RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179796
ทั้งหมด:13491028
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เล็งปรับที่นั่งภายในตู้โดยสารให้เป็นแบบพับได้ รองรับผู้โดยสารที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

In News
By BLT Bangkok
00:00, 13 Sep 2019
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2019 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ #ออกมาตรการคัดกรองรถยนต์ ที่จะเข้าจอดบริเวณที่จอดรถใต้อาคาร #สถานีมักกะสัน กรณีจอดเกิน 1 ชั่วโมง #ต้องมีตราประทับที่สถานีปลายทางเท่านั้น โดยจะเริ่มมาตรการนี้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 62 เป็นต้นไป หากจอดเกินเวลาให้บริการ ( 05.30 น.– 24.00 น. ของวันเดียวกัน ) ผู้มาจอดรถ #ต้องไปชำระค่าปรับ ที่ #สถานีตำรวจรถไฟมักกะสัน และนำหลักฐานมาแสดงจึงสามารถนำรถออกได้
https://www.bltbangkok.com/News/แอร์พอร์ตเรลลิงก์-ARL-แอร์ลิงก์-สถานีมักกะสัน-ที่จอดรถแอร์พอร์ตลิงก์-ที่จอดรถมักกะสัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2019 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

ชีวิตที่โลดแล่นบนรางของพนักงานขับแอร์พอร์ตลิงค์หญิง

เรื่อง: ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล
NGThai
3 ตุลาคม 2562 15:29

พูดคุยพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ หญิง 2 คน ที่เพิ่งผ่านการฝึกฝนและรับตำแหน่งไม่กี่เดือน กับเรื่องราว “อาชีพในฝัน” ของพวกเธอ

“โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ”

ถ้าในยุคที่ผมยังเป็นเด็กน้อย เราก็มักตอบคำถามยอดฮิตของผู้ใหญ่นี้ว่า “หนูอยากเป็นทหาร… ตำรวจ… หมอ… พยาบาล” กลับกันถ้ามาถามเด็กๆในยุคนี้คำตอบอาจต่างไป ด้วยเรื่องของยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน

เมื่อไม่กี่วันก่อนผมเองได้ทำความรู้จักอาชีพหนึ่ง นั่นคือ “พนักงานควบคุมรถไฟฟ้า” พูดง่ายๆก็คือคนขับรถไฟฟ้านั่นแหละ ผมมองว่านี่เป็นอาชีพหนึ่งที่กำลังเติบโตในบ้านเรา เพียงแต่ไม่ได้เป็นที่พูดถึงในวงกว้าง ทำให้น้องๆที่เรียนจบแล้ว กำลังจะเรียนจบ หรือน้องๆที่ยังอยู่ในวัยฝันหวานยังไม่ค่อยรู้ว่ามีอาชีพนี้อยู่ในบ้านเรา

ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับ แนน – นิตยาวรรณ ชื่นชม และ บิว – ธิดารัตน์ งามตา 2 สาวตัวเล็กๆที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า อาชีพนี้มีพนักงานหญิงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่น้องทั้งสองคนนี้ถือว่าเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ด้วยชั่วโมงการทำงานเพียงแค่สองเดือนเท่านั้น ทั้งคู่เป็นพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งจัดว่าเป็นขบวนรถไฟฟ้าที่วิ่งเร็วที่สุดในเมืองไทย เพราะเป็นขบวนที่วิ่งระหว่างเมือง จึงจำเป็นต้องใช้ความเร็วสูง

ผมนัดพบทั้ง 2 สาวที่สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน 2 ร่างบอบบางเดินเข้ามาทักทายด้วยรอยยิ้มอันอ่อนหวาน เมื่อหาที่นั่งได้แล้ว บทสนทนาระหว่างแนน บิว และผมก็เริ่มขึ้น
แอร์พอร์ตลิงก์, พนักงานขับรถไฟฟ้า, สถานีมักกะสัน
แนน – นิตยาวรรณ ชื่นชม (ซ้าย) และ บิว – ธิดารัตน์ งามตา (ขวา) ในเครื่องแบบพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่อาคารสำนักงานย่านมักกะสัน
...
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้หญิงตัวเล็กๆที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรใหญ่ๆในเมืองหลวงของประเทศไทย พวกเธออาจไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่พวกเธอก็มีความฝันและพยายามตามหาความฝันของตัวเองโดยไม่ปล่อยให้เวลาและโอกาสหลุดมือไป พอได้ฟังน้องทั้งสองคนแล้วผมก็รู้สึกว่าอย่างน้อยในอนาคตพนักงานขับรถไฟฟ้าอาจเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆอีกหลายคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2019 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า ในปี 2562 แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีรถไฟฟ้าให้บริการครบ 9 ขบวน ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประมาณ 14% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ในช่วงวันจันทร์-พฤหัสบดี รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน ส่วนวันศุกร์จะมีผู้โดยสารหนาแน่นมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 9 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารอยู่ที่ 8.4 หมื่นคนต่อวันเท่านั้น

ลดที่นั่ง เพิ่มพนักพักสะโพก

ในปีงบประมาณ 2563 บริษัทจึงมีโครงการปรับปรุงขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่มีอยู่ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น ด้วยการลดที่นั่งจาก 150 ที่นั่งต่อขบวน เหลือ 84 ที่นั่งต่อขบวน โดยมีทางเลือกอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่

แนวทางที่ 1 ลดจำนวนที่นั่งเหลือจาก 150 ที่นั่ง เหลือ 84 ที่นั่ง โดยติดตั้งพนักพักสะโพก ทดแทนเก้าอี้ที่ถูกถอดไป ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้ 8,800 คนต่อวัน รวมเป็น 9.28 หมื่นคนต่อวัน

แนวทางที่ 2 ลดจำนวนที่นั่งเหลือจาก 150 ที่นั่ง เหลือ 84 ที่นั่ง โดยติดตั้งพนักพักสะโพก ทดแทนเก้าอี้ที่ถูกถอดไป พร้อมเปลี่ยนเก้าอี้ที่เหลืออยู่บางส่วนให้เป็นเก้าอี้แบบพับได้ ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้ 8,200 คนต่อวัน รวมเป็น 9.22 หมื่นคนต่อวัน

รองรับได้อีก 1 ปี

บริษัทได้นำแนวคิดดังกล่าว ไปรับฟังความคิดเห็นผู้โดยสารผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Airport Rail Link ซึ่งปรากฎว่ามีผู้ร่วมโหวตกว่า 9 พันคน และส่วนใหญ่ 57% เลือกแนวทางที่ 2 ซึ่งบริษัทก็จะดำเนินการตามความคิดเห็นของประชาชนต่อไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถดำเนินการโครงการฯ ได้ทันที เพราะต้องรอให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ผ่านความเห็นชอบก่อน โดยเมื่อกฎหมายผ่านความเห็นชอบแล้ว ก็ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอีก 4 เดือน จากนั้นจึงเริ่มการปรับปรุงรถไฟฟ้าขบวนแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ใช้เวลาปรับปรุงขบวนละ 2 สัปดาห์ และแล้วเสร็จครบทั้ง 9 ขบวนในมิถุนายน 2563

“โครงการนี้จะใช้งบประมาณ 2 ล้านบาทต่อขบวน หรือรวมแล้ว 18 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มความจุของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อีก 8,200 คนต่อวัน เป็น 9.2 หมื่นคนต่อวัน รองรับการเติบโตของผู้โดยสารไปได้อีก 1 ปี ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปลายปี 2564 หลังจากนั้นเราจะส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปให้ผู้ชนะการประมูลไฮสปีดบริหารต่อ” นายสุเทพกล่าว

ชง “CP” จัดหารถอีก 5 ขบวน

สำหรับกรณีที่ผู้โดยสารเรียกร้องให้เพิ่มขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น นายสุเทพกล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องรอให้บริษัทโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปให้ผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา บริหารก่อน

โดยขณะนี้ต้องรอความชัดเจนในการลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) ผู้ชนะโครงการรถไฟความเร็วสูง ในวันที่ 25 ตุลาคม 2562 นี้

ถ้าหาก CPH ลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เรียบร้อยแล้ว บริษัทก็จะเข้าไปหารือกับ CPH เรื่องการโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ทันที โดยเฉพาะประเด็นการจัดหาขบวนรถเพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการของผู้โดยสาร ซึ่งบริษัทได้ประเมินว่า ความต้องการใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่แท้จริงอยู่ที่ 1.2 แสนคนต่อวัน จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถเพิ่มอีก 4-5 ขบวน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 3 หมื่นคนต่อวัน

นอกจากนี้ บริษัทจะหารือกับ CPH เพื่อให้ CPH รับโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เร็วขึ้น จากกำหนดเดิมต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ก็ให้เร็วขึ้นเป็นกลางปี 2563 หรือแล้วแต่ความพร้อมของ CPH เพื่อให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. สามารถไปปฏิบัติภารกิจบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ได้อย่างเต็มที่ โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงมีกำหนดเปิดให้บริการจริงในเดือนมกราคม 2564 แต่บริษัทต้องเข้าไปทดลองเดินรถเสมือนจริงก่อน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2563
https://www.thebangkokinsight.com/223061/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2019 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ลดที่นั่ง เพิ่มที่ยืน ให้ รถไฟด่วนสนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่ม อีกวันละ 8200 คน และ ขอให้ ซีพีซื้อเพิ่มอีก 5 ขบวนเพื่อสนองความต้องการก่อนเปิดบริการรถไฟความไวสูง
https://www.thebangkokinsight.com/223061
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 10:27 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลดที่นั่ง เพิ่มที่ยืน ให้ รถไฟด่วนสนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่ม อีกวันละ 8200 คน และ ขอให้ ซีพีซื้อเพิ่มอีก 5 ขบวนเพื่อสนองความต้องการก่อนเปิดบริการรถไฟความไวสูง
https://www.thebangkokinsight.com/223061



ติง “แอร์พอร์ตลิงก์” ถอดเบาะเพิ่มที่ยืน-เปลืองงบ แก้ไม่ตรงจุด ส่อทิ้งทวนก่อนโอน “ซีพี”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 256209:19

ติง “แอร์พอร์ตลิงก์” จ่อใช้งบลงทุนกว่า 10 ล้านถอดเบาะ อ้างเพิ่มที่ยืน ลดแออัด ทั้งๆ ที่ใกล้จะโอนโครงการให้กลุ่ม CPH ขณะที่สำรวจความเห็นผู้โดยสาร ชี้เปลืองงบ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด เแนะแก้รถเสียบ่อย หรือเพิ่มขบวนรถดีที่สุด

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า จากที่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มีแผนที่จะถอดเบาะที่นั่งภายในตู้โดยสารเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการยืนรองรับผู้โดยสารในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนที่ปัจจุบันมีความแออัด โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 10-20 ล้านบาท ซึ่งได้มีการเชิญชวนผู้โดยสารร่วมโหวตรูปแบบการปรับเบาะ ในโครงการปรับปรุงเก้าอี้ภายในขบวนรถไฟฟ้า ผ่าน Facebook : Airport Rail Link ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2562

โดยแบบที่ 1 ติดตั้งพนักสำหรับยืนพิงหลังโดยถอดเบาะนั่งออก ส่วนแบบที่ 2 ติดตั้งพนักสำหรับยืนพิงหลังและมีเก้าอี้ที่พับได้ ซึ่งในโครงการปรับเบาะนี้จะสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อย่างน้อย 48 คนต่อเที่ยว หรือ 8,880 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งมีความเห็นสนับสนุนแนวคิดการถอดเบาะ โดยเห็นว่า ควรใช้รูปแบบที่เป็นเบาะพับได้ เพราะช่วงกลางวันผู้โดยสารน้อยจะได้มีที่นั่ง แต่ความเห็นส่วนใหญ่ยังมองว่าการปรับเบาะไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาความแออัด โดยเห็นว่าควรเพิ่มขบวนรถ และแก้ปัญหารถเสียมากกว่า เนื่องจากรถที่มี 9 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้น้อยเกินไป เมื่อรถเสีย ล่าช้า ทำให้ได้รับความเสียหายไปทำงาน-ไปเรียนสาย ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน การมีรถมากกว่านี้จะเพิ่มความถี่ได้ จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด

“อยากให้มีโหวตข้อ 3 คือ เพิ่มขบวนรถมากกว่า เพราะสาเหตุมาจากตู้น้อย ขบวนรถน้อยไม่พอกับจำนวนผู้โดยสาร หากถอดเบาะแล้วเพิ่มได้ 48 คนต่อขบวนไม่ต้องทำให้เปลืองงบ เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า แอร์พอร์ตลิงก์มีปัญหาการให้บริการมาตลอด เนื่องจากปัญหาการซ่อมบำรุง รถที่มีอยู่ 9 ขบวน แม้ว่าปัจจุบันทางบริษัทจะยืนยันว่าสภาพรถพร้อมให้บริการทั้งหมด ส่วนความแออัดมาจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า และเย็น ขณะที่มีข้อมูลจากเพจ “วันนี้ แอร์พอร์ตลิงค์เป็นอะไร” ที่คอยแจ้งข้อมูลต่อผู้โดยสาร ซึ่งบ่อยครั้งแจ้งว่ามีรถเสีย เหลือวิ่ง 5 ขบวนบ้าง 6 ขบวนบ้าง เพื่อให้ผู้โดยสารเปลี่ยนไปใช้ขนส่งอื่นเดินทางแทน

เท่ากับปัญหาเกิดจาก รถวิ่งไม่ได้เต็มประสิทธิภาพทั้ง 9 ขบวนจริง และหากจะลงทุนถอดเบาะควรเอาเงินไปซ่อมรถให้มีประสิทธิภาพมากกว่า

นอกจากนี้ยังมีผู้แสดงความเห็นว่า เป็นการลงทุนที่เอื้อเอกชนที่กำลังจะเข้ามารับโครงการหรือไม่ ซึ่งร.ฟ.ท.ควรเร่งเซ็นสัญญา และให้ทางเอกชนเข้ามาดำเนินการ รวมถึงซื้อรถเพิ่มจะดีกว่า

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น ตามเงื่อนไขการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะลงนามสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH)‪ ในวันที่ 25 ต.ค. 256‬2 โดยทางกลุ่ม CPH ต้องรับมอบโครงการภายใน 2 ปีหลังลงนามสัญญา โดยต้องจ่ายเงินครบ 10,671 ล้านบาท ก่อนรับโอน


ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า มาตรการถอดเบาะเป็นแนวทางแก้ปัญหาความแออัดของแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งในช่วง 2 ปีก่อนที่กลุ่ม CPH จะรับโอน รัฐมีหน้าที่ต้องบริหารการเดินรถไปก่อน ดังนั้น หากรถ อุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุด และมีผลกระทบต่อการให้บริการ และความปลอดภัย ก็ต้องพิจารณาความจำเป็นที่จะลงทุน แม้ว่าการลงทุนนั้นจะทำให้มีผลไปอีกระยะยาวก็ไม่ถือว่าเป็นการเอื้อเอกชน

“ถ้าบอกว่าเราไม่ทำอะไรเลย รอโอนให้ซีพี พอเอกชนรับไป รถพังเลย แบบนี้คงไม่ถูกต้อง ช่วง 2 ปีนี้แอร์พอร์ตลิงก์ต้องทำหน้าที่ให้บริการต่อไป ส่วนเรื่องถอดเบาะเป็นการแก้ปัญหาแออัด ให้เปิดรับฟังความเห็นและต้องมาพิจารณาข้อมูลทั้งหมดก่อนตัดสินใจว่าสมควรจะลงทุนหรือไม่ สิ่งที่เหมาะสมที่สุด”

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เคยกล่าวว่า ผู้โดยสารมีอัตราเพิ่มขึ้นมาก ปีนี้เฉลี่ย 75,000 คน/วัน สูงขึ้นจากปีก่อนที่ราว 68,000 คน/วัน โดยวันศุกร์เคยมีสูงถึง 90,000 คน/วัน ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการแก้ปัญหาความแออัดภายในขบวนรถ ภายในปลายปีนี้ คือเปลี่ยนเบาะเป็นแบบพับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2019 3:44 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ จ่อหารือซีพี เร่งโอนแอร์พอร์ตเรลลิงค์
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2611683488878580&set=a.1878620525518217&type=3&theater


การรถไฟฯจ่อหารือ 'ซีพี' เร่งโอนแอร์พอร์ตเรลลิงค์
2 พฤศจิกายน 2562

"ร.ฟ.ท." ลั่นมีความพร้อมโอน "แอร์พอร์ต เรล ลิงค์" ทันที จี้ "ซีพี" เร่งวางแผนชาระสิทธิบริหาร 1 หมื่นล้านบาท กลางปี 2563 เล็งหารือซื้อขบวนเพิ่ม คาดผู้โดยสารโตต่อเนื่องทะลุ 1.2 แสนคนต่อวัน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ร.ฟ.ท.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะเริ่มทบทวนดูทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ว่ามีส่วนใดที่จะต้องให้เอกชนรับไปบริหารบ้าง

โดยมีกรอบกำหนดไว้ในเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) ไว้อยู่แล้วว่า เอกชนจะต้องจ่ายเงินโอนสิทธิรับบริหารส่วนนี้ 1 หมื่นล้านบาทให้ ร.ฟ.ท.ภายใน 2 ปี จะทยอยจ่ายหรืออะไรก็ได้ แต่เมื่อ จ่ายครบภายใน 2 ปีจึงจะมีสิทธิในการเข้ามาบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์

ทั้งนี้ ทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่จะต้องส่งมอบให้กับกลุ่มซีพี ประกอบด้วย 1.ขบวนรถที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 9 ขบวน 2.ระบบและอุปกรณ์ รถไฟฟ้า 3.ตัวสถานีรถไฟฟ้าที่จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารที่จะได้สิทธิในการบริหารจัดการด้วย

ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณภายนอกสถานี จะไม่ได้รวมอยู่ในการส่งมอบเมื่อชาระค่าใช้จ่ายแล้วเสร็จ เพราะจำเป็นต้องรอเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคใต้ดินให้แล้วเสร็จจึงจะส่งมอบได้ โดยสถานีมักกะสันที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะมี พื้นที่ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ตามแผนจะมีการส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือ 9.31 ไร่ จะทยอยส่งมอบ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งจะต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้

นายวรุวฒิ กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะส่งมอบทรัพย์สินแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทันที ที่ทางเอกชนชำระเงินครบ ขอเพียงแค่เอกชนแจ้งแผนที่จะชำระเงินและเข้ามาบริหารงานให้ชัดเจน เพื่อ ร.ฟ.ท.จะได้จัดวางแผนล่วงหน้าในการเตรียมโอนกรรมสิทธิ์และโอนย้ายบุคลากร โดยต้องหารือร่วมกันกับกลุ่มซีพีอย่างชัดเจนหลังลงนามสัญญา เพราะการหารือก่อนหน้านี้ กลุ่มซีพีจะจ่ายเงินบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในช่วงปลายปีที่ 2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไฮสปีด-รถไฟทางคู่ 'บิ๊กเชนจ์' ของ ร.ฟ.ท.
“ส่งออกข้าวไทย”ทรุดหนัก แข่งขันไม่ได้ ปมของแพงไร้ความแตกต่าง
ซีพีเอฟยันสหรัฐยกเลิก 'จีเอสพี' ไม่กระทบธุรกิจ
รฟท.เข้มลดหุ้นไฮสปีด ต้องผ่านบอร์ดคุมสัญญา-ครม.

ADVERTISEMENT

"เราต้องการทราบแผนการจ่ายเงิน เพื่อที่จะได้ไปวางแผนการทางานโอนย้ายบุคลากรได้ด้วย เพราะตอนนี้เราก็จะโอนย้ายบุคลากรจากแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มาบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะเปิด ให้บริการในเดือน ม.ค.2564"

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จากัด หรือ รฟฟท. กล่าวว่า รฟฟท.เตรียมความพร้อมการโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ให้กลุ่มซีพี โดยภายหลังลงนามสัญญา รฟฟท.จะเริ่มสำรวจทรัพย์สินเพื่อหารือกับกลุ่มซีพี หลังการลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง

ส่วนบุคลากร รฟฟท.จะเตรียมความพร้อมในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการเดินรถ และบริหารจัดการรถไฟฟ้าแล้ว และจะเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 300 อัตรา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 534 อัตรา รวมเป็น 834 อัตรา

ทั้งนี้ ปัจจุบันแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มีทรัพย์สินในส่วนของขบวบรถไฟฟ้ารวม 9 ขบวน และต้องจัดหาขบวนรถเพิ่มเติมเพราะผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ได้ชะลอแผนจัดหาขบวนรถไฟฟ้าออกไป เนื่องจากจะโอนทรัพย์สินให้ผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดังนั้นจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้จัดหาขบวนรถใหม่ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยประเมินว่าความต้องการใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่แท้จริงอยู่ที่ 1.2 แสนคนต่อวัน จึงต้องหาขบวนรถเพิ่ม 4-5 ขบวน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 3 หมื่นคนต่อวัน

รวมทั้งจะหารือการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ให้เร็วขึ้น จากกำหนดเดิมต้องใช้เวลาถึง 2 ปี โดยจะขอพิจารณาให้รับบริหารเร็วขึ้นในช่วงกลางปี 2563 หรือแล้วแต่ทางเอกชนจะมีความพร้อม เนื่องจาก รฟฟท.จะต้อง ไปบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงในเดือน ม.ค.2564 แต่ รฟฟท.ต้องไปทดลองเดินรถเสมือนจริงก่อนในเดือน ก.ค.-ส.ค.2563


Last edited by Wisarut on 06/11/2019 2:29 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 2:26 pm    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.อัพเกรด “แอร์พอร์ตลิงก์” “ซื้อรถใหม่-รื้อระบบ” หมื่นล้านรับไฮสปีด
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12:15 น.

ยังไม่ชัดเจนเสียทีเดียว “กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร” ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จะเข้าพื้นที่พร้อมส่งมอบในทันทีช่วง “สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ” หรือแอร์พอร์ตลิงก์เดิมเลยหรือไม่

เพราะต้องควักเงิน 10,671 ล้านบาท จ่ายค่าใช้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ระยะเวลา 50 ปี ให้ครบก่อนถึงจะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงระบบให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูง

รวมถึงทำแผนการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบันใหม่ด้วย ยังไม่รู้จะต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหนในการยกเครื่องการบริการ ว่ากันว่าอาจจะเฉียดหมื่นล้าน

กำลังรอดูทรัพย์สินที่รับมอบมาจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่ว่าจะเป็นรถ 9 ขบวน อะไหล่อุปกรณ์ต่าง ๆ สถานี และพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี จะสมบูรณ์ 100% สักแค่ไหน

ขณะที่ในทีโออาร์กำหนดสามารถชำระได้ใน 2 ปี อยู่ที่การตัดสินใจของกลุ่ม ซี.พี.จะจ่ายเลยหรือรอเวลาไปอีก 1-2 ปี หลังเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562

ด้าน “ศุภชัย เจียรวนนท์” บอสใหญ่กลุ่ม ซี.พี. ย้ำชัดในวันเซ็นสัญญายังไม่จ่ายเงินในทันที เพราะการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ในทีโออาร์มีกำหนดเงื่อนเวลาที่ชัดเจน

ขณะที่ “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกมาระบุว่า กลุ่ม ซี.พี.จะต้องทำแผนให้พิจารณาภายใน 3 เดือนหลังเซ็นสัญญา

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นอกจากจ่ายค่าเดินรถ 10,671 ล้านบาท จะต้องลงทุนอีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างประเมินค่าใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงระบบเครื่องกลและรถไฟฟ้าการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เดิมให้รองรับกับระบบรถไฟความเร็วสูง เพราะต้องใช้โครงสร้างร่วมกัน เช่น ยกระดับแพลตฟอร์มทางเดินชานชาลาสูงเท่ากับชานชาลาของรถไฟความเร็วสูง และมีบางสถานีจะต้องตัดพื้นที่สถานีออกประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งการปรับปรุงจะต้องดำเนินการนอกเวลาให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ในช่วงเวลา 24.00-05.00 น. เพื่อไม่ให้กระทบการเดินรถ

ขณะเดียวกันยังรวมถึงการซ่อมบำรุงแอร์พอร์ตลิงก์เดิม และอาจจะต้องมีการขยายชานชาลาสถานีที่มักกะสันเป็นสถานีจอดให้รับกับขบวนรถที่นำมาวิ่งด้วย และยังต้องปรับปรุงพื้นที่ อุปกรณ์ภายในสถานี และซื้อรถขบวนใหม่ที่จะมาวิ่งบริการในแอร์พอร์ตลิงก์ เพิ่มประสิทธิภาพให้รองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะสถานีมักกะสันที่จะเป็นประตูสู่พื้นที่อีอีซี จะต้องใช้พื้นที่สถานีให้เต็มประสิทธิภาพ

“รถขบวนใหม่ที่จะนำมาวิ่งบริการเส้นทางแอร์พอร์ตลิงก์เดิมกับขบวนรถไฟความเร็วสูง ยังไม่ได้เลือกว่าจะใช้ระบบของประเทศไหน แต่มีแนวโน้มจะใช้ตามแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ ตอนนี้มีไจก้าพร้อมจะปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หากใช้รถไฟความเร็วสูงของฮิตาชิ ส่วนการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ทาง CRCC กับ BEM เป็นผู้ดูแลดำเนินการ ยังไม่รู้ว่าจะใช้รถจีนหรือซีเมนส์”

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ญ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามแผนจะต้องส่งมอบแอร์พอร์ตลิงก์ให้กลุ่ม ซี.พี.ใน 2 ปี ช้าสุดวันที่ 24 ต.ค. 2564 อยู่ที่เอกชนจะจ่ายเงินครบเมื่อไหร่ ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างสำรวจสินทรัพย์และทรัพย์สินของระบบแอร์พอร์ตลิงก์ทั้งหมด เพื่อเตรียมส่งมอบให้กลุ่ม ซี.พี.เดินรถต่อไป จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน

“รถทั้ง 9 ขบวนมีอายุการใช้งาน 30 ปี ต้องซ่อมบำรุงใหญ่ระยะทาง 3.6 ล้านกิโลเมตร ในปี 2565 จากปัจจุบันมีระยะวิ่ง 2.4 ล้านกิโลเมตร และจะมีซ่อมใหญ่ในปีที่ 15 แต่ทุกปีมีเตรียมเงินลงทุน 300-400 ล้านบาท ซ่อมบำรุงและซื้ออะไหล่ที่ถึงรอบต้องเปลี่ยนเมื่อครบ 4 ปี เช่น ขอบยางประตูรถ เพื่อประคับประคองการเดินรถให้สมบูรณ์ ก่อนส่งต่อให้กับเอกชนรายใหม่”

นายสุเทพกล่าวอีกว่า ก่อนส่งมอบต้องมีการประชุมร่วมกับกลุ่ม ซี.พี.ที่จะมารับงานต่อ เพื่อทำแผนการซ่อมบำรุงและจัดหาอะไหล่ จะดูในรายละเอียดว่ามีรายการอะไหล่ไหนที่ต้องรอนาน หรือสามารถทำก่อนและหลังได้

รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อเพิ่มผู้โดยสาร ปัจจุบันผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 90,000 เที่ยวคนต่อวัน เช่น ปรับปรุงตู้ขนสัมภาระ ซื้อรถขบวนใหม่ 7 ขบวน เนื่องจากรถ 9 ขบวนในปัจจุบันสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 90,000 เที่ยวคนต่อวัน หรือรองรับได้อีก 1 ปีกว่า ๆ เท่านั้น อยู่ที่เอกชนรายใหม่จะบริหารจัดการ ซึ่งการซื้อรถใหม่สามารถนำรถที่ผลิตจากจีนและยุโรปมาวิ่งบริการได้ ก่อนหน้านี้บริษัทเคยจะซื้อรถใหม่จากบริษัท CRCC จากจีนกว่า 4,000 ล้านบาท แต่ยกเลิกการประมูลไป

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทั้ง ร.ฟ.ท.และบริษัทลูกควรวางแผนในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เอกชนคู่สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จัดเตรียมบุคลากรเข้ามาดำเนินการตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 ในการเตรียมความพร้อมในการเดินรถเสมือนจริง ก่อนส่งมอบธุรกิจตามแผนงาน

ตอนนี้ยังเดาใจ “ซี.พี.” ไม่ออกว่าจะยอมทุ่มเงิน 10,671 ล้านบาท เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เดิมไปพลาง ๆ ก่อน เพื่อเก็บเกี่ยวรายได้ค่าโดยสารที่ตอนนี้รายได้เติบโตขึ้นเฉลี่ยวันละ 3 ล้านบาท เป็นการฆ่าเวลาไปก่อนทุ่มเงินอีกก้อนใหญ่ เพื่อยกเครื่องการเดินรถทั้งพวง แลกกับสัมปทานเดินรถ 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

10 พ.ย. 62 ความคืบหน้าทางเดินลอยฟ้า. (Sky Walk) เชื่อมจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (motorway) กับสถานี Airport Rail Link บ้านทับช้าง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2636307359749526
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2019 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

10 พ.ย.62 ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนและลานจอดรถ สถานีรถไฟฟ้า Airport Rail Link บ้านทับช้าง เริ่มงาน 20 สิงหาคม 62 สิ้นสุด 16 กุมภาพันธ์ 2563 ระยะเวลา 180 วัน. ปัจจุบันมีเทพื้นไปพอสมควรแล้วครับ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2636448756402053
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 159, 160, 161  Next
Page 142 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©