Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180450
ทั้งหมด:13491684
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 10:47 pm    Post subject: Reply with quote

ดราม่าหนัก ชาวบ้านคุกเข่าไหว้วอน จนท.ห้ามร่วมเวทีฟังความเห็น สร้างท่าเรือบก
สนทะนาพร อินจันทร์
26 มกราคม 2562


โครงการท่าเรือบกฉะเชิงเทราส่อเค้าวุ่น หลังชาวบ้านรวมตัวค้านยันให้คงพื้นที่สีเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 มกราคม 2562 17:27
ปรับปรุง: 26 มกราคม 2562 17:35

ฉะเชิงเทรา - ชาวบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา รวมตัวค้านเวทีรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในโครงการท่าเรือบก รับ EEC ที่ สนข.จัดขึ้น พร้อมอ่านแถลงการ 4 ข้อปฏิเสธโครงการ ทั้งเรียกร้องให้คงพื้นที่สีเขียว

วันนี้ (26 ม.ค.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครั้งที่ 3 ในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ท่าเรือบก) รองรับ EEC ที่หอประชุมที่ว่าการ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมี นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน เป็นประธาน โดยมีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่กว่า 150 คน ถือป้ายประท้วงขับไล่โครงการ ใจความ "ไม่เอาท่าเรือบก" และ "ต่อต้านโครงการ EEC" ปิดประตูทางเข้าออกไปยังหอประชุมทุกด้าน พร้อมส่งเสียงโห่ร้องไม่เอาทั้ง 2 โครงการเป็นระยะ

โดยมี นายศรายุทธ สนรักษา นักเคลื่อนไหวและชุมนุมต่อต้านโครงการต่างๆ นำชาวบ้านเข้ายืนขวางกั้นประตูทางเข้าและผลักดันไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชาวบ้านบางส่วนเข้าร่วมการประชุม จนทำให้เวทีรับฟังความคิดเห็นที่มีการจัดเตรียมเก้าอี้ไว้ให้ประชาชนร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 400 ที่นั่ง มีเพียงกลุ่มเจ้าหน้าที่ และเจ้าของที่ดินบางส่วนเข้าร่วมฟังได้เพียง 30 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาโครงการได้เปิดวิดีทัศน์ และบรรยายเนื้อหาในโครงการแก่ผู้ที่สามารถผ่านเข้าร่วมการประชุมได้ พร้อมตอบข้อซักถามในข้อข้องใจจากผู้ที่เป็นฝ่ายเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในแง่มุมต่างๆ และการเยียวยาชดเชยผลประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งสิ่งที่จะสูญเสียไป

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวดำเนินไปได้ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงยุติลง ท่ามกลางกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังคงปักหลักอยู่ที่ด้านหน้าตัวอาคารหอประชุมอำเภอ ก่อนที่ นายประมวล อินม่วง ชาว อ.บ้านโพธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้เคลื่อนไหวจะอ่านแถลงการณ์ปฏิเสธการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่สอดคล้องต่อภูมินิเวศวิถีวัฒนธรรมการหาอยู่กินโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และปฏิเสธการเวนคืนที่ดินในผืนแผ่นดิน ต.หนองตีนนก เพื่อทำโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ไอซีดี) รองรับโครงการ EEC

ประกอบด้วย 1.ที่นี่เป็นพื้นที่สำคัญในการผลิตอาหารประเภทสัตว์น้ำจืด โรงเพาะฟักสัตว์น้ำวัยอ่อน ตรงกับข้อมูลของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี

2.ภูมินิเวศที่เป็นหนองน้ำตามชื่อตำบลหนองตีนนก ซึ่งสอดคล้องต่อข้อมูลของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม

3.พื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วยลำรางหลักในการระบายน้ำหลักของลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งตรงกับข้อมูลของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการระบายน้ำในลุ่มน้ำบางปะกง

4.ชาวตำบลหนองตีนนก จะไม่ย้ายบ้านและที่ทำกินไปไหนเด็ดขาด จะขออยู่ขอตายที่นี่ พร้อมเรียกร้องให้พิจารณายกเลิกโครงการและคงไว้ซึ่งที่ดินเกษตรกรรมหรือผังเมืองสีเขียวใน ต.หนองตีนนก และข้างเคียง ตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ละเมิดมิได้ที่ประชาชนท้องถิ่นดั้งเดิมพึงมี

โดยหลังการอ่านแถลงการณ์แล้วเสร็จ กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงรวมตัวและพักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันที่บริเวณด้านหน้าห้องประชุมจนถึงเวลาประมาณ 12.30 น. จึงสลายการชุมนุม ซึ่งการชุมนุมในวันนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชาวบ้านจาก ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เกือบ 40 คน และชาวบ้านใน ต.เขาดิน อ.บางปะกง จำนวนประมาณ 6-7 คน ซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่การก่อสร้างโครงการเดินทางมาร่วมชุมนุมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/03/2019 7:49 am    Post subject: Reply with quote

‘รฟท.’เพิ่มสปีดทางคู่อีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ 12 มี.ค. 62

Click on the image for full size

“รฟท.” เพิ่มประสิทธิภาพรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ดันทางคู่ศรีราชา-มาบตาพุด คาดลดเวลาเดินทางจาก 4 ชม. เหลือ 2 ชม. เพิ่มความเร็วจาก 50 กม/ชม. เป็น 90 กม./ชม. เผย หากอีไอเอเสร็จในปี 2563 จะเปิดดำเนินการได้ในปี 2568


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังผลักดันระบบรางในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) จะเจรจาครั้งสุดท้ายกับกลุ่มซีพีในวันที่ 19 มี.ค.นี้ รวมทั้งขณะนี้กำลังผลักดันรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง สัตหีบ มาบตาพุด) ซึ่งจะรองรับการขนส่งสินค้าที่จะมากขึ้นตามการพัฒนาอีอีซี

วานนี้ (11 มี.ค.) รฟท.จัดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เปิดเผยว่า การศึกษาทั้ง 2 โครงการ จะปรับปรุงทางรถไฟเดิม และแก้ไขปัญหาจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราชา ระยะทาง 115 กิโลเมตร

รวมทั้งก่อสร้างทางคู่ ช่วงชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด และชุมทางเขาชีจรรย์-สัตหีบ และก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองบริเวณชุมทางศรีราชาและชุมทางเขาชีจรรย์ ระยะทาง 85 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 200 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีในแนวเส้นทาง 33 สถานี

ลดจุดตัดทางรถไฟ195จุด

สำหรับ โครงการนี้ จะลดจุดตัดทางรถไฟที่มี 195 จุด โดยแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ 5 แบบ ได้แก่ 1.สร้างสะพานรถไฟข้ามถนน 62 จุด 2.สร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 52 จุด 3.สร้างสะพานกลับรถรูปตัว U 2 จุด 4.สร้างทางลอดทางรถไฟ 79 จุด 5.สร้างทางบริการข้างทางรถไฟ 12 แห่ง รวมทั้งการออกแบบสะพานลอยคนและจักรยานยนต์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยง

โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความเร็วการเดินรถไฟจากปัจจุบันที่ทำความเร็วได้เฉลี่ย 50 กม./ชม. จะเพิ่มความเร็วเป็น 90 กม./ชม. ลดเวลาการเดินทางจากสถานีรถไฟหัวหมากถึง อ.ศรีราชา ที่สถานีบ้านตาหลวง จากเดิม 3-4 ชั่วโมง เหลือ 2 ชั่วโมง

สำหรับงบก่อสร้างประเมินไว้ที่ 30,000 ล้านบาท หลังการออกแบบอาจเพิ่มหรือลดงบ 20% ส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์) อยู่ที่ 19.9% สูงกว่าค่ามาตรฐานโครงการภาครัฐที่ระดับ 12% ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน โดยผลตอบแทนรัฐที่สูงมาจากการประหยัดระยะเวลาและเพิ่มปริมาณขนส่งคนและสินค้า การลดอุบัติเหตุ และการลดมลพิษ

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะรองรับการขยายตัวของอีอีซี รวมทั้งการขยายตัวของกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ รวม 5 จังหวัด คาดว่าจะเสร็จปี 2568 ซึ่งจะมีประชากร 15 ล้านคน และในปี 2598 จะเพิ่มเป็น 19 ล้านคน นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติปี 2568 อยู่ที่ 121 ล้านคน และปี 2598 จะเพิ่มเป็น 275 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมปี 2568 มีมูลค่า 7.5 ล้านล้านบาท และในปี 2593 จะเพิ่มเป็น 25 ล้านล้านบาท

ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น3.7%ต่อปี

ส่วนผู้โดยสารในปี 2568 จะมีผู้ใช้รถไฟ 4.2 ล้านคน และในปี 2598 จะเพิ่มเป็น 12.8 ล้านคน หรือขยายตัว 3.7% ต่อปี จำนวนสินค้าที่ขนส่งผ่านทางรถไฟในปี 2568 จะมีสินค้า 4.6 ล้านทีอียูต่อปี และในปี 2598 จะเพิ่มเป็น 14 ล้านทีอียูต่อปี โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังจะรองรับการขยายตัวในเฟส 3 จะเพิ่มจากปัจจุบัน 8 แสนทีอียู ในปี 2593 จะเพิ่มเป็น 4.8 ล้านตู้ โดยในปัจจุบันใช้รถบรรทุกขนส่งมากที่สุดมีสัดส่วนสูงถึง 87.5% รองลงมาเป็นทางเรือชายฝั่ง 7.0% และทางรถไฟเพียง 5.5%

"โครงการนี้จะเพิ่มศักยภาพการขนส่งเชื่อมโยง 3 ท่าเรือหลัก ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่จะมีสินค้าและจำนวนคนเข้าออกทั้ง 3 ท่าเรือนี้เพิ่มขึ้น และถ้าไม่ปรับปรุงทางรถไฟจะเกิดปัญหาจราจรอย่างหนัก"

คาดศึกษาเสร็จ เม.ย.นี้

สำหรับกรอบการดำเนินการในอีก 1 เดือนหลังจากนี้ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะใช้เวลาอีก 6 เดือน ออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเสร็จปลายปี 2562 และทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จในปี 2563 หากผ่านขั้นตอนนี้แล้วจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และเปิดใช้ปี 2568 ส่วนการเวนคืนที่ดินจะไม่มาก เพราะใช้ที่ดินรฟท.เป็นหลัก

นายสมเกียรติ กล่าวว่า การป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบในเบื้องต้น จะสำรวจสภาพน้ำท่วมของพื้นที่ที่แนวเส้นทางโครงการ เพื่อออกแบบรายละเอียดระบบระบายน้ำให้เหมาะสม รวมทั้ง จะกำหนดสร้างทางลอด ทางเชื่อมชุมชนตลอดแนวเส้นทางโครงการ โดยต้องรับฟังความเห็นของประชาชน กำหนดให้มีการวางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการจราจร ตั้งแต่ก่อนถึงบริเวณก่อสร้างจนกระทั่งถึงบริเวณก่อสร้างเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับความปลอดภัยและสะดวกในการเดินทาง

ด้านการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กำหนดให้การศึกษาอีไอเอ ต้องศึกษารายละเอียดของผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน และแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยให้ติดตั้งกำแพงกันเสียงถาวร ในบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีระดับเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจสอบสภาพท่อ ทางระบายน้ำตลอดแนวเส้นทางโครงการ หากพบว่าอุดตันต้องรีบนำออกโดยเร็ว เพื่อมิให้กีดขวางทางระบายน้ำ ตรวจสอบการใช้งานของทางลอดและทางข้ามสม่ำเสมอ หากพบว่ามีปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2019 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เพิ่มศักยภาพทางคู่ 2 สายเชื่อม 3 ท่าเรือ EEC รับสินค้า 40 ล้านตัน/ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 มีนาคม 2562 เวลา 19:06
ปรับปรุง: 12 มีนาคม 2562 เวลา 11:54


ร.ฟ.ท.ศึกษาออกแบบทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด และเพิ่มความจุสายหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ระยะทางรวม 200 กม. เพื่อขยายศักยภาพการขนส่งทางรางเชื่อม 3 ท่าเรือ และพื้นที่ EEC ได้ 40 ล้านตัน/ปี เดินทาง กทม.-ระยองใน 2 ชม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กม. เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาโครงการเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ถือเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ EEC และเสริมศักยภาพด้านการเดินทางและขนส่งให้กับพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ประหยัดเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยอง โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง

อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้ารองรับผู้โดยสารปริมาณ 4 ล้านคน/ปี และรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40 ล้านตัน/ปี ในปีเปิดให้บริการ

นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่ 1. สะพานรถไฟข้ามถนน 2. สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 3. สะพานกลับรถรูปตัวยู 4. ทางลอดทางรถไฟ 5. ทางบริการข้างทางรถไฟ ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคนและมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ

สำหรับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ระยะทาง 115 กม.มีทางรถไฟเดิม โดยจะเป็นการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางผ่าน

โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด รระยะทาง 46 กม. จะมีการก่อสร้างจากทางเดี่ยวเดิมให้เป็นทางคู่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2019 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

ส่อขัดแย้งรถไฟเชื่อม3ท่าเรือ
จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 17.27 น.

รฟท. เปิดเวทีรับฟังความเห็น รอบ 2 โครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ ระยะทาง 200 กม. ยกระดับการเดินทาง แก้ปัญหาจุดตัดรถไฟลดอุบัติเหตุ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่11มี.ค. ณ ห้องพาวิลเลี่ยน BCD โรงแรมแกรนด์โฟร์วิงค์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร นายสุนิติ ปุณยมหาศาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางกะปิ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา – มาบตาพุด เชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กม.เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด กล่าวว่า ผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าวพบว่ามีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า 12% อีกทั้งยังประหยัดการเดินทางจากกรุงเทพถึงระยองโดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้ารองรับผู้โดยสารประมาณ 4 ล้านคนต่อปีและรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40ล้านตันต่อปีเมื่อเปิดให้บริการ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะใช้เวลาการออกแบบรายละเอียดประมาณ6เดือนหรือปลายปี 62 เมื่อแล้วเสร็จจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ภายในปี63และจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 68

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของรูปแบบเบื้องต้นของการพัฒนาโครงการช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ทางรถไฟเดิมเป็นสามรางจะพัฒนาเป็นทางรถไฟเพิ่มอีกหนึ่งรางและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา เป็นการปรับปรุงคันทางเดิมที่ใช้ขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร พร้อมปรับปรุงทางแยกจุดตัดของทางรถไฟเพื่อไม่ให้เกิดการตัดกันระหว่าง ถนนกลับทางรถไฟเป็นการลดอุบัติเหตุในการเดินทางและทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้มากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายว่าสำหรับบรรยากาศการรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามแนวเส้นทางยังมีคามคิดเห็นที่ขัดแย้งเนื่องจากการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอาจไปขัดต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เดินทางไม่สะดวก

สำหรับโครงการดังกล่าวแนวเส้นทางโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ได้มีการออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่

1.สะพานรถไฟข้ามถนน
2.สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ
3.สะพานกลับรถรูปตัวยู
4.ทางลอดทางรถไฟ
5.ทางบริการข้างทางรถไฟ ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคนและมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ

ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบหลากหลายรูปแบบ อาทิ กำหนดให้มีการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงชั่วคราวบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการฉีดพรมน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่ถูกเปิดผิวหน้าดินและกองวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองเป็นต้นทั้งนี้ รฟท. จะดำเนินการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นขึ้นอีก 2 ครั้ง ที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ในวันที่ 12 - 13มี.ค. 2562 จากนั้นจะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปพิจารณาประกอบในรายงานผลการศึกษา เพื่อเตรียมส่งมอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2019 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟลงทุน 3 หมื่นล้าน เชื่อม 3 ท่าเรือ เสริมศักยภาพอีอีซี
จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562

รฟท. เปิดเวทีรับฟังความเห็น รอบ 2 รถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่ง โลจิสติกส์ รองรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ลงทุน 3 หมื่นล้านบาท มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 19.9%

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา–มาบตาพุด เปิดเผยในการเปิดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา–มาบตาพุด ว่า ได้นำเสนอแนวเส้นทางโครงการครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง โดยเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่ 1) สะพานรถไฟข้ามถนน 2) สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 3) สะพานกลับรถรูปตัวยู และ 4) ทางลอดทางรถไฟ 5) ทางบริการข้างทางรถไฟ ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคนและมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ
โดยโครงการนี้ได้มีการออกแบบจุดตัดทางรถไฟ รูปแบบสะพานข้ามถนน 62 จุด สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 52 จุด สะพานกลับรถรูปตัวยู 2 จุด ทางลอดทางรถไฟ 79 จุด และทางบริการข้างทางรถไฟ 12 แห่ง

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา–มาบตาพุด ถือเป็นโครงการสำคัญ ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ EEC และเสริมศักยภาพด้านการเดินทางและขนส่งให้กับพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ประหยัดเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยอง โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้ารองรับผู้โดยสารปริมาณ 4 ล้านคน/ปี และรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40 ล้านตัน/ปี ในปีเปิดให้บริการ


ทั้งนี้ รฟท. ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วม โดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนวเส้นทางโครงการ ได้แก่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ไปเมื่อวันที่ 7-8 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา และจะจัดขึ้นอีก 2 ครั้งที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ในวันที่ 12-13 มี.ค. 2562

"คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และตามผลการศึกษาพบว่า มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 19.9% โดยภายหลังการประชุมครั้งนี้ รฟท. จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุมไปพิจารณาประกอบในรายงานผลการศึกษา เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับกระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้เริ่มการปรับปรุงสถานีจุกเสม็ด (สถานีท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ) กม. 195 แล้วครับ
https://www.facebook.com/SthaniRthfiSayTawanXxkNiPrathesthiy/posts/2484649684919422
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2019 12:19 am    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกะโครงการทางคู่ ศรีราชา - มาบตาพุด / เขาชีจรรย์ - สัตหีบ / และ การปรับปรุงทางช่วง หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา เมื่อ 7 กันยายน 2562


โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote:
รายละเอียดโครงการ ขยายทางรถไฟ หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และ ทางคู่ ศรีราชา-มาบตาพุด

ขอมาสรุปโครงการพัฒนาทางรถไฟสำหรับ EEC อีกเส้นนึงซึ่งเป็นเส้นทางที่สำคัญมากสำหรับการขนส่งสินค้า

ซึ่งขอแบ่งเส้นทาง เป็น 4 ช่วง คือ

1.รถไฟช่วง หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน เป็นทางรถไฟ 3 ทาง ซึ่งเป็นทางเก่าดั้งเดิม 1 ทาง และทางคู่ใหม่ช่วงปี 39 อีก 2 ทาง

ปัญหาของเส้นทางนี้ จะใช้งานได้เต็มที่แค่ทางคู่ใหม่ เนื่องจากทางเดิมมีปัญหาความมั่นคงของราง เพราะเป็นรางเก่า ไม่ได้ตอกเสาเข็มรองรางเหมือนรางใหม่ ทำให้รถไฟมีความเสี่ยงในการเดินทาง ร่วมกับที่พื้นที่ช่วงนี้เป็นดินเลน ปากแม่น้ำ ยิ่งทำให้รางทรุดไปกันใหญ่

การพัฒนาเส้นทาง
จะรือทางรถไฟเดิม ทางที่ 3 ซึ่งเป็นทางเก่าที่เล่าให้ฟังออก และปรับความมั่นคงของราง โดยการตอกเสาเข็มปู ตลอดเส้นทาง เพื่อป้องกันดินทรุด พร้อมกับก่อสร้างทางใหม่ทางที่ 4 มาคู่กัน

รถไฟที่จะวิ่งในทางรถไฟที่จะสร้างนี้

รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย จาก Missing Link มา หัวหมาก และเข้าช่วงนี้ จากหัวหมาก ไปฉะเชิงเทรา ใช้ทางวิ่งทางคู่ 2 ทางเดิม

รถไฟสินค้า จาก ICD ลาดกระบัง-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ใช้ทางวิ่งที่ปรับปรุง และทางใหม่ใหม่ 2 ทาง

2.รถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-พานทอง

ทางรถไฟเดิมปัจจุบันเป็นทางคู่ พึ่งสร้างเสร็จช่วงปี 52 ซึ่งเส้นทางนี้ในทางที่อยู่ไนช่วงดินเลนปากแม่น้ำมีการตอกเสาเข็มปูตลอดพื้นที่ ทำให้ไม่มีปัญหาการทรุดของดิน

ช่วงนี้จะมีการสร้างทางเพิ่มอีก 1 ทาง คู่ขนานกับทางเดิม ซึ่งน่าจะเน้นหลักไปในทางขนสินค้า

3.รถไฟช่วงพานทอง-แหลมฉบัง

ปัจจุบันเป็นทางคู่เหมือนกับช่วงพานทอง ตอนนี้ต้องเน้นไปที่การแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟทั้งหมด

4.รถไฟช่วงแหลมฉบัง-มาบตาพุด

ปัจจุบันเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว และรถไฟโดยสารจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟบ้านพลูตาลหลวง ซึ่งเลี้ยวมาทางท่าเรือสัตหีบ

แต่รถไฟสินค้าจะไปถึงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นนิคมปิโตรเคมี มีสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ขนส่งทางรถไฟอยู่ตลอด

ในอนาคต
จะทำการขยายพัฒนาทางคู่ ออกไปให้สุดที่นิคมมาบตาพุด เพื่อจะพัฒนา Capacity และการขนส่งสินค้า พร้อมกับการเผื่อจะต่อไปกับรถไฟสาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด ที่เคยโพสต์ไปก่อนหน้านี้ด้วยครับ

และอีกส่วนหนึ่งของโครงการนี้คือเปลี่ยนให้เส้นทางนี้เป็นระบบปิดโดยสมบูรณ์จริงๆซักที่ เพราะในปัจจุบัน ยังมีจุดตัดอยู่พอสมควร โดยเฉพาะจุดตัดฉลองกรุง กลางพระจอมเกล้าลาดกระบัง

ซึ่งการแก้ปัญหาจุดตัดมีหลายรูปแบบ คือ
1.ทางรถไฟยกระดับข้ามถนน ซึ่งปัจจุบันมีหลายจุด
2.ถนนข้ามรถไฟ ก็มีหลายจุดเช่นกัน
3.ทางลอดรถไฟ
4.สะพานกลับรถ

มันจำเป็นมากๆสำหรับสายนี้เพราะหลักของเส้นทางสายนี้คือการขนส่งสินค้า ซึ่งขบวนสินค้ามีขนาดใหญ่และหนักมาก การจะเบรกแต่ละครั้ง ระยะเบรกไกล และกว่าจะเร่งขึ้นมาใหม่ ก็ใช้เวลาและระยะทางมากเช่น

ดังนั้นสายนี้คือรถไฟที่เป็นสายทำเงินให้กับการรถไฟ จากการขนส่งสินค้า ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อจะให้ รฟท สามารถเลี้ยงตัวเองได้

รายละเอียดเต็มของเอกสาร ดู ที่นี่ ครับ


โพสต์เก่าคลิปรายละเอียดโครงการ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/586069965164820?sfns=mo

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/736408250130990


Last edited by Wisarut on 10/09/2019 11:11 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2019 3:12 am    Post subject: Reply with quote

ถกเรื่อง สถานีที่ ควรหามาเพิ่มในสายสัตหีบ

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote:
ดังนั้น ผมเลยอยากจะขอให้มัการเพิ่มสถานีรถไฟ 3 สถานี เพื่อย่อยการขนส่งภายในเขตเมือง ช่วง พานทอง-บางพระได้แก่

1.สถานีพนัสนิคม อยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ กับถนนสาย 315 ซึ่งอยู่ใกล้กับด่านมอเตอร์เวย์ พนัสนิคม และ สามารถเดินทางเข้านิคมอมตะซิตี้ชลบุรี จากด้านหลัง ได้ง่ายมาก และบริเวณนั้นเป็นเมืองขนาดใหญ่ มาก เพราะเป็นแหล่งพักอาศัยของ พนักงานโรงงานในนิคม

ตำแหน่ง
https://goo.gl/maps/gUD2YFsrAqzyprNAA

2.สถานีสุขสามารถ เป็นจุดตัดกลางชุมชน อยู่ใกล้วัดท้องคุ้ง ตรงนี้อาจจะดูชุมชนมากไป แต่ก็สามารถจัดให้เป็นป้ายหยุดรถได้ครับ

ตำแหน่ง
https://goo.gl/maps/sRvY8fg9Nz8iUKzt7

3.สถานีเลี่ยงเมืองชลบุรี อยู่บริเวณ ติดกับถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ซึ่งจุดนี้ เป็นจุดที่เข้าถึงทางรถไฟได้ง่ายและ สะดวกกว่าตัวสถานีชลบุรีซะอีก เพราะติดเลี่ยงเมืองชลบุรีโดยตรงเลย

ตำแหน่ง
https://goo.gl/maps/Nnm4CmAZQ5erUS1t8

4.สถานีข้าวหลาม ซึ่งอยู่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟของถนนข้าวหลาม(1073) ที่มุ่งหน้าไปมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-พัทยา ตรงนี้สะดวกสำหรับการเดินทาง ไปทั้งชายหาดบางแสน และ ตลาดหนองมล ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ดีมากครับ

ตำแหน่ง
https://goo.gl/maps/vnnzftHYWLH4vh6k7



ผมตอบกลับว่า:
1. สถานีรถไฟ พนัสนิคม ที่จุดตัดทางรถไฟกะ ถนน 315 เอ ผมสงสัยนะ เพราะ ทางจากพานทองไปพนัสนิคมแค่ 12.5 กิโลเมตรเอง แต่ ทางจกาจุดตัดทางรถไฟ กะ ทางหลวง 315 มันตั้ง 16 กิโลเมตร มันจะไปไหวหรือ,

2. ส่วนที่ สถานี บ้านสวนหรือ เลี่ยงเมืองชลบุรี แถวๆ ทางหลวง 344 ตัดทางรถไฟ นั้นน่าคิด เพราะ ระยะห่างจาก บ้านสวน หรือเลี่ยงเมืองชลบุรี มันห่างจากศาลากลาวจังหวัด แค่ 4.4 กิโลเมตร นับว่า สั้นกว่าสถานีชลบุรีที่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชลบุรี 5.7 กิโลเมตร

3. สถานีข้าวหลาม ทีจะมาแทนที่หยุดรถแสนสุขที่ไม่มีคนนิยมใช้แม้จะอยู่ติดวิทยาลัยเทคนิคบางแสน จนเลิกการจอดรถ ข้อนี้น่าคิด เพราะ ที่หยุดรถแสนสุขห่างจากหาดบางแสนร่วม 7.6 กิโลเมตร แต่ สถานีข้าวหลาม ห่างจากหาดบางแสน แค่ 6.9 กิโลเมตร เพราะเป็นทางตรงเสียด้วย

4. ส่วนสถานีสุขสามารถ แถววัดท้องคุ้ง ท่าจะเหมาะที่จะเป็นที่หยุดรถ สำหรับชุมชนให้รถท้องถิ่นจอด

งานนี้ได้รับคำตอบกลับมาดั่งนี้:
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote:
Wisarut Bholsithi งงว่า ข้อ 1 ที่บอกว่ามันจะไปไหวเหรอ หมายความว่าอะไรครับ

จริงๆพานทองนี่งงมาตั้งสถานีกลางทุ่งมาก เดินทางยากมาก จริงๆ ระยะทางไม่สำคัญเท่าการเชื่อมต่อครับ

Peerasak Prompakson wrote:
ครับปัญหาหลักๆเรื่องการโดยสารรถไฟของคนชลบุรีคือ มันเดินทางไปสถานีลำบาก ไม่มีรถสาธารณะผ่าน กลุ่มเป้าหมายเช่น นักเรียน คนทำงาน ไม่มีรถส่วนตัว สถานีแต่ละสถานีอยู่ในป่า เข้าซอยลึก การเดินทางด้วยรถไฟจึงเป็นทางเลือกสุดท้าย ท่าจะเข้า กทม จะเน้นไปใช้รถ ป.1 ป.2 รถตู้ มากกว่าเพราะอยู่ในแหล่งชุมชน ไม่ต้องเสียหลายต่อ ถ้าต่อไปมีสถานีหรือจุดจอดเพิ่มขึ้น อยากให้จอดที่ชุมชน เดินทางสะดวก ต่อรถง่าย ไม่ต้องให้คนมารับมาส่ง ถ้ามีพื้นที่ให้จอดรถทิ้งไว้ได้จะดีมาก ผมเกิดมาในชลบุรี โตมาจะ40 ผมยังไม่เคยไปสถานีรถไฟชลบุรี พานทอง บางพระ เลยครับ

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/736951786743303
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2019 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

เครียดหนัก!! ชาวหินเพิง ต.บางพระ โดนเวนคืน โครงการ รถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ

โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา 20:50



ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านชุมชนหินเพิง ต.บางพระ อ.ศรีราชา อ่วม โดนเวนคืนที่ดินทางลอดโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือเติมเต็มโครงข่ายการเดินทางและขนส่ง เสริมศักยภาพ EEC หลังมีการออกแบบทางลอดใต้ทางรถไฟจุดตัดบ้านหินเพลิง - ม.ราชมงคล ตะวันออก ต้องเวนคืนที่ดินหลายแปลง



วันนี้ ( 5 ต.ค. ) บริษัทที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก -ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ได้จัดการประชุมโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ในส่วนของตำบลบางพระ ที่ห้องประชุมชั้น 5 เทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมี นายสมเจตน์ เกตุวัตถา นายกเทศมนตรีตำบลบางพระ เป็นประธาน และมี นายสมศักดิ์ เกตุวัตถา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ รวมทั้งประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

สำหรับในส่วนของตำบลบางพระนั้น ทางบริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบการก่อสร้างจุดตัดทางรถไฟในจุดต่าง ๆ มาให้ประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ โดยพบว่าในส่วนที่จะมีผลกระทบกับประชาชนในจุดตัดตำบลบางพระมี 2 จุดใหญ่ ๆ คือ จุดตัดบ้านหินเพิง-ม.ราชมงคลตะวันออก(ถนนเทศบาล 6 ) และจุดตัดค่ายลูกเสือวชิราวุธ-ห้วยยายพรหม ซึ่งสองจุดนี้มีการออกแบบจุดตัดเป็นอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งจะทำให้สองจุดนี้มีการเวนคืนที่ดินของประชาชนด้วย

ซึ่งจุดตัดหินเพลิงนี้จะมีการเวนคืนที่ดินริมถนนสายดังกล่าวเป็นระยะทาง 170 เมตร จะเริ่มต้นขยายทางตั้งแต่หอพักผึ้งน้อย 2 ไปจนถึงบริเวณบ่อปลามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ส่วนขยายเส้นทางจากจุดกึ่งกลางถนนไปอีกฝั่งละ 20 เมตร ซึ่งทำให้ประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยริมถนนทั้งสองฝั่งถูกเวนคืนเป็นจำนวนมาก

ทางด้านถนนสายค่ายลูกเสือวชิราวุธ-ห้วยยายพรหม ก็จะเป็นอุโมงค์ทางลอดเช่นกัน ซึ่งมีการออกแบบขยับขึ้นไปทางทิศเหนือเพื่อหลบอาคารพาณิชย์ของโครงการหมู่บ้านไอลีน แต่จะไปเวนคืนที่ดินเปล่าของโครงการหมู่บ้านมณีรินทร์แทนที่ และจากเดิมเป็นโค้งรูปตัวยู บริเวณจุดตัดทางรถไฟ ก็จะมีการออกแบบให้เป็นทางตรงเชื่อมถนนกันแทนที่

ในส่วนจุดตัดอื่น ๆ ทางการรถไฟก็จะมีการก่อสร้างทางยกระดับข้ามถนนทุกจุดตั้งแต่ ถนนเทศบาล 7 (เส้นชลประทาน) ถนนเทศบาล 8 (เส้นศูนย์ผู้สุงอายุฯ) ถนนเทศบาล 9 (เส้นคอเขาบางพระ) ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จะเป็นทางยกระดับข้ามถนนทุกเส้น ซึ่งการจัดประชุมในครั้งต่อไปได้กำหนดไว้ในวันที่ 25 พ.ย.2562 ที่พัทยา และวันที่ 29 พ.ย. 2562 ที่โรงแรมเดอะไทด์รีสอร์ท บางแสน
https://www.youtube.com/watch?v=58gT99WfAHw


ส่อขัดแย้งรถไฟเชื่อม3ท่าเรือ

จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่11มี.ค. ณ ห้องพาวิลเลี่ยน BCD โรงแรมแกรนด์โฟร์วิงค์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร นายสุนิติ ปุณยมหาศาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางกะปิ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา – มาบตาพุด เชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กม.เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด กล่าวว่า ผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าวพบว่ามีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า 12% อีกทั้งยังประหยัดการเดินทางจากกรุงเทพถึงระยองโดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้ารองรับผู้โดยสารประมาณ 4 ล้านคนต่อปีและรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40ล้านตันต่อปีเมื่อเปิดให้บริการ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะใช้เวลาการออกแบบรายละเอียดประมาณ6เดือนหรือปลายปี 62 เมื่อแล้วเสร็จจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ภายในปี63และจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 68

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของรูปแบบเบื้องต้นของการพัฒนาโครงการช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ทางรถไฟเดิมเป็นสามรางจะพัฒนาเป็นทางรถไฟเพิ่มอีกหนึ่งรางและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา เป็นการปรับปรุงคันทางเดิมที่ใช้ขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร พร้อมปรับปรุงทางแยกจุดตัดของทางรถไฟเพื่อไม่ให้เกิดการตัดกันระหว่าง ถนนกลับทางรถไฟเป็นการลดอุบัติเหตุในการเดินทางและทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้มากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายว่าสำหรับบรรยากาศการรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามแนวเส้นทางยังมีคามคิดเห็นที่ขัดแย้งเนื่องจากการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอาจไปขัดต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เดินทางไม่สะดวก

สำหรับโครงการดังกล่าวแนวเส้นทางโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ได้มีการออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่ 1.สะพานรถไฟข้ามถนน 2.สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 3.สะพานกลับรถรูปตัวยู 4.ทางลอดทางรถไฟ 5.ทางบริการข้างทางรถไฟ ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคนและมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบหลากหลายรูปแบบ อาทิ กำหนดให้มีการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงชั่วคราวบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการฉีดพรมน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่ถูกเปิดผิวหน้าดินและกองวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองเป็นต้นทั้งนี้ รฟท. จะดำเนินการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นขึ้นอีก 2 ครั้ง ที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ในวันที่ 12 - 13มี.ค. 2562 จากนั้นจะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปพิจารณาประกอบในรายงานผลการศึกษา เพื่อเตรียมส่งมอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2019 12:16 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดเวทีระดมความเห็นชาวชลบุรี สรุปผลรถไฟทางคู่สาย​ ตอ.เชื่อมขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เวลา 19:47

Click on the image for full size
ศูนย์ข่าว​ศรี​ราชา​- รฟท.เปิดเวทีระดมความเห็นชาวชลบุรี สรุปผลรถไฟทางคู่สายตะวันออก เชื่อมขนส่งทางรางสู่ 3 ท่าเรือ หวังยกระดับโครงข่ายโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วันนี้ (25 พ.ย.62) นายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการออกแบบรายละเอียดโครงการงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก- ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเฟิร์ส แปซิฟิก โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น พัทยา จ.ชลบุรี​

โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วม

ทั้งนี้โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด มีระยะทางรวม 202 กิโลเมตร มีสถานีจอดจำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง, ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียน ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังมาบตาพุดประมาณ 2 ชั่วโมง คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีเปิดและเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598

คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้า 83 ล้านตันต้อปี และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตันต่อปีในปี 2598 ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นับเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ EEC รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทั่วประเทศ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจ สนับสนุนการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน ช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโต และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคและของอาเซียน

โดย รฟท. ให้ความสำคัญต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกขั้นตอนของโครงการ เพราะถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความต้องการของประชาชน และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง

นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโครงการเพื่อลดผลกระทบทั้งต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นโครงการด้านๆ ต่าง อาทิ การแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟด้วยการสร้างสะพาน และทางลอดเพื่อความปลอดภัยการเดินทางและขนส่งทางรถไฟ​ ลดผลกระทบด้านการจราจร การก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางป้องกันไม่ให้ประชาชนและสัตว์เลี้ยงได้รับอันตรายจากการถูกรถไฟชนหรือถูกรถไฟดูด

และยังได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน เช่น การควบคุมน้ำท่วมและการระบายน้ำ โดยบริเวณก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำต้องมีตาข่ายรองรับโครงสร้างสะพานป้องกันเศษวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นลงในลำน้ำ การจัดให้มีแนวป้องกันน้ำฝน ระบบระบายน้ำ และบ่อตกตะกอน รองรับน้ำฝนก่อนระบายออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และการจัดการเครื่องสูบน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่

ด้านคุณภาพอากาศ ได้ออกมาตรการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์รถบรรทุก รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน การฉีดพรมน้ำควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้านคุณภาพเสียงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแนวเส้นทางโครงการเกี่ยวกับรายละเอียดของการกิจกรรมก่อสร้าง และจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชนด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชั่วโมง

ส่วนทางด้านการคมนาคมขนส่ง อุบัติเหตุ และความปลอดภัย กำหนดให้มีการวางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจร ไฟเตือน ป้ายเตือน ตั้งแต่ก่อนถึงบริเวณก่อสร้างจนถึงบริเวณก่อสร้าง พร้อมจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ให้ผู้สัญจรไปมา ได้รับความปลอดภัย และสะดวกในการเดินทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©