Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180103
ทั้งหมด:13491335
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2019 10:34 am    Post subject: Reply with quote

รัฐเงื้อง่าเมกะโปรเจ็กต์ฉุดตลาดรับเหมาหดตัว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สมาคมรับเหมาหั่นเป้าธุรกิจก่อสร้างเหลือ 3.25% จับตางบฯปี'63 ล่าช้า กระทบแผนลงทุนรัฐไม่ปล่อยโปรเจ็กต์ กดปุ่มประมูล หวั่นจีนผูกขาดเหล็ก งานก่อสร้าง

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมูลค่าอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยอยู่ที่ 400,000 ล้านบาท คาดว่าจะยังมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ของภาครัฐอยู่ ในปีนี้ตั้งเป้าอัตราเติบโตทั้งปีไว้ที่ 6.5% หากการลงทุนของภาครัฐไม่เกิด อาจจะทำให้เป้าลดเหลือแค่ 3.25%

"ถ้าภาครัฐลงทุนโครงการ 50% เอกชนก็จะลงทุนตามมาอีก 50% ยกตัวอย่าง รถไฟฟ้าสารพัดสี ถ้าสร้างเสร็จ จะเห็นว่า เอกชนจะไปทำโครงการเกาะแนวเส้นทาง ทันที ไม่ว่าจะคอนโดมิเนียมหรือห้างสรรพสินค้า หรือถ้าในต่างจังหวัด มีการสร้างถนนหรือมอเตอร์เวย์สายใหม่ เอกชน ก็จะทำโรงงานอุตสาหกรรม"

อย่างไรก็ตาม กำลังจับตามองว่าในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในส่วนของงบฯลงทุน 20% จากงบฯรวมทั้งหมด เป็นการลงทุนในส่วนงานใด สภาจะให้ผ่านหรือไม่ และจะลงทุนจริงจังแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาเห็นแต่การประกาศว่าจะทำ แต่ยังไม่เห็น การอนุมัติโครงการจริง ๆ

ยังต้องจับตาดูนโยบายอื่น ๆ เช่น ขึ้นค่าแรง, ควบคุมดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงขึ้น ซึ่งมีผลกับการขึ้นค่าแรงมากและขอให้ต่อยอดนโยบายเดิม เช่น การเที่ยวเมืองรอง เพราะเมื่อมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว เมืองรองมาก รัฐจะทำโครงสร้างพื้นฐานเพิ่ม ทำให้เอกชนเห็นลู่ทางในการลงทุน

รวมถึงเรื่องการกำหนดราคากลางในการประมูลงาน อยากให้รัฐอัพเดตให้ทันสมัย เพราะบางโครงการศึกษามานาน พอได้รับอนุมัติ ผลศึกษาเดิมก็ ล้าสมัยไปแล้ว ส่วนการจัดซื้อจัดจ้าง อยากให้แยกสองอย่างนี้ออกจากกัน เพราะความคล่องตัวไม่เหมือนกัน "การจ้าง" จะมีเงื่อนไขมากกว่า "การจัดซื้อ" โดยเฉพาะภาระด้านสิ่งแวดล้อม

ส่วนปัจจัยภายนอกที่อาจจะมากระทบ คือ ราคาเหล็กที่ต้องใช้ในประเทศ ที่กำลังมีปัญหาเรื่องเหล็กนำเข้าจากจีน เพราะเมื่อต้นปี บริษัท Hebsteel HBIS Global Holding Pte.Ltd. (HBIS) จากประเทศจีนเข้ามาควบรวม บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย) ทำให้ผู้รับเหมากำลังจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าจีนเข้ามาควบคุมตลาดในประเทศ อาจจะทำให้มีอำนาจกำหนดราคาเหล็กภายในประเทศได้

และยังพบว่า ใน พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ได้ตัดถ้อยคำ "สินค้าที่ได้แหล่งกำเนิด (local content)" ออก สมาคมจึงต้องการผลักดัน ให้สนับสนุนการใช้สินค้าของไทย โดยให้ใส่การใช้สินค้าที่ได้จากแหล่งกำเนิด

"รัฐทำรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ให้จีนเป็นแกนนำ ก็เริ่มกังวล ถ้าเข้ามาร่วมทุน หรือมาขายของ จะดีกว่านี้"

นอกจากนี้ สมาคมยังกังวลการที่ผู้รับเหมา จากต่างประเทศเข้ามาประมูลงาน โดยเฉพาะ จีนมาแข่งขันกับผู้รับเหมาไทยในหลายโครงการ อยากให้รัฐแก้กฎหมายให้เอื้อ ผู้ประกอบการไทยมากกว่านี้ ต้องลดสัดส่วนต่างประเทศลงเหลือ 40%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2019 10:51 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีแดงมาแล้ว 5ธ.ค.สายสีเขียวยิงยาวม.เกษตร
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด"
อังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 08.00 น.

สบายใจได้แล้ว! สายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) รถไฟฟ้า 2 ขบวนแรกมาถึงเมืองไทยแล้ว ส่วนสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนเหนือ(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วันที่ 5 ธ.ค.นี้ จะได้นั่งฟรียิงยาวๆ อีก 4 สถานีจากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สัปดาห์นี้ มาอัพเดทรถไฟฟ้า 2 สายใหม่กันบ้าง สายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) รถไฟฟ้า2 ขบวนแรกมาถึงเมืองไทยแล้ว ส่วนสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนเหนือ(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วันที่ 5 ธ.ค. นี้จะได้นั่งฟรียิงยาวๆ อีก 4 สถานีจากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือโครงการระบบรถไฟชานเมือง ที่เรียกกันชินปากว่า “รถไฟฟ้าสายสีแดง” (บางซื่อ-รังสิต) ตามที่ขีดเส้นสีในแผนแม่บทรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลของประเทศไทย หรือถ้ายังนึกไม่ออกก็ให้นึกถึงโครงการรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มาแทนที่เสาโฮปเวลล์ร้างบนทางรถไฟที่สร้างคู่ขนานถนนวิภาวดีรังสิตนั่นเอง อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ล่าสุด ขบวนรถไฟฟ้า 2 ขบวนเดินทางถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี หลังจากการรถไฟฯ ได้ร่วมพิธีส่งรถไฟฟ้า 2 ขบวนแรกจาก บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มกิจการค้าร่วม MHSC ร่วมกับ Mitsubishi Heavy Industries Ltd. และ Sumitomo Corporation ผู้ผลิตรถขึ้นเรือจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา

ฤกษ์ดี วันที่ 1 พ.ย. นี้ รฟท. จะทำพิธีต้อนรับขบวนรถไฟฟ้าชุดแรกของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่โรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง (Commuter Train Depot) สถานีกลางบางซื่อ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการ โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธาน สำหรับอีก 23 ขบวนที่เหลือ จะทยอยเดินทางถึงประเทศไทย เดือนละ 2-3 ขบวนจนครบทั้ง 25 ขบวนภายในกลางปี 63

ขบวนรถโดยสารชุดแรก 2 ขบวนนี้มีรถไฟรวม 10 ตู้ ประกอบด้วย 6 ตู้ 1 ขบวน และ 4 ตู้ 1 ขบวน รฟท.จะตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ของรถไฟฟ้า และทดสอบระบบตัวรถแบบจอดอยู่กับที่ก่อน จากนั้นจึงทดสอบแบบเคลื่อนที่ตรวจสอบระบบต่างๆ ขณะรถวิ่งต่อไป เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงประมาณเดือน ธ.ค.63 และเปิดเดินรถให้บริการจริงต้นปี 64 เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน สำหรับการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อนั้น งานหลักที่เป็นโครงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรม ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดง กำลังติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ

รฟท. นับหนึ่งปิดตำนานสถานีหัวลำโพงกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อย้ายการเดินรถทั้งหมดจากสถานีหัวลำโพงมาที่สถานีกลางบางซื่อในปี 64 ถือเป็นศูนย์กลางของระบบรางที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียนเชื่อมต่อทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) รวมทั้งโหมดการเดินทางอื่นๆ

ขณะเดียวกันรฟท. เคยประเมินไว้ว่า เมื่อเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต 26.3 กม. รวม 13 สถานี ต้นปี 64 จะมีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่น-1แสนคนต่อวัน พร้อมเตรียมโปรโมชั่นราคา 17 บาทตลอดสายช่วง 3-6 เดือนแรก จากค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาทตลอดสาย ให้บริการเดินรถด้วยความถี่ 8 นาทีต่อขบวน โดยจะหารือห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต เพื่อให้บริการรถชัตเติ้ลบัสและจุดจอดรถไว้ด้วย ขณะที่ผู้ประกอบการเดินเรือบางรายก็มาเจรจาในการเชื่อมต่อการเดินเรือคลองรังสิตกับรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายเหนือ จากหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ขณะนี้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดหรือ เคที วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นผู้บริหารโครงการ เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ1สถานีจากสถานีหมอชิตของบีทีเอสสายหลัก-ห้าแยกลาดพร้าวตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. ที่ผ่านมา กว่า 2 เดือนมีผู้โดยสารสูงสุดที่วันละ 35,002 คน โดยช่วงเวลาที่ผู้โดยสารเดินทางสูงสุดคือ 07.00-09.00 น.

นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการเคที บอกว่า ปลายเดือนนี้ จะเริ่มทดสอบขบวนรถเปล่าเพิ่มอีก 4 สถานีประกอบด้วย สถานีพหลโยธิน 24 (N10) สถานีรัชโยธิน (N11) สถานีเสนานิคม (N12) และสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) (N13) เตรียมความพร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ คาดการณ์ว่าการขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มถึงสถานีมก. จะส่งผลให้มีผู้โดยสารใช้งานเพิ่มอาจถึง 1 แสนคนต่อวันเนื่องจากเป็นเส้นทางที่อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการ และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่หลายแห่ง ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ตามที่ได้ศึกษาไว้เมื่อเปิดเดินรถเต็มระบบจากหมอชิตถึงสถานีปลายทางที่คูคตจะมีผู้โดยสารมากกว่า 2 แสนคนต่อวัน



การให้บริการประชาชนฟรีจากสถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานีมก.ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. จะใช้รูปแบบเดียวกับการเปิดเดินรถสถานีห้าแยกลาดพร้าว คือ ช่วงเวลาเร่งด่วน 07.00-09.00 น. และเวลา 16.30-20.00 น. ขบวนรถจะวิ่งถึงสถานีมก.สลับขบวนกับที่มาถึงสถานีหมอชิต และช่วงเวลานอกเร่งด่วน จะวิ่งถึงสถานีมก.ทุกขบวน

กทม.วางแผนไว้ว่า จะเปิดบริการตลอดสาย 19 กม. ถึงคูคต จ.ปทุมธานี ปลายปี 63 รวม 16 สถานี ประกอบด้วย สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีรัชโยธิน, สถานีเสนานิคม, สถานี ม.เกษตรศาสตร์, สถานีกรมป่าไม้, สถานีศรีปทุม, สถานีกรมทหารราบที่ 11, สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ, สถานีพหลโยธิน 59, สถานีสายหยุด, สถานีสะพานใหม่, สถานี รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

รถไฟฟ้าสายสีเขียวกำลังจะยิงยาวถึงคูคต จ.ปทุมธานี แค่อดใจรอรถไฟฟ้าสายสีแดงก็จะไปถึงรังสิต จ.ปทุมธานีเช่นเดียวกัน สัญญาณชัดรถไฟฟ้าหลากสีตามแผนแม่บท10 สาย กำลังขยายโครงข่ายถึงประชาชนเพื่อการเดินทางที่รวดเร็ว สะดวก และสบายยิ่งขึ้น

พลิกโฉมการเดินทางสู่ระบบรางนะเธอ ... รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าลืม!!ควบคุมอัตราค่าโดยสารให้เป็นธรรม หรือมีมาตรการจูงใจให้ประชาชนเอื้อมถึงรถไฟฟ้า อย่าให้เสียของ...สร้างแล้วไม่มีคนใช้เพราะเก็บแพงเว่อร์!!ก็แล้วกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2019 11:41 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” ลั่น!พร้อมจัดการคนเรียกเงิน บริษัทสร้างรถไฟฟ้า
ข่าวการเมือง
18 ตุลาคม 2562

“พล.อ.ประยุทธ์” เผยมีข่าวบางคนเรียกรับเงินบริษัทก่อสร้างรถไฟฟ้า ลั่นหากพบหลักฐานดำเนินคดีทั้งหมด ไม่บังคับใครให้รับร่างงบ63


วันที่ 18 ต.ค.2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ประเด็นการทุจริตในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลาย 10 ปี ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือดำเนินการแล้วมีปัญหา เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ในช่วงระยะทาง 1 กม. ซึ่งเป็นเรื่องการจัดทำแผนงานและงบประมาณ แต่เมื่อตนเข้ามาก็พยายามเร่งรัดดำเนินการ กระทั่งแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ พร้อมกับเร่งรัดพัฒนารถไฟฟ้าอีกหลายสาย เพราะเป็นความต้องการของประชาชน สมัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยใช้งบประมาณของภาครัฐที่ตั้งไว้อยู่แล้ว และได้ตั้งคณะกรรมการทำงานแบบรัฐร่วมเอกชน ฉะนั้น หากแบ่งการลงทุนเป็น 3 ส่วน รัฐจะลงทุน 1 ส่วน เอกชน 2 ส่วน เพื่อลดความเสี่ยงของฝ่ายรัฐ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาด้วยความถูกต้องเหมาะสม และรับฟังทุกฝ่าย รัฐบาลไม่สามารถชี้สั่งได้ ตนไม่เคยทำแบบนั้น



“ ส่วนเรื่องอ้างว่ามีการทุจริตต่างๆ ผมก็ได้ข่าวเหมือนกันว่ามีบางคนไปเรียกรับบริษัทเขา เดี๋ยวผมจะหาข่าวแล้วกันว่าใคร และถ้าใครพบเรื่องพวกนี้ ถ้ามีหลักฐานไปหามาเลยว่าใครเรียกเงิน ถ้าตรวจสอบพบจะดำเนินการทั้งสิ้น ขอให้เข้าใจกันตามนี้ ขอให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เมื่อเช้าที่หายไปเพราะไปงานจิตอาสา จากนั้นก็ไปถวายพระพร เห็นว่ามีคนถามหา นั่งรถก็ฟังท่าน เปิดทีวีฟังท่านมาตลอด เมื่อคืนกลับไปถึงตีหนึ่งครึ่ง ตีสองเข้านอนยังได้ยินเสียงของท่านอยู่เลย ดังนั้นจึงคิดถึงท่านเลยต้องมา และเย็นนี้ก็จะไปงานพระราชพิธี จึงขอเรียนให้ทราบ ไม่อย่างนั้นท่านจะหาว่าไม่ให้เกียรติ”



นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องงบประมาณ จะรับหรือไม่รับก็เรื่องของท่าน ตนไปบังคับไม่ได้ แต่สำคัญคือประเทศต้องเดินหน้า ส่วนเรื่องกู้เงินนั้น ส่วนเรื่องที่บอกว่ารัฐบาลกู้เงินจำนวนมาก อยากให้ไปดู เพราะหลักฐานมีอยู่ในช่วงรัฐบาลไหนไม่รู้ ระยะเวลาเท่านี้หากนับ 3- 5 ปี ของตนถ้ารวมยอดแล้วตนกู้น้อยกว่า และเท่าที่จำได้หากย้อนไปในระยะเวลา 10 ปี มีรัฐบาลเดียวซึ่งตนไม่อยากเอ่ยนาม ที่ทำงบประมาณแบบสมดุลได้ เพราะ IMF ไม่ทำโครงการแบบขาดดุล เป็นช่วงการกู้ IMF เป็นรัฐบาลไหนไม่รู้ไปหามา อย่าไปพูดแบบไม่มีหลักฐานไม่มีอะไร



เรื่องเงินคงคลังที่ถามกันว่าทำไมไม่เอามาใช้ ท่านไม่เข้าใจระบบงบประมาณอะไรเลยจะพูดแบบนี้ไม่ได้ กระทรวงการคลังต้องมีเงินสำรองจ่ายเก็บไว้ก้อนหนึ่ง จากนั้น เวลาที่จะใช้คณะกรรมการก็จะต้องอนุมัติ และจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณเรื่อยๆ ตอนนี้ในระยะเวลา 1 ปี จะมีการเก็บรายได้ส่งคลังถึงปีละ 2 ครั้ง ดังนั้น ในช่วงที่ภาษียังเข้ามาไม่ถึงแต่โครงการยังเดินหน้า ก็จะใช้เงินคงคลังใช้จ่ายไปก่อนจึงค่อยชดเชย


ส่วนกรณีบ่อนที่สีลม พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อย่าแค่ถ่ายรูปอย่างเดียวให้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย และตนจะตรวจสอบเอง แจ้งเดี๋ยวนั้นจะไปทันที แต่ก็ขอบคุณที่แนะนะ และขอให้คนเชื่อมั่นเป็นหัวหน้ารัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2019 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

อดใจรอ! สนข. ชี้ปี 2572 รถไฟฟ้าเชื่อมครบ 10 สาย 464 กม.

วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม 2562

ดร.ชยธรรม์ ชี้ปี 2572 ระบบรถไฟฟ้า 10 สายจะเสร็จสมบูรณ์ 464 กิโลเมตร เชื่อคนไทยจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ระบุ อนาคตกลไกรัฐต้องเอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้พัฒนาแบบไร้ทิศทางเช่นทุกวันนี้

วันที่ 29 ตุลาคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา ผ่าแผนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาและสถานีธรรมศาสตร์รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ตอนหนึ่ง ดร.ชยธรรม์ พรหมศร รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช) ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งการวางแผนพัฒนาเมืองพื้นที่ปลายทางถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ผ่านครม.แล้วเช่นกัน กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการสร้าง

"รัฐบาลมีโครงการสร้างรถไฟฟ้า 10 สายในเมือง 464 กิโลเมตร เหตุผลหลักเพื่อแก้ปัญหาจราจร ลดมลภาวะ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 120 กิโลเมตร หรือ 25% ได้แก่ สายสีเขียว สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายแอร์พอร์ตลิงก์ กำลังอยู่ในช่วงก่อสร้าง 170 กิโลเมตร ได้แก่ สายชมพู สายสีเหลือง สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สายสีเขียวส่วนต่อขยาย และสายสีส้ม ซึ่งจะทยอยเปิดทุกปีต่อจากนี้ไป เพิ่มประมาณ 20 กว่ากิโลเมตร "

ดร.ชยธรรม์ กล่าวว่า ปี 2572 ระบบรถไฟฟ้าน่าจะเสร็จสมบูรณ์ 464 กิโลเมตร หากระบบรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกันครบทั้ง 10 สาย เชื่อว่า รุ่นลูกหลานจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

รักษาราชการแทน ผอ.สนข. กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หรือ Transit Oriented Development (TOD) เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการวางแผน และออกแบบเป็นขั้นเป็นตอน จัดชุมชนใหม่ โดย TOD ถือเป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมือง หรือชุมชนแบบผสมผสานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยศึกษาถึงรูปแบบการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เส้นทางการสัญจร ทั้งการเดินเท้า การเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์และไม่ใช้เครื่องยนต์ ไม่ใช่ปล่อยให้พัฒนาแบบไร้ทิศทาง

"เราลงทุนหลายแสนล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผลกำไรกลับมาคือการพัฒนาเมืองที่ประชาชนจะได้ประโยชน์" ดร.ชยธรรม์ กล่าว และว่า ฉะนั้น อนาคตประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายพิเศษ TOD เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ ทั้งรถไฟระหว่างเมือง และรถไฟในเมือง ซึ่งการเวนคืน จะเป็นไปไม่ได้แล้ว ต้องหาวิธีการใหม่ที่สร้างความเป็นธรรมและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2019 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

รับมือสังคมผู้สูงอายุ คนพิการ ขึ้นรถลงเรือรถไฟฟ้าสะดวก
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 08:50 น.


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดทำแผนบูรณาการการเชื่อมโยงการเดินทาง เพื่อเข้าถึงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับคนพิการและผู้สูงอายุ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของที่ปรึกษาเรื่องการพัฒนาและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะ สำหรับเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างการขนส่งทั้งทางล้อ ราง เรือ เช่น เรือต่อรถเมล์ หรือเรือต่อรถไฟฟ้า เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกคนพิการและผู้สูงอายุ ตามมาตรฐานสากลและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) โดยจะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งจำเป็นในพื้นที่ที่มีประชาชนเดินทางใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะหนาแน่น เช่น ลิฟต์ ทางเท้าเดินเชื่อมต่อ ทางข้าม ทางลาด บันไดเลื่อน เป็นต้น

สำหรับพื้นที่ที่จะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น เบื้องต้น ได้คัดเลือกพื้นที่นำร่อง 6 ย่านสำคัญ ที่มีประชาชนใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะหนาแน่น ได้แก่

1.บริเวณรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์สถานีมักกะสัน
2.บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีจตุจักร
3.บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หมอชิต
4. บริเวณสนามบินดอนเมืองและรถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีดอนเมือง
5. บริเวณรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีอโศก และ
6.บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง และรถไฟฟ้า ใต้ดินสถานีหัวลำโพง

เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการและผู้สูงอายุอย่างครบวงจร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปรูปแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ม.ค.นี้

นายอานนท์ กล่าวอีกว่า เมื่อรูปแบบสิ่งอำนวยความสะดวกแล้วเสร็จจะมีการประชุมหารืออีกครั้งระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว อาทิ กรุงเทพมหานคร จะปรับปรุงทางเท้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม.เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2019 11:26 am    Post subject: Reply with quote

ก.ก.ถ.ไฟเขียว"อบจ.สมุทรปราการ"มีอำนาจดำเนินการโครงการ"รถไฟฟ้าโมโนเรล"สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 18:20

ก.ก.ถ.ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจดำเนินโครงการ "พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)" ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 มาตรา 17(21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร แต่ต้องดำเนินตามประกาศ ปว.ฉบับที่ 58 ที่กำหนดว่า ถ้าจะดำเนินกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

วันนี้( 30 ต.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เมื่อช่วงบ่าย ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้แจ้งมติคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ในการจัดการบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ รับทราบเพื่อดำเนินการ

คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีนายสมคิด เลิศไพทูรย์ เป็นประธานฯ เห็นชอบและมีมติว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)สมุทรปราการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 มาตรา 17(21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร

โดยให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว อบจ.สมุทรปราการ ต้องดำเนินให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ที่กำหนดว่า ถ้าจะดำเนินกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อบจ.สมุทรปราการ มีหนังสือสอบถามมายัง ก.ก.ถ. ว่าสามารถดำเนินการตามกฎหมาย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้ อบจ.มีหน้าที่ดังกล่าวได้หรือไม่

ก่อนเสนอให้ คณะอนุกรรมการฯชุดดังกล่าวพิจารณา โดย อบจ.สมุทรปราการ เห็นว่า โครงการดังกล่าวเพือรับรับการขยายตัวของ กรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงมีโครงการแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด และสามารถเชื่อมโยงกับชุมชนโดยรอบ

"ขณะเดียวกัน หากรถไฟไฟ้ารางเดี่ยว เป็นการขนส่งสาธารณระบบราง และจัดให้เป็นการให้บริการด้านการขนส่งมวลชน ที่อบจ.สามารถจัดให้มีและให้บริการได้ หากจำเป็นต้องถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบจ. เป็นการเฉพาะด้วยหรือไม่ หน่วยงานใดต้องดำเนินการถ่ายโอนให้ อบจ."

ทั้งนี้ อบจ.สมุทรปราการ ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และแสดงเส้นทางโครงการในท้องที่ 15 สถานี เสนอ ก.ก.ถ.ด้วย

สำหรับ โครงการนี้ อบจ.สมุทรปราการ ได้กำหนด แนวทางออกเป็น 9 เส้นทาง โดยได้สรุปใช้แนวทาง สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท นำร้อง ระยะทาง 29.79 กิโลเมตร รวม 15 สถานี โดยสถานีแพรกษา จะเป็นจุดสำคัญ เนื่องจากจะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ)

"อบจ.สมุทรปราการ ยังกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต่ำสุดที่ 15 บาท ปรับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาท/กิโลเมตร โดยไกลสุดสถานีแพรกษาถึงสถานีลาดกระบัง จะจัดเก็บ 90 บาท คาดใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 57,495.31 ล้านบาท" .
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2019 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ก.ก.ถ.ไฟเขียว"อบจ.สมุทรปราการ"มีอำนาจดำเนินการโครงการ"รถไฟฟ้าโมโนเรล"สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 18:20

THAI TIME :
🔴 #ข่าวดีคนปากน้ำ⁉️ รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท เกิดแน่‼ที่ประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ #ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ ทำได้ 🎉🎉🎉
-----------------------------------------------
🔻เมื่อวานนี้(30 ต.ค.)นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 4/2562 โดยมีวาระการพิจารณาหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)

🔻โดยที่ประชุมมีเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ(อบจ.) มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ได้

🔻ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 (21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร โดยในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ที่กำหนดว่า ถ้าจะดำเนินกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

🔻สำหรับการโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ของ อบจ.สมุทรปราการ จัดเป็นการขนส่งสาธารณะระบบรางมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด เพิ่มความสะดวกสบายในการสัญจร ลดระยะเวลาและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง ส่งเสริมภารกิจการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ศูนย์ประชุม และกิจการที่ต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ อันได้แก่ พื้นที่จังหวัดและพื้นที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกับเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบด้วย

🔻ส่วนเส้นทางที่ อบจ.สมุทรปราการเสนอมาให้พิจารณาได้แก่ สายสุวรรณภูมิ - แพรกษา - สุขุมวิท ..โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีสำโรง
https://www.facebook.com/thaitimeonline/photos/a.215927542296304/506428409912881/?type=3&theater

ก.ก.ถ. ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจ “ผุดโมโนเรล” สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน

ก.ก.ถ.ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจดำเนินโครงการ "พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)" ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 มาตรา 17(21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร แต่ต้องดำเนินตามประกาศ ปว.ฉบับที่ 58 ที่กำหนดว่า ถ้าจะดำเนินกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

.
สำหรับ โครงการนี้ อบจ.สมุทรปราการ ได้กำหนด แนวทางออกเป็น 9 เส้นทาง โดยได้สรุปใช้แนวทาง สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท นำร้อง ระยะทาง 29.79 กิโลเมตร รวม 15 สถานี โดยสถานีแพรกษา จะเป็นจุดสำคัญ เนื่องจากจะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ)

อบจ.สมุทรปราการ ยังกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต่ำสุดที่ 15 บาท ปรับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาท/กิโลเมตร โดยไกลสุดสถานีแพรกษาถึงสถานีลาดกระบัง จะจัดเก็บ 90 บาท คาดใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 57,495.31 ล้านบาท
https://www.facebook.com/Thfutu/posts/146379996728348
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 10:53 am    Post subject: Reply with quote

ปรับโมเดลตั๋วร่วม เร่งถก “บีทีเอส-MRT-แอร์พอร์ตลิงก์” Open รับบัตรข้ามระบบใน 6 เดือน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2562 เวลา 18:24
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เวลา 08:18


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า จากการติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วม และบัตรแมงมุมเพื่อให้ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) ซึ่งพบว่ายังมีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกประมาณ 18 เดือน ดังนั้น คณะกรรมการจึงมีแนวคิดในการเร่งรัดการใช้ระบบตั๋วร่วมให้ได้ก่อน โดยผ่านบัตรรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 4 ราย ซึ่งพบว่ามีผู้ถือบัตรแรบบิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ประมาณ 12.2 ล้านใบ ถือบัตร MRT Plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง) จำนวน 2 ล้านใบ ถือบัตรแมงมุมจำนวน 2 แสนใบ และบัตรรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีกจำนวนหนึ่ง เป้าหมายให้ทุกบัตรที่มีอยู่นี้สามารถใช้ข้ามระบบได้ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสะดวกมากขึ้น

ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งหารือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ใน 2 ประเด็น คือ 1. การปรับปรุงระบบหัวอ่าน (Reader) และระบบที่เกี่ยวข้องของแต่ละผู้ให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานของบัตรข้ามระบบได้ว่าจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน 2. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเท่าไร และใครเป็นผู้รับชอบ โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ สรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาตัดสินใจ

ทั้งนี้ หากการปรับปรุงใช้เวลาประมาณ 6 เดือน และเปรียบเทียบกับค่าลงทุนแล้วคุ้มค่า จะเร่งให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ ซึ่งเบื้องต้นผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งมีผู้ถือบัตรรถไฟฟ้ามากที่สุด รับทราบหลักการแนวทางการใช้บัตรข้ามระบบ โดยเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชน

“แนวคิดนี้คือจะให้ผู้ถือบัตรรถไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วสามารถใช้รถไฟฟ้าได้ทุกสาย เช่น บัตรแรบบิทใช้ขึ้น MRT หรือแอร์พอร์ตลิงก์ได้ ส่วนบัตร MRT Plus ของ รฟม.ใช้เงินบีทีเอส แอร์พอร์ตลิงก์ได้ เป็นต้น ไม่ต้องแยกซื้อบัตรแต่ละสาย เพราะเห็นว่าจะใช้เวลาปรับปรุงระบบเร็วกว่า ซึ่งนอกจากปรับหัวอ่านแล้ว จะมีระบบหักบัญชีหลังบ้านด้วย ซึ่ง สนข.ต้องไปทำการบ้าน โดยรูปแบบนี้จะเหมือนการที่ระบบทางด่วนและมอเตอร์เวย์สามารถใช้บัตร Easy Pass ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบัตร M-Pass ของกรมทางหลวง ใช้ข้ามระบบกันได้”

ส่วนระบบตั๋วร่วมแมงมุมที่ รฟม.อยู่ระหว่างร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) นั้น รฟม.จะต้องเร่งเสนอบอร์ด ซึ่งระบบตั๋วร่วมแมงมุมเป็น National Common Ticketing System หรือระบบกลาง ที่บัตรใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกสายเช่นกัน โดยใช้ผ่านบัตรเครดิต เดบิต ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าปัจจุบันมีคนไทยถือบัตรเครดิต เดบิต รวม 90 ล้านใบ และถือบัตรในระบบพร้อมเพย์ e-Money ประมาณ 80 ล้านใบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อ รฟม.พัฒนาระบบตั๋วร่วมแมงมุม EMV เสร็จ จะเป็นอีกทางเลือกให้ประชาชน ส่วนบัตรรถไฟฟ้าเดิม ทั้ง แรบบิท, MRT plus ซึ่งเป็นบัตรแบบเติมเงิน ยังใช้งานได้เหมือนเดิมอยู่ที่ความสะดวก ซึ่งข้อมูลจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาระบบบัตร EMV จะมีสัดส่วนประมาณ 70% ส่วนบัตรรถไฟฟ้าแบบเดิม ประมาณ 30% เนื่องจากบัตร 2 แบบมีรูปแบบในการทำการตลาดที่ต่างกัน ขึ้นกับผู้ประกอบการแต่ละรายจะทำโปรโมชันอย่างไร โดยเฉพาะบัตรแบบเดิมจะมีการให้ส่วนลดได้หลากหลาย เช่น บัตรรายเดือน บัตรผู้สูงอายุ หรือบัตรสำหรับนักท่องเที่ยว

“เต่ากัดยาง” บัตรแมงมุมเลื่อนอีก 18 เดือน “ชัยวัฒน์” ไม่ทนสั่งงัดแผน “เชื่อมบัตรเก่า”
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เวลา 08:40 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบ ตั๋วร่วมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) เป็นเทคโนโลยีดิจิทัล มาตรฐาน EMV (Europay Mastercard and Visa) เพื่อให้นำไปชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ทุกสาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่ามีความล่าช้ามาก รฟม.รายงานว่า จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบถึง 18 เดือน ถึงจะสมบูรณ์ เพราะต้องตกลงเรื่องรูปแบบธุรกิจและส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.เห็นชอบ คาดว่าจะใช้งานได้ช่วงเดือน เม.ย.64 จากเดิมที่กำหนดให้ใช้งานได้ไม่เกินปลายปี 62

ที่ประชุมเห็นว่าการรอพัฒนาตั๋วร่วม EMV เป็นเวลานานไม่ตอบโจทย์ให้ประชาชน และส่วนตัว ก็ไม่สบายใจอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นตรงกันที่จะมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปหารือกับ รฟม. แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และบีทีเอส ในการปรับระบบของบัตรโดยสารรถไฟฟ้า ที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้บริการข้ามทุกระบบ โดยนำไปชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายได้ไม่ว่าจะถือบัตรใด ได้แก่ บัตรแรบบิท ที่ใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส, บัตรแมงมุมและบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง/สายสีน้ำเงิน บัตร Smart Pass ที่ใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแรบบิทอยู่ 12 ล้านใบ บัตร MRT plus 2 ล้านใบ และบัตรแมงมุม 2 แสนใบ

“ต้องหารือว่าจะใช้เวลาแค่ไหนในการร้อยระบบบัตรโดยสารทั้งหมดให้ใช้งานข้ามระบบได้ และใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนเท่าไหร่ในการปรับปรุงระบบหัวอ่าน และใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โดยต้องหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และนำมาเสนอที่ประชุมพิจารณาความคุ้มค่าอีกครั้ง ซึ่งในเบื้องต้นทุกหน่วยงานทั้งบีทีเอส แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ และ รฟม.รับหลักการที่จะไปพิจารณาปรับระบบบัตรโดยสารของตัวเองให้สามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าทุกสายในปัจจุบันได้ ทั้งนี้ หากดำเนินการได้จะ วิน-วินทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน ที่ไม่ต้องไม่ซื้อหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม แม้ว่า บัตรโดยสารจะสามารถใช้ข้ามระบบได้ แต่การเติมเงินยังต้องเติมกับเคาน์เตอร์เจ้าของบัตรเท่านั้น”.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ก.ก.ถ.ไฟเขียว"อบจ.สมุทรปราการ"มีอำนาจดำเนินการโครงการ"รถไฟฟ้าโมโนเรล"สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 18:20

THAI TIME :
🔴 #ข่าวดีคนปากน้ำ⁉️ รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท เกิดแน่‼ที่ประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ #ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ ทำได้ 🎉🎉🎉
https://www.facebook.com/thaitimeonline/photos/a.215927542296304/506428409912881/?type=3&theater

ก.ก.ถ. ไฟเขียว อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจ “ผุดโมโนเรล” สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน

สำหรับ โครงการนี้ อบจ.สมุทรปราการ ได้กำหนด แนวทางออกเป็น 9 เส้นทาง โดยได้สรุปใช้แนวทาง สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท นำร้อง ระยะทาง 29.79 กิโลเมตร รวม 15 สถานี โดยสถานีแพรกษา จะเป็นจุดสำคัญ เนื่องจากจะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ)

อบจ.สมุทรปราการ ยังกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต่ำสุดที่ 15 บาท ปรับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาท/กิโลเมตร โดยไกลสุดสถานีแพรกษาถึงสถานีลาดกระบัง จะจัดเก็บ 90 บาท คาดใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 57,495.31 ล้านบาท
https://www.facebook.com/Thfutu/posts/146379996728348


เมื่อวานนี้ ครม. อนุมัติเดินหน้า “รถไฟฟ้าโมโนเรลสมุทรปราการ” เชื่อมสุวรรณภูมิ-ลาดกระบัง-BTS สายสีเขียว โครงการใหญ่ที่ชาวสมุทรปราการรอคอย
https://www.facebook.com/SMPHappySmile/photos/a.845860845540718/2414519298674857/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม" มั่นใจนโยบายลดราคารถไฟฟ้าเสร็จก่อนปีใหม่
เศรษฐกิจ
11 พฤศจิกายน 2019 10:32:15


กรุงเทพฯ 11 พ.ย. - รัฐมนตรีคมนาคมมั่นใจนโยบายปรับลดราคารถไฟฟ้าช่วยค่าครองชีพประชาชนเสร็จก่อนปีใหม่ เป็นของขวัญผู้ใช้บริการ แต่กำชับบอร์ด รฟม.-แอร์พอร์ตลิงค์ อนุมัติได้ต้องไม่เป็นค่าโง่

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้านโยบายการปรับลดค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนผู้ใช้บริการ มั่นใจว่าโครงการจะดำเนินการเสร็จก่อนเทศกาลปีใหม่เป็นของขวัญให้ผู้ใช้บริการ

ส่วนกระบวนการขั้นตอนที่เหลือขั้นสุดท้าย คือ การอนุมัติของบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ด บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารระบบ รถไฟฟ้า Airport rail Link ซึ่งในส่วนนี้รอการแต่งตั้งจากบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชุดใหม่ที่เพิ่งเข้าทำหน้าที่ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม การอนุมัติดำเนินการ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าที่ภาครัฐมีคู่สัมปทานกับเอกชน ทั้ง รถไฟฟ้า MRT และรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เข้าร่วมโครงการนั้น ได้สั่งการกำชับหน่วยราชการไปว่าต้องพิจารณาสัญญาสัมปทานอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้การดำเนินการตามนโยบายของรัฐกลายเป็นปัญหาค่าโง่เหมือนในอดีต

ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟท. กล่าวว่า บอร์ดการรถไฟฯ จะเร่งรัดการแต่งตั้งบอร์ดรถไฟฟ้า Airport rail Link ให้เร็วที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม

ขณะที่นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม. กล่าวว่า มั่นใจว่าการปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเสร็จเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ใช้บริการแน่นอน โดยบอร์ด รฟม.ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ครม.จะเร่งรัดดำเนินการเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ในฐานะ คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็ได้ศึกษารายละเอียดไว้แล้ว หากหน่วยปฏิบัติในส่วนของ รฟม.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด เชื่อว่าจะดำเนินการได้เร็ว แต่จะมีการนำเสนอเข้าสู่วาระการประชุมบอร์ด รฟม.ชุดใหม่นัดแรกหรือไม่ จะขอดูวาระการประชุมที่เตรียมไว้อีกครั้ง

สำหรับแนวทางการปรับลดค่าโดยสารที่คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สรุปไว้ก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ปกติค่าโดยสารคนละ 15-45 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 31 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 25-30 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 15-25 บาท/เที่ยว

รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ปกติค่าโดยสารคนละ 14-42 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 21 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 15-20 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 14-25 บาท/เที่ยว รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ปกติค่าโดยสารคนละ 16-42 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 25 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 20-25 บาท/เที่ยว และช่วง Off Peak จะอยู่ที่คนละ 16-30 บาท/เที่ยว และรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ปกติค่าโดยสารคนละ 16-44 บาท/เที่ยว เฉลี่ยต่อคนละ 29 บาท/เที่ยว เปลี่ยนเป็นตั๋วรายเดือนจะมีค่าโดยสารคนละ 26 บาท/เที่ยว ไม่มีช่วง Off Peak

ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการนี้ออกมาก็มีการคาดว่าจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10% ส่วนผลกระทบต่อรายได้ของผู้ให้บริการ ทาง กทม.ก็จะใช้แนวทางนำภาษีจากป้ายวงกลมที่ กทม.เป็นผู้จัดเก็บในส่วนนี้กว่าปีละ 14,000 ล้านบาท นำมาชดเชยเฉลี่ยปีละ 500-1,000 ล้านบาท/ปี ให้แทน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบอร์ด รฟท.จะประชุมวันที่ 14 พฤศจิกายน คาดว่าจะมีวาระแต่งตั้งบอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนบอร์ด รฟม.จะประชุมวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205 ... 277, 278, 279  Next
Page 204 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©