RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179613
ทั้งหมด:13490845
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 360, 361, 362 ... 541, 542, 543  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2019 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

#เผยโฉมสถานีใหม่! ‘สถานีรถไฟนครราชสีมา’ ทันสมัย ยกระดับสถานี รองรับรถไฟทางคู่-ความเร็วสูง คาดกลางปี 63 เริ่มดำเนินการ
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/2654376354640987


#แห่ถ่ายรูป ‘สถานีรถไฟโคราช’ ก่อนจะทำการรื้อโครงสร้างเก่าออกทั้งหมด และสร้างใหม่เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ โดยสถานีรถไฟนครราชสีมาแห่งนี้ถือว่าเป็นสถานีรถไฟแห่งแรกแห่งของประเทศไทย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือว่าเป็นสถานีรถไฟสายประวัติศาสตร์คู่เมืองโคราชที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเร็วๆนี้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1804655
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/2650442628367693
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2019 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (39)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 12 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3530 ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2562


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องสัญญาเรื่องการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา และการชำระเงิน

(ค) ประกันภัยสำหรับธุรกิจชะงัก (Business Interruption Insurance) ซึ่งครอบคลุมการสูญเสียรายได้ของเอกชนคู่สัญญา เมื่อโครงการต้องหยุดชะงักลงอันเป็นผลมาจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สินที่อยู่บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯได้ทั้งหมด ทั้งนี้ให้มีการจัดทำประกันภัยในวงเงินตามที่คู่สัญญาตกลงกันโดยพิจารณาจากประมาณการรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ณ ขณะที่มีการจัดทำประกันภัยนี้

เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดทำพร้อมส่งมอบสำเนากรมธรรม์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยประเภทนี้ให้แก่ รฟท.ภายในหกสิบ(60)วัน นับจากวันที่ รฟท.ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการข้างต้นให้แก่ รฟท.เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.2 ทั้งนี้เอกชนคู่สัญญา ตกลงจะแบ่งค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากประกันภัยประเภทนี้ ให้แก่ รฟท.ตามที่ รฟท.มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

20.2 การส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการประกันภัย เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการประกันภัยที่จัดทำขึ้นตามข้อ 20.1 ให้แก่ รฟท.เช่น กรมธรรม์ หรือหลักฐานการต่ออายุกรมธรรม์ ในทันทีที่มีการจัดทำกรมธรรม์ หรือต่ออายุกรมธรรม์หรือภายในเจ็ด(7)วัน นับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์ฉบับเดิมสิ้นความคุ้มครอง แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน


20.3 ข้อตกลงกระทำการเกี่ยวกับการประกันภัย เอกชนคู่สัญญา มีหน้าที่ดำเนินการดังต่อไปนี้เกี่ยวกับการประกันภัย
(1) ไม่ดำเนินการใดๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการใดๆ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขของการประกันภัย ซึ่งอาจมีผลทำให้ รฟท.หรือเอกชนคู่สัญญา ไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้อง หรือบังคับจากผู้รับประกันภัยได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือทำให้สัญญาประกันภัยไม่มีผลใช้บังคับทั้งหมดหรือบางส่วน หรือทำให้ผู้รับประกันภัยใช้กล่าวอ้างหรือยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อยกเว้นความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) ไม่โอนสิทธิเรียกร้อง ก่อภาระติดพัน หรือจำหน่ายไม่ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ภายใต้สัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัย เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท.ก่อน หรือเพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้สนับสนุนทางการเงินตาม
(3) เพื่อปรับและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข จำนวนเงินเอาประกันภัย ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและมาตรฐานที่ยอมรับได้ในธุรกิจประกันภัยสำหรับการดำเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นๆ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยความเสี่ยง และความผันผวนของค่าเงิน คู่สัญญาตกลงที่จะเจรจาปรับเงื่อนไขของการประกันภัย เงื่อนไขเกี่ยวกับทุนประกันหรือวงเงินเอาประกันภัยของแต่ละประกันภัยที่จัดทำขึ้นตามที่กำหนดไว้ในข้อ 20.1 ในทุกๆ สี่(4)ปี นับจากวันที่มีการจัดทำประกันภัยดังกล่าวหรือระยะเวลาอื่นตามที่คู่สัญญาพิจารณาตกลงกัน

21. ทรัพย์สินทางปัญญา
21.1 ทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหา ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบจัดหาหรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ รฟท.และเอกชนคู่สัญญา มีสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งปวงในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งงานระบบรถไฟและการให้บริการเดินรถไฟของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ จากบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายไทย
21.2 ทรัพย์สินทางปัญญาของ รฟท.
(1) กรณี รฟท.อนุญาตให้เอกชนคู่สัญญา และ/หรือผู้รับจ้างใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของ รฟท.หรือที่ รฟท.มีสิทธิ เอกชนคู่สัญญาจะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของ รฟท.ดังกล่าวเพื่อการดำเนินโครงการฯ และจะดำเนินการให้ผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาต ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของ รฟท.ดังกล่าวเพื่อการดำเนินโครงการฯ ด้วย ทั้งนี้ภายในระยะเวลาของโครงการฯ เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท.
(2) ภายใต้บังคับการแห่งกฎหมายไทย คู่สัญญาตกลงให้ รฟท.เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการดำเนินโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดย รฟท. ตกลงให้เอกชนคู่สัญญามีสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเพื่อการดำเนินโครงการฯ ตามสัญญาร่วมลงทุนได้ ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาจะต้องไม่ให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเว้นแต่ให้ผู้รับจ้าง หรือเมื่อได้รับอนุมัติจาก รฟท.

21.3 คำรับรองและคำรับประกันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาตกลงให้คำรับรองและคำรับประกันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหาตามข้อ 21.1 ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหามาเพื่อการดำเนินโครงการฯ ไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และ
(2) ไม่มีภาระผูกพันใดๆ อยู่เหนือทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญานำมาใช้ในการดำเนินโครงการฯ นอกจากกรณีที่เอกชนคู่สัญญาได้แจ้งให้ รฟท.ทราบถึงภาระผูกพันดังกล่าวในเวลาที่จะนำทรัพย์สินทางปัญญานั้นมาใช้ในการดำเนินโครงการฯ หรือกรณีที่ได้รับอนุมัติจาก รฟท.

21.4 ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
(1) เอกชนคู่สัญญาตกลงรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.และเอกชนคู่สัญญาอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการดำเนินโครงการฯ หากมีการเรียกร้องค่าเสียหายหรือความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวเนื่องมาจากการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้จัดหามาตามข้อ 21.1 รวมไปถึงกรณีที่ รฟท.หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเข้าดำเนินโครงการฯ ต่อจากเอกชนคู่สัญญา ไม่สามารถใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการดำเนินโครงการฯ ได้อันเนื่องมาจากเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาภายในกำหนดระยะเวลา ข้อ 21.5หรือ รฟท.หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเข้าดำเนินโครงการฯ ต่อจากเอกชนคู่สัญญา ไม่สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่ส่งมอบได้อันเนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น เว้นแต่ในกรณีที่เกิดจากความผิดหรือการกระทำของ รฟท.
(2) เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะให้ความร่วมมือแก่ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.และเอกชนคู่สัญญาอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการดำเนินโครงการฯ ในการต่อสู้คดีที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวเนื่องมาจากการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้จัดหามาตามข้อ 21.1 ความร่วมมือดังกล่าวรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูล การเข้าเป็นโจทย์หรือจำเลยร่วมรับผิดชอบในค่าทนายความ ที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการต่อสู้คดี รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดเพื่อทดแทนทรัพย์สินทางปัญญาที่พิพาท ตลอดจนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ รฟท.ต้องถูกดำเนินคดีดังกล่าวจากการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหามาตามสัญญาร่วมลงทุนด้วย
อย่าเพิ่งเบื่อเด้อ...เรื่องใหญ่มันต้องยาว!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2019 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยไฮสปีด เฟส 2 ต่อขยาย 'ระยอง-ตราด'
16 ธันวาคม 2562

รฟท.เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เฟส 2 ต่อขยายระยอง-ตราด เปิดฟังความเห็น 11-18 ธ.ค.ครอบคลุม 12 อำเภอ หาข้อสรุปรูปแบบลงทุน

หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญาร่วมลงทุน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีแผนที่จะสรุปการรื้อย้ายสาธารณูปโภคและกรอบวงเงินภายในเดือน ม.ค.2563 ในขณะที่ส่วนต่อขยายเฟส 2 ระยอง-การพิจารณาส่วนต่อขยายเริ่มมีการกล่าวถึงด้วยการฟังความเห็นกลุ่มย่อย 3 จังหวัด 12 อำเภอ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า คณะกรรมการนโบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดให้รีบสรุปการรื้อย้ายสาธารณูปโภคโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

รวมทั้ง ร.ฟ.ท.กำลังศึกษาโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ โดยก่อนหน้านี้มีการศึกษาความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นรถไฟทางคู่ แต่ปัจจุบันมีข้อเสนแนะจากหลายฝ่ายให้ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงด้วย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

“โครงการรถไฟสายใหม่ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษารายละเอียด ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวในอนาคต และอาจไม่ได้เป็นโครงการส่วนต่อขยายในสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่เป็นการพัฒนาต่อยอดการศึกษาจากแผนลงทุนของ ร.ฟ.ท.เอง โดยโครงการดังกล่าวจะมีความจำเป็นเร่งรัดก่อสร้างหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล”

ส่วนโครงการรถไฟสายใหม่ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด- คลองใหญ่ ซึ่งผลการศึกษาของ ร.ฟ.ท.ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟทางคู่ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าแนวเส้นทางจะมีระยะทาง 333 กิโลเมตร เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร ประเมินงบประมาณลงทุน 5-6 หมื่นล้านบาท เป้าหมายเพื่อสนับสนุนพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง คือ 1.เชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง 2.เชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่พื้นที่ อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุด ถึงอำเภอเมือง 3.เชื่อมโยงโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก และการท่องเที่ยวมีจุดเริ่มต้นจาก อ.เมืองระยอง ผ่าน จ.จันทบุรี และสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด


รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงินและแนวทางการลงทุน รวมถึงงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.2562 ถึง พ.ค.2563

ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2560 ซึ่งเห็นชอบให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําคัญในอีอีซี และเห็นชอบให้ปรับแผนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้เร็วขึ้น รวมทั้งให้ศึกษาเส้นทางและออกแบบรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรีและตราดโดยเร็ว

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยอง-จันทบุรี-ตราด เป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับอีอีซี รองรับระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมนิคมอุตสาหกรรม เชื่อมท่าเรือและสนามบินภาคตะวันออก

รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการโดยสารทางรถไฟ ลดต้นทุนและระยะเวลาการเดินทาง ปลอดภัยในการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้น

ADVERTISEMENT


ร.ฟ.ท.มีหนังสือลงวันที่ 24 ก.ย.2562 แจ้งให้ที่ปรึกษาเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา มีเวลาดำเนินงาน 240 วัน และมีขอบเขตของงาน ดังนี้ 1.วิเคราะห์และประเมินสภาพความต้องการการขนส่งในปัจจุบันและอนาคต

2.ทบทวนผลการศึกษาและการดำเนินงานของโครงการที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการก่อสร้างทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง โครงการก่อสร้างทางคู่สายมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ และศึกษาโครงการอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อโครงการนี้ของ ร.ฟ.ท. กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวจะสอดคล้องแผนพัฒนาอีอีซี แผนการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนการพัฒนาระบบการจัดการสินค้าและบริการ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3.สำรวจและรวบรวมข้อมูลทางด้านการขนส่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา โดยอย่างน้อยประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านกายภาพและด้านปฏิบัติการที่เป็นอุปสรรคต่อจำนวนขนาดและการเดินรถในปัจจุบัน ความต้องการการขนส่ง เพื่อวิเคราะห์ต้นทาง ปลายทาง รวมทั้งพฤติกรรมการเดินทาง เส้นทางการขนส่งและเชื่อมต่อ

4.ศึกษาวิเคราะห์ปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์สภาพการเดินทาง สภาพการจราจร เส้นทาง ยานพาหนะ ลักษณะและรูปแบบที่ใช้ในการขนส่ง

5.ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระบบการคมนาคมขนส่งอื่นที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน เช่น ศึกษาผลกระทบของโครงการต่อการเดินทางทางอากาศโดยใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินตราด รวมถึงผลกระทบของโครงการต่อปริมาณการจราจรที่ใช้มอเตอร์เวย์และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่

6.ต้องศึกษาแนวเส้นทางที่เหมาะสม ศึกษาตำแหน่งที่ตั้งสถานีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งที่มีอยู่และการเดินทางรูปแบบอื่น ขั้นตอนการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน ข้อเสนอแนะแนวทางการลงทุน และการแบ่งระยะการพัฒนาเพื่อความเหมาะสม

ร.ฟ.ท.จะจัดรับฟังความเห็นสนทนากลุ่มย่อย 12 ครั้ง ในพื้นที่ 12 อำเภอ ของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ อ.เมืองตราด และจะสิ้นสุดในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ ที่ เทศบาลเมืองบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2019 7:27 pm    Post subject: Reply with quote

Update เรือง รถไฟความไวสูงจากอู่ตะเภา ไป เมืองตราด โดยคุณ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
รายละเอียดโครงการ รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ส่วนต่อขยาย (อู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)

บอกเลยว่าพึ่งได้ไฟล์เอกสารรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ส่วนต่อขยาย (อู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)

อ่านแล้วอยากมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง เป็นการปูพื้นก่อน จะมีประชุมวันพรุ่งนี้ ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/812033932568421/

เส้นทางนี้จะเป็นทางรถไฟคู่ไปกับทางรถไฟสายใหม่ ศรีราชา-ระยอง และ มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-ด่านคลองใหญ่

รายละเอียดตามลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/734727850299030/?d=n
————————
มาดูรายละเอียดโครงการกันก่อนครับ

โครงการนี้ตามชื่อเลย คือต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของ CP ซึ่งที่จบที่อู่ตะเภา และจากที่เคยบอกมาตลอดว่ามันมีปัญหาเรื่องการผ่านกลางนิคมมาบตาพุด ซึ่งต้องทำ EHIA เพื่ปความปลอดภัยของประชาชน และโครงการ เลยตัดจบอยู่ที่อู่ตะเภา อย่างในปัจจุบัน

ตอนนี้ โครงการก็เดินต่อผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ระยอง-จันทบุรี-ตราด

มีสถานีในโครงการทั้งหมด 4 สถานีคือ ระยอง, แกลง, จันทบุรี, ตราด

ระยะทาง ทั้งหมด 200 กิโลเมตร

รูปแบบการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง เป็นแบบระดับดิน และมีการแก้จุดตัดตลอดเส้นทาง และยกระดับบางช่วงตามความจำเป็น

———————
เรามาดูต่อที่รายละเอียดสถานีกันต่อ

- ตำแหน่งสถานีระยอง และเส้นทางทดแทนการผ่ากลางนิคมมาบตาพุดเป็นประเด็นใหญ่มาก เพราะเป็นการกำหนดเส้นทางหลักของโครงการทั้งหมด

จากเอกสารที่ได้มาคอนเฟิร์มแล้วว่าสถานีรถไฟความเร็วสูง “ย้าย” ครับ

ไปอยู่บริเวณตัดกับถนน 3574 ซึ่งคาดว่าเป็นตำแหน่งเดียวกับสถานีรถไฟทางคู่สายใหม่ ระยอง-ตราด ที่บริเวณ ตำบลน้ำคอก

เส้นทางการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ช่วงอู่ตะเภา-ระยอง เท่าที่ดูจากแบบ จะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่สายใหม่ ระยอง-ตราด และไม่มีทางเลือกเส้นทาง

———————

- ตำแหน่งสถานีแกลง มีทั้งหมด 4 ตัวเลือก ตามเส้นทางที่เลือก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนจุดตัดกับถนนสาย 344 แต่ตำแหน่งยังไม่แน่นอน

ช่วงระยอง-แกลงนี้มี ทางเลือกเส้นทาง 3 ทางเลือก คือ

สายสีแดง อ้อมเขาด้านบน ผ่าน ตำบลสำนักทอง
สายสีเขียว ผ่ากลางหุบเขาเขา บริเวณ ตำบลบ้านแลง
สายสีน้ำเงิน อ้อมลงทิศใต้ เข้าตำบลบ้านเพ ซึ่งเป็นเส้นทางของรถไฟทางคู่สายใหม่ ระยอง-ตราด

———————

- ตำแหน่งสถานีจันทบุรี มี 4 ตัวเลือก คือด้านทิศตะวันตก ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และกลางเมือง และด้านตะวันออก ติดกับอุทยานน้ำตกพริ้ว

ช่วงแกลง-จันทบุรี มีทางเลือกทั้งหมด 4 ทางแต่ไม่ต่างกันมาก จะแยกกันไปเพราะตำแหน่งสถานีมากกว่า

———————

- ตำแหน่งสถานีตราด มี 2 ทางเลือก คือ จุดตัดถนน 3157 ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับรถไฟทางคู่สายใหม่ และตำแหน่งกลางเมืองตราด บริเวณทางแยกไปด่านชายแดนคลองใหญ่

ช่วงจันทบุรี-ตราด มี 2 ทางเลือก คือ
- สายสีเขียว เส้นทางตัดตรง อ้อมด้านเหนืออุทยานน้ำตกพริ้ว แล้วตรงเข้าเมืองตราด
- สายสีน้ำเงิน ตามเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เลียบถนนสุขุมวิท

———————

สำหรับเส้นทางตามแผนการศึกษา

ผมเชียร์สายสีเขียวตลอดเส้นทาง เพราะเส้นทางของทางรถไฟทางคู่สายใหม่ วิ่งเลาะตามพื้นที่เขตชุมชนเพราะต้องการรับคนเข้าระบบรถไฟให้มากที่สุด

แต่รถไฟความเร็วสูงต่างกัน เพราะ มีแค่ 4 สถานีไม่มีสถานีระดับตำบล หรืออำเภอ เลยไม่มีความจำเป็นจะต้องวิ่งอ้อมเลาะตามเขตชุมชน ซึ่งเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเส้นทางอ้อม ในการเดินรถเปล่าๆ

แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักกับค่าการเวนคืนที่จะต้องเวนคืนเส้นทางใหม่ กับการใช้เส้นทางร่วมกับรถไฟทางคู่สายใหม่ แต่ต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่ม และระยะเวลาการเดินทางเพิ่มขึ้นด้วย

———————

รูปแบบสถานี จะทำให้สอดคล้องและเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ เช่น สถานีระยองทำเป็นรูป สัปปะรด, สถานีจันทบุรี เป็นรูปทุเรียน และสถานีตราด เป็นรูประกำ

ซึ่งในสถานีจะมีสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อม ตามมาตรฐาน Universal design

และที่น่าสนใจคือ ตามการศึกษาโครงการของรถไฟทางคู่สายใหม่ ระยอง-ตราด ในสถานีขนาดใหญ่ ได้เผื่อที่ให้กับสถานีรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว ดังนั้นความเป็นไปได้ที่อาจจะ ไปอยู่ในสถานีเดียวกัน ก็มีสูงมากครับ

———————
สรุป ราคา ระยะทาง และเวลาจากสถานีต่างๆ

ดอนเมือง-ตราด 413 กิโลเมตร 2:15 ชั่วโมง 859 บาท
บางซื่อ-ตราด 399 กิโลเมตร 2:07 ชั่วโมง 831 บาท
บางซื่อ-ระยอง 235 กิโลเมตร 1:20 ชั่วโมง 521 บาท
สุวรรณภูมิ-ตราด 363 กิโลเมตร 1:53 ชั่วโมง 766 บาท
สุวรรณภูมิ-ระยอง 164 กิโลเมตร 1:06 ชั่วโมง 457 บาท
สุวรรณภูมิ-จันทบุรี 298 กิโลเมตร 1:36 ชั่วโมง 645 บาท
พัทยา-ตราด 231 กิโลเมตร 1:09 ชั่วโมง 516 บาท
พัทยา-ระยอง 68 กิโลเมตร 0:22 ชั่วโมง 206 บาท
อู่ตะเภา-ตราด 196 กิโลเมตร 0:58 ชั่วโมง 449 บาท

————————

แล้วจะได้นั่งเมื่อไหร่

ตอนนี้อยู่ในขั้น ศึกษาเบื้องต้น 6 เดือน
แล้ว ออกแบบ + ทำ EIA อีก 3 ปี
ก่อสร้าง อีก 4 ปี

“ถ้า” ผ่านทุกป้าย ไม่มีใครมาขัดหรือติดตรงไหน ก็ ได้ใช้ ปี 71 ครับ

แต่ผมบอกเลยว่ายาก เพราะช่วงเลยระยองไปอาจจะไม่คุ้มค่า ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้ซอยมาสร้างก่อนตามความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ครับ

จะได้เป็นรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ถึงระยองแบบที่คนระยองรอคอย จริงๆซักทีครับ

————————
รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์โครงการ
http://www.hsrrayongchantrat.com

เอกสารประกอบการประชุม ดูที่นี่
แผ่นพับรายละเอียดโครงการ ดูที่นี่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/815767952195019?__tn__=K-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2019 10:24 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Update เรือง รถไฟความไวสูงจากอู่ตะเภา ไป เมืองตราด โดยคุณ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
รายละเอียดโครงการ รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ส่วนต่อขยาย (อู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)

————————
รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์โครงการ
http://www.hsrrayongchantrat.com

เอกสารประกอบการประชุม ดูที่นี่
แผ่นพับรายละเอียดโครงการ ดูที่นี่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/815767952195019?__tn__=K-R


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (40)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 15 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3531 ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2562
ประวัติศาสตร์การประมูล (40)
ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในข้อ 21.5 ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงก่อนและภายหลังการสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ
(1) เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ คู่สัญญาตกลงให้เอกชนคู่สัญญาจัดหาทรัพย์สินทางปัญญาตามข้อ 21.1 ให้ครอบคลุมถึงภายหลังจากที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) กรณีทรัพย์สินทางปัญญาใดที่เอกชนคู่สัญญาจัดหาตามข้อ 21.1 มีเอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ทรงสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เอกชนคู่สัญญาตกลงให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด มีสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเพื่อการดำเนินโครงการฯ ต่อจากเอกชนคู่สัญญาภายหลังจากที่ระยะเวลาของโครงการฯ สิ้นสุดลงเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่ง (1) ปีหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และในกรณีที่ รฟท.ร้องขอเพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด ได้รับสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นในการดำเนินโครงการฯ ต่อไปภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาหนึ่ง (1) ปีข้างต้น เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะเจรจากับ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด
(ข) กรณีทรัพย์สินทางปัญญาใดที่เอกชนคู่สัญญาจัดหาตามข้อ 21.1 เอกชนคู่สัญญาไม่ได้เป็นผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด มีสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นจากบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นโดยชอบด้วยกฎหมายไทย เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ ต่อจากเอกชนคู่สัญญาภายหลังจากที่ระยะเวลาของโครงการฯ สิ้นสุดลงเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่ง (1) ปีหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง โดยเอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น
(2) ภายในระยะเวลาหกสิบ (60) วันก่อนวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหาตามข้อ 21.1 ให้แก่ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด รวมทั้งการจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงาน หรือลูกจ้างของ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดเพื่อให้สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการดำเนินโครงการฯ ต่อไปได้

(3) กรณีที่มีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2 ให้เอกชนคู่สัญญาส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาที่เอกชนคู่สัญญาจัดหาตามข้อ 21.1 ให้แก่ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด รวมทั้งการจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงาน หรือลูกจ้างของ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด หรือให้สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการดำเนินโครงการฯ ต่อไปได้ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกินสามสิบ (30) วัน นับจากวันที่มีการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนโดยคู่สัญญาฝ่ายที่มีสิทธิใช้นั้น
22. การถ่ายทอดเทคโนโลยี เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้และความชำนาญในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.และบุคคลอื่นตามที่ รฟท.กำหนด โดยเอกชนคู่สัญญาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมด ทั้งนี้ รายละเอียดของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของ รฟท.ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 4 (ข้อกำหนดของ รฟท.ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ)

23. คำรับรองและคำรับประกัน 23.1 คำรับรองและคำรับประกันของเอกชนคู่สัญญา เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาให้คำรับรองและคำรับประกันดังต่อไปนี้ (1) สถานภาพ (ก) เอกชนคู่สัญญาเป็นบริษัทที่ก่อตั้งและจดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมายไทย มีสำนักงานจดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย มีความสามารถในการทำนิติกรรมและประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต เอกชนคู่สัญญามีอำนาจในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ ของตน และได้รับอนุญาตต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับการดำเนินการและกิจการของตนโดยชอบด้วยกฎหมายไทย และไม่มีคำสั่งหรือการยื่นฟ้องร้องเพื่อให้มีการชำระบัญชีหรือเลิกบริษัทแต่อย่างใด
(ข) เอกชนคู่สัญญาไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการฯ หรือไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นคู่สัญญาในโครงการฯ ตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง และเอกชนคู่สัญญามีความรู้ ความสามารถประสบการณ์และมีคุณสมบัติในการดำเนินโครงการฯ ตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนทุกประการ
(ค) เอกสารทางทะเบียนของเอกชนคู่สัญญา และเอกสารอื่นๆ ที่เอกชนคู่สัญญาได้ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์นั้นถูกต้องและเป็นปัจจุบันตาม ณ เวลานั้นๆ ตามที่มีการจดทะเบียน
(2) อำนาจ การเข้าทำสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่เอกชนคู่สัญญาสามารถกระทำได้ และไม่เป็นการขัดกฎหมายไทย หรือขัดต่อวัตถุประสงค์และข้อกำหนดในข้อบังคับของเอกชนคู่สัญญา และก่อนลงนามในสัญญาดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาได้ดำเนินการตามที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการอนุญาตในการเข้าทำและปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
(3) การอนุญาต เอกชนคู่สัญญาได้รับการอนุมัติ การอนุญาต และอนุมัติจากหน่วยงานของรัฐ เจ้าหนี้และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จำเป็น หรือที่ตนมีหน้าที่หรือมีภาระผูกพันที่จะต้องขออนุญาต อนุมัติหรือคำยินยอมสำหรับการลงนาม และการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ของสัญญาร่วมลงทุน

(4) สถานะทางการเงิน
(ก) งบการเงินของเอกชนคู่สัญญาที่ส่งให้แก่ รฟท.แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของเอกชนคู่สัญญาอย่างถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ณ เวลาที่จัดเตรียมขึ้น และจัดเตรียมขึ้นตามกฎหมายไทยหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศไทย (Thailand GenerallyAccepted Accounting Principles: Thailand GAAP) ในเวลานั้น
(ข) เอกชนคู่สัญญา ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อยู่ระหว่างเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ประกาศพักชำระหนี้ ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการล้มละลาย กระบวนการฟื้นฟูกิจการ หรือกระบวนการที่คล้ายคลึงกัน
(5) ความผูกพันของสัญญา ยกเว้นข้อจำกัดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สัญญาร่วมลงทุนรวมถึงเอกสารอื่นใดที่จะได้จัดทำขึ้นตามสัญญาดังกล่าว เมื่อได้มีการลงนามโดยเอกชนคู่สัญญาแล้ว เป็นข้อผูกพันเอกชนคู่สัญญา ตามกฎหมายไทยและสามารถที่จะใช้บังคับเอกชนคู่สัญญาได้ตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(6) ความขัดแย้งกับหนี้อื่น การลงนามสัญญาร่วมลงทุน หรือการปฏิบัติตามข้อผูกพันใดๆ ตามสัญญาดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการฝ่าฝืน หรือขัดต่อข้อกำหนด เงื่อนไข คำรับรองและคำรับประกัน เอกสาร ตราสาร สัญญา ข้อตกลง กฎหมายไทย หรือระเบียบข้อบังคับใดที่ผูกพันเอกชนคู่สัญญา หรือ
(ข) เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดใดๆ ในเรื่องอำนาจอื่นใดของเอกชนคู่สัญญา
(7) การฟ้องร้อง ตราบเท่าที่เอกชนคู่สัญญาทราบหรือควรจะทราบโดยสุจริต ณ วันที่มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุน ไม่มีกระบวนการฟ้องร้อง ดำเนินคดี กระบวนการทางกฎหมายไทยใดๆ หรือกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของหน่วยงานทางปกครองซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล หรือ หน่วยงานใดๆ ต่อเอกชนคู่สัญญา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสามารถทางการเงินของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติตามสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ

รัดกุม รอบคอบ มีช่องโหว่ มั้ยครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2019 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
#เผยโฉมสถานีใหม่! ‘สถานีรถไฟนครราชสีมา’ ทันสมัย ยกระดับสถานี รองรับรถไฟทางคู่-ความเร็วสูง คาดกลางปี 63 เริ่มดำเนินการ
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/2654376354640987


#แห่ถ่ายรูป ‘สถานีรถไฟโคราช’ ก่อนจะทำการรื้อโครงสร้างเก่าออกทั้งหมด และสร้างใหม่เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ โดยสถานีรถไฟนครราชสีมาแห่งนี้ถือว่าเป็นสถานีรถไฟแห่งแรกแห่งของประเทศไทย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือว่าเป็นสถานีรถไฟสายประวัติศาสตร์คู่เมืองโคราชที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเร็วๆนี้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1804655
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/2650442628367693


ที่นี่ โคราชไง
December 13 at 10:27 AM ·
#สถานีรถไฟนครราชสีมา กำลังเปลี่ยนไป
โมเดิร์น ทันสมัย ยกระดับสถานี ทางคู่-ความเร็วสูง

รฟท.เตรียมผลิกโฉม สถานีรถไฟนครราชสีมา เพื่อเดินหน้ารถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง คาดกลางปี 63 เริ่มดำเนินการ พร้อมทุบสะพานสีมาธานี และก้อสร้างอุโมงค์ทางลอดแยกอัมพวัน

โดยสถานีใหม่ รูปแบบหรูหราระดับเดียวกับสนามบิน โดยจะก่อสร้างบริเวณพื้นที่เดียวกับสถานีหัวรถไฟเดิม เป็นการก่อสร้างอาคารใหม่ ในบริเวณใหม่ (ไม่ได้สร้างทับบนอาคารเดิม) มีทั้งหมด 3 ชั้น ดังนี้
🚄ชั้นที่ 1 เป็นชั้นทางเข้าอาคาร และพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร
🚄ชั้นที่ 2 จะเป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋วและชานชาลารถไฟทางไกล
🚄ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ การเดินทางด้วยไฮสปีดเทรน (รถไฟความเร็วสูง) จะใช้เวลาเดินทาง ระหว่าง กทม.-โคราช ประมาณ 1 ชม. 30 นาที ซึ่งถือเร็วกว่าเครื่องบินเพราะไม่ต้องรอเช็คอินล่วงหน้า ซึ่งหากเสร็จตามแผน จะได้ใช้ในปี 2566

เครดิตภาพ: China Railway
https://www.facebook.com/teeneekoratt/posts/2602206169900781?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2019 1:46 am    Post subject: Reply with quote

ประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในกทม.กับ5จังหวัด
*สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๑๓๘ ก ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท่ีดินท่ีจะเวนคืนในพื้นท่ีบางส่วนใน1เขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และอีก 7 อำเภอใน5 จังหวัด ประกอบด้วย
ประกาศแล้ว พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 ธันวาคม 2562 - 10:49 น.
ประกาศแล้ว พรฎ.เวนคืนที่แนวไฮสปีดอีอีซี
วันที่ 19 ธันวาคม 2562 -

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ตำบลราชาเทวะ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลุตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัด

พื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งประกอบอื่นเป็นตามโครงการ รถไฟความเร็วสูงเช่ือมสามสนามบิน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
อ่านรายละเอียดที่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/138/T_0024.PDF
//----------------------------------------

พระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน สำหรับใช้ในโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ออกแล้ว มีใครโดนบ้างมาดูเลย

พึ่งได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา มาสดๆร้อนๆ เลยเอามาสรุปให้เพื่อนๆฟังซะหน่อย

อย่างที่ทราบกันว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการยกระดับ ตลอดเส้นทาง

พื้นที่ก่อสร้างหลักเป็นพื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันออกเดิม เกือบทั้งหมด ยกเว้นพื้นที่เชื่อมต่อสนามบิน การแก้ไขโค้งต่างๆเพื่อให้รองรับกับความเร็ว และตัวสถานีรถไฟรถไฟ

ดังนั้นโครงการนี้เลยมีพื้นที่ต้องเวนคืนน้อยมา มาดูกันทีละจุดเลยครับ

1. ช่วงหน้าสนามบินสุวรรณภูมิ และสถานีลาดกระบัง

ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับโครงการ Airport Link เดิม และขาออกของรถไฟความเร็วสูงจากในสนามบิน เลี้ยวขวา ไปทางฉะเชิงเทรา เป็นสามเหลี่ยม

2.พื้นที่ศูนย์ซ่อมรถไฟฉะเชิงเทรา และสถานีฉะเชิงเทราใหม่

ตรงนี้จะเป็นการเลี่ยงเมือง และทำโค้งใหม่เพียบให้รองรับความเร็วของตัวรถไฟได้ เพราะทางรถไฟเดิมเป็นโค้งหักสอก ก่อนข้ามแม่น้ำบางปะกง

ตรงนี้จะเป็นพื้นที่เวนคืนมาที่สุดของโครงการ เพราะต้องเผื่อที่ในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และสร้างสถานีฉะเชิงเทราใหม่ ติดถนนสุวินทวงศ์ ด้วยครับ

3.สถานีชลบุรี

เป็นการเวนคืนเพื่อขยายเขตสถานีให้พอกับการก่อสร้างสถานีชลบุรีของรถไฟความเร็วสูง

4.วัดเขาดิน

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ

5.เขาพระบาท

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ

6.วัดวังหิน

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ

7.สถานีพัทยา

เป็นการเวนคืนเพื่อขยายเขตสถานีให้พอกับการก่อสร้างสถานีชลบุรีของรถไฟความเร็วสูง

8.นาจอมเทียน

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ

9.เขาชีจรรย์

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ

10.ชุมทางเขาชีจรรย์

เป็นการเวนคืนเพื่อปรับรัศมีโค้งของรถไฟความสูงเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟ ถ้าจำไม่ผิดตรงนี้เป็นอุโมงค์ลอดทะลุเขาด้วย

11.ทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา

ตรงนี้เป็นทางใหม่ที่จะมารับจากเขตทางรถไฟเดิมเลี้ยวเข้าสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะเวนคืนเพื่อวางตำแหน่งที่ข้างอาคาร Terminal 3 ของสนามบินอู่ตะเภา


Last edited by Wisarut on 20/12/2019 10:07 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2019 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2019 10:11 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (41)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 19 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3532 ระหว่างวันที่ 19-21 ธันวาคม 2562


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง
(8) การปฏิบัติตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญามิได้ทำผิดหรือฝ่าฝืน หรือละเลยกฎหมายไทย หรือ คำสั่ง ที่มีผลผูกพันเอกชนคู่สัญญา โดยที่ผลของการทำผิด การฝ่าฝืน หรือการละเลยดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่มีอยู่ตามสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ
(9) ความถูกต้องแท้จริงของข้อมูล เอกชนคู่สัญญาไม่ได้แสดงข้อความหรือคำรับรองที่ไม่ถูกต้องไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ
(10) การชำระเงินหรือทรัพย์สินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายไทยหรือไม่ได้เปิดเผย เอกชนคู่สัญญา และกรรมการ รวมทั้งผู้มีอำนาจควบคุม หรือผู้บริหารของเอกชนคู่สัญญาไม่ได้เสนอ หรือสัญญาว่าจะชำระ หรือจะให้ หรือได้ชำระ หรือได้ให้ หรือมอบหมายให้ชำระ หรือให้เงิน หรือสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่ ตัวแทนของเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ (รวมถึง รฟท.และหน่วยงานของรัฐ) หรือพรรคการเมือง หรือพนักงานของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือโดยผ่านบุคคลอื่นใดก็ตาม) เพื่อให้บุคคลดังกล่าวใช้อำนาจ ตำแหน่งหรืออิทธิพลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายไทย หรือโดยทุจริตไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับโครงการฯ หรือการดำเนินการภายใต้สัญญาร่วมลงทุนหรือไม่ก็ตาม เอกชนคู่สัญญาตกลงและเข้าใจดีว่า รฟท.เข้าทำสัญญาร่วมลงทุน โดยเชื่อถือในคำรับรองและคำรับประกันทั้งหลายของเอกชนคู่สัญญา รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญาได้ให้แก่ รฟท.ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนในโครงการฯ และยื่นซองข้อเสนอ ดังนั้นหากภายหลังปรากฏว่าคำรับรองและคำรับประกันหรือข้อมูลใดๆ ของเอกชนคู่สัญญาไม่เป็นความจริงหรือไม่ถูกต้อง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด หรือเอกชนคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามคำรับรองหรือคำรับประกันใดๆ ดังกล่าวเป็นสาระสำคัญถึงขนาดว่าไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนต่อไปได้ รฟท.มีสิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุน และเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งปวงให้แก่ รฟท.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

23.2 การรับทราบข้อมูลของ รฟท. คู่สัญญาตกลงว่าเนื่องจากเอกชนคู่สัญญาได้รับทราบข้อมูลที่เปิดเผยและมีโอกาสได้ตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยแล้ว รวมถึงข้อมูลที่เปิดเผยเกี่ยวกับความพร้อมของโครงการฯ ความเป็นไปได้ของโครงการฯ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ การได้มาซึ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นของโครงการฯ และการส่งมอบและความเหมาะสมของพื้นที่ของโครงการฯ โดยในการตกลงเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนเอกชนคู่สัญญาได้รับทราบข้อมูลที่เปิดเผยมีโอกาสได้ตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยและตระหนักเป็นอย่างดีถึงเหตุแห่งความเสี่ยงทั้งหลายที่อาจมีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามหน้าที่หรือความรับผิดชอบของเอกชนคู่สัญญา ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาร่วมลงทุน หรือที่เกิดขึ้นในอนาคต และตกลงเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนและดำเนินการทั้งหลายตามที่สัญญาร่วมลงทุนกำหนดให้เป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบของเอกชนคู่สัญญาแล้ว
ดังนั้น เอกชนคู่สัญญาตกลงจะไม่ยกหรืออ้างเหตุแห่งความเสี่ยงดังกล่าว เป็นเหตุเพื่อยกเว้นหรือผ่อนปรนความรับผิดชอบหรือหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน และ/หรือเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายหรือค่าชดเชยใดๆ จาก รฟท.

23.3 คำรับรองและคำรับประกันของ รฟท.
(1) อำนาจการเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนและสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน การปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนและสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน การจัดทำเอกสารและการดำเนินการอื่นใดตามที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนและสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่ รฟท.สามารถกระทำได้ และไม่เป็นการขัดกฎหมายไทยหรือข้อจำกัดตามกฎหมายไทยหรือข้อผูกพันใดๆ ที่มีผลผูกพัน รฟท.หรือขัดต่อวัตถุประสงค์และข้อกำหนดในข้อบังคับของ รฟท. และ รฟท. ได้ดำเนินการตามที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการอนุญาตในการเข้าทำและปฏิบัติตามสัญญาข้างต้นนี้ เรียบร้อยแล้ว
(2) ความผูกพันของสัญญา สัญญาร่วมลงทุน รวมถึงเอกสารอื่นใดที่จะได้จัดทำขึ้นตามสัญญาดังกล่าว เมื่อได้มีการลงนามโดย รฟท. แล้ว เป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายไทยและเป็นข้อผูกพันตามกฎหมายไทยที่สมบูรณ์และมีผลผูกพัน รฟท.และสามารถที่จะใช้บังคับ รฟท.ได้ตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้
(3) พันธะผูกพันในพื้นที่ของโครงการฯ พันธะผูกพันในแต่ละพื้นที่ที่ รฟท.มีอยู่กับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่เกี่ยวกับสถานีตามที่ระบุไว้ในข้อ 5.2(4)(ข) ที่รฟท.มีอยู่กับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมดเป็นไปตามพันธะผูกพันที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 11 (สัญญาพันธะผูกพันในแต่ละพื้นที่)
24. ข้อตกลงกระทำการ 24.1 ข้อตกลงกระทำการของเอกชนคู่สัญญา นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุนเอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะกระทำการดังต่อไปนี้
(1) การนำส่งเอกสารและข้อมูล เมื่อได้รับคำขอที่มีเหตุผลอันสมควรจาก รฟท.เอกชนคู่สัญญาจะส่งรายงาน และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ การดำเนินกิจการทางพาณิชย์ สถานะทางการเงิน หรือสถานภาพของเอกชนคู่สัญญา หรืออื่นๆ ตามที่ รฟท.ร้องขอให้แก่ รฟท.ในระยะเวลาอันสมควร
(2) การแจ้งข้อมูลสำคัญ เอกชนคู่สัญญาจะแจ้งให้ รฟท.ทราบถึงเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาตามสมควร (พร้อมทั้งรายละเอียดที่เหมาะสม) กล่าวคือ
(ก) การเกิดกรณีผิดหรือยกเลิกสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ซึ่งมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญตามสัญญาร่วมทุน หรือ
(ข) กรณีผิดสัญญาในหนี้อื่นใดของเอกชนคู่สัญญาที่มีมูลค่าหรือจำนวนเงินเกินกว่าสองพันล้าน (2,000,000,000)บาท หรือเทียบเท่า ซึ่งมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญตามสัญญาร่วมทุน
(ค) เหตุการณ์ใดที่อาจจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อโครงการฯ ทรัพย์สิน หรือสถานะทางการเงิน ของเอกชนคู่สัญญาจนทำให้เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญตามสัญญาร่วมทุนได้
เกาะติดกันให้ดีนะครับ เรื่องนี้สำคัญมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2019 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

ตั้งเป้าม.ค.63 ถกสัญญาซื้อระบบ”ไฮสปีดไทย-จีน”วงเงิน 5.06 หมื่นล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 ธันวาคม 2562 17:24
ปรับปรุง: 20 ธันวาคม 2562 17:39

“ศักดิ์สยาม”เตรียมชง”นายกฯ” ขยายกรอบเวลาเจรจาสัญญา 2.3 “รถไฟไทย-จีน “ไปถึงสิ้นเดือนพ.ค. 63 ขณะที่รอจีนยืนยัน ตั้งเป้าประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 28 ในม.ค. 63 เพื่อเร่งเซ็นสัญญา ซื้อระบบ 5.06 หมื่นล. โดยใช้สกุลดอลลาร์ 80%

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (คบร.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเงื่อนไขเงินกู้ สัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นสอบถามความเห็น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะใช้เงินกู้ สกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในสัดส่วน 80% ส่วนอีก 20% จะใช้เป็นเงินสกุลบาท

ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ นั้น ทางจีนเสนอใช้อัตราค่าเฉลี่ย โดยคิดตั้งแต่วันที่ยื่นเมื่อเดือนเม.ย. 2562 จนถึงวันลงนามสัญญา ซึ่งประเมินแล้ว เป็นอัตราที่มีความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาในการขยายกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานของสัญญา 2.3 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 ธ.ค. 2562 โดยจะเสนอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอขยายเวลา ออกไปเป็นสิ้นเดือนพ.ค. 2563 ทั้งนี้เป็นการดำเนินการ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ที่ 30/ 2560 ลงวันที่เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560

สำหรับการประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เพื่อสรุป ในเรื่องสกุลเงิน,อัตราแลกเปลี่ยน,วันลงนามสัญญา 2.3 นั้น ขณะได้ประสานงานกับจีนเพื่อกำหนดวันประชุมแล้ว โดยทางจีนจะตอบอีเมล์กลับมาในสัปดาห์หน้า ซึ่งตั้งเป้าการประชุม คณะกรรมการร่วม ไทย-จีน ครั้งที่ 28 จะเกิดขึ้นภายในเดือนม.ค. 2563 จากนั้นจะมีขั้นตอนในการเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.และคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบการลงนามก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา 2.3 ร่วมกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 360, 361, 362 ... 541, 542, 543  Next
Page 361 of 543

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©