Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181563
ทั้งหมด:13492801
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 348, 349, 350 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:31 am    Post subject: Reply with quote

เปิดเอกสาร‘ผ่าทางตัน’ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
20 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 14
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,515 วันที่ 20-23 ตุลาคม 2562

หลังจากเจอโรคเลื่อนมาแล้วหลายครั้งระหว่าง กลุ่มกิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพี) กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไม่สามารถเซ็นสัญญาโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินมูลค่าการลงทุนกว่า 224,000 ล้าน บาทกันได้ ล่าสุดกำหนดวันลงนามในสัญญาวันที่ 25 ตุลาคมนี้

ในรายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.30-11.50 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ช่วง ลึกแต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการผ่าทางตันของเรื่องนี้แบบ ล้วงลึก หลังจากที่ยืดเยื้อมานานว่า กำลังเกิดสัมปทาน PPP จำแลงขึ้นหรือไม่

จากการให้สัมภาษณ์ของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า การประชุมได้ข้อ สรุปเรียบร้อย และเพื่อให้โครง การนี้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น พล.อ.ประยุทธ์ ได้กำชับว่า ภาครัฐจะต้องอำนวยความสะดวกเพื่อให้การดำเนินโครงการนี้เดินหน้าไปได้อย่างไม่มีอุปสรรค โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปและรับทราบสัญญาและเงื่อนไขที่จะเซ็นกัน แต่มีการปรับเงื่อนไข “เล็กน้อย” ซึ่งถือว่า เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย

นายบากบั่น ได้ขยายความ “เงื่อนไขเล็กน้อย” ที่มีการปรับแก้นั้นว่า ปรากฏอยู่ในสัญญาสัมปทานหลักซึ่งผ่านการพิจารณา โดยสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งปรากฏอยู่ในข้อที่ 18 ระบุวิธีการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ไว้ว่า

รฟท.จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ โดยแบ่งชำระเป็นรายปีภายหลังจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ โดยกำหนดการแบ่งจ่ายเป็นระยะเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน


โดยจะชำระงวดแรกในวันที่ครบกำหนด 6 เดือน นับจากวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (วันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการปีที่ 1) และจะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการ สำหรับปีต่อๆ มาในวันที่ครบกำหนด 12 เดือนนับจากวันที่ชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ปีที่ 1

ทั้งนี้ กรณีมีเหตุจำเป็น อาจให้ทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญา หลังจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงบางส่วน โดยแบ่งจ่าย เงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ตามระยะทางของการเดินรถไฟความเร็วสูง และจะไม่มีการเริ่มนับระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวจากวันตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ โดยในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

ขณะที่ในเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (Request for Proposal) นั้นเขียนเงื่อนไขไว้ว่า เอกชนลงทุนไปก่อน สร้างเสร็จ 5 ปี เปิดเดินรถได้ รัฐทยอยจ่ายเงินในปีที่ 5 กล่าวคือ ต้องสร้างและส่งมอบแล้ว 5 ปีจึงจะสามารถขอเคลมเงินจากรัฐบาลได้ (กลุ่มซีพีขอเคลมเงินจากรัฐอยู่ที่ประมาณ 119,000 ล้านบาท) แต่ในร่างสัญญาสัมปทานหลักที่รัฐจะลงนามเซ็นสัญญานั้น ได้ปรากฏหลักเกณฑ์สำคัญในข้อที่ 18 ดังกล่าวข้างต้นซึ่งมีนัยว่า “สร้างไม่เสร็จ แต่ถ้าเดินรถได้บางส่วน ขอเคลมเงินจากหลวงได้”



ทั้งนี้ ตามแผนการดำเนินงานโครงการ แบ่งการส่งมอบออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ช่วงพญาไท 2. ช่วงแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และ
3. ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา กำหนดส่งมอบภายใน 1 ปี 3 เดือนให้ได้ หากเกิดความล่าช้าสามารถขยายสัญญาสัมปทานได้ ดังนั้น หากยึดตามเงื่อนไขที่ปรับ “เล็กน้อย” ข้างต้น หากกลุ่มซีพีสามารถเดินรถไฟฟ้าได้เพียงแค่ช่วงของอู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ ดำเนินการเสร็จภายใน 3 ปีก็สามารถที่จะเคลมงบจากรัฐบาลได้โดยไม่ต้องรอถึง 5 ปี นายบากบั่นยังระบุด้วยว่า ทางกลุ่มซีพีได้ขอปรับแก้เรื่องของค่าโดยสารโดยขอปรับเพิ่มค่าแรกเข้าแต่ที่ประชุมในวันนั้นไม่อนุมัติ


ที่น่าสนใจ เมื่อตกลงเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว ทางกลุ่ม ซีพีจะจ่ายให้กับรัฐกว่า 10,000 ล้านบาท กลุ่มซีพีรับทรัพย์สินไปกว่า 35,000 ล้านบาท ขณะที่ รฟท.จะแบกรับหนี้ 20,000 ล้านบาท สิ่งที่กลุ่มซีพีจะได้ทันทีเช่นกัน นั่นก็คือ มีผู้โดยสารแอร์พอร์ต เรลลิงค์ปี 2562 ประมาณ 75,000 คน/วัน ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท มีรายได้ 1.12-3.37 ล้านบาท/วัน หรือประมาณ 410-1,231 ล้านบาทต่อปี ตลอดอายุสัญญา 50 ปี กลุ่มซีพีจะมีรายได้อยู่ที่ 20,500-61,550 ล้านบาท

“นี่คือ เรื่องราวมหากาพย์รถไฟไฮสปีดเทรน เรายืนยันจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องของสัมปทานที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มที่ และจะสนับสนุนการพัฒนาที่เพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยเต็มตัว และร่วมยินดีด้วยหากมีการประมูลลงนามกันเพราะนี่คือ อนาคตของประเทศ” นายบากบั่น ยํ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:38 am    Post subject: Reply with quote

พีพีพี จำแลง-อุ้มชู ซีพี? ไฮสปีดเทรน 'สร้างไปเบิกงบไป'
คอลัมน์ข่าวห้ามเขียน
โดย...พรานบุญ
ออนไลน์เมื่อ 19 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3515 หน้า 20
ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2562



"วาว วาว เสียงรถไฟวิ่งไป ฤทัยครื้นเครง

เรามันคนกันเอง ไม่ต้องเกรงใจใคร...

พวกเราเพลินชมไพร นั่งรถไฟไปถึงระยอง

ใครชํ้าเลือด ชํ้าหนอง ไม่ต้อง อาดูร....” นังบ่างตะโกนก้องร้องเพลงดังสนั่นไปทั้งป่าคอนกรีต

นังบ่างดีใจวิ่งตะโกนก้องร้องซํ้าไปซํ้ามา ตั้งแต่ “สะพานชมัยมรุเชฐ” จนถึงแยกราชประสงค์ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติสนับสนุนการเซ็นสัญญาสัมปทานการร่วมทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวงเงิน 224 แสนล้านบาท ที่กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ชนะการประมูลไป แต่เจรจารายละเอียดตกลงกันไม่ได้มายาวร่วม 1 ปี

พรานฯ ไม่ได้ติดตามซีรีส์รถไฟความเร็วสูง 2.24 แสนล้านบาท เหมือนนังบ่าง ที่เกาะติดชนิดตามแกะรอยสัญญาร่วมลงทุน-เอกสารคัดเลือกเอกชน (Request for Propersal) ชะเง้อหน้าถามดังๆ ไปว่า บ่างเอร้ย... ดีใจ อะไรขะไหนหนาด ยังกะถูกหวยรัฐบาล?


อีเห็นสอดแทรกมาว่า นังบ่างดีใจเหมือนได้แก้ว...เพราะรัฐบาลประกาศสนับสนุนเต็มรูปแบบให้สร้างรถไฟไฮสปีดที่เป็นความหวังของคนทั้งประเทศนะสิพ่อพรานฯ...

ดูนะพ่อพรานฯ หมอหนู-อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ชี้แจงชัดใน 3-4 ประเด็น

1.ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้า ที่มีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อย และเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่าย

2.พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับว่าภาครัฐต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้โครงการนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใดๆ โดยรัฐต้องออกแรงด้วย ไม่ใช่ปล่อยเอกชนออกแรงอย่างเดียว ...เข้าใจตรงกันนะ จึงไม่น่ามีอุปสรรคในการลงนามสัญญา

3.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ พูดในที่ประชุมว่า อย่าไปแน่นหรือตึงมาก ผ่อนได้ก็ผ่อนแต่อย่าให้ผิดกฎหมาย และอย่าให้รัฐเสียประโยชน์

4.การทำสัญญากับรัฐเราจะชดเชยในเรื่องระยะเวลา ไม่ใช่เงิน หากเอกชนติดอุปสรรคก็ขอขยายสัญญา หากรัฐติดอุปสรรคก็ขอขยายสัญญาได้โดยไม่มีค่าปรับ ถือว่าแฟร์และยุติธรรม เพราะทุกคนต้องการให้ประเทศมีรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ทั้งโลกว่าโครงการอีอีซีเกิดแน่นอน



พรานฯ อ้าปากถามไปว่าแล้วที่บอกว่า ปรับเงื่อนไขเล็กน้อยนะปรับอะไรบ้าง?

อีเห็นนั่งเท้าคางมือถูหน้าอย่างรำคาญบอกว่า...เขาแค่ปรับความเข้าใจในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้ามาทำการรื้อย้ายสาธารณูปโภค รฟท.ต้องไปรับภาระการเวนคืนที่ดินบางส่วน และหาที่อยู่ให้กับชาวบ้านตามแนวรถไฟ และมีการเลื่อนระยะเวลาส่งมอบที่ดินจาก 1 ปี 3 เดือน เป็น 2 ปี เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ถ้ามีอุปสรรคก็ไปว่ากันในเรื่องการขยายเวลาให้กับเอกชน

นี่จึงเป็นสาเหตุที่นังบ่างดีใจร้องตะโกนก้องไปทั้งเมืองว่า สำเร็จเสร็จสมอารมณ์หมาย ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะไปเป็นประธานการลงนาม เพื่อเป็นตำนานของพล.อ.ประยุทธ์ เหมือนอีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เป็นสัญลักณ์ของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อีอีซีจึงเป็นผลงานที่กล่าวขานถึงพล.อ.ประยุทธ์.....

นายกฯ จึงกำชับว่าให้ทำเสร็จเร็วๆ อะไรช่วยเขาได้ก็ช่วย อะไรยืดหยุ่นได้ก็ยืดหยุ่น!

พรานฯ ตาตื่นรีบคว้าปืนผาหน้าไม้ออกส่องสรรพสัตว์ในใต้หล้า..จึงพบว่า โครงการรถไฟไฮสปีดเทรน 2.24 แสนล้าน ที่ทางกลุ่มซีพีและพันธมิตรชนะการประมูลไปด้วยการเสนอราคาขอรับการชดเชยจากรัฐ 117,227 ล้านบาท โดยจะจ่ายเมื่อเอกชนสร้างเสร็จและมีการเดินรถได้เป็นวงเงินเท่าๆ กันในแต่ละปี ภายในระยะเวลา 10 ปี “มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเล็กน้อย” ที่ยุบยับไปหมด ดังนี้...

ร่างสัญญาใหม่ที่จะลงนามกันนั้น ระบุข้อความว่า “รัฐจะแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอกชน”



ปรับแก้ไขรูปแบบสัญญาการร่วมทุนแบบพีพีพีใหม่ จากเดิมที่สร้างเสร็จเดินรถได้แล้วรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ภายใน 5 ปี มาเป็นเอกชนสามารถสร้างและเดินรถได้ในบางช่วงแล้วขอเงินชดเชยจากรัฐได้แม้จะไม่เต็มโครงการก็ตาม เรียกกันภาษีผู้รับเหมาว่า “ทำไป เบิกงบชดเชยจากรัฐไป” จากสัญญาเดิมที่กำหนดให้ “จ่ายเมื่อก่อสร้างเสร็จ”

พรานฯถามกรรมการอีอีซีว่าเป็นจั๋งได๋ที่มาแบบนี้ เขาบอกว่าจุ๊ๆอย่าเอ็ดไป อันนี้เป็นการเข้าไปดูแลต้นทุนดอกเบี้ยให้เอกชนที่ทำงานช้าเพราะรัฐส่งมอบที่ดินให้ไม่ได้ เพราะตามแผนการเงินนั้นเอกชนกู้เงินมาลงทุนทั้งก้อนแม้จะทยอยการเบิกมาใช้ มีภาระต้นทุนตกปีละ 5,000 ล้านบาท ถ้าใช้เวลา 5 ปี หรือสร้างเสร็จเดินรถได้ทั้งโครงการเขาจะมีภาระดอกเบี้ยรวม 25,000 ล้านบาท จึงขอปรับเป็นสร้างเสร็จในบางช่วงสามารถเดินรถได้ก็ขอรับเงินชดเชยจากรัฐตามสัดส่วนที่ลงทุน...ไม่ได้มีอะไรเกินเลยดอกพรานเอ๋ย...

มีการเขียนในเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาและแผนการส่งมอบพื้นที่ของการรถไฟฯออกเป็น 3 ช่วง 1.ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ 2.ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้มีการส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน

3.สำหรับช่วงพญาไท-ดอนเมือง การรถไฟฯจะต้องส่งมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างให้ได้ภายใน 2 ปี 3 เดือน ถ้าส่งมอบไม่ได้ก็ขยายอายุสัญญาสัมปทานการเดินรถจาก 50 ปี ออกไป แต่ไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้เอกชน

4. กรณีเลวร้ายที่สุด หากการรถไฟฯไม่สามารถส่วมอบพื้นที่ได้เลย เอกชนมีสิทธิเจรจาและอาจขอยกเลิก หรือ Exit ได้

อีเห็นบอกว่า ยังไม่หมด มีการปรับแก้สัญญามาช่วยเอกชนอีกมากมายที่ต้องรอลุ้นกันเพื่อให้โครงการแจ้งเกิด

ที่โดดเด่นกว่านั้นคือการที่รัฐบาล “สอดเข้าแก้หน้า” ปัญหาว่าด้วยปัญหา “เพดานเงินกู้ของกลุ่มบริษัทซีพี”ตามที่ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์-เจ้าสัวน้อย-ศุภชัย เจียรวนนท์” เสนอเสียด้วยสิพ่อพรานฯ

การสอดเข้าแก้หน้าในภาษานักกฎหมายนั้นคือ ปรากฎการณ์ที่ ธนาคารแห่ประเทศไทย ออกประกาศหลักเกณฑ์พิเศษผ่อนผันการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ที่ให้ลูกหนี้รายใหญ่ที่ต้องการนำเงินไปลงทุน ก่อภาระผูกพัน ไปประกอบธุรกิจที่เป็นกลไกสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ หรือใช้ในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่15 กรกฎาคม 2562

ถือเป็นการปลดล็อกเงินกู้เต็มเพดานของลูกค้ารายใหญ่เป็นการทั่วไป แต่สปอตไลต์ฉายวับลงไปในกลุ่มซีพีแบบไม่ได้นัดหมาย...พระเจ้าจอร์จ มันยอดมั่ก!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:47 am    Post subject: Reply with quote

CP ปิดดีลประวัติศาสตร์ไฮสปีด ‘หมอเสริฐ-คีรี’ ทุ่ม 3 แสนล้าน คว้าอู่ตะเภา
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:55 น.

เจรจาต่อรองมาเกือบปี ในที่สุดรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ไฮสปีดแห่งความหวังของ “รัฐบาลประยุทธ์” กำลังจะแจ้งเกิดในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมี “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเซ็นสัญญาร่วมทุนรัฐและเอกชนครั้งประวัติศาสตร์ มูลค่าถึง 224,544 ล้านบาท ถือเป็นผลงานชิ้นใหญ่

ภายใต้ฤกษ์ 24 ต.ค. จะเซ็นปิดดีลกับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้ชนะประมูล 117,227 ล้านบาท รับสัมปทาน 50 ปี
advertisement

แต่ต้องลุ้นกันตัวโก่ง เมื่อ “กลุ่ม ซี.พี.” พลาดประมูลโครงการ “เมืองการบินอู่ตะเภา” ที่คิดจะต่อยอดกับไฮสปีดเทรน

“ธนินท์ เจียรวนนท์” แม่ทัพใหญ่ ซี.พี. ได้เปิดใจโค้งสุดท้ายไว้ว่า “รถไฟความเร็วสูงเป็นการลงทุนมีความเสี่ยง แต่มีโอกาสสำเร็จ ถ้ารัฐเข้าใจ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเสี่ยงกับเอกชน อย่าให้เอกชนรับเสี่ยงฝ่ายเดียว”

ทำให้รัฐบาลนั่งไม่ติด ต้องเร่งเคลียร์ให้โครงการได้ไปต่อ เพราะกลัวว่า “เจ้าสัวจะถอดใจ” พร้อมแก้ปมการส่งมอบพื้นที่ 100% ที่เป็นข้อต่อรองให้ยอมรับกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย

แบ่งส่งมอบพื้นที่ 3 เฟส

ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) มี “บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะ ได้เคาะแผนส่งมอบพื้นที่ที่ปรับใหม่ ตามที่คณะอนุกรรมการบริหาร ซึ่งมี “อุตตม สาวนายน” และคณะกรรมการคัดเลือกเสนอ

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า แผนส่งมอบพื้นที่และสาธารณูปโภคของเดิม จะทำให้เอกชนทำงานยาก เพราะให้เอกชนเจรจากับ 8 หน่วยงานสาธารณูปโภคเอง มีจุดตัด 200 กว่าจุด บอร์ดอีอีซีมองว่า ถ้าเอกชนต้องดูเองทั้งหมด จะช้าและก่อสร้างลำบาก

จึงปรับแผนใหม่ โดยส่งมอบ 3 เฟส คือ 1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กม. โครงสร้างแอร์พอร์ตลิงก์เดิม พร้อมส่งมอบทันที แต่ต้องจ่ายค่าเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาทก่อน 2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ส่งมอบใน 2 ปี แต่เร่งให้ได้ 1 ปี 3 เดือน และ 3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. ส่งมอบใน 4 ปี เร่งรัดได้ 2 ปี 3 เดือน เพื่อเปิดบริการสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ปลายปี 2566 ส่วนสถานีพญาไท-ดอนเมือง อาจเสร็จปี 2567-2568

“ตลอด 2-3 เดือนได้เร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชน ปล่อยการรถไฟฯทำคนเดียวคงไม่ไหว ทั้งงบประมาณรื้อย้าย ระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้งานเร็วขึ้น เอกชนรับทราบเงื่อนไขนี้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกจะนำแนบท้ายสัญญาเตรียมเซ็น 25 ต.ค.นี้ ถ้าส่งมอบไม่ทัน รัฐจะชดเชยเวลาให้ แต่ไม่จ่ายค่าชดเชย” นายคณิศกล่าว

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า อุปสรรคคือเวนคืนที่ดิน ผู้บุกรุก และระบบสาธารณูปโภค ต้องประสานหน่วยงานให้รื้อย้าย ส่วน ร.ฟ.ท.จะเคลียร์ผู้บุกรุก และรอ พ.ร.ฎ.เวนคืนบังคับใช้ ในเดือน พ.ย.-ธ.ค.
ถึงเริ่มเข้าพื้นที่ได้

“หลังเซ็นสัญญาการรถไฟฯจะเข้าพื้นที่เวนคืน ย้ายผู้บุุกรุก เอกชนก็ออกแบบให้เสร็จ 3 เดือน และเร่งส่งมอบช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้เสร็จไม่เกิน 2 ปี ซึ่งการให้เริ่มงานหรือออก NTP จะขยายเป็น 2 ปี ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.เห็นชอบแล้ว”

เปิดทางยกเลิกสัญญา

นายวรวุฒิกล่าวถึงกรณียกเลิกสัญญาและจ่ายเงินอุดหนุนก่อนกำหนดพิจารณาได้ในอนาคต เพราะสัญญา 50 ปีได้ยืดหยุ่น เช่น ทีโออาร์กำหนด 2 ปีนี้ ถ้ารัฐไม่ส่งมอบพื้นที่ให้ ก็ยกเลิกได้

ส่วนการจ่ายเงินให้กลุ่ม ซี.พี. 117,227 ล้านบาท จะยึดทีโออาร์จ่ายปีที่ 6-15 หลังเปิดบริการ แต่ทีโออาร์เปิดโอกาสกรณีจำเป็น หากเปิดบริการบางส่วนก็ยื่นให้ ร.ฟ.ท.เสนอบอร์ดอีอีซี เสนอ ครม.จ่ายเงินร่วมลงทุนบางส่วน

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงกำลังเดินหน้า แต่กลุ่ม ซี.พี.ยังมีใจกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่า 290,000 ล้านบาท ล่าสุด ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด หลังคณะกรรมการคัดเลือกไม่เปิดซองที่ยื่นช้า 9 นาที

ซึ่ง “เมืองการบินอู่ตะเภา” ถือเป็นสมรภูมิแข่งขันของกลุ่มเจ้าสัวระหว่าง “ซี.พี.” ที่ยื่นในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าธนโฮลดิ้ง และพันธมิตร บมจ.อิตาเลียนไทย บมจ.ช.การช่าง และ บจ.บี.กริม
จอยต์เวนเจอร์ โฮลดิ้งส์

ส่วน “กลุ่มบีทีเอส” ผนึกนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แห่งบางกอกแอร์เวย์ส ยื่นในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS มี บมจ.การบินกรุงเทพ ถือหุ้น 45% บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ของคีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้น 35% และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ รับเหมาของตระกูล “ชาญวีรกูล” ถือหุ้น 20% มี “กลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยม” นำโดย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้, บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น และ บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็นมาแจม

โดยกองทัพเรือเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP net cost 50 ปี ผลตอบแทนที่รัฐจะได้ 59,224 ล้านบาท เป็นตัวชี้ขาด ต่างจากไฮสปีดที่ตัดเชือกกันด้วย “จำนวนเงินให้รัฐร่วมทุนน้อยที่สุด”

หมอเสริฐ-คีรี คว้าอู่ตะเภา

ผลเปิดซองราคาของกลุ่มบีทีเอสและกลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยม ออกมาแล้วเมื่อวันที่ 11 ต.ค. รอประกาศผู้ชนะเป็นทางการ 21 ต.ค.นี้ แม้ผลทางการยังไม่ออก แต่ข่าววงในระบุ “กลุ่มคีรี-หมอเสริฐ” ชนะขาดลอย โดยเสนอผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันให้รัฐมากถึง 3 แสนล้านบาท หากรวม 50 ปี แตะที่ล้านล้านบาท ทิ้งห่างกลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยมที่เสนอ 1.1 แสนล้านบาท ห่างกรอบราคากลางอยู่หลายเท่าตัว

วิเคราะห์ว่า งานนี้ “คีรี” อยากเอาคืน “ซี.พี.” ที่กดราคาต่ำ ตัดหน้าไฮสปีด

หากไม่มีอะไรพลิก คงเปิดซองที่ 4 เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมของกลุ่มบีทีเอสต่อไป จะด้วยราคาที่สูงลิ่วหรือไม่ รวมถึงต้องลุ้นต่อว่า จะมีเงื่อนไขพิสดารเหมือนไฮสปีดหรือไม่เช่นกัน

รายงานข่าวกล่าวว่า กลุ่มบีทีเอสเสนอรายได้ให้รัฐมาก เพราะสนามบินอู่ตะเภาเป็นธุรกิจกำไรมหาศาล ต่างจากรถไฟความเร็วสูง ถ้าได้ก็คุ้มค่ากับบางกอกแอร์เวย์สด้วย ที่มีธุรกิจการบินครบวงจรรองรับอยู่ รวมถึงดิวตี้ฟรี ส่วนบีทีเอสเป็นดีเวลอปเปอร์อสังหาฯและโรงแรม ด้านซิโน-ไทยฯก็เชี่ยวชาญสร้างโครงการขนาดใหญ่

ทั้งหมดคือ 2 บิ๊กโปรเจ็กต์ ในมือกลุ่มเจ้าสัวเมืองไทยที่จะขยายอาณาจักรสู่อีอีซี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีขอฤกษ์ “ปิยมหาราช” ไฮสปีดเลื่อนลงนาม 24 ตุลาคมนี้
ภาพนำวิดีโอ1
วันที่ 21 ตุลาคม 2562 - 08:30 น.

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะเป็นประธานในการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพีเอช)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามในครั้งนี้เลื่อนมาจากวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ฝ่ายซีพีเอช เคยแสดงความประสงค์จะลงนามในวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็น “วันปิยมหาราช” แต่นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจ ร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น และจะเดินทางกลับในช่วงเช้าของวันที่ 24 ตุลาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

ผุด TOD เมืองมรดกโลก ลงทุนหมื่นล้านบาทรับรถไฟไฮสปีดสองสาย
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 เวลา 15:47 น.

สนข. ศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟจังหวัดอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองเก่า พื้นที่ 206 ไร่ ตามรอยเมืองโยโกฮาม่าญี่ปุ่นและสถานีกลางในฮ่องกง

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าสนข.ศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก พื้นที่ 206 ไร่ รอบสถานีรถไฟพระนครศรีอยุทธา

โดยมีทั้งชานชาลาของรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ และรถไฟความเร็วสูงสายอีสานช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็น TOD ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับในเมืองโยโกฮาม่า ของญี่ปุ่น และ เช่นเดียวกันกับโมเดลที่พัฒนาสถานีกลางในประเทศฮ่องกง

สำหรับพื้นที่การพัฒนานั้นอยู่บริเวณรอบสถานีรถไฟหลักของจังหวัด แบ่งเป็นการพัฒนา 4 โซน ได้แก่


การพัฒนาโซนที่ 1 ย่านธุรกิจและพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน (Mixed-Use Complex) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟ จึงเหมาะสมกับการพัฒนาต่อยอดเป็นย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่ธุรกิจการค้า และแหล่งการสร้างงาน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อเนื่อง ตลอดทั้งวันเพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน สร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

จากปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีศูนย์การค้าปลีกระดับภูมิภาคเพียงแห่งเดียวซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่เมือง


โซนที่ 2 ย่านชุมชนการค้าแบบผสมผสาน (Mixed-Use Community) แนวคิดการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ผสมผสานกิจกรรมเชิงพาณิชย์และพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เน้นการเข้าถึงพื้นที่ด้วยระบบขนส่งมวลชนหลักและระบบขนส่งมวลรองที่มีศักยภาพและครอบคลุม การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport) เช่น การเดิน การใช้จักรยานโซนที่ 3 ย่านชุมชนที่อยู่อาศัยคุณภาพ (Residential Cluster + Potential Education Campus) เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นและเรียนรู้ เป็นแหล่งให้ผู้คนได้พบปะ และ ทำกิจกรรมร่วมกันบนพื้นที่แหล่งใหม่ของเมือง

โซนที่ 4 ย่านที่อยู่อาศัยและรองรับการขยายตัวของเมือง (Extended Township Development) เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นเรียนรู้

นายเริงศักดิ์ กล่าวว่าสำหรับแนวทางการลงทุนนั้นรูปแบบที่เหมาะสม คือ รัฐบาลเป็นผู้จัดการเรื่องที่ดินและพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้าและประปาเป็นต้น ขณะที่เรื่องระบบขนส่งเชื่อมต่อพื้นที่รวมถึงการพัฒนาเชิงพ่ณิชย์มีความเหมาะสมที่จะเปิดประมูลแบบ PPP ให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและรับความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา TOD ดังกล่าวจะทำให้มีดีมานด์ในการลงทุนคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเมนต์ไม่เกิน 8 ชั้น สอดคล้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้นเพิ่มขึ้นอีกหากมีการพัฒนา รถไฟความเร็วสูง

เนื่องจากมีความต้องการที่อยู่อาศัยจากแรงงานในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงเพื่อ หลีกหนีความแออัด และต้องการพื้นที่สงบ ทั้งยังพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นโรงแรมรองรับ การประชุมระดับนานาชาติ และอุตสาหกรรมไมซ์ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูงมากได้

เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในระยะที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล และเป็นการพัฒนารูปแบบใหม่ ซึ่งยังไม่มีผู้พัฒนามากจึงมีระดับการแข่งขันต่ำ

นายเริงศักดิ์ กล่าวต่อว่าพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา เนื่องจากมีศักยภาพหลายด้าน เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ปี 2560 สูงถึง 403,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 5 ของประเทศ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 465,972 บาทต่อคนต่อ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมซึ่งในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวสูงถึง 7,600,000 คน อัตราการเติบโต 5.2 % ต่อปีตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ตั้งพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางบก ทางราง และทางน้ำ

รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างรถไฟฟ้าสายเหนือและสายอีสาน ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ TOD พระนครศรีอยุธยา คือ ภาครัฐต้องกำหนดกรอบนโยบายการลงทุน รูปแบบการสนับสนุน และข้อกฎหมายที่สนับสนุนให้มีความชัดเจน

การมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ มีช่องทางในการสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนทุกภาคส่วนมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆ ของโครงการ และมีรูปแบบการลงทุนที่มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับลักษณะการพัฒนา TOD ในพื้นที่ และที่สำคัญคือต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าการลงทุนพัฒนาพื้นที่ TOD ดังกล่าวจะเป็นการลงทุนมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท บนพื้นที่ 206 ไร่ เนื่องจากมีแผนพัฒนาทั้งห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกผสมกับย่านการค้าขนาดใหญ่ ไปพร้อมกับโรงแรมและศูนย์ประชุมนานาชาติเพื่อรองรับอุตสาหกรรมไมซ์

นอกจากนี้ยังแผนลงทุนคอนโดมิเนี่ยมและที่อยู่อาศัยแบบไฮเอนด์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สนข.ได้ปักธงการพัฒนา TOD ต้นแบบไว้ 3 แห่ง ได้แก่
1.จังหวัดนครศรีอยุธยา
2.สถานีรถไฟจังหวัดขอนแก่น

ซึ่งมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายอีสานพาดผ่านรวมถึงรถไฟทางคู่สายอีสานอีกทั้งยังเป็นเมืองสมาร์ทซิตีอี้กด้วย

3.พื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี ดอนเมือง-อู่ตะเภา เป็นอีกพื้นที่ศักยภาพที่จะเชื่อมต่อโลจิสติกส์และการเดินทางในพื้นที่อีอีซีอีกด้วย


สนข.เปิดโมเดล TOD อยุธยา พัฒนา 206 ไร่รอบสถานีรถไฟ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 เวลา 18:01

สนข.เปิดผลศึกษา TOD อยุธยา ตีวงพื้นที่ 206 ไร่รอบสถานีรถไฟพัฒนา 4 โซน ผุดแหล่งธุรกิจ ศูนย์การค้า โรงแรม ชูศักยภาพพื้นที่ใกล้ กทม. ชูจุดแข็งท่องเที่ยว หนุนเมืองมรดกโลก

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ในพื้นที่เมืองต้นแบบ พระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ตามโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”

ซึ่งผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเบื้องต้นบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟอยุธยาแบ่งออกเป็น 4 โซน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 206 ไร่ มุ่งเน้นสนับสนุนธุรกิจการค้า การลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาที่เน้นรักษาทัศนียภาพที่งดงามของเมือง

โดยการพัฒนาโซนที่ 1 ย่านธุรกิจและพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน (Mixed-Use Complex) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟ จึงเหมาะสมกับการพัฒนาต่อยอดเป็นย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่เพื่อเป็นพื้นที่ธุรกิจการค้า และแหล่งการสร้างงาน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อเนื่องตลอดทั้งวันเพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน สร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จากปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีศูนย์การค้าปลีกระดับภูมิภาคเพียงแห่งเดียวซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่เมือง

โซนที่ 2 ย่านชุมชนการค้าแบบผสมผสาน (Mixed-Use Community) แนวคิดการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ผสมผสานกิจกรรมเชิงพาณิชย์และพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เน้นการเข้าถึงพื้นที่ด้วยระบบขนส่งมวลชนหลักและระบบขนส่งมวลชนรองที่มีศักยภาพและครอบคลุมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport) เช่น การเดิน การใช้จักรยาน

โซนที่ 3 ย่านชุมชนที่อยู่อาศัยคุณภาพ (Residential Cluster + Potential Education Campus) เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นและเรียนรู้ เป็นแหล่งให้ผู้คนได้พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันบนพื้นที่แหล่งใหม่ของเมือง

และโซนที่ 4 ย่านที่อยู่อาศัยและรองรับการขยายตัวของเมือง (Extended Township Development) เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นเรียนรู้


ผลการศึกษายังพบว่าการพัฒนา TOD พื้นที่ดังกล่าวมีที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และอพาร์ตเมนต์ไม่เกิน 8 ชั้นในปริมาณอุปทานต่ำอยู่ สวนทางกับอุปสงค์ทั้งในด้านการลงทุน และความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้นเพิ่มขึ้นอีกหากมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เนื่องจากมีความต้องการที่อยู่อาศัยจากแรงงานในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงเพื่อหลีกหนีความแออัด และต้องการพื้นที่สงบ

ทั้งยังพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นโรงแรมรองรับการประชุมระดับนานาชาติ และอุตสาหกรรมไมซ์ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูงมากได้ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในระยะที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล และเป็นการพัฒนารูปแบบใหม่ ซึ่งยังไม่มีผู้พัฒนามากจึงมีระดับการแข่งขันต่ำ

นายเริงศักดิ์กล่าวว่า ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ TOD พระนครศรีอยุธยา คือ ภาครัฐต้องกำหนดกรอบนโยบายการลงทุน รูปแบบการสนับสนุน และข้อกฎหมายที่สนับสนุนให้มีความชัดเจน การมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ มีช่องทางในการสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนทุกภาคส่วนมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆ ของโครงการ และมีรูปแบบการลงทุนที่มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับลักษณะการพัฒนา TOD ในพื้นที่ และที่สำคัญคือต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้ สนข.จะเปิดเวทีการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนในลักษณะเดียวกันนี้ในเมืองต้นแบบ 3 จังหวัด โดยจังหวัดขอนแก่นกำหนดจัดงานวันที่ 29 ตุลาคม 2562 และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandtod.com


สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา เนื่องจากมีศักยภาพหลายด้าน เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ปี 2560 สูงถึง 403,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 5 ของประเทศ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 465,972 บาทต่อคนต่อปี โครงสร้างประชากรมีคุณภาพซึ่งเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

โดยข้อมูลปี 2561 พบว่ามีสูงถึง 800,000 คน และมีอัตราการเติบโต 0.6 % ต่อปีตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการที่ยูเนสโกเสนอให้เป็นพื้นที่มรดกโลกในปี 2534 บนพื้นที่ 1,800 ไร่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวสูงถึง 7,600,000 คน อัตราการเติบโต 5.2% ต่อปีตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ตั้งพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางบก ทางราง และทางน้ำ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างรถไฟฟ้าสายเหนือกับสายอีสาน

สนข.หนุนพระนครศรีอยุธยาเมืองต้นแบบทีโอดี
อาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 เวลา 16.14 น.

สนข.จี้รัฐกำหนดกรอบลงทุนพัฒนาทีโอดีพระนครศรีอยุธยา หนุนเมืองมรดกโลก มุ่งสู่ธุรกิจการค้า- การลงทุน- แหล่งเรียนรู้ในอนาคต

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบ การขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เปิดเผยผลการศึกษาการพัฒนาเมืองควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือทีโอดี จ.พระนครศรีอยุธยาว่า มีความพร้อมที่จะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเบื้องต้นบริเวณ โดยรอบสถานีรถไฟอยุธยาของสนข. แบ่งออกเป็น 4 โซน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 206 ไร่ มุ่งเน้นสนับสนุนธุรกิจการค้า การลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาที่เน้นรักษาทัศนียภาพที่งดงามของเมือง

สำหรับโซนที่ 1 ย่านธุรกิจและพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน (Mixed-Use Complex) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟ จึงเหมาะสมกับการพัฒนาต่อยอดเป็นย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่ธุรกิจการค้า และแหล่งการสร้างงาน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน สร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จากปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีศูนย์การค้าปลีกระดับภูมิภาคเพียงแห่งเดียวซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่เมือง

โซนที่ 2 ย่านชุมชนการค้าแบบผสมผสาน (Mixed-Use Community) แนวคิดการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ผสมผสานกิจกรรมเชิงพาณิชย์และพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เน้นการเข้าถึงพื้นที่ด้วยระบบขนส่งมวลชนหลักและระบบขนส่งมวลรองที่มีศักยภาพและครอบคลุม การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport) เช่น การเดิน การใช้จักรยาน

โซนที่ 3 ย่านชุมชนที่อยู่อาศัยคุณภาพ (Residential Cluster + Potential Education Campus)เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นและเรียนรู้ เป็นแหล่งให้ผู้คนได้พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันบนพื้นที่แหล่งใหม่ของเมือง และ

โซนที่ 4 ย่านที่อยู่อาศัยและรองรับการขยายตัวของเมือง (Extended Township Development) เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย รวมถึงการสร้างสรรค์พื้นที่เล่นเรียนรู้

" ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ TOD พระนครศรีอยุธยา คือภาครัฐต้องกำหนดกรอบนโยบายการลงทุน รูปแบบการสนับสนุน และข้อกฎหมาย ให้มีความชัดเจน การมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ มีช่องทางในการสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนทุกภาคส่วนมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆ ของโครงการ และมีรูปแบบการลงทุนที่มีความเป็นธรรม และทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเมืองต้นแบบจังหวัดขอนแก่น วันที่ 29 ต.ค.62 และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ในเดือนพ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2019 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

'ซีพี' ยื่นเซ็นไฮสปีดเทรน 24 ต.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 21 ตุลาคม 2562

“คณิศ” เผยรฟท.-ซีพีเอช ลงนามในสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 24 ต.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกฯเป็นประธาน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)เปิดเผยว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ - ดอนเมือง - อู่ตะเภา) มูลค่าการร่วมลงทุนลงทุน 2.2 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ มีกำหนดที่จะลงนามในสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม) ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น.ที่ห้องสีฟ้า ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการลงนามในสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ซีพี' ยื่นเซ็นไฮสปีดเทรน 24 ต.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 21 ตุลาคม 2562

“กลุ่มซีพี” ขยับวันเซ็นสัญญา “ไฮสปีดเทรน” เร็วขึ้นเป็น 24 ต.ค.นี้
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ขยับเร็ว1วัน เซ็นไฮสปีด 24 ตุลา
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สัญญาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน เซ็นไวขึ้น 1 วัน ศักดิ์สยามยัน ไม่มีสัญญาเอื้อเอกชน

การประชุมมอบนโยบาย ติดตามผล และตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับร้องเรียน 1584 จากกรมขนส่งทางบก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในประเด็นการเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน โดยเปิดเผยว่า เดิมทีเรากำหนดวันลงนาม คือ 25 ต.ค.62 แต่ทางกลุ่ม ซีพี แจ้งว่ามีความพร้อมจะลงนามในวันที่ 24 ต.ค.นี้ ซึ่งทางเราเองก็พร้อม โดยในวันดังกล่าว จะมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.30 น. ซึ่งผมมั่นใจว่าดำเนินการเซ็นสัญญาได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงการพัฒนาประเทศต่อไป



รมว.คมนาคม เผยต่ออีกว่า เมื่อเซ็นสัญญาทางปลัดกระทรวงฯ จะเร่งรัดการดำเนินงานทั้งการส่งคืนพื้นที่และติดตามการรื้อถอนสาธารณูปโภค โดยจะสรุปออกมาเป็นแผนว่าแต่ละวันเราดำเนินการคืบหน้าส่วนไหนไปบ้าง ซึ่ง ณ วันนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนทั้งการปรับสัญญาหลักโดยเฉพาะการเอื้อต่อเอกชน ตนได้สั่งให้คณะกรรมการคัดเลือกตรวจสอบอย่างละเอียด และยืดตามสัญญาแนบท้าย ยืนยันไม่มีอะไรเกินหรือขาด


“ซีพี” พร้อมเซ็นไฮสปีด! 24 ต.ค. “ศักดิ์สยาม” สั่งเปิดเงื่อนไขสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 15:26
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 15:37

“ศักดิ์สยาม” เผยซีพีแจ้งพร้อมเซ็นสัญญา "รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน" 24 ต.ค. ขณะที่เร่งคณะทำงานฯ ทำแผนส่งมอบพื้นที่ และเตรียมเปิดเผยร่างสัญญาและเอกสารแนบท้าย ยันรัฐเริ่มจ่ายค่าร่วมทุนหลังสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งว่าจะมีการลงนามสัญญา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในวันที่ 24 ต.ค. 2562 เวลา 13.30 น. ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธาน

ทั้งนี้ เร็วกว่ากำหนดเดิมวันที่ 25 ต.ค. 2562 เนื่องจากทางกลุ่ม CPH แจ้งว่ามีความพร้อมก่อน ซึ่งไม่มีปัญหาทุกอย่างเป็นไปตามกรอบ การลงนามสัญญาเป็นการแจ้งว่าโครงการได้เริ่มต้นแล้ว ซึ่งคณะทำงานกำกับดูแลในการทำแผนส่งมอบพื้นที่ที่มี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน จะมีแผนรายละเอียดในการส่งมอบพื้นที่ และเร่งรัดกระบวนการในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่ชัดเจน

นายศักดิ์สยามยืนยันว่า “การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมยึดหลักธรรมาภิบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งหลังลงนามสัญญาโครงการกับเอกชนแล้วจะนำรายละเอียดสัญญาทั้งหมด และเอกสารแนบท้ายให้สื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ เพื่อช่วยกันตรวจสอบว่ามีอะไรที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ เพราะคิดว่าวันนี้ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในหลายเรื่อง

เช่น ประเด็นการปรับร่างสัญญาหลัก หรือเขียนเงื่อนไขที่เอื้อเอกชนนั้นยืนยันว่าไม่มี ซึ่งก่อนที่จะกำหนดวันลงนามสัญญานั้นได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือคณะกรรมการอีอีซี ในเรื่องแผนการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งช่วงนั้นกระทรวงคมนาคม และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่ามีการปฏิบัติที่เอาเปรียบเอกชน แต่พอกำหนดวันลงนามสัญญาได้ข่าวก็เปลี่ยนเป็นเอื้อเอกชนอีก ซึ่งขอยืนยันว่าการดำเนินงานยึดความชัดเจนของเอกสารและเอกสารแนบท้าย ซึ่งได้กำชับไปยังคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องยึดกฎหมายและเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (Request for Proposal) ไม่ให้มีอะไรขาดหรือเกิน”

ผู้สื่อข่าวถามถึงการชำระเงินในส่วนที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 149,650 ล้านบาท โดยการแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 14,965 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รัฐจะเริ่มจ่ายเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% และเริ่มการให้บริการ อย่ากังวลทุกอย่างเป็นไปตาม RFP และกฎหมาย โครงการนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะพัฒนาพื้นที่อีอีซี


ออก พรฎ. เวนคืนที่ดินทำรถไฟความไวสูง ธันวาคม 2562 นี้

https://www.youtube.com/watch?v=PLt9nBRq_k0



“บิ๊กตู่” เปิดทำเนียบรับเจ้าสัว ซี.พี.เซ็นไฮสปีดอีอีซี 24 ต.ค.นี้ “ศักดิ์สยาม” ยืดจ่ายหนี้โฮปเวลล์
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 17:14 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การยืนยันวันลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท เป็นวันที่ 24 ต.ค.นี้ เกิดจากการตอบกลับของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เอกชนผู้ได้รับการคัดเลือกว่า พร้อมจะลงนามในวันดังกล่าว ซึ่งได้เชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 13.30 น. เป็นไปตามหลักการปกติ

เมื่อลงนามแล้วเสร็จ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงานด้านการส่งมอบพื้นที่ จะเร่งรัดการดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ยืนยันว่าจะใช้หลักธรรมาภิบาลในการดำเนินการ และเมื่อลงนามเสร็จจะนำสัญญาและเอกสารแนบท้ายมาเผยแพร่กับสื่อมวลชน เพื่อช่วยดูว่ามีสิ่งใดที่ยังไม่ทำตาม เพราะมีความคลาดเคลื่อนในหลายเรื่อง เช่น มีการกล่าวหามีการปรับร่างสัญญาหลัก หรือใส่เงื่อนไขเอื้อเอกชนเพิ่มเข้าไป ซึ่งไม่มีการทำแบบนั้นเลย

“ผมประหลาดใจ เพราะช่วงที่ประชุมเรื่องส่งมอบพื้นที่ตอนแรก ผมกับรองอนุทิน (อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม) ถูกกล่าวหาว่าเอาเปรียบเอกชน แต่พอกำหนดวันลงนามได้ก็หาว่าเราเอื้อเอกชนอีก ก็ไม่รู้ะว่ายังไง แต่ทั้งหมดนี้เอาความชัดเจนจากเอกสารแนบท้ายและสัญญาเป็นหลัก โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะต้องยึด RFP เป็นหลักในการดำเนินการ” นายศักดิ์สยามกล่าาว

ส่วนข่าวการปรับแก้เอกสารแนบท้ายสัญญาที่เปิดให้ยกเลิกสัญญาเมื่อส่งมอบพื้นที่ไม่ครบ ไม่เป็นความจริง เพราะในที่ประชุมการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทยได้ยืนยันกับเจ้าของหน่วยงานระบบสาธารณูปโภคทั้ง 8 แห่งแล้วว่า พร้อมดำเนินกันหมดก็จบ และการเขียนให้ “Exit” ในสัญญาถือว่าเป็นหลักปกติอยู่แล้ว แต่เราจะไม่ให้เกิดเรื่องแบบนั้น ตนในฐานะคณะอนุกรรมการอีอีซีและปลัดกระทรวงจะติดตามประเด็นนี้

ส่วนการจ่ายค่าอุดหนุน 117,227 ล้านบาท ที่มีข่าวว่าจะเบิกจ่ายเมื่อสร้างและเปิดเดินรถส่วนใดส่วนหนึ่งได้ก่อนนั้น ยืนยันว่าไม่มี ยึดตาม RFP คือต้องสร้างให้เสร็จทั้งเส้นทาง 100% และเปิดเดินรถทั้งเส้นทางจึงจะจ่ายค่าอุดหนุน ซึ่งมีกรอบดำเนินการอยู่คือ หลังสร้างเสร็จตามระยะเวลา 5 ปี

เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามถึงความคืบหน้าคดีโฮปเวลล์ นายศักดิ์สยามตอบว่า ได้ยื่นขอชะลอการบังคับคดีการจ่ายค่าชดเชย 25,000 ล้านบาท ในคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับกระทรวงคมนาคมแพ้คดีในศาลปกครองสูงสุดต่อ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด แต่ศาลจะให้เลื่อนอีกกี่วันก็ต้องรอการพิจารณาของศาลก่อน

ในตอนนี้ได้ตั้งคณะทำงานชุดใหม่มาดำเนินการเจรจากับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเศไทย) จำกัดแล้ว ประกอบด้วย นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน มีนายชยธรรม์ พรหมศร ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), ตัวแทนจากร.ฟ.ท., ตัวแทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นกรรมการ

โดยจะเอาข้อมูลต่างๆ มาดู ซึ่งมีจำนวนมาก จริงๆ มีคณะทำงานเดิมอยู่แล้ว แต่ได้หยุดไปเมื่อรัฐมีแผนจะฟ้องร้องขอรื้อฟื้นคดี แต่เมื่อบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัดยื่นขอเจรจาเข้ามาใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (18 ต.ค.) แต่ต้องรอการวิจิฉัยของศาลปกครองก่อนว่าจะให้ชะลอการจ่ายเงินหรือไม่ ถ้าให้ชะลอก็จะมีเวลาศึกษากระบวนการการประมูลทั้งหมด เพราะเอกสารมันเก่ามากตั้งแต่ปี 2533 แต่น่าจะใช้เวลาศึกษาไม่นาน ประมาณ 2 สัปดาห์ก็แล้วเสร็จ

“โฮปเวลล์ยังไม่ได้ยื่นประเด็นที่จะเจรจามา เราต้องกลับไปดูความถูกต้องและความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อน ถ้ากระบวนการประมูลไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้นก็เป็นโมฆะ ถ้าพบว่าทำผิดกฎหมายก็แจ้งความดำเนินคดี ก็คือต้องดูทีโออาร์ สัญญา และการปฏิบัติตามสัญญา” นายศักดิ์สยามทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2019 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นสัญญา‘ไฮสปีด’ 24 ตุลาแค่ฉากแรก
รายงานโดย : อนุวัฒน์ โพธิ์ทอง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 22 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3515
ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2562


ระทึกเข้ามาทุกขณะ กับการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความ เร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท ระยะทาง 220 กิโลเมตร ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ถึงนั้นนายกรัฐมนตรี "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" เปิดทำเนียบรับวันประวัติศาสตร์

ทั้งนี้หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน การจดปลายปากกาของฝั่งซีพีคงลื่นปรื๊ด ในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 นี้ และประเมินว่า การลงนามครั้งประวัติศาสตร์ กดปุ่มให้ “หัวจรวด” ทะยานไปข้างหน้า ในฐานะแกนหลักการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีคงเริ่มต้นขึ้น แต่หลังจากนั้นจะมีปัญหาอะไรตามมาหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่าคงจะมีแน่นอน

ทำให้นึกถึงประโยคของ เจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่พูดไว้ในหนังสือเล่มล่าสุดอย่างความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียว ในวลีที่ว่า “สุดท้ายไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยง คนที่ไม่เสี่ยงคือคนที่ไม่ทำอะไร” แต่คนที่เสียวสันหลังวาบๆ น่าจะเป็น รฟท.จากเงื่อนตายรัดคอ หากส่งมอบพื้นที่-รื้อย้ายสาธารณูปโภคพลาดเป้า



นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยํ้าว่า รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา ตั้งแต่ส่งมอบได้ทันที ในวันที่เอกชนคู่สัญญาชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนจนถึงไม่เกิน 4 ปี หรือภายในเดือนมกราคม 2565 และประเมินว่าการก่อสร้างไฮสปีด จะแล้วเสร็จ พร้อมๆ กับ เมืองการบินและอู่ตะเภา อย่างเร็วปลายปี 2566 อย่างช้า ต้นปี 2567

เอาเป็นว่า หากวันใด กลุ่มซีพี พบเจออุปสรรคกับการลงมือไฮสปีด ให้นึกถึงวลีที่ว่า “สุดท้ายไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยง คนที่ไม่เสี่ยงคือคนที่ไม่ทำอะไร”


"ศักดิ์สยาม"เผยเลื่อนเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเร็วขึ้น 1 วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 ตุลาคม 2562 15:33

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เลื่อนกำหนดจากเดิมวันที่ 24 ตุลาคม เป็นวันที่ 25 ตุลาคม เนื่องจากกลุ่มซีพีมีความพร้อม จึงอยากจะลงนามก่อน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธาน ในเวลา 13.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล


ส่วนการส่งมอบพื้นที่ ได้เร่งรัดให้มีความชัดเจนมากที่สุด และต้องใช้หลักธรรมาภิบาล ยึดหลักกฎหมาย การดำเนินงานต้องยึดหลัก RFP (ข้อกำหนดในสัญญา) ขณะเดียวกัน เพื่อความโปร่งใสในสัญญาและเอกสารแนบท้ายโครงการทั้งหมดจะเผยแพร่ให้กับประชาชนได้รับทราบ

นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงกรณีเจรจาค่าโง่โฮปเวลล์ กับบริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย ที่ได้ประสานขอเจรจาใหม่กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาใหม่เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ยังไม่มีกำหนดวันเจรจาที่ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2019 4:58 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็น'ไฮสปีดเทรน'24ต.ค.นี้-'ศักดิ์สยาม'สั่งเปิดร่างสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 เวลา 04:29
ปรับปรุง: อังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 เวลา 05:27

ผู้จัดการรายวัน360 - "ซีพี" แจ้งพร้อมเซ็นสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน วันที่ 24 ต.ค. “ศักดิ์สยาม”เร่งทำแผนส่งมอบพื้นที่อย่างละเอียด และเตรียมเปิดเผยร่างสัญญาและเอกสารแนบท้าย ยันรัฐเริ่มจ่ายค่าร่วมทุน โครงการต้องเสร็จและเปิดให้บริการก่อน ส่วนค่าโง่”โฮปเวลล์” ตั้งคณะทำงานสู้คดี ดึง”ปปง.และป.ป.ท.” ร่วมทีมเจรจารอบใหม่ ขุดปมสัญญาเป็นโมฆะ รัฐไม่ต้องชดเชย


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจะมีการลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในวันที่ 24 ต.ค. 62 เวลา 13.30 น. ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล จากกำหนดเดิม 25 ต.ค. 62 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเป็นประธาน เนื่องจากกลุ่ม CPH แจ้งมีความพร้อมก่อน

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม ยึดหลักธรรมาภิบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด หลังลงนามสัญญาโครงการกับเอกชนแล้วจะนำรายละเอียดสัญญาทั้งหมด และเอกสารแนบท้ายให้สื่อมวลชน ช่วยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ เพื่อช่วยกันตรวจสอบว่า มีอะไรที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามถึงการ การชำระเงินในส่วนที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ วงเงิน 149,650 ล้าน โดยการแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 14,965 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รัฐจะเริ่มจ่าย เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% และเริ่มการให้บริการ

พลิกคดีโฮปเวลล์ ! “ศักดิ์สยาม”ดึง”ปปง.-ป.ป.ท.”ร่วมทีมเจรจารอบใหม่

ส่วนกรณีการจ่ายค่าโง่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) นั้น นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีกชุด ประกอบด้วย นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม, นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ,ผู้แทน จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และรฟท. เพื่อให้นำข้อมูลที่มีทั้งหมดมาศึกษา หาแนวทางว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง โดยจะมีการประชุมในวันที่ 22 ต.ค.นี้ และคาดจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อนำไปเจรจากับโฮปเวลล์ต่อไป

สำหรับการคืนเงินชดเชยกับ บริษัท โฮปเวลล์ จากการบอกเลิกสัญญา ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ภายในวันที่ 19 ต.ค. 2562 นั้น ขณะนี้ ทางกระทรวงฯ และรฟท.ได้มีการยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ในการขอชะลอการบังคับคดีแล้ว

ขณะที่คณะทำงานชุดใหม่ต้องพิจารณาคือ
1. สิ่งที่มีการดำเนินการมาถูกต้องหรือไม่ก่อน หากถูกต้อง ก็จะดูว่าค่าเสียหายเป็นเท่าไร หรือ
2. หากพบไม่ถูกต้อง ผิดตั้งแต่ต้น ซึ่งต้อง ดูทีโออาร์ ข้อสัญญา และการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงประเด็น การจดทะเบียนของบริษัท โฮปเวลล์ หากไม่ถูกต้อง สัญญานี้ก็เป็นโมฆะ เท่ากับรัฐไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/10/2019 5:48 am    Post subject: Reply with quote

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้ากองโฆษกและส่งเสริมการท่องเที่ยว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้ส่งหนังสือเชิญสื่อมวลชนร่วมทำข่าว พิธีลงนามโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร: CHP)

ทั้งนี้ พิธีลงนามสัญญาร่วมทุน (PPP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562 ระหว่างเวลา 12.30-14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามโครงการฯ

ในกำหนดการได้เปิดให้สื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องลงทะเบียนในเวลา 12.30 น. จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหารจะดินทางมาถึงสถานที่จัดงานในเวลา 13.30 น. ซึ่งภายในงานจะมีการลงนามเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่

การลงนามสัญญาร่วมทุน (PPP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน

การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.), การรถไฟฯ และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี
https://www.thebangkokinsight.com/226914/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 348, 349, 350 ... 542, 543, 544  Next
Page 349 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©