้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง (มจพ. ระยอง) และ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เรียกว่า สถานีบ้านค่ายก็เหมาะ
1.5 หนองตะพาน สถานีขนาดเล็กที่กม. 193 + 500 แถว บ้านคลองช้างตาย
1.6 ระยอง สถานีขนาดใหญ่ ที่กม. 202+ 870 ใกล้ตลาดน้ำเกาะกลอย
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.734727850299030/734691253636023/?type=3&theater
2. บ้านฉาง - ระยอง
2.0 บ้านฉาง สถานีขนาดเล็ก ศูนย์กลางสถานีอยู่ ที่ กม. 192.25 จุด Bifurcation อยู่ที่ กม. 193 + 000
2.1 ห้วยโป่ง สถานีขนาดเล็กที่ กม. 203 + 700 ใกล้ๆ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.2 ทับมา สถานีขนาดกลางที่ กม. 208 + 700 ใกล้ วัดทับมา และ ศาลากลางจังหวัดระยองที่สุด
2.3 ระยอง สถานีขนาดใหญ่ ที่ กม. 218 + 800 ใกล้ตลาดน้ำเกาะกลอย
3. ระยอง - นายายอาม
3.0 ระยอง สถานีขนาดใหญ่ ที่ กม. 218 + 800 ใกล้ตลาดน้ำเกาะกลอย
3.1 ตะพง สถานีขนาดเล็กที่ กม. 228 + 500 แถวคลองต้นตะเคียน
3.2 สถานีเพ สถานีขนาดเล็กที่ กม. 238 + 000 จุดลงรถไปเสม็ด ควรเรียกว่าสถานีบ้านเพจึงจะถูก ใกล้ๆ ตำนานป่ารีสอร์ท
3.3 แกลงกะเฉด สถานีขนาดเล็กที่ กม. 248 + 175 จุดลงรถไปหาดสวนสน ดังนั้น เรียกว่าหาดสวนสนท่าจะเหมาะ
3.4 ชากโดน สถานีขนาดเล็กที่ กม. 259 + 975 ใกล้ๆ ร้านอาหารสมถวิล
3.5 สถานีแกลง สถานีขนาดกลางที่ กม. 271 + 100 แถวถนน เลี่ยงเมืองตัดกะ ทางหลวง 344
3.6 ทุ่งควายกิน สถานีขนาดเล็กที่ กม. 284 + 000 แถว บ้านชุมนุมสูง
3.7 นายายอาม สถานีขนาดเล็กที่ กม. 293 + 600 สถานีแรกเมืองจันทบุรี ใกล้ หมู่บ้านทรัพย์มณีจันท์
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.734727850299030/734691133636035/?type=3&theater
4. นายายอาม - ตราด
4.0 นายายอาม สถานีขนาดเล็กที่ กม. 293 + 600 สถานีแรกเมืองจันทบุรี ใกล้ หมู่บ้านทรัพย์มณีจันท์
4.1 วังโตนด สถานีขนาดเล็กที่ กม. 305 + 075 - ใกล้ศาลาประชาพัฒนาบ้านหนองน้ำใส
4.2 ทุ่งเบญจา สถานีขนาดกลางที่ กม. 312 + 500 - ย่านคอนเทนเนอร์ กม. 313 + 600 ป้อมตำรวจทุ่งเบญจา
4.3 เขาไร่ยา สถานีขนาดเล็กที่ กม. 329 + 800 ใกล้ทางไป วัดเขาสุกิม
4.4 จันทบุรี สถานีขนาดใหญ่ ที่ กม. กม. 338 + 000 - ใกล้พลับพลา การเกษตร
4.5 คลองนารายณ์ สถานีขนาดเล็กที่ กม. 343 + 475 ใกล้ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์
4.6 พลิ้ว สถานีขนาดเล็กที่ กม. 352 + 450 ทางไปน้ำตกพลิ้ว ใกล้ วัดมังกรบุปผาราม
4.7 ขลุง สถานีขนาดเล็กที่ กม. 362 + 950 ใกล้ กีรักติ การเกษตร
4.8 หนองระหาน สถานีขนาดเล็กที่ กม. 369 + 750 หลัง วัดหนองระหาน
4.9 แสนตุ้ง สถานีขนาดเล็กที่ กม. 382 + 650 ใกล้ แยกพนมพริก ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด
4.10 เขาสมิง ที่หยุดรถที่ กม. 389 + 000 แถวทางหลวง 3159 ใกล้ สถานีขนส่งจังหวัดตราด สาขาอำเภอเขาสมิง
4.11 สถานีตราด สถานีขนาดใหญ่ ที่ กม. กม. 401 + 050 บ้านโพรงตะเฆ่ ต.เนินทราย ห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตร
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.734727850299030/734691170302698/?type=3&theater
5. ตราด - คลองใหญ่
5.0 สถานีตราด สถานีขนาดใหญ่ ที่ กม. กม. 401 + 050 บ้านโพรงตะเฆ่ ต.เนินทราย ห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตร
5.1 ท่ากุ่ม สถานีขนาดเล็กที่ กม. 410+ 000 ใกล้ๆ ร้านครูสุวิทย์ มี Container Yard กม. 410 + 500
5.2 ชำราก ที่หยุดรถที่ กม. 418 + 475 ร้านเจ้กมล หนองยาง
5.3 ท่าเส้น ที่หยุดรถที่ กม. 429 + 000 ไม่ไกลจาก สถานีอนามัยท่าเส้น ตำบล แหลมกลัด อำเภอเมืองตราด ตราด
5.4 แหลมกลัด ที่หยุดรถที่ กม. 439 + 500 ไม่ไกลจาก แหลมกลัด
5.3 เขาล้าน ที่หยุดรถที่ กม. 450 + 400 ใกล้ ศาลาราชการุณย์ ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน
5.4 ไม้รูด ที่หยุดรถที่ กม. 456 + 700 แถว วัดหนองม่วง น้ำตกบุปผาสวรรค์
5.5 สถานีคลองใหญ่ สถานีขนาดเล็กที่ กม. 464 + 600 ตรงด่านศุลกากรคลองใหญ่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.734727850299030/734691276969354/?type=3&theater
เขตทางกว้าง 50 เมตร
ที่หยุดรถไฟใช้ที่ดิน 80 x 400 เมตร
สถานีขนาดเล็กใช้ที่ดิน 120 x 400 เมตร
สถานีขนาดกลางใช้ที่ดิน 140 x 600 เมตร
สถานีขนาดใหญ่ใช้ที่ดิน 200 x 800 เมตร
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.734727850299030/734691306969351/?type=3&theater
จากรายงานฉบับสมบูรณ์ที่นี่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/734727850299030
ที่น่าคิดคือ แผนที่จะสร้างสถานีระยองเดิม แถว เขตประกอบการอุตสาหกรรม บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ท่าจะล้ม เพราะ โดนแรงดูดจากรถไฟความไวสูง ที่กำหนดให้สถานีระยอง อยู่ใกล้ตลาดน้ำเกาะกลอยกระมัง งั้น ให้สถานีระยองที่คิดจะสร้างแต่เดิมเป็นสถานี เชิงเนิน เพื่อ ขนปิโตรเคมี ได้สะดวกท่าจะไปได้สวยกว่า งานนี้ไออาร์พีซีต้องเหนื่อยหน่อย Last edited by Wisarut on 11/09/2019 3:13 am; edited 3 times in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 11/09/2019 1:10 am Post subject:
^^^
คำบ่นเรื่องตำแหน่งสถานี
marut wrote: เบื่อตรงที่สถานีไกลเมืองมากๆ ทั้งระยอง จันทบุรี ยิ่งตราดนี่ยิ่งไกลมาก คนสมัยนี้จะออกนอกเมืองไปไกลขนาดนั้นเพื่อใช้บริการมั้ย?
สถานีระยองนี่ก็คนละที่กับสถานี High Speed ดูจากแผนที่น่าจะด้านเหนือของตัวเมืองหลายกิโลอยู่ เพราะต้องการพื้นที่สร้างย่านสถานี ก็พอเข้าใจ
sf_alpha wrote: ตรงเขาไร่ยานี่ที่อย่างโล่ง ใกล้ทางเข้าเมืองหลัก ไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ง่ายกว่า จะไปสร้างตรงน้ำท่วมแถวพลับพลาเฉยเลย ผมนี่งงมาก
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 18/12/2019 11:19 am Post subject:
ที่แน่ๆ คือ ทางช่วงบ้านฉางไประยอง ต้องใช้ทางร่วมกันระหว่างทางคู่และรถไฟความไวสูง แถมสถานีระยอง สำหรับไฟความไวสูงก็จะเป็นที่เดียวกันกับ สถานีระยองรถไฟทางคู่ ด้วย งานนทางทางคู่ต้องเดินรถท้องถิ่นเพื่อป้อนรถไฟความไวสูงแน่ๆ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43789
Location: NECTEC
Posted: 06/03/2020 11:54 am Post subject:
ลุยศึกษาทางคู่ศรีราชา-ระยองอีก2ปีประมูล
จันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ร.ฟ.ท.เร่งเดินหน้ารถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง -จันทบุรี -ตราด (คลองใหญ่) หลังรับฟังความเห็นประชาชน หนุนเส้นทางอีอีซี ขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 2 เตรียมเสนอของบ สภาพัฒน์ฯ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เชื่อมทางคู่จิระ - แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ คาดประมูลปลายปี 65
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง จันทบุรี ตราด(คลองใหญ่) ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ศึกษาความเหมาะสม และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปอยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณเพื่อออกแบบโครงการ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ยังอยู่ระหว่างการศึกษา
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาความเหมาะสมของรถไฟทางคู่ ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด แล้วเสร็จ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร โดยประเมินงบประมาณลงทุนราว 5-6 หมื่นล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในกลุ่มผลไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของภาคตะวันออก และมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจำนวนมาก "รถไฟทางคู่เส้นใหม่ ระยอง จันทบุรี ตราดนี้ จะเป็นเส้นทางรถไฟสายหลักที่สนับสนุนการขนส่งสินค้าและขนส่งผลไม้ และกระจายการกระจุกตัวของภาคการท่องเที่ยวไปยังทะเลตราด โดยขั้นตอนหลังจากศึกษาเสร็จ การรถไฟฯ ตั้งเป้าจะของบประมาณประจำปี 2564 เพื่อออกแบบ โดยใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเสนอขออนุมัติจากสภาพัฒน์ฯ กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมกับออก พรฎ.เวนคืนที่ดิน หากไม่ติดปัญหาก็คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานก่อสร้างได้ปลายปี 2565 ซึ่งจากการรับฟังความเห็น ประชาชนและเอกชนให้การตอบรับดี ดีมานด์ความต้องการใช้มีสูง" ขณะที่โครงการไฮสปีดเทรน ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาเพื่อขยายแนวเส้นทางต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยแนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ แต่สาเหตุที่ ร.ฟ.ท.เริ่มศึกษา เพราะต้องการทราบถึงดีมานด์การเดินทางและสนับสนุนการขยายเมืองให้มากขึ้น เบื้องต้นได้ประเมินว่าไฮสปีดเทรนอาจจะยังไม่ได้พัฒนาในเร็วๆ นี้ หากเทียบกับความคุ้มค่าของรถไฟทางคู่ที่มีมากกว่า หากจันทบุรี และตราด มีความต้องการเดินทางสูง ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวอีกว่า
ปัจจุบันโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาแล้วเสร็จไปก่อนหน้านี้ อยู่ระหว่างการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เบื้องต้น คาดว่า สศช.อาจจะไม่อนุมัติให้พัฒนาทุกโครงการที่ยังค้างอยู่รวม 7 เส้นทาง เนื่องจากต้องจัดสรรงบประมาณการลงทุน จึงคาดว่าโครงการที่มีความเหมาะสม และอาจได้รับการอนุมัติให้พัฒนาก่อน อาทิ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางเชื่อมกับทางคู่จิระ - แก่งคอย และเชื่อมต่อถึงท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ เนื่องจากปัจจุบันรถไฟทางคู่มีการพัฒนาไปถึงช่วงชุมพร และต่อจากนั้นยังเป็นระบบรถไฟทางเดี่ยว ส่งผลให้มีปัญหาคอขวด ในช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ หากได้รับการอนุมัติให้พัฒนา ก็จะช่วยลดปัญหา เช่นเดียวกับช่วงจิระ - อุบลราชธานี ถือเป็นอีกแนวเส้นทางที่จะสนับสนุนการเดินทางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณความต้องการเดินทางสูงอย่างต่อเนื่อง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47028
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/04/2021 10:25 am Post subject:
ลุยออกแบบทางคู่สายใหม่ชลบุรี-ตราด
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
ศรีราชา-คลองใหญ่ผ่า4จว.333กม. ดีไซน์ร่วมสมัย7หมื่นล้านประมูล66
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ว่า ขณะนี้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างโครงการฯ โดยจะใช้งบประมาณปี 65 ประมาณ 120 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มออกแบบในปี 65 ใช้เวลาออกแบบประมาณ 1 ปี จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน หากไม่ติดปัญหาอะไร คาดว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณปี 66 เปิดบริการปี 71
โครงการฯผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด จุดเริ่มต้นอยู่ที่ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี, จ.ระยอง, จ.จันทบุรี และจุดสิ้นโครงการที่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ระยะทางรวม 333 กิโลเมตร (กม.) มีสถานีและที่หยุดรถไฟ 33 แห่ง วงเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 7.23 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างด้านวิศวกรรมโยธา 5.59 หมื่นล้านบาท และค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1.64 หมื่นล้านบาท คาดการณ์ปริมาณ ผู้โดยสารเส้นทางศรีราชา-ระยอง ปี 74 มีผู้โดยสาร 9,268 คนต่อวัน ปี 84 มี 13,969 คน ปี 94 มี 17,631 คน และปี 2604 มี 23,941 คน ส่วนเส้นทาง มาบตาพุด-คลองใหญ่ ปี 74 มีผู้โดยสาร 15,162 คนต่อวัน ปี 84 มี 21,236 คน ปี 94 มี 28,907 คน และปี 2604 มี 39,331 คน
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า สำหรับตำแหน่งย่านสินค้า (CY) กำหนดไว้ 3 แห่งคือ 1.ย่านสินค้าช่วงชุมทางศรีราชา-ระยอง อยู่ที่ ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ติดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง มีโครงข่ายถนนสายหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และถนนภายในนิคมอุตสาหกรรม 2.ย่านสินค้าช่วง จ.จันทบุรี อยู่ที่ ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือ ทล.3 (สุขุมวิท) ซึ่งเชื่อมกับ ทล.3322 และ ทล.3407 และ 3.ย่านสินค้าช่วง จ.ตราด อยู่ที่ ต.ท่าทุ่ม อ.เมือง จ.ตราด เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3271 เชื่อมกับ ทล.318 และ ทล.3 ทั้งนี้คาดการณ์ปริมาณสินค้าว่า เส้นทางศรีราชา-ระยอง ปี 74 มีสินค้า 6.53 แสนตันต่อวัน ปี 84 มี 1.13 ล้านตัน ปี 94 มี 1.99 ล้านตัน และปี 2604 มี 3.54 ล้านตัน ส่วนเส้นทาง มาบตาพุด-คลองใหญ่ ปี 74 มีสินค้า 6.06 แสนตันต่อวัน ปี 84 มี 1.04 ล้านตัน ปี 94 มี 1.83 ล้านตัน และปี 2604 มี 3.25 ล้านตัน
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า การออกแบบสถานีต่าง ๆ นั้น จะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย มีกลิ่นอายของศิลปะ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น สถานีระยอง เน้นออกแบบให้บรรยากาศเป็นกันเอง ผ่อนคลาย แบบ Cozy Style สอดคล้องกับการเป็นเมืองท่องเที่ยวพักผ่อน, สถานีจันทบุรี ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานจากอาคารที่มีความโดดเด่นของจังหวัด อาทิ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน อาสนวิหารพระนางมารี และค่ายเนินวง และสถานีตราด ได้นำสถาปัตยกรรมย้อนยุคในรูปแบบโคโลเนียล (Colonial style) มาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ เพื่อสื่อถึงการเป็นเมืองค้าขายแลกเปลี่ยนในอดีต เลือกใช้โทนสีฉูดฉาด และสดใส.
Back to top