Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263138
ทั้งหมด:13574420
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 155, 156, 157 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2019 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดประมูลพัฒนาที่ดินบางซื่อ-คลองตัน32ล./ตร.ม.
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน รฟท. ได้ออกประกาศเชิญชวนเสนอราคา เพื่อเช่าที่และค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ พร้อมโครงการพัฒนาที่ดินที่บริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน (ริมถนนเทิดพระเกียรติ แปลงไซอีก) เดิมกำหนดอายุสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้าง 2 ปี และสัญญาเช่าเพื่อหาประโยชน์ 15 ปี พื้นที่ให้เช่า จำนวน 3,212 ตารางเมตร โดยต้องเสนอค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ ตามพื้นที่เช่าไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 10,001.58 บาท เป็นเงินค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 32,125,080.00 บาท

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รฟท. แจ้งด้วย ว่า ต้องเสนอค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ ตามพื้นที่เช่าปีแรกไม่น้อยกว่าตารางเมตร ละ 686.27 บาท เป็นเงินค่าธรรมเนียม จัดประโยชน์ไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 2,204,300.00 บาท และมีอัตราเพิ่มร้อยละ 5 ทุกปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้เปิดจำหน่ายซองเสนอราคาตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 ก.ย. 62 ที่ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 5 รฟท. ในราคา 150,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยเปิดยื่นซองเสนอราคา วันที่ 7 พ.ย.62 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 5 รฟท. สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 5 รฟท. โทร. 0-2220-4052 โทรสาร 0-2220-4060 ได้ทุกวันเวลาทำการ เวลา 08.30-15.00 น.

--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ส.ค. 2562 (กรอบบ่าย)--
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2019 7:19 am    Post subject: Reply with quote

รายงาน: รฟท.ดิ้นอีกเฮือก พัฒนาที่ดินแปลง A เมืองอัจฉริยะ-สถานีกลางบางซื่อ
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562
อนุวัฒน์ โพธิ์ทอง

Click on the image for full size

ปี2564 สถานีกลางบางซื่อ จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยได้เปิดมิติใหม่ ของการพัฒนาเมืองด้วยแนวคิด การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือTOD มาใช้ พร้อมให้เอกชนบริหารจัดการพื้นที่ภายในสถานีเพื่อรองรับการใช้ชีวิตธุรกิจและการคมนาคมขนส่ง

หลังจากปิดรับข้อเสนอให้เอกชนยื่นร่วมทุน โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2566 ขนาด 32 ไร่ ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2562 ที่ผ่านมา ขณะนี้ความคืบหน้า นายวรวุฒิ มาลา รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ขณะนี้เราได้ทำหนังสือยื่นไปให้กับทางคณะกรรมการ PPP เพื่อสอบถามและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ซึ่งยังไม่ได้รับการตอบกลับมา แต่เบื้องต้นเราเน้นเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อก่อน

ด้านสาเหตุที่โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A ดูเงียบเหงากว่าปกติทั้งๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท นั้นมา จากหลากหลายปัจจัย แต่เหตุผลที่ดูมีน้ำหนักที่สุดน่าจะเป็นที่ดินแปลง A มีขนาดเล็กเพียง 32 ไร่ ทำให้ความน่าสนใจจากภาคเอกชนมีน้อยเมื่อเทียบกับที่ดินแปลงอื่นๆ ที่จะเปิดประมูลในอนาคต ซึ่งดูเหมือนว่าจะเริ่มสะดุดตั้งแต่เริ่มต้น แต่ทางรักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เน้นย้ำว่า เราต้องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนและหารายได้เพิ่ม โดยไม่กระทบต่อคุณภาพการให้บริการต่อผู้โดยสารและผู้ที่มาใช้บริการ

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A อยู่ในการพัฒนาระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2565) มีขนาด 32 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท อยู่ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รูปแบบการพัฒนาจะเปิดให้เอกชนร่วม ทุน (PPP) ในลักษณะสร้าง - บริหาร - โอน (BOT) โดยเอกชนจะต้องรับผิดชอบการออกแบบ การจัดการเงินทุน ก่อสร้าง บริการและดำเนินโครงการทั้งหมด ซึ่งทางการรถไฟฯจะให้สิทธิ์ร่วมทุนเป็นระยะเวลา 34 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาการก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี และการดำเนินธุรกิจอีก 30 ปี จากนั้นเมื่อสิ้นสุดสัญญาเอกชนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้การรถไฟฯ

ทั้งนี้โจทย์ที่เอกชนได้รับเมื่อเข้ามาดำเนินการพัฒนาพื้นที่แปลง A นี้ จะต้องนำเอาแนวคิดเมืองอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาแปลงนี้ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจร ประกอบด้วยร้านค้า โรงแรม และสำนักงาน การออกแบบและก่อสร้างทางเดินเชื่อมพื้นที่โครงการกับสถานีกลางบางซื่อ และเมื่อลองทบทวนดูแล้วในไทยผู้ที่พร้อมจะเข้ามาประกวดราคาก็มีเพียงไม่กี่ราย

ถือได้ว่าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A ยังคงเป็นเรื่องน่าสนใจและติดตาม ว่าสุดท้ายหากเปิดประมูลอีกครั้งคาดว่าต้นปี 2563 หลังจากทบทวนทีโออาร์ จะเงียบเหงาอีกไหม และเอกชนรายใดจะเข้ามาร่วม รวมทั้งการพัฒนาด้วยแนวคิดเมืองอัจฉริยะน่าจะเติมเต็มให้สถานีกลางบางซื่อแห่งนี้ไม่ได้มีดีแค่ใหญ่เพียงอย่างเดียว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2019 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ทวงคืนพื้นที่การรถไฟฯ 35 ไร่ ให้ผู้ค้าย้ายสิ่งก่อสร้าง-ร้านค้าออกจากพื้นที่
สํานักข่าวไทย TNAMCOT Sep 19, 2019

กทม. 20 ก.ย.-เจ้าหน้าที่ รฟท. นำแท่งแบริเออร์ปูนมาปิดทางเข้าออกพื้นที่ 35 ไร่ ใกล้ขนส่งหมอชิต ให้ผู้ค้าขนย้ายสิ่งก่อสร้างและร้านค้าออกจากพื้นที่ เนื่องจากมีการลักลอบใช้ที่ดินแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ.-สำนักข่าวไทย


https://www.youtube.com/watch?v=HWWSNNES7fE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2019 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ทวงคืนพื้นที่ 35 ไร่อ้างถูกลอบใช้แสวงหาผลประโยชน์
ThaiPBS 09:29 | 20 กันยายน 2562


https://www.youtube.com/watch?v=bjLWLCHqH9Y

Click on the image for full size

เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นำคำสั่งบังคับใช้กฎหมายให้ผู้ค้าในพื้นที่ 35 ไร่ ย่านหมอชิต ออกนอกพื้นที่ อ้างพบข้อมูลมีการลักลอบใช้พื้นที่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

วันนี้ (20 ก.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 น. เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. พร้อมตำรวจ สน.บางซื่อ นำกำลังเจ้าหน้าที่ และแท่งแบริเออร์ปูนมาปิดขวางทางเข้าออก บริเวณพื้นที่ 35 ไร่ ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ใกล้สถานีขนส่งหมอชิต เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้บุกรุกขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และสิ่งปลูกสร้าง ร้านค้า ยังกีดขวางงานก่อสร้างของโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

Click on the image for full size

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย หลังขอความร่วมมือกับผู้ค้าในพื้นที่มาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงต้องเข้ามาขอคืนพื้นที่ แม้ก่อนหน้านี้ เคยนำป้ายประกาศมาติดไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน โดยจากนี้ไป จะให้เวลาผู้ค้าในพื้นที่ทยอยรื้อถอนและขนย้ายออกไปภายใน 7 วัน

ขณะที่นายชัยสิทธิ์ งามทรัพย์ พร้อมทนายความนำเอกสารหลักฐานใบเสร็จรับเงิน และเอกสารที่อ้างว่าเป็นหนังสือที่ได้รับอนุญาตให้เข้าปรับปรุงพื้นที่ 35 ไร่ โดยจัดเก็บค่าประโยชน์ต่างๆ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหนังสือ ฉบับ ผห.007/2551 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2551 โดยปัจจุบันยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว

Click on the image for full size

นายชัยสิทธิ์ กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยได้รับเงินงบประมาณสำหรับการขนย้ายและเวนคืนพื้นที่การก่อสร้างจำนวนกว่า 100 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมาไม่เคยนำเงินจำนวนนี้ มาจ่ายชดเชยให้กับผู้ค้า จึงตั้งข้อสังเกตว่าการที่เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยนำกำลังเข้ามาบีบบังคับผู้ค้าออกจากพื้นที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อไม่ต้องชำระค่ารื้อถอน ขนย้าย และค่าเสียหายต่างๆ ให้แก่ผู้ค้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2019 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ทวงคืนพื้นที่ 35 ไร่อ้างถูกลอบใช้แสวงหาผลประโยชน์
ThaiPBS 09:29 | 20 กันยายน 2562

https://www.youtube.com/watch?v=bjLWLCHqH9Y


ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย wrote:
การรถไฟฯ พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ลงพื้นที่ผลักดันผู้บุกรุกพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สัญญาที่ 1
*******************************

วันนี้ (20 กันยายน 2562) เวลา 08.00 น. ณ สำนักงานภาคสนามการรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนกำแพงเพชร 6 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร ๐๒ กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ. บช.น) และสำนักงานเขตจตุจักร (กทม.) ร่วมสนธิกำลังดำเนินการ
ปฏิบัติงานลงพื้นที่การทวงคืนพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ครอบครองของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1 ในปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทั้งในพื้นที่บริเวณก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ยังไม่ได้มีการรื้อย้ายออกทำให้ผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานที่กำหนด ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างฯ และผู้รับจ้างอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างยิ่ง ดังนั้น การรถไฟฯ ต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ดังนี้
1. พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก
กีดขวางงานก่อสร้าง
2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการฯ สถานะผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ดังนี้
2.1 พื้นที่บริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ
2.2 พื้นที่บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่)
2.3 พื้นที่ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุก
ไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง
2.4 พื้นที่บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม
3. พื้นที่บริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจและค้าขาย โดยไม่มีสัญญากับ
การรถไฟฯ ตามระเบียบที่กำหนดเงื่อนไขไว้
ผู้บุกรุกที่อยู่ในพื้นที่ในปัจจุบันเป็นผู้บุกรุกรายใหม่ที่การรถไฟฯ จะไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้มีการให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้น
การรถไฟฯ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างของโครงการฯ สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2562 นี้ การรถไฟฯ จะทำการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าของโครงการเข้ามาเก็บให้พื้นที่โรงงานซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่อาศัย ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น มีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้ด้วย
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุกได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทาง เข้า - ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตาม
กฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกันพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นั้น จนถึงที่สุด

ส่วนประเด็นที่ผู้บุกรุกพื้นที่ อ้างว่าการรถไฟเคยได้งบอนุมัติมาจำนวน 100 ล้านบาทเพื่อทำการจ่ายชดเชยให้ผู้เข้าพื้นที่ดำเนินการรื้อถอน แต่ไม่เคยจ่ายให้แก่ผู้เช่านั้น รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมาคนที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่เป็นผู้ที่บุกรุก และการรถไฟไม่เคยมีสัญญาเช่าด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่การรถไฟจะไปของบประมาณมาจ่ายชดเชยให้

ขณะที่ประเด็นที่ต้องเร่งรัดการรื้อย้ายนั้น ก็เนื่องจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลและการรถไฟฯ ก็พยายามเร่งรัดแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดกรอบเวลาไว้

https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2932555066759345

รถไฟเคลียร์ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ 35ไร่ไซต์”สถานีกลางบางซื่อ”สายสีแดง
วันที่ 20 กันยายน 2562 เวลา 10:49 น.

วันที่ 20 กันยายน 2562 เวลา 08.00 น. ณ สำนักงานภาคสนามการรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนกำแพงเพชร 6 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร 02 กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ. บช.น) และสำนักงานเขตจตุจักร (กทม.)

ร่วมสนธิกำลังดำเนินการปฏิบัติงานลงพื้นที่การทวงคืนพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ครอบครองของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สัญญาที่ 1

นายวรวุฒิเปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างสายสีแดวช่วงบางซื่อ – รังสิต สัญญาที่ 1 ในปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทั้งในพื้นที่บริเวณก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ยังไม่ได้มีการรื้อย้ายออก

ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานที่กำหนด ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมา และอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างยิ่ง ดังนั้น การรถไฟฯ ต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ดังนี้

1. พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก
กีดขวางงานก่อสร้าง

2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการฯ สถานะผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ มีพื้นที่บริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ พื้นที่บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่)

พื้นที่ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุก
ไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง และพื้นที่บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม

3. พื้นที่บริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจและค้าขาย โดยไม่มีสัญญากับ
การรถไฟฯ ตามระเบียบที่กำหนดเงื่อนไขไว้

ผู้บุกรุกที่อยู่ในพื้นที่ในปัจจุบันเป็นผู้บุกรุกรายใหม่ที่การรถไฟฯ จะไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

และปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้มีการให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้น จึง มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างของโครงการฯ สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2562 นี้ การรถไฟฯ จะทำการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าของโครงการเข้ามาเก็บให้พื้นที่โรงงานซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่อาศัย

ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น มีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้ด้วย

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุกได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทาง เข้า – ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่

จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกันพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นั้น จนถึงที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2019 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ทวงคืนที่ 35 ไร่ บางซื่อ เคลียร์ไซต์ก่อสร้างสายสีแดง เตรียมรับขบวนรถไฟฟ้าใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 20 กันยายน 2562 เวลา 14:40
ปรับปรุง: วันที่ 20 กันยายน 2562 เวลา 14:56

ร.ฟ.ท.ปฏิบัติการทวงคืนพื้นที่ 35 ไร่ บางซื่อ จากผู้บุกรุก เคลียร์ไซต์ก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 รวมถึงที่ได้รับเงินค่ารื้อถอนแล้วแต่ไม่ยอมย้ายออก เผยก่อน ต.ค.ต้องเตรียมความพร้อมโรงซ่อมบำรุงเพื่อเก็บขบวนรถ

วันนี้ (20 ก.ย.) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร 02 กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.บช.น) และสำนักงานเขตจตุจักร (กทม.) ในการสนธิกำลังดำเนินการปฏิบัติงานลงพื้นที่การทวงคืนพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ครอบครองของการรถไฟฯ ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1

นายวรวุฒิเปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 ในปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ในพื้นที่ก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ยังไม่ได้มีการรื้อย้ายออก ทำให้ผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานที่กำหนด ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างฯ และผู้รับจ้างอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างยิ่ง

ดังนั้น การรถไฟฯ ต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ประกอบด้วย
1. พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก
กีดขวางงานก่อสร้าง
2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการฯ สถานะผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ดังนี้
2.1 พื้นที่บริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ
2.2 พื้นที่บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่)
2.3 พื้นที่ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุกไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง
2.4 พื้นที่บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม
3. พื้นที่บริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจและค้าขาย โดยไม่มีสัญญากับการรถไฟฯ ตามระเบียบที่กำหนดเงื่อนไขไว้

ผู้บุกรุกที่อยู่ในพื้นที่ในปัจจุบันเป็นผู้บุกรุกรายใหม่ที่การรถไฟฯ จะไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้มีการให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ การรถไฟฯ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างของโครงการฯ สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2562 นี้การรถไฟฯ จะทำการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าของโครงการเข้ามาเก็บในพื้นที่โรงงานซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่อาศัย ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ นั้นมีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้ด้วย

ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุก ได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทางเข้า-ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกั้นพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้นั้นจนถึงที่สุด

ส่วนประเด็นที่ผู้บุกรุกพื้นที่อ้างว่าการรถไฟฯ เคยได้งบอนุมัติมาจำนวน 100 ล้านบาทเพื่อทำการจ่ายชดเชยให้ผู้เข้าพื้นที่ดำเนินการรื้อถอน แต่ไม่เคยจ่ายให้แก่ผู้เช่านั้น นายวรวุฒิระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมาคนที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่เป็นผู้ที่บุกรุก และการรถไฟฯ ไม่เคยมีสัญญาเช่าด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่การรถไฟฯ จะไปของบประมาณมาจ่ายชดเชยให้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2019 10:19 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เอาจริงทวงคืนพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงฝ่าฝืนสั่งดำเนินการทันที

20 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 12:12 น.

20 ก.ย.62-นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร 02 กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ. บช.น) และสำนักงานเขตจตุจักร (กทม.) ร่วมสนธิกำลังดำเนินการปฏิบัติงานลงพื้นที่การทวงคืนพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ครอบครองของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1

นายวรวุฒิ กล่าวว่าพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1 ในปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทั้งในพื้นที่บริเวณก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ยังไม่ได้มีการรื้อย้ายออกทำให้ผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานที่กำหนด ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างฯ และผู้รับจ้างอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามดังนั้น การรถไฟฯ ต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก กีดขวางงานก่อสร้าง 2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการฯ สถานะผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ดังนี้ พื้นที่บริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ,พื้นที่บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) ,พื้นที่ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุกไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง ,พื้นที่บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม

รวมถึงพื้นที่บริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจและค้าขาย โดยไม่มีสัญญากับการรถไฟฯ ตามระเบียบที่กำหนดเงื่อนไขไว้ ผู้บุกรุกที่อยู่ในพื้นที่ในปัจจุบันเป็นผู้บุกรุกรายใหม่ที่การรถไฟฯ จะไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้มีการให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ รฟท.มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างของโครงการฯ สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2562 นี้ การรถไฟฯ จะทำการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าของโครงการเข้ามาเก็บให้พื้นที่โรงงานซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่อาศัย ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น มีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้ด้วย

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุกได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทาง เข้า - ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

“ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกันพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นั้น จนถึงที่สุด”นายวรวุฒิ กล่าว

อย่างไรก็ตามส่วนประเด็นที่ผู้บุกรุกพื้นที่ อ้างว่าการรถไฟเคยได้งบอนุมัติมาจำนวน 100 ล้านบาทเพื่อทำการจ่ายชดเชยให้ผู้เข้าพื้นที่ดำเนินการรื้อถอน แต่ไม่เคยจ่ายให้แก่ผู้เช่านั้น รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมาคนที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่เป็นผู้ที่บุกรุก และการรถไฟไม่เคยมีสัญญาเช่าด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่การรถไฟจะไปของบประมาณมาจ่ายชดเชยให้

นายวรวุฒิ กล่าวว่าขณะที่ประเด็นที่ต้องเร่งรัดการรื้อย้ายนั้น ก็เนื่องจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลและการรถไฟฯ ก็พยายามเร่งรัดแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดกรอบเวลาไว้



//-------------------------

การรถไฟทวงคืนพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง หวั่นผู้บุกรุกทำโครงการล่าช้า

20 กันยายน 2019

การรถไฟแห่งประเทศไทย ทวงคืนพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต หลังผู้บุกรุกไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไป หวั่นแล้วเสร็จไม่ตรงตามกำหนด


เจ้าหน้าที่นำแท่นปูนมากั้นไม่ให้ผู้บุกรุกเข้าพื้นที่ของการรถไฟฯ

วันที่ 20 ก.ย. 62 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร 02 กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และสำนักงานเขตจตุจักร ดำเนินการทวงคืนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต สัญญาที่ 1


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

นายวรวุฒิ เปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใกล้จะเสร็จแล้ว แต่ในพื้นที่ก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ ไม่ได้มีการรื้อย้ายออก ทำให้ผู้ก่อสร้างไม่สามาถขื้นที่ได้ และทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างช้ากว่ากำหนด ซึ่งทำให้ผู้รับจ้างอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง และรัฐจะเกิดความเสียหาย การรถไฟจึงต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ประกอบด้วย

1. พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก กีดขวางงานก่อสร้าง

2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการ ที่ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ คือบริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ, บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) , ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุกไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง , บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม

รวมถึงบริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาตั้งร้านค้าขาย โดยการรถไฟจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้เพราะไม่มีการทำสัญญาก่อนหน้านี้ และพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ ที่ปัจจุบันไม่ได้ให้เข้าพื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใดแล้ว ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างทำได้อย่างต่อเนื่อง เพราะในเดือน ต.ค. 62 นี้ จะเริ่มนำขบวนรถไฟฟ้าเข้ามาเก็บในโรงงานซ่อมบำรุงใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่ ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าที่การรถไฟได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุกได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทาง เข้า – ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บขส. และรถของ ขสมก. ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกันพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นั้น จนถึงที่สุด

ขณะที่นายชัยสิทธิ์ งามทรัพย์ ผู้ใช้พื้นที่ 35 ไร่ เดินทางมาพร้อมทนายความ นำเอกสารหลักฐานใบเสร็จรับเงิน และเอกสารที่อ้างว่าเป็นหนังสือที่ได้รับอนุญาตให้เข้าปรับปรุงพื้นที่ 35 ไร่ โดยจัดเก็บค่าประโยชน์ต่าง ๆ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหนังสือ ฉบับ ผห.007/2551 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2551 โดยปัจจุบันยังไม่ได้มีการ บอกเลิก สัญญาดังกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย เคยได้รับเงินงบประมาณสำหรับการขนย้ายและเวนคืนพื้นที่การก่อสร้างจำนวนกว่า 100 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมาไม่เคยนำเงินจำนวนนี้มาจ่ายชดเชยให้กับผู้ค้า จึงตั้งข้อสังเกตว่าการที่เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นำกำลังเข้ามาบีบบังคับ ผู้ค้าออกจากพื้นที่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อไม่ต้องชำระค่ารื้นถอน รื้อย้าย และค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ค้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2019 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

“รฟท.”สนธิกำลังลุยไล่ผู้บุกรุก เคลียร์พื้นที่รับรถไฟสายสีแดง
ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2562

วันนี้ (20 ก.ย.62 ) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กองบัญชาการตำรวจจราจร ๐๒ กองบังคับการตำรวจรถไฟ สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ. บช.น) และสำนักงานเขตจตุจักร (กทม.) ร่วมสนธิกำลังดำเนินการปฏิบัติงานลงพื้นที่การทวงคืนพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ครอบครองของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1

นายวรวุฒิ เผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สัญญาที่ 1 ในปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทั้งในพื้นที่บริเวณก่อสร้างยังมีผู้บุกรุกอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ

ที่ยังไม่ได้มีการรื้อย้ายออกทำให้ผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานที่กำหนด ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างฯ และผู้รับจ้างอาจถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลาสัญญาจ้าง ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างยิ่ง ดังนั้น การรถไฟฯ ต้องดำเนินการผลักดันผู้บุกรุกในพื้นที่การก่อสร้าง ดังนี้

พื้นที่งานสัญญาที่ 1 พื้นที่งานก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงและเก็บรักษาขบวนรถไฟฟ้า ที่ผู้บุกรุก กีดขวางงานก่อสร้าง
2. พื้นที่งานก่อสร้างถนนและแนวรั้วรอบพื้นที่โครงการฯ สถานะผู้รับจ้างฯ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ดังนี้

2.1 พื้นที่บริเวณใต้ทางยกระดับเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ

2.2 พื้นที่บริเวณสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่)

2.3 พื้นที่ห้องแถวชั้นเดียว 20 ห้อง ฝั่งถนนกำแพงเพชร 2 (พื้นที่ 35 ไร่) จ่ายค่ารื้อถอนแล้วผู้บุกรุกไม่ยอมรื้อถอนตามข้อตกลง

2.4 พื้นที่บริเวณอาคารพักอาศัยอาคารโฮปเวลล์ 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร หลังสถานีบริการก๊าซ NGV เดิม



3. พื้นที่บริเวณริมถนน BS7 มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจและค้าขาย โดยไม่มีสัญญากับการรถไฟฯ ตามระเบียบที่กำหนดเงื่อนไขไว้

ผู้บุกรุกที่อยู่ในพื้นที่ในปัจจุบันเป็นผู้บุกรุกรายใหม่ที่การรถไฟฯ จะไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้มีการให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณนี้กับบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ทั้งสิ้น

การรถไฟฯ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การก่อสร้างของโครงการฯ สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2562 นี้ การรถไฟฯ จะทำการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าของโครงการเข้ามาเก็บให้พื้นที่โรงงานซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงกับผู้บุกรุกอยู่อาศัย ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น มีมูลค่าสูงและยังเป็นวัสดุปกรณ์ที่ต้องสั่งทำเฉพาะ หากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาเปิดการให้บริการเดินรถที่กำหนดไว้ด้วย



นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ติดประกาศขับไล่ผู้บุกรุกได้มีกลุ่มบุคคลเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้วยวิธีการนำรถยนต์จอดปิดทาง เข้า - ออก พื้นที่สถานีบริการก๊าซ NGV เดิม เพื่อไม่ให้รถบัสร่วมบริการของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตลอดจนผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ 35 ไร่ ออกจากพื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่

จึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในวันนี้ หากมีการขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว การรถไฟฯ จะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และจะทำการขนย้ายรถยนต์ที่ผู้บุกรุกใช้ปิดกันพื้นที่เพื่อไม่ให้รถบัส รถตู้ หรือรถของประชาชนเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าว และจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นั้น จนถึงที่สุด


Last edited by Wisarut on 25/09/2019 3:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2019 10:59 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเครื่องสถานีกลางบางซื่อ ดึงกลุ่มทุนปลุกย่านธุรกิจใหม่
โดย Suporn Sae-tang
18 กันยายน 2562

กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งเครื่องก่อสร้างโครงการ “สถานีกลางบางซื่อ” เพื่อเปิดให้บริการทันตามเป้าหมายช่วงต้นปี 2564 แจ้งเกิดศูนย์กลางระบบรางหรือศูนย์กลางคมนาคมแห่งอนาคตของประเทศ และปลุกย่านธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งบรรดากูรูเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์ต่างจับจ้องโอกาสการเติบโตไปพร้อมๆ กับเมกะโปรเจกต์แห่งนี้

ทั้งนี้ ตามแผนของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์จำนวน 41 โครงการ วงเงิน 1.78 ล้านล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สอดคล้องกับนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558-2565) ที่ต้องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทุกโครงข่าย ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ของกระทรวงคมนาคม เน้นการพัฒนาการขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักของประเทศ ซึ่งเป็นที่มาสำคัญของการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง

ขณะเดียวกัน การพัฒนาโครงข่ายระบบรางในเมืองเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ช่วงปี 2558-2559 ทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ จากเดิมที่มีระยะทาง 80-100 กิโลเมตร ล่าสุดมีการอนุมัติไปแล้วกว่า 386 กิโลเมตร คาดว่าในระยะเวลาอันใกล้กรุงเทพมหานครจะกลายเป็น “มหานครระบบราง” เชื่อมการเดินทางจากกรุงเทพฯ ชั้นในไปยังชานเมือง ปริมณฑล โดยใช้เวลาอันสั้น

ขณะที่ในเขตเมืองมีการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ เกิดเส้นทางสายใหม่ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ “อีสต์-เวสต์ คอริดอร์” เชื่อมแม่สอด-มุกดาหาร โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง ซึ่งจะเชื่อม 3 สนามบินหลัก (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งทุกเส้นทางจะเชื่อมเข้าสู่ “สถานีกลางบางซื่อ” หรือที่เรียกว่า Multi-Modal Transportation

ทั้งรถไฟทางไกล (Inter-City Train) รถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train Red Line) รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High-Speed Railway) และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)

สำหรับตัวโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีหน้ากว้าง 244 เมตร ยาว 596.6 เมตร และสูง 43 เมตร เนื้อที่รวม 2,325 ไร่ ได้รับการออกแบบให้เป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน มาตรฐานเทียบเท่าศูนย์กลางสถานีรถไฟระดับโลก

ภายในอาคารสถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 274,192 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 2 ล้านคนต่อวัน ตัวอาคารสถานีมี 4 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นลานจอดรถรองรับได้กว่า 1,700 คัน ชั้น 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร เขตร้านค้า พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. และ บขส.

ชั้น 2 เป็นชานชาลารถไฟสายต่างๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง 8 ชานชาลา ชั้น 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 2 ชานชาลา

หากเทียบกับสถานีกรุงเทพ “หัวลำโพง” มีเนื้อที่รวม 120 ไร่ หน้ากว้าง 100 เมตร ยาว 300 เมตร พื้นที่ใช้สอย 192,000 ตารางเมตร จำนวน 14 ชานชาลา รองรับเฉพาะรถไฟทางไกล รองรับผู้โดยสาร 60,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

แม้สถานีหัวลำโพงอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นย่านธุรกิจหนาแน่น แต่ติดปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่ไม่สามารถขยายสถานีได้อีก ทำให้กรมขนส่งทางรางต้องพัฒนาโครงการพร้อมๆ กับการขยายพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อต่อยอดรายได้ โดยรอบๆ สถานีกลางบางซื่อมีการดำเนินโครงการพัฒนาที่เชิงพาณิชย์ “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” พื้นที่รวม 2,325 ไร่ โดยหวังว่าจะเป็นย่านธุรกิจสำคัญของประเทศและพัฒนากรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับอาเซียน แบ่งพัฒนารวม 9 แปลง

ได้แก่ แปลง A ศูนย์ธุรกิจทันสมัย เน้นที่โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและพื้นที่ใช้งานร่วม

แปลง B ศูนย์การพาณิชย์และธุรกิจแห่งอาเซียน

แปลง C ศูนย์การประชุมและนิทรรศการ

แปลง D พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยอาจคงรูปแบบตลาดจตุจักรไว้ตามเดิม แต่พัฒนาให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น

แปลง E ศูนย์ราชการ

แปลง F ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

แปลง G พัฒนาพื้นที่พักอาศัย

แปลง H พื้นที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน และแปลง I พัฒนาพื้นที่พักอาศัย

ทั้ง 9 แปลงแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ ระยะสั้น เสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 ได้แก่ แปลง A แปลง E และแปลง D

ระยะกลาง เสร็จสมบูรณ์ในปี 2570 ได้แก่ แปลง C แปลง F และแปลง G

ระยะยาว เสร็จสมบูรณ์ในปี 2575 ได้แก่ แปลง B แปลง D2-4 แปลง H และแปลง I

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนหนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อ รฟท. นำร่องเปิดยื่นประมูลซองพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อแปลง A เนื้อที่ 32 ไร่ รูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 34 ปี เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 11,721 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ปรากฏว่าไม่มีบริษัทเข้าร่วมยื่นซอง แม้มีเอกชน 4 รายซื้อทีโออาร์ ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท Urban Renaissance Agency รัฐวิสาหกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจากญี่ปุ่น

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความไม่มั่นใจว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการสถานีกลางบางซื่อ อาจไม่ดึงดูดคนมาใช้บริการภายในโครงการมิกซ์ยูสที่เอกชนลงทุน เพราะยังมีเพียงรถไฟชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เปิดบริการ ส่วนรถไฟความเร็วสูงต้องรออีกหลายปี และแปลงที่ดินอยู่ในทำเลที่มีทางรถไฟผ่ากลาง ใกล้ทางด่วนและท่อก๊าซ

ล่าสุด คณะกรรมการคัดเลือกโครงการ ที่มีนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ รฟท. เป็นประธาน กำลังเร่งสรุปแผนปรับเปลี่ยน 2 แนวทาง เลือกระหว่างเปิดการประมูลใหม่ โดยปรับรายละเอียดทีโออาร์ใหม่ให้น่าสนใจมากขึ้น หรือ ยุติการให้เอกชนร่วมทุน ให้ รฟท. นำที่ดินปล่อยเช่าชั่วคราว 3 ปี ทำเป็นตลาดนัดรถไฟ เพื่อดึงคนมาใช้บริการสายสีแดงที่จะเปิดบริการในปี 2564 ก่อน

ส่วนทีโออาร์เดิมของที่ดินแปลง A ซึ่งอยู่ห่างสถานีกลางบางซื่อ 50-100 เมตร กำหนดหลักการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ รฟท. เมื่อครบกำหนดสัญญา โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมระดับ 3-4 ดาว สำนักงานให้เช่า และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ซึ่ง รฟท. คาดว่าจะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 2,000 ล้านบาท เอกชนที่ชนะประมูลต้องจ่ายเงินก้อนแรกให้ รฟท. 162 ล้านบาท จากนั้นจ่ายรายปีและปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี

อันที่จริงแล้ว หากดูภาพรวมพื้นที่ย่านบางซื่อและจตุจักรมีศักยภาพสูง ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ (DDproperty Consumer Sentiment Survey) ยังมองแนวโน้มเชิงธุรกิจของพื้นที่ย่านบางซื่อ จตุจักร และลาดพร้าว จะเป็นทำเลเขย่าวงการที่อยู่อาศัย เพราะนอกเหนือจากจุดเด่นด้านทำเลในภาพรวมแล้ว ยังมีจุดเด่นด้านความสะดวกและการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการพัฒนาสถานีรถไฟบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินทางของประเทศ เชื่อมต่อกรุงเทพฯ กับพื้นที่ภาคต่างๆ รวมถึงเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างประเทศ เช่น ลาว จีน และมาเลเซีย จะพลิกโฉมกรุงเทพฯ เป็น Gateway สำคัญของประเทศไทยสู่อาเซียนและเวทีโลก

มีการคาดการณ์ด้วยว่า ในอนาคตจะมีผู้ใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อประมาณ 200,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ส่งผลให้ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีบางซื่อพุ่งสูงถึง 250,000 บาทต่อตารางวา และราคาประเมินที่ดินรอบล่าสุดของกรมธนารักษ์ ที่ดินแนวถนนพหลโยธิน อยู่ที่ 130,000-500,000 บาทต่อตารางวา จากเดิม 100,000-400,000 บาทต่อตารางวา เพิ่มขึ้น 30%

นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นด้วย โดยเขตจตุจักรมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 22% ราคากลางเฉลี่ย 144,591 บาทต่อตารางเมตร เขตบางซื่อ 90,444 บาทต่อตารางเมตร และลาดพร้าว 51,800 บาทต่อตารางเมตร

โจทย์ใหญ่ของการรถไฟฯ จึงอยู่ที่การสร้างความมั่นใจ เพื่อดึงกลุ่มทุนเข้าร่วมลงทุนแจ้งเกิดแลนด์มาร์กใหม่แห่งนี้ให้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2019 12:46 pm    Post subject: คดีที่ดินตลาดบ่อบัว (อดีตสถานีแปดริ้ว) Reply with quote

“พี่ศรี”บุกเมืองแปดริ้วรับ 7 ข้อร้องเรียนแก้ปัญหา รฟท.กับผู้ค้าตลาดบ่อบัว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 25 กันยายน 2562 เวลา 10:00

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้เดินทางไป อบจ.ฉะเชิงเทรา เพื่อพูดคุยและรับข้อร้องเรียนจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านชุมชนในตลาดบ่อบัว อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ที่เดินทางมาชุมนุมกันประมาณ 300 คน เนื่องจากเกิดปัญหาความเดือดร้อนจากการบริหารงานของบริษัทเอกชนซึ่งได้รับสัมปทานในที่ดินของการรถไปแห่งประเทศไทย(รฟท.) และเกิดปัญหากับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขาย และเช่าอาศัยอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่ดินของ รฟท.มาเนิ่นนาน จนเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อ รฟท.อนุญาติให้บริษัทเอกชนเข้ามาทำสัญญาเช่า และต่อสัญญาในระยะยาวในพื้นที่ดินดังกล่าว ทั้งๆ ที่ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นราชการด้วยกันได้สิทธิการเช่า เพื่อนำมาพัฒนาให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่ค้าขายในราคาต่ำ แต่ทว่า รฟท.กลับนำไปให้เอกชนเช่าจนเกิดปัญหากับพ่อค้าแม่ค้ามาอย่างยาวนาน จนทำให้ผู้ค้าทนไม่ไหวจึงมาชุมนุมร้องเรียนต่อสมาคมฯในครั้งนี้โดยพ่อค้าแม่ค้าได้ยื่นข้อร้องเรียนขอความช่วยเหลือมายังสมาคมฯ รวม 7 ข้อ คือ



1.ขอให้ตรวจสอบการบอกเลิกสัญญาระหว่าง รฟท.กับบริษัทเอกชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยมีการดำเนินการเป็นไปตามมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ที่ได้มีมติให้ริบหลักประกันสัญญาจำนวน 45.6 ล้านบาท และให้ชำระเงินส่วนที่ค้างให้การรถไฟจนครบแล้วหรือไม่

2.เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาแล้วเหตุใดบริษัทเอกชนรายดังกล่าวจึงยังสามารถเก็บผลประโยชน์จากพ่อค้าแม่ค้าได้เรื่อยมา และกลับมาทำสัญญาลงวันที่ 28 มีนาคม 2557 มีกำหนด 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 และสัญญาลงวันที่ 28 มีนาคม 2557 มีกำหนด 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2592 ได้อีก

3.การดำเนินการจัดทำสัญญาฉบับใหม่กับเอกชนรายดังกล่าวชอบด้วยระเบียบกฎหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทยและระเบียบกฎหมายของทางราชการหรือไม่

4.ขอให้ตรวจสอบรายได้และการเสียภาษีของบริษัทเอกชนที่มาเช่าที่ดิน รฟท.ดังกล่าวว่าได้เสียภาษีถูกต้องตามรายได้จริงหรือไม่

5.ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของ บริษัทเอกชน ดังกล่าวข้างต้น เป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขของสัญญาฉบับใหม่หรือไม่ หากเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา ขอให้ดำเนินการอย่างใดๆ เพื่อเสนอให้ รฟท.พิจารณายกเลิกสัญญาฉบับดังกล่าวต่อไปด้วย

6.ขอให้ตรวจสอบแผนผังการก่อสร้างแนบท้ายสัญญาระบุบางพื้นที่เช่าเป็นลานเอนกประสงค์ แต่เหตุใดจึงมีการก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แล้วขายให้ประชาชนได้

7:ขอให้ช่วยประสานงานและดำเนินการอย่างใดๆ เพื่อให้ รฟท.ได้กันที่ดินเพื่อจัดทำตลาดตามมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 หรือให้จัดทำเป็นตลาดประชารัฐ โดยเสียค่าเช่าในอัตราที่ต่ำ เพื่อให้ประชาชนชุมชนตลาดบ่อบัว ได้ค้าขาย โดยไม่ต้องผ่านนายทุนอีกต่อไป

กรณีความเดือดร้อนดังกล่าวสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยได้รับหนังสือข้อร้องเรียนของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ม.43(3)แล้วและจะช่วยติดตามตรวจสอบและติดตามข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนของพ่อค้าแม่ค้าชาวตลาดบ่อบัว เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาตามข้อร้องเรียนที่ได้รับมาตามกฎหมายต่อไป หากไม่เป็นผลอาจต้องนำความขึ้นฟ้องต่อศาลปกครองต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 155, 156, 157 ... 197, 198, 199  Next
Page 156 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©