RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180272
ทั้งหมด:13491506
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 344, 345, 346 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 10:51 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตรถไฟไทย-จีน
09 ตุลาคม 2562

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือคุ้นหูในชื่อ “รถไฟไทย-จีน” ถือเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐหรือแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างไทยกับจีน โดยโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อเส้นทางจากกรุงเทพฯไปยังหนองคาย ซึ่งผู้โดยสารสามารถข้ามชายแดนจากหนองคายเข้าสู่ สปป.ลาว และขึ้นรถไฟต่อจากนครหลวงเวียงจันทน์ผ่านเข้าทางตอนเหนือของ สปป.ลาว มุ่งหน้าสู่เมืองคุนหมิง ประเทศจีนบริเวณตอนใต้ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังมีความสำคัญในแง่ของความสัมพันธ์ภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จะใช้งบประมาณ 1.79 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่ารื้อย้าย 1.3 หมื่นล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา 1.22 แสนล้านบาท
งานระบบไฟฟ้า 3.4 หมื่นล้านบาท
ค่าจัดหาตู้รถไฟ 4.4 พันล้านบาท และ
ค่าจ้างที่ปรึกษา 5.1 พันล้านบาท

โดยงานก่อสร้างนั้นแบ่งย่อยออกเป็น 14 สัญญา วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ล่าสุดมีความคืบหน้าไปมาก และช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร ได้รับอนุมัติจากครม.ให้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 2:07 pm    Post subject: Reply with quote

“ซีพี” ถูกล่ามโซ่ เซ็นไฮสปีดเทรน ชี้ “เสี่ยงมาก” ขอไปตายดาบหน้า!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 ตุลาคม 2562 10:29
ปรับปรุง: 11 ตุลาคม 2562 12:38

เปิดปัจจัยเสี่ยงที่กลุ่มซีพีรู้ว่ามีโอกาส “เจ๊ง” แต่ต้องเซ็นสัญญาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ชี้ “เสี่ยหนู” กดดันซีพีหวังให้ลงนาม จะส่งผลให้ ร.ฟ.ท.ไม่ต้องเรียก “บีเอสอาร์” มาเจรจา คาดอาจเจอวิกฤตถึงขั้นยึดค้ำประกันซองและถูก Blacklist ได้เช่นกันตามเงื่อนไข Jointly and Severally ขณะที่กลุ่มซีพีประเมินทุกปัจจัยแล้วขอไปตายดาบหน้า ว่ากันว่าโครงการนี้ “จีน” หนุนซีพีเต็มที่

การเลื่อนลงนามสัญญาเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เป็นผู้ชนะการประมูล จากวันที่ 15 ต.ค. ไปเป็นวันที่ 25 ต.ค. 2562 เวลา 12.00 น. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ถือเป็นโอกาสให้กลุ่มซีพี และ ร.ฟ.ท.มีเวลาในการเจรจาเพื่อหาข้อยุตินำไปสู่การลงนามในสัญญาได้ในที่สุด

แม้ว่าโครงการนี้กลุ่มซีพีจะมีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสเจ๊งหรือขาดทุนเป็นแสนล้านบาท หรือกว่าจะเข้าสู่จุดคุ้มทุนจะอยู่ประมาณ 30 ปีไปแล้ว ในกรณีที่รัฐค้ำประกันจำนวนผู้โดยสาร และอื่นๆ แต่ถ้ารัฐไม่ค้ำประกันหรือจำนวนผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้าต้องใช้เวลาถึง 50 ปีกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน

โดยต้องไม่ลืมว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พยายามผลักดันเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้ตั้งแต่รัฐบาลบิ๊กตู่ 1 และบิ๊กตู่ 2 ในปัจจุบัน เพราะไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ให้ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อให้กับรัฐบาลบิ๊กตู่ได้ในที่สุด


ขณะที่อะไรที่เป็นอุปสรรคและปัญหา เช่น เรื่องของการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ไปกีดขวางการก่อสร้างไฮสปีดเทรน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน ก็ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ไปดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ ร.ฟ.ท.สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มซีพีเข้าไปทำงานต่อได้

“ตอนนี้ซีพีเห็นแล้วว่าการส่งมอบที่ดิน และการแก้ไขสิ่งกีดขวางทุกอย่างรัฐเดินหน้าให้แล้ว อย่างเรื่องสายส่งไฟฟ้ากำลังสูง 500KV ถือเป็นโครงข่ายระดับชาติ (National Grid ) ภาคตะวันออก กฟผ.ก็พร้อมดำเนินการให้แล้ว”

จะว่าไปแล้ว การที่กลุ่มซีพียังไม่ยอมเซ็นสัญญา และดูเหมือนว่าจะพยายามต่อรองเงื่อนไขต่างๆ กับภาครัฐมาโดยตลอด ตั้งแต่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะโครงการนี้ ทั้งที่ทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขการร่างข้อเสนอ (Request for Proposal : RFP) ก็ตาม

แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ระบุว่า จากการหารือกันเชื่อว่า การที่กลุ่มซีพียังไม่ยอมเซ็นสัญญานั้นมีหลายปัจจัยที่จะต้องทำให้ทุกอย่างชัดเจนและเข้าใจตรงกันบนพื้นฐานของเอกสาร เพราะโครงการนี้เห็นชัดๆ ว่ามีความเสี่ยงสูงมากๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งมอบที่ดิน ซึ่งจะทำให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ และจะทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้กลายเป็นภาระหนักถึงขั้นเจ๊งได้เช่นกัน

“ไม่อยากให้สังคมมองว่า ซีพี, อิตาเลียนไทย, ช.การช่าง หรือต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุนล้วนแต่ทุนหนาจะแบกภาระขาดทุนได้นาน เพราะการจะทำโครงการอะไรก็ตามผู้ลงทุนก็ต้องศึกษาความคุ้มทุน ซึ่งการขาดทุนต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดและมองเห็นอนาคตว่าโครงการจะดีขึ้น จึงจะตัดสินใจเซ็นสัญญา แต่อะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องคุยกันให้เข้าใจตามระยะเวลาที่กำหนดไว้”

ดังนั้น กลุ่มซีพีจึงพยายามที่จะหาข้อสรุปกับประเด็นปัญหาต่างๆ และส่งสัญญาณให้รัฐบาลรู้ว่าอะไรที่ภาคเอกชนจะเป็นผู้ไปดำเนินการเองตามลำพังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก และต้องใช้อำนาจรัฐบาลในการสั่งการเท่านั้น และทุกอย่างก็เห็นชัดหลังการประชุมคณะกรรมการ EEC ที่บิ๊กตู่เป็นประธานเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา

“เราคุยกันว่า ซีพีเหมือนคนที่ขาข้างหนึ่งถูกล่ามโซ่ไว้ ทำให้การจะเดินไปข้างหน้าก็ลำบาก เพราะขวากหนามมันมาก และเจ๊งแน่ๆ ยิ่งถ้าเราเดินไปแล้วสร้างไม่เสร็จจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะ RFP กำหนดไว้ชัดเจน แต่ใช่ว่าโครงการนี้จะไม่มีอนาคต เพียงแต่ว่าต้องใช้เวลานานเท่านั้น ส่วนจะถอยหลังกลับไปก็ไม่ได้เพราะRFP อีกนั่นแหละ”


ว่ากันว่าปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ซีพีตกอยู่ในความเสี่ยงจึงต้องใช้เวลาในการเจรจาเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุดก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา ประกอบด้วย

1. ปัญหาการส่งมอบที่ดิน ซึ่งซีพีเสนอให้มีการส่งมอบ 100% เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้สำเร็จ จึงนำไปสู่การเจรจา ซึ่งคณะกรรมการฯ ยืนยันว่าพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ 72% ก็ต้องมาคุยกันต่อว่า 72% เป็นพื้นที่อย่างไร ติดปัญหาสาธารณูปโภคหรือไม่ คาดว่าปัญหานี้มีโอกาสได้รับการแก้ไขและทำให้งานเดินได้เช่นกัน

2. หากที่ดินไม่ได้รับการส่งมอบตามที่กำหนดไว้ โอกาสที่ซีพีจะสร้างเสร็จภายใน 5 ปี มีความเป็นไปได้น้อย และหากล่าช้า ร.ฟ.ท.จะขยายเวลาให้เท่านั้น

3. หากกลุ่มซีพีส่งมอบโครงการช้าไปกี่วันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึงวันละ 25 ล้านบาท คูณจำนวนวันที่ล่าช้า

4. รัฐไม่ค้ำประกันด้านการเงิน ในส่วนที่ ร.ฟ.ท.ร่วมลงทุนซึ่งจะมีการจ่ายคืนในปีที่ 6 เป็นระยะเวลา 10 ปีเท่าๆ กัน จึงเป็นเรื่องที่กลุ่มซีพีจะต้องไปติดตามและเร่งรัดเอง แต่เชื่อว่าปัญหาข้อนี้รัฐบาลมีทางออกไว้ให้แล้ว

5. รัฐบาลไม่มีการการันตีจำนวนผู้โดยสาร ที่จะเข้ามาลงทุนตามแผนพัฒนา EEC ทำให้ทุกอย่างอยู่บนความเสี่ยงของกลุ่มซีพีล้วนๆ เพราะรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากค่าโดยสารจะเริ่มจากปีที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งช่วงปีที่ 6-10 จะมีผู้โดยสารจำนวนเพียงพอหรือไม่?

6. กลุ่มซีพีต้องการความชัดเจนว่าในพื้นที่ EEC มีการลงทุนจริงตามแผนพัฒนาหรือไม่ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่รัฐกำหนดเกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

7. มีการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) มีแนวโน้มลดลง จะส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุนในทุกๆ ด้าน

8. ที่ดินทำเลทอง ตามแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ ที่ดินศรีราชา หรือที่ดินที่ซีพีมีอยู่ เคยคาดหวังว่าจะสร้างมูลค่าได้และนำไปชดเชยในส่วนการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซา และมีพื้นที่อาคารสูง คอนโดมิเนียมสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และเชิงพาณิชย์ ในโครงการใหญ่ๆ รอการขายอีกเป็นจำนวนมาก

“ถ้าเศรษฐกิจเติบโต ทุกอย่างกระเตื้องขึ้น การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้จะมีมูลค่าขึ้นมาทันที จึงต้องใช้เวลาอีกหลายปี ตรงนี้คืออนาคตที่ยังพอหวังได้”


9. จากการประเมินความคุ้มทุน (ตารางประกอบ) กรณีที่รัฐการันตีผู้โดยสารและสนับสนุนอื่นๆ เชื่อว่ากลุ่มซีพีต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปีถึงจะหมดภาระการขาดทุน แต่ถ้าโครงการใน EEC ไม่เกิดขึ้นตามแผนพัฒนา โอกาสที่กลุ่มซีพีจะเจ๊งก็มีสูงคืออยู่ในระดับ 'ความเสี่ยงสูงมาก' กลุ่มซีพีจึงพยายามเจรจาลดเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคเพื่อให้ไฮสปีดเทรนเกิดได้และมีอนาคตได้เช่นกัน

10. RFP ระบุรัฐยึดเงินค้ำประกัน 2,000 ล้านบาทได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการขู่ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกระทรวงคมนาคม แต่เป็นเรื่องที่กำหนดไว้ใน RFP หากกลุ่มซีพีไม่ลงนามในสัญญาก็ถือว่าผิดสัญญา สามารถยึดเงินค้ำประกันได้ทันที

“2,000 ล้านรัฐก็จะไปเรียกจากแบงก์ที่ค้ำประกัน จากนั้นแบงก์ก็ต้องไปตามจากกลุ่มซีพีตามที่มีการตกลงกันไว้”

11. RFP ยังมีเงื่อนไข Jointly and Severally เพื่อให้บริษัทในกลุ่ม JV ทุกบริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อสัญญาร่วมกัน ดังนั้นเมื่อซีพีถูก Blacklist มีผลให้ ITD และ CK รวมทั้งพันธมิตรต่างๆ ต้องโดนด้วย

12. ใน RFP ยังกำหนดให้กลุ่มJV ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย (Liability) ไม่เกินวงเงินลงทุน


อย่างไรก็ดี เมื่อประเมินความเสี่ยง ความคุ้มทุน และโอกาสแล้วระหว่างเดินไปข้างหน้ากับการเดินถอยหลังคือไม่เซ็นสัญญา จะมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันอย่างไร จึงเชื่อว่า ซีพี จะเลือกเดินไปข้างหน้าแบบช้าๆ ตามที่กรอบเวลาหรือการยืนราคาตามที่เสนอไปนั้น สามารถยืดไปได้จนถึงวันสุดท้าย

“ซีพีเลือกไปตายดาบหน้า จะเลือกเซ็นสัญญาก่อนแล้วค่อยๆ แก้ปัญหาเพราะข้างหน้าก็ยังมีโอกาสหากเศรษฐกิจเติบโตขึ้นมา ซึ่งก็ไม่ต่างจากบีทีเอส ก็ขาดทุนเมื่อทำรถไฟฟ้าบีทีเอสวิ่งในช่วงแรกๆ เพราะจำนวนผู้โดยสารน้อย แต่วันนี้เป็นอย่างไร บีทีเอสเติบโตมากๆ”

แต่การจะเซ็นวันที่ 25 ตุลาคม ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้หรือไม่ หรือจะเลื่อนออกไปอีกก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าหากถึงวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยืนราคา กลุ่มซีพีอาจจะมีอะไรเด็ดๆ ในการเจรจาขอยืดเวลาออกไปได้หรือไม่ และใคร? จะเป็นผู้กล้าอนุญาตให้มีการเลื่อนเวลาออกไปอีกเท่านั้น


“ทั้ง ร.ฟ.ท. และซีพี มั่นใจว่าในวันที่ 25 ตุลาคมน่าจะเซ็นสัญญาได้ หากช่วงเวลาจากนี้ไปเอกสารต่างๆ เข้าใจตรงกันก็จะไม่มีเลื่อนอีก”

แหล่งข่าวระบุด้วยว่า กลุ่มซีพีไม่มีทางทิ้งโครงการนี้แล้วปล่อยให้ยึดเงินค้ำประกัน และ Blacklist พันธมิตรทางธุรกิจ เพราะเท่ากับชื่อเสียงที่ซีพีสั่งสมมายาวนานจะสูญสิ้นไปในทันที อีกทั้งจะกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสายตาประเทศจีน ว่ากันว่าโครงการนี้ประเทศจีนก็เป็นแรงหนุนสำคัญที่จะทำให้ซีพีตัดสินใจเดินหน้าโครงการไฮสปีดเทรนนี้แม้จะต้องขาดทุนเป็นแสนล้านบาทก็ตาม

“ขาดทุนตรงนี้ มีที่อื่นชดเชยหรือไม่ ต้องตามดูกัน”

ขณะเดียวกัน วงการก่อสร้างที่เป็นพันธมิตรและเคยทำงานร่วมกับนายอนุทิน เจ้าของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ต่างก็เชื่อว่าการเดินหน้ากดดันกลุ่มซีพีให้รีบมาเซ็นสัญญาโครงการไฮสปีดก็เพื่อให้กลุ่มซีพีเซ็นสัญญา ไม่ใช่เพื่อให้ ร.ฟ.ท.เรียกรายที่ 2 คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : BTS, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : STEC, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : RATCH มาเป็นคู่สัญญาทำโครงการไฮสปีดเทรนนี้ต่อไป

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกระทรวงคมนาคม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกระทรวงคมนาคม

“คุณอนุทิน และบีทีเอส รู้แล้วว่าปัญหาที่ต้องเผชิญมีอะไรบ้าง ช่วงแรกอาจต้องการทำไฮสปีดเทรน และตัวเลขขอเงินสนับสนุนจากรัฐก็สูงกว่าซีพี คือ เสนอรัฐอุดหนุน 1.69 แสนล้านบาท สูงกว่าซีพีถึง 5 หมื่นล้านบาท จึงย่อมปลอดภัยมากกว่า แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเรื่องภาวะเศรษฐกิจ จำนวนผู้โดยสาร การส่งมอบที่ดิน และ EEC จะสำเร็จตามเป้าหรือไม่”

ที่สำคัญไม่ต้องการให้โครงการไฮสปีดเทรนต้องกลายเป็น 'แพะ' ให้กับแผนพัฒนา EEC รวมไปถึงหากเรียกกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ มาเจรจาและไม่สามารถเจรจากันได้ และไม่ยอมลงนามในสัญญา บีเอสอาร์ก็จะถูกยึดเงินค้ำประกันและBlacklist เช่นเดียวกับกลุ่มซีพี

“วันนี้รัฐบาลไม่ต้องการให้มีการล้มประมูลไฮสปีดเทรน เพราะหากมีการประมูลใหม่เชื่อว่ารัฐบาลต้องจ่ายมากกว่าในการประมูลครั้งแรกแน่นอน เพราะราคาและปัญหาต่างๆ ถูกเปิดสู่สาธารณะไปแล้ว จึงต้องช่วยทุกทางที่ไม่ผิดกฎหมายให้ซีพีลงนามได้”

ดังนั้น การที่นายอนุทินเร่งรัดกลุ่มซีพี และทำให้มีการเซ็นสัญญาเกิดขึ้นได้ ก็เท่ากับเป็นผลงานชิ้นโบแดงให้กับพรรคภูมิใจไทย และยังทำให้กลุ่มบีเอสอาร์ไม่ต้องมาแบกรับความเสี่ยงกับโครงการนี้ เพราะถึงกลุ่มซีพีจะได้งานไป ใช่ว่าบริษัท ซิโน-ไทยฯ จะหมดโอกาสเข้าไปรับงานก่อสร้างในใครงการนี้จริงหรือไม่?

เพราะเขาคือ “เสี่ยหนู” กระบี่มือ 1 ในวงการก่อสร้างเช่นกัน!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/10/2019 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

ว่าที่ประธานบอร์ดรถไฟคนใหม่ ดอดเข้าประชุมไฮสปีดอีอีซี “วรวุฒิ” ตีมึนยังไม่รู้กำหนดเซ็นซี.พี. 25 ต.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 October 2019 - 17:33 น.

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานบรรยากาศการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ที่ห้องปฏิบัติการ ชั้น 3 ที่ทำการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า ร.ฟ.ท.เป็นประธาน ซึ่งการประชุมเริ่มขึ้นในเวลา 15.00 น.ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด

โดยตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการประชุม คณะกรรมการคัดเลือกได้เชิญคณะที่ปรึกษาของโครงการและที่ปรึกษาของอีอีซีออกจากห้องประชุมก่อน เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกได้พุดคุยหารือกัน


ต่อมาเวลาประมาณ 15.07 น. นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และแคนดิเดตประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ดรถไฟ) เดินทางมาร่วมประชุมด้วย โดยใช้เวลาหารือในที่ประชุมประมาณ 50 นาทีจึงได้ออกจากห้องประชุม ก่อนที่จะมีการพูดคุยกับนายวรวุฒิอีกเล็กน้อยจึงได้เดินทางกลับ

นายจิรุตม์ เปิดเผยกับ”ประชาชาติธุรกิจ”ในภายหลังว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้มากำชับการดำเนินการทุกอย่างให้เรียบร้อยและเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีอย่างอื่น

ส่วนการลงนามในสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกของโครงการนั้น ตนไม่ทราบและไม่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ของตนในเวลานี้ ต้องรอถามคณะกรรมการคัดเลือกเอง

ด้านนายวรวุฒิ กล่าวกับ”ประชาชาติธุรกิจ”ก่อนเข้าประชุมว่า ยังไม่ทราบข่าวกำหนดการที่กลุ่ม CPH จะมาลงนามในสัญญาวันที่ 25 ต.ค.นี้ ขอดูรายละเอียดในการประชุมวันนี้ก่อน เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้เลย

สำหรับความคืบหน้าของการประชุมในขณะนี้ดำเนินไปกว่า 2 ชม.แล้ว โดยคณะที่ปรึกษาของโครงการยังอยู่ด้านนอก ในห้องประชุมขณะนี้มีนายวรวุฒิ อัยการสูงสุด และผู้แทนจากอีอีซีประชุมหารือกันเท่านั้น เบื้องต้น คาดว่าการประชุมจะแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 19.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2019 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยว่า
ในเวลา 15.30 น. วันนี้ (11 ต.ค.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้นัดประชุมกันอีกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงนามสัญญาโครงการฯ กับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในวันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม 2562 นี้

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะทบทวนความพร้อมในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การตรวจเอกสาร, การไล่เรียงร่างสัญญาเป็นข้อๆ ให้เป็นไปตามที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันไว้, การพิจารณรายละเอียดของแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีมติเห็นชอบเมื่อวานนี้ (10 ต.ค.) เป็นต้น เพื่อตอบคำถามในกรณีที่ CPH มีข้อสงสัยและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ ในการลงนามสัญญาครั้งนี้

สำหรับการลงนามสัญญาในวันที่ 25 ตุลาคม 2562 นั้น นายวรวุฒิกล่าวว่า หากกลุ่ม CPH ไม่มาลงนามในสัญญา คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ต้องดำเนินการตามเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุน (RFP) คือ การริบหลักประกันซองมูลค่า 2,000 ล้านบาท พิจารณาให้ชดเชยความเสียหายอื่น รวมทั้งอาจพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน (Blacklist) ตามระเบียบของทางราชการด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม CPH ที่จะลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันที่ 25 ตุลาคม 2562 นี้ มีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP) เป็นแกนนำ ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 70% ตามมาด้วยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ถือหุ้นรวมกัน 15%, China Railway Construction Corporation Limited (CRCC) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือหุ้น 10%, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ถือหุ้น 5%
https://www.thebangkokinsight.com/222160/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2019 3:58 am    Post subject: Reply with quote

TEAMG ลงนามกองทัพเรือ และการรถไฟฯ ร่วมขับเคลื่อนโครงการ EEC
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 ตุลาคม 2562 13:47
ปรับปรุง: 11 ตุลาคม 2562 14:06

"ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์" ที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และที่ปรึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด

นายชวลิตกล่าวเพิ่มอีกว่า ในการเพิ่มศักยภาพการขับเคลื่อนโครงการ EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างบูรณาการ TEAMG ยังได้ลงนามในสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2562 ด้วย สำหรับโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางรางในภาคตะวันออกให้มีความสมบูรณ์ โดยเป็นการศึกษาการพัฒนาโครงการต่อจากระยะที่ 1 ซึ่งจะเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ และท่าอากาศยานภาคกลางและภาคตะวันออกเข้าด้วยกัน และรองรับการจัดระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) ส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2019 11:47 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บอร์ดฯรถไฟใหม่พร้อมทำสัญญาซีพี 25 ต.ค.นี้
ThaiPBS 17:22 | 10 ตุลาคม 2562


Click on the image for full size


25 ตุลาฯ ซีพี ...ไม่พาไฮสปีดแหกโค้ง13 Oct 2019
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3513
ระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2562

Click on the image for full size
ยื้อเกือบ 1 ปี สำหรับการลงนามในสัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนาม บิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท ระหว่าง กิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (หรือกลุ่ม CPH) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จากเส้นตายวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เลื่อนเป็นวันที่ 25ตุลาคม 2562 ล่าสุดทุกปัญหาน่าจะสะเด็ดนํ้า ทั้งการตั้งคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทยชุดใหม่, แผนส่งมอบพื้นที่รื้อย้ายสาธารณรูปโภค และการตอบรับอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มซีพี ว่า พร้อมเซ็นสัญญาเรียกเสียง เฮ ไปพร้อมกับความโล่งอก ให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เดินหน้าต่อได้ เสมือนกระดูกสันหลัง กระจายความเจริญให้กับพื้นที่


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุอย่างมั่นใจว่า เลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ประสานไปยังกลุ่มซีพีอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งทางกลุ่มซีพีได้ยืนยันว่าพร้อมที่จะเข้ามาเซ็นสัญญาตามกำหนดเวลาวันที่ 25 ตุลาคมนี้ โดยถ้อย แถลงดังกล่าวถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าวันดังกล่าวจะไม่เลื่อนอีกแล้ว

สำหรับปัญหาการขาดคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นั้น ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ รฟท. ชุดใหม่ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลังได้เห็นชอบส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว หลังจากนั้นได้ส่งเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ รฟท. ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการประชุม เพราะมีอำนาจตามตำแหน่ง และในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ จะเสนอรายชื่อคณะกรรมการ รฟท. ชุดใหม่ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ

ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ EEC กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน สามารถดำเนินการไปได้แล้ว 72% ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1. ระยะทางระหว่างสถานีพญาไท-สถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ พร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทันที 2. ระยะทางระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ-สถานีอู่ตะเภา คณะทำงานส่งมอบพื้นที่จะสามารถดำเนินการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้ภายใน 1 ปี 3 เดือน ทำให้ระยะทางตั้งแต่สถานีพญาไท-สถานีอู่ตะเภา เปิดให้บริการได้ในปี 2566-2567 3. สถานีพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ดำเนินการได้ยากที่สุด เพราะมีต้องมีการเคลื่อนย้ายระบบสาธารณูปโภค เกี่ยวข้องกับ 3 กระทรวง 8 หน่วยงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการส่งมอบพื้นที่ 2 ปี 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567-2568“การส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด ทางผู้ชนะการประมูลได้รับทราบเงื่อนไขดังกล่าวหมดแล้ว ซึ่งไม่มีปัญหาใดๆ ในการเซ็นสัญญา เพราะว่าทุกหน่วยงานอยากให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพราะหากสร้างสนามบินเสร็จแต่รถไฟไม่เสร็จจะทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อได้” จากนี้รอดูกันว่าวันที่ 25 ตุลาคม 25 62 จะมาตามนัดกันหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2019 6:04 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้า "โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง" นครราชสีมา-กรุงเทพมหานคร ช่วง สีคิ้ว-กุดจิก

📸 ถ่ายภาณุพงษ์ แหลมทอง
https://www.facebook.com/Thfutu/posts/139997310699950?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/10/2019 10:38 am    Post subject: Reply with quote

"จิรุตม์"คั่วเก้าอี้"ประธานบอร์ดรถไฟฯ" จี้เซ็นสัญญาCPHรถไฟเชื่อม3สนามบิน25ต.ค.นี้
สยามรัฐออนไลน์ 15 ตุลาคม 2562 01:06 เศรษฐกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่15ต.ค.2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะนำเสนอชื่อคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจ (บอร์ด) ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ,นายอำนวย ปริมนวงศ์ ,น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษร์กุล ,นายธันวา ลาหศิริวงศ์ ,นายพินิจ พันพันธ์ และนายวรวุฒิ มาลา ส่วนบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวงเป็นประธาน

ทั้งนี้เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการหลังจากที่มีการแต่งตั้งบอร์ดรถไฟฯ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ทำแผนปฏิบัติการ สร้างความเชื่อมั่นให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ก่อนเซ็นสัญญา 25 ต.ค.นี้ และเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ต้องชดใช้โฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย จากการบอกเลิกสัญญาให้แล้วเสร็จในวันที่ 19 ต.ค.นี้ ขณะนี้ทางรฟท.ได้จัดทำรายละเอียดตัวเลขและรูปแบบการจ่ายเงินไว้เรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอให้ครม.พิจารณา 15 ต.ค.นี้ สำหรับแหล่งเงินกระทรวงการคลังจะเป็นผู้กำหนด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2019 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

ร่างสัญญาบีบรัฐ จ่ายชดเชยไฮสปีด'ซีพี'
15 ตุลาคม 2562

ร่างเอกสารแนบท้ายสัญญาไฮสปีด เปิดช่องส่งมอบพื้นที่ไม่ครบ 86% ใน 1 ปี 3 เดือน บีบรัฐจ่ายชดเชยให้กลุ่มซีพี ชง ครม.ตั้งบอร์ด รฟ.ท.ใหม่วันนี้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้สรุปเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่จะมีการลงนามระหว่าง ร.ฟ.ท.และกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) โดยมีการกำหนดข้อความสำคัญที่เพิ่มในร่างสัญญา คือ คำว่า “จะแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอกชน” หาก ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่ได้ไม่ครบ 86% ภายใน 1 ปี 3 เดือน

ทั้งนี้ การกำหนดเวลาส่งมอบพื้นที่ส่วนสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา อยู่ในแผนการส่งมอบภายใน 1 ปี 3 เดือน หลังลงนามสัญญา แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาในพื้นที่เวนคืนจะดำเนินการได้เร็วสุด 2 ปีหลังออก พ.ร.ฎ.เวนคืน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ออก พ.ร.ฎ.เวนคืน เลย ดังนั้นการกำหนดเวลาส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้ต้องใช้เวลา 3-4 ปี หลังลงนามสัญญา

รวมทั้งมีการกำหนดในเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาถึงการชดเชยผลกระทบให้แก่เอกชนในกรณีส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ ซึ่งกรณีส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาไม่ได้ตามแผน ไม่ควรให้เริ่มแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอกชนทันทีที่ส่งมอบไม่ได้ 1-2 ปี หลังลงนามสัญญา แต่ควรเป็นหลัง 3-4 ปีไปแล้ว ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสมเหตุสมผลสำหรับส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้

สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโครงการที่ ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบมีทั้งหมด 4,421 ไร่ เป็นพื้นที่ต้องเวนคืน 850 ไร่ และพื้นที่ที่พร้อมส่งมอบ 3,571 ไร่ โดยจำนวนดังกล่าวเป็นพื้นที่พร้อมส่งมอบหลังลงนามสัญญา 3,151 ไร่ พื้นที่ถูกบุกรุก 210 ไร่ และพื้นที่ติดสัญญาเช่า 210 ไร่ จำนวน 83 สัญญา มีกำหนดส่งมอบแล้วเสร็จภายใน 2 ปี ในขณะ ร.ฟ.ท.เสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ว่าจะส่งมอบพื้นที่ 72% ภายใน 1 ปี หลังลงนาม

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) กล่าวว่า สร.รฟท.เตรียมขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อชี้แจงผลกระทบที่ ร.ฟ.ท.อาจเสียเปรียบกรณีการส่งมอบพื้นที่ไม่ครบ 86% ภายใน 1 ปี 3 เดือน รวมถึงการที่ภาครัฐต้องชดเชยผลกระทบให้เอกชนในกรณีที่ส่งมอบพื้นที่ไม่ทันกำหนด เพื่อให้มีการเปิดเผยรายละเอียดร่างสัญญาก่อนที่จะลงนามในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เพราะการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ภาครัฐอาจต้องจ่ายค่าโง่ให้กับเอกชน

นายสาวิทย์ กล่าวว่า ประเด็นการส่งมอบพื้นที่ให้ได้ 86% ภายใน 1 ปี 3 เดือน อาจทำได้ครบลำบากจากเหตุผล 3 ข้อ คือ 1.พื้นที่มักกะสันที่ต้องส่งมอบ 150 ไร่ จะมีพื้นที่ติดปัญหาต้องรื้อรางพวงประมาณ 50 ไร่ 2.พื้นที่การเวนคืนที่ดิน 850 ไร่ จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี หลังจากออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน แต่ขณะนี้ยังไม่ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน 3.การรื้อย้ายสาธารณูปโภคอาจไม่ทันตามกำหนด เช่น ท่อน้ำมัน เพราะการรื้อต้องวางแผนให้ชัดเจนว่าจะย้ายไปที่ไหนด้วย


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้มั่นใจว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) จะมาลงนามร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงกับ ร.ฟ.ท.ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เนื่องจากไม่มีปัญหาติดขัดแล้ว โดยเฉพาะกรณีไม่มีคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.เพราะกำลังเสนอแต่งตั้งชุดใหม่

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.และส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว ดังนั้นในวันนี้ (15 ต.ค.) กระทรวงคมนาคมจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ชุดใหม่ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ หลังจากนั้นก็จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการชุดใหม่ทันที เพื่อรับทราบการเตรียมความพร้อมลงนามสัญญา ก่อนจะนำแผนการก่อสร้างให้ ครม.เห็นชอบอีกครั้งในวันที่ 22 ต.ค.นี้ และลงนามสัญญาในวันที่ 25 ต.ค.นี้

“การพิจารณาในขั้นตอนของคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.จะไม่มีปัญหา ส่วนการลงนามสัญญาก็ทราบว่าทางเอกชนอยากลงนาม ทุกคนอยากให้โครงการนี้สำเร็จ แต่เงื่อนไขก็มีอยู่ที่ว่าการส่งมอบพื้นที่มีความจำเป็น หากไม่มีการกำหนดเวลาชัดเจน ซึ่งตอนนี้คุยกับฝ่ายเอกชนแล้ว ดังนั้นตอนนี้ไม่มีปัญหาติดขัดและมั่นใจว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะก่อสร้างในช่วง 2567-2568 แล้วเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รายชื่อคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ชุดใหม่ที่จะเสนอ ครม.จะเสนอชื่อ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน ส่วนกรรมการ 7 คน ประกอบด้วย 1.นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) 2.นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์

3.นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ 4.นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด 5.นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการอิสระ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 6.นายพินิจ พัวพันธ์ อดีตกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) 7.นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.


"มานะ" สงสัยปมไฮสปีด "พ่อค้าเกเร หรือ เล่ห์นักการเมือง"
15 ตุลาคม 2562

วันนี้ (15 ต.ค.62) ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุก "มานะ นิิมิตรมงคล" ถึงปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยตั้งชื่อเรื่องว่า "พ่อค้าเกเร หรือ เล่ห์การเมือง"

ดร.มานะ ระบุว่า เพื่อนนักข่าวถามมาว่า.. คิดอย่างไรกรณีรัฐมนตรีประกาศจะตัดสิทธิ์และขึ้นแบล็คลิสต์ กลุ่มบริษัท CPH หากไม่มาลงนามสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินภายในกำหนด



เรื่องนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา ..

1. คำขู่ขึ้น ‘แบล็คลิสต์’ ถ้าหมายถึงขึ้นบัญชีผู้ทิ้งงานตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ คงทำไม่ได้ เพราะโครงการนี้เป็นการประมูลตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐ – เอกชน หรือ พีพีพี ซึ่งไม่ได้กำหนดมาตรการ ‘แบล๊คลิสต์’ และ ‘การจัดเกรด’ ผู้เข้าประมูลไว้ คงต้องรอให้เขียนเพิ่มเติมในกฎหมายลูกต่อไป

ครั้นจะใช้คำสั่งกระทรวงหรือรัฐมนตรีหรือแม้แต่ มติ ครม. ก็ไม่แน่ใจว่าเอาอำนาจหรือกฎหมายอะไรมารองรับ

ขออธิบายเพื่อความเข้าใจว่า แบล็คลิสต์หรือบัญชีผู้ทิ้งงาน เป็นมาตรการลงโทษพ่อค้าเกเร ที่มาประมูลงานรัฐแล้วไม่ทำ ทำไม่ได้ ไม่ทำตามสัญญาหรือฉ้อโกง พูดง่ายๆ คือเอาเปรียบและทิ้งให้ราชการต้องเสียหาย

2. พ่อค้ายื่นเงื่อนไขเจรจาเพิ่มเติมตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา

รู้กันดีว่าพ่อค้าทุกรายสมัครใจเข้าแข่งกันเพื่อให้ตนเป็นผู้ชนะการประมูล ยิ่งโครงการใหญ่มูลค่ากว่าสองแสนล้านบาทแน่นอนว่าเขาต้องศึกษาวางแผนมาอย่างดีเพื่อความมั่นใจและสร้างกำไรมากที่สุด

ฝ่ายรัฐเองก็จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขหรือกติกาการประมูลอย่างชัดเจนรอบคอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงไว้ด้วยตามที่ปรากฏในทีโออาร์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดหรือถูกใครมาเอาเปรียบได้ง่ายๆ เหมือนกรณีโฮปเวลล์

การแก้เงื่อนไขในสัญญาโครงการให้ต่างไปจากทีโออาร์ จะทำได้เท่าที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการประมูลที่ผ่านมาและไม่ทำให้ราชการเสียหาย (แต่หลายโครงการที่ผ่านมาเห็นช่วยกันแก้ รวมหัวกันโกงเยอะแยะไม่เห็นใครต้องรับผิดชอบหรือโดนลงโทษ)



ส่วนคำขู่ของรัฐมนตรีและการเลื่อนกำหนดเซ็นสัญญาจากเดิมวันที่ 15 ตุลาคมเป็น 25 ตุลาคม ด้วยเหตุผลแปลกๆ เป็นเพราะอะไร เรื่องนี้คนวงในเท่านั้นที่รู้ แต่ฝ่ายรัฐต้องรีบดำเนินการก่อนกำหนดยืนราคาของเอกชนจะครบกำหนดเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง

‘นักการเมืองกลุ่มนี้มีผลประโยชน์แอบแฝงเพราะจะกลับเป็นผู้ได้ประโยชน์ทันทีหากกันกลุ่ม CPH ออกไปได้’ และ ‘พวกเจ้าสัวมีการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อย่างลับๆ แล้วจริงหรือไม่’ สองข้อนี้ไม่ขอวิจารณ์

ปรากฎการณ์เหล่านี้ชวนให้คิดว่า เกิดขึ้นเพราะ ‘พ่อค้าเกเรหรือเล่ห์การเมือง’ กันแน่

เอาเป็นว่าท่านรัฐมนตรีทำทุกอย่างให้โปร่งใส เมื่อถึงกำหนดแล้ว CPH ไม่มาเซ็นสัญญาก็เรียกผู้ประมูลรายที่สองมาเจรจา งานจะได้เดิน แล้วยึดเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายไปตามเงื่อนไข ส่วนการลงโทษพ่อค้าเกเรตามกฎหมาย ถ้าทำได้ก็ดี แต่เชื่อเถอะว่า งานนี้สังคมจะตัดสินและตราหน้าเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/10/2019 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

TEAMGคว้าที่ปรึกษา2โครงการ ทางวิ่งอู่ตะเภา-ไฮสปีดฯเฟส2
ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

TEAMG เซ็นสัญญางานที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา มูลค่า 176 ล้านบาท และงานปรึกษาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เฟส 2 ส่วนต่อขยาย ระยอง จันทบุรี และตราด เพื่อขับเคลื่อนโครงการ EEC

นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2562 บริษัทได้ลงนามในสัญญาจ้างให้เป็นที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่ง และทางขับที่ 2 ของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มูลค่าโครงการ 176 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ

โดยมี พล.ร.ต.อภินันท์ เพ็งศรีทอง เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี และลงนามร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ นางสาวดรรชนี คงศิริวัฒนา กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจพัฒนาเมือง อาคาร และสาธารณูปโภคบริษัท TEAMG ณ ห้องวิสสุกรรมสรรค์ กรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ กรุงเทพฯ

สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับขี่ 2 ของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็น 60 ล้านคนต่อปี และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของประเทศไทยในภาพรวม โดยบริษัทมีระยะเวลาดำเนินการ 52 เดือน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทยังได้ลงนามในสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์ และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

โดยการเป็นที่ปรึกษาฯ ในโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางรางในภาคตะวันออกให้มีความสมบูรณ์ โดยเป็นการศึกษาการพัฒนาโครงการต่อจากระยะที่ 1 ซึ่งเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ รวมถึงท่าอากาศยานภาคกลาง และภาคตะวันออกเข้าด้วยกัน และรองรับการจัดระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 344, 345, 346 ... 542, 543, 544  Next
Page 345 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©