Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180210
ทั้งหมด:13491444
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2019 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมบี้รฟม.แก้ตั๋วร่วม”แมงมุม4.0”อืด -ชงบอร์ด13 ก.ย.เคาะMOUจ้าง”กรุงไทย”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 27 สิงหาคม 2562 17:16



“คมนาคม” เร่งรฟม. หาข้อสรุป พัฒนาระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ตั๋วร่วม”แมงมุม 4.0” เร่งชงบอร์ด 13 ก.ย.เคาะMOUจ้างตรง กรุงไทย ส่วนขสมก.ให้อัพเกรด ซอฟต์แวร์เครื่อง EDC รูดบัตรคนจน-แมงมุม

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า ที่ประชุมมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดการดำเนินงานบัตรแมงมุมภายใต้มาตรฐานของ รฟม. ให้มีความชัดเจนภายใน 1 เดือน ซึ่งรฟม.รายงานว่าจะเสนอร่างความร่วมมือ (MOU)ในการให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาตั๋วร่วม เป็นระบบ 4.0 (ระบบเปิด) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ในวันที่ 13 ก.ย. เพื่อเร่งลงนามMOU ต่อไป

โดย รฟม.แจ้งแผนงานว่า จะใช้เวลาในการจัดจ้างธนาคารกรุงไทย 2 เดือน ,พัฒนาระบบ 9 เดือน ,ทดสอบระบบ 3 เดือน คาดว่าจะเสร็จไม่เกินปลายปี 2563 นอกจากนี้ ยังพบว่าการพัฒนาตั๋วร่วมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มีความล่าช้า เนื่องจากติดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา ซึ่งทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด จะต้องไปดำเนินการปรับตามสัญญาจ้างด้วย

นอกจากนี้ ได้เร่งรัดให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประสานกับธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนา เครื่อง EDC (Electronic Data Capture) ซึ่งกรุงไทยมอบให้ ขสมก.ใช้ในการอ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้สามารถอ่านบัตรแมงมุมได้ด้วยในเครื่องเดียวกัน เพื่อความสะดวก

“คณะกรรมการตั๋วร่วมฯ จะประชุมติดตามอีกครั้งในปลายเดือนก.ย.นี้และจะติดตามความคืบหน้าทุกเดือนเพื่อให้สามารถเปิดใช้ระบบตั๋วร่วม บัตรแมงมุมในรถ ขสมก. และแอร์พอร์ตลิงก์ในปลายปีนี้ ส่วนรฟม.จะต้องพัฒนาระบบ เคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearinghouse) ให้เสร็จในปลายปี 2563”นายชัยวัฒน์กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า กรณีที่ รฟม.จะให้ธนาคารกรุงไทย พัฒนา ระบบตั๋วร่วม EMV นั้นมีประเด็น เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบเช่น การทำสัญญาจ้างระหว่าง รฟม. และกรุงไทย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยไม่เปิดประมูลได้หรือไม่ หรือไม่ผ่านกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างได้หรือไม่ และเข้าข่ายร่วมทุนPPP หรือไม่ ซึ่งบอร์ด รฟม.ได้ให้หารือไปยังกรมบัญชี ซึ่งเบื้องต้น ระบุว่า รฟม.สามารถทำMOU กับกรุงไทยให้ดำเนินการได้ ในรูปแบบหน่วยงานรัฐด้วยกัน

ซึ่งการพัฒนาระบบตั๋วร่วม EMV นั้น มีวงเงินลงทุนกว่า 516 ล้านบาท โดยจ้างกรุงไทย.ในดำเนินการ ปรับปรุงระบบหลังบ้าน เคลียริ่งเฮาส์ ประมาณ 300 ล้านบาท ขณะที่ รฟม. ลงทุนประมาณ 216 ล้านบาท ในการปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ฉลองรัชธรรม (ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่) และ รถไฟฟ้าMRT สายสีน้ำเงิน เฉลิมมหานคร(ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ-หลักสอง)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2019 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมบี้รฟม.แก้ตั๋วร่วม”แมงมุม4.0”อืด -ชงบอร์ด13 ก.ย.เคาะMOUจ้าง”กรุงไทย”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 27 สิงหาคม 2562 17:16



คืบหน้า “ระบบตั๋วร่วม” เร่ง รฟม.สร้างมาตรฐานบัตรแมงมุมให้ชัดเจน 1 เดือน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 27 สิงหาคม 2562 - 15:02 น.

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2562 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 26 – 2/2562 มี นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท ขนส่ง จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าและติดตามแนวทางบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม 1.การดำเนินงานจัดทำแผนแก้ปัญหาการจราจรที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยกรมทางหลวงได้ศึกษา ออกแบบ และสนับสนุน การปฏิบัติงานด้านเทคนิคและกฎหมาย สำหรับการปรับเปลี่ยนระบบจัดเก็บค่าผ่านทางไปสู่รูปแบบ Multi – Lane Free – Flow (MLFF) เพื่อให้มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารจัดการงานเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมในระบบดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ



การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีมาตรการจัดการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ อาทิ การจัดระเบียบการจราจรหน้าด่านฯ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมเงินพอดี ผ่านตลอด ไม่จอดนาน นอกจากนี้ มีแผนการปรับปรุงช่องทางทั้งระบบเก็บค่าผ่านทางเงินสดและระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ และการปรับเปลี่ยนเป็นระบบ Switching Mode เพื่อช่วยระบายการจราจรหน้าด่านฯ

2.แนวทางการปรับลดค่าผ่านทางพิเศษทุกประเภท โดยกรมทางหลวงได้เสนอขอปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 โดยยกร่างพระราชบัญญัติค่าธรรมเนียมการใช้ทางหลวง พ.ศ….. ขึ้นใหม่ทั้งฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในปัจจุบันและรองรับอนาคต

โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้ระบุเกี่ยวกับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกฤษฎีกาในประเด็นดังกล่าว หากสามารถดำเนินการได้ กรมทางหลวงจะเร่งนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อพิจารณาเห็นชอบและขออนุมัติต่อกรมบัญชีกลางต่อไป

ส่วน กทพ.ปัจจุบันได้ดำเนินการให้ส่วนลดค่าผ่านทางพิเศษที่ต่ำกว่าอัตราตามประกาศกระทรวงคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน



3.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ขอรับอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการและจัดทำมาตรฐานกลางระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของประเทศไทย (National ETCS Standard)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (ETCS) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ETCS จัดทำมาตรฐานกลางระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของประเทศไทย และจัดทำแผนพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของประเทศไทย

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดการดำเนินงานบัตรแมงมุมภายใต้มาตรฐานของ รฟม.ให้มีความชัดเจนภายใน 1 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2019 7:37 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กระจกไร้เงา: ลุ้นแล้วลุ้นอีก
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562
บุญช่วย ค้ายาดี

หลายคนที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวง และเดินทางโดยใช้ระบบ ขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะรถเมล์ เรือ โดยสารทั้งเจ้า พระยา และคลองแสนแสบ รวมถึงยังมีรถไฟฟ้าที่มีทั้งใต้ดินและบนดิน ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีหลากหลายรูป แบบ และยิ่งปัจจุบันจะมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นอีกหลายสายทาง การ พกบัตรโดยสารหลายใบอาจจะสร้างปัญหาความสับสนให้กับผู้ใช้เส้นทางต่างๆ ได้ ดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ในชื่อ "บัตรแมงมุม" เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้กับประชาชน ด้วยบัตรเพียงใบเดียวนั้น และยังสามารถใช้ซื้อของในร้านค้าที่ร่วมรายการได้อีกด้วย

ก็ได้แต่รอคอยกันไปหลายรัฐบาล หลายรัฐมนตรีว่ากระ ทรวงคมนาคม จนแล้วจนรอดตั๋วร่วมที่ประกาศว่าจะใช้งานได้ ก็ต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ล่าสุดกลางปี 2562 คิดว่าจบทุกอย่างเมื่อกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประ เทศไทย (รฟม.) ได้เปิดตัวบัตรแมงมุม สำหรับการเดินทางในระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยมีการแจกบัตรฟรีในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง รวม 200,000 ใบ และว่า กันว่าจะใช้ได้กับระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และรถเมล์ของ ขสมก.ได้

แต่รถไฟฟ้า BTS ไม่ได้ โดยสาเหตุหลักๆ เรื่องต้นทุนที่ BTS ต้องจ่ายเพิ่ม เพื่อพัฒนาเครื่องรับบัตร การปรับระบบต่างๆ

ซึ่งจากเหตุดังกล่าวนั้นทำให้ รฟม.ได้อัพเกรดบัตรแมงมุม ให้เป็นระบบ EMV (Euro Mastercard Visa) คือใช้ระบบเดียว กับบัตรเครดิตและเดบิต ด้วยความหวังว่าในอนาคตประเทศ ไทยมีความหวังที่จะใช้บัตรใบเดียวเดินทางผ่านระบบขนส่งมวลชนได้ง่ายขึ้น ใช้บัตรใบเดียวจ่ายเงินได้เลย และอาจจะรวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อจ่ายค่าเดินทางต่างๆ แต่ BTS ก็ยังไม่เข้าร่วมการใช้บัตรแมงมุมอยู่ดี ทำให้ผู้โดยสารยังคงต้องถือบัตรหลายใบในการเดินทางโดยรถสาธารณะ

ซึ่งทางด้าน นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ออกมาระบุว่า บัตรแมงมุม หรือตั๋วร่วม ปัจจุบันยังใช้กับขนส่งไม่หลากหลายตามที่รัฐคาดการณ์ไว้ ต้องจับตามองในปี 2564-2565 ว่า จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเป็นปีที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองเปิดใช้งาน โดยรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจะเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT สายน้ำเงิน ดังนั้น ทาง รฟม.น่าจะมีเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานว่าต้องมีระบบ ใช้ตั๋วร่วมกัน รวมถึงไม่คิดค่าตั้งต้นเพิ่มเมื่อประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 2 สายขึ้นไป

พร้อมทั้งย้ำว่า แม้ รฟม.จะให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูกับ BTS แต่เพราะมีสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ระบบตั๋วต้องเป็นระบบเดียวกัน และมีเงื่อนไขว่า ถ้าประชาชนเดินทางจากสายสีชมพูหรือสายสีเหลือง แล้วต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต้องใช้ตั๋วใบเดียวกัน และเสียค่าตั้งต้นหรือค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว เมื่อเปลี่ยนขบวนไปที่รถไฟฟ้าอีกสายก็ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีน่าจะเห็นความชัดเจนว่า รถไฟฟ้าจะมีเงื่อนไขอย่างไร เมื่อต้องใช้ระบบตั๋วร่วมกัน ผู้ประ กอบการต้องคำนวณต้นทุนหัวอ่าน ระบบบริหาร ระบบความเสี่ยงในจุดต่างๆ เพิ่มเติม และต้องหวังว่า รฟม.จะไม่ปล่อยให้ประชาชนต้องถือบัตร 2 ใบเพื่อใช้เดินทางในรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง ซึ่งเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง

และล่าสุด นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาระบุอย่างชัดเจนหลังจากมีการประชุม คณะ กรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมรับทราบความ คืบหน้าและติดตามแนวทางบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และได้สั่งการให้ รฟม.เร่งรัดการดำเนินงานบัตรแมงมุมภายใต้มาตร ฐานของ รฟม. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สรุปรายละเอียดการเปิดใช้งาน รวมถึงแก้ไขปัญหาที่ยังค้างอยู่ให้มีความชัดเจนภายใน 1 เดือน

แต่ในระยะใกล้นี้ต้องยอมรับกันไปก่อนว่า แม้จะมีรถไฟ ฟ้าสายใหม่ๆ เปิดตัวทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ยัง ต้องใช้บัตรแรบบิทเหมือนเดิม และจะเปิดส่วนต่อขยายรถไฟ ฟ้าสายสีน้ำเงินยังใช้บัตร MRT ของบริษัท ทางด่วนและรถ ไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เดิมไปก่อน พร้อมกับลุ้นกันต่อไปว่าตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมจะได้ใช้กันจริงๆ เมื่อไหร่.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2019 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

ทดลอง 3 เดือน! ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า เสนอดึงรายได้ภาษีรถยนต์อุดหนุนส่วนต่าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 18:20
ปรับปรุง: พุธที่ 4 กันยายน 2562 เวลา 08:30




“กรมราง” เสนอรูปแบบลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ทดลอง 3 เดือน คาดเริ่ม 1 ต.ค.-31 ธ.ค.นี้ นัด 6 ก.ย. คุยคลัง, กทม., สรรพากร และสำนักงบฯ ดึงรายได้ภาษีรถประจำปีชดเชย เผยไอเดียใบเสร็จรถสาธารณะ “รถไฟฟ้า-รถเมล์” ทั้งปี 1.5 หมื่นบาท ลดหย่อนภาษี

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า มาตรการลดค่าครองชีพ การลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นนโยบายเร่งด่วนของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยจะต้องไม่กระทบต่อสัญญาสัมปทาน และงบประมาณประเทศ ขณะนี้มีแนวทางเบื้องต้นและจะนำหารือในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานทางรางที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กรมสรรพากร กรุงเทพมหานคร เพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอ รมว.คมนาคมพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ รมว.คมนาคมได้ให้แนวทางเพิ่มเติมในส่วนของโครงการที่มีสัญญาผูกพันกับเอกชน ว่าให้นำรายได้ในอนาคตมาพิจารณาเพื่อไม่ให้กระทบต่อสัญญาและการใช้งบประมาณอุดหนุนรายได้ เนื่องจากการลดค่าโดยสารจะกระตุ้นให้เกิดการเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเพิ่มทำให้จำนวนผู้โดยสารเติบโตมากขึ้น

โดยรูปแบบของการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเป็นการให้ส่วนลดช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off-peak) และลดค่าโดยสารสำหรับตั๋วเดือน/ตั๋วเที่ยว โดยรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน จากราคา 14-42 บาท จะเหลือ 14-20 หรือไม่เกิน 25 บาท ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากปกติ 15-45 บาท เหลือ 15 บาท-สูงสุดไม่เกิน 25 บาท ตามระยะทาง

ในส่วนของโครงการที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเอง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับไปพิจารณาและเพื่อนำเสนอบอร์ดต่อไป

ส่วนบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เบื้องต้นรับหลักการไปพิจารณาแล้ว ซึ่งภาคเอกชนดูในเรื่องจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่คาดว่าจะหายไป ซึ่งเอกชนมีท่าทียินดีให้ความร่วมมือ และก่อนหน้านี้เอกชนได้ให้ความร่วมมือในการงดเก็บค่าโดยสารในช่วงมีพระราชพิธีสำคัญมาแล้ว

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการนำค่าใช้จ่ายจากการใช้บริการรถไฟฟ้าและขนส่งมวลชนระบบอื่นจำนวน 15,000 บาทต่อปี มาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล ในรูปแบบเดียวกับมาตรการช้อปช่วยชาติ ซึ่งจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งหากทำได้จะกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถสาธารณะเดินทางแทนรถยนต์ส่วนตัวได้มาก

อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุมวันที่ 6 ก.ย.ได้ข้อตกลงร่วมกัน คาดว่าจะเสนอเพื่อขอเริ่มทดลองการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ระยะ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค. 2562 และหากได้ผลทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มและลดปัญหาการจราจรบนถนนลง จะพิจารณาขยายเวลาให้ส่วนลดต่อไป

“รถไฟฟ้าแต่ละสายมีช่วงนอกเวลาเร่งด่วนยังไม่ตรงกัน จะต้องปรับเวลาให้เหมือนกันทั้งหมดเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารสับสน”

สำหรับรายได้ที่คาดว่าจะหายไปจากการลดราคา เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ปัจจุบันมีรายได้จากค่าโดยสารประมาณ 700 ล้านบาท/ปี หากปรับลดในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนคาดว่ารายได้จะหายไปไม่ถึง 200 ล้านบาท/ปี ส่วนสายสีม่วงก็อยู่ในระดับเท่ากันๆ แต่หากมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มจะช่วยชดเชยรายได้ที่หายไปได้

อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดในการขอนำรายได้จากภาษีป้ายวงกลม รถยนต์ประจำปี ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จัดเก็บและส่งให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งปีล่าสุดเก็บได้กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท มาใช้ชดเชยส่วนต่าง เช่น 2,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมเพราะเป็นรายได้ที่เก็บจากคนใน กทม. ซึ่งไม่กระทบต่องบประมาณรัฐและเงินภาษีคนทั้งประเทศ

@แอร์พอร์ตลิงก์พร้อมลด ดึงคนใช้ช่วงตี 5-6 โมงลดแออัด

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ กล่าวว่า ช่วง Off-peak ของแอร์พอร์ตลิงก์ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเวลา 05.30-07.00 น. ช่วงเวลา 10.00-17.00 น และช่วงเวลา 20.00-24.00 น. (ปิดให้บริการ) ไม่รวม วันเสาร์และอาทิตย์ โดยเก็บอัตราค่าโดยสารจากปกติ 15-45 บาท เหลือ 15 บาท-สูงสุด ไม่เกิน 25 บาท ตามระยะทาง หรือลดลงประมาณ 40%

การลดค่าโดยสาร เพื่อกระตุ้นการเดินทางนอกเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะช่วง 05.00-06.00 น. เพื่อกระจายผู้โดยสาร โดยปัจจุบันผู้โดยสารมีการเติบโตสูงกว่าปีก่อนกว่า 10% มีผู้โดยสารเฉลี่ย 7.5 หมื่นคน/วัน (วันจันทร์-พฤหัสบดี มีประมาณ 8 หมื่นคน วันศุกร์ มีประมาณ 9 หมื่นคน) เทียบกับปีก่อนมีผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 6.8-6.9 หมื่นคน/วัน ซึ่งเป็นผลมาจากขบวนที่วิ่งให้บริการได้เต็มที่สามารถปรับความถี่ได้ ขณะที่การจัดหารถเพิ่มนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาได้ในเร็วๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2019 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

ได้เวลารื้อบอร์ดคมนาคม -“ไกรฤทธิ์” ไขก๊อกประธาน รฟม. “ศักดิ์สยาม” ลั่นตั้งเสร็จ ก.ย.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 กันยายน 2562 เวลา 18:20
ปรับปรุง: 6 กันยายน 2562 เวลา 08:42

“ศักดิ์สยาม” ส่งสัญญาณปรับบอร์ดเสร็จใน ก.ย. ย้ำหน่วยมีกำไรไม่เปลี่ยน ด้าน “ไกรฤทธิ์” ไขก๊อกประธานบอร์ด รฟม.แล้ว คาดตั้ง “ชัยวัฒน์” นั่งแทน เผยบอร์ดรถไฟหารือ “นายกฯ” แก้ปม ม.44 แล้ว ส่วนรถไฟฟ้าสีส้มด้านตะวันตก 1.2 แสนล้าน “สมคิด-คลัง” พร้อมหนุนชง ครม.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณากระบวนการ และการกำกับดูแลการแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคมต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2562 โดยควรจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2562 เพื่อเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่

ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีกำไรก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน และอยู่ในแผนฟื้นฟู ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บอร์ดเดิมลาออกไปแล้วอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้หารือกับ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแล ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งมีประเด็นว่าบอร์ดแต่งตั้งโดยคำสั่งมาตรา 44 ซึ่งได้นำเรียน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบประเด็นนี้แล้ว

“ผมให้ปลัดคมนาคมไปดูกฎหมายและให้เสนอเข้ามาว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมาพอผมพูดก็บอกว่ารัฐมนตรีบ้าอำนาจ ผมก็ไม่อยากใช้อำนาจรัฐมนตรี ให้ดูระเบียบกฎหมายเป็นหลัก ส่วนบอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ที่ยื่นลาออกไปก่อนหน้านี้

@“ไกรฤทธิ์” ไขก๊อกประธานบอร์ด รฟม. คมนาคมเตรียมตั้ง “ชัยวัฒน์” นั่งแทน

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2562 นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ด 2 คน ได้แก่ นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายชูศักดิ์ เกวี ซึ่งเป็นกรรมการ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ยื่นใบลาออกแล้วเพื่อเปิดทางให้มี

การแต่งตั้งบอร์ด รฟม.ชุดใหม่ รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ในเบื้องต้นประธานบอร์ด รฟม.คนใหม่จะเป็น นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ส่วน ขสมก.จะมีการแต่งตั้น นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับแต่งตั้งไปเป็นอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562

@เดินหน้ารถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน เผย “สมคิด-คลัง” พร้อมหนุนชง ครม.

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Cost เดินรถตลอดสาย มูลค่ารวม 122,041 ล้านบาทนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ล่าสุดได้หารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตามแผนเดิมที่อยู่ใต้กรอบวินัยการเงินการคลังปี 2563 ซึ่งทางกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะหาแนวทางให้ได้ไม่มีปัญหา

“สายสีส้มผ่าน กก.PPP แล้ว เหลือเพื่อติดเพดานวินัยการเงินการคลัง ซึ่งในที่ประชุม ครม.ศก. วันที่ 6 ก.ย. จะหารือกับรองนายกฯ สมคิดอีกครั้ง นอกจากนี้จะรายงานความคืบหน้าโครงการในอีอีซีภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคมต่อที่ประชุมด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2019 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' เตรียมใช้กฎหมายเอาผิดเอกชน แก้ปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องเก่ง
6 กันยายน 2562 เวลา 15:44 น.

...นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ประเด็นที่รถไฟฟ้าใต้ดินเกิดปัญหาขัดข้องบ่อย ได้สั่งการให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแล้ว โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ประกอบการ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเพิ่มขบวนรถอาจเกิดเหตุขัดข้อง แต่พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น และอยู่ระหว่างเพิ่มขบวนรถอาจเกิดเหตุขัดข้อง แต่พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับตามนโยบายกระทรวงหากเกิดเหตุขัดข้อง ต้องรายงานให้ผู้โดยสารและกระทรวงคมนาคมรับทราบ อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาขาดการสื่อสารจนผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ อำนาจลงโทษผู้ประกอบการที่บกพร่องเกี่ยวกับปัญหาการเดินรถนั้น กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างรออำนาจตาม พ.ร.บ.กรมการขนส่งทางรางฉบับใหม่ที่จะให้กรมฯ กำหนดบทลงโทษ ระหว่างนี้ยังเป็นมาตรการขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เพื่อรอกฎหมายใหม่

...นอกจากนี้ ยังมีการประชุมกำหนดแนวทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขร.ตั้งเป้าหมายจะประชุม 2 ครั้ง คือ วันนี้ และอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า หลังได้ข้อสรุปจะนำเสนอแนวทางให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา โดยเชื่อว่าการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า จะสามารถประกาศบังคับใช้ได้ปีนี้

โดยเบื้องต้น ต้องหารือกับผู้ประกอบการถึงรูปแบบในการปรับลดราคา เช่น บีทีเอส ปัจจุบันมีตั๋วเดือนอยู่แล้ว โดยมีรูปแบบการใช้งาน ซื้อภายใน 1 เดือน คิดค่าเดินทางเป็นเที่ยว ถูกสุดเที่ยวละ 26 บาท สูงสุดมากกว่า 45 บาท ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินและแอร์พอร์ตลิงค์ที่ยังไม่มีตั๋วเดือน ซึ่งต้องหารือว่ามีแนวทางปรับลดค่าโดยสาร เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างไร

อย่างไรก็ตามจะหารือกับเอกชนว่า จะสามารถปรับลดราคาจากราคาสูงสุดสูงสุด 45 บาท เหลือ 25 บาทได้หรือไม่ ปัจจุบันช่วงนอกเวลาเร่งด่วนผู้โดยสารมีน้อย จะลดค่าโดยสารนอกช่วงเร่งด่วนใช้เวลา 13 ชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าเย็นอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมง จะเสนอแนวทางลดราคาจากการจัดทำตั๋วเดือนกับลดค่าโดยสารทำเพดานสูงสุดช่วงหลังชั่วโมงเร่งด่วน (ออฟพีค)

ทั้งนี้การปรับลดราคา ข้อดี คือ คนอาจจะเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วนมากขึ้น ช่วยลดความแออัด รถส่วนตัวลดลง โดยจะหารือหน่วยงานต่างๆว่ามีความพร้อมหรือไม่ ซึ่ง 2 รูปแบบนี้จะไม่กระทบกับสัญญาสัมปทานและงบประมาณที่จะใช้ รวมถึงจะหารือว่ามีความพร้อมหรือไม่ ก็จะฟังเงื่อนไขของผู้ประกอบการ เพราะรถไฟฟ้าใช้ระบบที่แตกต่างกัน

แต่เบื้องต้นทุกฝ่ายยินดีเข้าร่วม แต่ถ้าจะทำให้เกิดทั้งระบบทั้งสัมปทานและภาครัฐ คาดว่าจะสรุปภายในเดือนนี้ ในส่วนของกรมการขนส่งทางราง ที่รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการภายใต้กรอบที่ภาครัฐต้องไปรับภาระชดเชยต่างๆ น้อยที่สุด หรือไม่ต้องรับภาระเลยรูปแบบนี้มองว่า หน่วยงานที่ให้บริการอาจจัดเก็บรายได้ต่อเที่ยว ลดลง แต่ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2019 11:11 am    Post subject: Reply with quote

ไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายใหม่
6 กันยายน 2562

ปัจจุบันระบบราง มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากช่วยขนคน จำนวนมากไปยังพื้นที่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ลดมลพิษ ประหยัดต้นทุนพลังงาน ขณะเส้นทางของถนน มีข้อจำกัดในการขยายเขตทาง เสียเวลามีต้นทุนเวนคืน โดยเฉพาะพื้นที่เขตเมือง อย่างไรก็ตาม ปี 2562 รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นระบบรางให้เชื่อมโยงถึงกันแบบไร้รอยต่อ ทั้งบก-นํ้า-อากาศ ของกระทรวงคมนาคม

ม่วงใต้: เตาปูน - ครุใน 23.26 กิโลเมตร หวังจะเสร็จปลายปี 2567

ส่มตะวันออก: มีนบุรี - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 21.2 กิโลเมตร เสร็จปลายปี 2566

ส้มตะวันตก: ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนท์ 13.4 กิโลเมตร เสร็จปลายปี 2569

สีน้ำเงิน: หลักสอง - พุทธมณฑลสาย 4 (สุดเขตกรุงเทพ) 8 กิโลเมตร กะจะเสร็จปลายปี 2566

สีแดงเข้ม:
บางซื่อ - รังสิต 26.3 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2564
รังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต 8.84 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2565
บางซื่อ - หัวลำโพง 5.75 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2567

สีแดงอ่อน:
บางซื่อ - ตลิ่งชัน 15.26 กิโลเมตร
ศาลายา - ตลิ่งชัน - ศิริราช 20.5 กิโลเมตร (ศาลายา - ตลิ่งชัน 14.8 กิโลเมตร + ตลิ่งชัน - ศิริราช 5.7 กิโลเมตร ) กะจะเสร็จ ปลายปี 2567
บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก 25.9 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2567

โมโนเรลสายสีชมพู: ศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี ง 33 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2564
โมโนเรลสายเหลือง : ลาดพร้าว - สำโรง 33 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2564

โมโนเรลสายสีน้ำตาล: ศูนย์ราชการนนทบุรี - เกษตร - ลำสาลี 21 กิโลเมตร กะจะเสร็จ ปลายปี 2568

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2507465595967037&set=p.2507465595967037&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 11:00 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแพ็กเกจลดราคาค่าเดินทาง คนกรุงรอเฮ!ประกาศใช้
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด"
อังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ไปดูนโยบายเร่งด่วน “คมนาคมยูไนเต็ด” เปิดแพ็กเกจลดราคาครองชีพให้ประชาชน “ค่ารถไฟฟ้า-ทางพิเศษ-รถเมล์” ถูกลง หากประกาศใช้คนกรุงเฮลั่น!

สัปดาห์นี้ มายิ้มๆ กับข่าวดีจากกระทรวงคมนาคม ที่เปิดแพ็กเกจลดค่าเดินทางตามนโยบายรัฐบาลลดค่าครองชีพให้ประชาชน และนโยบายเร่งด่วนของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ภายใต้สโลแกน “คมนาคมยูไนเต็ด” นั่นเอง แผนโปรโมชั่นลดราคาคืบหน้าไปถึงไหนแล้วมาอัพเดทกัน

เริ่มที่ กรมการขนส่งทางราง(ขร.) หน่วยงานควบคุมดูแลระบบราง กำลังจัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า รวมทั้งพิจารณาระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อดูปริมาณผู้โดยสารช่วงเร่งด่วน(พีค) และออฟพีค(นอกเวลาเร่งด่วน) รายได้ รายจ่ายของผู้ประกอบการแต่ละราย รวมถึงศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับแหล่งกองทุนต่างๆ เพื่อนำเงินจากกองทุนมาสนับสนุนการปรับลดค่าโดยสารครั้งนี้ ไม่ให้กระทบต่องบประมาณแผ่นดิน เช่น กองทุนพลังงาน กองทุนประมูลป้ายทะเบียนเลขสวย และกองทุนอื่นๆ

ขณะที่คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงคมนาคมเพื่อทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง เริ่มคำนวณแนวทางการลดค่าโดยสารในรูปแบบต่างๆ อาทิ การจัดทำตั๋วเที่ยวเดียว และตั๋วเดือน โดยให้ส่วนลดสูงสุดช่วงออฟพีคที่มีผู้โดยสารน้อยกับรถไฟฟ้า 4 สายคือ รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที(MRT) สายสีม่วง(บางใหญ่-เตาปูน) สายสีน้ำเงินสายหลัก(หัวลำโพง-บางซื่อ) และส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-หลักสอง) ในกำกับของรัฐ คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รวมทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)



เบื้องต้นรฟม. ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ผู้รับสัมปทานออกผลิตภัณฑ์ตั๋วเที่ยวเดียวร่วมเดินทางในระบบรถไฟฟ้า3สายคือสายสีม่วง สีน้ำเงินและส่วนต่อขยายในรูปแบบของตั๋วโดยสารจำกัดวันและช่วงเวลา เช่น ตั๋ว15 วัน, ตั๋ว 20 วัน ,ตั๋ว 30 วันราคาถูกกว่าตั๋วปกติถึง30-40% เพื่อดึงดูดผู้โดยสารใช้บริการมากขึ้น อีกทั้งจะส่งผลให้ผู้ใช้รถส่วนตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทิ้งรถบ้านมาใช้รถไฟฟ้า ช่วยแก้ปัญหารถติด ขณะที่ผู้มีรายได้น้อยจะได้เอื้อมถึงรถไฟฟ้ามากขึ้น

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอตเรลลิงก์ได้หารือรฟท. เตรียมมาตรการปรับลดค่าโดยสารช่วงออฟพีค 05.30-09.00 น.,10.00-17.00 น. และ 20.00-24.00 น. ด้วยการเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 20บาท สูงสุดไม่เกิน 25 บาท จากเดิม15- 45 บาท เฉพาะวันธรรมดาเท่านั้นไม่รวมวันเสาร์อาทิตย์ เนื่องจากช่วงออฟพีคมีผู้เดินทางเฉลี่ย 70% ยังพอรองรับการเดินทางเพิ่มขึ้น

สำหรับโหมดถนน ผู้ใช้รถส่วนตัวจะเซฟค่าใช้จ่ายลง โดยกรมทางหลวง (ทล.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางปรับลดค่าผ่านทางพิเศษทุกประเภท 5-10 บาทไม่ให้กระทบกับเอกชนคู่สัญญา ทล.เตรียมลดค่าผ่านทาง 10% สำหรับรถที่ชำระค่าผ่านทางด้วยเอ็มพาส และอีซีพาสเบื้องต้นจะนำเงินกองทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมผ่านทางมาสนับสนุนการดำเนินการ ขณะนี้คณะกรรมการบริหารเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางอยู่ระหว่างการพิจารณา หากไม่สามารถนำเงินกองทุนมาชดเชยการลดค่าผ่านทางได้ ทล. อาจจะต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม โดยแบ่งออกเป็น 2 อัตรา คือสำหรับรถที่ชำระค่าผ่านทางเป็นเงินสด และรถที่ชำระค่าผ่านทางผ่านระบบ ETC โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา ทล.ได้ทำหนังสือถามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด้าน กทพ.อยู่ระหว่างลดราคาอีซี่พาส5บาทและกำลังประเมินผล



สำหรับแฟนคลับรถเมล์ ไม่ต้องน้อยใจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ได้พิจารณาเพิ่มส่วนลดค่าโดยสารให้ตั๋วล่วงหน้าทั้งตั๋วสัปดาห์ ตั๋วเดือน และตั๋วนักเรียนนักศึกษา เช่น ตั๋วล่วงหน้าสำหรับใช้บริการรถเมล์ปรับอากาศมีค่าเดินทางต่อวันราว 40 บาท หากเดินทาง1เดือนตกประมาณ1,200 บาท ขสมก.อาจให้ส่วนลดเหลือเดือนละ1,000 บาท ส่วนตั๋วเงินสดรายวันหากปรับลดราคาต้องไม่กระทบภาระงบประมาณรัฐบาลและ ขสมก. เช่นต้องเจรจากับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขอส่วนลดจำหน่ายก๊าซราคาถูกพิเศษ เพื่อลดภาระต้นทุนจึงจะปรับลดค่าโดยสารได้

ในส่วนของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้มอบส่วนลดให้ผู้โดยสาร 10% อยู่แล้ว จัดโปรโมชั่นถึงสิ้นเดือนก.ย. 62 ส่วนว่าจะมีมาตรการลดค่าครองชีพเพิ่มเติมหรือไม่นั้น นายจิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส.) บอกว่า กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะกำกับดูแลบขส. เป็นผู้พิจารณาและเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง บขส.ไม่ได้ขัดข้อง



ส่วนใครที่ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าทางด่วนโทลล์เวย์ คู่สัญญาของกรมทางหลวง ซึ่งบ่นว่าแพงเพราะตลอดสายต้องจ่ายกว่า 100 บาท และจะยิ่งอ่วมกันไปอีกเพราะวันที่ 22 ธ.ค. นี้ โทลล์เวย์จะปรับค่าผ่านทางเพิ่มอีก 10-15 บาทนั้น นายธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง บอกว่า ปัจจุบันโทลล์เวย์มีมาตรการดูแลค่าครองชีพประชาชนอยู่แล้วคือให้ส่วนลด 5% แก่ผู้ซื้อคูปองผ่านทาง แต่ยังใช้คูปองไม่มากจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกิดความรับรู้มากขึ้น แต่ไม่สามารถลดราคาลงได้มากกว่านี้ เนื่องจากรายได้รวมปีนี้มีแนวโน้มลดลงกว่าปีก่อน เพราะปริมาณผู้ใช้ทางลดลงจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยามได้สั่งการกรมทางหลวงไปเจรจาคู่สัญญาว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ใช้ทางในการปรับราคาครั้งนี้ได้อย่างไรบ้าง

หลายคนอาจจะผิดหวัง ที่ไม่สามารถหั่นค่ารถไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสายได้ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง

แต่หากมาตรการลดราคาค่าเดินทาง “คมนาคมยูไนเต็ด” ที่มาเป็นแพ็กเกจประกาศใช้เชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ก็จะเฮ!!ลั่น ได้ลดค่าครองชีพ เหมือนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดีใจกันใหญ่ที่รัฐบาลแจกเงินให้ใช้อีก 1 พันบาท.
.................................
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2019 7:05 am    Post subject: Reply with quote

ธ.ค.ได้นั่งแน่รถไฟฟ้าราคาถูก4สาย
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

Click on the image for full size

"กรมราง" เร่งทำผลงานชิ้นโบแดง เปิดสูตรลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 สาย ชง 2 แนวทาง คลอดตั๋วเดือน 300-500 บาท หั่นราคาช่วง off peak เหลือ 20-25-30 บาท บีทีเอสขอดูรายละเอียด จ่อชง "ศักดิ์สยาม" ไฟเขียว ก.ย. คิกออฟ ธ.ค.นี้ คาดคนใช้เพิ่ม 1.5 แสนเที่ยวคนต่อวัน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า วันที่ 6 ก.ย. 2562 เป็นครั้งแรกที่คณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีคำสั่ง แต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา

2 แนวทางลดค่ารถไฟฟ้าเริ่มปีนี้

โดยคณะกรรมการมีอธิบดีกรมรางเป็นประธาน มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)

"มี 2 แนวทาง คือ ให้ส่งเสริมการใช้บัตรโดยสารแบบรายเดือน และลดราคาในช่วง off peak หรือนอกเวลาเร่งด่วน ให้ไปพิจารณาลดอัตราสูงสุด เหลือ 20-25-30 บาท เช่น สีม่วงจาก 14-42 บาท เหลือ 14-20 บาทเพื่อจูงใจคนเดินทาง มากขึ้น ลดความแออัดช่วงเร่งด่วน คาดว่าจะทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกระบบ 10% หรือประมาณ 1.5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.33 ล้านเที่ยวคนต่อวัน คาดว่าภายในเดือน ก.ย.นี้จะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาและเริ่มทดลองได้ภายในปีนี้"

สั่งจัดโปรโมชั่นบัตรรายเดือน

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า เป็นความพยายามอย่างยิ่งของกรมการขนส่งทางรางที่จะทำให้สำเร็จ ซึ่งผลประชุมก็เป็นที่น่าพอใจ หลังได้ดูข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผู้โดยสารในช่วงเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน รายได้ การส่งเสริมการเดินทางในแต่ละระบบเพื่อลดรายจ่ายของประชาชน

ทั้งนี้ แนวทางระยะสั้นที่ทำได้ง่ายและจะดำเนินการให้ทันภายในปีนี้ คือ ให้รถไฟฟ้าแต่ละระบบมีการจัด โปรโมชั่นบัตรโดยสารแบบรายเดือนและจำกัดจำนวนเที่ยว เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง ซึ่งปัจจุบันบีทีเอสได้ดำเนินการอยู่แล้ว มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยว โดยลดลงจากค่าโดยสารโดยเฉลี่ย ต่อเที่ยว 29 บาท ลงมาที่ 12%

BEM-BTS พร้อมให้ความร่วมมือ

แต่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสาย สีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ได้ยกเลิกบัตรโดยสารรายเดือนไปแล้วเมื่อเดือน ส.ค. 2560 ทั้งนี้ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้กรุงเทพ (BEM) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่กำกับดูแลทั้ง 2 สายทางก็พร้อมที่จะสนับสนุนที่ทำบัตรโดยสารรายเดือน แต่ขอเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติก่อน ขณะที่แอร์พอร์ตลิงก์อยู่ระหว่างดำเนินการจะทำโปรโมชั่นนี้และรอเสนอให้บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อนุมัติเร็ว ๆ นี้

โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ให้รถไฟฟ้าแต่ละระบบ เพื่อให้บอร์ดแต่ละแห่งพิจารณา และปรับเวลาช่วงเร่งด่วน (peak hour) และไม่เร่งด่วน (off peak hour) ให้ตรงกันเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารเกิดความสับสน และลดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป

"แอร์พอร์ตลิงก์มีช่วงเร่งด่วน 3 ช่วง คือ 05.30-07.00 น. ช่วง 10.00-17.00 น. และช่วง 20.00-24.00 น. สายอื่น ๆ จะเป็นช่วงเช้า-เย็น สายสีน้ำเงิน ช่วง 06.00-09.00 น. และช่วง 16.00-19.30 น. สีม่วง ช่วง 06.30-08.30 น. และช่วง 17.00-19.30 น. บีทีเอส ช่วง 07.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น."

ทั้งนี้ ช่วงเร่งด่วนจะมีรถไฟฟ้าให้บริการ 6 ชั่วโมง และมีคนใช้บริการ 60% ส่วนช่วงไม่เร่งด่วนจะให้บริการอยู่ที่ 13 ชั่วโมง และมีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 40% ซึ่งเวลาการให้บริการยังเหลื่อมล้ำ กันอยู่ให้ทำเป็นมาตรฐานเดียวกัน

นั่งสีม่วง-น้ำเงิน 48 บาท

"แอร์พอร์ตลิงก์จะลดราคาสูงสุด ช่วงไม่เร่งด่วนให้ 40% จากปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 15-45 บาท ส่วนบัตรรายเดือน อยากให้แต่ละระบบกำหนดราคาอยู่ที่ 300-500 บาท สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินจะทำ โปรโมชั่นร่วมกัน จากปัจจุบันราคาสูงสุดอยู่ที่ 70 บาทต่อเที่ยว ทาง BEM อยู่ระหว่างเสนอให้บอร์ดพิจารณาลดราคาอาจจะเป็น 48 บาทต่อเที่ยว ขณะที่บีทีเอส ขอนำข้อมูลกลับไปพิจารณารายละเอียด ทั้งนี้ ในส่วนของบีทีเอสส่วนต่อขยายทางกรุงเทพมหานครจะคงราคา 15 บาทตลอดสายไว้"

แอร์พอร์ตลิงก์ลด 40%

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และเป็นการจูงใจให้มาใช้บริการนอกชั่วโมงเร่งด่วน จะลดอัตราค่าโดยสารลงอีก 40%

แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ระหว่างเวลา 05.30-07.00 น. ช่วงที่ 2 ระหว่างเวลา 10.00-17.00 น. และช่วงที่ 3 ระหว่างเวลา 20.00-24.00 น. จากอัตราค่าโดยสารปกติ เริ่มต้นที่ 15-45 บาท เหลือ 15-25 ตามระยะทาง เป็นระยะเวลา 3 เดือน คาดว่าจะเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติภายในเดือนนี้

ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงก์มีปริมาณ ผู้โดยสารเฉลี่ย 75,000 เที่ยวคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14% และมี ผู้ถือบัตรโดยสารประมาณ 300,000 ใบ ในช่วงวันจันทร์-พฤหัสบดีมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 80,000 เที่ยวคนต่อวัน วันศุกร์ใช้บริการ 90,000 เที่ยวคน ต่อวัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีให้ความร่วมมือ แต่ต้องวิน-วินด้วย คือ ประชาชนได้ประโยชน์ และเอกชนอยู่ได้ ซึ่งขอดูรายละเอียดและข้อเสนอจากภาครัฐก่อน เช่น เก็บอัตราเท่าไหร่ ทั้งนี้ บีทีเอสมีการจัดทำบัตรโดยสาร รายเดือนแบบจำกัดเที่ยวอยู่แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 2:48 am    Post subject: Reply with quote

รายงานความก้าวหน้า 31 สิงหาคม 2562
สายเขียว หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต: โครงสร้าง เสร็จ 100% กำลังติดตั้ง สัญญาณ ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

สายน้ำเงิน หัวลำโพง - บางแค (หลักสอง) และ เตาปูน - ท่าพระ โครงสร้าง เสร็จ 100% กำลังติดตั้ง สัญญาณ ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ทำเสร็จไป 88.37%

สายสีชมพู มีนบุรี - แคราย โครงสร้างเสร็จ 42.15% กำลังติดตั้ง สัญญาณ ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ทำเสร็จไป 33.24%

สายสีเหลือง ลาดพร้าว - สำโรง โครงสร้างเสร็จ 41.77 % กำลังติดตั้ง สัญญาณ ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ทำเสร็จไป 33.25%

สายสีส้ม โครงสร้างเสร็จไป 44.43%

https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2310187482531306/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 277, 278, 279  Next
Page 202 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©