RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179814
ทั้งหมด:13491046
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2019 10:52 am    Post subject: Reply with quote



เริ่มสร้างสถานีเคหะรามคำแหง ราษฏร์พัฒนา มีนพัฒนาแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=A7aQI_n10ng
https://www.youtube.com/watch?v=HT9uDqec63A


เริ่มสร้างสถานีมีนบุรีและสุวินทวงศ์แล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=goVbN-L8CAk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2019 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

หั่นต้นทุนสายสีส้ม! “ศักดิ์สยาม”สั่งกรมราง-รฟม.ถกเคลียร์ส่วนต่างดอกเบี้ย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 ตุลาคม 2562 เวลา 17:31

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ประชุมโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 35.9 กม. มูลค่ารวม 122,041 ล้านบาท ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้ตรวจสอบข้อมูลตัวเลขต้นทุนโครงการพบว่า ตัวเลขของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไม่ตรงกัน ซึ่งมาจากตัวเลขอัตราดอกเบี้ยที่นำมาใช้สำหรับการก่อสร้างงานโยธา โดยกรมรางยึดตัวเลขเดียวกับโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน ที่อัตรา 1.5% -1.6% ส่วน รฟม. อ้างอิงมาจากสำนักบริหารหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่อัตราประมาณ 2.5 %

ดังนั้น ให้ไปดูว่า ตัวเลขของอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและถูกต้อง เป็นเท่าไร รวมถึงต้นทุนอื่นๆ ด้วยซึ่งได้มอบหมายให้นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นประธานโดยเรียกกรมราง , สนข.และ รฟม. มาร่วมประชุมในช่วงเช้าวันที่ 10 ต.ค. พิจารณาข้อมูลตัวเลขอีกครั้ง จากนั้นช่วงบ่าย ตนจะนำข้อมูลเพิ่มเติม ไปประชุมร่วมกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจในวันที่ 11 ต.ค. ต่อไป

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก นั้นเริ่มต้น ใช้รูปแบบ รัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาเองและให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) งานระบบและบริหารการเดินรถ ต่อมาปรับรูปแบบเป็น PPP100% เนื่องจากรัฐมีข้อจำกัด เรื่องการลงทุนเพดานหนี้ไม่เพียงพอ ซึ่งในปี 2563 เรื่องเพดานหนี้ ไม่มีปัญหา โดยยังเหลืออยู่ที่ 11.5% ของงบประมาณประจำปี ทำให้เงื่อนไขข้อจำกัด ในการลงทุนภาครัฐไม่มีปัญหา เพียงแต่ ต้องการลดต้นทุนในการดำเนินโครงการ ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

โดยการเปรียบเทียบต้นทุนจะต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่า การทำข้อมูลตัวเลขเพิ่มเติม และเป็นปัจจุบันมากขึ้นจะทำให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาเลือกรูปแบบการลงทุนที่ดีที่สุด ซึ่งได้ให้ข้อสังเกตถึงการทำโครงการที่เป็นบริการสาธารณะ หลักการคิดและพิจารณาให้ยึดผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นลำดับแรก และค่าโดยสารที่ถูกที่สุด

สำหรับกรณีรัฐแยกงานโยธาลงทุนเองนั้น จะทำได้รวดเร็ว เพราะสามารถเร่งรัดการก่อสร้างได้ และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการนำไปผูกไว้กับงานเดินรถ เป็นสัญญาใหญ่ โดย กรมรางได้ทำตารางเวลาคาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างได้ในปี 2563 และก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดเดินรถ พร้อมกันทั้งสายสีส้มตะวันตก และตะวันออกในปี 2569

@ยืนยันไม่เอื้อ”ชิโน-ไทย “ยึดประโยชน์ประชาชนอันดับแรก

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีแยกงานโยธาออกมา อาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้รับเหมา โดยเฉพาะบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือไม่ นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ไม่อยากให้มองไกลไปขนาดนั้น ยืนยันว่าในการพิจารณาโครงการนี้ ดูว่าประชาชนได้ประโยชน์เป็นอันดับแรก ถึงจะมองที่รัฐและเอกชน ประเทศไทยเป็นหลักธรรมาภิบาล ดังนั้นจะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้


ซึ่งกรอบการพิจารณาและการเลือกรูปแบบนั้นต้องดูตัวเลขเป็นหลัก ซึ่งตนและรองนายกฯอนุทิน เห็นว่าตัวเลขที่เสนอไม่อัพเดท และเป็นคนละสถานการณ์ วันนี้เป็นปี 2563 ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องเพดานงบประมาณ หากใช้ข้อมูลและตัวเลขที่ไม่อัพเดทก็จะถูกร้องเรียนได้ และขณะนี้ยังเป็นขั้นตอนการพิจารณา

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ใช้รูปแบบเอกชนลงทุน (PPP) 100% นั้น เนื่องจากเป็นระบบโมโนเรล ซึ่งระบบรถต้องสอดคล้องกับระบบรางดังนั้นงานโยธาและระบบจึงต้องไปด้วยกัน ส่วนสายสีส้ม เป็นระบบขนส่งมวลชนหนัก (Heavy Rail Transit System) ซึ่งงานโยธาและรางมีมาตรฐาน ซึ่งรถไฟฟ้าวิ่งได้ทุกยี่ห้อ ดังนั้นการก่อสร้างระหว่างงานโยธาและรางแยกกันได้

โดยหลักการเลือกระบบนั้น ใช้เกณฑ์จำนวนผู้โดยสาร ซึ่ง โมโนเรล ผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 5,000 คน-40,000 คนต่อวัน ส่วน ระบบ Heavy Rail จะเริ่มจาก 20,000 คนต่อวันขึ้นไป ซึ่งสายสีส้ม ด้านตะวันออกและตะวันตก ประเมินแล้วว่าจะมีผู้โดยสารมากกว่า 4 แสนคนต่อวัน และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้โดยสารเป็นล้านคนต่อวันในอนาคต

//--------------------------------------------------------

https://www.thebangkokinsight.com/219811/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2019 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

จากกรณีแผนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตกวงเงิน 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ รัฐร่วมทุนกับเอกชนในการก่อสร้างและเดินรถ กับ รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานเดินรถนั้น

ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตอนนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเลือกแบบไหน เพียงแต่รับข้อมูลจากกรมรางฯ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มาพิจารณา

คณะรัฐมนตรีชุดก่อน เสนอให้ร่วมทุนกับเอกชน หรือที่เรียกว่า PPP แต่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นว่า การให้ฝ่ายรัฐลงทุนงานโยธา และฝ่ายเอกชนดูแลเรื่องงานเดินรถน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ก็ต้องมาดูว่าทางออกไหนคือประโยชน์สูงสุดของประเทศ ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรทั้งสิ้น โดยในวันพฤหัสบดีนี้ (10 ต.ค.) จะหารือขอผลสรุปจากนายศักดิ์สยาม จากนั้นจะนำเรื่องเข้า ครม.ต่อไป

นายอนุทิน บอกด้วยว่า ส่วนตัวเสนอให้แยกงานกัน เอกชนดูแลงานเดินรถ รัฐดูแลงานโยธา เพราะทำแบบนี้มาตลอด ซึ่งไม่เคยเห็นปัญหา ทั้งยังเป็นการกระจายความเสี่ยง และกระจายรายได้มากขึ้น ให้เม็ดเงินหมุนเวียนกว้างที่สุด แต่เมื่อ ครม. เห็นอย่างไรก็ต้องน้อมรับ

ส่วนที่กังวลว่าถ้ากลับไปแยกสัญญา ก็ประเมินตัวเลขใหม่จะทำให้เสียเวลา ส่วนตัวไม่กังวลเพราะมีตัวเลขอยู่แล้ว เอาราคาจริงๆ มาคิดก่อน งานทำนองนี้ รฟท.ทำมาเยอะแล้ว ไม่ต้องห่วง

“มีการโจมตีว่าผมเป็นนักรื้อ ผมบอกเลยนะว่าผมไม่ได้จ้องจะทำอะไรแบบนั้น แต่ผมได้รับคำสั่งจากท่านนายกฯ ให้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด งานโยธาประมาณ 9 หมื่นถึง แสนล้านบาท ใครทำรัฐก็จ่ายราคานี้ และค่อยๆ จ่าย ทำไมรัฐไม่ทำเองเสียเลยให้คนอื่นทำทำไม ที่สำคัญให้รัฐเป็นผู้กู้ ดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% แต่ให้เอกชนเป็นคนกู้ ดอกเบี้ยพุ่งไปถึง 5-6% แบบไหนมันคุ้มกว่า”
https://www.thebangkokinsight.com/220226/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2019 10:14 am    Post subject: Reply with quote

'อนุทิน'ดันแบบแยกสัญญา ประมูล'สายสีส้มตะวันตก'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2562

10 ต.ค. สรุปข้อมูล ผลตอบแทน

กรุงเทพธุรกิจ "อนุทิน" สั่งหน่วยงานทำตัวเลขการเงินรถไฟสายสีส้มตะวันตก ให้ชัดเจนก่อนชง ครม.เสนอแนวทาง ประมูล ยันแยกสัญญาก่อสร้าง-เดินรถ มีความเหมาะสมกว่า เรียกประชุมอีกครั้ง สรุปตัวเลขผลตอบแทน 10 ต.ค.นี้ "ศักดิ์สยาม" ชี้หากได้ข้อสรุปพร้อมเดินหน้า ประมูลก่อสร้างทันทีปี 2563

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าวานนี้ (8 ต.ค.) ได้มีการหารือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม- บางขุนนนท์) ซึ่งได้มีการหารือกันในเรื่อง การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี)

โดยมีแนวคิดที่มีการเสนอคือการ แยกสัญญาในการลงทุนงานก่อสร้าง กับสัญญาการเดินรถ น่าจะเป็นวิธีการ ที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามข้อมูลที่มีการเสนอ ในที่ประชุมวันนี้ยังมีตัวเลขที่ไม่ตรงกัน ทางฝ่ายกระทรวงคมนาคมมองว่า การแยกสัญญาการก่อสร้างและการเดินรถ ดีกว่า ส่วนกระทรวงการคลังให้ข้อมูลว่า ในเรื่องนี้มีการเสนอมาแล้วในบอร์ดพีพีพี ให้มีการรวมสัญญากันดังนั้นต้องมาดู ในเรื่องผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อ โครงการที่รัฐจะได้เป็นสำคัญ

ทั้งนี้ในการพิจารณาตัวเลขอัตรา ผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) ที่หน่วยงานต่างๆ มีการ คิดมาตนได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการ คำนวณยังไม่ตรงกัน จึงให้หน่วยงานต่างๆ ไปปรับตัวเลขให้ตรงกันให้แล้วเสร็จ โดยจะมีการประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสบดี ที่ 10 ต.ค.นี้ โดยเป็นการหารือกันในส่วนของ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการนำเสนอตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้โดยมายืนยันตัวเลขนี้และเอาไป เปรียบเทียบกันในทุกสมมุติฐานเพื่อให้ได้ ข้อเสนอที่ดีที่สุดเพื่อเสนอให้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตัดสินใจแนวทาง ในการเปิดประมูลโครงการต่อไป

"ส่วนตัวผมมองว่าเราแยกสัญญา ดีกว่าเพราะก็ทำกันมาแบบนี้ตลอดก็ไม่มี ปัญหาอะไร การแยกสัญญายังเป็นการ กระจายความเสี่ยงได้ด้วย ขณะเดียวกัน ก็มีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ ได้มากขึ้น เนื่องจากคนที่จะมารับจ้าง การทำงานอยู่ในวงกว้าง ซึ่งเหมาะกับ เศรษฐกิจแบบนี้" นายอนุทิน กล่าว

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจพิจารณาทั้ง 2 ทางเลือก คือ

1. รัฐร่วมทุนกับเอกชนในการก่อสร้าง และเดินรถ และ 2. รัฐลงทุนงานโยธา ส่วนเอกชนลงทุนงานเดินรถ โดยทั้ง สองทางเลือกนี้มีต้นทุนพัฒนาโครงการ ที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่อง ตัวเลขต้นทุน จึงมอบหมายให้นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมร่วมกับกรมการขนส่ง ทางราง (ขร.) สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งจะทำให้เห็นความชัดเจนว่าควรจะแยก งานโยธาออกจากงานระบบเดินรถหรือไม่ และตัวเลขที่ชัดเจนเป็นอย่างไร จากนั้น จะรายงานเรื่องดังกล่าวให้นายอนุทิน เสนอเข้าที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ วันที่ 11 ต.ค.นี้

"ข้อสรุปคือจะเป็นการแยกงานโยธา ออกจากระบบเดินรถหรือไม่ ต้องพิจารณา จากตัวเลขต้นทุนเป็นหลัก ซึ่งตอนนี้พบว่า อัตราดอกเบี้ยที่กรมขนส่งทางราง และ รฟม. เสนอมาก็ไม่ตรงกันกรมรางศึกษาว่า 1.6% ต่อปี ขณะที่ รฟม. ได้อัตราดอกเบี้ย อยู่ที่ 2.5% ต่อปี ดังนั้นขอให้กลับไป พิจารณาเพิ่มเติมว่าควรจะเป็นเท่าไหร่"

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวอีกว่า ส่วนตัว มองว่าหากมีการแยกงานโยธาออกจาก ระบบเดินรถจะทำให้โครงการมีความเสี่ยง น้อยลง และโครงการจะเสร็จเร็วขึ้น หาก ครม.เศรษฐกิจมีมติให้แยกงานโยธา วงเงินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท จะสามารถเปิดประมูลได้ในปี 2563 และมีเวลา 5 ปี ในการทำพีพีพี ระบบเดินรถ ซึ่งจะทำให้ สามารถเปิดให้บริการได้พร้อมกันกับ สายสีส้มตะวันออกในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2019 11:53 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'อนุทิน'ดันแบบแยกสัญญา ประมูล'สายสีส้มตะวันตก'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2562


“อนุทิน” นัดสรุปทางออก “สายสีส้ม” 10 ต.ค.ก่อนชงครม.
วันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“รองนายกฯอนุทิน” สั่งหน่วยงานเคลียร์ตัวเลขการเงินสายสีส้มตะวันตกให้นิ่งก่อนชง ครม.เสนอแนวทางประมูล ยันแนวทางแยกสัญญาก่อสร้าง – เดินรถมีความเหมาะสมกว่า รัฐกู้เงินเองมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า ย้ำไม่ได้บีบบอร์ดรถไฟลาออก เปิดช่องยืดระยะเวลาลงนามหลัง 7 พ.ย.หากทั้งสองฝ่ายยินยอม



วันที่ 8 ต.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม - บางขุนนนท์) ซึ่งได้มีการหารือกันในเรื่องการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2562 ซึ่งโครงการนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) เมื่อรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ในขณะนี้มีรัฐบาลใหม่ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็มีการพิจารณาและมีแนวคิดใหม่ที่นำเสนอซึ่งควรมีการทบทวนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ



นายอนุทิน กล่าวว่า แนวคิดที่มีการเสนอคือการแยกสัญญาในการลงทุนงานก่อสร้างกับสัญญาการเดินรถ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามข้อมูลที่มีการเสนอในที่ประชุมวันนี้ยังมีตัวเลขที่ไม่ตรงกันทางฝ่ายกระทรวงคมนาคมมองว่าการแยกสัญญาการก่อสร้างและการเดินรถดีกว่า ส่วนกระทรวงการคลังให้ข้อมูลว่าในเรื่องนี้มีการเสนอมาแล้วในบอร์ดพีพีพีให้มีการรวมสัญญากันดังนั้นต้องมาดูในเรื่องผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อโครงการที่รัฐจะได้เป็นสำคัญ



ทั้งนี้ในการพิจารณาตัวเลขอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) ที่หน่วยงานต่างๆมีการคิดมาได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการคำนวณยังไม่ตรงกัน จึงให้หน่วยงานต่างๆไปปรับตัวเลขให้ตรงกันให้แล้วเสร็จ โดยจะมีการประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสบดีที่ 10 ต.ค.นี้ โดยเป็นการหารือกันในส่วนของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ได้มีการนำเสนอตัวเลขต่างๆก่อนหน้านี้โดยมายืนยันตัวเลขนี้และเอาไปเปรียบเทียบกันในทุกสมมุติฐานเพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดเพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตัดสินใจแนวทางในการเปิดประมูลโครงการต่อไป



“ส่วนตัวผมมองว่าเราแยกสัญญาดีกว่าเพราะก็ทำกันมาแบบนี้ตลอดก็ไม่มีปัญหาอะไร การแยกสัญญายังเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น เนื่องจากคนที่จะมารับจ้างการทำงานอยู่ในวงกว้าง ซึ่งเหมาะกับเศรษฐกิจแบบนี้ ที่ช่วยให้เกิดการขยายงานก่อสร้างออกไป ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องแนวคิดส่วนตัวของผม แต่ผมไม่ได้ตัดสินใจคนเดียวต้องดูข้อมูลและข้อเสนอจากทุกฝ่ายด้วยว่าข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งต้องดูผลตอบแทนที่ภาครัฐจะได้เป็นสำคัญและไม่ใช่เหตุผลที่รัฐต้องมีการควักกระเป๋าจ่ายเงินเพิ่ม ขณะที่ รฟม.ก็มีความเชี่ยวชาญในการควบคุมงานก่อสร้างงานในลักษณะนี้ได้อยู่แล้วการแยกสัญญาจึงไม่มีผลต่อการควบคุมงาน” นายอนุทิน กล่าว



นายอนุทิน กล่าวด้วยว่าโครงการในลักษณะนี้รัฐต้องเสียเงินในการลงทุนงานโยธาอยู่แล้วแต่ว่าเราจะดูว่าจะให้เกิดการประมูลในลักษณะใด เงินที่รัฐลงไปต้องเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจให้มากรอบมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยการกู้เงินของภาครัฐมีต้นทุนทางการเงินที่ถูกกว่าภาคเอกชนอยู่แล้ว โดยมีตัวอย่างโครงการการกู้เงินในโครงการสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี) ที่รัฐกู้เงินได้โดยต้นทุนต่ำดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 2% หรือไม่เกิน 2% แต่เอกชนต้นทุนการเงินอยู่ที่ 4 - 5% ซึ่งต้นทุนเรื่องการเงินตรงนี้ทำให้มูลค่าการลงทุนรวมของโครงการต่างกันเป็นหลักหมื่นล้านบาท



“ผมไม่ได้จะรื้อโครงการแต่ต้องการให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด ส่วนตัวผมมองว่าเราแยกสัญญาดีกว่าเพราะก็ทำกันมาแบบนี้ตลอดก็ไม่มีปัญหาอะไร การแยกสัญญายังเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น เนื่องจากคนที่จะมารับจ้างการทำงานอยู่ในวงกว้าง ซึ่งเหมาะกับเศรษฐกิจแบบนี้ ที่ช่วยให้เกิดการขยายงานก่อสร้างออกไป ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องแนวคิดส่วนตัวของผม แต่ผมไม่ได้ตัดสินใจคนเดียวต้องดูข้อมูลและข้อเสนอจากทุกฝ่ายด้วยว่าข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งต้องดูผลตอบแทนที่ภาครัฐจะได้เป็นสำคัญและไม่ใช่เหตุผลที่รัฐต้องมีการควักกระเป๋าจ่ายเงินเพิ่ม ขณะที่ รฟม.ก็มีความเชี่ยวชาญในการควบคุมงานก่อสร้างงานในลักษณะนี้ได้อยู่แล้วการแยกสัญญาจึงไม่มีผลต่อการควบคุมงาน”นายอนุทินกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2019 10:57 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ ชงครม. 11 ต.ค. แยกสัญญารถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก ตั้งเป้าเปิดเดินรถพร้อมตะวันออกปี’69
วันที่ 8 ตุลาคม 2562 - 21:59 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณะสุข หลังจากได้รับมอบหมายจาก คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจให้ติดตามแผนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก “ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์” ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร และระบบเดินรถไฟฟ้า มูลค่ารวม 1.22 แสนล้านบาท ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเท็จจริงต้นทุนโครงการรูปแบบเดิมตามที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำเสนอ ซึ่งมีการรวมสัญญางานก่อสร้างกับสัญญาเดินรถเป็นสัญญาเดียว และรูปแบบใหม่ที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) นำเสนอ ให้มีการแยกสัญญางานโยธาออกจากสัญญาการเดินรถ ตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง

โดยเมื่อพิจารณาการดำเนินการในรูปแบบที่มีการแยกสัญญางานโยธาก่อสร้างออกมาต่างหากโดยให้รัฐบาลงทุนวงเงิน 9 หมื่นล้านบาท โดยใช้การกู้เงินนั้น ปรากฏว่า ตัวเลขต้นทุนการดำเนินโครงการตามผลการศึกษาของ รฟม. และขร. ยังมีความแตกต่างกันในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดย รฟม. อ้างอิงดอกเบี้ยเงินกู้ จากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อยู่ที่ 2.5% แต่ ขร. อ้างอิงดอกเบี้ยเงินกู้ จากโครงรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ที่อัตรา 1.5-1.6% ดังนั้นจึงมอบหมายให้นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมร่วมกับ ขร. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ รฟม. ในช่วงเช้าวันที่ 10 ต.ค.นี้ เพื่อสรุปตัวเลขที่แท้จริงว่าเป็นอัตราไหน เพื่อนำเสนอให้รองนายกอนุทินช่วงบ่าย เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) พิจารณาในวันที่ 11 ต.ค. ส่วนจะเสนอให้ครม.ใหญ่ พิจารณาทันวันที่ 15 ต.ค. หรือไม่ยังไม่สามารถบอกได้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนตัวมองว่าการแยกงานโยธาออกมาให้รัฐลงทุนเองจะความเสี่ยงในการดำเนินโครงการน้อยลง และโครงการจะเสร็จเร็วขึ้น เพราะไม่ผูกโครงการขนาดใหญ่กับผู้รับจ้าง เช่น โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ที่มีการแบ่งสัญญาออกเป็น 40 สัญญาทำให้โครงการเสร็จเร็วกว่าที่ประมารการไว้ โดยหาก ครม. มีมติให้แยกงานโยธาออกโดยให้รัฐลงทุนเองคาดว่า จะเปิดประมูล ได้ในปี 2563 เนื่องจากเป็นโครงการที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.งบประมาณเนื่องจากรัฐบาลจะใช้วิธีการ กู้เงินมา ส่วนสัญญาระบบเดินรถนั้นไม่ใช่ปัญหาเพราะยังมีเวลาในการเปิดพีพีพีอีก 5ปี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการพร้อมกับรถไฟฟ้าสีส้มตะวันออกในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2019 11:42 am    Post subject: Reply with quote

จุดพลุทำเลทอง‘มิกซ์ยูส’ สถานีศิริราช

ออนไๆลน์เมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 25-26
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,512
วันที่ 10-12 ตุลาคม 2562

เปิดทำเลทอง มิกซ์ยูสสถานีศิริราช รฟท. ไฟเขียว รฟม. ใช้พื้นที่ร่วม กลายเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟฟ้า 2 สาย สีส้ม-แดงอ่อน เผย สายสีส้มตะวันออก-ตะวันตก กระชับ ฝั่งธน-โซนตะวันออกกทม.เข้าหากัน ดันราคาที่พุ่ง

แม้สายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- บางขุนนนท์ระยะทาง 34.1 กิโลเมตรยังไม่มีข้อสรุปว่าจะลงทุนโครงการรูปแบบไหน แต่การปักหมุดขึ้นคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการรวมถึงราคาที่ดิน ขยับเลยจุดนี้ไปไกลแล้วขณะทำเลทองที่น่าสนใจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการ ระบุว่าได้อนุญาตให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ใช้พื้นที่ร่วมเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร ระหว่างสายสีส้มตะวันตกกับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช บริเวณสถานีศิริราชส่งผลให้กลายเป็นทำเลทองมิกซ์ยูสอีกแห่งที่น่าจับตา ทั้งที่ดินของดีเวลอปเปอร์และทำเลทองของการรถไฟฯกว่า 100 ไร่ เตรียมเปิดประมูลลงทุนห้างสรรพสินค้าโรงพยาบาล ขณะราคาที่ดินปัจจุบันอยู่ที่กว่า 2 แสนบาทต่อตารางวา หากมีการตอกเสาเข็มราคาจะขยับไปที่ 5 แสนบาทต่อตารางวาและหากสายสีส้มตะวันตกเชื่อมต่อกับสายสีส้มตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) หรือวิ่งจาก มีนบุรี ผ่าใจกลางเมือง มุดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา วิ่งไปยังศิริราชไปสิ้นสุดที่สถานีบางขุนเทียน เชื่อว่า คนจะเข้ามาใช้รถไฟฟ้าสายนี้กันมาก ขณะราคาในส่วนทำเลใจกลางเมืองอย่างประตูนํ้า ห้างดัง ต่างปรับตัวราคาที่ดินวิ่งไปที่ 1-1.5 ล้านบาทต่อตารางวา หากมีการก่อสร้าง ราคาที่ดินขยับไปที่ 2 ล้านบาทต่อตารางวา เนื่องจากเป็นทำเลศูนย์กลางค้าปลีกค้าส่ง ระดับอาเซียนและยังใกล้กับเซ็นทรัลเวิลด์อีกด้วยมุมสะท้อนสถานีศิริราช นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม. ระบุว่านอกจากเป็น
จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางร่วมกับ สายสีแดงอ่อนของรฟท. กับสายสีส้มตะวันตกแล้ว หากรถไฟฟ้าเส้นนี้ลงมือก่อสร้าง จะร่นการเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีและฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพฯให้กระชับเข้าหากันโดยมีสายสีส้มตะวันออก อยู่ระหว่างก่อสร้างเปิดพื้นที่ลงทุนตลอดแนว ซึ่งปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าของโครงการก่อสร้าง อาจส่งผล
กระทบต่อราคาที่ดิน และแผนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนบ้างแต่เชื่อว่าไม่น่าจะมากมายนัก

NEW NISSAN X-TRAIL เพิ่มพื้นที่ให้คุณสะดวกสบายยิ่งกว่าที่เคย
Nissan

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ 
จำกัด กล่าวว่า สายสีส้ม ตะวันตก เป็นรถไฟฟ้าอีกเส้นทางที่น่าสนใจโดยเฉพาะบริเวณประตูนํ้า สามารถเชื่อมสายสีส้มต่อแอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีพญาไท ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ต่อเครื่องบินไปต่างประเทศ, ต่างจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งต่างชาติและคนไทย“ทำเลบริเวณแยกประตูนํ้า ห้างแพลทินัม พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ราคาปัจจุบันตกตร.ว.ละ 1 ล้านบาท แต่หลังจากนี้จะขยับขึ้นสูงถึง 1.5-2 ล้านบาทต่อตร.ว.เมื่อรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ หรือ ยังไม่ทันเปิด ราคาก็วิ่งสูงไปก่อนแล้ว บริเวณนี้ที่ดินถือว่าแพงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ดินเอกชน ซึ่งช่วงที่มีกระแสสายสีส้มตัดผ่าน มีนักลงทุนรายใหญ่เข้าไปติดต่อกว้านซื้ออาคารพาณิชย์ บริเวณหัวมุมประตูนํ้า ให้ราคาคูหาละ 20 ล้านบาท แล้วทุบสร้างโรงแรมขนาดเล็ก คืนละกว่า 1,000 บาท เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะ บริเวณ “แพลทินัม” ซึ่งเป็นที่ดินเอกชนเช่นกัน ปัจจุบันเปิดเช่าพื้นที่ขาย ขนาดห้องละ 20 ตารางเมตร ในราคาตร.ว.ละ 1 ล้านบาท”
แผนกวิจัย บริษัท คอล ลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยฯ สะท้อนว่า เส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงพระราม 9- รามคำแหง พบว่าในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าไปพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมบนทำเลนี้เป็นจำนวนมาก และยังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบโครงการสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่บนทำเลดังกล่าวในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2019 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

สกัดแบ่งเค้กแสนล้าน สศช.-คลังรุมค้าน‘คมนาคม’รื้อสายสีส้ม
ออนไลน์เมื่อ ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3514 วันที่ 17-19 ตุลาคม 2562


รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตกส่อสะดุดยาว คลังหวั่นแยกประมูลงานโยธากระทบวินัยการเงินการคลัง สศช. กังขาเปลี่ยนรูปแบบลงทุนผลตอบแทนเศรษฐกิจวูบ 5% จี้คมนาคม-รฟม.แจง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 96,000 ล้านบาท ยังไม่สามารถหาข้อสรุปรูปแบบการลงทุนได้ แม้ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีในฐานะกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม เร่งหาข้อสรุปภายในสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากหลายหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมที่ให้แยกงานโยธาออกมาจ้างเอกชนก่อสร้างด้วยวิธีประมูล


หวั่นขัดวินัยการเงิน-คลัง

กระทรวงการคลัง โดยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหนังสือที่ ที่ กค 1005/15417 ถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบความเห็นครม. กรณีกระทรวงคมนาคมจะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน ระบุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการหรือโครงการ ตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรม การนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ เรื่อง การดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 ดังนั้นรฟม. จะต้อง ดําเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 ให้ครบถ้วน


จี้เคลียร์ผลตอบแทนศก.

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปเสนอให้ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจพิจารณาในวันที่ 11 ตุลาคม 2562 แต่ปรากฏว่าต้องสั่งปิดการประชุมลงก่อนที่จะมีข้อสรุป หลังจากนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอความเห็นในที่ประชุมระบุ สศช.ไม่ขัดข้องที่จะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน แต่กระทรวงคมนาคมและรฟม.ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ารัฐจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะก่อนหน้านี้รฟม.เคยทำการศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน และเสนอให้คณะกรรมการสศช. และบอร์ดพีพีพีพิจารณา โดยได้มีการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ EIRR ที่รัฐจะได้รับพบว่า ถ้าลงทุนด้วยรูปแบบ PPP รัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 21% แต่ถ้าแยกสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างรัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 15.9% หรือลดลงเกือบ 5%


‘ศักดิ์สยาม’อ้างPPPต้นทุนสูง

สำหรับปัญหาการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกยืดเยื้อมาตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2562 ภายหลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เสนอให้ที่ครม.เศรษฐกิจ เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากเดิมที่จะใช้วิธีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP Net Cost แบบสัญญาเดียว

นายศักดิ์สยามเห็นว่า การให้เอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการ และรัฐทยอยชําระคืนให้เอกชนหลังจากเปิดเดินรถทั้งเส้นทางแล้วและแบ่งจ่ายเป็นรายปี พร้อมดอกเบี้ย ต่างจากรูปแบบการก่อสร้างงานโยธาโครงการส่วนตะวันออก และโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ อาจจะทําให้ภาครัฐมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เน้นการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม จึงควรแยกสัญญาก่อสร้าง งานโยธาและงานระบบออกจากกัน และให้แบ่งสัญญาก่อสร้างออกเป็นช่วงๆ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการ โครงการได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้


‘สมคิด’ชี้แก้ข้อจำกัดงบ

ขณะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เห็นว่า สาเหตุที่ต้องลงทุนด้วยรูปแบบพีพีพี เพราะไม่ต้องการให้เป็นภาระกับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการลงทุนในรูปแบบ
พีพีพีเอกชนจะออกเงินลงทุนไปก่อนแล้วรัฐบาลค่อยทยอยจ่ายคืนให้หลังโครงการก่อสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการ และโครงการนี้ก็ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพีพีพีมาแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบก็จะต้องกลับไปพิจารณาใหม่


สำนักงบฯกังขาต้นทุน

สำนักงบประมาณยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก ที่รฟม.เสนอนั้น เมื่อพิจารณารายละเอียดของวงเงินค่างานโยธา จํานวน 84,568 ล้านบาท ได้คํานวณรวมอัตราเงินเฟ้อที่ 2.5% ต่อปี ไว้แล้ว ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายที่เป็นงบสํารองที่จัดเตรียมไว้ (ProvisionalSum งานโยธา) จํานวน 4,029 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา จํานวน 3,223 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 96,012 ล้านบาท เท่านั้น โดยไม่นับรวมอัตราคิดลด และถ้ารวมงบที่รัฐจะต้องจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินอีก 14,661 ล้านบาท จะทำให้วงเงินลงทุนรวมโครงการนี้กว่า 1 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก วัดพลังพรรคภูมิใจไทย
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 เวลา 16:59

กระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนี้ ที่พรรคภูมิใจไทยได้ไปกำกับดูแล เอาเข้าจริงแทบไม่เหลือโครงการขนาดใหญ่ ให้รัฐมนตรีได้แสดงฝีไม้ลายมือเลย

หลายโครงการเดินหน้าไปแล้วในยุค คสช.อย่างเช่น รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ สายสีส้มตะวันออก สายสีเหลือง สายสีชมพู มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช รถไฟทางคู่ระยะที่ 1

บางโครงการยังไม่จบ อยู่ระหว่างการประมูลหรือเจรจาต่อรอง อย่างรถไฟความเร็วสูงอีอีซี เมืองการบินอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ก็เกิดการเปลี่ยนรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยได้คุมกระทรวงคมนาคมก็จริง แต่โครงการเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของกระทรวงคมนาคม เมืองการบินเป็นโครงการของกองทัพเรือ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุดเป็นโครงการของการนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ถึงแม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี จะเป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม แต่อำนาจในการคัดเลือกผู้ลงทุน ตลอดจนการกำกับดูแลการก่อสร้าง เป็นของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคมนาคมจากพรรคภูมิใจไทย ทำได้อย่างมากแค่ส่งเสียงล้งเล้งตีเกราะเคาะไม้ ขีดเส้นตาย เลื่อนเดทไลน์ สร้างกระแสข่าวติดต่อกันได้หลายวันเท่านั้น

รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ จึงเหลือแต่งาน “รื้อ” “ทบทวน” โครงการที่พอจะทำได้ อย่างน้อยก็ยังได้ “กล่อง” เช่น ทบทวนการขยายสัมปทานทางด่วนของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แลกกับการยุติข้อพิพาทกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รื้อมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนน เพิ่มความเร็วให้รถวิ่งได้ 120 กิโลเมตรในถนน 4 เลนบางสาย รื้อไม้กั้นช่องอีซีพาสทางด่วน รื้อแบริเออร์บนถนนเพื่อใช้แบริเออร์ที่ทำจากยางพาราแทน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พรรคภูมิใจไทย จ้องจะรื้อ แต่ยังทำไม่สำเร็จ

โครงการนี้เป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ซึ่งสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นเส้นทางจากบางขุนนนท์ถึงศูนย์วัฒนธรรม เชื่อมกับสายสีส้มตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรมไปถึงมีนบุรี ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้

ในรัฐบาล คสช.คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือบอร์ดพีพีพีมีมติให้ใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost คือ ให้เอกชนลงทุนเหมาไปทั้งงานก่อสร้าง งานระบบ และการเดินรถเพื่อที่รัฐจะได้ไม่ต้องลงทุนเอง และแก้ปัญหาสร้างเสร็จแล้วยังใช้ไม่ได้ เพราะรอประมูลหาผู้ติดตั้งระบบ และเดินรถ

พรรคภูมิใจไทยต้องการเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน ดึงงานก่อสร้างงานโยธาออกมาให้ รฟม.ทำเอง ให้เอกชนทำเฉพาะงานระบบ และการเดินรถ โดยอ้างว่า จะประหยัดค่าก่อสร้างได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท

การลงทุนแบบพีพีพี เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วที่สุด ไม่ให้ล่าช้ากว่าแผนงาน เพราะยิ่งช้าเท่าไร ต้นทุนก็ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะดอกเบี้ย และอาจจะถูกปรับที่ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด

ถ้าแยกการก่อสร้างงานโยธาออกมา ให้ รฟม.เปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง มีความเสี่ยงที่การก่อสร้างจะล่าช้า เพราะเอกชนที่ประมูลได้งานก่อสร้างไป เป็นผู้รับเหมา รับค่าก่อสร้างเป็นงวดๆ ถ้าการก่อสร้างล่าช้า หากพิสูจน์ได้ หรืออ้างว่า เป็นเหตุสุดวิสัย เช่น น้ำท่วม มีม็อบ หรือหน่วยงานเจ้าของโครงการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ก็สามารถปรับเจ้าของโครงการ โดยอ้างว่า ความล่าช้าเหล่านั้นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

แต่การลงทุนแบบพีพีพีรวมงานก่อสร้างกับงานระบบ และเดินรถ เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ลงทุนที่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงทุกอย่างเอง

ในอดีต โครงการอย่างเช่น แอร์พอร์ต ลิงค์ ใช้วิธีประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธา โครงการล่าช้าไปเกือบ 2 ปี งบประมาณบานปลายเกือบ 2 หมื่นล้านบาท สาเหตุสำคัญเพราะการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า บริษัท ซิโน-ไทย ซึ่งเป็นผู้รับเหมางานโยธามีรายได้เพิ่มจากค่าปรับที่การรถไฟฯ ต้องจ่ายให้เพราะส่งมอบพื้นที่ล่าช้าเป็นเงินนับพันล้านบาท

อีกโครงการหนึ่งที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-ตลิ่งชัน ที่ การรถไฟฯ ทำเอง ล่าช้าออกไปเรื่อยๆ จากเดิมกำหนดให้บริการปี 2562 เลื่อนเป็น 2563 ตอนนี้เลื่อนออกไปเป็น 2564 เพราะสาเหตุหลายๆ อย่าง หนึ่งในนั้นคือ การรถไฟฯ ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทั้งๆ ที่เป็นการก่อสร้างบนทางรถไฟเดิม และสร้างแบบยกระดับทั้งเส้น ไม่น่าจะมีปัญหาในการส่งมอบพื้นที่

พร้อมๆ กับความล่าช้าของการก่อสร้าง งบประมาณก็ถูกปรับขึ้นมา 4 ครั้งแล้ว เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งของงบฯ ที่เพิ่มขึ้น ค่าปรับที่ผู้รับเหมาเรียกร้องให้จ่ายตามสัญญา เพราะเป็นความล่าช้าที่เกิดจาก รฟท.

นี่คือความแตกต่างของการลงทุนแบบที่ให้เอกชนลงทุนเอง ทั้งงานโยธากับงานระบบ การเดินรถกับการแยกงานโยธาออกมาให้หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง อย่างที่พรรคภูมิใจไทยต้องการนำมาใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกในตอนนี้

วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธานการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ “รื้อ” รูปแบบการลงทุน รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ในที่ประชุมมีผู้ถามว่า จะรื้อก็ได้ แต่กระทรวงคมนาคมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า รัฐจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะ รฟม.เคยศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน และเสนอให้บอร์ดพีพีพีพิจารณา โดยได้มีการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่รัฐจะได้พบว่า ถ้าลงทุนด้วยรูปแบบ PPP รัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 21% แต่ถ้าแยกสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างจะได้ผลตอบแทน 15.9% ลดลงเกือบ 5%

คำถามนี้ทำเอาวงแตก นายอนุทิน สั่งเลิกประชุมทันที

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ถ้าพรรคภูมิใจไทยยอมยึดรูปแบบลงทุนเดิม คือ พีพีพีก็เหมือนเสียของ คุมกระทรวงคมนาคมทั้งที ไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่มีอะไรเหลือแล้ว

ถ้าจะรื้อให้ได้ ก็ต้องสำแดงพลังมากกว่านี้ อย่าให้เสียหน้าเหมือนรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินที่ได้แต่ขู่ฟอดๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2019 11:56 am    Post subject: Reply with quote

ภารกิจใหม่ “ภูมิใจไทย” เขย่าสัมปทานสายสีส้ม
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เวลา 11:17 น.


หลังสวมบทบี้ “เจ้าสัว ซี.พี.” จับปากกาเซ็นสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน มูลค่า 224,544 ล้านบาท ให้ทันเดดไลน์ 24 ต.ค. 2562
นาย​อนุทิน ชาญวีรกูล รอง​นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สองดูโอแห่งพรรคภูมิใจไทย “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกรัฐมนตรี และ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูมั่นใจมากขึ้น หลังเรียกเสียงฮือฮาได้ในโลกโซเชียล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
advertisement

“เสี่ยหนู” หรือ ฯพณฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้ใช้ตัวตนที่มีความกล้า ทะลุกลางปล้อง นำเงื่อนตายทีโออาร์ ริบเงินประกันซอง 2,000 ล้านบาท เพื่อขึ้นแบล็กลิสต์ มาเป็นตัวเร่ง แลกกับความล่าช้าของการเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง หลังเจรจามาแล้วหลายยก

สุดท้าย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกโรง เพื่อให้เมกะดีลที่ยื้อมานาน จบลงด้วยดี

สังคมเริ่มวิพากษ์มากขึ้น ทั้งด้านบวกและด้านลบ กรณีที่รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน” แอ็กชั่นแรงกับโครงการไฮสปีดเจ้าสัว

ประเด็นหนึ่งที่ทับซ้อนกันอยู่ คือ บริษัทคู่แข่งของกลุ่ม ซี.พี. ที่ร่วมทุนกับพันธมิตรไทยและทั่วโลกนั้น คือ กลุ่ม BSR ซึ่งมี “บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป” ร่วมทุนในงานประมูลชิงโปรเจ็กต์ประวัติศาสตร์ด้วย

เนื่องจากตระกูล “ชาญวีรกูล” ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างชื่อ “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งเคยฝากผลงาน

ชิ้นเอกมาแล้วมูลค่า 7,000 ล้านบาท โดยสร้าง “อาคารสถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์” ให้เจ้าสัว ซี.พี. ที่ปากช่อง นครราชสีมา

วันนี้ประเทศไทยกำลังเร่งสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ ด้วยมูลค่าแสน ๆ ล้านบาท ในรอบ 10 ปี จึงเป็นช่วงจังหวะของ 2 บิ๊กพรรคภูมิใจไทย ที่ร่วมรัฐบาล “ประยุทธ์” ต้องมี “ภารกิจใหม่” เพิ่ม

โดยเฉพาะการกำกับดูแลนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหัวใจหลัก ทั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เป็นหน่วยงานควบคุมทั้ง “ทางด่วน” และ “รถไฟฟ้า”

งานที่กำลังได้รับความสนใจในวงกว้าง คือ การนำผลเจรจาขยายสัญญา 3 ทางด่วน รวมถึง “ทางด่วนขั้นที่ 2” ที่จะหมดสัญญา 28 ก.พ. 2563 ซึ่งบอร์ด กทพ.เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ว่าจะต่อสัญญา BEM (บริษัทในเครือ ช.การช่าง) อีก 30 ปีหรือไม่ เพื่อแลกการยุติข้อพิพาท คดีทางแข่งขันและค่าผ่านทาง มูลค่า 137,517 ล้านบาท

ล่าสุด กรณีนี้ถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ โดย ฯพณฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้อำนาจการดูแลหน่วยงาน กทพ.โดยตรง รวมถึงการแก้ปัญหาข้อพิพาททางด่วนด้วย

“จะตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่าง กทพ.และ BEM ใหม่ จะสรุปใน 1 เดือน จากเดิมเป็นสมมุติฐานเดิมที่ให้ กทพ.เจรจากับ BEM เพราะมองว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มว่า กทพ.จะแพ้ทุกคดี ไม่สามารถต่อสู้ได้ แต่ขณะนี้พบว่า กทพ.เพิ่งชนะคดี BEM ไป แสดงว่าสมมุติฐานดังกล่าวไม่ถูกต้อง” นายศักดิ์สยามกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ คณะทำงานที่มีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้เสนอผลเจรจาให้นายศักดิ์สยามพิจารณาแล้ว คือ จะขยายอายุสัญญาให้ 20 ปี โดยตัดการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 2 วงเงิน 31,000 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ

จากปัญหายืดเยื้อมีการวิเคราะห์ว่า การเจรจาคงไม่ง่าย เพราะต่างฝ่ายต่างรู้จักกันดี เพราะธุรกิจในสายงานเดียวกัน

ข่าวลึกแต่ไม่ลับแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร BEM ได้หารือ ฯพณฯ ศักดิ์สยามแล้ว แต่ไม่มีข้อยุติ เพราะติดใจประเด็นก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 2 หาก BEM ได้ขยายสัมปทาน ค่ายนี้อาจได้งานก่อสร้าง 3 หมื่นล้านไปด้วย จึงต้องเจรจาใหม่พร้อมขยายผลไปถึงสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ รฟม.จะเปิด PPP net cost ให้เอกชนลงทุน ก่อสร้างช่วงตะวันตกของกรุงเทพฯ สัมปทาน 30 ปี และเดินรถสายสีส้มตลอดสายตลิ่งชัน-มีนบุรี มูลค่า 122,041 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายเงินอุดหนุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

เป็นไปได้ว่า อาจมีการปรับรูปแบบการลงทุนจาก PPP โดยเอกชนรายเดียว แยกเป็นงานก่อสร้างหลายสัญญา และเปิดสัมปทานเดินรถต่างหาก โดยหยิบประเด็นภาระดอกเบี้ยที่รัฐต้องจ่ายให้เอกชน 10 ปี 40,000 ล้านบาท เป็นข้อพิจารณา

ส่งผลให้ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ต้องช้าลงแต่จะช้าซ้ำรอยแบบ “ไฮสปีด” 3 สนามบินหรือไม่ ต้องรอดู
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 89, 90, 91  Next
Page 21 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©