RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181742
ทั้งหมด:13492980
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2018 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวโคราชเฮ ครม.เห็นชอบสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง 50 กิโลเมตร
26 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:07 น.

ครม.ไฟเขียวกม.สร้างรถไฟฟ้ารางเบาโคราช
อังคารที่ 25 ธันวาคม 2561 เวลา 19.31 น.

ที่ประชุม ครม.อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาท ไฟเขียว รฟม.สร้างรถไฟฟ้ารางเบาโคราช อนุมัติ รฟท. กู้เงิน 1.2 หมื่นล้านบาท เสริมสภาพคล่อง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป 31 โครงการ วงเงินรวม 57,597.185 ล้านบาท โดยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 63 จำนวน 11,519.037 ล้านบาท และเป็นภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณปี 64 และปีงบประมาณปี 65 จำนวน 46,078.148 ล้านบาท

นายอาคม กล่าวต่อว่า ในจำนวนงบประมาณดังกล่าว แบ่งเป็น สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการของกระทรวง วงเงิน 3,710 ล้านบาท, กรมท่าอากาศยาน(ทย.) 1 โครงการ คือ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง วงเงิน 1,387.125 ล้านบาท และกรมทางหลวง(ทล.) 29 โครงการ วงเงินรวม 52,500 ล้านบาท

นายอาคม กล่าวอีกว่า ที่ประชุม ครม. ยังอนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน และกู้เงินระยะสั้นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ประจำปีงบประมาณ 62 วงเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง เนื่องจากประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเป็นประจำทุกปี โดยมีปัญหาขาดทุนตั้งแต่ปี 50-60 ประมาณ 158,606 ล้านบาท ต้องดำเนินการกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานทุกปี

นายอาคม กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม.ยังอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ... ซึ่งเบื้องต้นกำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าในจังหวัดนครราชสีมาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา มีระยะทางรวม 50.09 กิโลเมตร(กม.) มี 3 แนวเส้นทาง คือ

1.สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. และส่วนต่อขยายช่วงสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง)-ตลาดเซฟวัน และช่วงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขา 2 ระยะทาง 12.12 กม. มี 33 สถานี

2.สายสีส้ม ช่วงแยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า ระยะทาง 9.81 กม. และส่วนต่อขยายช่วงโรงเรียนเทศบาล1-หัวทะเล-ดูโฮม ระยะทาง 5.37 กม. มี 23 สถานี และ

3.สายสีม่วง ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 7.14 กม. และส่วนต่อขยาย ช่วงมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ ระยะทาง 4.48 กม. มี 22 สถานี

ลูกหลานย่าโมเฮ! ครม.เคาะสร้างรถไฟฟ้า ”โคราช” วงเงิน 3.2 หมื่นล้าน

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20:47 น.

คนโคราชเฮ! ครม.ไฟเขียวให้รฟม.สร้างรถไฟฟ้าในจ.นครราชสีมา วงเงินลงทุน 32,000ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit-LRT) ดำเนินการ3ระยะ เริ่มสร้างปี 2563 หวังช่วยลดปัญหาจราจรและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เกี่ยวกับกระทรวง ที่ประชุมได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจ.นครราชสีมา พ.ศ…. เพื่อเพิ่มปริมาณการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ลดปัญหาจราจร และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

​รูปแบบของโครงการตามผลการศึกษาของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit-LRT) เงินลงทุน 32,600 ล้านบาท ดำเนินการใน 3 ระยะ

ระยะที่ 1 ปี 2563-2565 วงเงิน 13,600 ล้านบาท มีสายสีส้ม ช่วงแยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า ระยะทาง9.81 กม. 17 สถานี วงเงิน 8,400 ล้านบาท และสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. 18 สถานี วงเงิน 5,200 ล้านบาท



ระยะที่ 2 ปี 2566-2568 วงเงิน 4,800 ล้านบาท มีสายสีม่วงช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.92 กม. 9 สถานี

และระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายสายสีส้ม ช่วงโรงเรียนเทศบาล 1 – หัวทะเล – ดูโฮม ระยะทาง 5.37 กม. ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง) – ตลาดเซฟวัน และช่วงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ –สำนักงานขนส่งจ.นครราชสีมา สาขา 2 รวมระยะทาง 23.29 กม.และส่วนต่อขยายสายสีม่วง ช่วงม.วงษ์ชวลิตกุล – แยกจอหอ –ค่ายสุรนารายณ์ ระยะทาง 4.48 กม. วงเงินรวม 14,200 ล้านบาท

โดย รฟม.อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมทุน (PPP) คู่ขนานไปกับการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวม 12,800 ล้านบาท ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้ ร.ฟ.ท.ด้วย

การกู้เงินในครั้งนี้แบ่งได้ 2 วัตถุประวงค์ คือ 1. กู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ 2562 วงเงิน 12,000 ล้านบาทร.ฟ.ท.มีผลขาดทุนต่อเนื่อง และได้รับเงินชดเชยการขาดทุนที่ไม่เป็นไปตามจำนวนที่ขาดทุนจริง ส่งผลให้แต่ละปีร.ฟ.ท.ขาดสภาพคล่องทุกปี

โดยมียอดขาดทุนสะสมเฉพาะปี 2550-2560 รวมเป็นเงิน 158,606.293 ล้านบาท ร.ฟ.ท.จึงต้องกู้เงินเพื่อใช้ดำเนินการทุกปี ณ วันที่ 30 ก.ย.2561 ร.ฟ.ท.มียอดหนี้สินเพื่อดำเนินการอยู่ที่ 104,581 ล้านบาท เป็นผลมาจากการไม่ปรับเพิ่มรายได้การขนส่งและสอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน และการรับภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน รถจักร และล้อเลื่อนจำนวนมาก

2. กู้ระยะสั้น โดยต่อสัญญาเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย 1 ปี (30 มี.ค.2562 – 29 มี.ค.2563) วงเงิน 800 ล้านบาท เป็นการให้กู้เพื่อให้มีเงินสำรองไว้ใช้ในช่วงที่ประสบปัญหาเงินสดขาดมือ ซึ่งในปี 2561 ได้ต่อสัญญาเงินกู้ไปแล้วและจะครบสัญญาในวันที่ 29 มี.ค.2562 นี้ เพื่อความจำเป็น ร.ฟ.ท. จึงต้องต่อสัญญาเงินกู้ดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2018 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

ที่น่าสนใจมากๆคือ
ค่าโดยสารของ LRT โคราช แบ่งเป็น Zoning 3 เรท ซึ่งอยากให้ กทม ทำบ้างจริงๆ
คือเดินทางภายในชั้นใน 15 บาททั้งพื้นที่
เดินทางระหว่างชั้น 1 ชั้น 20 บาท
เดินทางระหว่างชั้น 2 ชี้น 25 บาท ครับ

ราคานี้ตามการศึกษา สนข นะครับของจริงต้องดูอีกที

แต่ถ้าตามแผนการศึกษานี้ ผมเห็นด้วยนะครับ อยู่ในเรทที่จับต้องได้และดึงดูดใผ้ ผดส ได้ใช้งานจริง

มีรายละเอียดตามรูปที่แนบครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมจะตามมา Update อีกทีนะครับ

ขอบคุณ Kraitad Phahee ที่แจ้งข่าวครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=589387001499783&id=491766874595130
ลิงค์ที่มาข่าว https://www.prachachat.net/property/news-270181

ที่มาของเอกสาร http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=128
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:28 am    Post subject: Reply with quote

"ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช" ยิ้มรอรถไฟฟ้าสร้างในปี63
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ไปส่องโครงการของรัฐ ความหวังคนต่างจังหวัดได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง เปิดประมูลเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 คาดแล้วเสร็จปี 66 วางแผนเอกชนสัมปทาน 30 ปี

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟฟ้าใน 6 จังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา และ พิษณุโลก อยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มอีก 1 จังหวัด คือ อุดรธานี แต่ผลการศึกษาระบุให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของเมืองในปัจจุบันมากกว่า

ในจำนวน 6 จังหวัดที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) รับผิดชอบ 4 จังหวัด ส่วนอีก 2 จังหวัด สงขลาและขอนแก่น ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน หมายความว่านอกจากรฟม.จะมีหน้าที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าได้ทั่วประเทศทั้งเหนือ ใต้ อีสานและภาคกลาง



นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (ฝ่ายกลยุทธ์และแผน) รฟม. บอกว่า ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูเก็ต ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดสัมมนาการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน โครงการระยะ (เฟส) 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. 21 สถานี งบประมาณ 34,000 ล้านบาท หลังจากได้จัดที่จ.ภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมการจัดงานทั้ง 2 จุด ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน และจีน ในส่วนของไทยมีทั้งบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม รวมทั้งบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ด้วย

รฟม.กำลังเร่งหารือกรมทางหลวง (ทล.) ในรายละเอียดของการปรับแบบก่อสร้างเป็นระบบใต้ดินหรือยกระดับแทนระดับดินบริเวณจุดกลับรถ 2 จุด เพราะทล.ห่วงอันตรายหากแชร์เลนร่วมกับรถประเภทอื่นเนื่องจากเขตทางหลวงแคบ แต่ค่าก่อสร้างเพิ่มจุดละประมาณ 500-800 ล้านบาท หรือรวมแล้ว 1-1.6 พันล้านบาท โดยจะทำอุโมงค์ให้รถไฟฟ้าวิ่งลอดถนนคล้ายอุโมงค์รัชโยธิน คาดว่าต้องใช้เวลาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเปิดประมูลให้ได้ภายในต้นปี 63 และเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 ให้แล้วเสร็จภายในปี 66

“รฟม.จะใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost โดยรัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสนับสนุนค่างานโยธาไม่เกิน 17,000-18,000 ล้านบาทให้เอกชนสัมปทาน 30 ปี ค่าโดยสาร18 -137 บาท แต่บริษัทที่ปรึกษาได้เคาะค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 123 บาท ประมาณการผู้โดยสารปีแรก (ปี 66) 3,190 คน/วัน และอีก 30 ปี ในปี 96 จะมีผู้โดยสารใช้บริกร 120,420 คน/วัน” รองผู้ว่าฯ รฟม. แจงค่าโดยสารรถไฟฟ้าเมืองภูเก็ต



ด้านรถไฟฟ้า จ.เชียงใหม่ (แทรม) สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. ได้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาแนวทางการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุนแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาภายในเดือนม.ค.นี้

สำหรับจ.นครราชสีมา สายสีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถึงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาท เตรียมเปิดประกวดราคาหาที่ปรึกษาเช่นกัน ทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน หากไม่ติดปัญหาจะเริ่มเห็นความชัดเจนในการร่างเงื่อนไขการประมูล หรือทีโออาร์ในปี 62 ด้วยเช่นกัน เพื่อทยอยประมูลพร้อมกันปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ให้ประชาชนได้เห็นการก่อสร้างในปี 63 ทั้ง 3 เส้นทาง

แจงรายละเอียดโครงการแทรมเชียงใหม่ มี 3เส้นทางหลัก รวมระยะทาง 34.93 กม. มูลค่าการลงทุนรวม 95,321.66 ล้านบาท เกือบแสนล้าน ประกอบด้วย 1.สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. 2.สายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ห้างพรอมเมนาดา) 13 สถานี 10.47 กม. และ 3.สายสีเขียว (แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่) 10 สถานี 11.92 กม.

จะนำร่องสายสีแดงก่อนมีทางวิ่งระดับดิน (เขตชานเมืองวิ่งร่วมกับการจราจรปกติบางส่วน) ผสมกับใต้ดิน(เขตเมือง) เริ่มต้นจาก รพ.นครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700 ปีต่อไปศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินบริเวณแยกข่วงสิงห์สู่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ จะกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดินสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)



ปิดท้ายกับรถไฟฟ้ารางเบานครราชสีมา ระยะทางรวม 50.09 กม. มี 3 แนวเส้นทาง คือ 1.สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. 2.สายสีส้ม ช่วงแยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม.และ 3.สายสีม่วง ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 7.14 กม. และส่วนต่อขยาย ช่วงมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม.มี 22 สถานี โดยนำร่องก่อสร้างสายสีเขียวเป็นอันดับแรก

คนต่างจังหวัดยังรอคอยอย่างมีความหวัง ให้ฝันที่จะนั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุงเทพฯ ได้เป็นจริง เพื่อยกระดับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และจูงใจให้ประชาชนหันไปใช้แทนรถยนต์ส่วนตัว ลดปัญหารถติดซึ่งในตัวเมืองของหลายจังหวัดกำลังวิกฤติเหมือนในกรุงเทพฯ
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2019 12:00 am    Post subject: Reply with quote

พระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. เดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:59
พ.ร.ฎ.ออกแล้ว สร้างรถไฟฟ้า 4 จังหวัด "เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-โคราช"
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:33 น.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินกิจการรถไฟฟ้าใน 'เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในบางจังหวัดได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกากําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัด ดังต่อไปนี้ได้
(1) จังหวัดเชียงใหม่
(2) จังหวัดพังงา
(3) จังหวัดภูเก็ต
(4) จังหวัดนครราชสีมา
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2019 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้า! รฟม.จ้าง85ล้านออกแบบ “รถไฟฟ้าโคราช” ปลายปีหน้าเปิดPPPเหมาสร้าง-เดินรถ8พันล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 16:45 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2562 ได้ร่วมลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอ็นทิค จำกัด และ บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงิน 85.6 ล้านบาท ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว จากตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.7 กม. ตามที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ

จะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี เริ่มงานตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป คาดว่าปลายปี 2563 จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ได้ ตามแผนจะก่อสร้างในปี 2564 สร้างเสร็จเปิดบริการในปี 2568 จะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่สถานีนครราชสีมา คาดว่าเมื่อเปิดบริการจะมีผู้มาใช้บริการเฉลี่ย 10,000 เที่ยวคนต่อวัน




“เราจะใช้โมเดลเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งก่อสร้างและจัดหาระบบเดินรถ รับสัมปทาน 30 ปี โดย รฟม.จะสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 8,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนและก่อสร้าง 6,000 ล้านบาท และค่างานระบบอีก 2,000 ล้านบาท“

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ตามผลการศึกษาโครงการแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit)



รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งระดับดิน มีแนวเส้นทางตามแนวตะวันออก-ตะวันตก บนถนนมิตรภาพ ถนนมุขมนตรี ถนนโพธิ์กลาง ถนนราชดำเนิน ถนนชุมพล และถนนสุรนารายณ์ ระยะทางประมาณ 11.17 กม.มี 20 สถานี ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ตลาดเซฟวัน ตลาดมิตรภาพ สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา คลังพลาซ่าใหม่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจังหวัดนครราชสีมา สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2019 11:16 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เดินหน้า! รฟม.จ้าง85ล้านออกแบบ “รถไฟฟ้าโคราช” ปลายปีหน้าเปิดPPPเหมาสร้าง-เดินรถ8พันล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 16:45 น.

รฟม.นำร่องรถแทรมป์โคราชลงทุนกว่า 8 พันล้าน เปิด PPP คัดเลือกเอกชนปลายปี 63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 18:59 น.




รฟม.เซ็นจ้างที่ปรึกษา ออกแบบและศึกษารูปแบบร่วมลงทุน PPP รถไฟฟ้ารางเบาโคราช นำร่องสายสีเขียว 11.17 กม. มูลค่าลงทุน 8 พันล้าน คาดเสนอ กก.PPP อนุมัติเปิดประมูลปลายปี 63 ก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการปี 68

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดยบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอ็นทิค จำกัด และ บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงิน 85.6 ล้านบาท เป็นที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.10 กม. เบื้องต้นประเมินมูลค่าลงทุนไว้ที่ประมาณ 8,000 ล้านบาท

โดยช่วงแรกจะเป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม (Feasibility Study) ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ออกแบบ จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

ช่วงที่ 2 เป็นการจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาเพื่อคัดเลือก ผู้รับจ้างงานก่อสร้างโครงการ และ/หรือ เอกสารประกวดข้อเสนอเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า งานบำรุงรักษาและงานให้บริการเดินรถ

ทั้งนี้ ตามแผนงาน ในช่วง 6 เดือน จะศึกษารูปแบบการลงทุน ออกแบบรายละเอียดเพื่อประเมินต้นทุนโครงการก่อน เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ PPP เข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ปลายปี 2563 เริ่มการก่อสร้างปลายปี 2564 เปิดให้บริการต้นปี 2568 คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 1 หมื่นคน/วัน เนื่องจากเป็นเส้นทางสายหลักที่ผ่านสถานที่สำคัญและมีสถานีเชื่อมต่อกับสถานรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง

สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา จ.นครราชสีมา สายสีเขียว เส้นทางเริ่มจาก ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) หรือ Tram รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งระดับดิน มีแนวเส้นทางตามแนวตะวันออก-ตะวันตก บนถนนมิตรภาพ ถนนมุขมนตรี ถนนโพธิ์กลาง ถนนราชดำเนิน ถนนชุมพล และถนนสุรนารายณ์ มีสถานีจำนวน 20 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณบ้านนารีสวัสดิ์

ส่วนการร่วมลงทุนกับเอกชนนั้น จะใช้รูปแบบเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง คือ รัฐจัดหาที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา ระบบรถและเดินรถ โดยรัฐทยอยชำระคืนระยะ 10 ปี โดยเปิดกว้างทั้งเอกชนท้องถิ่นและนักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าร่วมประมูลได้

“ตามการศึกษาโคราชจะมีรถไฟฟ้า 3 สาย ซึ่งจะนำร่องสายสีเขียวก่อนเพื่อดูผลการดำเนินงาน ทั้งในแง่ผลกระทบระหว่างก่อสร้างและการตอบรับของประชาชน เนื่องจากเป็นการก่อสร้างในเขตเมืองใหญ่ที่มีปัญหาจราจร ซึ่งรถไฟฟ้ารางเบานั้นแนวเส้นทางจะอยู่บนแนวถนน มีการเวนคืนน้อย อาจเวนคืนบ้างหากถนนแคบ หรือจุดโค้งทางเลี้ยว จุดที่ตั้งสถานี”

โดยตามผลการศึกษาโครงการแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะมีโครงข่าย 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีเขียว ซึ่งเส้นทางหลัก ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ตลาดเซฟวัน ตลาดมิตรภาพ สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา คลังพลาซ่าใหม่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจังหวัดนครราชสีมา สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นต้น ส่วนสายสีส้ม และสายสีม่วงจะประเมินผลหลังจากดำเนินโครงการสายสีเขียวก่อน โดยคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร โครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย มีประมาณ 2 หมื่นคน/วัน



นายภคพงศ์กล่าวถึงระบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาคที่ รฟม.รับผิดชอบ และอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน ได้แก่ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างหารือกับกรมทางหลวงในการปรับปรุงแบบ ที่เป็นจุดตัดกับถนน ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนโครงการที่ต้องประเมินใหม่ และปรับรายงานร่วมลงทุน PPP ส่วนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาแนวเส้นทางอย่างละเอียด ส่วนระบบขนส่งมวลชน จังหวัดพิษณุโลก อยู่ระหว่างรอร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้ รฟม.ดำเนินการกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นจะเป็นการจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียดและรายงานสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการลงทุนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2019 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

ลงทุน 8,000 ล้าน นำร่องรถไฟฟ้ารางเบาโคราช
ออนไลน์เมื่อ 02 มิถุนายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3475 ระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายน 2562

เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสาร ประกวดราคาและคัดเลือก ผู้รับจ้างงานก่อสร้างโครงการ และ/หรือ เอกสารประกวดข้อเสนอเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า งานบำรุงรักษาและงานให้บริการเดินรถ และทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอ็นทิค จำกัด และ บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมีวงเงินค่าจ้าง 85.6 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดย รฟม. คาดว่าจะสามารถแจ้งที่ปรึกษาเริ่มปฏิบัติงานในช่วงที่ 1 ได้ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้


ทั้งนี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งระดับดิน มีแนวเส้นทางตามแนวตะวันออก-ตะวันตก บนถนนมิตรภาพ ถนนมุขมนตรี ถนนโพธิ์กลาง ถนนราชดำเนิน ถนนชุมพล และถนนสุรนารายณ์ ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ตลาดเซฟวัน ตลาดมิตรภาพ สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา คลังพลาซ่าใหม่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจังหวัดนครราชสีมา สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2019 1:44 am    Post subject: Reply with quote

ปฐมนิเทศโครงการ #KORAT_LRT สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - บ้านนารีสวัสดิ์) ใน วันที่ 28 สิงหาคม 2562
โคราชโฟกัส
2 สิงหาคม 2562

ประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
เรื่อง การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ)
งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จํากัด, บริษัท เอ็นทิค จํากัด และ บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จํากัด ดําเนินงานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการ ซึ่งจะต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงศึกษาและจัดทํารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สําหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

รฟม.จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อโครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

โดยได้กําหนดให้มีการประชุมฯ ในวันพุธที่ 28 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 12.00 น.
ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2019 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดเอกสารประกอบการประชุม เตรียมความรู้ก่อนงานประชุม รถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายสีเขียว โคราช (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครอง บ้านนารีสวัสดิ์)

วันนี้ขอมาสปอยรายละเอียดโครงการ พร้อม กับปูพื้นฐานระบบรถไฟฟ้าก่อนวันสัมมนา วันพรุ่งนี้ 28 สิงหาคม 62 นี้ ตามเอกสารประกอบการประชุม ที่ทางโครงการ แชร์ไว้ในเว็บไซด์โครงการ

ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://www.korat-transitgreenline.com/download.html

ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูคลิปโครงการ ดูได้จากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/673551389750010?sfns=mo

เอาล่ะครับ มาดูที่รายละเอียดโครงการก่อน

โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายสีเขียว โคราช
มีเส้นทาง จาก ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองบ้านนารีสวัสดิ์

สถานีทั้งหมดในโครงการ ทั้งหมด 20 สถานี ในระยะทาง 11.17 กิโลเมตร เฉลี่ยห่างสถานีละ ประมาณ 550 เมตร ได้แก่

สถานีตลาด เซฟวัน
สถานีตลาดมิตรภาพ
สถานีอู่เชิดชัย
สถานีคุมประพฤติ
สถานีชุมชนประสพสุข
สถานีสวนภูมิรักษ์
สถานีหัวรถไฟ
สถานีเทศบาลนครนครราชสีมา
สถานีแยกเต็กฮะ
สถานีถนนชุมพล
สถานีธนาคารยูโอบี
สถานีคลังพลาซ่าใหม่
สถานีตลาดใหม่
แม่กิมเฮง
สถานีราชดาเนิน
สถานีแยกประปา
สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา
สถานีราชภัฏนครราชสีมา
สถานีราชมงคล
สถานีโรงแรมดุสิตปริ้นเซส
สถานีบ้านนารีสวัสดิ์

—————————————————

แนวเส้นทางที่ผ่านในโครงการ

มีจุดเริ่มต้นท่ีบริเวณตลาดเซฟวัน (ถนนมิตรภาพ) ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเบี่ยงไปตามทางลอดด้านข้างสะพานข้ามทางรถไฟ เลี้ยวลอดผ่านตอม่อของสะพานข้ามทางรถไฟ

แล้วมุ่งหน้าตามถนนสืบศิริซอย 6 เลี้ยวซ้ายผ่านทางรถไฟไปตามแนวถนนสืบศิริ จากน้ันเลี้ยวขวาตรงบริเวณวัดใหม่อัมพวัน ไปตามแนวถนนมุขมนตรี ผ่านสวนภูมิรักษ์และตลาด 100 ปี โรงเรียนมารีย์วิทยา สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโพธ์ิกลาง

จนถึงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จากน้ันเลี้ยวซ้ายไปตามถนนราชดาเนินฝั่งคูเมือง จนถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (บริเวณถนนราชดาเนินตัดกับทางหลวงหมายเลข 224) แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โรงเรียน สุรนารีวิทยา และวัดสามัคคี

แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกสุรนารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 224 ตัดกับถนนสุรนารายณ์) มุ่งหน้า ไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

**ขอเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้ขยายปลายทางไปที่สถานีรถไฟบ้านเกาะ อย่างน้อยก็ได้มีการเชื่อมโยงสถานีจาก 2 ฝั่งของเมือง**
———————————————————
ระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการ

เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ชนิดรถราง (Tram) เป็นทางรถไฟระดับดิน ใช้ทางร่วมกับถนน ซึ่งการจัดการเลนขึ้นกับโครงการ ว่าจะใช้ร่วม 100% หรือแบ่งเลนเป็นเลนเฉพาะของรถราง

ดูตัวอย่างการเดินรถรางร่วมกับถนนได้จากโพสต์นี้ครับ

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/655986688173147?sfns=mo

ซึ่งการใช้ระบบรถรางมีประโยชน์กับการค้าขายริมข้างทาง ให้มีชีวิตชีวา เพราะระบบรถราง มีความสะดวกในการขึ้นลงรถมากกว่า ระบบอื่นๆ รวมถึงตัวสถานีก็มีขนาดเล็ก ทำให้ลดปัญหาการเข้าถึงสถานีไปได้ด้วย

สถานีจอดรถ (Depot)

จะเป็นจุดที่เก็บและ ซ่อมบำรุงรถราง ซึ่งเท่าที่ดูจากแบบน่าจะอยู่บริเวณสถานคุ้มครอง บ้านนารีสวัสดิ์

ถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม ก็คอมเมนท์เข้ามาได้ครับ

———————————————-

แต่ยังไง พรุ่งนี้อย่าลืม ไปกำหนดอนาคตของบ้านคุณเอง อยากจะให้เป็นอย่างไร ก็กำหนดเอง ไม่ใช่ว่าพอเค้าจะสร้างมาต่อต้านครับ

วันพรุ่งนี้ 28 สิงหาคม 2562 นี้ จะมีการรับฟังความเห็นของพี่น้องชาวโคราช ที่โรงแรมสีมาธานี ครับ อย่าลืมไปกันด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/728947967543685?hc_location=ufi
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2019 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.สานฝันชาวโคราชทุ่ม8,400ล.
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2562

ผุดโครงการรถไฟฟ้ารางเบา

นครราชสีมา - นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฝ่ายกลยุทธ์และแผน เผยว่า สภาพการจราจรในเขตเมืองนครราชสีมา ยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ผลการศึกษาระบบขนส่งมวลชนระบุรถไฟฟ้ารางเบา ตอบโจทย์ดีที่สุด ประกอบกับกระทรวงคมนาคมเห็นพ้องตามผลการหารือร่วมกันระหว่าง สนข. รฟม. และที่ปรึกษา ของ สนข. ระบุเส้นทางสายสีเขียว มีความสำคัญลำดับที่ 1 จุดเริ่มต้นที่ตลาดเซฟวันถึงสถานีคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร สถานี 20 แห่ง

ขั้นตอนต่อไปบริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อยรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานช่วงที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์อาจปรับปรุง เส้นทางและเพิ่มลดจำนวนสถานี ระยะเวลา 1 ปี ค่าโดยสาร เริ่มต้น 14 บาท และเพิ่ม 1 บาท ที่คิดจากจำนวนสถานีปลายทาง คัดเลือกผู้รับจ้างในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ค่าดำเนินการกิโลเมตรละ 752 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 8,400 ล้านบาท ดำเนินโครงการช่วงปลายปี 2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี เชื่อมโยงโครงข่ายกับระบบขนส่งขนาดรองกับรถไฟทางคู่ รถไฟไทย-จีน รถโดยสารและระบบขนส่งสาธารณะได้เต็มรูปแบบ

ด้านนายอัคคชา พรหมสูตร อดีตสมาชิกสภาพัฒนา การเมือง สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า หากโครงการเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ลดการใช้รถยนต์จะสมบูรณ์แบบและได้ประโยชน์สูงสุด หากย้ายสถานีเริ่มจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และสิ้นสุดที่ ทางแยกจอหอที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากตำบลรอบนอกและอำเภอสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 4 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©