RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180203
ทั้งหมด:13491437
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2019 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สีชมพูสะดุดต้องขยับสถานี ต่อเหลืองไปรัชโยฯ กระทบ MRT-เตรียมเรียกถก 3 ฝ่าย
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 เวลา 09:30 น.


รฟม.เคาะแผนส่วนต่อขยายสายสีเหลืองแล้ว
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 22.21 น.


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้สรุปผลการศึกษาแผนการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เรียบร้อยแล้วถึงการขยายเส้นทางจากเดิมสิ้นสุดตรงสถานีลาดพร้าว (รถไฟฟ้าใต้ดิน) ซึ่งมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้รับสัมปทาน ขยายไปสิ้นสุดที่แยกรัชโยธินเพื่อไปเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ซึ่งมีบริษัทบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทาน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร (กม.)นั้น จะทำให้ BEM ได้รับผลกระทบเรื่องจำนวนผู้โดยสาร


“จากการศึกษาพบว่าในปีแรกที่เปิดบริการส่วนต่อขยายสายสีเหลือง จะทำให้ผู้โดยสารของ BEM ลดลง 9,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 1% และผู้โดยสารจะลดลงเรื่อยๆจนถึงปีที่ 30 ของสัญญาสัมปทาน ที่พบว่าผู้โดยสารจะลดลงประมาณ 30,000 คนต่อวัน”


อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม 2563 รฟม.จะเชิญ BTS และ BEM มาเจรจา 3 ฝ่าย เพื่อหาทางออกในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่า รฟม.จะให้ BTS ชดเชยแก่ BEM ถ้า BTS ต้องการต่อขยายสายสีเหลืองออกไป แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะชดเชยในลักษณะใด หรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด


ส่วนความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูหลัก แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งมีกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture โดยมี BTS เป็นแกนนำ เป็นผู้รับงานทั้ง 2 สายทางนั้น ขณะนี้มีความคืบหน้าภาพรวมประมาณ 45%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2020 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

ทะลวงต่อขยาย ‘เหลือง-ชมพู’เฟส 2 ดึงคนศาลรัชดาฯ-เมืองทองเข้าระบบ
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 8 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,537 วันที่ 5-8 มกราคม 2563

นอกจาก กลุ่มบีทีเอส จะก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ระยะทาง 19 กิโลเมตร เปิดใช้เส้นทางเต็มทั้งระบบปลายปีนี้แล้ว ยังเร่งก่อสร้างเส้นทางสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร และ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2564 ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนเชื่อมโยงโครงข่ายรองรับกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่จุดอับ ไม่มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน มีข้อจำกัดเรื่องรถสาธารณะ จึงขีดแนวส่วนต่อขยายออกไปอีก 2 เส้นทาง กวาดคนให้เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเพิ่ม ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเหลือง รูปแบบโมโนเรล ช่วงถนนลาดพร้าว-รัชดาฯ บริเวณอาคารจอดแล้วจรของ รฟม. ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตัดกับ MRT ใต้ดินสีนํ้าเงิน ปัจจุบัน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้รับสัมปทานให้บริการเดินรถ ก่อสร้างยกระดับวิ่งไปตามเส้นทางของ ถนนรัชดาฯ ผ่านหน้าศาลอาญามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มที่ตั้งของคอนโดมิเนียมที่อยู่บริเวณด้านในซอย



ส่วนการเวนคืนมีกระทบเล็กน้อยบริเวณหน้าศาลและบาทวิถี เนื่องจากเป็นจุดที่ตั้งสถานีบริเวณหน้าศาลวิ่งไปตามเกาะกลางถนนรัชดาฯ ไปสิ้นสุดที่บริเวณใกล้แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน บริเวณนี้เวนคืนเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นบาทวิถีของกรุงเทพมหานคร เพื่อก่อสร้าง ตัวสถานี บริเวณแยกรัชโยธินหน้าสน.พหลโยธินเชื่อมต่อกับส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ที่สถานีพหลโยธิน 24 ที่บีทีเอส จะสร้างวอล์กเวย์เชื่อมระหว่าง 2 สถานีอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเปลี่ยนถ่ายเส้นทาง ทั้งนี้ แหล่งข่าวจาก รฟม.ยืนยันว่า การก่อสร้างเฟส 2 ของสายสีเหลืองจะเกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากอยู่ในเขตเมือง มองว่าจะมีคนใช้บริการสูง ทั้งเจ้าหน้าที่ คนมาติดต่อยังศาล อีกทั้ง สถาบันการศึกษาตลอดจนผู้อยู่อาศัยในระแวกนั้นอย่างคอนโดมิเนียม เช่นเดียวกับนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ยํ้าว่า ภายในปี 2563 น่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างเส้นทางส่วนต่อขยายนี้ ซึ่งระยะทางมีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร วิ่งจากอาคารจอดรถรฟม. ไปยังแยกรัชโยธิน แต่ทั้งนี้ รฟม. มอบให้ทาง BEM ศึกษา เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อผู้โดยสารของสายสีนํ้าเงิน



อย่างไรก็ตามนายสุรพงษ์ ประเมินว่าน่าจะส่งผลดีมากกว่า ทั้งการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกัน การป้อนผู้โดยสารให้กับสายสีนํ้าเงิน ตลอดจนของบีทีเอสเอง จากการรับคนจากพระราม 9 ทั้งใต้ดินสีนํ้าเงิน สายสีส้มที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ผ่านมายังสายสีเหลืองและสายสีเขียวบีทีเอสทั้งระบบ ขณะส่วนต่อขยายสายสีชมพูเชื่อมเข้าเมืองทองธานี วิ่งไปตามทางด่วนมี 2 สถานี ให้บริการ ได้แก่ บริเวณอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์และด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี ซึ่งการเจรจากับ รฟม. ผ่านไป 2 ครั้ง น่าจะเข้าพื้นที่ได้ภายในปีนี้เพื่อก่อสร้างไปพร้อมกับเส้นทางหลักสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยใช้เงินลงทุนเอง คาดว่าจะรับผู้โดยสารรายใหม่ๆ เติมเข้าระบบในปริมาณหลัก 10,000คนขึ้นไป อนาคตการเดินทางจะสะดวกสบายยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อมีโครงข่ายรถไฟฟ้าต่อขยายเชื่อมโยงเป็นใยแมงมุม ทะลุทะลวงรับคนเข้าระบบมากขึ้นแม้จะอยู่ในมุมอับของเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2020 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

ที่พุ่งวาละล้าน ต่อขยายสีเขียว แยกรัชโยธินสุดปัง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ 11 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 25
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,538
วันที่ 9-11 มกราคม 2563

ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าพุ่งไม่หยุด แยกรัชโยธิน ต่อขยายบีทีเอส สายสีเขียว สุดปัง จุดตัดรถไฟฟ้า ต่อขยายสายสีเหลือง-เขียว สายสีนํ้าเงิน ราคาพุ่ง 1 ล้านบาทต่อตารางวา ส่วนต่อขยายสีนํ้าเงิน ผ่านซีบีดี ทั้งเก่า-ใหม่ เยาวราชยันรัชดาฯ จุดตัดมากสุดไม่เฉพาะพื้นที่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูง แต่ทุกเส้นทางรถ
ไฟฟ้าพาดผ่าน ที่นั่นย่อมเกิดทำเลทองใหม่ ราคาที่ดินถูกปั่นจากหลักหมื่นขยับขึ้นหลักแสน ทะลุตารางวาละ 1 ล้านบาทในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟฟ้า ทั้งนี้ทำเลมาแรง นับจากปี 2563 ต้องยกให้บริเวณสี่แยกรัชโยธิน ซึ่งเรียกว่า ส้มหล่นหลายเด้ง เนื่องจากกำลังจะมีส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงรัชดาฯ-ลาดพร้าวถึงแยกรัชโยธิน จุดตัดกับใต้ดิน MRT สายสีนํ้าเงินวิ่งบรรจบ แยกรัชโยธินเกิดจุดตัดขนาดย่อมบริเวณสถานีพหลโยธิน 24ของส่วนต่อขยายบีทีเอส สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ซึ่งย่านนี้ เป็นย่านชุมชน แหล่งงานขนาดใหญ่ เช่น ตึกช้าง ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ย่านช็อปปิ้งอย่างเมเจอร์รัชโยธิน ทะลุเชื่อมถนนวิภาวดีฯ ได้อีกเส้นทาง ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับแรงยกเวิ้งตารางวาละกว่า 1 ล้านบาท ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ชนกับแยกลาดพร้าว-รัชดาฯ วิ่งวนถึงเวิ้งธนาคารไทยพาณิชย์ - เมเจอร์รัชโยธิน บริเวณนี้มีร้านค้าเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์นนทบุรี ฐานะอุปนายกและเลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า ทำเลที่น่าสนใจตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ และส่วนต่อขยาย โดยสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) จะมีศักยภาพพัฒนาคอนโดมิเนียมได้ จะสิ้นสุดแค่ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ถัดออกไป 2 ฟากฝั่ง จะเข้าสู่เขตดอนเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินทหาร และปลายทาง คือคูคต ซึ่งเป็นทำเลแนวราบราคาที่ดินในซอยอย่างลำลูกกาคลอง 4 ไร่ละ 5 ล้านบาท หากติดถนนใหญ่ไร่ละ 10 ล้านบาท สามารถพัฒนาทาวน์เฮาส์ 2 ล้านบาทและบ้านเดี่ยว 4-5 ล้านบาทได้สำหรับทำเลตลาดยิ่งเจริญ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เจ้าของตลาดรายนี้ ได้พัฒนาเป็นตลาดติดแอร์ เพิ่มเติมเมื่อรถไฟฟ้ามาถึง ขณะฝั่งตรงกันข้าม มีห้าง บิ๊กซี (พหลโยธินซอย 52) หากรวมแยกมหาวิทยาลัยเกษตรฯเข้าไปด้วย จะมีทั้งสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ กลุ่มมีกำลังซื้อที่ผู้ปกครองนิยมซื้อให้บุตรหลาน ราคาที่ดิน ปี 2563 อยู่ที่ 4 แสนบาทต่อตารางวา เทียบจาก 2 ปีก่อน2 แสนบาทต่อตารางวา


ขณะทำเลที่น่าจับตามากที่สุด นอกจากห้าแยกลาดพร้าวคงหนีไม่พ้น ตั้งแต่ ลาดพร้าว-รัชดาฯ ถึงแยกรัชโยธิน ซึ่งเป็นย่านที่มีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นหนาแน่น รวมทั้งห้างเมเจอร์ ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่ามีคนเข้าใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก เมื่อมีรถไฟฟ้า 2 เส้นทางมาบรรจบกันกลายเป็นจุดตัด ยิ่งดันราคาที่ดินสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งๆที่ปัจจุบันราคาก็ขยับเพราะสายสีเขียวอยู่แล้ว หากใครขายต่ำกว่า ล้านบาทต่อตารางวา ถือว่าพลาดมาก อย่างไรก็ตาม แม้บริเวณนี้จะมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมาก แต่ทำเลนี้ยังมีที่ดินแปลงใหญ่ ซึ่งอยู่ติดกับสน.พหลโยธิน เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ไร่ ปัจจุบันให้เช่าประกอบกิจการโรงเลื่อย โดยเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมขายแม้ดีเวลอปเปอร์หลายเจ้าจะติดต่อขอซื้อให้ราคาสูงก็ตาม ส่วนอีกแปลงที่ดินแดนเนรมิต ตระกูลเสรีเริงฤทธิ์ เนื่อที่ 33 ไร่ เจ้าของไม่ขายเช่นกัน ขณะกลุ่มเซ็นทรัล เตรียมพัฒนาที่ดินแปลงพหลโยธิน เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ คาดว่าอยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขออนุญาตทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพราะตัดถนนขนาด เลน ผ่านแปลงที่ดินเชื่อมตั้งแต่ถนนพหลโยธินถึงวิภาวดีฯ ทำให้มูลค่าที่ดินสูงขึ้นหลายเท่าตัวนายเลิศมงคลกล่าวต่อว่า นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว เส้นทางที่พลิกกลับเป็นบวกทำให้ย่านฝั่งธนบุรีคึกคัก ถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดแนว บางยี่ขัน บางอ้อ ท่าพระ วิ่งไปหลักสอง ราคาขยับขึ้นยกแผง 5-6 แสนบาทต่อตารางวา จาก 1-2 ปีก่อน เพียง 3 แสนบาทต่อตารางวา ส่วนคอนโดมิเนียมเดิมทำท่าขายช้า สามารถขายได้เร็วดูดซับซัพพลายได้มากจากการเปิดให้บริการครบวงก่อนกำหนด ขณะจุดเด่นของส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน จะวิ่งเป็นรูปตัวคิว (Q) เนื่องจากวิ่งผ่านเข้าย่านซีบีดีเก่าอย่างเยาวราช สำเพ็ง อายุกว่า 100 ปี ผ่านย่านศาลาแดง สามย่าน หัวลำโพง ซีบีดีหลัก และรัชดาฯ ซีบีดีใหม่ ทำให้มีจุดตัดมากที่สุดสำหรับเส้นทางนี้ โดยเฉพาะจุดตัดศูนย์วัฒนธรรมฯ (พระราม 9-รัชดาฯ) ของสายสีนํ้าเงิน สายสีส้มตะวันออก ที่กำลังก่อสร้าง และสายสีส้มตะวันตก รัฐเตรียมนำออกประมูล ถือว่าเป็นฮับโซนตะวันออกที่น่าจับตา



อีกเส้นทางที่เป็นทำเลดาวรุ่งในอนาคต จะเป็นสายสีเหลือง ตลอดเส้นทางของถนนลาดพร้าวซึ่งมีชุมชนค่อนข้างหนาแน่นยาวไปถึงบางกะปิ-รามคำแหง รถไฟฟ้าสายสีส้ม แต่ทำเลที่ไม่แนะนำอาจซํ้ารอยสายสีม่วง ได้แก่ สายสีชมพู 
มีเพียงเมืองมองและศูนย์ราชการเท่านั้นนอกนั้นตลอดเส้นทาง ไปรามอินทราจดมีนบุรี เป็นโซนบ้านแนวราบ ไม่มีแหล่งงานและเชื่อว่าผู้โดยสารจะไม่มากด้านนาย สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (บีทีเอสซี) ทำเลตั้งแต่แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าวถึงแยกรัชโยธิน จะเป็นอีกทำเลที่มีผู้ประกอบการให้ความสนใจ โดยเฉพาะ รัชดาฯ ลาดพร้าว และพหลโยธินเนื่องจากมีรถไฟฟ้าเชื่อม ถึงกันเป็นวงกลมในอนาคต สร้างความสะดวกสบายให้กับการเดินทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2020 9:00 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองฯ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มกราคม 2563 - 15:37 น.

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมืองทองธานี “สีเหลือง” เชื่อมรัชโยธินติดปมแย่งผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วันที่ 22 ม.ค.2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้อนุมัติผลเจรจาการลงทุนส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ตามที่บริษัท นอร์ท เทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานนำเสนอจะลงทุน 3,379 ล้านบาท สร้างจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. จำนวน 2 สถานี

โดยผลเจรจาเอกชนจะแบ่งรายได้ค่าโดยสารส่วนต่อขยายให้กับ รฟม.ก็ต่อเมื่อมีผลการดำเนินการที่มีกำไรเพิ่มขึ้น 30% ตาม EIRR ซึ่งจะเป็นหลังปีที่ 20 ไปแล้ว เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 2-3 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากปีแรกเปิดบริการสายสีชมพูทั้งสายหลักและส่วนต่อขยายจะอยู่ที่ 1.9 แสนเที่ยวคนต่อวัน

“หลังจากนี้จะเสนอคณะกรรมการมาตรา 43 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จะมีประชุมวันที่ 5 ก.พ.2563 จะพิจารณาร่างแก้ไขสัญญาเพิ่ม ตามผลเจรจา เช่น เรื่องเส้นทางที่เพิ่มเติมไปในเมืองทองธานี ผลเงื่อนไขการลงทุนทั้งหมด รวมถึงการที่ รฟม.จะต้องเป็นผู้เวนคืนที่ดินให้เพิ่มตรงหัวมุมทางเข้าประมาณ 200-300 ตารางวา นอกเหนือจากขอใช้พื้นที่ใต้ทางด่วนจากการทางพิเศษฯ” นายภคพงศ์กล่าวและว่า

เมื่อคณะกรรมการมาตรา 43 อนุมัติแล้ว จะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจร่าง ส่งกลับไป รฟม. กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะเวลาดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ อีกสักระยะหนึ่ง แต่จะเร่งให้มีการก่อสร้างภายในปี 2563 นี้ ส่วนการเปิดให้บริการจะล่าช้าจากสายหลักไปอย่างน้อย 1 ปี

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า สำหรับสายสีหลืองส่วนต่อขยายที่บริษัท อีสเทิร์น โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานเสนอจะลงทุนก่อสร้างจากแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปแยกรัชโยธิน เชื่อมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 2.6 กม. ลงทุน 3,779 ล้านบาท ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากทาง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน มีข้อกังวลจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารของสายสีน้ำเงิน

ภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ รฟม. BEM และกลุ่มบีทีเอสเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการชดเชยให้กับ BEM ยังไงได้บ้าง เนื่องจากจะมีผู้โดยสารหายไป 9,000 เที่ยวคนต่อวัน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2020 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองฯ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มกราคม 2563 - 15:37 น.


อนุมัติผลเจรจาต่อสีชมพูไปเมืองทอง
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
23 มกราคม 2563 เวลา 09:14 น.

บอร์ด รฟม.เตรียมเสนอร่างแก้ไขสัญญา-ต่อสีเหลืองยังไม่จบ

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวอนุมัติผลเจรจาส่วนต่อขยายสายสีชมพู เข้าเมืองทองธานี เตรียมเสนอคณะกรรมการ มาตรา 43 ยกร่างแก้ไขสัญญาเพิ่ม 5 ก.พ.นี้ ส่วนต่อขยายเหลืองไปรัชโยธินยังเจรจาไม่จบ

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. นายภคพงศ์ กันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมบอร์ดวันนี้เห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอผลการเจรจาส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ร่วมกับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทาน ส่วนที่เพิ่มเติมเรื่องเส้นทางช่วงสถานีศรีรัช ถึงเมืองทองธานี การลงทุน หน้าที่ความรับผิดชอบ โดย รฟม.จะต้องเวนคืนที่ดินส่วนต่อขยายมีทั้งที่ดินของเอกชน และของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ประมาณ 200-3,000 ตารางวา โดยเอกชนรับผิดชอบจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน รวมถึงเรื่องส่วนแบ่งรายได้ส่วนต่อขยาย จะได้รับเมื่อผลประกอบการบริษัทมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 30% คาดว่าหลังจากปีที่ 20 ไปแล้ว โดยปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 200,000 คนต่อวัน จากที่คาดการณ์ช่วงแรกไว้ 190,000 คนต่อวัน ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 43 พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุน ปี 2556 พิจารณาแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมวันที่ 5 ก.พ.นี้ จากนั้นจะเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา และดำเนินการตามขั้นตอนก่อน
เสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติต่อไป

นายภคงพงค์กล่าวว่า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ส่วนต่อขยาย จากแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน อยู่ระหว่างการประชุมเจรจาร่วม 3 ฝ่าย ระหว่าง รฟม. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) และ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) เรื่องผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องปริมาณผู้โดยสาร จะนัดการประชุมอีกครั้งสิ้นเดือน ก.พ.นี้.

บอร์ด รฟม.เคาะ “โมโนเรล” สีชมพู เอกชนเพิ่มผลตอบแทนส่วนต่อเข้าเมืองทองฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 มกราคม 2563 เวลา 18:19
ปรับปรุง: 23 มกราคม 2563 เวลา 08:30




บอร์ด รฟม.ไฟเขียวผลเจรจารถไฟฟ้าสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี เอกชนแบ่งรายได้รัฐเพิ่ม ชง กก.มาตรา 43 เคาะร่างสัญญาเพิ่มเติม 5 ก.พ.นี้ ส่วนต่อขยายสีเหลืองนัดเจรจา 3 ฝ่ายปมกระทบสัมปทาน Bem เผยทำผู้โดยสารสีน้ำเงินลด 9 พันคน/วัน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน วันที่ 22 ม.ค. มีมติเห็นชอบผลการเจรจาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) จากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี กับบริษัทนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM แล้วในส่วนเพิ่มเติม โดยหลังจากนี้ รฟม.จะนำเสนอคณะกรรมการกำกับโครงการฯ ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 ซึ่งจะประชุมในวันที่ 5 ก.พ. เพื่อพิจารณาผลเจรจาและร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จากนั้นจะส่งให้อัยการสูงสุดตรวจและเห็นชอบร่างสัญญา จึงจะเสนอ รมว.คมนาคมเห็นชอบและส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ PPP อนุมัติ ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

ผลการเจรจาส่วนต่อขยายสายสีชมพู เช่น เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งค่าก่อสร้างงานโยธา และค่าเวนคืน ส่วน รฟม.จะดำเนินการเวนคืนที่ดินตามอำนาจหน้าที่ เพราะนอกจากจะมีการใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บางส่วนแล้วจะมีส่วนที่มีการเวนคืนที่ดินเพื่อเป็นส่วนของสเปอร์ไลน์ประมาณ 200-300 ตารางวา

สำหรับการเจรจาเรื่องการแบ่งปันผลตอบแทนส่วนเพิ่ม หรือ upside sharing ได้ข้อสรุปว่า รฟม.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากค่าโดยสารเส้นทางส่วนต่อขยายต่อเมื่อมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% หรือต้องมีจำนวนผู้โดยสารเกือบ 3 แสนคน/วัน ซึ่งจะอยู่ช่วงหลังจากปีที่ 20 ขณะที่ประมาณการผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดให้บริการไว้ที่ประมาณ 1.9 แสนคน/วัน ซึ่งตามสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีผลตอบแทนทางการลงทุน (EIRR) ที่ 10% โดย รฟม.จะมีผลตอบแทน 2 ส่วน คือ ผลตอบแทนรายปี เป็นรายได้คงที่ และรายได้จากส่วนแบ่งผลดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นที่คาดว่าจะได้ในหลังจากปีที่ 20 ไปแล้ว

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ส่วนต่อขยายจากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธินนั้น ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า จะมีการประชุมร่วม 3 ฝ่ายระหว่าง รฟม.กับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ปลายเดือน ม.ค.นี้ กรณีที่ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองมีผลกระทบต่อสัญญาสัมปทานของ BEM โดยการศึกษาพบว่าทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินลดลงประมาณ 9,000 คน/วัน ซึ่งรูปแบบการชดเชยนั้นจะต้องเร่งหารือร่วมกัน

สำหรับสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. จำนวน 2 สถานี ลงทุนกว่า 3,300 ล้านบาท สายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ลงทุนกว่า 3,700 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2020 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ น้องทันใจมารายงานเช่นเคยจ้า

ช่วงนี้บนถนนลาดพร้าวจะคึกคักเป็นพิเศษนะคะ โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา(24 ม.ค. 63) ทางโครงการฯได้ดำเนินงานยกติดตั้งชิ้นส่วนคานทางวิ่ง (Guide way Beam) ซึ่งเป็นสายทางจากสถานีโชคชัย 4 มุ่งหน้าสถานีลาดพร้าว 71 หลายท่านอาจจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงบนถนนลาดพร้าวเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ แล้วนะคะ เพราะทางทีมงานเร่งดำเนินงานกันอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดให้ใช้บริการตามระยะเวลาที่กำหนด ประมาณปลายปี 2564 นั่นเองค่ะ

ครั้งต่อไปน้องทันใจจะมาอัพเดทภาพการดำเนินงานพื้นที่ไหนอีก โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/997634163943695
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2020 3:54 pm    Post subject: Reply with quote

BTS เฉือนรายได้ 20-40% แลกสร้างโมโนเรลเชื่อม “เมืองทอง-รัชโยธิน”
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:00 น.

หลัง “คีรี กาญจนพาสน์” เจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอสและพันธมิตร “ซิโน-ไทยฯ และราช กรุ๊ป” รวมตัวเป็นหุ้นส่วนธุรกิจในนามกิจการร่วมค้า BSR ยื่นข้อเสนอซองที่ 3 ทุ่มเม็ดเงินอีก 7,158 ล้านบาท ขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทยที่ใช้เงินลงทุนร่วมแสนล้านบาทให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ยืด “สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี” เลี้ยวเข้าเมืองทองธานี ระยะทางประมาณ 2.8 กม. จากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี วงเงินลงทุน 3,379 ล้านบาท และสายสีเหลือง “ลาดพร้าว-สำโรง” เชื่อมจากแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าวถึงแยกรัชโยธิน เชื่อมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 2.6 กม. วงเงินลงทุน 3,779 ล้านบาท

เหตุผลที่มีข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติมเส้นทางหลักที่ “กลุ่มบีทีเอส” ได้รับสัมปทานจาก “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ระยะเวลา 30 ปี


“คีรี” บอสใหญ่บีทีเอสเคยระบุถึงที่มาที่ไป ไว้ว่า “เพื่อให้โครงการสมบูรณ์ ผู้โดยสารเดินทางสะดวก ไม่ขาดช่วงเหมือนสายสีม่วงที่ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า ความจริงเวลานี้รถไฟฟ้าหลายสายผู้โดยสารยังไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ ไม่ใช่ว่าการบริการไม่ดี แต่การเชื่อมต่อเส้นทางยังไม่สมบูรณ์พอ”

จึงเป็นที่มาของการจับมือกับพี่ชาย “อนันต์ กาญจนพาสน์” เจ้าของที่ดินในเมืองทองธานี ลงขันสร้างส่วนต่อขยายสายสีชมพูเข้าไปในศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี มี 2 สถานี ซึ่งสถานีแรกอยู่บริเวณอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ และสถานีที่ 2 อยู่บริเวณทะเลสาบ รองรับผู้อยู่อาศัยกว่า 1.5 แสนคน และผู้มาใช้บริการศูนย์การประชุมอิมแพ็คฯกว่า 10 ล้านคน/ปี

ขณะที่สายสีเหลือง “คีรี” แจกแจงว่าจะสร้างไปตามถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่แยกรัชโยธิน เชื่อสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) มี 3 สถานี คือ สถานีรัชดา สถานีศาลยุติธรรม และแยกรัชโยธิน รองรับแหล่งงานใกล้กับเมเจอร์รัชโยธิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ตึกช้าง

ณ เดือน ธ.ค. 2562 งานก่อสร้างเส้นทางหลักของสายสีชมพูอยู่ที่ 48.06% ยังล่าช้าจากแผน 4-5% และสายสีเหลืองอยู่ที่ 47.71% ยังล่าช้าจากแผนงาน 2.61% ทั้ง 2 สายทางจะแล้วเสร็จเปิดบริการพร้อมกันในเดือน ต.ค. 2564

สำหรับส่วนต่อขยาย 2 ช่วง ถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเข็ม ต้องขยับไทม์ไลน์การเปิดบริการออกไปประมาณ 1-2 ปี จากเป้าเดิมคาดว่าจะเปิดหวูดพร้อมกันทั้งโครงข่ายในปี 2564

ความคืบหน้าล่าสุดของ 2 ส่วนต่อขยาย ในส่วนของสายสีชมพูผลการเจรจาเพิ่งจะผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา รวมถึงรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะเริ่มตอกเข็มอย่างเร็วภายในปลายปีนี้ และแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2566

ที่ยังต้องลุ้นหนัก “ส่วนต่อขยายสายสีเหลือง” เพราะนอกจากรอการอนุมัติ EIA ยังต้องรอผลการเจรจาปมแย่งผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินที่ “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” แพนิก ผลจากการเปิดส่วนต่อขยายสายสีเหลืองที่สร้างเชื่อมกับสถานีลาดพร้าวจะกระทบต่อปริมาณผู้โดยสารของสายสีน้ำเงิน

ทำให้ตกอยู่ในสถานะยังลูกผีลูกคน ไม่รู้จะได้ไปต่อหรือถูกพับแผน อยู่ที่การตัดสินใจของ “บิ๊ก รฟม.” คู่สัญญาของทั้งสองฝ่ายจะทะลวงปมคาใจได้อย่างไร

“ข้อกังวลของ BEM เป็นตัวเลขของอนาคตที่นำมาเจรจากัน ไม่มีใครรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพราะทุกอย่างคือการคาดการณ์ยังหาความจริงไม่ได้ เปิดแล้วอาจจะหนุนกันก็ได้หรือจะกระทบแต่ก็อาจจะไม่มาก” แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมวิเคราะห์

ตอนนี้ “รฟม.” ตกอยู่ในบนทาง 2 แพร่ง ถ้าให้บีทีเอสลงทุนก็ต้องยอมรับว่าอาจจะต้องถูก BEM เคลมในอนาคต ถ้าผู้โดยสารลดลงจริงก็ต้องหามาตรการชดเชย เช่น ขยายเวลาสัมปทาน หรือเจรจาบีทีเอสมารับภาระส่วนนี้แทน แลกกับได้โครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มโดยที่ไม่ต้องควักเงินลงทุน

ขณะที่ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ภายในเดือน ก.พ.นี้จะมีประชุมร่วมระหว่างบีทีเอส BEM และ รฟม.เพื่อหาข้อสรุป ทั้งนี้ จากการศึกษาของ BEM พบว่าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายจะทำให้ผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินลดลงประมาณ 9,000 เที่ยวคนต่อวัน

“สายสีเหลืองส่วนต่อขยายยังไงก็ต้องสร้าง กำลังหาข้อยุติและทางออก”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า สำหรับผลเจรจาการตอบแทนของส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงจะใช้สูตรเดียวกัน คือ บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารทั้งโครงข่ายให้ รฟม.บนพื้นฐานว่าจะไม่นำผู้โดยสารของส่วนต่อขยายมารวมกับสายทางหลัก เพื่อจะทำให้ รฟม.มีรายได้มากและเร็วขึ้น

โดยคิดตามความผันแปรของปริมาณผู้โดยสาร หากเพิ่มมากกว่า 30% ต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม. 20% หากเพิ่มมากกว่า 50% ต้องแบ่ง 40% ยังไม่รู้ว่าจะเป็นปีที่เท่าไหร่ รฟม.ถึงจะมีรายได้ส่วนนี้ และตั้งแต่ปีที่ 11-30 รฟม.จะได้เงินรายได้อีกปีละ 250 ล้านบาท อย่างของสายสีชมพูที่ผ่านการอนุมัติจากบอร์ดจะเปิดบริการในปี 2564 ผู้โดยสารอยู่ที่199,054 เที่ยวคนต่อวัน หากเปิดส่วนต่อขยายในปี 2566 ผู้โดยสารเพิ่มมากกว่า 30% หรือผู้โดยสารอยู่ที่ 2.6 แสนเที่ยวคนต่อวัน รฟม.ก็จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ในทันที

ทั้งหมดล้วนเป็นการคาดการณ์ทางวิชาการ ยังต้องลุ้นสิ่งที่คิดกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2020 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

#ตามแผนการศึกษาสายสีชมพู จะมีการต่อขยายเส้นทางจากปลายทาง #สถานีมีนบุรี ไปถึง #สถานีลาดกระบัง ของ Airport Rail Link ด้วยนะครับ

นอกจากนี้สายสีเหลืองมีส่วนต่อขยาย รัชดา - รัชโยธิน ไปวงศสว่าง และ จากสำโรงไปพระประแดง ด้วย
https://www.renderthailand.com/yellow-pink-extension/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2020 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

ยังคงดำเนินการตามมารตการการป้องกัน และลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ได้ดำเนินการฉีดพรมน้ำ บริเวณพื้นที่การดำเนินงานก่อสร้างของสถานีศรีอุดม บนถนนศรีนครินทร์ ทางโครงการฯได้ จัดทีมงานฉีดพรมน้ำระหว่างการการปฏิบัติงานในทุกๆวัน และได้เพิ่มจำนวนรอบในการฉีดพรมน้ำ เพื่อช่วยลดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/1006208716419573?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2020 1:55 am    Post subject: Reply with quote

กรมราง ลุยไซด์งานรถไฟฟ้าสีเหลือง กำชับมาตรการ ป้องกันฝุ่น PM2.5
เผยแพร่: อังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 19:38
ปรับปรุง: อังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา. 20:21




อธิบดีกรมราง ลงพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เช็คมาตรการ ป้องกันฝุ่น PM2.5 และเร่งคืนผิวจราจร เผยก่อสร้างคืบหน้า 51% มั่นใจเสร็จและเปิดให้บริการต.ค. ปี 64 กำชับเร่งหารือ ทางเชื่อม BTS กับสายสีเขียว (สถานีสำโรง) และ สถานีหัวหมากของแอร์พอร์ต เรลลิงก์

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง และมาตรการป้องกันการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และมาตรการความปลอดภัย ในพื้นก่อสร้างว่า ได้เน้นย้ำผู้รับผิดชอบงานก่อสร้าง ในการดูแลการปฏิบัติการในเรื่องมาตรการป้องกันการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และนโยบายการลดการจราจรติดขัด ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ได้แก่ 1. ขอให้พิจารณาการติดตั้งสเปย์ฉีดน้ำแรงดันสูงใต้ทางวิ่ง การทำความสะอาดล้อรถที่วิ่งออกจากพื้นที่ก่อสร้าง และติดตั้งผ้าใบคลุมบริเวณที่มีฝุ่น รวมถึงการ ใช้ละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นในชั่วโมงเร่งด่วนใต้อาคารสถานีรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และเทพารักษ์

2. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างโดยให้ระวังการก่อสร้างที่ด้านล่างคงเป็นผิวจราจรอย่างเข้มงวด

3. พิจารณาจัดทำแผนในเรื่องการคืนพื้นที่ผิวการจราจร เพื่อลดปัญหาจราจร บริเวณถนนลาดพร้าว ศรีนคริน เทพารักษ์ในช่วงที่โครงการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ

4. การบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(สถานีสำโรง) ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับ กับสายสีเขียว (สถานีสำโรง) ของ BTS และทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีพัฒนาการ) กับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (สถานีหัวหมาก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้เป็นสถานีร่วม

ทั้งนี้ ผลการคืบหน้าในการก่อสร้างเป็นที่น่าพอใจ ภายใต้การดูแลของ รฟม. อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบัน การก่อสร้างมีความคืบหน้า 51% โดย รฟม. คาดหมายว่า จะเปิดให้บริการทันกำหนดในเดือนตุลาคมปี 2564 รวมระยะเวลา 39 เดือน

อธิบดีกรมรางลงไซต์รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเร่งสร้างทางเชื่อม BTS-แอร์พอร์ตลิงก์

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17:01 น.


วันที่ 11 ก.พ. 2563 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง และมาตรการป้องกันการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และมาตรการความปลอดภัย ในพื้นก่อสร้างรถไฟฟ้า

โดยได้เน้นย้ำผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างให้ดูแลการปฏิบัติการในเรื่องมาตรการป้องกันการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) และนโยบายการลดการจราจรติดขัด ดังนี้


1.ขอให้พิจารณาการติดตั้งสเปย์ฉีดน้ำแรงดันสูงใต้ทางวิ่ง การทำความสะอาดล้อรถที่วิ่งออกจากพื้นที่ก่อสร้าง และติดตั้งผ้าใบคลุมบริเวณที่มีฝุ่น รวมถึงการใช้ละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นในชั่วโมงเร่งด่วนใต้อาคารสถานีรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และเทพารักษ์

2.ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้าง โดยให้ระวังการก่อสร้างที่ด้านล่างคงเป็นผิวจราจรอย่างเข้มงวด

อธิบดีกรมรางลงไซต์รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเร่งสร้างทางเชื่อม BTS-แอร์พอร์ตลิงก์

3.พิจารณาจัดทำแผนในเรื่องการคืนพื้นที่ผิวการจราจร เพื่อลดปัญหาจราจร บริเวณถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ เทพารักษ์ ในช่วงที่โครงการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ

4.การบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสถานีสำโรงของ รฟม. กับสายสีเขียว สถานีสำโรงของ BTS และทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสถานีพัฒนาการกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ สถานีหัวหมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้เป็นสถานีร่วม

ทั้งนี้ ผลการคืบหน้าในการก่อสร้างเป็นที่น่าพอใจ มีความคืบหน้าถึงร้อยละ 51 โดย รฟม.คาดหมายว่าจะเปิดให้บริการทันกำหนดในเดือนตุลาคมปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 64, 65, 66  Next
Page 11 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©