RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181337
ทั้งหมด:13492572
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 343, 344, 345 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 10:39 am    Post subject: Reply with quote

คลังเผยบอร์ดใหม่รฟท.ครบแล้ว รอตั้งใหม่ลุยเซ็นไฮสปีดเทรนตามกำหนด

วันที่ 9 ตุลาคม 2562 - 18:53 น.

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนการก่อสร้างการลงทุนรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบินอย่างเต็มที่ โดยสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เร่งประสานกระทรวงคมนาคม เพื่อดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้เร็วที่สุด หลังจากคณะกรรมการชุดก่อนลาออกไป เพื่อให้สามารถเดินหน้าลงนามสัญญาการก่อสร้างกับกับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ได้ตามแผนที่กำหนดไว้

“เรายืนยันว่าเราพร้อมสนับสนุนเต็มที่ แต่เราไม่ใช้หน่วยงานหลักที่ดูแล เราจึงทำได้เพียงการเร่งให้ตั้งคณะกรรมการของรฟท. ให้เสร็จโดยเร็วเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้รายชื่อบอร์ดครบหมดแล้ว มีตัวประธานแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ แต่เชื่อว่าจะเดินหน้าได้หลังจากนี้”นายอุตตม กล่าว

ส่วนกรณีที่ภาคเอกชนมีข้อเสนอให้ภาครัฐร่วมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในไฮสปีดเทรนด้วยนั้น มองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประเมินการรับความเสี่ยงดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กรอบเงื่อนไขการว่าจ้างการลงทุน (TOR) ที่ต้องดูแลเรื่องความโปร่งใสต่างๆ ซึ่งทุกอย่างจะไปดูว่าใน TOR กำหนดไว้ว่าอย่างไร ก็จะเดินหน้าตามระเบียบนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มากที่สุด

“อุตตม” จ่อตั้งบอร์ด ร.ฟ.ท. ชุดใหม่-ชี้รายชื่อส่งถึงมือสคร.เรียบร้อย

วันที่ 9 ตุลาคม 2562 - 14:49 น.

อุตตม จ่อตั้งบอร์ด ร.ฟ.ท. ชุดใหม่ หลังบอร์ดเดิมลาออกยกชุด เผยรายชื่อส่งถึงมือสคร.เรียบร้อย ชี้แจงคลังไม่เกี่ยวข้องโดยตรงเรื่อง TOR ก.คมนาคมดูแลทั้งหมด พร้อมสั่งธนารักษ์ทำงานยึดโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากทั่วประเทศ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวตอนท้ายหลังตรวจเยี่ยมกรมธนารักษ์ ถึงเรื่องที่คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือ บอร์ดรถไฟว่างลง เนื่องจากมีการลาออกกันยกชุดว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงคมนาคม ในการจัดตั้งบอร์ด ร.ฟ.ท. ชุดใหม่ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งหลังจากตกลงแล้วจะส่งรายชื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยปัจจุบันรายชื่อถูกส่งมายังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาเรียบร้อยแล้ว

“สคร.เป็นผู้ดูแลในเรื่องรัฐวิสาหกิจ และเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการตั้งบอร์ดร.ฟ.ท.ขึ้นเท่านั้น จึงบอกเรื่องของเวลา ยังไม่ได้เวลาจะจัดตั้งได้ช่วงวันที่เท่าไหร่ โดยเรื่องนี้ต้องไปถามกระทรวงคมนาคม แต่หากสามารถจัดตั้งได้รวดเร็วก็จะเป็นผลดี ปัจจุบันรายชื่อส่งมาที่สคร.แล้ว ซึ่งผมยังขอไม่เปิดเผย แต่คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะจัดตั้งบอร์ดร.ฟ.ท.ได้”

พร้อมกันนี้ นายอุตตม ชี้แจงถึงกรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งปัจจุบันมีการเลื่อนการเซ็นสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) ออกไป เนื่องจากนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) มองว่าเป็นการผลักภาระการลงทุนให้เอกชนฝ่ายเดียวนั้นว่า ทุกโครงการที่เกิดขึ้น มีการประเมินทั้งบทบาทของเอกชนและภาครัฐว่าเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงโดยรวมอะไรบ้าง ซึ่งทุกวันนี้รัฐบาลเดินตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (TOR) ที่ได้ตกลงเรื่องความเสี่ยงที่รับผิดชอบโดยรวมอยู่แล้ว

“วันนี้รัฐบาลยังเจรจากับกระทรวงคมนาคมเพื่อให้เกิดข้อยุติ และมองว่า TOR ที่ทำร่วมกัน ก็มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง แต่กระทรวงการคลังไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยตรง เรื่องทั้งหมดจะอยู่ที่กระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลกำกับ”

ทั้งนี้ นายอุตตม ได้สั่งให้กรมธนารักษ์วางแผนนำที่ราชพัสดุ ซึ่งมีอยู่ 12 ล้านไร่ มาใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทั่วประเทศ โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น เพื่อนำพื้นที่ราชพัสดุ มาสนับสนุนแหล่งทำมาหากินของชุมชน และยกระดับเป็นเส้นทางท่องเที่ยว เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า รวมถึงการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

ส่วนเศรษฐกิจในภาพใหญ่ เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ การลงทุนภาคการเกษตร เป็นอีกโจทย์ของกรมธนารักษ์ว่าจะดำเนินการอย่างไรให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และพื้นที่เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยกรมธนารักษ์ต้องเร่งจัดทำแผนผังพื้นที่ราชพัสดุกลุ่มจังหวัด และรายภูมิภาค แบบดิจิทัลขึ้นมา เพื่อนำไปสู่ฐานข้อมูล หรือ บิ๊กดาต้า ของกรมธนารักษ์

ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในระยะยาว และเป็นการติดตามว่ามีการใช้ที่ราชพัสดุตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หากมีการบุกรุกหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์กรมธนารักษ์จะเข้าไปดูแลโดยเปลี่ยนพื้นที่เหล่านั้นให้มีการเช่าอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กรมธนารักษ์อีกหนึ่งช่องทาง

คลัง มั่นใจธปท. รับมือบาทแข็ง สั่งเร่งตั้งบอร์ดรฟท.ชุดใหม่ ลุยไฮสปีดเทรน
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 9 ตุลาคม 2562 - 19:35 น.

"อุตตม" วอนมอง 2 ด้าน ค่าบาทแข็ง รับกระทบส่งออก แต่ดีต่อการลงทุน สั่งสคร.เร่งหารือคมนาคม ตั้งบอร์ดรฟท.ชุดใหม่ แทนชุดเก่า ทำให้เลื่อนเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ย้ำทีโออาร์ มีความยืดหยุ่น

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรณีค่าเงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี อยู่ที่ 30.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับทราบเรื่องนี้แล้ว และบางเวลาได้ออกมาตรการดูแลควบคุมค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพการเงินจริงของเศรษฐกิจไทย

"ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยก็จริง แต่ส่วนตัวมองว่า สามารถมองได้ทั้ง 2 ด้าน โดยช่วงนี้เป็นช่วงเวลาลงทุนที่ดี หากจะสั่งเครื่องจักรเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม เพราะได้เปรียบเรื่องค่าเงิน ซึ่งมองว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นวัฏจักร ผู้ส่งออกจะต้องพยายามปรับตัว และขณะนี้รัฐบาลก็พยายามให้เศรษฐกิจเติบโตตามที่สภาพัฒน์ คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตที่ 3% แต่จะต้องรอดูผลจากการออกมาตรการต่างๆ ก่อน รวมถึงชิมช้อปใช้ระยะที่ 2 ซึ่งจะออกมาด้วย"

ขณะที่เรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งปัจจุบันมีการเลื่อนการเซ็นสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) ออกไป เนื่องจากคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) หรือ บอร์ดรถไฟ ว่างลงหลังจากมีการลาออกกันยกชุดนั้น ปัจจุบันรายชื่อถูกส่งมายังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้สั่งให้ สคร. เร่งหารือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดตั้งบอร์ดรฟท.ชุดใหม่ ซึ่งหลังจากตกลงกันได้แล้ว จะส่งรายชื่อให้ ครม.พิจารณาต่อไป

"สคร.เป็นเพียงผู้สนับสนุนให้เกิดการตั้งบอร์ด รฟท.ขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่หน่วยงานหลัก จึงบอกไม่ได้เวลาจะจัดตั้งได้ช่วงวันที่เท่าไหร่ ตอนนี้ได้รายชื่อครบแล้ว คาดว่าจะสามารถจัดตั้งได้ในเร็วๆ นี้"

ส่วนกรณีนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ มองว่าเป็นการผลักภาระการลงทุนให้เอกชนฝ่ายเดียวนั้น ขอชี้แจงว่า ทุกโครงการที่เกิดขึ้น มีการประเมินทั้งบทบาทของเอกชนและภาครัฐว่าเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงโดยรวมอะไรบ้าง ซึ่งทุกวันนี้รัฐบาลเดินตามการว่าจ้างการลงทุน(TOR) ที่ได้ตกลงเรื่องความเสี่ยงที่รับผิดชอบโดยรวมอยู่แล้ว และมองว่า TOR ที่ทำร่วมกัน มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง แต่กระทรวงการคลังไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยตรง เรื่องสัญญากระทรวงคมนาคมเป็นผู้ที่ดูแล.


Last edited by Wisarut on 15/10/2019 5:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สั่งเลื่อนเซ็นสัญญา “ไฮสปีดเทรน”
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 08:33 น.



ยืดเดดไลน์เซ็นสัญญา”รถไฟอีอีซี” 3กระทรวงเร่งรื้อย้าย-ส่งมอบที่ดิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 17:39 น.

“อนุทิน” ขยับเดดไลน์เซ็นสัญญาไฮสปีดเป็น 25 ต.ค.นี้ วงในเผยกลุ่ม ซี.พี.เซ็นแน่ แต่ขอเวลาเคลียร์เอกสาร สัญญา การส่งมอบพื้นที่ กระทรวงมหาดไทย-พลังงาน ถกหน่วยงานสาธารณูปโภค เร่งทำแผนรื้อย้ายส่งมอบที่ดิน ด้านรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.22 แสนล้านวุ่น 10 ต.ค.เคาะรูปแบบลงทุน

หลังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เดดไลน์วันที่ 15 ต.ค.นี้ ให้กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร(กลุ่ม CPH) ที่ชนะประมูล 117,227ล้านบาท หากไม่มาจะริบเงินประกันซอง 2,000 ล้านบาท และถูกขึ้นบัญชีดำเป็นผู้ทิ้งงาน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รัฐบาลยินดีจะร่วมลงทุนกับเอกชน แต่ที่ต้องการให้รัฐร่วมรับผิดชอบมากกว่านี้ ต้องดูเงื่อนไขในทีโออาร์ รัฐทำอะไรได้มากแค่ไหน และทีโออาร์กำหนดให้เอกชนรับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมด
advertisement

“10 ต.ค. คณะอนุกรรมการดูแลโครงการโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี มีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เป็นประธาน จะหารือเรื่องการส่งมอบพื้นที่ 72% มีตรงไหนบ้าง ยังมีพื้นที่ไหนเป็นฟันหลอ จะได้วางแผน และมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจใดรับผิดชอบ งบฯดำเนินการเพียงพอหรือไม่ จะได้ขออนุมัติให้”

เลื่อนเซ็นสัญญา 25 ต.ค.

นายอนุทินกล่าวว่า จะเลื่อนเซ็นสัญญาเป็น 25 ต.ค.นี้ ต้องเร่งแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อนุมัติการลงนามในสัญญา เพราะใกล้ครบกำหนดเวลายืนราคา 7 พ.ย.นี้ หากไม่ทันกำหนด ร.ฟ.ท.ส่งหนังสือขยายเวลายืนราคากลางได้ แต่จะริบเงินประกันซองไม่ได้ ขณะนี้การส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบ 72% ในทีโออาร์ให้ส่งหนังสือส่งมอบงาน (NTP) ได้ภายใน 1 ปีนับจากเซ็นสัญญา ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคมีกำหนดในทีโออาร์อยู่แล้วว่าใครต้องทำอะไร

“ไม่ได้เร่งเอกชนฝ่ายเดียว รัฐก็เร่งด้วย อย่ากังวลว่าผมจะกลั่นแกล้ง มีแต่เรียกให้มาเซ็นสัญญา ถ้าทุกฝ่ายทำตามทีโออาร์ จะไม่มีคำถามพวกนี้ แล้วเอกชนเองก็ไม่ควรมาขออะไรนอกทีโออาร์ เพราะต้องรู้อยู่แล้วว่ามีเงื่อนไขอะไร ส่วนการช่วยเหลือเอกชน ก็ให้รัฐทำเงื่อนไขตามทีโออาร์ให้ครบแล้ว”

เซ็นสัญญา ต.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จะเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงแน่นอน แต่การกำหนดวันอยู่ที่ ซี.พี.กำหนด น่าจะเป็นภายในเดือน ต.ค.นี้ โครงการใหญ่ ต้องเตรียมเอกสารจำนวนมาก แบงก์การันตี การจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ เอกสารการส่งมอบพื้นที่ เป็นต้น

“แผนก่อสร้างส่งให้การรถไฟฯแล้ว หลังเซ็นสัญญาต้องใช้เวลาเตรียมพื้นที่ ออกแบบรายละเอียด จะใช้เวลา 1 ปี ถึงจะเริ่มต้นโครงการ ที่ต้องใช้เวลาพิจารณาสัญญานาน เพราะโครงการใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูงและความเสี่ยงสูง หากระหว่างก่อสร้างรัฐมอบพื้นที่ให้ไม่ได้ จะสร้างไม่เสร็จ 5 ปี จะมีต้นทุนดอกเบี้ย จึงต้องการความชัดเจนเรื่องส่งมอบพื้นที่ให้ชัด ๆ เพราะใน 5 ปีแรกมีแต่รายจ่าย ไม่มีรายรับ กว่าจะได้รับเงินจากรัฐก็ปีที่ 6”

เร่งเคลียร์พื้นที่ให้ไฮสปีด

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่าได้หารือหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทำแผนรื้อย้ายให้เสร็จก่อนเซ็นสัญญา ประกอบด้วย 1.ท่อน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) 2 จุดช่วงขนานกับแนวเส้นทางบริเวณคลองแห้ง 3 กม. และบริเวณโค้ง ถ.พระราม 6

2.ท่อน้ำมันของ บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย ขนานกับแนวเส้นทาง ช่วงลาดกระบัง กม.68 มุ่งหน้าไปอู่ตะเภา ยาว 40 กม. 3.ท่อก๊าซของ บมจ.ปตท. ทับแนวช่วงหน้าวัดเสมียนนารี-สนามบินดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.มีสายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กระจายตลอดแนวเส้นทาง 16 จุด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อีก 11 จุด ส่วนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มี 2 จุด

นอกนั้นมีของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร บริเวณคลองสามเสนและท่อระบายน้ำขนาดใหญ่อีก 1 จุด ทับแนวเส้นทาง 1 จุด และเสาโทรเลขของร.ฟ.ท. ตั้งเป็นแนวยาว 77 กม. บริเวณลาดกระบัง

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ระบุทั้งโครงการจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 3,571 ไร่ รวมเวนคืน 850 ไร่ เป็น 4,421 ไร่ พร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ มีพื้นที่อุปสรรคบุกรุก 210 ไร่ บุกรุก 513 ราย พื้นที่เช่า 83 สัญญา 210 ไร่ ส่วนสถานีมักกะสันส่งมอบได้ 100 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ใช้เวลาส่งมอบ 1-2 ปี

พลังงานร่วมมือเต็มที่

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้ประชุมกับ ปตท.และ กฟผ. จะดำเนินการย้ายท่อก๊าซ สายไฟ ที่อยู่ในเส้นทางแล้วจะให้เสร็จภายใน 1 ปี ตามมติบอร์ดอีอีซี

10 ต.ค.เคาะลงทุนสายสีส้ม

ด้านแผนการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ที่จะเปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี ทั้งก่อสร้างและเดินรถตลอดสาย วงเงิน 122,041 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายค่าลงทุนให้เอกชนไม่เกินค่างานโยธา นายอนุทินกล่าวว่า ได้หารือร่วมกับนายศักดิ์สยามและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อสรุป ก่อนเสนอให้ ครม.อนุมัติ ขณะนี้ยังไม่ข้อสรุปรูปแบบการลงทุน

โครงการนี้ผ่านบอร์ด PPP แล้ว พร้อมเสนอ ครม.อนุมัติ แต่เมื่อมีรัฐบาลใหม่ นายศักดิ์สยามต้องการนำโครงการมาดูอีกครั้ง เพราะการแยกงานโยธา วงเงินกว่า 90,000 ล้านบาท ให้รัฐทำเอง เอกชนลงทุนระบบเดินรถ จะเป็นแนวทางที่ดีกว่า ประหยัดเงิน 10,000 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังคัดค้าน เนื่องจากโครงการนี้ผ่าน PPP แล้ว ควรเสนอให้ ครม.เห็นชอบ

เมื่อมีความเห็นแตกต่างกัน จึงต้องนำทั้ง 2 แนวทางมาดูและสรุปตัวเลขให้ชัดเจน ที่ผ่านมามีเพียงตัวเลขผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) มายืนยันจึงให้ไปปรับตัวเลขและยึดฐานให้ตรงกัน เพื่อให้ได้แนวทางการลงทุนที่ดีที่สุดมารายงานวันที่ 10 ต.ค.นี้ ก่อนเสนอ ครม.เศรษฐกิจ 11 ต.ค.นี้

นัดใหม่! เที่ยงตรง 25 ต.ค. เซ็นไฮสปีด 3 สนามบิน “ศักดิ์สยาม” เชื่อทุกฝ่ายจะทำตามกฎหมาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 15:26
ปรับปรุง: พุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 15:57


“ศักดิ์สยาม” เผย กก.คัดเลือกฯ ส่งหนังสือแจ้ง CPH นัดลงนามสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบินใหม่เป็น 25 ต.ค. เวลา 12.00 น. ยันรัฐทำตามกฎหมายและขั้นตอนประมูล ไม่บีบเอกชน ทำตรงไปตรงมายึดผลประโยชน์ประเทศ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ว่าเมื่อวันที่ 8 ต.ค. คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ประชุมและมีมติในการเลื่อนลงนามสัญญาออกไปเป็นวันที่ 25 ต.ค. 2562 เวลา 12.00 น. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เนื่องจากต้องรอการเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ก่อน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) แล้ว

ส่วนการแต่งตั้งบอร์ด ร.ฟ.ท.ชุดใหม่นั้น ทาง สคร. กระทรวงคลัง ได้พิจารณารายชื่อบอร์ด ร.ฟ.ท. และส่งกลับมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว จะสามารถเสนอครม.ในวันที่ 15 ต.ค.เพื่อแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ได้ เพื่อให้เริ่มประชุมทันที

ผู้สื่อข่าวถามว่า การกำหนดวันที่ดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการบีบบังคับให้กลุ่ม CPH มาลงนามสัญญาหรือไม่ นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ไม่เข้าใจคำว่าบีบบังคับ เพราะในขั้นตอนการดำเนินโครงการนั้นจะมีเงื่อนไขเวลา วันที่ 7 พ.ย. 2562 เป็นวันสิ้นสุดการยืนราคา ดังนั้นจึงไม่ใช่การบีบบังคับ เพราะหากบังคับคงทำไปนานแล้ว เราดูในรายละเอียดของกฎหมาย และเงื่อนไขใน RFP โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีการเจรจากับเอกชนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรื่องที่ทำมากกว่า หรือน้อยกว่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องความเข้าใจร่วมกันมากกว่า

ส่วนหลังลงนามสัญญาไปแล้ว สิ่งใดที่อยู่ในกฎหมาย อยู่ใน RFP ที่รัฐควรดำเนินการให้จะต้องเร่งดำเนินการ เช่น เรื่องการส่งมอบพื้นที่ ขณะนี้มีความพร้อมส่งมอบพื้นที่ 72% โดยคณะอนุกรรมการฯ เร่งรัดโครงการที่บอร์ดอีอีซีตั้งขึ้น โดยมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะประชุมในวันที่ 10 ต.ค.นี้ เพื่อดูรายละเอียดการส่งมอบพื้นที่ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ยืนยันว่าพร้อม 72% อยู่ตรงไหนบ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถวางแผนในการก่อสร้าง ในจุดที่พร้อมส่งมอบได้ก่อน

ส่วนพื้นที่ที่ยังติดการรื้อย้ายสาธารณูปโภคนั้นจะให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ได้มาชี้แจงแผนการรื้อย้าย และงบประมาณที่ต้องใช้ ระยะเวลาในการรื้อย้าย ทั้งนี้เพื่อทำแผนการส่งมอบให้ผู้รับจ้างให้ชัดเจนได้ หลังจากมีการลงนามสัญญาต่อไป




“เรื่องเหล่านี้ต้องทำกันอย่างตรงไปตรงมา อยู่ในกรอบของกฎหมาย ผมย้ำมาตลอด ผู้ชนะการประมูลขอให้ทำตามกรอบกฎหมาย และอย่าทำในสิ่งที่ไม่เข้าใจ หากสงสัยให้ถามมา อย่าคิดเอง มีต้นแบบการประมูลโครงการรัฐ มีดำเนินการตามระเบียบราชการอย่างไรที่ไม่มีปัญหา”

อย่างไรก็ตาม ใน RFP เขียนไว้ชัดเจนว่า หากวันที่ 25 ต.ค. ทางผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาลงนามสัญญาจะมีเงื่อนไขและต้องดำเนินการอย่างไร แต่ยังเชื่อว่าหากทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศ ยึดตามกฎหมาย ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาก็สามารถเดินหน้าไปได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

“คณิศ” มั่นใจเซ็นไฮสปีดทัน 25 ต.ค.นี้

10 ตุลาคม 2562
“คณิศ” เลขาฯอีอีซี ยัน 25 ต.ค.นี้ รฟท.-กลุ่มซีพีเช็น ไฮสปีดเชื่อม 3สนามบิน ทัน 25ต.ค. นี้ เร่งเคลียร์สาธารณูปโภคพ้นพื้นที่เพื่อส่งมอบให้ทันการก่อสร้าง



นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือคณะกรรมการอีอีซี กล่าวว่า น่าจะลงนามในสัญญากับภาคเอกชนผู้ชนะการประมูลคือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) (กลุ่ม ซีพี) โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา )ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ได้ทันในวันที่ 25 ตุลาคม 2562 นี้ และเชื่อว่าจะไม่มีการล่าช้าออกไป



สำหรับสาธารณูปโภค สายไฟฟ้า ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากเขตก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งมีสัดส่วนที่เหลือกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะต้องส่งมอบให้ผู้ชนะการประมูลนั้น ในช่วงบ่ายวันนี้(10 ต.ค.) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะอนุกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จะประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การย้ายสาธารณูปโภคทำได้ทันกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

เลขาฯ อีอีซีมั่นใจเซ็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 25 ต.ค.นี้
เศรษฐกิจ
10 ตุลาคม 2562 10:57:20

กรุงเทพฯ10 ต.ค. – เลขาฯ อีอีซี ระบุ 25 ต.ค.นี้ รฟท.จะลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับกลุ่ม CPH เร่งเคลียร์สาธารณูปโภคออกจากพื้นที่ เพื่อส่งมอบให้ทันการก่อสร้าง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือคณะกรรมการอีอีซี กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อีกโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) น่าจะลงนามในสัญญากับภาคเอกชนผู้ชนะการประมูล คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) หรือกลุ่มซีพี ได้ทันในวันที่ 25 ตุลาคม 2562 และเชื่อว่าจะไม่มีการล่าช้าออกไป

สำหรับสาธารณูปโภค สายไฟฟ้าต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากเขตก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งมีสัดส่วนเหลือกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องส่งมอบให้ผู้ชนะการประมูลนั้น ช่วงบ่ายวันนี้ (10 ต.ค.) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จะประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การย้ายสาธารณูปโภคทำได้ทันกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง.-สำนักข่าวไทย






"คณิศ"มั่นใจไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบินลงนามได้25ต.ค.รอบ่ายนี้"อุตตม"ถกเคลียร์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 ตุลาคม 2562 11:31

"คณิศ" เลขาฯ อีอีซี มั่นใจวันที่ 25 ต.ค.นี้จะยังคงแผนการลงนามร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับกลุ่มซีพีได้ ไม่เปลี่ยนแปลง บ่ายนี้"อุตตม"เรียกถกหารือเร่งเคลียร์ระบบสาธารณูปโภคเพื่อส่งมอบให้ทันการก่อสร้าง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า บ่ายวันนี้(10 ต.ค.) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจะหารือถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สถาบิน(ไฮสปีดเทรน)ซึ่งจะมีความชัดเจนในรายละเอียดต่างๆมากขึ้นโดยยังมั่นใจว่าจะสามารถลงนามร่วมทุนกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) หรือกลุ่มซีพี ที่ชนะประมูลได้ทันในวันที่ 25 ตุลาคม 2562

" ได้หารือกับเอกชนมาก่อนแล้วรอบหนึ่งและบ่ายนี้จะมีการดูในรายละเอียดต่างๆ เวลานี้ก็ยังมองว่าไม่น่าจะมีอะไรต้องเลื่อนหรือให้ล่าช้าออกไปอีก"นายคณิศกล่าว

สำหรับสาธารณูปโภค สายไฟฟ้าต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากเขตก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งเดิมได้ระบุถึงการส่งมอบพื้นที่ 72% แต่จะมีสัดส่วนเหลือกว่า 20% เพิ่มเติมหรือไม่อย่างไรที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องส่งมอบให้ผู้ชนะการประมูลนั้น ช่วงบ่ายวันนี้ก็จะได้คำตอบที่ชัดเจนถึงกรณีดังกล่าวเช่นกันเพราะมีคำตอบไว้อยู่แล้วซึ่งหลังประชุมเสร็จแล้วจะมีการแถลงข่าว


Last edited by Wisarut on 10/10/2019 4:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (21)
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 09 Oct 2019
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3512
ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2562


ผมลากพาทุกท่านมาติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

สัญญาที่ติดขัดตรงไหน คือหัวใจที่เราเกาะติดในร่างสัญญามา 20 ตอนแล้ว คราวนี้มาดูการตรวจสอบกันครับ

ค) การแจ้งและยืนยันผลการตรวจสอบรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย

1. กรณีที่ รฟท. ตรวจสอบพบว่าข้อมูลในรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามข้อ 15.1(2)(ข)3)ก) ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือมีข้อผิดพลาด รฟท. จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบโดยไม่ชักช้าถึงความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และ/หรือความผิดพลาดของข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาได้เข้าร่วมตรวจสอบกับ รฟท. เมื่อการตรวจสอบแล้วเสร็จ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะลงนามในเอกสารเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลใหม่ ซึ่งเอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟฉบับปรับปรุงและนำส่งให้ รฟท. ต่อไปภายในสิบห้า (15) วัน

2. เพื่อให้การตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายมีความถูกต้องและรวดเร็ว เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดียวกับที่เอกชนคู่สัญญาใช้งาน ตลอดจนส่งผ่านข้อมูลโดยระบบออนไลน์ (Online) ในลักษณะที่สามารถรายงานผลได้ทันที (Real Time) ให้ รฟท. พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก และให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ตามรายละเอียดในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

ง) เอกชนคู่สัญญาจะต้องอำนวยความสะดวก และ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ รฟท. ในการตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) และระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ข) เพื่อประเมินว่างานดังกล่าวมีการใช้งานและได้รับการบำรุงรักษาตามที่กำหนดไว้

จ) ในขณะตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ รฟท. จะพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เว้นแต่ รฟท. เห็นว่าจะกระทบต่อความปลอดภัย รฟท. อาจสั่งการให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการตามที่ รฟท. เห็นสมควร และเอกชนคู่สัญญาจะต้องให้ความร่วมมือแก่ รฟท. ในระหว่างที่ รฟท. ตรวจสอบ การใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตามที่ รฟท. กำหนด

ฉ) กรณีที่ผลการตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟปรากฏว่าเอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รฟท. จะแจ้งเป็นหนังสือให้เอกชนคู่สัญญาทราบถึงผลตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ และกำหนดระยะเวลาตามสมควรให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการแก้ไขหรือบำรุงรักษา

ช) เอกชนคู่สัญญาจะต้องแก้ไขหรือบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตามที่ รฟท. แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการตรวจสอบแก้ไขหรือบำรุงรักษาดังกล่าวด้วยตนเองโดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่แก้ไขหรือบำรุงรักษางานดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าวภายในระยะเวลาตามที่กำหนด และก่อให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ มาตรฐานความปลอดภัย หรือภาพลักษณ์ในการดำเนินโครงการฯ รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนคู่สัญญาชดใช้ค่าซ่อมบำรุง ซึ่งหากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด รฟท. มีสิทธิหักเงินค่าซ่อมบำรุงรักษาจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 ตามจำนวนที่ รฟท. เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาดังกล่าว

4) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย

เอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชอบในการจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดในระบบรถไฟของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมทั้งรับผิดชอบจัดหาสถานที่ปฏิบัติงานหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ของ รฟท. และของหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านความปลอดภัยตามกฎหมายไทยตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) และระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ข) ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเอง

(3) งานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (ก) การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

1) เมื่อ รฟท. ได้ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ตามข้อ 6.3(1) เอกชนคู่สัญญาจะต้องเริ่มการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ

2) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

3) เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบรายงานแสดงความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟเป็นรายเดือนให้แก่ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบ ตามรายละเอียดและระยะเวลาในการส่งมอบ ดังต่อไปนี้

ก) กรณีนำส่งเป็นรายเดือน ให้นำส่งรายงานแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยให้รายงานนี้มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบที่ รฟท. อนุมัติและ

ข) กรณีนำส่งเป็นรายไตรมาส ให้นำส่งรายงานแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ พร้อมทั้งแสดงรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวโดยจะต้องแสดงว่ารายจ่ายนั้นสอดคล้องกับแผนทางการเงินสำหรับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (Construction Buddget) ที่มีการส่งมอบตามข้อ 6.3(2)(ค)4) ซึ่งหากไม่สอดคล้อง ให้อธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นถึงการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องนั้นด้วย โดยให้รายงานนี้มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบที่ รฟท. อนุมัติ

ทั้งนี้ การที่บุคคลดังกล่าวรับมอบรายงานแสดงความก้าวหน้าข้างต้นไม่ถือเป็นการอนุมัติโดยบุคคลดังกล่าว ว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟที่ทำตามรายงานถูกต้องและครบถ้วนแต่อย่างใด

อ่านมาแค่นี้ผมกลัวเหลือเกินว่าทุกท่านจะหมดความอดทน แต่ผมเชื่อว่าคนต้องการความจริงยังมีอยู่ ผมเชื่อเช่นนั้นครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

เส้นตายไฮสปีด‘อนุทิน’ไม่ขลัง
10 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 2
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3512
วันที่ 10-12 ตุลาคม 2562

เส้นตาย 15 ต.ค.“อนุทิน” ไม่ขลัง หลังถูกเจ้าสัวธนินท์เป่า เลื่อนยาวเซ็นไฮสปีดไป 25 ต.ค. รฟท.ยอมรับทำแผนส่งมอบพื้นที่ไม่ทัน-ศักดิ์สยามอ้าง บอร์ดรถไฟลาออก ด้านผู้รับเหมาเผยซีพี เซ็นแบบมีเงื่อนไข

ไม่ขลังเอาเสียเลยสำหรับเส้นตาย รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน ชาญวีรกูล” ที่กำหนด ให้ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ลงนามร่วมลงทุนกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วันที่ 15 ตุลาคม 2562 หากไม่มาตามนัดจะถูกขึ้นบัญชีดำและริบเงินประกัน 2,000 ล้านบาท แต่ในที่สุดการเซ็นสัญญาถูกเลื่อนออกไป เป็นวันที่ 25 ตุลาคม 2562 เมื่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อ้างว่า คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) ทั้งชุดลาออกต้องแต่งตั้งใหม่ ประเมินว่าไม่ทัน กำหนดเวลาเซ็นสัญญาเดิมที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่เจ้ากระทรวงหูกวาง จะเลื่อนเซ็นสัญญา ทางซีกซีพี คู่สัญญาเจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้อาศัยเวทีในงานเปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” ตอบโต้กรณีไฮสปีด ว่า “รัฐต้องรับความเสี่ยง ร่วมกับเอกชน” พร้อมระบุให้จับตา วันที่15 ตุลาคม นี้จะมีการเซ็นสัญญาเกิดขึ้นหรือไม่ตามด้วยประโยคเด็ดอีกดอกที่ว่า” การรับมอบพื้นที่จากรัฐ แม้เหลือเพียง 10% ก็ไม่ยอมรับความเสี่ยง” ส่วนการขึ้นบัญชีดำ มองว่า ไม่น่าทำได้เพราะเป็นการประมูลรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ (พีพีพี) ไม่ใช่ประมูลงานแบบผู้รับเหมาทั่วไป

ขณะมติ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันที่ 30 ตุลาคม 2562 กลายเป็นตัวบีบให้รฟท. ต้องเร่งทำแผนส่งมอบพื้น
ที่ให้ได้มากที่สุด 72% ภายใน 1 ปี ทั้ง การไล่ผู้บุกรุก รื้อย้ายสาธารณูปโภค เสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อส่งนํ้าประปา ท่อส่งนํ้ามัน ให้พ้นเขตทางไฮสปีดฯ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องร่วมมือกันหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน เพื่อให้กลุ่มซีพีเกิดความสบายใจว่า รฟท.ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง

ทั้งนี้ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรฟท. เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากความไม่พร้อมเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ส่งผลให้ รฟท.ตัดสินใจ ขอเลื่อนเซ็นสัญญา กับกลุ่มซีพีออกไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคม เพราะแผนรื้อย้าย มีหลายหน่วยงานเข้ามาข้องเกี่ยว ยังมีอุปสรรคอีกมาก ทำให้ไม่สามารถลงนามได้ทันวันที่ 15 ตุลาคม

สำหรับรายละเอียดการส่งมอบพื้นที่รื้อย้ายสาธารณูปโภค เข้า คณะอนุ กพอ.ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ร่วมหาทางออก

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า รฟท.ไม่เคยทอดทิ้งซีพีให้รับความเสี่ยง ในทางกลับกันตลอดเวลายังวิ่งวุ่นเคลียร์พื้นที่ให้ได้มากที่สุดเพื่อเปิดทางเข้าพื้นที่ก่อสร้างหลังจากเซ็นสัญญา แต่ จะให้เสร็จเรียบร้อย 100% พร้อมลงพื้นที่ก่อสร้าง ย่อมเป็นไปไม่ได้ นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าไม่มีโครงการไหนที่ไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ แต่หากเอกชนเปิดใจ เชื่อว่าทุกอย่างจะเดินไปได้

ส่วนแหล่งข่าวจากวงการรับเหมา เชื่อว่า วันที่ 25 ตุลาคมนี้ซีพีน่าจะเซ็นสัญญาแต่ มีเงื่อนไขที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับได้รฟท.ต้องผ่อนปรนการันตี ส่งมอบพื้นที่ 72% ใน 1 ปี พร้อมเริ่มงาน ส่วนการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดคาดว่าไม่เกิน 3 ปี โดยรฟท.จะมีหนังสือ การันตี โดยกำหนดวัน ระยะเวลาให้สอดคล้องกับการทำงานของกลุ่มซีพีในแต่ละช่วง

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าการอ้างส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดมีความล้าช้า แต่ข้อเท็จจริงคือส่งมอบได้แล้ว 72% หากเอกชนมีปัญหา ก็น่าจะคุยกับภาครัฐไปหมดแล้ว เพราะเปิดโอกาสให้หารือกันหลายรอบ

“อย่างไรก็ตาม ต้องย้อนกลับไปอ่านเงื่อนไขการประมูลงาน หรือ RFP ที่กำหนดว่ารัฐต้องทำอย่างไร และเอกชนต้องทำอย่างไร ภาครัฐ ทำในส่วนของเขาไปแล้ว ภาคเอกชนดำเนินการแล้วหรือยัง”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/10/2019 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดฯรถไฟใหม่พร้อมทำสัญญาซีพี 25 ต.ค.นี้
ThaiPBS 17:22 | 10 ตุลาคม 2562

Click on the image for full size

รัฐบาลมั่นใจลงนามสัญญาซีพีในวันที่ 25 ต.ค.นี้ หลังเสนอ ครม.เห็นชอบบอร์ดฯ รถไฟฯชุดใหม่วันที่ 15 ต.ค. โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่แล้วร้อยละ 72 หลังคณะทำงานเคลียร์พื้นที่แทนเอกชน

วันนี้ (10 ต.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่า กระทรวงการคลังได้เร่งรัดการพิจารณาบอร์ดการรถไฟฯชุดใหม่ โดยผ่านอนุกรรมการกลั่นกรองรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ อย่างรวดเร็ว และจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารายชื่อบอร์ดการรถไฟชุดใหม่ ในวันที่ 15 ต.ค.นี้

Click on the image for full size

จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารายชื่อบอร์ดการรถไฟชุดใหม่ ในวันที่ 15 ต.ค.นี้ จากนั้น บอร์ดฯชุดใหม่ จะนัดประชุมพิจารณารายงานและรับทราบการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และพร้อมลงนามในสัญญากับกิจการร่วมค้า ซีพีเอช ในวันที่ 25 ต.ค.2562 โดยจะไม่มีการเลื่อนกำหนดการลงนามอีกแล้วหลังสะสางปัญหาและทำความเข้าใจกับเอกชนแล้ว

“ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ได้ลงนามโครงการไฮสปีดแน่จะไม่มีการเลื่อนอีกต่อไปแล้ว หลังทำหนังสือนัดกลุ่มซีพีให้มาลงนามแล้ว และเท่าที่หารือนอกรอบทราบว่า เอกชนจะเดินทางมาลงนามแน่นอน”

ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า บอร์ดการรถไฟฯ ทำหน้าที่เพียงรับทราบรายงานการดำเนินสัญญา แต่ไม่มีผลผูกพันในการทำสัญญา เพราะดำเนินการภายใต้กฎหมายอีอีซีจึงสามารถลงนามได้ตามกำหนด และร่างสัญญาหลักของโครงการไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในสัญญาแนบท้ายซึ่งเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่นั้นกำหนดให้เอกชนเป็นผู้ติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง ซึ่งโดยปกติมักใช้เวลานนานและกำหนดเวลาได้ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เอกชนกังวลว่า จะกระทบการวางหุ้นและแผนการกู้เงิน กระทบต่อภาระต้นทุนการเงินในอนาคต

ขณะนี้ รัฐบาลพร้อมส่งมอบพื้นที่ดำเนินโครงการได้แล้ว ร้อยละ 72 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ พื้นที่ที่พร้อมส่งมอบได้ทันที คือ บริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีพญาไท - สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28 กม.จากนั้น จากสถานีสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม.ภายใน 1 ปี 3 เดือน นับจากลงนาม ส่วนพื้นที่ผ่านเมือง ตั้งแต่สถานีพญาไท - ดอนเมือง ซึ่งเต็มไปได้จุดตัดจำนวนมากถึง 230 จุดใน 3 กระทรวง 8 หน่วยงาน

Click on the image for full size

อนุกรรมการฯชุดนี้ จึงตั้งคณะทำงานการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธาน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว เพราะหากให้เอกชนดำเนินการเจรจาเองอาจกระทบระยะเวลาก่อสร้างและภาพรวมโครงการอีอีซี คาดว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะสามารถเปิดบริการเฟสแรกช่วงสถานีพญาไท - สนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ภายใน ต้นปี 2567 และสถานีพญาไท - ดอนเมือง ภายในต้นปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2019 6:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บอร์ดฯรถไฟใหม่พร้อมทำสัญญาซีพี 25 ต.ค.นี้
ThaiPBS 17:22 | 10 ตุลาคม 2562


จบสวย ไฮสปีดเทรน เซ็นสัญญา 25 ต.ค.นี้ได้แน่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - EEC /
10 ตุลาคม 2562


คณะอนุกรรมการบริหาร EEC สรุป เวลาส่งมอบพื้นที่ร.ฟ.ท. พร้อมเตรียมส่งรายชื่อบอร์ดเข้าครม. 15 ต.ค.นี้ ก่อนเสนอแผนก่อสร้างทั้งหมดเข้าครม. 22 ต.ค. มั่นใจลงนามได้ตามกำหนด ลั่นคุยเอกชนแล้ว เข้าใจกันดี ไม่มีปัญหา

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) นัดแรก ที่มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมประชุม ว่า คณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และจะมีการเสนอให้คณะกรรมการEEC ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบต่อไป เพื่อให้การก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบินเดินหน้าต่อได้ตามแผน โดยจะมีการเซ็นสัญญากับกลุ่มซีพี ที่ชนะการประมูลในวันที่ 25 ต.ค. นี้

ด้านนายศักดิ์สยาม กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการดังกล่าว ได้ทำหนังสือส่งไปยังกลุ่มบริษัทซีพี เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา ว่าให้เข้ามาทำการเซ็นสัญญากันภายในวันที่ 25 ต.ค. นี้ โดยเลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ทำการประสานไปยังกลุ่มซีพีอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ซึ่งทางกลุ่มซีพีได้ยืนยันว่าพร้อมที่จะเข้ามาเซ็นสัญญาตามกำหนดเวลา

สำหรับปัญหาการขาดคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นั้น ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ รฟท. ชุดใหม่ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลังได้เห็นชอบส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว หลังจากนั้นได้ส่งเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ รฟท. ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการประชุม เพราะมีอำนาจตามตำแหน่ง และในวันที่ 15 ต.ค. นี้ จะเสนอรายชื่อคณะกรรมการ รฟท. ชุดใหม่ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเห็นชอบ


ทั้งนี้หลังจากนั้นคณะกรรมการ รฟท. จะมีการประชุมทันที เพื่อรับทราบการดำเนินการเซ็นสัญญาโครงการดังกล่าว ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปัญหา และเสนอให้ ครม. เห็นชอบแผนการก่อสร้างต่างๆ ในวันที่ 22 ต.ค. 2562 ก่อนเดินหน้าตามแผนการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2567-2568 หรือในอีก 5 ปี

"เอกชนเองก็อยากลงนาม ยืนยันว่าไม่ได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ทุกคนอยากให้โครงการนี้สำเร็จ แต่เงื่อนไขอยู่ที่ว่าการส่งมอบพื้นที่มีความจำเป็น หากไม่มีการกำหนดเวลาชัดเจน รถไฟฟ้ากับสนามบินจะไม่เชื่อมกัน เอกชนจะมีปัญหา เพราะเป็นโครงการร่วมทุนไม่ใช่จ้างทำ ตอนนี้คุยกับฝ่ายเอกชนแล้ว ถ้าเป็นไปตามนี้ก็สามารถลงนามได้" นายศักดิ์สยาม กล่าว

ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ EEC กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน สามารถดำเนินการไปได้แล้ว 72% ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่

1. ระยะทางระหว่างสถานีพญาไท-สถานีสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการแอร์พอร์ตเรียลลิ้งค์ พร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทันที
2. ระยะทางระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ-สถานีอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร คณะทำงานส่งมอบพื้นที่จะสามารถดำเนินการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้ภายใน 1 ปี 3 เดือน ทำให้ระยะทางตั้งแต่สถานีพญาไท-สถานีอู่ตะเภา เปิดให้บริการได้ในปี 2566-2567
3. สถานีพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ดำเนินการได้ยากที่สุด เพราะมีต้องมีการเคลื่อนย้ายระบบสาธารณูปโภค เกี่ยวข้องกับ 3 กระทรวง 8 หน่วยงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการส่งมอบพื้นที่ 2 ปี 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567-2568

"การส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด ทางผู้ชนะการประมูลได้รับทราบเงื่อนไขดังกล่าวหมดแล้ว ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ ในการเซ็นสัญญา เพราะว่าทุกหน่วยงานอย่างให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพราะหากสร้างสนามบินเสร็จแล้วแต่รถไฟไม่เสร็จจะทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อได้" นายคณิศ กล่าว

CPH แจ้งกลับมาอย่างไม่เป็นทางการว่า CPH #พร้อมมาลงนามสัญญาตามคำเชิญของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในเวลา 14.00 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2562
https://www.thebangkokinsight.com/221522/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 10:40 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
บอร์ดฯรถไฟใหม่พร้อมทำสัญญาซีพี 25 ต.ค.นี้
ThaiPBS 17:22 | 10 ตุลาคม 2562


จบสวย ไฮสปีดเทรน เซ็นสัญญา 25 ต.ค.นี้ได้แน่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - EEC /
10 ตุลาคม 2562


//-------------------------------------------


ไฮสปีดอีอีซีโชว์แผนเคลียร์ที่ดินพญาไท-สุวรรณภูมิพร้อม 100% ที่เหลือรอ 1-2 ปี หลังลงนาม
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 15:12 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 หลังการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในนามอนุกรรมการพิเศษ สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้เผยแพร่ “แผนที่แสดงสาธารณูปโภค รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ระบุว่าจะเปิดให้บริการสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในปี 2566/2567 โดยมีแผนรื้อย้ายปรับปรุงสาธารณูปโภคของ 8 หน่วยงาน เช่น กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, นครหลวง, ภูมิภาค, การประปา, ปตท., บริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ และบริษัทท่อปิโตรเลียมไทย จำกัด

โดยระบุระยะเวลาการส่งมอบพื้นที่มีรายละเอียด เช่น
สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กิโลเมตร รฟท. พร้อมส่งมอบพื้นที่แล้ว

ส่วนสถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กิโลเมตร พร้อมส่งมอบพื้นที่ 1 ปี 3 เดือน หลังลงนาม

และสถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กิโลเมตร พร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หลังลงนาม

นอกจากนี้ยังได้ระบุถึงการเดินทางที่ง่ายและทำให้การท่องเที่ยวเติบโตและเศรษฐกิจเข้มแข็ง โดยมีจำนวนผู้โดยสารใน 5 ปี มี 15 ล้านคน และเพิ่มเป็น 30 ล้านคน ในอีก 10 ปี และเพิ่มเป็น 60 ล้านคนในปีที่ 15

โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยมี ปลัดกระทรวง คมนาคม เป็นประธานคณะททำงาน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคณะทำงาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการร่วมเป็นคณะทำงาน


Last edited by Wisarut on 11/10/2019 10:45 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


CPH แจ้งกลับมาอย่างไม่เป็นทางการว่า CPH #พร้อมมาลงนามสัญญาตามคำเชิญของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในเวลา 14.00 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2562
https://www.thebangkokinsight.com/221522/


ซีพีตอบรับเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรน25ต.ค.นี้
พฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 17.38 น.

“ศักดิ์สยาม” ยันกลุ่ม CPH ตอบรับเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรน 25 ต.ค.นี้ พร้อมตั้งบอร์ดรฟท.ชุดใหม่ เสนอครม ยันการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดไม่มีปัญหา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) พร้อมที่จะเข้ามาเซ็นสัญญาภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่ม CPH

นอกจากนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ รฟท.ชุดใหม่ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบและส่งเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ รฟท.ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการประชุม เพราะมีอำนาจตามตำแหน่ง และจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการ รฟท.ชุดใหม่ให้ ครม.ได้พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 15 ต.ค.นี้ หลังจากนั้นจะประชุมในทันที เพื่อรับทราบการดำเนินการเซ็นสัญญาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งไม่มีปัญหา เพราะคณะกรรมการ รฟท.มีหน้าที่รับทราบเท่านั้น หากไม่มีมติรับทราบ จะทำให้ผู้ว่า รฟท.ไม่มีอำนาจในการเซ็นสัญญาผูกพันในโครงการดังกล่าวได้ จากนั้นจะเสนอเรื่องให้ ครม.เห็นชอบในวันที่ 22 ต.ค.62 เพื่อเซ็นสัญญาภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน สามารถดำเนินการได้แล้ว 72% ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1.ระยะทางระหว่างสถานีพญาไท-สถานีสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28 กม. ซึ่งเป็นโครงการแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ พร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทันที 2. ระยะทางระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ-สถานีอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. คณะทำงานส่งมอบพื้นที่จะสามารถดำเนินการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้ภายใน 1 ปี 3 เดือน ทำให้ระยะทางตั้งแต่สถานีพญาไท-สถานีอู่ตะเภา จะเปิดให้บริการได้ในปี 66-67

สำหรับสถานีพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ดำเนินการได้ยากที่สุด เนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายระบบสาธารณูปโภค มีความเกี่ยวข้องกับ 3 กระทรวง 8 หน่วยงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการส่งมอบพื้นที่ 2 ปี 3 เดือน ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ในปี 67-68 อย่างไรก็ตาม การส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด ทางผู้ชนะการประมูลได้รับทราบเงื่อนไขดังกล่าว แล้ว ซึ่งไม่มีปัญหาในการเซ็นสัญญา เพราะว่าทุกหน่วยงานอยากให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพราะหากสร้างสนามบินเสร็จแล้ว แต่รถไฟไม่เสร็จ จะทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อได้

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เห็นชอบการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และจะมีการเสนอให้คณะกรรมการอีอีซี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน สามารถเดินหน้าต่อได้ตามแผน โดยจะมีการเซ็นสัญญากับกลุ่มซีพี ซึ่งชนะการประมูลในวันที่ 25 ต.ค.นี้

ซีพีลั่น!!!พร้อมเซ็นไฮสปีด 25ต.ค.
10 ตุลาคม 2562


ภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เผยว่า เลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ทำการประสานไปยังกลุ่มซีพีอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ซึ่งทางกลุ่มซีพีได้ยืนยันว่าพร้อมที่จะเข้ามาเซ็นสัญญาตามกำหนดเวลาวันที่ 25 ต.ค.นี้



นายศักดิ์สยาม เผยต่อไปว่า ปัญหาที่ต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) เห็นชอบก่อนนั้นว่า ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการ รฟท.ชุดใหม่ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบและส่งให้กระทรวงคมนาคมเรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้ส่งเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ รฟท.ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการประชุม เพราะมีอำนาจตามตำแหน่ง และจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการ รฟท.ชุดใหม่ให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 15 ต.ค.นี้



จากนี้คณะกรรมการ รฟท.จะมีการประชุมในทันที เพื่อรับทราบการดำเนินการเซ็นสัญญาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปัญหา และเมื่อคณะกรรมการ รฟท.รับทราบแล้วจะเสนอเรื่องการเซ็นสัญญากับกลุ่มซีพีให้ ครม.เห็นชอบในวันที่ 22 ต.ค.62 เพื่อให้การเซ็นสัญญาเป็นไปตามกำหนด



“วันนี้ ทุกคนมีเจตนาที่จะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ วันนี้ไม่มีอะไรแล้ว เพียงแต่ทำให้กระบวนการมันถูกต้อง ครบถ้วนเท่านั้นเอง ด้านเอกชนเองก็อยากลงนาม ยืนยันว่าไม่ได้มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ทุกคนอย่างให้โครงการนี้สำเร็จ” รมว.คมนาคม เผยทิ้งท้าย


Last edited by Wisarut on 11/10/2019 11:33 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 10:46 am    Post subject: Reply with quote

ส่งมอบพื้นที่‘ไฮสปีด’ ก้างตำคอ รฟท.
ออนไลน์เมื่อ 10 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3512 ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2562

เส้นตายเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความ เร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วันที่ 15 ตุลาคม 2562 ระหว่าง กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เป็นหมันอีกระลอก เมื่อนายศักดิ์ สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศเลื่อนลงนาม ออกไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคม 2562 โดยอ้างคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) ลาออกทั้งคณะ จึงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา

อย่างไรก็ตามการยื้อลงนาม นับครั้งไม่ถ้วนเกิดจากปัญหาส่งมอบพื้นที่ ที่ล่าสุดเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดหน้าชนภาครัฐ ในงานเปิดตัวหนังสือ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาจับใจความได้ว่า “การทำพีพีพี ไฮสปีด รัฐต้องร่วมกับเอกชน ถ้าเสี่ยงต้องเสี่ยงด้วยกัน”

ขณะฝั่งของ รฟท. นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ได้วางกำหนดการส่งมอบที่ดิน 72% ภายใน 1 ปี หลังลงนามในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้เอกชนเริ่มก่อสร้างโดยขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดการรื้อย้ายท่อก๊าซยาว 12 กม. ยกเสาไฟฟ้าแรงสูง 16 จุด กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดย้ายท่อประปาขนาดใหญ่ยาว 2 กม. และกระทรวงคมนาคมโดย รฟท.ใช้สิทธิ์เร่งรัดให้ย้ายท่อนํ้ามันของบริษัทเอกชน ระยะทาง 44 กม.รวมทั้งเร่งรัด พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน

จากการบอกเล่าถึงความคืบหน้าดังกล่าวชี้ชัดได้ว่า หลากหลายกระทรวงเข้ามาช่วยกันผลักดันให้โครงการนี้เริ่มดำเนินการ เพราะนอกจากสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะในมิติของการคมนาคมขนส่ง

แล้วอะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้กลุ่มซีพีไม่จดปากกา แรกเริ่มอาจคาดเดาในเรื่องของเงินทุน แต่ล่าสุดจากการสอบถามแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สิ่งที่กลุ่มซีพีมีความกังวลคือการส่งมอบที่ดิน เพราะมีอุปสรรคในเรื่องของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ และการบุกรุกของประชาชน ทำให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ หรือถ้าก่อสร้างได้ ก็จะทำได้เป็นจุดๆ แล้วก็ต้องหยุดไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อีกซึ่งจะทำให้กลุ่มซีพีต้องแบกรับดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งเป็นภาระด้านต้นทุนที่สูงอยู่แล้วเพิ่มมากขึ้น



สำหรับพื้นที่อุปสรรคที่ดูแล้วยังเป็นปัญหาหลากหลายประเด็น ยกตัวอย่างเช่น
1. เสาตอม่อของโครงการโฮปเวลล์
2. สายส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 KV ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.)
3. ท่อส่งนํ้ามันใต้ดินขนาด 14 นิ้ว เพื่อใช้ส่งนํ้ามันไปในสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ของบริษัท ขนส่งนํ้ามันทางท่อ จำกัด (Fuel Pipeline Transportation Limited : FPT) ซึ่งจะต้องรื้อย้าย เพื่อให้กลุ่มซีพีเข้ามาทำการเปิดหน้าดินเพื่อสร้างอุโมงค์ วิ่งแบบคลองแห้ง เป็นต้น

คงเป็นหนังม้วนยาว ที่ต้อง จับตาว่าในที่สุดแล้ว ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบินจะจบอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 343, 344, 345 ... 542, 543, 544  Next
Page 344 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©