RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179647
ทั้งหมด:13490879
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2019 11:04 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งพิจารณาลด‘ค่ารถไฟฟ้า’ตลอด 24 ชม. เสนอ ครม.ไฟเขียว 17 ธ.ค.นี้

วันอังคาร ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รถไฟฟ้า ลดค่าตั๋วรถไฟฟ้า ของขวัญปีใหม่ บอร์ดรฟม.

คมนาคมสั่งพิจารณาลด‘ค่ารถไฟฟ้า’ตลอด 24 ชม. เสนอ ครม.ไฟเขียว 17 ธ.ค.นี้



3 ธันวาคม 2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมแผนอำนวยและปลอดภัยรองรับการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ว่าทางกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมเพื่อซักซ้อมแผนการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ และได้มีการกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ รวมถึงจะมีการประสานงานบูรณาการกับทางกระทรวงมหาดไทยในการรายงานสถานการณ์เหตุการณ์ต่างๆ พร้อมให้หัวหน้าส่วนราชการร่วมประชุมส่วนราชการเพื่อสรุปปัญหาและแนวทางในการแก้ไขเหตุรายงานช่วงเช้าของทุกวันเวลา


ส่วนการกำหนดแผนมาตราดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2562-5 ม.ค.2563 เนื่องจากเป็นช่วงหยุดยาวของเทศกาล ซึ่งคาดในวันที่ 27 ธ.ค.น่าจะมีผู้โดยสารเดินทางมากที่สุดเพราะเป็นวันศุกร์ ซึ่งได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ ส่วนช่วงหลังเทศกาลคือวันที่ 3-9 ม.ค. 2563 ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดรายงานการดำเนินงานให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ภายในวันที่ 9 ม.ค.2563 เพื่อสรุปผลดำเนินการตลอดเทศกาลอีกครั้ง



ทั้งนี้ ภาพรวมการเดินทางของประชาชน ในช่วงของเทศกาลปีใหม่ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนรถประมาณ 8,600,000 ล้านคัน โดยเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานคร บนทางหลวงแบ่งเป็นขาเข้า 4,100,000 ล้านคัน ขาออก 4,500,000 ล้านคัน แยกเป็นสายเหนือและอีสาน 4,800,000 ล้านคัน สายใต้ 1,600,000 ล้านคัน และสายตะวันออก 2,200,000 ล้านคัน

สำหรับการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น้อยลง - รถ ขสมก. (-2.7%) มากขึ้น - รถไฟฟ้า (+6%) และเรือโดยสาร (+17.8%) การเดินทางระหว่างจังหวัด/บินระหว่างประเทศ น้อยลง - รถ บขส. (-13.4%) รถไฟ (-13.3%) และเรือโดยสาร (-8%) มากขึ้น - เครื่องบิน (+6.1%) ขณะที่การเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขสมก.73% หรือ 6.35 ล้าน รถไฟฟ้า 23% หรือ 2.04 ล้าน เรือ 4% หรือ 0.37 ล้าน รวม 8.76 ล้าน (คนต่อเที่ยว) และการเดินทางระหว่างจังหวัด/บินระหว่างประเทศ เครื่องบิน 40% หรือ 2.60 ล้าน บขส.25% หรือ 1.64 ล้าน รถไฟ 24% หรือ1.52 ล้าน เรือ 11% หรือ 0.68 ล้าน รวม 6.4 ล้าน (คนต่อเที่ยว)


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยได้มอบหมายให้นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการพิจารณา ซึ่งได้สั่งการให้ตัดประเด็นเรื่องเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาเช่น การกำหนดเฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) การอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ เป็นต้น และหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาว่าสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นจึงจะสรุปรายละเอียดมายังกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้และเริ่มดำเนินการมาตรการต่างๆ ทันที โดยในระยะต้น 30 วัน เพื่อประเมินผลถึงผลกระทบของการดำเนินการ ประกอบการพิจารณาในการขยายระยะเวลามาตรการต่อไป



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สำหรับมาตรการลดค่ารถไฟฟ้า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ตามที่ คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1.ลดราคาค่าโดยสารแบบเหมาเที่ยว จำนวน 30 วัน หรือตั๋วเดือน รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (บางซื่อ-หัวลำโพง-บางแค) และรถไฟฟ้าสายสีม่วง(เตาปูน-บางใหญ่) ถูกสุด 47 บาทต่อเที่ยว ในกรณีที่การเดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย (บางใหญ่-บางแค) จากปัจจุบันค่าโดยสาร 70 บาท ลดลง 23 บาท คิดเป็น 32% โดยใช้ได้เฉพาะบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป บัตรโดยสารธุรกิจ และบัตรร่วมธุรกิจ แบ่งเป็น จำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท เฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว, จำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท เฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว, จำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท เฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว และจำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท เฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว

2.การลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) เหลือ 20 บาทตลอดสาย จากเดิมราคาสูงสุด 42 บาท ลดลง 22 บาท คิดเป็น 52% ช่วงเวลา ดังนี้ 09.00-17.00 ในวันจันทร์-ศุกร์ และ 06.00-24.00 ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยใช้ได้ทั้งบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ซื้อเหรียญโดยสาร โดยเดินทางเข้าสถานีแรกคิดค่าแรกเข้า 14 บาท ในส่วนเดินทาง 1 สถานี คิดค่าโดยสาร 17 บาท และเดินทาง 2 สถานีขึ้นไป 20 บาทตลอดสาย นอกจากนี้ ยังมีการลดค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ) ลดราคาตั๋วเดือน 44 เที่ยวราคา 1,100 บาท เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว จากเดิมค่าโดยสารสูงสุด 45 บาท ที่ยังอยู่ระหว่างรอการแต่งตั้งคณะกรรมการแอร์พอร์ตลิงก์เพื่อพิจารณาเห็นชอบและกำหนดกรอบเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2019 12:41 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ไม่ปลื้ม! “รฟม.-กทพ.” รื้อมาตรการลดค่าโดยสาร ทั้งวันแบบไม่มีเงื่อนไข
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 22:44

รฟม.- กทพ. เด้งรับนโยบาย “ศักดิ์สยาม” รื้อมาตรการลดค่าโดยสาร “สราวุธ” เตรียมถกบอร์ด รฟม. 11 ธ.ค. ลดราคาสีม่วงทั้งวัน 20 บาทตลอดสาย ด้าน “ผู้ว่าฯ กทพ.” ชงบอร์ด 24 ธ.ค. ลด 5 บาท ช่อง Easy pass ทั้งวัน ตั้งเป้าเริ่ม 27 ธ.ค.นี้

จากกรณีที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายในการลดค่าครองชีพของประชาชนด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ด้วย ระบบขนส่งมวลชนต่างๆ เช่น รถไฟฟ้า และทางด่วน ซึ่งหลังจากที่หน่วยงานได้นำเสนอมาตรการลดค่าโดยสารไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ล่าสุด นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า มาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทางด่วน ที่หน่วยงานได้นำเสนอเข้ามานั้น มีการกำหนดการให้ส่วนลดเป็นช่วงเวลา ซึ่งตนไม่เห็นด้วย จึงให้กลับไปพิจารณาใหม่ และให้เสนอกลับมาภายในวันที่ 10 ธ.ค.หรืออย่างช้าไม่เกินวันที่ 17 ธ.ค. เพื่อให้สามารถรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมตรี (ครม.) ให้รับทราบ

“ผมให้ตัดการมีเงื่อนไขเรื่องเวลาออกไป หากจะลดก็ต้องให้ทั้งวัน 24 ชม. มาเวลาไหนต้องได้ส่วนลดและให้ได้ทุกคน เช่น ทางด่วน ลดราคาให้ตอนตี 4 ถามว่าใครจะมาใช้บ้าง ผมมอบหมายให้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม รวบรวมข้อมูล โดยจะเป็นมาตรการนำร่อง ระยะ 30 วัน เพื่อประเมินผลตอบรับและผลกระทบ และหากสรุปและรายงานต่อ ครม.แล้ว ก็ให้เริ่มใช้ทันที เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนด้วย”

ซึ่งมาตรการนี้เป็นการลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับการให้ของขวัญปีใหม่ 2563 ที่จะมีการให้บริการฟรี เช่น ทางด่วน, มอเตอร์เวย์, รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ ลานจอดรถ สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ดำเนินการทุกปีอยู่แล้ว

@รฟม.ชงบอร์ด 11 ธ.ค.ปรับเงื่อนไขลดค่าโดยสารสีม่วง เป็นทั้งวัน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า จากที่ รมว.คมนาคม ได้ให้นโยบาย ดำเนินมาตรการ ลดค่าโดยสารโดยไม่มีเงื่อนไข การจำกัดเวลาใช้บริการนั้น ได้ให้ รฟม.วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขต่างๆ กรณีที่ให้ส่วนลด ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงตลอดทั้งวัน จากเดิมที่จะลดให้เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ช่วงเวลา 09.00-17.00 น. โดยเก็บค่าโดยสาร 14-20 บาท จากปกติ 14-42 บาทต่อเที่ยว

เช่น จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นหรือไม่ และ เปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับกรณีที่ไม่มีการลดค่าโดยสาร ว่า รายได้เพิ่มขึ้น หรือเท่าเดิม หรือลดลง อย่างไร และให้นำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด รฟม.ในวันที่ 11 ธ.ค. นี้ หากบอร์ด รฟม.พิจารณาแล้วเห็นชอบจะได้เริ่มดำเนินการต่อไป

@ทางด่วนปรับใหม่ ลด 5 บาททั้งวัน ช่อง Easy Pass จำนวน 6 ด่าน

นายสุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า ล่าสุด กทพ.ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการลดค่าผ่านทางด่วน โดยไม่มีเงื่อนไขด้านเวลาแล้ว โดยเตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ เพื่อให้เริ่มได้ในวันที่ 27 ธ.ค. 62

โดยจะเป็นปรับเปลี่ยนจากเดิมที่จะมีการลดค่าทางด่วนให้กับประชาชนที่ผ่านทางพิเศษจำนวน 5 บาทต่อเที่ยว สำหรับผู้ที่ใช้บัตรอีซี่พาส (Easy Pass) ตั้งแต่เวลา 04.00-07.00 น. มาเป็นให้ส่วนลด 5 บาท ตลอดทั้งวัน ใน 6 ด่านของทางด่วนขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 ประกอบด้วย

1. ด่านฯ ดินแดง 2. ด่านฯ ดาวคะนอง 3. ด่านฯ บางนา 4. ด่านฯ บางจาก
5. ด่านฯ ประชาชื่น ขาเข้า 6. ด่านฯ อโศก 4




และเปลี่ยนระยะเวลาในการให้ส่วนลด จากเดิม 2 เดือน โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้จากแผนเดิมที่ 3.3 ล้านบาทต่อเดือน โดยประเมินว่าจะมีปริมาณรถใช้ช่องEasy Pass ทั้ง 6 ด่านในเวลาที่กำหนด ประมาณ 1.8 หมื่นคันต่อวัน ส่วนมาตรการใหม่ ที่ลดค่าผ่านทาง 24ชม. ซึ่งจะดำเนินการระยะเวลา 1 เดือน โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 18 ล้านบาท โดยประเมินปริมาณรถใช้เพิ่มเป็น1-1.2 แสนคันต่อวัน

ส่วนรายได้ที่หายไปนั้น จะไม่กระทบต่อภาระงบประมาณที่ต้องนำไปอุดหนุน แต่อย่างใด เนื่องจาก ถือเป็นแคมเปญ ที่ กทพ.สามารถนำรายได้และดอกเบี้ย จากการเงินในบัตร Easy Pass มาใช้ชดเชยได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือบัตร Easy Pass ประมาณ 1.8 ล้านใบ โดยมีการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 8-9 แสนใบต่อวัน

อย่างไรก็ตาม มาตรการลดค่าผ่านทางช่องทาง Easy Pass นั้น นอกจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศตามนโยบายแล้ว ยังจะช่วย ลดความแออัดบริเวณหน้าด่าน และจูงใจให้คนหันมาชำระค่าผ่านทางด้วยระบบอัตโนมัติมากขึ้น

คมนาคมสั่งพิจารณาลด‘ค่ารถไฟฟ้า’ตลอด 24 ชม. เสนอ ครม.ไฟเขียว 17 ธ.ค.นี้

วันอังคาร ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รถไฟฟ้า ลดค่าตั๋วรถไฟฟ้า ของขวัญปีใหม่ บอร์ดรฟม.

คมนาคมสั่งพิจารณาลด‘ค่ารถไฟฟ้า’ตลอด 24 ชม. เสนอ ครม.ไฟเขียว 17 ธ.ค.นี้



3 ธันวาคม 2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมแผนอำนวยและปลอดภัยรองรับการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ว่าทางกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมเพื่อซักซ้อมแผนการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ และได้มีการกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ รวมถึงจะมีการประสานงานบูรณาการกับทางกระทรวงมหาดไทยในการรายงานสถานการณ์เหตุการณ์ต่างๆ พร้อมให้หัวหน้าส่วนราชการร่วมประชุมส่วนราชการเพื่อสรุปปัญหาและแนวทางในการแก้ไขเหตุรายงานช่วงเช้าของทุกวันเวลา


ส่วนการกำหนดแผนมาตราดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2562-5 ม.ค.2563 เนื่องจากเป็นช่วงหยุดยาวของเทศกาล ซึ่งคาดในวันที่ 27 ธ.ค.น่าจะมีผู้โดยสารเดินทางมากที่สุดเพราะเป็นวันศุกร์ ซึ่งได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ ส่วนช่วงหลังเทศกาลคือวันที่ 3-9 ม.ค. 2563 ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดรายงานการดำเนินงานให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ภายในวันที่ 9 ม.ค.2563 เพื่อสรุปผลดำเนินการตลอดเทศกาลอีกครั้ง



ทั้งนี้ ภาพรวมการเดินทางของประชาชน ในช่วงของเทศกาลปีใหม่ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนรถประมาณ 8,600,000 ล้านคัน โดยเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานคร บนทางหลวงแบ่งเป็นขาเข้า 4,100,000 ล้านคัน ขาออก 4,500,000 ล้านคัน แยกเป็นสายเหนือและอีสาน 4,800,000 ล้านคัน สายใต้ 1,600,000 ล้านคัน และสายตะวันออก 2,200,000 ล้านคัน

สำหรับการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น้อยลง - รถ ขสมก. (-2.7%) มากขึ้น - รถไฟฟ้า (+6%) และเรือโดยสาร (+17.8%) การเดินทางระหว่างจังหวัด/บินระหว่างประเทศ น้อยลง - รถ บขส. (-13.4%) รถไฟ (-13.3%) และเรือโดยสาร (-8%) มากขึ้น - เครื่องบิน (+6.1%) ขณะที่การเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขสมก.73% หรือ 6.35 ล้าน รถไฟฟ้า 23% หรือ 2.04 ล้าน เรือ 4% หรือ 0.37 ล้าน รวม 8.76 ล้าน (คนต่อเที่ยว) และการเดินทางระหว่างจังหวัด/บินระหว่างประเทศ เครื่องบิน 40% หรือ 2.60 ล้าน บขส.25% หรือ 1.64 ล้าน รถไฟ 24% หรือ1.52 ล้าน เรือ 11% หรือ 0.68 ล้าน รวม 6.4 ล้าน (คนต่อเที่ยว)


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยได้มอบหมายให้นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการพิจารณา ซึ่งได้สั่งการให้ตัดประเด็นเรื่องเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาเช่น การกำหนดเฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) การอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ เป็นต้น และหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาว่าสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นจึงจะสรุปรายละเอียดมายังกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้และเริ่มดำเนินการมาตรการต่างๆ ทันที โดยในระยะต้น 30 วัน เพื่อประเมินผลถึงผลกระทบของการดำเนินการ ประกอบการพิจารณาในการขยายระยะเวลามาตรการต่อไป



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สำหรับมาตรการลดค่ารถไฟฟ้า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ตามที่ คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1.ลดราคาค่าโดยสารแบบเหมาเที่ยว จำนวน 30 วัน หรือตั๋วเดือน รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (บางซื่อ-หัวลำโพง-บางแค) และรถไฟฟ้าสายสีม่วง(เตาปูน-บางใหญ่) ถูกสุด 47 บาทต่อเที่ยว ในกรณีที่การเดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย (บางใหญ่-บางแค) จากปัจจุบันค่าโดยสาร 70 บาท ลดลง 23 บาท คิดเป็น 32% โดยใช้ได้เฉพาะบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป บัตรโดยสารธุรกิจ และบัตรร่วมธุรกิจ แบ่งเป็น จำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท เฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว, จำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท เฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว, จำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท เฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว และจำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท เฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว

2.การลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) เหลือ 20 บาทตลอดสาย จากเดิมราคาสูงสุด 42 บาท ลดลง 22 บาท คิดเป็น 52% ช่วงเวลา ดังนี้ 09.00-17.00 ในวันจันทร์-ศุกร์ และ 06.00-24.00 ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยใช้ได้ทั้งบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ซื้อเหรียญโดยสาร โดยเดินทางเข้าสถานีแรกคิดค่าแรกเข้า 14 บาท ในส่วนเดินทาง 1 สถานี คิดค่าโดยสาร 17 บาท และเดินทาง 2 สถานีขึ้นไป 20 บาทตลอดสาย นอกจากนี้ ยังมีการลดค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ) ลดราคาตั๋วเดือน 44 เที่ยวราคา 1,100 บาท เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว จากเดิมค่าโดยสารสูงสุด 45 บาท ที่ยังอยู่ระหว่างรอการแต่งตั้งคณะกรรมการแอร์พอร์ตลิงก์เพื่อพิจารณาเห็นชอบและกำหนดกรอบเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2019 10:04 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายสีน้ำตาลสะดุด ‘ม.เกษตร’ค้าน/สผ.ตีกลับผลศึกษาEIA
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

Click on the image for full size

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี วงเงิน 50,000 ล้านบาท ว่าขณะนี้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ได้ส่งกลับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ทาง สนข.กลับมาจัดทำข้อมูลโครงการเพิ่มเติม

ทั้งนี้เนื่องจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอในที่ประชุมให้พิจารณาแนวเส้นทางโครงการเนื่องจากส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย และเสนอให้ สนข.ปรับแนวเส้นทางจากเดิมไปใช้แนวเส้นทางอื่น

นายเริงศักดิ์กล่าวว่า ในขณะนี้อยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมมากที่สุดที่พบว่าปัจจุบันแนวทางที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ใช้แนวเส้นทางเดิมวิ่งตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ผ่านถนนพหลโยธินและวิภาวดี ก่อนไปสิ้นสุดที่สถานีแคราย บนถนนงามวงศ์วาน ซึ่งหลังจากนี้จะเร่งสรุปแนวทางในการแก้ปัญหาผลกระทบตามที่ทางมหาวิทยาลัยเสนอมา

ทั้งนี้หากจะพัฒนารถไฟฟ้าสายนี้ตามแนวเส้นทางเดิมจะต้องลงทุนโครงสร้างรูปแบบตัวยูเพื่อครอบคลุมถนนและรถไฟฟ้าเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งส่งผลให้วงเงินลงทุนโครงการเพิ่มสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน ขณะที่แนวทางการก่อสร้างตอม่อร่วมกับโครงการทางด่วนสายเหนือตอน N2 ช่วงวงแหวนตะวันออก-แยกเกษตร สำหรับค่าก่อสร้างตอม่อร่วมกันนั้นอยู่ที่ 1,700 ล้านบาท ดังนั้นขณะนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเริ่มเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และเปิดประมูลได้เมื่อใด

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเปิดประมูลในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เป็นรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล เป็นฟีดเดอร์ผู้โดยสารเข้าสู่ระบบหลักเชื่อมรถไฟฟ้าสายหลัก 7 สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โครงการรถไฟฟ้าสายชมพู โครงการรถไฟฟ้าสายแดง โครงการรถไฟฟ้าเขียวเข้ม และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยมีแนวเส้นทางวิ่งตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรไปตามแนวถนนงามวงศ์วานและไปจบที่แยกแคราย รวมทั้งสิ้น 18 สถานี

รายงานข่าวจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่าเตรียมจะมีการรายงานปัญหาดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) รับทราบในเดือนนี้ พร้อมยืนยันว่าโครงการนี้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะได้ประโยชน์รวมถึงประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2019 7:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟสายสีน้ำตาลสะดุด ‘ม.เกษตร’ค้าน/สผ.ตีกลับผลศึกษาEIA
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.


เคลียร์ทุกประเด็น ทุกทางเลือกเส้นทางสายสีน้ำตาล หน้า ม.เกษตร ต้องทุบตึกมั้ย?? มีทางด่วนมาด้วยเหรอ?? มันมีผลกระทบกับ ม.เกษตรแบบที่เค้าว่าจริงๆ เหรอ

ก่อนอื่นผมต้องบอกชาวเกษตรก่อนว่า อ่านให้จบก่อนค่อยคอมเม้นนะครับ เพราะข้อมูลที่ผมได้มาจากฝั่งเกษตรมันไม่ตรงกับข้อมูลจากการศึกษาเลย

ผมเลยต้องมาเล่าให้คนรู้ความจริง และจะต้านก็ต้านจากพื้นฐานข้อมูล “จริง” เดียวกัน

ใครอยากจะอ่านเอกสารตัวเต็มตามลิ้งค์นี้นะครับ
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/ProjectOTP/2560/Project16/FS-ReportBrownLine.pdf

ใครยังไม่ได้อ่านโพสต์เดิมอ่านได้ตามโพสต์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/802634893508325/

REF: https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/807962429642238
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2019 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วม 4.0 ติดปมเอื้อประโยชน์ จับตาบอร์ด รฟม.ดันจ้างตรง “กรุงไทย”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 07:33
ปรับปรุง: 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 07:54


แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน วันนี้ (11 ธ.ค.) คาดว่าจะมีการเสนอบอร์ดเพื่อขออนุมัติลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่าง รฟม. กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาตั๋วร่วมเป็นระบบ 4.0 (ระบบเปิด) ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card)

การพัฒนาตั๋วร่วมเป็นระบบเปิดนั้นมีความล่าช้าเกือบ 2 ปีแล้ว โดยก่อนหน้านี้บอร์ด รฟม.ได้มีข้อสังเกตกรณีการทำสัญญาจ้างระหว่าง รฟม. กับกรุงไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยไม่เปิดประมูลได้หรือไม่ มีปัญหาด้านข้อกฎหมายหรือไม่ ซึ่ง รฟม.ได้รายงานว่าการให้ธนาคารกรุงไทยดำเนินการโครงการปรับปรุงระบบตั๋วร่วมจะเป็นการดำเนินการระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน สามารถทำได้ตามกฎกระทรวงการคลัง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ ไม่มีการยืนยันว่าค่าจ้างกรุงไทยเป็นวงเงินที่เหมาะสมหรือไม่ และเป็นวงเงินที่ถูกกว่าการที่ รฟม.เปิดประมูลคัดเลือกให้มีการแข่งขันทั้งข้อเสนอและราคาหรือไม่ อีกทั้งธนาคารกรุงไทยถือเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้บอร์ด รฟม.คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

การพัฒนาระบบตั๋วร่วม EMV มีวงเงินลงทุนกว่า 516 ล้านบาท โดยจ้างกรุงไทยในดำเนินการปรับปรุงระบบหลังบ้าน เคลียริ่งเฮาส์ ประมาณ 300 ล้านบาท ค่าลงทุนปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง, สายสีน้ำเงิน ประมาณ 216 ล้านบาท

ขณะที่ล่าสุดกระทรวงคมนาคม โดยคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่มีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้ปรับแนวทางเพื่อเร่งรัดการพัฒนาตั๋วร่วมระยะแรกภายใน 6 เดือน นี้ก่อน โดยให้ผู้ถือบัตรรถไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันทุกใบสามารถใช้รถไฟฟ้าได้ทุกสาย เช่น บัตรแรบบิทของบีทีเอส สามารถใช้ขึ้น MRT หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ได้ หรือบัตร MRT Plus ของ รฟม.ใช้ขึ้นบีทีเอส, แอร์พอร์ตลิงก์ได้

ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งหารือกับผู้เกี่ยวข้อง คือ รฟม. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในการปรับปรุงระบบหัวอ่าน (Reader) พื่อให้สามารถรองรับการใช้งานของบัตรข้ามระบบได้ และค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ซึ่งการใช้บัตรข้ามระบบนั้นมีข้อกังวลในเรื่องข้อมูลในบัตรโดยสาร ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะต้องรักษาความลับของลูกค้าที่ใช้งานข้ามระบบด้วย

ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแรบบิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ประมาณ 12 ล้านใบ ถือบัตร MRT plus ประมาณ 2 ล้านใบ ถือบัตรแมงมุมจำนวน 2 แสนใบ และบัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ บอร์ด รฟม.จะมีการวาระพิจารณาปรับปรุงมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดยไม่มีเงื่อนไขด้านเวลาใช้บริการ ตามนโยบายนายศักด์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ซึ่งจะเป็นการให้ส่วนลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงตลอดทั้งวัน จากเดิมที่จะลดให้เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ในวันธรรมดา (‪‪จันทร์-ศุกร์‬‬) ช่วงเวลา ‪‪09.00-17.00‬‬ น. โดยเก็บค่าโดยสาร 14-20 บาท จากปกติ 14-42 บาทต่อเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2019 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

เรารวยพอจะใช้รถไฟฟ้าหรือยัง? ค่ารถไฟฟ้าไทยแพงจริงหรือ?
ณัฐชนน ปราบพล
16 ธันวาคม 2019
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2019 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 63 ทุ่ม 7 แสนล้าน ประมูลรถไฟฟ้า-ทางคู่ 2,321 กม.
ออนไลน์เมื่อ 18 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,532
วันที่ 19-21 ธันวาคม 2562

รัฐบาลให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบราง ทั้งนี้ หากยืดระยะทางได้ไกลมากเท่าไหร่ยิ่งกระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่เพิ่มการจ้างงาน กระจายเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการขับเคลื่อน นอกจากความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดผลกระทบด้านพลังงาน รวมทั้งฝุ่นพิษสำหรับระบบรางพร้อมเปิดประมูลในปี 2563 ทั้งรถไฟฟ้า เชื่อมโยงในเขตกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค รถไฟทางคู่ ทางคู่สายใหม่ มูลค่าไม่ตํ่ากว่า 7 แสนล้านบาท เพิ่มระยะทางมากถึงกว่า 2,321 กิโลเมตร คาดว่าแต่ละเส้นทางจะเปิดใช้ได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการรฟม. ยืนยันว่า ปีหน้าจะเปิดการประมูลรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง เพื่อดึงคนใช้ระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้น เช่นเดียวกับแหล่ง
ข่าวจาก รฟท.ที่ระบุว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบราง เชื่อว่าปีหน้าจะเกิดการแข่งขัน ประมูลงาน กระตุ้นให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้มากขึ้น

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางระบุ ว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพเติมเต็มการเดินทาง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน การขนส่งสินค้า ส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าที่ดินให้เกิดการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประมูลรวดเดียว 4 เส้นทาง ภายในปีหน้า ได้แก่
มิสซิ่งลิงก์ สายสีแดงอ่อน เชื่อม บางซื่อหัวลำโพง-บางซื่อ มักกะสัน,
สายสีแดง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต,
สายตลิ่งชัน-ศิริราช,
สายตลิ่งชัน ศาลายา
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
ตะวันตก บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ

ซึ่งเส้นนี้มีความสำคัญของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะวิ่งผ่านย่าน สำคัญ ใจกลางเมือง คาดว่าจะช่วยดึงคนจากฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ไปยังฝั่งธนเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่นเดียวกับ สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

ส่วน สายสีนํ้าตาล แครายบึงกุ่ม ของรฟม. และสายสีทอง เฟส 2 ของ กทม. ยังไม่น่าจะก่อสร้างได้ทันปี 2563 เนื่องจากติดปัญหาการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอขณะทางคู่เฟส 2 ของรฟท. มูลค่า 2.8 แสนล้านบาท ปัจจุบัน สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำลังพิจารณา แต่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดการประมูลในปีหน้า ขณะทางคู่สายใหม่ที่ต้องเวนคืนเปิดพื้นที่ อย่าง
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ
สายบ้านไผ่-มุกดาหาร นครพนม

คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการ โดยปีหน้าน่าจะเริ่มเวนคืนได้เช่นเดียวกับ นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการรฟม. ยืนยันว่า ปีหน้าจะเปิดการประมูลรถไฟฟ้า 2 เส้นทางเพื่อดึงคนใช้ระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้น เช่นเดียวกับแหล่งข่าวจาก รฟท.ที่ระบุว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบรางเชื่อว่าปีหน้าจะเกิดการแข่งขัน ประมูลงาน กระตุ้นให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวมากขึ้น เรียกว่า ประเทศไทยได้ก้าวสู่ ระบบรางเต็มตัวและอนาคตอาจแซงหน้านานาอารยประเทศในไม่ช้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2019 11:27 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”เทงบลงทุนกว่า 3.46แสนล. จ่อชงครม.เคาะ”สายสีส้ม-missing link”ต้นปี63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 25 ธันวาคม 2562 เวลา 18:56
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 เวลา 06:37


“ศักดิ์สยาม”ลุยเมกะโปรเจ็กต์ ปี 63 เทงบลงทุนกว่า 3.46 แสนล. คาดเปิดศักราช ม.ค ประเดิม ชงครม. เคาะPPP รถไฟฟ้าสีส้ม 1.22 แสนล. และรถไฟสีแดง missing link 4.4 หมื่นล. พร้อมสั่งทุกหน่วยปรับแผนเร่งเบิกจ่ายงบ 63 เหลือเวลาไม่ถึง 8ด.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม เร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ตามนโยบายของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน เช่น การดำเนินงานเพื่อบรรเทาและช่วยเหลือกรณีเกิดสาธารณภัยให้ของบประมาณกลางมาดำเนินการ

ซึ่งปีงบประมาณ 2563 คาดว่า จะสามารถเริ่มเบิกจ่ายได้เดือนก.พ. 2563 ทำให้เหลือเวลาในการใช้จ่ายงบเพียง 8 เดือน ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องปรับแผนการทำงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เหลือ ส่วนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่นั้น ให้ใช้รูปแบบการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ ที่มีการแบ่งงานก่อสร้างออกเป็นหลายสัญญา เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้น

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2563 กระทรวงคมนาคมมีงบลงทุนรวม 346,524.96 ล้านบาท แบ่งเป็น
ทางบก 163,371.63 ล้านบาท ,
ทางราง 126,419.32 ล้านบาท
ทางอากาศ 48,637.53 ล้านบาท
ทางน้ำ 7,791.96 ล้านบาท
ด้านนโยบาย 304.52 ล้านบาท

ซึ่งจะมีการลงทุนมากกว่า 53 โครงการ โดยในช่วงเดือนม.ค. 2563 คาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ลงทุนด้านโยธา ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการเดินรถช่วงตลิ่งชัน –มีนบุรี (PPP) ตลอดสายทาง วงเงิน 122,067 ล้านบาท และประกาศคัดเลือกเอกชนในเดือนมิ.ย. 2563

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และพญาไท-หัวหมาก (missing link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,158 ล้านบาท โดยรมว.คมนาคมได้ส่งเรื่องคืนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ทบทวนความชัดเจนเรื่องแนวเส้นทางที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ก่อนที่จะนำเสนอครม.เพื่อขยายกรอบระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง จากเดิม 36 เดือนเป็น 54 เดือน โดยไม่เพิ่มวงเงินโครงการ

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่มีความพร้อมและอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอครม.ในช่วงต้นปี 2563 ได้แก่ มอเตอร์เวย์สาย นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาท,โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกทม. ด้านตะวันออก วงเงิน 15,200 ล้านบาท


นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่นั้น หากโครงการมีความพร้อมให้สามารถนำเสนอเข้ามาเพิ่มเติมในปี 2563 ได้อีก โดยให้พิจารณาการใช้แหล่งเงินที่เหมาะสม ซึ่งมี 4 รูปแบบ ได้แก่
1. งบประมาณปกติ ซึ่งจะพิจารณาเป็นงานของปี 2564 ต่อไป
2. การร่วมลงทุนกับเอกชน(PPP)
3. การใช้เงินกองทุน TFF และ
4. เงินกู้

โดยได้ได้ให้หน่วยงานศึกษาเพื่อนำเสนอครม.เศรษฐกิจพิจารณา เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นกับภาคเอกชนในการลงทุน นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้พิจารณาแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับเพดานหนี้สาธารณะ ของประเทศอีก 3-4 ปีข้างหน้าที่จะเริ่มครบกำหนดการชำระจากการลงทุนโครงการต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2019 11:35 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดประเมินผู้ว่ารฟม.ผ่านฉลุยตั้งไข่งบ’64 กว่า 4.9 หมื่นล้านสร้าง 3 รถไฟฟ้า
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 ธันวาคม 2562 - 19:35 น.

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟม.) เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.เห็นชอบการจัดตั้งกรอบงบประมาณปี 2564 โดยขอตั้งงบไว้ที่ 49,000 ล้านบาท เพื่อเสนอให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา‪ในวันที่ 3 ม.ค. 2563‬ นี้
เป็นการเสนอขอเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ประกอบด้วย สายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ลำสาลี และสายสีเขียวเหนือ ช่วงกรมป่าไม้ – คูคต โดย รฟม.มีงบประมาณที่ต้องเบิกจ่ายจริงในปี 2564 จำนวน 76,000 ล้านบาท รฟม.มีรายได้แต่ละปีที่ 3,000 ล้านบาท และเงินกู้ 23,000 ล้านบาท


ส่วนการดำเนินการในส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. วงเงิน 3,379 ล้านบาท และส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. วงเงิน 3,779 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ในฐานะเอกชนคู่สัญญา ซึ่งยังไม่ได้แจ้งผลการเจรจาใดๆในที่ประชุมบอร์ดครั้งนี้

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) คัดค้านการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง เนื่องจากเป็นทางแข่งขันจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ BEM รับสัมปทานมีรายได้ลดลงนั้น เบื้องต้น ทราบว่า ขณะนี้ทาง BEM กำลังศึกษาผลกระทบของการดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองอยู่ จะแล้วเสร็จเร็วๆนี้ ซึ่ง รฟม. จะต้องรอให้ BEM ศึกษาผลกระทบดังกล่าวให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะกำหนดท่าทีที่จะเชิญมาเจรจาร่วมหารือในภายหลังต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2020 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าพลิกโฉมชานเมือง เมืองใหม่ “มีนบุรี-ตลิ่งชัน” ประมูล 5 สาย 2.7 แสนล้าน
วันที่ 28 ธันวาคม 2562 - 15:00 น.

รถไฟฟ้าเปลี่ยนภูมิทัศน์ ปี”63 เปิด “สีน้ำเงิน-สีเขียว-สีทอง” บูมคลองสาน ท่องเที่ยว การค้าเยาวราช-วังบูรพา “สะพานใหม่-มีนบุรี” เมืองใหม่โซนเหนือ-ตะวันออก สีแดงหนุน “สถานีกลางบางซื่อ” ฮับระบบราง รังสิตเกตเวย์กรุงเทพฯ “ตลิ่งชัน-ศิริราช” ศูนย์ใหญ่ สีส้มเสริม “พระราม 9-รัชดาฯ-มักกะสัน” ซีบีดีใหม่ โมโนเรลสีชมพู-เหลืองพลิกโฉม “โชคชัย 4-บางกะปิ-รามอินทรา-ลาดพร้าว” จ่อลุยประมูล 2.7 แสนล้าน อีก 5 สาย

รถไฟฟ้าสารพัดสี 14 เส้นทาง ตามแผนแม่บท 557.56 กม. รวม 386 สถานี ที่รัฐบาลทุ่มลงทุน 1 ล้านล้านบาท เชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯและปริมณฑล ได้ทยอยเปิดปี 2563 และจะเปิดเพิ่ม 3 เส้นทางอีก 47.5 กม.

รถไฟฟ้าใหม่เปิดหวูด

ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายวิ่งครบลูปหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ เชื่อมใจกลางเมืองกับฝั่งธนบุรี ในวันที่ 30 มี.ค. 2563 สายสีเขียวส่วนต่อขยาย “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” กลางปี 2563 จะเปิดถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และในเดือน ธ.ค.จะเปิดถึงคูคตสายสีทองเป็นระบบไร้คนขับ จะเชื่อมจากบีทีเอสกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน หน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม จะเร่งเปิดใช้ในเดือน มิ.ย.นี้

สีส้มตะวันออกขยับไปปี”67

ที่กำลังสร้าง 3 เส้นทาง 87.4 กม. 70 สถานี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒธรรม-มีนบุรี 22.50 กม. 17 สถานี วงเงิน 109,021 ล้านบาท การเปิดบริการจะขยับจากปี 2566 เป็นปี 2567

ขณะที่โมโนเรล 2 เส้นทาง สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 30 สถานี วงเงิน 50,340 ล้านบาท คืบ 43.21% เปิดบริการเดือน ต.ค. 2564 พร้อมสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 23 สถานี วงเงิน 47,558 ล้านบาท สร้างคืบหน้า 42.81%


ส่วนต่อขยายจะเริ่มสร้างปี 2563 สายสีชมพูสร้างต่อจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี 3 กม. มี 2 สถานี สายสีเหลืองแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน 2.60 กม. 2 สถานี รอสรุปผลกระทบต่อสายสีน้ำเงินกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ทั้ง 2 ช่วงจะเปิดบริการในปี 2565

เร่งประมูล 5 เส้นทาง

นายภคพงศ์กล่าวว่า ปี 2563 จะเปิดประมูล PPP net cost 30 ปี สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ก่อสร้างและเดินรถตลอดสาย สัญญาเดียว 122,067 ล้านบาท อยู่ระหว่างเสนอ ครม.อนุมัติ จะเริ่มสร้างปี 2564 เปิดบริการปี 2568 และสายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. 124,959 ล้านบาท เริ่มสร้างปี 2564 เสร็จปี 2569 และปี 2564 จะเปิด PPP สีน้ำตาลแคราย-ลำสาลี 48,577 ล้านบาท

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ม.ค. 2564 จะเปิดสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต 41.56 กม. 15 สถานี จะเชื่อมโซนตะวันตก-โซนเหนือของกรุงเทพฯ ส่วนสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้น ครม.อนุมัติแล้ว วงเงิน 24,241 ล้านบาท จะเปิดประมูลปี 2563 ได้แก่ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะใช้เวลาสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จเปิดปี 2565 ส่วนต่อขยายสายสีเขียวคูคต-ลำลูกกา 6.5 กม. และสมุทรปราการ-บางปู 9.5 กม.

ล่าสุด กทม.ชะลอไว้ก่อน ขณะที่ รฟม.ชะลอแผนลงทุนส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 รอประเมินผู้โดยสารจากสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่เพิ่งเปิดบริการก่อน

พลิกโฉมชานเมือง

นางชูขวัญ นิลศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานวางผังเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเปิดรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใหม่จะพลิกโฉมย่านชานเมือง และสถานีที่เป็นจุดตัดรถไฟฟ้า 53 สถานี จะเกิดการพัฒนาใหม่ ๆ รองรับการขยายตัวที่จะกระจายมาจากพื้นที่ในเมือง

“ปัจจุบันศูนย์กลางธุรกิจหรือย่านซีบีดี อยู่แนวรถไฟฟ้าบีทีเอสและใต้ดิน ย่านสีลม สาทร พระราม 4 ปทุมวัน เพลินจิต ต่อเนื่องไปถึงรัชดาฯ พระราม 9 มักกะสัน เมื่อสายสีส้มเปิดจะหนุนให้รัชดาฯและพระราม 9 เป็นทำเลซีบีดีมีศักยภาพมากขึ้น”

บูมลาดพร้าว-สะพานใหม่

นางชูขวัญกล่าวว่า หากลงลึกรายละเอียดแต่ละเส้นทาง ในส่วนของสายสีเขียวหมอชิต-คูคต สร้างบนถนนพหลโยธิน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว-รัชโยธิน และรัชดาฯ-ลาดพร้าวที่เชื่อมสายสีน้ำเงิน เกิดที่อยู่อาศัยหนาแน่นประเภทไฮเอนด์รับศูนย์กลางธุรกิจและการคมนาคมสถานีกลางบางซื่อ และสายสีเหลืองต่อขยายรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน เพราะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกัน และโซนสะพานใหม่ที่เป็นตลาดสดและย่านการค้าเก่า จะอัพเกรดเป็นศูนย์พาณิชยกรรม เมือง และย่านอยู่อาศัยทางโซนเหนือเพราะอยู่ใกล้สายสีแดงและสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นจุดตัดกับสายสีชมพู

“ทำเลพหลโยธินจะมีโอกาสพัฒนามากขึ้น เพราะสายสีเขียวเป็นเส้นทางหลักวิ่งเข้าในเมือง ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในซอย ถึงจะมีข้อจำกัดเป็นที่ดินทหาร และถูกคุมความสูงเพราะอยู่ในเขตการบินก็ตาม”

สายสีเหลืองในผังเมืองใหม่ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินถนนลาดพร้าวตลอดสายยาวถึงบางกะปิจากสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) พัฒนาได้ทั้งที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม แต่จุดจะพลิกโฉมมี “ตลาดบางกะปิ-ลำสาลี” ซึ่งเชื่อมต่อกับสายสีส้ม จะเปลี่ยนจากย่านพาณิชยกรรมเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ ซึ่งบางกะปิยังถูกกำหนดเป็นศูนย์ชุมชนเมือง

ยังมี “ตลาดโชคชัย 4” จะพัฒนาย่านที่อยู่อาศัย เพราะในซอยโชคชัย 4 มีหมู่บ้านเก่าอยู่มาก อีกจุด “ศรีนครินทร์-บางนา-สำโรง” จะพัฒนาเป็นศูนย์ชุมชนเมืองและพาณิชยกรรม เพราะมีสถานีเชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์ ทำให้เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิและพญาไทที่เป็นทำเลในเมืองสะดวก และสายสีเขียวที่สำโรง ยังแวดล้อมด้วยศูนย์การค้า เช่น เมกาบางนา เซ็นทรัล ศูนย์ความบันเทิงของเดอะมอลล์ ซึ่ง กทม.ได้ขยายพื้นที่พาณิชยกรรมเพื่อรองรับแล้ว

สายสีชมพูจะเปลี่ยนถนนรามอินทราเป็นทำเลมีศักยภาพมากขึ้น ตั้งแต่ “เซ็นทรัล-มีนบุรี” เพราะตลอดแนวถนน ผังเมืองใหม่เปิดให้พัฒนาอาคารสูงและพาณิชยกรรมได้ จากเดิมสีเหลืองเป็นสีส้ม แต่จุดใหญ่อยู่ที่ “มีนบุรี” สถานีปลายทาง ซึ่งเป็นจุดตัดกับสายสีส้ม จะเป็นศูนย์ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ของโซนตะวันออก รองรับคนอยู่อาศัยย่านหนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง นอกจากนี้ ถนนแจ้งวัฒนะจากแยกหลักสี่ถึงคลองประปาได้ขยายพื้นที่สีส้มเพิ่ม

“สายสีทองจะทำให้เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ 2 ฝั่งเจ้าพระยาคึกคักมากขึ้น ในย่านคลองสานและศูนย์การค้าไอคอนสยาม รองรับการเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

จับตา CBD ใหม่

สายสีส้ม เนื่องจากถนนรามคำแหงการพัฒนาหนาแน่น แม้จะมีรีโนเวตศูนย์การค้าเดอะมอลล์ แต่ศูนย์กลางธุรกิจจะอยู่พระราม 9 รัชดาฯ ศูนย์วัฒนธรรมฯที่เป็นจุดตัดกับสายสีน้ำเงิน และจะต่อเนื่องไปถึงมักกะสัน จากปัจจุบันเป็นย่านสำนักงาน พาณิชยกรรมอยู่แล้ว จะหนุนทำเลให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สายสีน้ำเงินต่อขยายไปฝั่งธนบุรี จะบูมย่านบางแคใกล้กับสถานีปลายทางที่หลักสอง และย่านบางหว้าจุดเชื่อมต่อกับบีทีเอส เป็นศูนย์ชุมชนเมือง ย่านที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม

ขณะที่สถานีเตาปูนจุดเชื่อมกับสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) เป็นย่านที่มีโอกาสจะพลิกโฉมเป็นย่านพาณิชยกรรมเก่ารูปแบบตึกแถวรองรับคอนโดมิเนียมที่อยู่โดยรอบ ส่วนเยาวราช สนามไชย วังบูรพา จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงพาณิชย์ตึกแถวแบบมีเอกลักษณ์ เช่น เวิ้งนาครเขษม สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทำให้ย่านบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการคมนาคม, ย่านตลิ่งชันจุดตัดสายสีส้มและสีเขียวจะสร้างจากบางหว้า-ตลิ่งชัน จะมีการพัฒนาพาณิชยกรรมมากขึ้น, ย่านรังสิตจะเป็นเกตเวย์ของกรุงเทพฯรองรับคนเดินทางเข้าเมือง และย่านศิริราชเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 277, 278, 279  Next
Page 206 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©