RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181750
ทั้งหมด:13492988
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 329, 330, 331 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2019 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(4)
คอลัมน์ทางออกนอกตำ
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ 09 สิงหาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3495 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 11-14 สิงหาคม 2562


โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ที่ผ่านด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.61 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 7 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไม “เอกชน-รัฐ” จึงมีการยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดขัดตรงไหน มีอะไรในกอไผ่มาติดตามกันในร่างสัญญาตอนที่ 4 ซึ่งว่าด้วย เอกชนจะมีหน้าที่อะไร ณ ที่นี้ ....

6) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องนำส่งร่างสัญญาให้สิทธิช่วงแก่นิติบุคคลผู้ให้บริการการเดินรถและบำรุงรักษา ให้แก่ รฟท.อย่างน้อยเก้าสิบ (90) วัน ก่อนที่จะมีการลงนามเพื่อให้ รฟท. อนุมัติร่างสัญญาดังกล่าว และในกรณีที่ รฟท.เห็นว่ายังไม่ครบถ้วนตาม 5) หรือมีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินโครงการฯสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดย รฟท. ได้พิจารณาประกอบกับความสำเร็จในการจัดหาแหล่งเงินทุนของเอกชนคู่สัญญาแล้ว รฟท. มีสิทธิแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขร่างสัญญาดังกล่าวทั้งนี้ เมื่อได้ลงนามทำสัญญาแล้ว เอกชนคู่สัญญาต้องส่งสำเนาให้ รฟท.ภายในสามสิบ(30) วัน หากปรากฏว่าสัญญามีความแตกต่างจากร่างที่ รฟท.อนุมัติแล้ว ให้การอนุมัติการให้สิทธิช่วงของ รฟท.เป็นอันสิ้นผล

7) เอกชนคู่สัญญาไม่หลุดพ้นจากความรับผิดและพันธะหน้าที่ตามสัญญาร่วมลงทุนในส่วนการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟแต่อย่างใด และเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบการกระทำของนิติบุคคลผู้ให้บริการและบำรุงรักษาเสมือนหนึ่งว่าการกระทำนั้นเป็นของเอกชนคู่สัญญา

“ในการอนุมัติให้เอกชนคู่สัญญาให้สิทธิช่วงในส่วนของการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้กับนิติบุคคลผู้ให้บริการการเดินรถและบำรุงรักษา รฟท. จะอนุมัติก็ต่อเมื่อปรากฏว่าเป็นประโยชน์ของโครงการฯ หรือเป็นประโยชน์ในการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ หรือประโยชน์ในการระดมทุนตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนตลอดจนเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีความเสี่ยงหรือผลกระทบในทางลบต่อความมั่นคงของโครงการฯ และต่อผลประโยชน์ตอบแทนที่ รฟท. พึงได้รับตามสัญญานี้รวมทั้ง รฟท.ได้อนุมัติร่างสัญญาดังกล่าวข้างต้นแล้ว”

หมวดต่อมา (3) แหล่งเงินทุนและการลงทุนของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย

(ก) แหล่งเงินทุนและการลงทุนของ รฟท. รฟท. จะดำเนินการดังต่อไปนี้

1) รฟท. จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ แก่เอกชนคู่สัญญาโดยมีเงื่อนไขในการชำระเงินดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 18

2) รฟท. จะจัดหาและส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯให้เอกชนคู่สัญญาตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในข้อ 24.2 และ

3) รฟท. จะใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ

(ข) แหล่งเงินทุนและการลงทุนของเอกชนคู่สัญญา นอกเหนือจากเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะจัดหาเงินทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าเงินลงทุนของโครงการฯเพื่อใช้ในการลงทุนและดำเนินโครงการฯ โดยตลอดระยะเวลาของโครงการฯเอกชนคู่สัญญาจะดำรงรักษาสัดส่วนอัตราหนี้สินต่อทุน ( Debt to Equity ratio: D/E ) ไม่เกิน 4 ต่อ 1

นอกจากนี้ เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบเอกสารดังต่อไปนี้เพื่อแสดงว่าเอกชนคู่สัญญามีทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละช่วงระยะเวลา ดังต่อไปนี้
1) สำเนารับรองถูกต้องของหนังสือบริคณห์สนธิของเอกชนคู่สัญญาและสำเนารับรองถูกต้องของสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา เพื่อแสดงว่าเอกชนคู่สัญญามีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่าสี่พันล้าน (4,000,000,000) บาท โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบให้ รฟท. ในวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลบังคับ และ

2) สำเนารับรองถูกต้องของหนังสือบริคณห์สนธิของเอกชนคู่สัญญาและสำเนารับรองถูกต้องของสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา เพื่อแสดงว่าเอกชนคู่สัญญามีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่าสองหมื่นห้าพันล้าน(25,000,000,000) บาท โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบให้ รฟท. ภายในวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1 (2)

คราวนี้มาดูเรื่องข้อ 5 ระยะเวลาของโครงการ

5.1 ระยะเวลาการดำเนินงานรถไฟความเร็วสูง มีระยะเวลาห้าสิบ (50) ปี โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาดังกล่าวดังต่อไปนี้

(1) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเท่ากับระยะเวลาห้า (5) ปี หรือ ระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1 (1) (ฉ) โดยจะนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ จนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ และ

(2) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเท่ากับระยะเวลาสี่สิบห้า (45) ปี นับจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่วันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ

5.2 เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน ระยะเวลาการดำเนินงานอื่นภายใต้โครงการฯ (นอกเหนือจากรถไฟความเร็วสูง) มีรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาดังกล่าวดังต่อไปนี้

(1) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ ระยะเวลาการดำเนินแอร์พอร์ต เรลลิงค์ สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง (2) ระยะดังต่อไปนี้

(ก) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เท่ากับระยะเวลาสอง (2) ปีหรือระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท.ตามข้อ 15.2(1) (ข) 3) โดยจะนับจากวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถ แอร์พอร์ต เรลลิงค์ และ

(ข) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

(2) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ระยะเวลาการดำเนินแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง (2) ระยะดังต่อไปนี้

(ก) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยายเท่ากับระยะเวลาห้า (5) ปี หรือระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. ตามข้อ 15.1(1) (ฉ) โดยจะนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ จนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย และ

(ข) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายจะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายจนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

(3) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
ระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เท่ากับระยะเวลาห้าสิบ(50) ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ กลับมาตามต่อกันนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2019 10:59 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟ “ไทย-จีน” สะดุดยื้อเซ็นสัญญา 2.3-“ศักดิ์สยาม” ชง “สมคิด” ช่วยเจรจา
เผยแพร่: 9 ส.ค. 2562 08:21 ปรับปรุง: 9 ส.ค. 2562 08:41 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ทบทวนความจำเกี่ยวกับสัญญาข้อ 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท

ยังไม่จบ!!สัญญา2.3รถไฟไทย-จีน
ศุกร์ที่ 19 เมษายน 2562 เวลา 21.20 น.

“อาคม” วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ข้ามประเทศ ถกร่างสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน แต่ยังไร้ข้อสรุป หารืออีกรอบ 22 เม.ย.นี้ ลั่นต้องจบ! ชงครม. 23 เม.ย. ก่อนลงนามสัญญาในการประชุมเวทีข้อริเริ่มฯ ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ร่างสัญญาฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคคลากรว่า การหารือในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป จะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 22 เม.ย.62 ทั้งนี้สาเหตุที่ยังสรุปไม่ได้ เพราะเนื้อหาหลายข้อในสัญญายังต้องดูให้ละเอียดตามข้อกฎหมาย ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ได้ข้อสรุปร่างสัญญา 2.3 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาวันที่ 23 เม.ย.นี้ และลงนามสัญญากับฝ่ายจีน ในการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Cooperation – BRF) ครั้งที่ 2 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 26-27 เม.ย.นี้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า กระทรวงคมนาคมได้นัดประชุมร่างสัญญาฉบับที่ 2.3 ครั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ลงนามสัญญาให้ได้ในการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 26-27 เม.ย.62 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ตามการต่อรองร่างสัญญาฉบับที่ 2.3 ระหว่างประเทศไทยและจีนที่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากสัญญามีส่วนต่างราคา 1,000 ล้านบาทและฝ่ายจีนยังไม่ยอมลดราคาให้  ที่ประชุมจึงขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายนำเรื่องไปหารือกับผู้ใหญ่ของตนเองก่อน จากนั้นจะนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 เม.ย.นี้ เวลา 17.30 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2019 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อ 13 ส.ค.62 รฟท. ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับ ช่วงสระบุรี - แก่งคอย วงเงิน 10,421,014,000.00 บาท ขายเอกสารประกวดราคา 13 สิงหาคม -24 กันยายน 2562 กำหนดยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 25 กันยายน 2562 ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.


ป.ล. ยังคงเหลือ 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093,037,000.00 บาท และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง (พื้นที่ทับซ้อนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน)

http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=36730
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2460761143970816&set=a.1914290831951186&type=3&theater

ลุยประมูลก่อสร้าง 'ไฮสปีดไทย-จีน' เพิ่ม 1 สัญญา เร่งปิดจ็อบ 2 ช่วงสุดท้ายปีนี้
https://www.thebangkokinsight.com/192033/

รถไฟเปิดประมูลไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 1 อีก 1 สัญญา 1 หมื่นล้าน
วันที่ 14 สิงหาคม 2562 - 20:53 น.
FacebookTwitterGoogle+LINE

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา ตนได้ลงนาม ออกประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานโยธาฉบับที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร ราคากลาง 10,421 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยจะเปิดให้เอกชนสามารถซื้อเอกสารการประมูล (TOR) ได้ตั้งแต่วันนี้-24 ก.ย. 2562 และจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 25 ก.ย. 2562

สำหรับผู้ที่สนใจจะต้องเป็นผู้รับเหมาที่มีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาในวงเงินไม่น้อยกว่า 1,042 ล้านบาท และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่รฟท. เชื่อถือ โดยหลังจากนี้รฟท. ยังเหลือการเปิดประมูลงานโยธารถไฟไทย-จีนอีก 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ซึ่งมั่นใจว่าจะเปิดประมูลครบทั้งหมดภายในปีนี้


รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า สำหรับอีก 2 สัญญาที่รอเปิดประมูลประกอบด้วย สัญญางานโยธา 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย อยู่ระหว่างการปรับแบบก่อสร้าง คาดว่าจะประกาศเชิญชวนได้ต้นเดือนก.ย. 2562 และทราบผลประมูลเร็วที่สุดเดือนต.ค. 2562 และ สัญญางานโยธา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2019 2:22 pm    Post subject: Reply with quote

คัมเวลฯ รับงานเพิ่มวางระบบรถไฟความเร็วสูง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 สิงหาคม 2562 - 16:54
ปรับปรุง: วันที่ 14 สิงหาคม 2562 - 20:04




คัมเวล คอร์ปอเรชั่น ชี้ทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีจากการลงทุนภาครัฐและเอกชนหนุน ล่าสุดได้ส่งมอบงานวางระบบโครงการต้นแบบรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-โคราช) เสริมศักยภาพรายได้ในอนาคต ทยอยรับรู้รายได้เฟสแรกตั้งแต่ปลายปี 62 เป็นต้นไป พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบอัจฉริยะในวันที่ 23-24 ส.ค.นี้ ตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า เผยผลงานครึ่งแรกปี 62 รายได้ 220.07 ล้านบาท กำไรสุทธิ 16.37 ล้านบาท

นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KUMWEL เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจในช่วงครึ่งหลังปี 62 มองว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการทยอยลงทุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีความจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์และระบบสัญญาณเตือนภัยฟ้าผ่า ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทในอนาคต

ล่าสุดหลังจากที่บริษัทจัดทำโครงการต้นแบบวางระบบป้องกันและเตือนภัยฟ้าผ่าภายในโครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ระยะทางรวม 249 กิโลเมตร ล่าสุดได้เข้าไปฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้รับเหมาโครงการแล้ว และได้ส่งมอบสินค้าในการอนุมัติใช้ในเฟสแรก จากทั้งหมด 14 เฟส ทั้งนี้ คาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้เฟสแรกตั้งแต่ปลายปี 62 เป็นต้นไป

พร้อมกันนี้ บริษัทได้เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ระบบ Smart Lightning Management System” ซึ่งเป็นนวัตกรรมระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบอัจฉริยะอย่างเป็นทางการ ในงานแสดงผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องกลประจำปี 62 (TEMCA Forum & Exhibition 2019) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยบริษัทได้ทำการวิจัยและพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้าทุกภาคส่วน เช่น ภาคการไฟฟ้า กลุ่มภาคคมนาคม กลุ่มภาคการสื่อสารโทรคมนาคม กลุ่มอาคารสิ่งปลูกสร้าง กลุ่มภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มภาคความมั่นคงของชาติ

“ผลิตภัณฑ์ใหม่จะช่วยสนับสนุนยอดขายให้มีความชัดเจนมากขึ้นในอนาคต และช่วยให้ยอดขายมีอัตราการเติบโตที่ดี สำหรับเป้าหมายรายได้ทั้งปี 62 บริษัทคาดจะเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 469.72 ล้านบาท” นายบุญศักดิ์กล่าว

นายบุญศักดิ์กล่าวเสริมว่า ภายหลังการระดมทุน KUMWEL จะสามารถสร้างการเติบโตได้ดีจากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและความพร้อมในการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด ซึ่งหลังจากที่ได้รับเงินระดมทุนจาก IPO จำนวน 143 ล้านบาท จะส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อทุน (D/E ) ลดลงจาก 0.34 เท่า ณ ไตรมาส 2/62 มาอยู่ที่ระดับ 0.24 เท่า และปัจจุบันบริษัทมีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรประมาณ 172 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่จะช่วยสร้างโอกาสดีให้แก่นักลงทุน และผู้ถือหุ้นทุกท่านด้วยเช่นกัน โดยบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2/62 บริษัทมีรายได้จากการขายและให้บริการรวม 110.88 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 7.37 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการครึ่งแรกปี 62 บริษัทมีรายได้จากการขายและให้บริการรวม 220.07 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 16.37 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าแผนงานและกลยุทธ์ในการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งด้านการขาย และต้นทุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มความสำคัญในการรับงานมากขึ้น โดยเฉพาะงานวางระบบ Smart Lightning Management System นวัตกรรมระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบอัจฉริยะ จะส่งผลให้ผลประกอบการทั้งปีเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศประมาณ 20% และในประเทศประมาณ 80% แบ่งเป็นลูกค้า 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคการไฟฟ้าและพลังงาน 24.67% ภาคสิ่งปลูกสร้าง 29.88% ภาคอุตสาหกรรม 11.77% ภาคคมนาคม 9.20% ภาคการสื่อสารโทรคมนาคม 1.39% และภาคความมั่นคงทางทหาร 0.10%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2019 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”เดดไลน์ก.ย.เซ็นไฮสปีดซี.พี. จับตารื้อแบบใหม่หวั่นเวนคืนล่าช้าค่าก่อสร้างบาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 สิงหาคม 2562 - 18:02 น.

“บิ๊กตู่” เดดไลน์เซ็นสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปีดดีล 2.24 แสนล้าน ก.ย.นี้ วงในหวั่นหลุดเป้า ร.ฟ.ท.เคลียร์พื้นที่เวนคืน ผู้บุกรุก รื้อย้ายสาธารณูปโภคยังไม่ลงตัว คาดส่งมอบพื้นที่ 4,421 ไร่ได้หมดใช้เวลา 2-3 ปี “ซี.พี.” สั่งอิตาเลียนไทยฯรื้อแบบใหม่ บีบค่าก่อสร้างอยู่ในกรอบและกำหนดเวลา 5 ปี หลังเงินลงทุนส่อเค้าบานมากกว่า 1 พันล้าน “เปรมชัย” เปิดใจยอมรับโครงการก่อสร้างยาก คาดเริ่มตอกเข็มต้นปี”63


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุจะเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในเดือน ก.ย. 2562 นี้

เร่งรถไฟสรุปส่งมอบพื้นที่

เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างจัดทำแผนการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชน ขณะนี้มีปัญหาอย่างเดียวคือการส่งมอบที่ก่อสร้าง ถ้าส่งมอบไม่ได้ทั้งหมดจะทำอย่างไร โดยคาดว่า 80% ส่งมอบพื้นที่ได้ อีก 20% เป็นพื้นที่ต้องอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ ซึ่งจะดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่กำหนด

รายงานข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” เปิดเผยว่า การเซ็นสัญญากับกลุ่ม ซี.พี.ยังไม่รู้ว่าจะทันเดดไลน์ ก.ย.อย่างที่นายกรัฐมนตรีต้องการได้หรือไม่ นอกจากจะรอเคลียร์พื้นที่กับรถไฟแล้ว ตอนนี้กลุ่ม ซี.พี.ก็กำลังรอผลตัดสินจากศาลปกครองกรณียื่นประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา วงเงิน 2.9 แสนล้านบาทล่าช้า ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการไม่รับพิจารณาซองข้อเสนอที่ยื่นล่าช้า

“รถไฟความเร็วสูงกับเมืองการบินจะเป็นโครงการที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันถึงจะทำให้การลงทุนคุ้มในระยะยาว ขณะเดียวกัน การเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก็เป็นสิ่งที่ดีต่อโครงการ เพราะหากโครงการล่าช้าจะทำให้ต้นทุนโครงการเพิ่มขึ้น เป็นภาระให้กับเอกชน ขณะที่รัฐก็ให้แค่การขยายเวลาเท่านั้น ทาง ซี.พี.คงต้องพิจารณาทุกอย่างให้มั่นใจก่อนถึงจะกำหนดวันเซ็นสัญญาได้”

ซี.พี.ให้ ITD ปรับแบบใหม่

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้ ซี.พี.ให้ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ทำแผนการก่อสร้างให้สอดรับกับการส่งมอบพื้นที่ของรถไฟที่จะส่งมอบให้ได้ 80% แต่ดูแล้วน่าจะไม่ถึง อาจจะกว่า 50% เล็กน้อย แยกเป็นพื้นที่เวนคืนไม่เกิน 2 ปี เช่น ฉะเชิงเทรา 850 ไร่ ที่ตั้งสถานีใหม่และศูนย์ซ่อมบำรุง จะต้องสร้างออกไปจากสถานีรถไฟเดิมประมาณ 10 กม. พื้นที่ผู้บุกรุกบางแห่งเร่งรัดได้ 3-6 เดือน บางแห่ง 1 ปี


“ทราบว่าผู้รับเหมาก็ต้องปรับแบบก่อสร้างให้รับกับการส่งมอบพื้นที่ เช่น ต้องออกแบบใหม่หลบสิ่งกีดขวาง อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งตอนยื่นราคาประมูลไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายตรงนี้ไว้ด้วย จะทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นแน่นอน ดูแล้วโครงการใหญ่ใช้เงินก่อสร้างกว่า 1 แสนล้านบาท น่าจะเพิ่มขึ้นเกิน 1,000 ล้านบาท”

ทั้งอิตาเลียนไทยฯ และ ซี.พี.ก็กำลังหารือร่วมกัน ถ้า 5 ปีสร้างไม่จบ ได้แค่เวลาชดเชย แล้วค่าใช้จ่ายที่เพิ่มใครจะเป็นคนออก และถ้าจะเร่งให้เสร็จในเวลาจะต้องใช้เงินอีกเท่าไหร่ ตอนนี้ทราบว่า ซี.พี.กำลังให้อิตาเลียนไทยฯหาแนวทางลดผลกระทบอย่างเต็มที่ โดยเงินเท่าเดิม งานเท่าเดิม

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า โครงการยังคงเดินหน้าเพื่อเซ็นสัญญา เนื่องจากโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แต่ด้วยความเป็นโครงการขนาดใหญ่ และมีปัญหาอุปสรรคค่อนข้างมาก อาจจะต้องใช้เวลาเพื่อเคลียร์ทุกอย่างให้เสร็จ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

เปรมชัยยอมรับงานหิน

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อิตาเลียนไทยฯเป็นการออกแบบก่อสร้างโครงการให้ จึงต้องออกแบบก่อสร้างให้รับกับการส่งมอบพื้นที่ในแนวเส้นทางมีเวนคืนตรงไหน รื้อย้ายกี่หลัง ซึ่งอะไรที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟจะเป็นความรับผิดชอบรถไฟ เช่น ทุบตอม่อโฮปเวลล์ เพราะในราคาที่ยื่นประมูลไม่ได้เผื่อค่าส่วนนี้ไว้

“ยอมรับว่าเป็นการก่อสร้างที่ยากมาก ตอนนี้มีข้อยุติบ้างแล้ว ส่วนการเซ็นสัญญาขึ้นอยู่กับ ซี.พี.ผู้ถือหุ้นหลักและรถไฟ”

นายเปรมชัยกล่าวอีกว่า สำหรับแหล่งเงินที่จะใช้ลงทุน ก็ทราบว่าทาง ซี.พี.มีแผนชัดเจนหมดแล้ว โดยรัฐบาลให้เวลาเอกชนผู้ลงทุนหลังจากเซ็นสัญญาก่อสร้างไปประมาณต้นปีหน้าจะต้องสรุปเรื่องเงินที่จะลงทุนให้ได้

“เราลงทุน 5% ก็ต้องควักทุนเหมือนทุกคน โดยใช้เงินหมุนเวียนในบริษัทเพราะไม่ได้ลงทุนทีเดียว เป็นการทยอยลงทุน ก้อนแรกประมาณ 400 ล้านบาทเราใส่ไปแล้ว ดูแล้วโครงการเดินหน้าเพราะ ครม.อนุมัติไปแล้ว เหลือสรุปเรื่องส่งมอบพื้นที่เพื่อจะให้การก่อสร้างไม่มีปัญหา เพราะรัฐไม่ให้เงินชดเชย ให้แต่เวลา ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ เรื่องอื่น ๆ ก็ไม่มีปัญหา สำหรับการก่อสร้างจะแบ่งดำเนินการกับ บมจ.ช.การช่าง และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น หรือ CRCC”

ถกรื้อย้ายสาธารณูปโภคไม่จบ

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ในฐานะประธานคณะทำงานการส่งมอบพื้นที่ เปิดเผยว่า วันที่ 9 ส.ค.เชิญตัวแทนเจ้าของสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวเส้นทาง 8 ราย คือ บมจ.ปตท., บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (Thappline), บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), กรุงเทพมหานคร (กทม.) และการประปานครหลวง (กปน.) มาหารือเพื่อเคลียร์พื้นที่

ปัญหาที่ยังพบขณะนี้มี 2 จุดสำคัญ คือ จุดแรก บริเวณท่อน้ำมันและท่อก๊าซบริเวณคลองแห้งและโค้ง ถ.พระราม 6 ซึ่งเดิมทีมงานของรถไฟ ระบุว่า ช่วงโค้ง ถ.พระราม 6 มีท่อก๊าซบางส่วนของ FPT ทับแนวเส้นทางเป็นจุดตัด 2 จุด แต่ FPT ยืนยันในที่ประชุมว่า ไม่ได้มีจุดตัดดังกล่าว จึงมอบให้กลุ่ม ซี.พี.จัดทีมงานและจัดเตรียมข้อมูลลงไปสำรวจและเทียบกับ FPT

ส่วนช่วงคลองแห้งที่เป็นลักษณะขนานกับเส้นทาง 3 กม. เนื่องจากการวางท่อจุดนี้ได้ผ่านการทำรายงานวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากจะต้องรื้อย้ายจริงก็ต้องทำรายงาน EIA ใหม่ ซึ่งใช้เวลาพิจารณารายงาน EIA ค่อนข้างนานมีลักษณะเดียวกันนี้อีก 1 โครงการ คือ สายไฟฟ้าแรงสูงที่ฝังไว้ใต้ดินหลายแห่งของการไฟฟ้าฯทั้ง 3 หน่วย ซึ่งกระจายไปตามแนวเส้นทางทั้งหมด 29 แห่ง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าการรื้อย้ายสาธารณูปโภคไม่ส่งผลต่อการลงนามในสัญญา แต่อาจจะมีผลกระทบกับระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างบ้าง บางจุดที่มีปัญหาอาจจะใช้เวลารื้อย้ายอย่างน้อย 2-3 ปี

ชงบอร์ดคัดเลือกเคาะ 15 ส.ค.นี้

“จะรายงานสภาพการณ์ปัญหาทั้งหมดให้ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการที่มีนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เป็นประธานรับทราบในวันที่ 15 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือกลุ่ม ซี.พี.ต่อไป ส่วนจะเป็นมาตรการขยายกรอบเวลาการก่อสร้างหรือไม่ แล้วแต่ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณา”

ส่วนการขอกรอบวงเงินในส่วนการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคกับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เหมือนกรณีย้ายผู้บุกรุกหรือไม่ มองว่าไม่จำเป็นเพราะเป็นเนื้องานที่เจ้าของสาธารณูปโภคจะต้องดำเนินการเอง เพราะมาดำเนินการบนที่ดินของการรถไฟฯเอง การรื้อย้ายระบบงานต่าง ๆ จึงไม่เกี่ยวข้องกับรถไฟ กลุ่ม ซี.พี.หรืออีอีซีแต่อย่างใด

ทยอยส่งมอบพื้นที่ 2-3 ปี

เบื้องต้นสรุปพื้นที่จะใช้ก่อสร้างมีทั้งหมด 3,571 ไร่ รวมพื้นที่เวนคืนอีก 850 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 4,421 ไร่ จากเดิมที่ประเมินว่าต้องใช้พื้นที่ตลอด 2 ข้างทางร่วม 10,000 ไร่ ที่พร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ยังมีพื้นที่อุปสรรค 2 ส่วน คือ พื้นที่บุกรุก 210 ไร่ มีผู้บุกรุกเบื้องต้น 513 ราย อาทิ ย่านประดิพัทธ์ 29 หลัง พระราม 6-พญาไท 81 หลัง หัวหมาก 27 หลัง วัดเสมียนนารี 32 หลัง บางละมุง 159 หลัง พัทยา-บ้านห้วยขวาง 95 หลัง เขาชีจรรย์ 3 หลัง

ที่เหลือกระจายไปอยู่บริเวณมักกะสัน คลองตัน 9 หลัง เขาพระบาท 30 หลัง บางแสน 1 หลัง ดอนสีนนท์ 2 หลัง พานทอง-ชลบุรี 10 หลัง ลาดกระบัง 15 หลัง คลองหลวงแพ่ง 13 หลัง และมีพื้นที่เช่า 83 สัญญา 210 ไร่ ส่วนสถานีมักกะสันส่งมอบได้100 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่ รอรื้อบ้านพักพนักงาน ทั้งนี้ โดยภาพรวมจะส่งมอบพื้นที่ใน 2-3 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2019 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(5)
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3496 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค.2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้เปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล จึงเรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไม “เอกชน-รัฐ” จึงมีการยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามา ยาวนานขนาดนี้

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดขัดตรงไหน มีอะไรในกอไผ่ มาติดตามกันในร่างสัญญา ตอนที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องระยะเวลาในสัญญากันต่อนะครับ

5.1 ระยะเวลาการดำเนินงานรถไฟความเร็วสูง มีระยะเวลาห้าสิบ (50) ปี โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาดังกล่าวดังต่อไปนี้

(1) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเท่ากับระยะเวลาห้า (5) ปี หรือระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1 (1) (ฉ) โดยจะนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ จนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ และ

(2) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเท่ากับระยะเวลาสี่สิบห้า (45) ปี นับจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่วันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ

5.2 เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน ระยะเวลาการดำเนินงานอื่นภายใต้โครงการฯ (นอกเหนือจากรถไฟความเร็วสูง) มีรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาดังกล่าวดังต่อไปนี้

(1) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ ระยะเวลาการดำเนินแอร์พอร์ต เรลลิงค์ สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง (2) ระยะดังต่อไปนี้

(ก) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เท่ากับระยะเวลาสอง (2) ปีหรือระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท.ตามข้อ 15.2(1)

(ข)3) โดยจะนับจากวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถ แอร์พอร์ต เรลลิงค์ และ (ข) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

(2) แอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ระยะเวลาการดำเนินแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง (2) ระยะดังต่อไปนี้

(ก) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยายเท่ากับระยะเวลาห้า (5) ปี หรือระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. ตามข้อ 15.1(1)(ฉ) โดยจะนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ จนถึงวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย และ

(ข) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายจะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายจนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

(3) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เท่ากับระยะเวลาห้าสิบ(50) ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่นั้นจะไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการฯ

(4) การดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ระยะเวลาการดำเนินการทางพาณิชย์ ของแต่ละสถานีรถไฟของโครงการเกี่ยวกับรถไฟมีรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดดังต่อไปนี้

(ก) สถานีดอนเมือง และสถานีบางซื่อ จะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

(ข) สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีมักกะสัน และสถานีสุวรรณภูมิ จะเริ่มเมื่อเอกชนคู่สัญญาชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต
เรลลิงค์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.2(1)(ก) และ รฟท.ได้แจ้งถึงการสิ้นสุดของพันธะผูกพันในแต่ละพื้นที่ ตามสัญญาที่ รฟท. มีอยู่กับผู้รับสิทธิ ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ใน วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ ตามรายละเอียดของพันธะผูกพันที่ระบุในเอกสารแนบท้าย 12 (สัญญาพันธะผูกพันในแต่ละพื้นที่)

ทั้งนี้ รฟท. จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบภายในสามสิบ (30) วัน นับจากวันสิ้นสุดพันธะผูกพันตามสัญญาในแต่ละพื้นที่ของส่วนนั้น

(ค) สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา จะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ

5.3 คู่สัญญาตกลงว่าระยะเวลาการดำเนินโครงการฯเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ระยะเวลาการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และระยะเวลาการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ อาจสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2 นี้ เมื่อสัญญาร่วมลงทุนมีผลสิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาของโครงการฯ

ฉบับหน้ามาติดตามกันในสัญญาว่าด้วยเรื่อง เงื่อนไขและการเริ่มต้นการดำเนินโครงการฯ แอร์พอร์ตลิงค์กันต่อนะครับ...มหากาพย์สัมปทานรถไฟความเร็วสูงมีอะไรให้ติดตามเยอะครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2019 11:17 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”มั่นใจปิดดีลไฮสปีดเทรน เตรียมควง “อนุทิน”คุยทูตจีน เคลียร์ถ้อยคำในสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 08:02
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 10:03



“ศักดิ์สยาม” เตรียมควง “อนุทิน” ถกทูตจีนนอกรอบ เคลียร์ปมสัญญา 2.3 ไฮสปีดเทรน “ไทย-จีน” มั่นใจปิดดีลได้ ระบุประเด็นที่ยังไม่จบเป็นเรื่องถ้อยคำในร่างสัญญา จีนรู้สึกผูกมัด ส่วนการรับประกันผลงานจบแล้ว จีนยอมปฏิบัติตามกฎหมายไทย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ซึ่งการเจรจาเงื่อนไขสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาทยังไม่ยุติ โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม และตนจะนำรายละเอียดไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนต่อไป

ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะเจรจากันจบเพราะทั้งฝ่ายไทยและจีนต้องการให้โครงการเกิดและเดินหน้า โดยได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรวบรวมรายละเอียด รวมถึงร่างสัญญาที่ทางอัยการสูงสุดมีความเห็นเพิ่มเติม

“ประเด็นที่ยังไม่จบเป็นเรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่าเป็นการผูกมัด ส่วนการรับประกันผลงานเจรจาจบแล้ว โดยจีนยอมปฏิบัติตามกฎหมายไทย”

//-------------------

"ศักดิ์ศยาม"เตรียมคุยทูตจีน เคลียร์เงื่อนไขสัญญาไฮสปีด ชงครม.เช่าซื้อเครื่องบิน38ลำ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2562 เวลา 22:45
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 06:57

"ศักดิ์สยาม"เตรียมควง"อนุทิน" ถกทูตจีนนอกรอบ เคลียร์ปมสัญญา 2.3 ไฮสปีด"ไทย-จีน" มั่นใจปิดดีลได้ เผยส.ค.นี้ ชงครม.เคาะแผนเช่าซื้อเครื่องบิน 38 ลำ วงเงิน 1.56 แสนล้าน และรถไฟฟ้าสีส้ม (ตะวันตก)



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กรุงเทพฯ–หนองคาย ระยะแรกช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ซึ่งการเจรจาเงื่อนไขสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร ) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม และตนเอง จะนำรายละเอียดไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทย อย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุม คณะกรรมการร่วมไทย-จีน ต่อไป

ทั้งนี้ มั่นใจว่าการเจรจาจะมีข้อสรุป เพราะทั้งฝ่ายไทยและจีน ต้องการให้โครงการเกิด และเดินหน้า โดยได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรวบรวมรายละเอียดรวมถึงร่างสัญญา ที่ทางอัยการสูงสุด มีความเห็นเพิ่มเติม

"ประเด็นที่ยังไม่จบ เป็นเรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่า เป็นการผูกมัด ส่วนการรับประกันผลงาน เจรจาจบแล้วโดยจีนยอมปฎิบัติตามกฎหมายไทย"

ชงครม.เช่าซื้อฝูงบิน38ลำ1.56 แสนล.

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่าในเดือนส.ค.นี้ คาดว่าจะเสนอครม. พิจารณา โครงการจัดหาเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 38 ลำ วงเงินลงทุน 156,169 ล้านบาทได้ หลังจากตรวจสอบรายละเอียด เหตุผลความจำเป็น ซึ่งการบินไทย ยืนยันเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้และชำระคืนเองโดยไม่เป็นภาระงบประมาณอีกทั้งบอร์ดสภาพัฒน์ฯ ได้เห็นชอบแล้ว

ทั้งนี้ เห็นว่ามีความจำเป็น และต้องเร่งตัดสินใจเพื่อให้ การบินไทยสามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ให้จัดซื้อตามมาตรฐานสากล ล่าสุดนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กำลังตรวจสอบรายละเอียดอีกเล็กน้อย ซึ่งคงไม่นาน จะสรุปได้ โดยโครงการจัดหาเครื่องบินจำนวน 38 ลำ ปี 62- 69 แบ่งการจัดหาเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ปี 62-67 จำนวน 25 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบิน พิสัยกลาง-ไกล ขนาด 250-375 ที่นั่ง จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ พิสัยใกล้ ขนาด 170-220 ที่นั่ง จำนวน 22 ลำ วงเงินลงทุน 71,874 ล้านบาท พร้อมทั้งเครื่องยนต์สำรอง 8 เครื่องยนต์ วงเงิน 6,740 ล้านบาท โดยวงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 78,614 ล้านบาท

ช่วงที่ 2 ปี 63-69 จัดหาเครื่องบินแบบ Option Orderจำนวน 13 ลำ พร้อมเครื่องยนต์สำรอง วงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 77,555 ล้านบาท เพื่อทดแทนการปลดระวางเครื่องบินแบบ A380-800และ B777-200ER

ทั้งนี้ จัดหาโดยวิธีการเช่าซื้อทั้งหมด 38 ลำ แต่หากไม่สามารถดำเนินการจัดหาด้วยวิธีเช่าซื้อได้ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่มีเครื่องบินตามเวลาที่ต้องการ หรือ สถานะการเงิน/การแข่งขัน มีการเปลี่ยนแปลง จึงจะพิจารณาเช่าดำเนินงานตามความจำเป็น

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Costมูลค่ารวม 122,041 ล้านบาท เนื่องจากเพดานกรอบวินัยการเงินการคลัง ปี 2563 เหลือเพียง 30,000 ล้านบาท ไม่พอกับต้องการที่ 90,000 ล้านบาท จึงให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งปรับปรุงแผนงานและนำเสนอครม.ขออนุมัติหลักการ การลงทุนในงบประมาณปี 2564 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/08/2019 8:59 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟ3สนามบินมาแน่! เดือนหน้าจ่อเซ็นสัญญา
สิงหาคม 21, 2019

ทันหุ้น – ใกล้ปิดดีลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ร.ฟ.ท.เตรียมสรุปส่งมอบพื้นที่ 4,421 ไร่ ก่อนลงนาม ระบุเหลือแค่เคลียร์พื้นที่สาธารณูปโภค 850 ไร่สุดท้าย “วรวุฒิ” ลั่นเสร็จในกรอบกันยายนนี้ ด้านนักวิเคราะห์ชี้เป็นสัญญาณดีรับเหมาก่อสร้าง ชี้ PPP สามารถลงทุนได้ทันทีหลังเซ็นสัญญา เชื่อรัฐบาลเข็นโปรเจกร่วมทุนออกมาอีกเพียบ ชู CK SEAFCO รับ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ “หนังสือพิมพ์รายวันทันหุ้น” โดยมั่นใจว่า จะสามารถลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา กับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ได้ ภายในเดือนกันยายน 2562 นี้ หลังสรุปแผนส่งมอบพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แนวทางระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวก่อสร้าง ซึ่ง ร.ฟ.ท. ได้หารือร่วมกับทุกหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสาธารณูปโภคทั้งหมดให้ประเมินราคา – ระยะเวลาการรื้อย้ายมาเทียบกับแผนก่อสร้างของทางกลุ่มซีพีแล้ว โดยจะมีการตรวจสอบผลกระทบกับสัญญาก่อสร้างโครงการ ซึ่งต้องเจรจาในรายละเอียดอีกนิดหน่อย

“มั่นใจว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนดภายในเดือนกันยายน 2562 นี้ เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการฯ ได้นัดประชุมสรุปข้อมูลอีกรอบช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2562 จากนั้นจะนำกรอบการดำเนินงานที่ได้ไปหารือร่วมกับกลุ่มซีพี ก่อนสรุปลงในร่างสัญญา นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (คณะกรรมการ EEC) เพื่อกำหนดวันลงนามสัญญาต่อไป”

ยืนยันไม่ขยายสัญญาให้เอกชน

สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโครงการที่ ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบมีทั้งหมด 4,421 ไร่ เป็นพื้นที่ต้องเวนคืนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ราว 850 ไร่ จึงต้องประเมินเวลารื้อย้ายของสาธารณูปโภคแต่ละส่วนให้ชัดเจนพร้อมทั้งต้องหารือกับทางซีพี เพื่อให้อธิบายถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ทั้งนี้นายวรวุฒิ ยืนยันว่า ร.ฟ.ท.ยังไม่พิจารณาแนวทางแก้ไขสัญญาก่อสร้าง จากเดิมกำหนด 5 ปีออกไป เนื่องจากอาจเข้าข่ายเอื้อประโยชน์แก่เอกชน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)เวณคืนที่ดิน ร.ฟ.ท.ต้องมอบที่ดินให้กับกลุ่มซีพี หลังจากออก พ.ร.ฎ. เวนคืนภายใน 2 ปี เบื้องต้น คาดว่าจะสามารถออกพ.ร.ฎ.ได้ภายในต้นเดือนกันยายน 2562นี้ และคาดว่าจะสามารถส่งพื้นที่ทันทีหลังลงนาม 3,571 ไร่

สำหรับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นแกนนำหลักถือหุ้น 70% ร่วมลงทุนกับกลุ่มพันธมิตรหลัก ได้แก่ BEM และ CK ถือหุ้น 15%, กลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) หรือ CRCC ถือหุ้น 10% และ ITD ถือหุ้น 5%

จับตาวันเซ็นสัญญา

นางสาววิชชุดา ปลั่งมณี นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังการลงนามในรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนก็สามารถดำเนินการลงทุนได้ทันที เนื่องจากเป็นการลงทุนพิเศษเอกชนกับรัฐ (PPP) จึงไม่มีปัญหาด้านงบประมาณแต่อย่างใด

และเชื่อว่ารัฐบาลกำลังเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มจากโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP), และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (คณะกรรมการ EEC) เนื่องจากเป็นโครงการที่มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาแล้ว แต่ต้องติดตามกรอบระยะเวลาลงนามสัญญาต่อไป ซึ่งจะส่งผลดีกับกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

“เบื้องต้นมองว่าโครงการที่เริ่มไว้ก็จะเริ่มสานต่อตามกรอบที่กำหนดไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้รับเหมาจะนับว่ามีงานใหม่เข้ามาเติม backlog ได้ ก็ต่อเมื่อลงนามสัญญาจัดซื้อ-จัดจ้างแล้ว หากโครงการรถไฟความเร็วสูงออกมา ก็จะเป็นจิตวิทยาสร้างความมั่นใจว่าโครงการใหม่ๆ ก็จะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง”

ชู CK, SEAFCO เป็น Top pick

ทั้งนี้แนะนำ “ซื้อ” CK ราคาเหมาะสม 32.00 บาท เนื่องจากบริษัทที่มีงานใหม่ที่อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 โดยเฉพาะงานรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่จะทำให้ CK มีการรับงานก่อสร้างในระดับ 4-5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมี โครงการทางด่วนพระราม 3 เบื้องต้นฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าในปี 2562 CK จะมีงานใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท หนุนงานในมือเพิ่มขึ้นระดับ1แสนล้านบาท ในอนาคต

นอกจากนี้ยังแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” สำหรับ SEAFCO ราคาเหมาะสม 10.10 บาท เนื่องจากงานที่เป็นเฟสแรกของการก่อสร้างคืองานเสาเข็ม โดยคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 SEAFCO มีโอกาสรับงานใหม่มากกว่าเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 3 พันล้านบาทได้ ตามโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะทยอยดำเนินการ เช่น งานรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินซึ่งมีงานเฉพาะเสาเข็มสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท, งานรถไฟไทย-จีน, งานทางด่วนพระราม 3, และงานมอเตอร์เวย์ คาดทราบผลภายในปี รวมถึงงานรถไฟทางคู่เฟส 2 และงานรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่อยู่ระหว่างรออนุมัติจากครม. ทั้งนี้ SEAFCO มีกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล (ผลประกอบการงวด เม.ย.-ก.ค.) 0.03 บาทต่อหุ้น ให้ผลตอบแทน Dividend Yield 0.4% กำหนดขึ้น XD วันที่ 29 สิงหาคม 2562 จ่ายปันผลวันที่ 12 กันยายน 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2019 2:15 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(6)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 17 สิงหาคม 2562
ตีพิิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3497 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน
อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

สัญญาที่ติดขัดตรงไหน มาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 6 ว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขการดำเนินโครงการกันเถอะพี่น้อง....

6. เงื่อนไขและการเริ่มต้นการดำเนินโครงการฯ
6.1 เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่เริ่มต้นการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (ยกเว้นแอร์พอร์ต เรลลิงค์) และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ ซึ่งจะมีการระบุวันดังกล่าวได้เมื่อดำเนินการดังต่อไปนี้เสร็จสิ้นแล้ว

(1) มีการส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนของพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามที่ระบุในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 6 (แผนการส่งมอบพื้นที่โครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 2 (แผนการส่งมอบพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟ)

(2) มีการส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนของพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ตามที่ระบุในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 6 (แผนการส่งมอบพื้นที่โครงการฯ) ยกเว้นพื้นที่มักกะสันบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข) 2) พร้อมกับการนำสัญญาร่วมลงทุนนี้ไปจดทะเบียนการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ณ สำนักที่ดินที่เกี่ยวข้อง (ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาร้องขอให้นำสัญญาร่วมลงทุนนี้ไปจดทะเบียนการเช่า) โดยเอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1 (4)(ข) 14)

แต่ทั้งนี้ รฟท. จะไม่ส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนดังกล่าวก่อนการส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนของพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่เอกชนคู่สัญญา

(3) เอกชนคู่สัญญาได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการเกี่ยวกับรถไฟ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ เอกชนคู่สัญญามีสิทธิเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เพื่อตรวจสอบสภาพความสมบรูณ์ ความถูกต้องครบถ้วน
และความเหมาะสมของพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ทั้งนี้ เท่าที่ รฟท. เห็นสมควร

กรณีที่ รฟท. ส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบก่อนวันที่กำหนดให้เงื่อนไขสำเร็จครบถ้วน เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่เริ่มต้นการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ จากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ โดยไม่อาจโต้แย้งใดๆ ในเรื่องระยะเวลาได้

ทั้งที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการดำเนินให้เงื่อนไขและการเริ่มต้นการดำเนินโครงการฯสำเร็จครบถ้วน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 6.2

6.2 ในกรณีที่เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6.1 ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดไม่สำเร็จครบถ้วนภายในวันที่กำหนดให้เงื่อนไขสำเร็จครบถ้วน และคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงื่อนไขดังกล่าวไม่สำเร็จครบถ้วนไม่ได้ยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว คู่สัญญาจะมาตกลงกันเพื่อขยายเวลาหรือหาแนวทางการดำเนินการอื่น โดยหากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจมีหนังสือแจ้งคู่สัญญาฝ่ายอีกฝ่ายหนึ่ง ให้สัญญาร่วมลงทุนมีผลสิ้นสุดลง

6.3 ภายหลังจากที่เงื่อนไขตามข้อ 6.1 สำเร็จครบถ้วนหรือคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงื่อนไขดังกล่าวไม่สำเร็จครบถ้วน แต่ตกลงยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องส่งมอบเอกสารตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้ ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

(1) ภายในสิบห้า(15) วัน นับจากวันที่เงื่อนไขตามข้อ 6.1 สำเร็จครบถ้วนหรือได้รับการยกเว้นจาก คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงื่อนไขดังกล่าวไม่สำเร็จครบถ้วน (สำหรับเงื่อนไขที่ไม่สำเร็จ) รฟท. ตกลงที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้

(ก) รฟท. จะส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่เอกชนคู่สัญญาโดยระบุวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ และระยะเวลาจะเริ่มนับจากวันที่ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน

(ข) รฟท. จะส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯให้แก่เอกชนคู่สัญญาโดยระบุวันที่เริ่มต้นนับ ระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ


(2) เอกสารที่เอกชนคู่สัญญาต้องส่งมอบให้แก่ รฟท. มีดังต่อไปนี้
(ก) เอกสารเกี่ยวกับข้อมูลค่าเงินลงทุนของโครงการฯ และสัญญาเกี่ยวกับการจัดหาเงินสนับสนุนโดยเอกชนคู่สัญญา จะนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้ภายในสองร้อยสี่สิบ (240) วัน นับจากวันที่ รฟท. ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

1) สำเนารับรองถูกต้องของแบบจำลองทางการเงิน ที่แสดงมูลค่าเงินลงทุนของโครงการฯ ซึ่งจัดทำโดยเอกชนคู่สัญญาและมีรูปแบบและรายละเอียดตามที่ รฟท. อนุมัติ ทั้งนี้ หากแบบจำลองทางการเงินนั้นแตกต่างจากรายละเอียดทางการเงินที่ระบุไว้ในข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ เอกชนคู่สัญญาต้องได้รับอนุมัติจาก รฟท.

2) สำเนารับรองถูกต้องของสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนสำหรับโครงการเกี่ยวกับรถไฟที่ได้มีการลงนามระหว่างผู้สนับสนุนทางการเงินและเอกชนคู่สัญญา ซึ่งต้องแสดงว่าเอกชนคู่สัญญามีสิทธิเบิกหรือได้รับเงินสนับสนุนทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าว โดยจำนวนเงินสนับสนุนทั้งหมดภายใต้สัญญานั้นจะมีไม่น้อยกว่าจำนวนเงินซึ่งเอกชนคู่สัญญาระบุไว้ในแบบจำลองทางการเงินตามข้อ 6.3(2)(ก) 1) ว่าจะจัดหาเงินลงทุนจากผู้สนับสนุนทางการเงินเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

3) ต้นฉบับของร่างสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินซึ่งมีการลงนามโดยเอกชนคู่สัญญาและตัวแทนของผู้สนับสนุนทางการเงินซึ่งได้กระทำการแทนและในนามผู้สนับสนุนทางการเงินทั้งหมดที่ประสงค์จะรับก่อภาระผูกพันเหนือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหรือนำมาใช้ประโยชน์ในโครงการฯ หรือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ รฟท. ได้รับร่างสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินและต่อมา รฟท. ได้เข้าลงนามในสัญญาดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาตกลงจะส่งมอบสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินฉบับลงนามแล้วแก่ รฟท.
(ข) สำเนารับรองถูกต้องหนังสือที่ได้รับการยืนยันจากผู้สนับสนุนทางการเงินถึงความสำเร็จในการระดมทุนโดยเอกชนคู่สัญญาจะนำส่งเอกสารดังกล่าวภายในสองร้อยเจ็ดสิบ (270) วันให้แก่ รฟท. นับจากวันที่ รฟท. ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ
(ค) เอกสารเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างโดยเอกชนคู่สัญญาจะนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้ภายในหกสิบ (60) วัน นับจากวันที่ รฟท. ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

1) สำเนารับรองถูกต้องของสัญญาว่าจ้างทุกสัญญาดังต่อไปนี้ที่มีการลงนามระหว่างเอกชนคู่สัญญา และผู้รับจ้างซึ่งเอกชนคู่สัญญา ได้ใช้ประสบการณ์ตามที่ระบุในข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ เพื่อการดำเนินงานดังต่อไปนี้ งานการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงการจัดหา ผลิต และติดตั้งงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ และงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

2) สำเนารับรองถูกต้องหนังสือที่ได้รับการยืนยันจากผู้รับจ้างซึ่งเอกชนคู่สัญญาได้ใช้ประสบการณ์ตามที่ระบุในข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอว่าเงื่อนไขบังคับก่อนภายใต้สัญญาว่าจ้างดังกล่าวสำเร็จครบถ้วนหรือได้รับการผ่อนผันจากคู่สัญญาฝ่ายที่ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการเงื่อนไขบังคับก่อนนั้น (สำหรับเงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่สำเร็จ)

3) สำเนารับรองถูกต้องของหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างซึ่งเอกชนคู่สัญญาได้ใช้ประสบการณ์ตามที่ระบุในข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอภายใต้สัญญาว่าจ้างดังกล่าวเริ่มงานภายใต้สัญญานั้น และ

4) แผนทางการเงินสำหรับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานดังกล่าวซึ่งมีรูปแบบตามที่ รฟท. อนุมัติ

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(7)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 20 สิงหาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3498 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้ สัญญาติดขัดตรงไหน

มาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 7 ว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขการดำเนินโครงการ ซึ่งในตอนที่แล้วได้ทิ้งปมไว้เรื่องแอร์พอร์ตลิงค์ ในข้อ 4 แผนทางการเงินสำหรับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งมีรูปแบบตามที่ รฟท. อนุมัติ โดยอย่างน้อยแผนดังกล่าว ต้องแสดงแผนการใช้เงินเพื่อการดำเนินงานข้างต้นในแต่ละปี ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานในแต่ละส่วนดังกล่าว

ทั้งนี้ หากรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจ้างแตกต่างจากแผนการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และ/หรือแผนการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟตามที่ระบุไว้ในข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ให้เอกชนคู่สัญญาแจ้ง รฟท.ด้วยถึงสิ่งที่แตกต่างพร้อมทั้งแสดงเหตุผลและความจำเป็นของการดำเนินการดังกล่าว

(ง) สำเนารับรองถูกต้องของกรมธรรม์ประกันภัยที่เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องจัดทำตามที่กำหนดในข้อ 20.1(1) โดยเอกชนคู่สัญญาจะนำส่งเอกสารดังกล่าวภายในหกสิบ (60) วัน นับจากวันที่ รฟท.ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

6.4 ไม่ว่า ณ เวลาใดๆ คู่สัญญาฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยทันที เมื่อเงื่อนไขอันหนึ่งอันใดตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6.1 สำเร็จแล้ว หรือเมื่อได้ทราบถึงเหตุการณ์พฤติการณ์หรือสภาวะที่อาจทำให้เงื่อนไขข้อใดไม่สำเร็จ ณ วันที่กำหนดให้เงื่อนไขสำเร็จครบถ้วน

6.5 เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่เริ่มต้นการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในสถานีรถไฟของโครงการเกี่ยวกับรถไฟแต่ละสถานีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2 (4)

7. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน รฟท. และเอกชนคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

7.1 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินที่ใช้ในรถไฟความเร็วสูง

(1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ

ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) เอกชนคู่สัญญามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในรถไฟความเร็วสูงโดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ให้แก่ รฟท. ภายในวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1 (2) โดย รฟท. ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา (Build-Operate-Transfer: BOT)

โดยเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญให้แก่ รฟท. แล้ว รฟท. จะส่งมอบสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เอกชนคู่สัญญาเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ในวันที่เริ่มระยะเวลางานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) หากเอกชนคู่สัญญาดำเนินงานการออกแบบและงานก่อสร้าง หรือจัดหาทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญมาเพิ่มเติม รวมถึงงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟและทางเชื่อมกับอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ รฟท. ในทันทีที่มีการก่อสร้างเสร็จสิ้นและทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมใช้งาน โดย รฟท. ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา และเอกชนคู่สัญญามีสิทธิใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง

(2) ทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) และระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) เอกชนคู่สัญญามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในรถไฟความเร็วสูง โดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีครบระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ รฟท. ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯโดย รฟท. ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญาและเอกชนคู่สัญญา จะเตรียมการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบการครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1
(ข) กรณีสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ รฟท. ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ โดย รฟท. จะชำระค่าตอบแทนให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2 โดยเอกชนคู่สัญญาจะเตรียมการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบการครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1

7.2 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในแอร์พอร์ต เรลลิงค์

(1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ

ณ ขณะที่มีการให้สิทธิเอกชนร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงค์ รฟท. มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในแอร์พอร์ต เรลลิงค์ โดย รฟท. จะส่งมอบสิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่เอกชนคู่สัญญาเพื่อใช้สำหรับการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

นอกจากนี้ หากเอกชนคู่สัญญาดำเนินงานการออกแบบและงานการก่อสร้าง หรือจัดหาทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญมาเพิ่มเติม รวมถึงงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟและทางเชื่อมกับอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ รฟท. ภายในวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ โดย รฟท. ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ เอกชนคู่สัญญา (Build-Operate-Transfer: BOT) โดยเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญให้แก่ รฟท. แล้ว รฟท. จะส่งมอบสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เอกชนคู่สัญญาเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ในวันที่เริ่มระยะเวลางานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์

นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) หากเอกชนคู่สัญญาดำเนินงานการออกแบบและงานก่อสร้าง หรือจัดหาทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญมาเพิ่มเติม รวมถึงงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟและทางเชื่อมกับอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ รฟท. ในทันทีที่มีการก่อสร้างเสร็จสิ้นและทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมใช้งาน โดย รฟท. ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา และเอกชนคู่สัญญามีสิทธิ์ใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์

อ่านสัญญารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินกันให้ดีนะครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2019 2:28 am    Post subject: Reply with quote

“บอร์ดรถไฟ” ไฟเขียวรับเหมาจีนสร้างไฮสปีดอีสาน 2 สัญญา 2 หมื่นล้านลุยเคาะต่อ 5.4 หมื่นล้าน 30 ส.ค.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 สิงหาคม 2562 19:22 น.

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 22 ส.ค.2562 มีมติเห็นชอบผลการประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. มูลค่า 179,413 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา รวมมูลค่าโครงการ 20,151 ล้านบาท

ได้แก่ สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 8,626 ล้านบาท

และสัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,525 ล้านบาท

“คาดว่าจะสามารถประกาศผลการประกวดราคาอย่างเป็นทางการได้ภายในวันที่ 23 ส.ค. และเซ็นสัญญาในเดือนก.ย.นี้”

ขณะเดียวกันกำลังตรวจสอบผลการเสนอราคาอีก 3 สัญญา รวม 99.26 กม. วงเงิน 33,958 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญาช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บ้านม้า 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน 11,064 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.7% หรือ 1,736 ล้านบาท

สัญญาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เสนอราคาต่ำสุด 9,788 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16% หรือ 1,864 ล้านบาท

และสัญญาช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคาต่ำสุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท โดยทั้ง 3 สัญญาผู้รับเหมายื่นต่ำกว่าราคากลาง คิดเป็นวงเงินรวม 9,468 ล้านบาท

ทั้งนี้จะเปิดยื่นเสนอราคาวันที่30ส.ค.นี้ จำนวน 6 สัญญา วงเงิน 54,975 ล้านบาท ได้แก่ สัญญาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 10,421.014 ล้านบาท

สัญญาช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 11,801.216 ล้านบาท, สัญญางานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท, สัญญาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 9,257.373 ล้านบาท

สัญญาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 12,043.417 ล้านบาท และสัญญางานอุโมงค์ช่วงมวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม.

ทั้งนี้มีพักการประกวดราคา 1 สัญญาคือ ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม. ซึ่งต้องรอการตกลงกับโครงการความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่มีพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 329, 330, 331 ... 542, 543, 544  Next
Page 330 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©