RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180244
ทั้งหมด:13491478
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 204, 205, 206 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"ศักดิ์สยาม" มั่นใจนโยบายลดราคารถไฟฟ้าเสร็จก่อนปีใหม่
เศรษฐกิจ
11 พฤศจิกายน 2019 10:32:15



รมว.คค.มั่นใจนโยบายปรับลดราคารถไฟฟ้าฯ เสร็จรับปีใหม่เป็นของขวัญ ปชช.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 15:44
วันนี้ (11 พ.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าของนโยบายการปรับลดค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ โดยมั่นใจว่าโครงการนี้จะดำเนินการแล้วเสร็จก่อนเทศกาลปีใหม่นี้ เพื่อเป็นของขวัญให้ผู้ใช้บริการ โดยขั้นตอนที่เหลือในขั้นสุดท้าย คือการอนุมัติของบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ด บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารระบบ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งยังรอการแต่งตั้ง จากบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทยชุดใหม่ที่เพิ่งเข้าทำหน้าที่ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2019 11:00 am    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม" เตรียมเคาะราคาค่ารถไฟฟ้า MRT สีม่วง 20 บาทตลอดสาย 19 พ.ย. นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:43
ปรับปรุง: 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:48


"ศักดิ์สยาม" เตรียมหั่น "ค่ารถไฟฟ้า MRT" สีม่วงเหลือ 20 บาทตลอดสาย เดินทาง 2 ต่อเหลือ 47 บาทต่อเที่ยว รฟม.เตรียมเคาะ 19 พย. หลังล่าช้าเหตุบอร์ดรัฐวิสาหกิจลาออกเหตุการเมือง

หลังจากที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาการลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนโดยการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการและมีราคาค่อนข้างสูงนั้น

ล่าสุด (13 พ.ย.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน จะพิจารณาเรื่องการลดภาระค่าครองชีพด้านรถไฟฟ้าให้กับประชาชน ดังนี้

มาตรการที่ 1 เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงโดยตั๋วประเภทนี้จะคิดอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวถูกลง จากปกติการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าทั้ง2 สายจะเก็บค่าโดยสารสูงสุดในอัตรา 70 บาทต่อเที่ยว โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 52 บาทต่อเที่ยว
ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 50 บาทต่อเที่ยว
ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 48 บาทต่อเที่ยว
ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 47 บาทต่อเที่ยว

มาตรการที่ 2 ลดอัตราค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ระหว่าง 9.00-15.30 น. และช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งปัจจุบันเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยว โดยมีรายละเอียดดังนี้

เดินทางเข้า-ออกระบบในสถานีแรก ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เก็บค่าโดยสาร 14 บาทเท่าเดิม


สถานีที่ 2 เก็บค่าโดยสาร 17 บาทเท่าเดิม สถานีที่ 3 เป็นต้นไป เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟม. จะเสนอเรื่องต่างๆ ที่ตกค้างให้บอร์ดพิจารณาด้วยเช่น การพิจารณาผลงานของผู้ว่าการ รฟม. และผลการดำเนินงานของ รฟม. เป็นต้น เนื่องจากเพิ่งปิดปีงบประมาณ 2562 ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีเรื่องค้างอยู่จำนวนมาก

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าดังกล่าว กรมการขนส่งทางราง (ขบ.) ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นอธิบดีในขณะนั้น ได้เรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมเพราะบอร์ดของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมส่วนใหญ่ได้ลาออกด้วยเหตุผลทางการเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2019 11:24 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน-แอร์พอร์ตลิงก์
พร็อพเพอร์ตี้ - ข่าวอสังหาฯ
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 16:24 น.

คมนาคมเล็งปรับอัตรา ลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับลดค่ารถไฟฟ้าว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.พิจารณาให้ความเห็นชอบการออกผลิตภัณฑ์เที่ยวโดยสารร่วม สำหรับการเดินทางข้ามสายระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) และสายสีน้ำเงินเดิมช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อท่าพระ-และหัวลำโพง-บางแค

สำหรับบุคคลทั่วไป มีจำนวน 4 ประเภทดังนี้

ส่วนมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในช่วงนอกระยะเวลาเร่งด่วน (Off – Peak hours) สำหรับการเดินทางภายในสายสีม่วงอัตราค่าโดยสารสำหรับบุคคลทั่วไป ตามระยะทาง ค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท โดยใช้บริการ 1 สถานี ค่าโดยสาร 17 บาท ถ้า 2 สถานีขึ้นไป เสีย 20 บาทตลอดสาย

สำหรับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบดำเนินการปรับลดอัตราค่าโดยสาร แต่เนื่องจากปัจจุบันอยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ซึ่งจะเร่งดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ การปรับลดค่าโดยสาร เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน จะดำเนินการปรับลดอัตราค่าโดยสาร สำหรับบัตรประเภทบุคคลทั่วไป ในช่วงเวลานอกเวลาเร่งด่วน (Off – Peak hours) จากอัตราค่าโดยสารตามระยะทางปกติสูงสุดอยู่ 45 บาท ปรับลดลงเหลือสูงสุด 25 บาท (15 – 25 บาท) ใน 3 ช่วงเวลา 05.30 – 07.00 น., 10.00 – 17.00 น. และ 20.00 – 24.00 น. เป็นระยะเวลา 3 เดือน ยกเว้นวันเสาร์ และอาทิตย์

โดยมีรายละเอียดการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า Airport Rail Link ดังนี้

ปรับอัตราลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า

การปรับลดอัตราค่าโดยสารในครั้งนี้ จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ ภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ และบอร์ดการรถไฟฯ



เตรียมหารือลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย
7HD ร้อนออนไลน์
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562

หลังจากที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาการลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนโดยการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการและมีราคาค่อนข้างสูงนั้น

วันนี้ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน จะพิจารณาเรื่องการลดภาระค่าครองชีพด้านรถไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยมาตรการที่ 1 จะเปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง โดยค่าโดยสารประเภทนี้จะคิดอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวถูกลง จากปกติการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดในอัตรา 70 บาทต่อเที่ยว ซึ่งตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 52 บาทต่อเที่ยว ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 50 บาทต่อเที่ยว ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 48 บาทต่อเที่ยว ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 47 บาทต่อเที่ยว

มาตรการที่ 2 จะลดอัตราค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ตั้งแต่เวลา 9.00 - 15.30 น. และช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งปัจจุบันเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยว โดยหากเดินทางเข้า-ออกระบบในสถานีแรกภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เก็บค่าโดยสาร 14 บาทเท่าเดิม สถานีที่ 2 เก็บค่าโดยสาร 17 บาทเท่าเดิม สถานีที่ 3 เป็นต้นไป เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟม. จะเสนอเรื่องต่างๆ ที่ตกค้างให้บอร์ดพิจารณาด้วยเช่น การพิจารณาผลงานของผู้ว่าการ รฟม. และผลการดำเนินงานของ รฟม. เป็นต้น เนื่องจากเพิ่งปิดปีงบประมาณ 2562 ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีเรื่องค้างอยู่จำนวนมาก

อนึ่ง ในการพิจารณาลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าดังกล่าว กรมการขนส่งทางราง (ขบ.) ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นอธิบดีในขณะนั้น ได้เรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะบอร์ดของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมส่วนใหญ่ลาออกด้วยเหตุผลทางการเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2019 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยเป็นความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 100
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work)เสร็จสมบูรณ์ 100% ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 94.15
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงเเคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 46.13 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 39.48
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 45.88 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 38.79
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 49.05
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2648373721876223&set=p.2648373721876223&type=3&theater
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2362129587337095/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2019 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานความก้าวหน้า โครงการรถไฟฟ้าตามหัวเมืองใหญ่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2648377451875850&set=p.2648377451875850&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2019 12:28 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน-แอร์พอร์ตลิงก์
พร็อพเพอร์ตี้ - ข่าวอสังหาฯ
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 16:24 น.


บอร์ด รฟม.ลดราคาตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เ

...นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม.ในวันนี้ว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระการปรับลดราคาค่าโดยสาร เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยพิจารณาอนุมัติใน 2 รูปแบบ คือ แบบเที่ยวและลดราคาช่วงนอกเวลาเร่งด่วน หรือ Off Peak Hours ซึ่งหลังจากmujบอร์ด รฟม.อนุมัติวันนี้จะมีการนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป คาดว่าการปรับลดราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้าทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วง จะสามารถดำเนินการได้ในช่วงหลังปีใหม่ 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่คนไทยตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม

สำหรับการลดราคารถไฟฟ้า 2 รูปแบบ สำหรับรถไฟฟ้า 2 สาย คือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินลดราคาแบบเที่ยวรวม 4 ประเภท ได้แก่ ตั๋ว 15 เที่ยว ราคา 780 บาท อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว ตั๋ว 25 เที่ยว 1,250 บาท อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว ตั๋วแบบ 40 เที่ยว 1,920 บาท อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว และตั๋วแบบ 50 เที่ยว 2,350 บาท อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว

ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ รฟม.ได้พิจารณาแนวทางการปรับลดค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak Hours) ตั้งแต่ 09.30 น.-15.30 น. โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบโปรโมชัน 3 แบบ คือ อัตรา 14 บาท (ค่าแรกเข้าเริ่มต้น) ค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้าและออกที่สถานีเดิม โดยไม่ออกจากระบบรถไฟฟ้า จำกัดเวลาภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นประเภทนั่งรถไฟฟ้าเที่ยว อัตรา 17 บาท สำหรับผู้โดยสารที่เดินทาง 1 สถานี และอัตรา 20 บาทตลอดสาย สำหรับผู้โดยสารมากกว่า 1 สถานี

ส่วนการปรับลดราคาในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ จะต้องรอให้บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารการเดินรถและเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีบอร์ดชุดใหม่อย่างเป็นทางการเสียก่อน เนื่องจากการประชุมบอร์ด รฟท. เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2562 ที่ผ่านมา บอร์ด รฟท. ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งบอร์ดแอร์พอร์ตลิงค์ เนื่องจากจะมีการหารือในการเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2657814020932193&set=a.1775055352541402&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2019 1:04 am    Post subject: Reply with quote

รัฐโหมสร้างรถไฟฟ้า 6 สาย ทำ “กทม.” รถติดหนึบ
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 20:44 น.

วันที่ 19 พ.ย. 62 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)เป็นประธานการประชุมเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจราจรจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมี ผู้บริหารกทม. สำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักเทศกิจ ผู้บริหารเขตและหัวหน้าฝ่ายโยธาในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม


โดยสำนักการโยธา เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กทม. 12 ปัญหา ประกอบด้วย

1.การวางแนว Barrier ที่คดเคี้ยวไม่ตรงทำให้การขับขี่รถยนต์เคลื่อนตัวช้า ควรจัดวางแนว Barrier ให้ตรงตามแนวเส้นทางจราจร ไม่ให้คดเคี้ยว บิดเอียง เพื่อที่รถจะได้ทำความเร็วเพิ่มขึ้น

2.ช่องทางกลับรถ (U-Turn) คับแคบ ทำให้รถยนต์ที่จะเลี้ยว-กลับรถ ติดสะสม และเคลื่อนตัวช้ามาก ควรจะเปิดช่อง U-Turn ให้กว้างเต็มช่องเสาและตอม่อเพื่อจะทำให้รถยนต์กลับรถได้สะดวกมากขึ้นพร้อมกัน

3.ปัญหากองดิน เศษหิน เศษปูน ในพื้นที่ก่อสร้าง ควรขนย้ายออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ในทันที 4.ปัญหาผิวช่องทางจราจร ชำรุด อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างขับขี่ และทำให้รถเคลื่อนตัวช้าลง ควรเร่งแก้ไขผิวจราจรให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ใช้งานชั่วคราว เกิดความคล่องตัว และการขับขี่ปลอดภัย


5.แนวก่อสร้างที่เสร็จแล้วหรือยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่ได้วางแผง Barrier ปิดช่องทางจราจร ควรให้มีการเปิดช่องทางจราจร บางส่วนเป็นการชั่วคราว ในช่วงที่ยังไม่ก่อสร้าง

6.ช่วงขึ้นลงที่คอสะพานข้ามแยกมีลักษณะเป็นคอขวดเกือบทุกจุด ให้เร่งก่อสร้างงานฐานรากเร็วขึ้น เพื่อที่จะแก้ปัญหาคอขวดที่สะพาน

7.ปัญหารถบรรทุก เครื่องจักร สัมภาระที่ไม่จำเป็นในพื้นที่ก่อสร้าง กีดขวางช่องทางจราจร ให้เร่งแก้ไข เสนอจัดระเบียบ รถบรรทุก เครื่องจักร และสัมภาระในพื้นที่

8.แนวก่อสร้างที่ฐานล่าง ตอม่อ เสาสะพานที่แล้วเสร็จ แต่ยังปิดช่องทางจราจร ต้องปรับผิวจราจรบางส่วนที่พอใช้ให้เป็นช่องจราจรชั่วคราวเพิ่มขึ้น

9.พื้นที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง หรือพักการก่อสร้างชั่วคราว แต่ปิดช่องทางจราจร ให้ปรับพื้นที่ และเปิดช่องจราจร เป็นครั้งคราวในพื้นที่ยังไม่เร่งก่อสร้าง

10.การเปิดแนว Barrier แล้วไม่ได้ทำการปิดให้เรียบร้อย ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเข้าใจผิดว่าสามารถเข้าไปใช้งานได้ ให้ทำการปิดกั้นให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย

11.ปัญหาไม่มีไฟฟ้าชั่วคราวและไฟฉุกเฉินตามแนวก่อสร้าง แนวทางการแก้ไข เสนอติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว และไฟฉุกเฉินตามแนวการก่อสร้าง เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถสังเกตเห็น

และ 12.ปัญหากองวัสดุตั้งวางเต็มพื้นที่ทางเท้าและไม่มีการปิดกันพื้นที่อาจทำให้ผู้ใช้ทางเท้าใช้พื้นที่ถนนในการสัญจรได้รับอันตราย แนวทางการแก้ไข เสนอปิดกั้นพื้นที่และจัดทำทางสัญจรให้กับประชาชน

ผู้ว่ากทม.กล่าวว่า มีความห่วงใยและให้ความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการจราจร ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า จำนวน 6 สาย ทำให้การจราจรติดขัดและส่งผลกระทบต่อประชาชน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการจราจรบริเวณดังกล่าว จึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

จากการหารือที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ รฟม. พร้อมดำเนินการปรับการตั้งวางแนว Barrier โดยจะใช้ผิวการจราจรให้น้อยที่สุด และกรณีที่ผู้รับเหมาใช้พื้นที่ก่อสร้างในช่วงเวลากลางคืนแล้วในช่วงเวลาเช้าไม่เคลื่อนย้าย Barrier เพื่อคืนผิวการจราจร จะดำเนินการตรวจสอบ หากพบจะลงโทษผู้รับเหมาอย่างจริงจัง

สำหรับจุดกลับรถปกติไม่มีเนื่องจากเป็นการตัดกระแสรถ ซึ่งทาง บช.น. รับไปพิจารณาเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้กลับรถได้ เป็นต้น โดยในส่วนของกมม.ได้กำชับสำนักการโยธากวดขันการดำเนินงานของผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง และเน้นย้ำให้ทุกสำนักงานเขตพื้นที่ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า จัดเจ้าหน้าที่เขตและเจ้าหน้าที่เทศกิจ ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการร่วมดำเนินการเคลื่อนย้าย Barrier ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนผิวจราจรและลดปัญหาการจราจรติดขัด

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่จำนวน 6 สาย ประกอบด้วย 1.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.7 กม. 2. สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางชื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 26 กม. 3.สายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.88 กม. 4.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 33 กม. 5.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 37.3 กม. และ6.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2019 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

บูมกรุงเทพฯโซนเหนือรับรถไฟฟ้า 3 สาย อัพเกรด “สะพานใหม่” ย่านธุรกิจการค้า-ที่อยู่อาศัย
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:29 น.


ผังเมือง กทม.อัพโซนย่านสะพานใหม่ ฮับพาณิชยกรรม แนะผู้ประกอบการพัฒนามิกซ์ยูสรับรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี “แดง-เขียว-ชมพู” ปั้นศูนย์ชุมชนเมือง แหล่งงาน ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม ดันตลาดยิ่งเจริญ แลนด์มาร์กใหม่ ขึ้นตึกสูงเป็นตลาดติดแอร์ สถานีวัดพระศรีฯจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง คิวต่อไปปักหมุด “มีนบุรี” คัด 53 จุดตัดรถไฟฟ้า ผุด TOD นำร่อง 5 สถานี บางหว้า บางแค บ้านทับช้าง

นางชูขวัญ นิลศิริ ผู้อำนวยการกองวางผังพัฒนาเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่างแผนพัฒนาโครงการศูนย์พาณิชยกรรมเมืองย่านสะพานใหม่จะครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ เขตบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม พื้นที่รวม 146 ตร.กม. หรือ 91,488 ไร่ โดยจะโฟกัสพื้นที่โดยรอบของสถานีรถไฟฟ้า 3 สถานี ได้แก่ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีสายหยุด และสถานีสะพานใหม่ พัฒนาในรูปแบบพาณิยชกรรมโดยรอบสถานี หรือ TOD

เพื่อให้สอดรับกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ปลายปี 2563 ที่กำหนดให้ย่านสะพานใหม่เป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองและเพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้กับภาคเอกชนนำไปดำเนินการพัฒนา ส่วนภาครัฐจะวางแผนในเรื่องระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นหลังรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เปิดให้บริการในปี 2563-2564

ผุดศูนย์ชุมชนเมืองแห่งใหม่

“สะพานใหม่ในผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่ กำหนดไว้เป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองที่อยู่ในโซนเหนือของกรุงเทพฯ เพราะเป็นพื้นที่มีศักยภาพ โดยขยายพื้นที่สีแดงที่เป็นพาณิชยกรรม และสีส้มที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางให้มากขึ้น เพราะมีรถไฟฟ้าผ่าน 3 สาย สีแดงทางถนนวิภาวดีฯ สีเขียวแนวถนนพหลโยธิน สีชมพูมาจากแครายไปรามอินทรา ยังมีสนามบินดอนเมืองที่จะมีการพัฒนาเพิ่ม ดังนั้น พื้นที่จึงมีศักยภาพจะพัฒนาเป็นจุดการปลี่ยนถ่ายการเดินทางและศูนย์กลางพาณิชยกรรมตอนเหนือ”

นางชูขวัญกล่าวอีกว่า แต่สภาพพื้นที่ปัจจุบันจะเป็นการพัฒนารูปแบบเก่า ๆ มีตลาดยิ่งเจริญเป็นแลนด์มาร์ก เป็นตลาดสดธรรมดา การพัฒนา 2 ข้างทางเป็นตึกแถว มีคอนโดมิเนียมขึ้นมาบ้างแต่อยู่ในแนวสายสีชมพูย่านถนนแจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ส่วนย่านพหลโยธินจะมีบริเวณจุดเชื่อมต่อกับสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และมีบริเวณสถานีสายหยุด จึงต้องวางแผนให้เกิดการพัฒนาให้ใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพสมกับเป็นย่านศูนย์การคมนาคมของพื้นที่โซนเหนือ

“ต้องวางผังกำหนดรายละเอียดเป็นตัวชี้แนะให้เอกชน เพราะไม่งั้นจะพัฒนาแต่คอนโดมิเนียมไปตามรถไฟฟ้าอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา แต่จริง ๆ แนวคิดต้องการให้เกิดมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์และสำนักงานรวมอยู่ด้วยในรูปแบบมิกซ์ยูส มีทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งงานและพาณิชยกรรมใน 3 สถานีนี้ เพื่อคนจะได้ไม่ต้องมูฟไปทำงานใจกลางเมือง ไม่เกิดปัญหาการจราจร มลพิษ”

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น การเชื่อมต่อของระบบถนนในซอย มีจุดเชื่อมต่อการเดินทางเข้ากับสถานีรถไฟฟ้า เช่น สกายวอล์ก เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทางเดินริมน้ำ ทางจักรยาน อาจจะออกแบบมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง มีที่จอดรถสาธารณะและจักรยาน

วัดพระศรีฯจุดเปลี่ยนถ่ายเดินทาง

นางชูขวัญกล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาในส่วนของสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จะเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางเพราะเชื่อมกับสายสีชมพู จะเป็นโหนดใหญ่กว่าสถานีอื่น แบ่งพัฒนาเป็น 7 โซน ได้แก่ 1.พื้นที่ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์ และส่วนแสดงพระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 8 สวนและพื้นที่สระน้ำ จุดที่พักวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทางเดินเชื่อมต่อไปสู่วัดพระศรีมหาธาตุ ทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้า และจุดเชื่อมต่อทางเดินลอยฟ้า

2.พื้นที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เช่น ร้านค้า จุดจอดรถแท็กซี่ สวนและพื้นที่สระน้ำ จุดรอวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 3.พื้นที่บริการชุมชน เช่น ลานอเนกประสงค์ พลาซ่าเชื่อมต่อทางเดินลอยฟ้า 4.พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สวนสาธารณะ ทางเดินลอยฟ้า 5.พื้นที่นันทนาการ เช่น พื้นที่ออกกำลังกาย พื้นที่กิจกรรมชุมชน ทางเดิน และทางจักรยานลอยฟ้า 6.ปรับปรุงพื้นที่สำนักงานเขตบางเขน เช่น อาคารจอดแล้วจร และ 7.พื้นที่เชื่อมต่อเส้นทางโครงการ เช่น สวนลอยฟ้า ทางเดินลอยฟ้า เป็นต้น

สายหยุดแหล่งที่อยู่อาศัย

ส่วนสถานีสายหยุด จะเป็นย่านอยู่อาศัยทั้งแนวราบและแนวสูง ไม่ใช่เชิงพาณิชยกรรม เนื่องจากมีถนนตัดใหม่ และมีคอนโดมิเนียมพัฒนาโดยรอบสถานี โดยวางคอนเซ็ปต์การพัฒนาจะเป็นสเตชั่นพลาซ่าหรือพื้นที่รองรับการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรเชื่อมต่อคนอยู่อาศัยเข้าไปทำงานในเมือง มีการพัฒนาภูมิทัศน์ มีทางจักรยาน ถนนสายหลักสายรองให้เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้สะดวกมากขึ้น

ขณะที่สถานีสะพานใหม่จะเป็นย่านพาณิชยกรรมหลักและรอง เนื่องจากใกล้ตลาดยิ่งเจริญที่มีแผนจะปรับปรุงอยู่แล้ว มีการสร้างสกายวอล์กเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้า จะเสนอแนะให้สร้างอาคารสูงเหมือนตลาดติดแอร์ เพิ่มฟังก์ชั่นอย่างอื่นไม่ใช่ตลาดสดอย่างเดียว มารวมกันเป็นเชิงพาณิชย์อย่างอื่นที่อยู่ฝั่งตรงข้าม พบว่ามีที่ดินแปลงใหญ่เสนอจะพัฒนาเป็นพลาซ่าและพาณิชยกรรม ส่วนตึกแถวเดิมจะปรับปรุงให้ทันสมัย และเพิ่มกิจกรรมรองรับกับรถไฟฟ้า เช่น ร้านค้า ร้านกาแฟ มินิมาร์ต เพื่อให้เป็นแหล่งงานในอนาคต

ปลดล็อกดอนเมืองสร้างเกสต์เฮาส์

“ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิตอาจจะพัฒนาอะไรได้ไม่มาก เพราะอยู่ท้ายสนามบินดอนเมือง ติดแนวขึ้น-ลงของสนามบิน ห้ามสร้างตึกสูง ในผังเมืองรวมกำหนดเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ส่วนฝั่งตรงข้ามช่วงสนามบินดอนเมืองย่านสรงประภาและตลาดดอนเมืองเก่า มีผู้ประกอบการโรงแรมขอปรับสีผังเมืองจากสีเหลืองเป็นสีแดง พาณิชยกรรมจะพัฒนาเป็นเกสต์เฮาส์รองรับผู้โดยสารมาใช้บริการสนามบินดอนเมืองสายสีแดง และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”

นางชูขวัญกล่าวอีกว่า สำหรับย่านหลักสี่บริเวณศูนย์การค้าไอทีสแควร์ ได้ขยายพื้นที่สีส้มตรงถนนแจ้งวัฒนะรองรับสายสีชมพู ส่วนย่านทุ่งสองห้องได้อัพโซนจากสีเหลืองเป็นสีส้มให้สามารถพัฒนาอาคารขนาดใหญ่เกิน 10,000 ตารางเมตรได้ แต่ต้องอยู่ติดถนนกว้าง 30 เมตร หรือรัศมี 500 เมตรสถานีรถไฟฟ้า

ปีหน้าบูมมีนบุรีรับสีส้ม-ชมพู

สำหรับถนนรามอินทราปรับจากพื้นที่สีเหลือง ได้ขยายพื้นที่สีแดงและสีส้มในรัศมี 1 กม.ตลอดแนว เปิดการพัฒนาให้รับกับสายสีชมพู เช่น เซ็นทรัล พลาซา รามอินทรา จากสีส้ม ได้ขยายสีแดงเพิ่ม

“ปีนี้วางผังย่านสะพานใหม่เสร็จ ปีหน้าจะศึกษาวางผังย่านมีนบุรีที่เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย คือ สีชมพู และสีส้ม อาจจะขยายพื้นที่มายังสถานีตลาดมีนบุรีด้วย ซึ่งในผังเมืองใหม่กำหนดมีนบุรีเป็นศูนย์ชุมชนเมืองและปรับพื้นที่จากสีเหลืองและสีเขียวลายบางส่วนมาเป็นพื้นที่สีแดง เปิดการพัฒนา”

นำร่อง TOD 5 สถานี

นอกจากนี้ จะคัดจุดตัดรถไฟฟ้า 53 สถานี พัฒนาเป็น TOD นำร่อง 5 สถานี โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง เข้า-ออกไม่สะดวก เช่น สถานีบางหว้าเป็นจุดตัดบีทีเอสกับสายสีน้ำเงิน สถานีเดอะมอลล์ บางแค เป็นสถานีปลายทางสายสีน้ำเงิน สถานีบ้านทับช้างของแอร์พอร์ตลิงก์ที่ต้องวางผังระบบโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2019 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

ม.เกษตรขวางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ต้นทุนพุ่ง-‘เจ้าสัวเจริญ’ขึ้นมิกซ์ยูส100ไร่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 - 18:33 น.

Click on the image for full size

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี” สะดุด ที่ดิน ม.เกษตรฯ ติดวางตอม่อช่วงแยกเกษตร-บางเขน แนะทำอุโมงค์แทน ต้นทุนบานหมื่นล้าน ชง “บิ๊กป้อม” เคาะ ธ.ค.นี้ ตั้งเป้าปี’64 ประมูล PPP 4.8 หมื่นล้าน แลกสัมปทาน 30 ปี ทุ่มเวนคืนที่ดิน 7.2 พันล้าน 20 สถานี เจ้าสัวเจริญรอจังหวะขึ้นมิกซ์ยูส 100 ไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงินลงทุน 48,386 ล้านบาท ที่หลายคนรอ หลังรัฐบาลอนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บรรจุไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (M-Map) มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรย่านเกษตร-นวมินทร์ และเพิ่มฟีดเดอร์รถไฟฟ้าสายหลักเชื่อมการเดินทางโซนตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพฯ โดย รฟม.จะเปิดประมูล PPP 30 ปี ในปี 2564 มีเวนคืนที่ดิน 7,254 ล้านบาท สร้าง 20 สถานี

สะดุด ม.เกษตรฯไม่ให้ใช้พื้นที่

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สนข.ได้ศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเสร็จแล้ว รออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) กำลังพิจารณารายละเอียด ล่าสุดโครงการกำลังมีปัญหา เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำหนังสือตอบกลับมายัง สนข. ลงวันที่ 1 พ.ย. 2562 แจ้งว่า ขอให้ สนข.ทบทวนรูปแบบอื่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาซึ่งมีนิสิตจำนวนมาก ตลอดจนประชาชนฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัย เนื่องจากจะมีการสร้างทางวิ่งเข้าไปในรั้ว ม.เกษตรศาสตร์ ช่วงแยกเกษตร-แยกบางเขน และมีสถานี ม.เกษตร อยู่ที่ประตู 2 โดยเกรงว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยและภูมิทัศน์โดยรอบ

ขออุโมงค์แทนทางยกระดับ

“ม.เกษตรฯขอให้ปรับจากยกระดับเป็นอุโมงค์ ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 7,000-10,000 ล้านบาท ต้องขุดอุโมงค์แนวถนนงามวงศ์วาน ตั้งแต่หน้ามหา’ลัยถึงหน้าเรือนจำลาดยาว ผ่านคลองลาดพร้าว-บางบัว อุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ของการประปาฯ เสาเข็มสายสีเขียว สายสีแดง ต้องเวนคืนขุดอุโมงค์ลึกมากกว่า 30 เมตร ความยาว 500-600 เมตร” แหล่งข่าวกล่าวและว่า


พิจารณาแล้วต้องทำโครงสร้างยกระดับตามเดิม ด้วยข้อจำกัดพื้นที่ที่มีอุโมงค์ทางลอด สะพานข้ามแยก จำเป็นต้องสร้างตอม่อไว้ฝั่ง ม.เกษตรฯ แต่ถ้าไม่ให้พื้นที่ก็ต้องใช้วิธีเวนคืนฝั่งตรงข้ามแทน เพราะถ้าสร้างตอม่อบริเวณกลางถนนต้องสร้างลึกลงไปมาก อาจมีปัญหาตามมา ซึ่งช่วงถนนพหลโยธินหากไม่เบี่ยงแนวเข้า ม.เกษตรฯ อาจต้องรื้อสะพานข้ามแยก เพราะเป็นจุดที่มีโครงสร้างอื่น ๆ หนาแน่น ส่วนช่วงถนนวิภาวดีฯต้องยกสูง 30 เมตร ข้ามโทลล์เวย์ ค่าก่อสร้างแพงขึ้นไปอีก

“ม.เกษตรฯได้ประโยชน์จากโครงการ เพราะมีสถานีรถไฟฟ้าทุกด้าน ทางฝั่งวิภาวดีฯมีสถานีสายสีแดง สีน้ำตาล ฝั่งพหลโยธินมีสถานีสายสีเขียว สีน้ำตาล การเดินทางจะสะดวก”

ขอเบี่ยงแนวหลบทางลอด

แหล่งข่าวกล่าวว่า รูปแบบก่อสร้างเดิมจะเบี่ยงแนวออกจากแนวอุโมงค์ทางลอดแยกเกษตร ออกแบบให้สายสีน้ำตาลยกข้ามสายสีเขียวที่ความสูง 26-29 เมตร วางโครงสร้างฐานรากและเสาในพื้นที่ ม.เกษตรฯ ตั้งแต่ทางแยกจนถึงหน้าอาคาร ธ.ก.ส. จากนั้นเบี่ยงแนวออกไปวิ่งตามแนวเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์

ส่วนแยกบางเขนจะเบี่ยงแนวไปด้านข้างสะพานข้ามแยกฝั่งมุ่งหน้าไปแยกเกษตร โดยเวนคืนอาคารพาณิชย์ริมถนนใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างสถานีบางเขนของสายสีน้ำตาล และเชื่อมสถานีบางเขนสายสีแดง โดยแนวเส้นทางออกแบบให้มีความสูง 8 เมตร ลอดโครงสร้างสายสีแดง และลอดโทลล์เวย์ไปใช้พื้นที่ ม.เกษตรฯ วางโครงสร้างฐานรากและเสา แล้วจึงเบี่ยงเข้ากึ่งกลางถนนเมื่อพ้นโครงสร้างเชิงลาดสะพานข้ามแยก

“แนวเส้นทางใช้พื้นที่ ม.เกษตรศาสตร์ 200 เมตร เป็นบริเวณหัว-ท้าย ส่วนหัวอยู่ในรั้วฝั่งพหลโยธิน ส่วนท้ายอยู่ริมรั้วฝั่งวิภาวดีรังสิต จะปักเสาตอม่อเข้าไปในพื้นที่ ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเสาตอม่อมีรูปแบบเดียวกับสายสีชมพู และสายสีเหลือง เพราะเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล”

นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้รับทราบข้อมูล ม.เกษตรฯแล้ว และได้ศึกษาปรับรูปแบบโครงการ 3-4 แบบ มีข้อกังวลถ้าไม่ใช้พื้นที่ภายใน ม.เกษตรฯ จะทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่ม 20% เตรียมรายงานปัญหาให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รับทราบในเดือน ธ.ค.นี้

เจ้าสัวเจริญปัดฝุ่นที่ดินรอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีที่ดินรอพัฒนา เช่น ที่ดินติดถนนเกษตร-นวมินทร์กว่า 100 ไร่ ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เยื้องกับ “นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว” ก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวจาก บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อยู่ระหว่างปรับโมเดลการพัฒนาจากศูนย์ประชุมและโรงแรม ล่าสุดปรับเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่และมีรีเทลด้วย

“การลงทุนคงยังไม่ใช่เร็ว ๆ นี้ รอจังหวะ เพราะอนาคตมีรถไฟฟ้าและทางด่วนผ่าน”

ส่วนรายอื่น อาทิ บจ.เค.อี.แลนด์ ของตระกูลเอี่ยมสกุลรัตน์ ผู้พัฒนาโครงการบ้านจัดสรร คริสตัล พาร์ค และคอมมิวนิตี้มอลล์ เดอะ คริสตัล และซีดีซี มีที่ดินรอพัฒนาอยู่ติด ถ.เกษตร-นวมินทร์ 15 ไร่ และบริเวณจุดตัดทางด่วน 100 ไร่, บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ เข้าไปลงทุนโครงการ เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน คอนโดฯไฮไรส์ 20 ชั้น บนที่ดิน 2 ไร่, บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) พัฒนาโครงการแอสปาย งามวงศ์วาน สูง 28 ชั้น บนที่ดิน 9 ไร่เศษ

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บจ.ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ เปิดเผยว่า แม้สายสีน้ำตาลยังไม่สร้าง แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบเข้าไปพัฒนาคอนโดมิเนียมรอแล้ว มียอดสะสมในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง 10,012 ยูนิต ขายไปได้แล้ว 82% ด้านราคาที่ดินแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ อยู่ที่ 2-5 แสนบาท/ตร.ว. คาดว่าจะปรับเพิ่มอีกเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2019 1:38 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ม.เกษตรขวางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ต้นทุนพุ่ง-‘เจ้าสัวเจริญ’ขึ้นมิกซ์ยูส100ไร่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 - 18:33 น.


With a due respect to KU Community, What a heck do you REALLY Want?! Why are you such a bunch of provocators who keep picking up the endless fight? When you reject Expressway along Ngam Wongwan, the government has come up with compromise with Brown Line Monorail. When Brown Monorail are at more public hearing to get EIA clearance, you just ask for underground monorail. Why DO YOU KEEP ASKING for MORE?
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 204, 205, 206 ... 277, 278, 279  Next
Page 205 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©