Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179815
ทั้งหมด:13491047
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 347, 348, 349 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2019 2:47 pm    Post subject: Reply with quote

กรรมการญาติวีรชนพฤษภา35-สภาที่ 3 ร้องสอบโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน หวั่นรฟท.เสียค่าโง่

การเมือง
สยามรัฐออนไลน์ 17 ตุลาคม 2562 08:44

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า...

คณะกรรมการญาติพฤษภา ๓๕ และ สภาที่ ๓ เรียกร้องให้ตรวจสอบว่ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน หรือไม่?
ข้อพิรุธที่ 1. เจตนาให้ ร.ฟ.ท. ลงทุนไม่คุ้มค่า หรือไม่?
เนื่องจากมีการเปิดช่องว่างให้มีการฮุบที่ดิน ของล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ 5 ที่ทรงประทานให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อปวงชนของพระองค์ในชนบทที่ห่างไกลจากเมืองหลวง
แต่บอร์ด อีอีซี ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นประธานให้ ร.ฟ.ท. ลงทุนโดยยกที่มักกะสัน 150 ไร่ให้นายทุนเอกชนไปหาประโยชน์ 50 ปี ใด้ค่าเช่าเพียงห้าหมื่นล้านบาท ทั้งที่มูลค่าที่แท้จริงอยู่ระหว่างสองถึงสามแสนล้านบาท โดยอ้างการตีราคาโดยสถาบันเถื่อนที่สำนักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
นอกจากนี้ ให้ ร.ฟ.ท. ยกรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ที่ลงทุนไปกว่าสามหมื่นล้านบาทแก่เอกชนไปหาประโยชน์ โดยได้เงินเพียงหนึ่งหมื่นล้านบาท
ในขณะที่ประโยชน์ที่ ร.ฟ.ท. จะได้จากโครงการรถไฟความเร็วสูง กว่า 30 ปีจึงจะคุ้มทุน
ข้อพิรุธที่ 2. เจตนาทำให้ ร.ฟ.ท. เสียค่าโง่หรือไม่?
เนื่องจากไม่ปรากฏการรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยส่งมอบพื้นที่พระราชทาน ที่บริเวณมักกะสัน 150 ไร่ ให้เอกชนทำประโยชน์โดยทันที ส่วนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เป็นโครงการหลักกลับปล่อยให้เลื่อนลอย และในที่สุดอาจจะไม่มีการสร้างเกิดขึ้นจริง จากสาเหตุที่การรถไฟไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ครบถ้วน ดังเอกสารยืนยันจากสหภาพแรงงานรถไฟ
ความเลื่อนลอยในการก่อสร้างระบบรถไฟดังกล่าว เกิดจากร่างสัญญาอนุญาตให้เอกชนเลื่อนกำหนดการก่อสร้างระบบรถไฟได้
จึงอาจทำให้ ร.ฟ.ท. เสียค่าโง่แต่ต้น คือปล่อยให้เอกชนหาประโยชน์จากที่มักกะสันได้โดยไม่บังคับให้เอกชนต้องสร้างประโยชน์แก่ ร.ฟ.ท.
ข้อพิรุธที่ 3. เจตนาไม่เปรียบเทียบครบทุกทางเลือกหรือไม่?
โครงการนี้โฆษณาแก่ประชาชนว่า รถไฟจะใช้ความเร็วสูง 250 กม/ชม แต่เนื่องจากมีสถานี 9 แห่งระหว่างเมือง ซึ่งระยะห่างระหว่างกันไม่มาก รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม/ชม จึงไม่สามารถขลอเพื่อหยุดแต่ละสถานีในความเร็วดังกล่าวได้
ปรากฏว่าบอร์ด อีอีซี เปรียบเทียบระหว่างเอกชน 2 กลุ่มที่ยื่นประมูล แต่กลับไม่เปรียบเทียบกับทางเลือกให้ ร.ฟ.ท. ทำรถไฟความเร็วปานกลาง 150-180 กม/ชม
- ทั้งที่จะลงทุนเพียง 1 ใน 5 ของรถไฟความเร็วสูง จึงเอาเงินที่เหลือไปพัฒนาประเทศได้หลายด้าน
- ทั้งที่จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจระหว่างเส้นทางเท่าเทียมรถไฟความเร็วสูง
- ทั้งที่ดำเนินการได้เร็วกว่าเพราะใช้พื้นที่เดิม
- ทั้งที่ระยะทางระหว่างสถานีที่สั้นทำให้ความเร็วโดยรวมต่างกันไม่มาก
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานฯ กล่าวว่า บอร์ด อีอีซี ทำโครงการที่ ร.ฟ.ท. เสียเปรียบอย่างหนัก อันผิดวิสัย จึงขอเรียกร้องต่อคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ให้เอาใจใส่ดูแลติดตามเพื่อป้องกันการทุจริตเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญปราบโกง”
ดังนั้น พรรคร่วมและรัฐมนตรีทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องระแวดระวังเพื่อป้องปรามการหาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบ
คณะกรรมการญาติพฤษภา ๓๕ และสภาที่ ๓
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2019 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟเคาะเซ็นสัญญา 6 หมื่นล้าน งานระบบทางคู่ 3 สาย-รถไฟไทยจีน
ประชาชาติธุรกิต วันที่ 17 October 2019 - 15:27 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 17 ต.ค.2562 เป็นนัดที่ 2 ของคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยชุดใหม่ มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่ง เป็นประธานได้ประชุมพิจารณาวาระเร่งด่วน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ดรถไฟ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวันนี้ (17 ต.ค.) มีมติเห็นชอบใน 2 ประเด็นหลักๆ

@เคาะผลประมูลระบบทางคู่หมื่นล้าน

1. เห็นชอบผลการประมูลโครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมมูลค่า 11,494.271 ล้านบาท ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,782.843 ล้านบาท มีกลุ่ม บจ.บอมบาดิเอร์ จากประเทศแคนาดากับ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และกลุ่ม บจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC ประเทศจีน เป็นผู้ชนะการประมูล

สายอีสานช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,460.738 ล้านบาท มีกลุ่ม บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และบริษัท LS Industrial Systems หรือ LSIS ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ชนะการประมูล

และสายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 169 กม. จำนวน 59 สถานี ราคากลาง 6,250.65 ล้านบาท มีบจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC จากประเทศจีนเป็นผู้ชนะการประมูล

ขั้นตอนหลังจากนี้มติรับรองผลการประชุมในวันนี้ก่อน ระหว่างนี้ก็จะมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการลงนามกับเอกชนที่ชนะการประมูล เมื่อเตรียมการแล้วก็คาดว่าจะลงนามในสัญญาและเริ่มส่งหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)ได้ภายในปีนี้ทั้ง 3 เส้นทาง และจะเข้าพื้นที่ได้อย่างช้าที่สุดต้นปีหน้า จะใช้เวลาก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 36 เดือน

ด้านนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าร.ฟ.ท.กลุ่มบริหาร รถไฟฟ้า กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่ประชุมบอร์ดรถไฟให้ความเห็นชอบแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เพื่อตรวจสอบพิจารณาความถูกต้องของวงเงินที่แต่ละโครงการได้รับการเสนอมา

คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมกันทั้ง 3 โครงการภายในเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ชนะอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซต์ ร.ฟ.ท.ตามลำดับ และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในเดือน พ.ย.นี้พร้อมกันทั้ง 3 โครงการ

@ไฟเขียวสัญญา 2.3 ไทยจีน

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า อีกเรื่องที่บอร์ดรถไฟพิจารณาคือ เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวงเงินสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา จากเดิมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ที่ 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท

เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนในส่วนขบวนรถเป็นรุ่นใหม่ คือ รุ่น Fuxing, มีการปรับรูปแบบการก่อสร้างในส่วนอุโมงค์จากเดิมที่ต้องวางกรวยบด (บัลลาสรถไฟ) เปลี่ยนเป็นไม่ต้องวาง และการนำเครื่องมือซ่อมบำรุงทางกลับมาใส่ในสัญญานี้ด้วย แต่ยืนยันว่าไม่กระทบกับวงเงินรวมของโครงการ 179,413 ล้านบาท อย่างแน่นอน

ขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม และกระทรวงจะเสนอให้ ครม.อนุมัติการลงนามในสัญญาร่วมกับประเทศจีนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2019 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯโชว์ภาวะผู้นำ ลดอุปสรรค รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน | 171062 | TNN ข่าวเที่ยง
TNN Oct 17, 2019


https://www.youtube.com/watch?v=uFAo70bKIe4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2019 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บอร์ดรถไฟเคาะเซ็นสัญญา 6 หมื่นล้าน งานระบบทางคู่ 3 สาย-รถไฟไทยจีน
ประชาชาติธุรกิต วันที่ 17 October 2019 - 15:27 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 17 ต.ค.2562 เป็นนัดที่ 2 ของคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยชุดใหม่ มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่ง เป็นประธานได้ประชุมพิจารณาวาระเร่งด่วน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ดรถไฟ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวันนี้ (17 ต.ค.) มีมติเห็นชอบใน 2 ประเด็นหลักๆ

@เคาะผลประมูลระบบทางคู่หมื่นล้าน

1. เห็นชอบผลการประมูลโครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมมูลค่า 11,494.271 ล้านบาท ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,782.843 ล้านบาท มีกลุ่ม บจ.บอมบาดิเอร์ จากประเทศแคนาดากับ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และกลุ่ม บจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC ประเทศจีน เป็นผู้ชนะการประมูล

สายอีสานช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,460.738 ล้านบาท มีกลุ่ม บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และบริษัท LS Industrial Systems หรือ LSIS ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ชนะการประมูล

และสายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 169 กม. จำนวน 59 สถานี ราคากลาง 6,250.65 ล้านบาท มีบจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC จากประเทศจีนเป็นผู้ชนะการประมูล


งานนี้จีนแดงยอมทุ่มราคา เพื่อให้ได้งานในเมืองไทยแน่ๆ จะได้ปูทางสำหรับรถไฟความไวสูง


บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียวสัญญา 2.3 งานระบบไฮสปีด “ไทย-จีน” ชง ครม.ลงนามต้น พ.ย.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2562 เวลา 16:41
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2562 เวลา 16:52

บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบรถไฟไทย-จีนสัญญา 2.3 ปรับกรอบวงเงินเป็น 5.06 หมื่นล้าน เร่งเสนอคมนาคมชง ครม.เห็นชอบ ลงนามต้นพ.ย.นี้ ด้าน “จิรุตม์” เผยบอร์ดกำชับให้ทำตามกฎหมายอย่างครบถ้วน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.วันนี้ (17 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติกรอบวงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ในส่วนของสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ที่มีการปรับจาก 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลงนามกับจีนได้ในช่วงการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (อาเซียนซัมมิต) ช่วงต้นเดือน พ.ย.นี้

โดยบอร์ดได้สอบถามรายละเอียดเรื่องวงเงินและข้อกฎหมายเพื่อให้ดำเนินการให้ครอบคลุมก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)

“หลังได้รับการแต่งตั้ง บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้เร่งประชุมเพื่อพิจารณาโครงการเร่งด่วน ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และปัญหาคดีโฮปเวลล์ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้บอร์ดจะประชุมเดือนละ 1 ครั้ง แต่หากมีเรื่องเร่งด่วนจะนัดประชุมเพิ่มเติมได้ และได้ตั้งคณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) มีนายอำนวย ปรีมนวงศ์ กรรมการ ร.ฟ.ท.เป็นประธาน นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินและทางกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่ในการกลั่นกรองวาระงานต่างๆ ก่อนเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณา” นายจิรุตม์กล่าว

ด้าน นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สัญญา 2.3 รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดวงเงินและเนื้องานจากที่เคยเสนอ ครม.ไว้ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง จากรุ่นเหอเสีย (Hexia) เป็นรุ่น ฟู่ซิ่ง (Fuxing) ที่ใหม่ มีเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และปรับการก่อสร้างโดยเฉพาะช่วงอุโมงค์ และโยกเนื้องานจากสัญญาโยธา เช่น โรงเชื่อมราง รถซ่อมบำรุง รถตรวจสภาพทาง โดยการปรับเพิ่มวงเงินสัญญา 2.3 ดังกล่าวจะไม่กระทบต่อกรอบวงเงินโครงการลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท หลังจากนี้จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.ขออนุมัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2019 11:37 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”ประธานเซ็นสัญญาไฮสปีด 25 ต.ค.นี้
พุธที่ 16 ตุลาคม 2562

“อนุทิน” เผย “นายกฯ” กำชับ อำนวยความสะดวก “ซีพี” เดินหน้า “รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน” ราบรื่น ไม่ให้เอกชนออกแรงอย่างเดียว แย้ม “นายกฯ” เป็นปธ.เซ็นสัญญา 25 ต.ค.นี้ พร้อมหนุน “ศุภชัย”เต็มที่ ด้านสมคิด บอกอย่าไปแน่นหรือตึงมาก แต่อย่าให้รัฐเสียประโยชน์

เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2562 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ถึงความคืบหน้าการเซ็นสัญญาของกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่ม CPH ที่ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า มีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อย เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กำชับว่าภาครัฐต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้การดำเนินการโครงการนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใดๆ โดยรัฐต้องออกแรงด้วยไม่ใช่ปล่อยเอกชนออกแรงอย่างเดียว ตรงนี้น่าจะเป็นความเข้าใจที่ตรงกัน และรับทราบจะมีการลงนามสัญญา ซึ่งร่างสัญญาหลักมีอยู่แล้ว จึงไม่น่ามีอุปสรรคในการลงนาม



เมื่อถามว่า รายละเอียดในการปรับเงื่อนไขคืออะไร นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นการปรับความเข้าใจในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้ามาทำการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งทางรมว.มหาดไทย ได้ไล่ถามทีละหน่วยงาน ทุกคนยืนยันว่าพร้อมและปฏิบัติได้ ขณะที่ร.ฟ.ท. ต้องไปรับภาระการเวนคืนที่ดินบางส่วน และหาที่อยู่ให้กับชาวบ้านตามแนวรถไฟ ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน โดยเลื่อนระยะเวลาจาก 1ปี 3เดือน เป็น 2ปี เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ถึงเวลานั้นถ้ามีอุปสรรคก็ต้องว่ากันในเรื่องการขยายเวลาให้กับเอกชน



“เราเข้ามาต้องการสนับสนุนทุกอย่าง เพื่อให้เขาทำเสร็จ ผมได้กำชับรมว.คมนาคมตลอดเวลา หากทางเอกชนขอสิ่งใดมาที่เราทำได้ อยู่ในกรอบกฎหมายและทีโออาร์ เราต้องทำทุกอย่าง ถือเป็นภารกิจและหน้าที่” นายอนุทิน กล่าว



นายอนุทิน กล่าวว่า การทำสัญญากับรัฐเราจะชดเชยในเรื่องระยะเวลา ไม่ใช่เงิน หากชดเชยด้วยเงิน ทุกสัญญาที่รัฐทำกับเอกชนก็ต้องชดเชยตามไปด้วย ทั้งนี้ การก่อสร้างทุกอย่างต้องมีอุปสรรคอยู่แล้ว หากเอกชนติดอุปสรรคก็ขอขยายสัญญา หรือหากรัฐติดอุปสรรคก็ขอขยายสัญญาได้โดยไม่มีค่าปรับ ถือว่าแฟร์และยุติธรรม เพียงแค่อย่าใช้อคติหรือความลำเอียงในการดำเนินสัญญาก็จะทำให้ไม่มีปัญหา เพราะเชื่อว่าทุกคนต้องการให้ประเทศมีรถไฟเชื่อม 3สนามบิน จะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ทั้งโลกว่าโครงการอีอีซีเกิดแน่นอน ” นายอนุทิน กล่าว

นายอนุทิน กล่าวว่า นายกฯ กำชับว่าให้ทำเสร็จเร็วๆ อะไรช่วยเขาได้ก็ช่วย อะไรยืดหยุ่นได้ก็ยืดหยุ่น โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ก็ได้พูดในที่ประชุมว่า อย่าไปแน่นหรือตึงมาก ผ่อนได้ก็ผ่อนแต่อย่าให้ผิดกฎหมาย และอย่าให้รัฐเสียประโยชน์ ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม พร้อมอยู่แล้ว ยิ่งทำเสร็จเร็ว ส่งมอบพื้นที่เร็วก็เป็นผลงานกระทรวงคมนาคม

เมื่อถามว่า นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นห่วงการส่งมอบพื้นที่ เรื่องนี้สามารถคุยหลังเซ็นสัญญาได้หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่ มีการส่งมอบพื้นที่ที่เป็นนัยยะสำคัญหลักอยู่แล้ว 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ สามารถส่งมอบโดยไม่มีอุปสรรค และในระยะเวลา 2ปีเราก็ไปแก้ไขปัญหาส่วนที่เหลือ กว่าจะได้สร้างจริงๆ ใช้เวลาเป็นปี ขอเรียนนายศุภชัยได้เลยไม่ต้องห่วง สัปดาห์ที่แล้วก็ได้มาพบตนและยืนยันไปว่าอย่าได้กังวล ตราบใดที่ตนยังอยู่ตรงนี้ พร้อมที่จะสนับสนุนให้เอกชนทำงานได้อย่างราบรื่นที่สุด ตนเองก็พอจะมีความรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง ไม่ใช่ไม่มี ตนก็โดนอะไรมาก็รู้ และจะนำสิ่งที่โดนมามาช่วยและมานั่งเถียงแทนเขาด้วย




ทุกอย่างสงบ จบที่ “ลุงตู่”รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน CPH นับถอยหลังเซ็นสัญญา
ข่าวปนคน คนปนข่าว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 เวลา 05:01

**ทุกอย่างสงบ จบที่ “ลุงตู่”รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน CPH นับถอยหลังเซ็นสัญญา หลังเคลียร์เงื่อนไขส่งมอบพื้นที่ ปรับความเข้าใจตรงกัน ต้องขอบคุณนายกฯ เพราะ EEC นั้นสำคัญเกินกว่าคมนาคมจะยื้อยุด

เรื่องรถไฟไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท โล่งไปเปลาะหนึ่ง ไม่ต้องลุ้นระทึกว่า 25 ต.ค.นี้จะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่...

ที่ประชุมการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เมื่อวันก่อน มีมติเห็นชอบ ร่างสัญญาฯ ซึ่งผ่านการตรวจจากอัยการสูงสุด และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือ "บอร์ดอีอีซี" และคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว พร้อมกับเห็นชอบให้ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. เป็นผู้ลงนามในสัญญาดังกล่าว ซึ่งกำหนดการลงนามสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH)ในวันที่ 25 ต.ค.นี้

โครงการนี้ ทีแรกปรากฏข่าวจะจอดทั้งที่ยังไม่ทันสร้างเสร็จ เพราะ ฝ่ายการเมืองก็ฮึ่มใส่เอกชน ตีปี๊บทั้งขู่ ทั้งขีดเส้นตาย จะแบล็กลิสต์ จนกลายเป็นปมที่หลายคนเป็นห่วง... เพราะถ้าเกิดรถไฟความเร็วสูงแท้ง หรือล้มโครงการ ผลกระทบตามมามากมายมหาศาลจริงๆ โดยเฉพาะ "อีอีซี" ที่ รัฐบาลลุงตู่ โดยทีมเศรษฐกิจชุดที่แล้วซึ่งนำโดย“สมคิด จาตุศรีพิทักษ์”สู้ฟูมฟักมา ก็จะ “ฝืดสนิท”นักลงทุนที่จะมาลงทุนใน อีอีซี ก็คงคิดหนัก

โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญแบบนี้ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถสร้างความมั่นใจ เดินหน้าไปตามแพลนที่วางไว้ได้ ก็... “ตัวใคร ตัวมัน”

หลักการร่วมลงทุนแบบPPP "รัฐ-เอกชน" ต้องร่วมมือกัน !

ว่าแล้ว “อนุทิน ชาญวีรกูล”รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล กระทรวงคมนาคม ก็เข้าใจเหตุผล ... ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า มีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อย เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กำชับว่า ภาครัฐต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้การดำเนินการโครงการนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใดๆ โดยรัฐต้องออกแรงด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนออกแรงฝ่ายเดียว ตรงนี้น่าจะเป็นความเข้าใจที่ตรงกัน และรับทราบจะมีการลงนามสัญญา ซึ่งร่างสัญญาหลักมีอยู่แล้ว จึงไม่น่ามีอุปสรรคในการลงนามอะไรอีก...

ทีนี้ในรายละเอียดในการปรับเงื่อนไข คืออะไร ? แน่นอนว่า ย่อมเป็นเงื่อนไข “การส่งมอบพื้นที่”นั่นเอง

เดิมนั้นเงื่อนไขนี้สองฝ่ายมีข้อถกเถียงต่อรองกันพอสมควร แต่พอปรับความเข้าใจกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยืนยันว่า พร้อมและปฏิบัติได้ ขณะที่ร.ฟ.ท.ต้องไปรับภาระการเวนคืนที่ดินบางส่วน และหาที่อยู่ให้กับชาวบ้านตามแนวรถไฟ โดยเลื่อนระยะเวลาจาก 1 ปี 3 เดือน เป็น 2 ปี เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ก็น่าจะลงตัวบนหลักที่ถือว่า ยุติธรรมต่อทุกฝ่าย

“เสี่ยหนู”ยังบอกด้วยว่า ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะไปเป็นประธานการลงนาม โดยรมว.คมนาคมได้เชิญ“ลุงตู่”เรียบร้อยแล้ว เพราะ เป็นงานใหญ่ "อีอีซี" ถือเป็น“ตำนาน”ของ พล.อ.ประยุทธ์

หากสมัยก่อนเรามี “อีสเทิร์นซีบอร์ด”เป็นผลงานของ"พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ , พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ" วันนี้ อีอีซี ก็เป็นผลงาน เป็นสิ่งที่คนจะต้องกล่าวขานถึงความมุ่งมั่นของ "พล.อ.ประยุทธ์"

ว่ากันว่า ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ได้ นายกฯ กำชับ “เสี่ยหนู”ว่า ให้ทำเสร็จเร็วๆ อะไรช่วยเขาได้ก็ช่วย อะไรยืดหยุ่นได้ก็ยืดหยุ่น โดย"สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกฯ ก็ได้พูดในที่ประชุมว่า อย่าไปแน่น หรือตึงมาก ผ่อนได้ก็ผ่อน แต่อย่าให้ผิดกฎหมาย และอย่าให้รัฐเสียประโยชน์...

งานนี้ ถ้าคมนาคม จบดีล CPH เซ็นสัญญา รถไฟความเร็วสูงกดปุ่มสตาร์ท ไม่ต้องเป็นรถไฟความเร็วเสียว... เสียวกันทุกฝ่ายแบบที่ผ่านมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงต้องขอบคุณ “ลุงตู่”ที่ลงมากำชับ ไม่งั้นไม่จบ.

ทุกอย่างสงบ จบที่ ลุงตู่ จริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2019 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (16 ต.ค. 62) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือทางเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย - ญี่ปุ่น) พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ข้าราชการ ขร. และตัวแทนฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Kenji HAMAMOTO Project Development,International Policy and Project Division, Railway Bureau, MLIT (กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น) ผู้แทนจาก Japan Railway Construction,Transport and Technology Agency (JRTT) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เข้าร่วมประชุม โดยการประชุมเป็นการนำเสนอแผนการดำเนินงานและขอบเขตการศึกษา รวมทั้งแนวทางการลดต้นทุนโครงการ มีกำหนดการดำเนินงาน 6 เดือน (ตุลาคม 2562 - มีนาคม 2563) ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้นำเสนอแนวทางการลดต้นทุน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การปรับลดจำนวนตู้รถไฟจาก 12 ตู้ต่อขบวน เหลือ 8 ตู้ต่อขบวน และการปรับลดในส่วนของงานโยธา ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานต่อไป

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/516669169110032
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2019 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าพบ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงฯ พร้อมหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ปตท. โดยมี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ร่วมหารือ ในวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม โดยที่ประชุมได้หารือในประเด็นพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ซึ่งมีท่อน้ำมันและท่อก๊าซกีดขวางบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และการให้บัตรส่วนลดราคาก๊าซ NGV แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่ากระทรวงฯ ได้ขอความร่วมมือ ปตท. ใช้พื้นที่ตั้งจุดตรวจเข้มข้นโดยสารสาธารณะ Checking Point ภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. เพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจ การมีใบอนุญาตขับรถถูกต้องตรงตามประเภท คุมเข้มชั่วโมงการทำงานของพนักงานขับรถ และตรวจความพร้อมของรถโดยสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกมีการใช้พื้นที่จุดตรวจฯ ภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. จำนวน 19 แห่ง ซึ่งบางแห่งไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้ ทั้งนี้ ปตท. ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
Cr: ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/1129204760428948/posts/3034433196572752/

ชื่นมื่น! “ปตท” พร้อมย้ายท่อขวางไฮสปีดซีพี-เปิดปั๊มเพิ่มจุดตรวจรถสาธารณะครบ 245 จุด

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 เวลา 20:32 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นำโดยนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการได้เข้าพบ เพื่อแนะนำตัวในโอกาสที่ตนเข้ามาเป็นรัฐมนตรีใหม่ และเล่าถึงความร่วมมือในหลายโครงการที่มีมาในปัจจุบัน

ทางกระทรวงได้ขอหารือในเรื่องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เช่น การบริการระบบรถโดยสารสาธารณะ จะออกบัตรสำหรับเติมน้ำมันโดยเฉพาะ และการตั้งจุดตรวจรถ Chrcking Point 245 จุดของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่ง ปตท.ก็ได้แนะนำว่า นอกจากปั๊มน้ำมันแล้ว ปตท ยังมีปั๊มแก๊สอีก 400 แห่ง และทางปตท.พร้อมสนับสนุนนโยบายนี้และจะประสานงานให้ ก็ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ช่วยดูเรื่องนี้แล้ว

นอกจากนี้ ปตท. ยังยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะช่วยเหลือในการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) หรือโครงการลงทุนอื่นๆในนโยบายอีอีซีด้วย

ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า การจัดตั้งจุด Checking Point 245 จุด ปัจจุบันติดตั้งได้แล้ว 208 จุด แบ่งเป็น ตำรวจทางหลวง 61 จุด, ขบ. 103 จุด, ปั๊มน้ำมันปตท. 19 จุด ปั๊มน้ำมันอื่น 5 จุด และจุดลงเวลาสถานีขนส่งบขส.อีก 20 จุด คาดว่าจะตั้งได้ครบ 245 จุดภายใน 6 เดือน จะต้องไปพร้อมกันกับการช่วยเหลือด้านการวางระบบ และการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พนักงาน เพราะเจ้าหน้าที่ก็ยังมีไม่เยอะ

“พยายามเอาเครื่องมือที่สามารถทุ่นแรงเข้ามาช่วยเช่นระบบ GPS ที่สามารถบอกพิกัดของรถโดยสาร, ความเร็วของรถ, จุด Checking Point แต่ละจุด เป็นต้น เป็นการช่วยคัดกรองรถที่ทำผิดระเบียบกับรถที่ทำถูกระเบียบด้วยไปในตัว”

ส่วนจะต้องจัดซื้อเครื่องมือเพิ่มหรือไม่นั้น มองว่าไม่จำเป็น เพราะกรมมีแผนจะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้งานกับระบบปฏิบัติการมือถือให้ได้ในอนาคต เพราะระบบเหล่านี้สามารถใช้งานในเว็บไซด์ได้อยู่แล้ว


Last edited by Wisarut on 20/10/2019 4:20 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2019 4:16 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงซีพี มาช้าแต่มาแล้ว!
คอลัมน์ "ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
โดย "โชกุน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 เวลา 19:51

เมื่อ 25 ปีก่อน เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม ด้วยการเข้าประมูลโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท.ในตอนนั้น นอกจากจะเป็นการเข้ามาในธุรกิจที่ตัวเองไม่เคยมีประสบการณ์แล้ว ยังเป็นครั้งแรกของการลงทุนแบบผู้รับสัมปทานจากรัฐของซีพี

ซีพีเป็นผู้เข้าประมูลเพียงรายเดียว เพราะโครงการขนาดใหญ่อย่างนี้ ต้องลงทุนเองทั้งหมดด้วยเงินมหาศาล ในขณะที่มีความเสี่ยงสูงมากว่า จะมีผู้ใช้บริการมากพอที่จะคุ้มการลงทุน และมีกำไรหรือไม่ จึงมีแต่ซีพีรายเดียวที่กล้าเสี่ยง

ช่วงที่ซีพีได้สัมปทาน 3 ล้านเลขหมาย เกิดการรัฐประหาร รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยคณะนายทหาร จปร.รุ่น 5 ในนาม รสช.โครงการ 3 ล้านเลขหมาย ยังไม่ได้เซ็นสัญญา เพราะรอฤกษ์ดี ถูกรัฐบาลที่ รสช.แต่งตั้งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี สั่งรื้อโครงการ โดยอ้างว่า การประมูล 3 ล้านเลขหมายไม่โปร่งใส

สุดท้ายโครงการ 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งมีขอบเขตทั่วประเทศ ถูกหั่นเหลือ 2 ล้านเลขหมาย และให้ติดตั้งเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น อีก 1 ล้านเลขหมายถูกแยกออกไปเป็นโครงการติดตั้งทั่วประเทศ

โครงการ 2 ล้านเลขหมาย ซึ่งขยายเป็น 2.6 ล้านเลขหมาย หมดอายุสัมปทานเมื่อปีที่แล้ว โครงการนี้ทำให้คนไทยมีโทรศัพท์ใช้อย่างทั่วถึง ขอติดตั้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว และมีค่าบริการที่ถูกลงมาก แม้ว่า หลังจากโครงการดำเนินไปได้ไม่ถึงครึ่งทาง โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เข้ามาแทนที่โทรศัพท์แบบมีสาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ คือ กรุงเทพฯ มีเครือข่ายใยแก้วนำแสงที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้น สามารถรองรับต่อยอดเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ ได้จนถึงปัจจุบัน

ส่วนซีพีเอง ก็ได้โครงการ 2.6 ล้านเลขหมาย เป็นฐานในการขยายกิจการเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมอย่างเต็มตัว ซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นบริษัท ทรู ในทุกวันนี้

นี่คือบทบาทของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีความซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูงในเรื่องผลตอบแทน

สัปดาห์ที่จะถึงนี้ หากไม่มีสิ่งเหนือความคาดหมาย ซีพีก็จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ที่ไม่เคยทำ ไม่เคยมีประสบการณ์ ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีความเสี่ยงในเรื่องผลตอบแทนสูง และเป็นโครงการสัมปทานของรัฐ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน หรือรถไฟความเร็วสูงอีอีซี

หลังจากใช้เวลาเจรจาต่อรองกับคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการมานานเกือบ 10 เดือน โครงการนี้ ก็ได้ฤกษ์กำหนดวันเซ็นสัญญาในวันที่ 25 ตุลาคมนี้

ซีพีหรือซีพีเอช ในโครงการนี้ ได้รับการคัดเลือกให้ได้สิทธิดำเนินโครงการก่อน เพราะเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐต่ำกว่านักลงทุนอีกกลุ่มที่มีบีทีเอส เป็นแกนนำ การเจรจาใช้เวลานาน เพราะเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูง มีรายละเอียดมาก ต่างฝ่ายต่างต้องมีความรอบคอบ ป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้มากที่สุด และให้โครงการบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด

ระหว่างที่การเจรจาดำเนินไป การเมืองก็เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาล คสช.ที่มาจากการรัฐประหาร เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นต้นสังกัด การรถไฟแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการนี้ ถูกแบ่งไปให้พรรคภูมิใจไทย กำกับดูแล

รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม จึงจำเป็นต้องแสดงบทบาทขอมีส่วนร่วมกับการผลักดันโครงการนี้บ้าง แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ รวมทั้งโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีอื่นๆ แม้รัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม จะเป็นเจ้าของโครงการ แต่การผลักดัน โครงการเป็นอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนแต่ละโครงการ

รัฐมนตรีคมนาคม และรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย จึงทำได้แค่กวนน้ำให้ขุ่น ส่งสัญญาณกดดันให้ซีพีเอชรีบมาเซ็นสัญญา มิฉะนั้น จะเรียกกลุ่มบีทีเอส อาร์มาเจรจา และหากซีพีเอชไม่เซ็นสัญญา จะถูกริบเงินประกัน 2 พันล้านบาท และโดนขึ้นบัญชีดำห้ามประมูลงานรัฐ โทษฐานทิ้งงาน

แต่อำนาจในการเห็นชอบอนุมัติให้เซ็นสัญญาหรือไม่ให้เซ็น เป็นของบอร์ดอีอีซี รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมไม่มีอำนาจแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อบอร์ดอีอีซี เห็นชอบเอกสารแนบท้ายสัญญาที่เกี่ยวกับแผนการส่งมอบพื้นที่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงได้เวลาเปิดหวูดเดินหน้าอย่างเป็นทางการเสียที

โครงการรถไฟความเร็วสูง มีความสำคัญต่อซีพีมาก ถือเป็นการขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ คือ โครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอีอีซี การเซ็นสัญญาที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และไทยต่ออีอีซี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:16 am    Post subject: Reply with quote

"อนุทิน" ยันสร้างรถไฟ 3 สนามบิน ยึดสัญญาเดิม พร้อมชดเชยเอกชนด้วยการขยายเวลา

สยามรัฐออนไลน์
19 ตุลาคม 2562

จากกรณที่มีกระแสข่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ภาครัฐและกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่ม CPH ผู้ชนะการประมูล ได้ตกลงแก้ไขสัญญาเดิม จากที่ภาครัฐ ต้องชำระค่าก่อสร้างในปีที่ 6 หรือหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นภาครัฐชำระค่าก่อสร้าง ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนั้น ภาครัฐพร้อมจะจ่ายเงินชดเชย กรณีการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งไม่ใช่ความบกพร่องของเอกชน

ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภาครัฐยังยึดสัญญาฉบับเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง RFP ว่าอย่างไร ให้เป็นไปตามนั้น ส่วนเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่าจะไม่ทันใน 2 ปี เนื่องจากยังมีคนอาศัยอยู่ มีท่อ มีสายไฟ มีสาธารณูปโภคขวางอยู่ ตนไม่เป็นห่วง เพราะเคยประชุมร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางนั้นบอกว่าจัดการได้แน่นอน บางหน่วยงานเปิดเผยว่า จะใช้เวลาน้อยกว่า 2 ปีด้วย ก็ต้องเชื่อ

แต่ถ้าครบ 2 ปีแล้ว มันยังติดขัด ต้องไปดูว่าเพราะอะไร หากเกิดจากภาครัฐ เพิกเฉิย ไม่ยอมทำอะไรเลย มันก็ต้องจัดการแบบหนึ่ง แต่ถ้าภาครัฐทำเต็มที่ แต่ไม่ทันจริงๆ ก็ต้องหารือกับเอกชน หาทางออกร่วมกัน แต่ขอให้ย้อนดูกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของทางภาครัฐ ที่กำหนดให้ชดเชยด้วบการขยายเวลา ตามหลักก็ต้องเป็นไปตามนั้น

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ ไปจนถึงการก่อสร้าง มีโอกาสที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น ฝนตก น้ำท่วม มันไม่ใช่ความผิดของใคร แต่มันทำให้การดำเนินงานล่าช้า ตรงนี้ ก็ชดเชยด้วยการขยายเวลาไป แต่ไม่มีทางที่รัฐจะไปจ่ายเงินชดเชยให้เอกชน และถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา เอกชนมีสิทธิ์ฟ้องเอาเงิน แต่โอกาสชนะยาก ส่วนการยกเลิกสัญญา จะทำโดยฝ่ายเดียวไม่ได้ แม้เอกชนจะยกเลิกสัญญาไปแล้ว แต่ก็ต้องทำงานต่อ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ดูเหมือนว่ารัฐจะได้เปรียบทุกประตู แต่กว่าจะถึงวันนี้ รัฐก็ต้องทำตามสัญญา และทำมากด้วย การที่เอกชนมาทำงานกับรัฐ สิ่งที่มั่นใจได้ คือ เมื่อทำงานเสร็จ รัฐจ่ายแน่นอน

"ราคาที่ผู้ชนะประมูลเสนอมา เป็นราคาที่ดีมากๆ ดังนั้นภาครัฐประคบประหงมอย่างเต็มที่ อะไรที่ทำได้ ไม่ขัดกับกฎหมาย ไม่ขัดกับสัญญา รัฐทำเต็มที่ เพราะเปิดประมูลใหม่ หรือทำอย่างไร ก็ไม่มีทางได้ราคานี้ ล่าสุด ได้ยินข่าวว่าทางกลุ่ม CPH มาเซ็นดำเนินงานแน่นอน แต่ขอดูฤกษ์ดูยาม ซึ่งทางรัฐไม่ขัดข้อง ขออย่าให้ถึงวันที่ 7พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดวันยืนสัญญาก็พอ"


"อนุทิน" ยันสร้างไฮสปีดเทรน ยึดสัญญาเดิม
19 ตุลาคม 2562

"อนุทิน" ยันสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยึดสัญญาเดิม พร้อมชดเชยเอกชนด้วยการขยายเวลาเท่านั้น

จากกรณที่มีกระแสข่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ภาครัฐและกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่ม CPH ผู้ชนะการประมูล ได้ตกลงแก้ไขสัญญาเดิม จากที่ภาครัฐ ต้องชำระค่าก่อสร้างในปีที่ 6 หรือหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นภาครัฐชำระค่าก่อสร้าง ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนั้น ภาครัฐพร้อมจะจ่ายเงินชดเชย กรณีการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งไม่ใช่ความบกพร่องของเอกชน



ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภาครัฐยังยึดสัญญาฉบับเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง RFP ว่าอย่างไร ให้เป็นไปตามนั้น ส่วนเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่าจะไม่ทันใน 2 ปี เนื่องจากยังมีคนอาศัยอยู่ มีท่อ มีสายไฟ มีสาธารณูปโภคขวางอยู่ ตนไม่เป็นห่วง เพราะเคยประชุมร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางนั้นบอกว่าจัดการได้แน่นอน บางหน่วยงานเปิดเผยว่า จะใช้เวลาน้อยกว่า 2 ปีด้วย ก็ต้องเชื่อ



แต่ถ้าครบ 2 ปีแล้ว มันยังติดขัด ต้องไปดูว่าเพราะอะไร หากเกิดจากภาครัฐ เพิกเฉิย ไม่ยอมทำอะไรเลย มันก็ต้องจัดการแบบหนึ่ง แต่ถ้าภาครัฐทำเต็มที่ แต่ไม่ทันจริงๆ ก็ต้องหารือกับเอกชน หาทางออกร่วมกัน แต่ขอให้ย้อนดูกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของทางภาครัฐ ที่กำหนดให้ชดเชยด้วบการขยายเวลา ตามหลักก็ต้องเป็นไปตามนั้น

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ ไปจนถึงการก่อสร้าง มีโอกาสที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น ฝนตก น้ำท่วม มันไม่ใช่ความผิดของใคร แต่มันทำให้การดำเนินงานล่าช้า ตรงนี้ ก็ชดเชยด้วยการขยายเวลาไป แต่ไม่มีทางที่รัฐจะไปจ่ายเงินชดเชยให้เอกชน และถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา เอกชนมีสิทธิ์ฟ้องเอาเงิน แต่โอกาสชนะยาก ส่วนการยกเลิกสัญญา จะทำโดยฝ่ายเดียวไม่ได้ แม้เอกชนจะยกเลิกสัญญาไปแล้ว แต่ก็ต้องทำงานต่อ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ดูเหมือนว่ารัฐจะได้เปรียบทุกประตู แต่กว่าจะถึงวันนี้ รัฐก็ต้องทำตามสัญญา และทำมากด้วย การที่เอกชนมาทำงานกับรัฐ สิ่งที่มั่นใจได้ คือ เมื่อทำงานเสร็จ รัฐจ่ายแน่นอน



"ราคาที่ผู้ชนะประมูลเสนอมา เป็นราคาที่ดีมากๆ ดังนั้นภาครัฐประคบประหงมอย่างเต็มที่ อะไรที่ทำได้ ไม่ขัดกับกฎหมาย ไม่ขัดกับสัญญา รัฐทำเต็มที่ เพราะเปิดประมูลใหม่ หรือทำอย่างไร ก็ไม่มีทางได้ราคานี้ ล่าสุด ได้ยินข่าวว่าทางกลุ่ม CPH มาเซ็นดำเนินงานแน่นอน แต่ขอดูฤกษ์ดูยาม ซึ่งทางรัฐไม่ขัดข้อง ขออย่าให้ถึงวันที่ 7พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดวันยืนสัญญาก็พอ"


Last edited by Wisarut on 21/10/2019 11:34 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (21)
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 09 Oct 2019
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3512
ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2562



สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (22)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 12 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3514 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2562



ผมลากพาทุกท่านมาติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

สัญญาที่ ติดขัดตรงไหน คือหัวใจที่เราเกาะติดในร่างสัญญามา 21 ตอนแล้ว คราวนี้มาดูสัญญาว่าด้วยงานโยธากันครับ

4) ในการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เอกชนคู่สัญญาจะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้นส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ

(ข) การตรวจสอบการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ





1) เอกชนคู่สัญญาจะต้องอำนวยความสะดวก และ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบ ในการตรวจสอบงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) และระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ก) รวมทั้งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย

2) เอกชนคู่สัญญาจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบ ในระหว่างที่บุคคลดังกล่าวตรวจสอบงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟตามที่บุคคลข้างต้นร้องขอ ทั้งนี้เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน

3) เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งแบบและเอกสารด้านการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงแบบของงานก่อสร้างและรายงานความสำเร็จของงานก่อสร้างในแต่ละส่วน ให้แก่ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง และที่ปรึกษาตรวจสอบ และการที่บุคคลดังกล่าวรับเอกสารดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการอนุมัติโดยบุคคลดังกล่าวว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟที่ทำตามเอกสารข้างต้นถูกต้องและครบถ้วนแต่อย่างใด



4) กรณี รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง และที่ปรึกษาตรวจสอบ เห็นว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟไม่สอดคล้องหรือไม่เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รฟท. มีสิทธิคัดค้าน และสั่งให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขได้โดยคู่สัญญาตกลงยอมรับว่าการไม่ใช้สิทธิคัดค้านหรือใช้สิทธิคัดค้านในงานใดไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ รฟท. ให้การอนุมัติในงานดังกล่าว

(ค) การตรวจสอบความแล้วเสร็จของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

1) เอกชนคู่สัญญาจะต้องแจ้งให้ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง และที่ปรึกษาตรวจสอบรับทราบถึงความแล้วเสร็จของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และให้ รฟท. เข้าตรวจสอบและทดสอบว่าการดำเนินงานนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

2) กรณี รฟท. เห็นว่า การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รฟท. จะดำเนินการดังต่อไปนี้

ก) แจ้งป็นหนังสือให้เอกชนคู่สัญญาทราบโดยไม่ชักช้าถึงการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

ข) กำหนดระยะเวลาให้เอกชนคู่สัญญารีบไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถนำกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างยกเว้นค่าปรับตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนนี้ได้

3) เอกชนคู่สัญญาจะต้องแก้ไขการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนดโดยจะต้องส่งรายงานและหลักฐานการแก้ไขดังกล่าวให้ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง และที่ปรึกษาตรวจสอบ

4) เมื่อ รฟท. พิจารณางานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้วเห็นว่างานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้วเสร็จ ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุนรวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รฟท. จะออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ




5) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดำเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างของโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และโครงการรถไฟสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งอยู่บริเวณหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐานไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาห้า (5)ปี นับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชำระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน สามแสนสองหมื่น (320,000) บาทต่อวัน โดยเริ่มนับจากวันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จดังกล่าว จนถึงวันที่เอกชนคู่สัญญาได้รับหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระค่าปรับดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด รฟท. มีสิทธิบังคับชำระค่าปรับจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1

6) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดำเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างทางวิ่งร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาห้า (5)ปีนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชำระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงินสี่แสน (400,000) บาทต่อวัน โดยเริ่มนับจากวันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จดังกล่าว จนถึงวันที่เอกชนคู่สัญญาได้รับหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระค่าปรับดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด รฟท. มีสิทธิบังคับชำระค่าปรับจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1

(ง) ความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้วหากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นในงานดังกล่าว ภายในกำหนดระยะเวลาสอง (2)ปี นับจากวันที่มีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของเอกชนคู่สัญญาซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา





ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าตามที่ รฟท. กำหนด โดย รฟท. ไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากเอกชนคู่สัญญาไม่กระทำการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด คู่สัญญาตกลงให้สิทธิ รฟท. ที่จะทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

ในกรณีเร่งด่วนจำเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ รฟท. มีสิทธิเข้าจัดการแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

การที่ รฟท. ทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นแทนเอกชนคู่สัญญา ไม่ทำให้เอกชนคู่สัญญาหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาร่วมลงทุน

นี่เป็นเงื่อนไขงานโยธาและการทำงาน ต้องบอกว่ารัดกุม แต่ผมทราบว่ากำลังปรับไส้ในกันมากมาย คอยติดตามนะครับ!


สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(23)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 16 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3514 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2562


โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด เป็นเวลาเกือบ 12 เดือน เข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้ และที่บอกว่าจะมีการลงนามกันในเดือนตุลาคม 2562 นี้จะทำได้หรือไม่...

สัญญาที่ ติดขัดตรงไหน คือหัวใจที่เราเกาะติดในร่างสัญญามายาวนานมาก มาดูร่างในข้อ 15.2 แอร์พอร์ต เรลลิงค์ (1) งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตั้งแต่วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ครบระยะเวลาสอง (2)ปี นับจากวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ เอกชนคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก) เอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงินเท่ากับหนึ่งหมื่นหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านเก้าหมื่น (10,671,090,000) บาท และเมื่อเอกชนคู่สัญญาได้ชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงค์ครบถ้วนเอกชนคู่สัญญามีสิทธิเข้าไปดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในแต่ละสถานีตามข้อ 5.2(4)(ข) และสิทธิในการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนแอร์พอร์ต เรลลิงค์

(ข) ตลอดช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ก)คู่สัญญาตกลงว่า

1) รฟท. จะครอบครองพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์อยู่เพื่อการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ของ รฟท. แต่ รฟท. จะดำเนินการอำนวยความสะดวกให้เอกชนคู่สัญญาเข้าไปในพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เพื่อดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ภายใต้แผนงานที่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา

2) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ให้แล้วเสร็จและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนดังกล่าว

3) ให้นำข้อ 15.1(1)(ก)(ข)(ค)(ฉ)และ(ช) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาเกี่ยวกับการดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ และ

4) ในการดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เอกชนคู่สัญญาตกลงดังต่อไปนี้

ก) จะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้นแล้วส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของ รฟท. และหน่วยงานของรัฐอื่น รวมถึงการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ของ รฟท. และ

ข) จะกำหนดมาตรการป้องกันความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานดังกล่าวบนพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ รฟท. รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับงานนั้นหรือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ของ รฟท. ไว้อย่างรอบคอบและรัดกุม ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายดังกล่าวขึ้นเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานข้างต้นและจะยกเป็นเหตุในการขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานข้างต้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานอย่างชัดแจ้งจนเป็นที่พอใจแก่ รฟท. ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) หรือความผิดของ รฟท.

(ค) การออกหนงสือเพื่อรับรองความแล้วเสร็จของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์

1) เมื่อเอกชนคู่สัญญาพิจารณาเห็นว่าได้ดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จนแล้วเสร็จ ตลอดจนทำการทดสอบทั้งหมดที่จำเป็นต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน และเห็นว่างานดังกล่าวพร้อมที่จะเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้ว เอกชนคู่สัญญาจะต้องแจ้งให้ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบรับทราบถึงความแล้วเสร็จของงานดังกล่าว และให้ที่ปรึกษาตรวจสอบเข้าตรวจสอบและทดสอบว่าการดำเนินงานนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

2) ภายในสี่สิบห้า (45)วัน นับแต่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว ที่ปรึกษาตรวจสอบจะต้องทำการตรวจสอบและยืนยันให้แก่ รฟท. เพื่อรับรองว่าเอกชนคู่สัญญาได้ดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์แล้วเสร็จครบถ้วน และงานดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบทั้งหมดที่จำเป็นตามกำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนนี้ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนดังกล่าว พร้อมส่งสำเนาให้กับเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้หาก รฟท. ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้วและเอกชนคู่สัญญาได้ชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามข้อ 15.2(1)(ก) ให้แก่ รฟท. แล้ว รฟท. จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ให้เอกชนคู่สัญญา

3) กรณีที่ปรึกษาตรวจสอบเห็นว่า เอกชนคู่สัญญายังปฏิบัติงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่ได้ดำเนินการทดสอบทั้งหมดที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ที่ปรึกษาตรวจสอบจะแจ้งให้ รฟท. ทราบพร้อมส่งสำเนาให้กับเอกชนคู่สัญญา และเอกชนคู่สัญญาจะต้องเร่งดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ หรือทำการทดสอบทั้งหมดที่จำเป็นและแจ้งให้ รฟท. และที่ปรึกษาตรวจสอบทำการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ที่ปรึกษาตรวจสอบ จะตรวจสอบความแล้วเสร็จของงานดังกล่าวภายในสี่สิบห้า (45)วัน นับแต่ได้รับแจ้งจากเอกชนคู่สัญญาและยืนยันแก่ รฟท. ว่าเอกชนคู่สัญญาได้ดำเนินการในระยะที่ 1 ดังกล่าวครบถ้วนหรือได้ทำการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว รฟท. จะออกหนังสือรับรองโดยให้ นำข้อ 15.2(1)(ค)2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(2) งานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์

(ก) การเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์

1) ภายในวันที่ระบุในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ รฟท.จะส่งมอบพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ในส่วนแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

2) เมื่อ รฟท. ออกหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์ โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องยื่นแผนการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนและข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ให้ รฟท. พิจารณาภายในวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์

คู่สัญญาตกลงว่าให้ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เริ่มนับจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต เรลลิงค์

3) คู่สัญญาตกลงว่า ตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) เอกชนคู่สัญญาจะต้องแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนคู่สัญญาได้รับจากแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ให้แก่ รฟท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1(1)

อย่างไรก็ตาม หากในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) มีการขยายระยะเวลาในระยะที่ 1 ตามข้อ15.1(1)(ฉ) ในกรณีดังกล่าว รฟท. มีสิทธิได้รับแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนคู่สัญญาได้รับจากงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ตามข้อ 8.1(2)

อย่าเบื่อกันละครับ ฉบับหน้าผมจะพามาดูการให้บริการการเดินรถและการบำรุงรักษาโครงการ ครับ...


หน้าแรก / Columnist / ทางออกนอกตำรา / สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(24)
สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(24)





สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(24)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 20 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3515 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด เป็นเวลาเกือบ 12 เดือน เข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน
อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้ และที่บอกว่าจะมีการลงนามกันในเดือนตุลาคม 2562 นี้จะทำได้หรือไม่...
สัญญาที่ ติดขัดตรงไหน คือหัวใจที่เราเกาะติดมายาวนานมากๆ มาดูเรื่องของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ (ข)การดำเนินการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์
1) ข้อกำหนดทั่วไป ก) เมื่อแผนการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ได้รับการอนุมัติแล้ว เอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชอบจัดให้มีการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก และมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้นส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐ
ข) รฟท. มีสิทธิตรวจสอบการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟของเอกชนคู่สัญญาเป็นครั้งคราวตามที่ รฟท. เห็นสมควร
ค) เอกชนคู่สัญญาต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความชำนาญอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เอกชนคู่สัญญาจะต้องอำนวยความสะดวก และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ รฟท.ในการตรวจสอบการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข)

2) ข้อกำหนดการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) คู่สัญญาตกลงว่า
ก) เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบงานการให้บริการรวมถึงการให้บริการรถไฟในลักษณะที่เป็นการให้บริการขนส่งสาธารณะตามข้อกำหนดของ รฟท.ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยจะต้องจัดให้มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญที่เพียงพอ
ข) เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และทำการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ตกแต่งและเปลี่ยนใหม่ (ตามความจำเป็น) สำหรับงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟรวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือบำรุงรักษาทั้งหมดที่จัดหาโดยเอกชนคู่สัญญาและตามความเห็นของ รฟท.
ค) เอกชนคู่สัญญา จะต้องจัดให้มีการบริหารและการจัดการเพื่อให้
1. การให้บริการการเดินรถไฟซึ่งเป็นบริการสาธารณะเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก และต้องจัดหาจำนวยขบวนรถไฟสำหรับแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เพียงพอต่อปริมาณผู้โดยสาร
2. มีการบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟให้มีสภาพสมบูรณ์ สามารถใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย
3. สามารถส่งมอบงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามสภาพอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ
ง) กรณีที่งานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟเกิดความชำรุดบกพร่องหรือเสียหาย เอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงรักษางานโยธาและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟให้ใช้งานได้ตามปกติ ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเองหากไม่สามารถซ่อมแซมได้ เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดหาอุปกรณ์ งานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าตลอดจนขบวนรถไฟใหม่ที่มีคุณสมบัติและคุณภาพไม่ตํ่ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนทดแทนด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเอง
จ) เอกชนคู่สัญญาต้องจัดหาและบำรุงรักษาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งบุคลากรให้พอเพียง เพื่อสนับสนุนการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
ฉ) เอกชนคู่สัญญามีสิทธิเพิ่มจำนวนสถานีรถไฟของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้ครอบคลุมถึงสถานีใดสถานีหนึ่งภายในสถานีของรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้รถไฟที่ใช้ในแอร์พอร์ต เรลลิงค์สามารถให้บริการผู้โดยสารและจอดรับในสถานีดังกล่าวได้โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก รฟท. ในกรณีดังกล่าว ให้เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดำเนินการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของสถานีรถไฟที่เพิ่มเติมนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

3) การตรวจสอบผลการดำเนินการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์
ก) เอกชนคู่สัญญาต้องจัดทำและส่งมอบรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์เป็นรายดือนตามแบบที่ รฟท. อนุมัติ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ
ข) รฟท. มีสิทธิตรวจสอบและวัดผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ด้วยดัชนีชี้วัดประจำปี ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด ตามที่ปรากฏในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุน หมายเลข 12 (ข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด)
ค) การแจ้งและยืนยันผลการตรวจสอบรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์
1. กรณีที่ รฟท. ตรวจสอบพบว่า ข้อมูลในรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามข้อ 15.2(2)(ข)3) ก) ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือมีข้อผิดพลาด รฟท. จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบโดยไม่ชักช้าถึงความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และ/หรือความผิดพลาดของข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาได้เข้าร่วมตรวจสอบกับ รฟท. เมื่อการตรวจสอบแล้วเสร็จ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะลงนามในเอกสารเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลใหม่ ซึ่งเอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟฉบับปรับปรุงและนำส่งให้รฟท. ต่อไปภายในสิบห้า (15)วัน
2. เพื่อให้การตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์มีความถูกต้องและรวดเร็ว เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดียวกับที่เอกชนคู่สัญญาใช้งาน ตลอดจนส่งผ่านข้อมูลโดยระบบออนไลน์ (Online) ในลักษณะที่สามารถรายงานผลได้ทันที (Real Time) ให้ รฟท. พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก และให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ตามรายละเอียดในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ
เรื่องราวเฉพาะสัญญาแอร์พอร์ต เรลลิงค์นี่ก็เป็นเทิร์นพอยต์ของซีพีทีเดียวละครับ ลองอ่านดีๆ สิครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 347, 348, 349 ... 542, 543, 544  Next
Page 348 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©