RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181670
ทั้งหมด:13492908
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 361, 362, 363 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2019 1:37 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ถกทีมมอบพื้นที่ทำไฮสปีดปลายธ.ค.นี้

21 ธันวาคม 2019
รฟท. เตรียมหารือคณะทำงานส่งมอบพื้นที่สร้างไฮสปีดปลายเดือนธ.ค.นี้ พร้อมดูจุดรื้อย้ายสาธารณูปโภค ม.ค. 63


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ INN ว่า สำหรับความคืบหน้าแผนการส่งมอบพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนงาน ภายหลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้อนุมัติวงเงินเปิดหน้างานทั้งแนวเส้นทาง เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแล้วจำนวน 490 ล้านบาท

ขณะที่ กลุ่มซีพี อยู่ระหว่างการเร่งออกแบบทางก่อสร้างโครงการซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปีหน้า พร้อมกับส่งแบบให้กับ รฟท. เพื่อนำมาตรวจสอบเทียบเคียงกับพื้นที่

อย่างไรก็ตาม จะมีการนัดประชุมคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ช่วงปลายธันวาคมนี้ เพื่อนำแผนของแต่ละหน่วยมาตรวจสอบเทียบแนวเส้นทางก่อสร้างจุดที่จะกระทบกับระบบสาธารณูปโภค เช่น ท่อประปา ท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน และจะเริ่มลงพื้นที่จริงช่วงมกราคมปี2563 เพื่อนำแบบที่มีไปตรวจสอบตามแนวเส้นทาง แล้วนำกลับมาสรุปให้คณะทำงานรับทราบว่าต้องรื้อย้ายกี่จุด แต่ละจุดใช้เงินลงทุนเท่าไหร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2019 10:40 am    Post subject: Reply with quote


ภาพการก่อสร้างทางรถไฟความไวสูง 3.5 กิโลเมตรแรก
https://www.youtube.com/watch?v=kRlMlJaqG3Y
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2019 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (42)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 22 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3533 ระหว่างวันที่ 22-25 ธันวาคม 2562

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'
ประวัติศาสตร์การประมูล (42)


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง

(3) การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของเอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดให้ทำได้ไว้ในสัญญาร่วมลงทุนหรือเอกชนคู่สัญญาได้รับการอนุมัติจาก รฟท.โดยหากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาร่วมลงทุน รฟท.จะพิจารณาอนุมัติอย่างสมเหตุสมผล
(ก) การควบรวมกิจการตามกฎหมายไทยกับนิติบุคคลอื่น
(ข) การจำหน่ายจ่ายโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ รวมถึงการมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าบริหารหรือจัดการธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ หรือกระทำการใดๆ ที่มีผลอย่างเดียวกัน ยกเว้นในกรณีการบังคับหลักประกันของผู้สนับสนุนทางการเงินตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุน

(ค) การก่อภาระผูกพันเหนือทรัพย์สินของเอกชนคู่สัญญา ที่จัดหามาเพื่อการดำเนินโครงการฯ หรือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา ยกเว้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้สนับสนุนทางการเงินตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนหรือที่ไม่ติดข้อจำกัดหรือข้อห้ามตามสัญญาร่วมลงทุนหรือเกิดขึ้นตามผลของกฎหมาย
(ง) การเปลี่ยนแปลงรอบปีบัญชีของเอกชนคู่สัญญาหรือการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีของเอกชนคู่สัญญาให้แตกต่างจากกฎหมายไทยหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศไทย (Thailand GAAP) ยกเว้นเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายไทยหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศไทย(Thai GAAP)
(จ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของเอกชนคู่สัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาร่วมลงทุน
(ฉ) การลงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของเอกชนคู่สัญญาให้เลิกบริษัท หรือ
(ช) การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ หรือยื่นคำขอให้มีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิน หรือผู้บริการจัดการทรัพย์สินของตนเอง

(5) ใบอนุญาต เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้มาและดำรงรักษาใบอนุญาตใดๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนการดำเนินกิจการของเอกชนคู่สัญญา ให้มีผลบังคับ และยื่นขอใบอนุญาตใดๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนดำเนินกิจการของเอกชนคู่สัญญาภายในระยะเวลาที่กฎหมายไทยกำหนด รวมทั้งจดทะเบียน และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายไทยกำหนดซึ่งจำเป็นต่อภาระหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุน
(6) การปฏิบัติตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญาจะปฏิบัติตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ รวมถึงการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการกำกับดูแลของโครงการฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการนโยบาย และจะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพในงานนั้นๆ
(7) ข้อพิพาทหรือการดำเนินคดีฟ้องร้อง
(ก) เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบและปกป้อง รฟท.จากการดำเนินใดๆ ที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ยกเว้นเป็นการกระทำของรัฐบาล รฟท.หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และ/หรือรฟท.
(ข) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องแจ้งให้ รฟท.ทราบทันทีถึงการยื่นคำร้อง หรือคำฟ้องต่อศาลการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การประนีประนอมยอมความ หรือตกลงตามที่มีการเรียกร้องใดๆ จากบุคคลอื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อ การดำเนินโครงการฯ
(8) การระดมทุนในตลาดทุน
(ก) ภายใต้ข้อ 24(8)(ข) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการระดมทุนในตลาดทุนของประเทศไทยโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การนำหุ้นของเอกชนคู่สัญญาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ
(ข) การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) หรือ
(ค) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายไทย(Infrastructure Trust) หรือ
(ง) วิธีการอื่นใดตามที่กฎหมายไทย และ รฟท.กำหนด เมื่อปรากฏว่าเอกชนคู่สัญญามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายไทยกำหนดสำหรับการระดมทุนในตลาดทุนด้วยวิธีการดังกล่าว ทั้งนี้ในการเข้าระดมทุนข้างต้น หากเอกชนคู่สัญญามีการร้องขออย่างสมเหตุสมผล รฟท.จะให้ความร่วมมือจัดส่งข้อมูลเพื่อให้การระดมทุนประสบความสำเร็จ
(ข) หากการระดมทุนในตลาดทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายต่างประเทศ ทำให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญาถือหุ้นรวมกันแล้วน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด (51)ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา

(9) การแก้ไขแบบจำลองทางการเงิน ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาตกลงจะแจ้งให้ รฟท.ทราบภายในระยะเวลาอันสมควรภายหลังจากการแก้ไขแบบจำลองทางการเงินที่ได้ยื่นให้แก่ รฟท.ตามข้อ 6.3(2)(ก)1)
(10) ข้อตกลงทั่วไป ในการดำเนินการใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ให้บริการ และไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ระหว่างบรรทัดมีความหมายในทางคดีและข้อพิพาทในอนาคตอย่างมาก ขอบอกไว้เลยครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2020 11:14 am    Post subject: Reply with quote

“รถไฟไทย-จีน” พร้อมลงนามต้น ก.พ.นี้ ปิดดีลสัญญาซื้อระบบกว่า 5 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 6 มกราคม 2563 เวลา 07:14
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 6 มกราคม 2563 เวลา 08:25



“ศักดิ์สยาม” เผยจีนตอบแล้ว พร้อมประชุมคณะกรรมการร่วม (JC) รถไฟ “ไทย-จีน” ต้น ก.พ.นี้ คาดปิดดีลเจรจาเงินกู้ ซื้อระบบไฮสปีด เซ็นสัญญา 2.3 วงเงิน 5.06 หมื่นล้านได้ สั่ง“กรมราง”เร่งหารือ อัยการเห็นชอบร่างสัญญา ยืนยันขั้นตอน และข้อกฎหมาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า ขณะนี้การเจรจาข้อตกลงรายละเอียดร่างสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้ข้อสรุปตรงกันแล้ว โดยล่าสุดทางจีนโดยมีหนังสือแจ้งมาแล้วว่าพร้อมจะประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 และจะสามารถลงนามในสัญญา 2.3 ทันที

ทั้งนี้ ฝ่ายจีนได้มีหนังสือผ่านทาง บริษัทรัฐวิสาหกิจจีน CRRC Corporation Limited ว่า ยอมรับในเงื่อนไข การใช้เงินกู้เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในสัดส่วน 80% ส่วนอีก 20% จะใช้เป็นเงินสกุลบาท และเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่จะใช้อัตราค่าเฉลี่ยตั้งแต่วันยื่นจนถึงวันลงนามสัญญา ซึ่งการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 นั้นเป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานทั้งหมดและเงื่อนไขที่คณะทำงานได้เจรจากันมา

“ทางฝ่ายจีนตอบยืนยันและเห็นด้วยกับเงื่อนไขที่ได้มีการตกลงกันเบื้องต้นแล้ว ซึ่งนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ในฐานะประธานคณะทำงาน ได้แจ้งว่าพร้อมมาประชุม JC ครั้งที่ 28 ที่ประเทศไทย โดยขอให้ผ่านช่วงตรุษจีนไปก่อน คาดว่าจะประมาณต้นเดือน ก.พ. 2563 และจีนยังต้องการที่จะลงนามสัญญา 2.3 หลังประชุอีกด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว

ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้ นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ตรวจสอบขั้นตอน ระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดเพื่อสอบถามว่าสามารถดำเนินการลงนามได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและรอบคอบ

หากอัยการสูงสุดยืนยันว่าดำเนินการได้ ร.ฟ.ท.จะส่งร่างสัญญา 2.3 ให้อัยการสูงสุดพิจารณาคู่ขนาน และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อให้พร้อมที่จะลงนามในสัญญา 2.3 ตามกำหนดต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของการใช้เงินกู้ สำหรับงานระบบโครงการรถไฟไทย-จีน หรือสัญญา 2.3 เป็นสกุลดอลลาร์นั้น ตามข้อตกลงจะใช้ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยน นับตั้งแต่วันที่ยื่นซองจนถึงวันที่มีการลงนามสัญญา ซึ่งจากการประเมินหากสามารถลงนามได้ในต้นเดือน ก.พ. 2563 ค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ประมาณ 30.82 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นอัตราที่มีความเหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2020 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (43)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 26 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3534 ระหว่างวันที่ 26-28 ธันวาคม 2562



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้องทั้งเอกชนและการรถไฟฯ
24.2 ข้อตกลงกระทำการของ รฟท.
(1) รฟท.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ทั้งนี้ รฟท.จะมีดำรงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่ของโครงการฯตลอดระยะเวลาของโครงการฯ โดยปราศจากภาระติดพันใดๆ และจะไม่ทำการจำหน่ายหรือมอบให้ หรือตกลงที่จะจำหน่ายหรือมอบให้ซึ่งสิทธิปัจจุบันหรือสิทธิในอนาคต หรือประโยชน์ในส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ของโครงการฯ เพื่อประโยชน์ของสัญญาร่วมลงทุนในกรณีต้องใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐ รฟท.จะช่วยประสานกับหน่วยงานดังกล่าวในการให้เอกชนคู่สัญญามีสิทธิในการครอบครอง เข้าถึงและใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของโครงการฯ ตลอดจนการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ทางนํ้าและถนนดังกล่าว

(2) หาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 24.2(1) โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงว่า รฟท.จะพิจารณาขยายระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1)และ/หรือระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ก) ออกไปก็ได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1(1)(ฉ) โดยการขยายระยะเวลานี้จะไม่ส่งผลกระทบหรือทำให้ระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) และระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ข) สั้นลง ทั้งนี้ ในระหว่างที่มีการขยายระยะเวลาออกไปตามข้อนี้ หากมีการเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และ/หรือแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายก่อนกำหนดตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1(1)(ฉ) รฟท.และเอกชนคู่สัญญาจะตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนคู่สัญญาจะต้องแบ่งให้กับ รฟท.ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1(1)(ฉ)3) โดยเอกชนคู่สัญญาตกลงและยอมรับว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับนั้นครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาทั้งหมดแล้ว และเอกชนคู่สัญญาตกลงจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ เพิ่มเติมจาก รฟท.เพราะเหตุส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 24.2(1)อีก

(3) การใช้สิทธิใดๆ ของ รฟท.ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้สัญญาร่วมลงทุนนี้ รฟท.จะคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ประโยชน์ของโครงการฯ และความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของโครงการฯ เป็นสำคัญ
(4) รฟท.ตกลงรับรองและรับประกันว่าภายใต้เขตทางรถไฟ ซึ่งจะปรากฏตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 6 (แผนการส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ) และขอบเขตพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับโครงการเกี่ยวกับรถไฟ สามารถรับการจัดทำโครงการรถไฟความเร็วสูงได้เพียงโครงการเดียว คือโครงการฯ และไม่มีโครงการอื่นที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟในพื้นที่ข้างต้นที่ รฟท.รับผิดชอบ ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของ รฟท.ในการดำเนินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว หรือโครงการที่อยู่ในแผนการดำเนินงานของ รฟท.ก่อนวันที่เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนหรือโครงการที่ รฟท.ต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
(5) ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาร้องขอเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการระดมเงินทุนจากผู้สนับสนุนทางการเงิน รฟท.จะให้ความร่วมมือ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ของ รฟท.ให้ด้อยลงไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน
25. ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ รฟท.ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดจากกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บรรดา ค่าเสียหาย ค่าใช้จ่าย รฟท.ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่สาม อันเกิดจากการดำเนินการหรือละเว้นการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับโครงการฯ เกี่ยวกับโครงการฯ ของเอกชนคู่สัญญา (รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้เกี่ยวข้องของเอกชนคู่สัญญา)และ/หรือผู้รับจ้างรายใด รวมถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ หรือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การไม่ดูแลรักษาความสะอาดภายในพื้นที่ของโครงการฯ และ/หรือมีสิ่งโสโครก สิ่งปฏิกูล หรือมลพิษใดๆ ในพื้นที่ของโครงการฯ การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ หรือการดำเนินกิจการพาณิชย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญาร่วมลงทุน


(2) ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการฯ รวมถึงความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของเอกชนคู่สัญญา บริวาร (รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง) หรือผู้รับจ้างของ หรือผู้เช่าช่วงหรือผู้ใช้ประโยชน์ตามข้อ 16.1 ของเอกชนคู่สัญญา
(3) บรรดาค่าสินไหมทดแทนหรือเงินจำนวนใดๆ ที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ รฟท.ได้ชดใช้ให้แก่บุคคลอื่นไป อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำการของเอกชนคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ (รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของเอกชนคู่สัญญา) และกรณีที่ รฟท.หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ รฟท.ถูกเรียกร้องหรือฟ้องร้องให้รับผิดไม่ว่าในทางแพ่งหรือทางอาญา หรือทางปกครองอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินจำนวนดังกล่าว รวมถึงค่าทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ รฟท.อันเนื่องมาจากการถูกเรียกร้องหรือฟ้องร้องดังกล่าว ให้แก่ รฟท.และ/หรือ บุคคลที่ รฟท.กำหนด
(4) ทรัพย์สินของ รฟท.ที่ รฟท.มอบให้เอกชนคู่สัญญาใช้หรือครอบครองในการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับโครงการฯ สูญหาย เสียหาย เสื่อมค่า (เว้นแต่เพราะเหตุจากการใช้งานตามปกติ) หรือไร้ประโยชน์ หรือไม่สามารถใช้ในการดำเนินโครงการฯ ได้ หรือ
(5) เอกชนคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รฟท. นี่คือคัมภีร์ที่จะมีการฟ้องร้องกันในอนาคตหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำไม่ได้ แต่ท่านว่าใครฟ้องใคร!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (44)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 29 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3535 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2562 - 1 มกราคม 2563

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'ประวัติศาสตร์การประมูล (44)
ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

​​​​​​​ สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง ในข้อ 26. การกำกับดูแลและการตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ​​​​​​​
26.1 การเข้าไปยังสถานที่ของเอกชนคู่สัญญา
(1) เพื่อให้ รฟท.สามารถตรวจสอบการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนเอกชนคู่สัญญาตกลงยินยอมและให้ความร่วมมือให้ รฟท.หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานของ รฟท.เข้าไปตรวจกิจการในสถานที่ทำการของเอกชนคู่สัญญาตามที่ รฟท.กำหนดและมีการแจ้งล่วงหน้าให้เอกชนคู่สัญญาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาที่เหมาะสม​​​​​​​
(2) รฟท.มีสิทธิเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ ที่ประกอบกิจการรถไฟรวมถึงสถานที่ทำการของเอกชนคู่สัญญาในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบกรณีที่มีเหตุว่าอาจจะมีอันตรายเกิดขึ้นกับคนโดยสารหรือบุคคลอื่นที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการฯ โดย รฟท.จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม​​​​​​​
26.2 การกำหนดให้เอกชนคู่สัญญาให้ความร่วมมือแก่ รฟท.
(1) รฟท.มีสิทธิสั่งให้เอกชนคู่สัญญาปฏิบัติการใดๆ หรืองดเว้นการปฏิบัติการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น​​​​​​​
(2) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ รฟท.พนักงานของ รฟท.หรือบุคคลอื่นใดที่ รฟท.กำหนดในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาร่วมลงทุน​​​​​​​

27. เหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญ (1) เหตุการณ์ที่เป็นเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญ เว้นแต่ รฟท.จะกำหนดเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาตกลงให้เหตุผิดสัญญาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญ​​​​​​​
(ก) เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการให้ได้มาซึ่งความสำเร็จในการระดมทุน ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6.3(2)(ข)​​​​​​​
(ข) เอกชนคู่สัญญามิได้ดำเนินการอย่างจริงจัง หรือระงับการปฏิบัติการพัฒนาโครงการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนที่มีสาระสำคัญของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เป็นระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบ (180)วัน ติดต่อกัน​​​​​​​
(ค) เอกชนคู่สัญญาฝ่าฝืนการปฏิบัติหน้าที่การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนที่มีสาระสำคัญ ถึงขั้นที่ทำให้เห็นได้ว่าเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถทำการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟได้เสร็จภายในระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) หรือระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ก) และเมื่อได้รับแจ้งจาก รฟท.เอกชนคู่สัญญาไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการแก้ไขการกระทำผิดดังกล่าว (หากสามารถแก้ไขได้) ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบ(180)วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก รฟท.เกี่ยวกับการผิดสัญญาร่วมลงทุนซึ่งกำหนดให้ทำการแก้ไขการกระทำผิดดังกล่าว​​​​​​​ (ง) เอกชนคู่สัญญามิได้ดำเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงให้แล้วเสร็จภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1)หรือภายในระยะเวลาที่ขยายออกไปตามข้อ 15.1(1)(ฉ)1)ก)​​​​​​​ (จ) กรณีที่มีการขยายระยะเวลา เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการให้การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายออกไปตามข้อ 15.1(1)(ฉ)1)ก)​​​​​​​
(ฉ) กรณีที่มีการขยายระยะเวลา เอกชนคู่สัญญามิได้เริ่มต้นการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟภายในหนึ่งร้อยแปดสิบ (180)วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบของแต่ละส่วนนั้น จาก รฟท.​​​​​​​

(ช) เอกชนคู่สัญญาฝ่าฝืนการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนที่มีสาระสำคัญ ถึงขั้นที่ทำให้เห็นได้ว่าเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนและเมื่อได้รับแจ้งจาก รฟท.เอกชนคู่สัญญาไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการแก้ไขการกระทำผิดดังกล่าว (หากสามารถแก้ไขได้) ภายในหกสิบ (60)วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก รฟท.เกี่ยวกับการผิดสัญญาร่วมลงทุนและกำหนดให้ทำการแก้ไขการกระทำผิดดังกล่าว​​​​​​​
(ซ) เอกชนคู่สัญญาไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินดัชนีชี้วัดประจำปีในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 12 (ข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด) เป็นระยะเวลาติดต่อกันสาม (3)ปี หรือเอกชนคู่สัญญาไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินดัชนีชี้วัดประจำปี (นอกเหนือจากดัชนีชี้วัดประจำปีในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ) ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 12 (ข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด) เป็นระยะเวลาติดต่อกันห้า (5)ปี​​​​​​​
(ฌ) เอกชนคู่สัญญาปฏิบัติผิดภาระหน้าที่ใดๆ ของตนในสาระสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟจนเป็นเหตุให้ รฟท.เห็นว่ามีอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนในวงกว้างและมีผลกระทบอย่างรุนแรง และมิได้เข้าดำเนินการแก้ไขเยียวยาการปฏิบัติผิดภาระหน้าที่ดังกล่าวภายในสาม (3)วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก รฟท.ให้แก้ไขเยียวยาในกรณีดังกล่าว​​​​​​​
(ญ) เอกชนคู่สัญญาจงใจปกปิดหรือแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ หรือกระทำการใดๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการปกปิดข้อมูลรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8.2(4) โดยการปกปิดหรือแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จดังกล่าวต้องเป็นความผิดทางกฎหมายอาญาและเอกชนคู่สัญญาถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย​​​​​​​ (ฎ) เอกชนคู่สัญญาผิดคำรับรองและคำรับประกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 23 ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นสาระสำคัญตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน​​​​​​​ (ฏ) เอกชนคู่สัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ ภายในกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 7 หรือ​​​​​​​
(ฐ) เอกชนคู่สัญญาไม่จัดหาหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 มาวางเพิ่มเติมหรือดำเนินการให้จำนวนเงินประกันตามหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 ซึ่งลดน้อยลงกลับเป็นเท่าเดิมเต็มจำนวน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10.1 ภายในระยะเวลา 90 วันหลังจากได้รับแจ้งจาก รฟท.ให้แก้ไขการกระทำผิดดังกล่าว​​​​​​​ อ่านกันดีๆนะครับ ผมตงิดๆว่า จะมีปัญหาในเรื่องแบบนี้หลายข้อเชียวละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2020 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (45)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 31 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3536 ระหว่างวันที่ 2 - 4 มกราคม 2563

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'ประวัติศาสตร์การประมูล (45)
ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง ซึ่งว่าด้วยการเกิดขึ้นของเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญ กรณีเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญตามข้อ 21(1) เกิดขึ้น รฟท.จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในข้อ 27(1) และเอกชนคู่สัญญาจะต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบ (90)วันนับจากวันที่ได้รับการบอกกล่าวนั้น ซึ่ง รฟท.อาจขยายระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวออกไปได้อีก หากเห็นว่ามีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควร ทั้งนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้รับการแก้ไขเยียวยาภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป รฟท.จะแจ้งให้ผู้สนับสนุนทางการเงินทราบเพื่อให้ผู้สนับสนุนทางการเงินใช้สิทธิแก้ไขเยียวยาโครงการฯ (Funders’ step-in rights) และ/หรือใช้สิทธิเสนอนิติบุคคลที่เข้าแทนที่เพื่อเข้ามารับโอนสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน
28. เหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน (1) เหตุสุดวิสัย หมายถึง เหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบและทำให้คู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนได้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น ทั้งนี้ เหตุสุดวิสัยหมายความรวมถึงเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อโครงการฯอย่างมีนัยสำคัญ ดังต่อไปนี้
(ก) ภัยสงคราม (ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการหรือไม่) การบุกรุกหรือการรุกลํ้าอธิปไตยจากศัตรูหรือกองกำลังฝ่ายตรงข้ามต่างชาติ
(ข) การก่อกบฏ การจลาจล ความวุ่นวายภายในประเทศ เหตุการณ์การประท้วงหรือการประชุมทางการเมือง การก่อการร้ายหรือการต่อต้านการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมทางการเมือง
(ค) การปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี วัตถุระเบิด รังสีก่อประจุ เว้นแต่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
(ง) การปนเปื้อนของสารเคมี หรือการปนเปื้อนทางชีวภาพที่เกิดจากโรงงาน และ/หรือ พื้นที่ของโครงการฯ เว้นแต่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนดังกล่าว
(จ) การกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆ ของรัฐบาลดังต่อไปนี้
1) การกระทำใดๆ ซึ่งส่งผลให้การอนุมัติสิ้นสุดลงโดยไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดของ รฟท. หรือ
2) การที่เอกชนคู่สัญญาไม่ได้รับการอนุมัติ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม แม้ว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
(ฉ) ภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว โรคระบาด สึนามิ อุทกภัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นปกติ วาตภัย และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นใด
(ช) การนัดหยุดงานของลูกจ้างหรือพนักงาน เว้นแต่กรณีการนัดหยุดงานที่เกิดจากพนักงานหรือลูกจ้างของคู่สัญญาฝ่ายที่กล่าวอ้างเหตุสุดวิสัย
(ซ) อุบัติเหตุหรือการระเบิดอย่างรุนแรง เว้นแต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของคู่สัญญาฝ่ายที่อ้างถึงเหตุสุดวิสัย

(ฌ) การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
(ญ) การเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ เนื่องจากการออกแบบ และ/หรือทางที่เกี่ยวข้องของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้มาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา และไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงโดยเอกชนคู่สัญญา
(2) เหตุผ่อนผัน หมายถึง เหตุซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อฐานะทางการเงินของเอกชน คู่สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ความผันผวนอย่างมากทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้
1) ดัชนีราคาผู้บริโภค รวมทุกรายการ (CPI-ALL Commodities) ของกรุงเทพมหานครซึ่งประกาศเป็นรายปีโดยกระทรวงพาณิชย์หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในปีใดมีอัตราเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละเก้า (9%)ต่อปี หรือ
2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีความผันผวนอย่างรุนแรงอันเป็นผลให้เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ แม้ว่าจะได้มีการดำเนินการในการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไว้ตามสมควรแล้ว ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ดังกล่าวด้วย หรือ
3) มีภาวะเงินเฟ้อหรือมีภาระดอกเบี้ยสูงเป็นระยะเวลานาน เป็นเหตุให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยสำหรับเงินสกุลบาทที่ให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (Minimum Loan Rate) ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่สี่ธนาคารสูงกว่าร้อยละสิบห้า (15%)ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิง LIBOR (London Interbank Offered Rate) สำหรับระยะเวลาหนึ่ง (1)ปี สูงกว่าร้อยละเก้า (9%)ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบสอง (12) เดือนติดต่อกัน
(ข) การกระทำการหรือการงดเว้นการกระทำการของรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงและต่อเนื่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนนี้
เห็นท่าการทำงานในโครงการรถไฟความเร็วสูงจะยุ่งกันละพี่น้องเอ๋ย!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (46)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 5 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3537 ระหว่างวันที่ 5 - 8 มกราคม 2563


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง ซึ่งว่าด้วยการเกิดขึ้นของเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญใน (3) เพื่อความชัดเจน คู่สัญญาตกลงว่าเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน
(ก) การไม่สามารถเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ กับบุคคลที่สาม รวมถึงการไม่สามารถเข้าทำสัญญาว่าจ้าง หรือสัญญาจัดหาเงินสนับสนุน หรือการไม่สามารถได้มาซึ่งเงินสนับสนุนภายใต้สัญญาจัดหาเงินสนับสนุน ไม่ว่าด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม
(ข) การไม่ชำระเงินใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน
(ค) การที่เอกชนคู่สัญญา ผู้รับจ้าง ผู้ผลิตหรือคู่สัญญาอื่นใดปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือการที่เอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้าง ผู้ผลิตหรือคู่สัญญาอื่นใดที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม หรือไม่ได้ดำเนินการจัดหาบุคลากรหรือลูกจ้างอย่างเพียงพอ และ
(ง) ความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นกับงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ ซึ่งทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ อันเนื่องมาจากการให้บริการและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟของเอกชนคู่สัญญา
28.2 สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในระหว่างการเกิดเหตุสุดวิสัย และเหตุผ่อนผัน
(1) กรณีที่เหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบแจ้งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ภายในระยะเวลาสามสิบ (30)วันนับจากวันที่รับทราบถึงการเกิดขึ้นของเหตุนั้นและสามารถแจ้งให้ทราบได้ โดยหากไม่ได้แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด คู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวไม่สามารถยกเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ขึ้นอ้างได้ ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

(ก) วันที่เกิดเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)
(ข) ลักษณะของเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.2(2) และยะยะเวลาที่คาดว่าเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) นั้นจะคงอยู่
(ค) ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ และ
(ง) แนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันและเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)
(2) ในระหว่างเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ยังคงดำรงอยู่ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(ก) คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจะต้องใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อที่จะป้องกันหรือลดผลกระทบหรือความล่าช้าใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) รวมถึงการพยายามใช้รูปแบบการดำเนินโครงการฯ อื่น เช่น การใช้บริการอื่น หรือการใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่น และ
(ข) คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจะต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) กลับมาเป็นปกติในทันทีที่สิ้นสุดเหตุสุดวิสัยหรือไม่นั้น
(3) ภายในระยะเวลาสามสิบ (30)วันนับจากวันที่สิ้นสุดเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผล
กระทบมีหน้าที่ต้องแจ้งการสิ้นสุดลงของเหตุดังกล่าวไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมกับหลักฐานที่พิสูจน์ผลกระทบหรือความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน
28.3 ผลของการเกิดขึ้นของเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) และเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) และมีการดำเนินการตามข้อ 28.2 แล้ว ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คู่สัญญาตกลงดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนเฉพาะในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) และไม่ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวผิดหน้าที่ใบส่วนนั้น อย่างไรก็ตามคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับผลกระทบยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนในส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนต่อไปจนกว่า รฟท.จะสั่งการเป็นอย่างอื่น และคู่สัญญาจะตกลงเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นและการเยียวยาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันดังกล่าว



(2) กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) ระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ก)และ/หรือระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ก) เอกชนคู่สัญญามีสิทธิขอขยายระยะเวลางานใดงานหนึ่งดังต่อไปนี้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)1)งานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง 2)งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามข้อ 15.1(1)(ฉ) หรือ 3)งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามข้อ 15.2(1)(ข)
(3) กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) เอกชนคู่สัญญายังคงมีสิทธิได้รับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ในกรณีดังกล่าวไม่ให้มีการใช้ดัชนีวัดประจำปีมาใช้กับการให้บริการในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) และ
(4) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(4)
เป็นอย่างไรครับ เหตุสุดวิสัยในเงื่อนไขที่ตกลงกันพอรับได้มั้ยครับ เชื่อผมหรือไม่ไฮสปีดเทรนจะมีเงื่อนไขว่าด้วยเหตุสุดวิสัยสารพัด!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2020 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

'รับเหมาไทย' สะเทือน ‘บ.จีน’ รุกคืบแย่งเค้กไฮสปีด ‘กรุงเทพ-โคราช’

เรื่องเด่น รายงาน-สกู๊ป | ข่าวเด่น นโยบายสาธารณะ-
สำนักข่าวอิศรา
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 06 มกราคม 2563 เวลา 18:00 น.
"...เราไม่รู้ว่าราคาที่เขาเสนอมามีการซัพซิไดซ์ (subsidized) แต่มันสะเทือนกันไปหมด ซึ่งร.ฟ.ท.ต้องสร้างความมั่นใจว่าราคาระดับนี้ต้องทำได้ และถามว่าถ้าโครงการนี้เราต้องซื้อวัสดุจีน และของจีน ค่าบริหารโครงการกลับไปที่จีนหมด ไทยจะได้อะไร..."



นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติอนุมัติโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ภายใต้กรอบวงเงิน 179,412 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2560 จะพบว่าตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา การดำเนินโครงการฯมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราถึงความคืบหน้าการโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา ว่า ปัจจุบันมีงานโยธาที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมี 2 สัญญา และงานโยธาที่บอร์ดร.ฟ.ท.อนุมัติแล้วและอยู่ระหว่างลงนามสัญญา 2 สัญญา

ขณะที่ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ ทาง ร.ฟ.ท.จะเสนอผลประมูลงานโยธาให้บอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติเพิ่มเติมอีก 3 สัญญา ส่วนงานโยธาที่เปิดประมูลไปแล้วอีก 5 สัญญา ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯอยู่ระหว่างการพิจารณา และหากคณะกรรมการคัดเลือกฯเห็นชอบ ก็จะทยอยเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.ต่อไป

ส่วนงานโยธาที่อยู่ระหว่างจัดทำ TOR อีก 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-1 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ (กม.11)-ท่าอากาศยานดอนเมือง (11.83 กม.) รวมงานปรับปรุงและเชื่อมต่อสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง และสัญญา 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย นั้น ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าลงนามสัญญาได้ได้ในกลางปีนี้

“ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าจะเซ็นสัญญางานโยธาทุกสัญญาให้ได้ภายในกลางปีนี้ ซึ่งรวมถึงสัญญา 4-1 และสัญญา 4-4 ที่อยู่ระหว่างจัดทำ TOR ด้วย และคาดว่ารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา จะเปิดให้บริการในปี 2566” นายวรวุฒิกล่าว




นายวรวุฒิ กล่าวถึงความหน้าการลงนามสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร กับฝ่ายจีนว่า ในช่วงที่ผ่านมา บอร์ด ร.ฟ.ท.มีมติอนุมัติสกุลเงินที่ใช้ในโครงการฯแล้ว ซึ่งจะใช้เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และสำนักงานอัยการสูงสุดก็เห็นชอบร่างสัญญาไปแล้ว

“สัญญา 2.3 ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดรถไฟฯไปแล้ว และตอนนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอให้คณะกรรมการบริหารโครงการฯที่มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พิจารณาต่อไป” นายวรวุฒิ กล่าว






อย่างไรก็ตาม ในการประมูลงานโยธารถไฟความเร็วสูงทั้ง 11 สัญญารอบนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์การ ‘รุกคืบ’ ของ ‘บริษัทจีน’ ซึ่งเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้รับเหมาไทย และได้มีการ ‘ดัมพ์’ ราคาประมูลลงมาสู้กับผู้รับเหมาของไทย จนสามารถคว้าสัญญางานโยธามาได้ 2 สัญญา

ได้แก่
1) สัญญา 4-2 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงดอนเมือง-นวนคร โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า SST ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด จากจีน, บริษัท สหการวิศวกร จำกัด ,และบริษัท ทิพากร จำกัด เป็นผู้ชนะประมูลไปด้วยราคา 8,626 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 26.55%

และ
2) สัญญา 4-3 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงนวนคร-บ้านโพ กลุ่มกิจการร่วมค้า CAN ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่งคอร์ปอเรชั่น จำกัด จากจีน, บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ชนะประมูลที่ราคา 11,525 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.34%

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า การเข้ามาของบริษัทจีน โดยเฉพาะบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลระดับมณฑลของจีนอย่างน้อย 30% ถือว่าสร้างผลกระทบให้ผู้รับเหมาไทยอย่างมาก และจะพบได้ว่าบริษัทจีนที่ร่วมกับพันธมิตรไทยเข้าประมูลงานฯ สามารถเสนอราคาได้ต่ำมาก

และแม้ว่าการประมูลงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา ร.ฟ.ท.จะเป็นประมูล แต่ปรากฏว่าสเปกของวัสดุต่างๆ เช่น เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ กำหนดโดยฝ่ายจีน ซึ่งตรงนี้ทำให้ผู้รับเหมาไทยเสียเปรียบ กระทั่งล่าสุดผู้รับเหมาไทยต้องต่อรองเพื่อขอใช้เหล็กไทยที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน แต่ก็ยุ่งยากกันพอสมควร

“เราไม่รู้ว่าราคาที่เขาเสนอมามีการซัพซิไดซ์ (subsidized) แต่มันสะเทือนกันไปหมด ซึ่งร.ฟ.ท.ต้องสร้างความมั่นใจว่าราคาระดับนี้ต้องทำได้ และถามว่าถ้าโครงการนี้เราต้องซื้อวัสดุจีน และของจีน ค่าบริหารโครงการก็กลับไปที่จีนหมดแล้วไทยจะได้อะไร แต่ถ้าใช้ของไทย ซัพพลายเออร์ไทย เงินก็หมุนเวียนอยู่ในไทย” นายอังสุรัสมิ์กล่าว





นายอังสุรัสมิ์ ยังระบุว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประมูลงานมีการแข่งขันสูง คือ ในช่วงที่เปิดประมูลงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นนี้ เป็นช่วงที่รัฐบาลแทบไม่มีการเปิดประมูลงานใหม่ๆเลย ทำให้ผู้รับเหมาไทยหลายรายต้องเข้ามาตะลุมบอนเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายประมูลโครงการดังกล่าว

นายอังสุรัสมิ์ ทิ้งท้ายว่า “ในเมื่อการลงทุนโครงการนี้เป็นเงินกู้ของไทย น่าจะให้ผู้รับเหมาไทยได้แข่งขันกัน และเศรษฐกิจไทยจะได้หมุนเวียน และถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่การประมูลงานโยธารถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย รัฐบาลจะสนับสนุนให้บริษัทรับเหมาไทยเข้ามาดำเนินการ”

การรุกคืบเข้ามาของ ‘บริษัทจีน’ โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะทำให้การประมูลโครงการมีการแข่งขันราคากัน ‘ดุเดือด’ ขึ้น แต่ก็สะท้อนให้เห็น ‘นัยยะ’ ของการพึ่งพิงด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2020 11:14 am    Post subject: Reply with quote

"ชงผลประมูล ‘ไฮสปีดไทย-จีน’ เข้าบอร์ด 3 สัญญารวด ‘อิตาเลียนไทย’ คว้าไป 1 ฉบับ -
The Bangkok Insight"
3 มกราคม 2563 เวลา 08:31:43

สัญญาฉบับที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร มีผู้ยื่นข้อเสนอด้านราคาจำนวน 8 ราย จากผู้ซื้อเอกสารการประมูล (TOR) ทั้งหมด 25 ราย ผลปรากฏว่า บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เป็นผู้ชนะไปด้วยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,838 ล้านบาท หรือลดลง 18% จากราคากลาง 12,043 ล้านบาท
.
สัญญาฉบับที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กิโลเมตร มีผู้ยื่นข้อเสนอด้านราคา 5 ราย จากผู้ซื้อ TOR ทั้งหมด 25 ราย ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบริษัท SPTK จำกัด ชนะการประมูลด้วยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 7,750 ล้านบาท หรือลดลง 16% ราคากลาง 9,257 ล้านบาท
.
สัญญาฉบับที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร มีผู้เสนอราคาทั้งหมด 7 ราย จากผู้ซื้อ TOR ทั้งหมด 25 รายผลปรากฏว่า บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) หรือ ITD ชนะการประมูลด้วยราคาต่ำสุดที่ 9,913 ล้านบาท หรือลดลง 16% ราคากลาง 11,801 ล้านบาท

งานนี้
บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด ได้งานสร้างสถานีปากช่องใหม่
กิจการร่วมค้าบริษัท SPTK จำกัด ได้งานสร้างสถานีนครราชสีมากลางเมืองโคราช
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) ได้งานสร้างสถานีอยุธยา ที่คลองไผ่ลิง
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/2660074630741179
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2020 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดตัวบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด สำนักงานอยุ่ที่ อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนสีลม ดูรายละเอียด ที่นี่่ครับ
http://www.easternhsr.com/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2020 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านอีอีซี รวมพลต้านเวนคืนไฮสปีด
ออนไลน์เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,539
วันที่ 12 - 15 มกราคม พ.ศ. 2563

แม้ รฟท.จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าจะถูกกระทบบริเวณใดบ้าง โดยเฉพาะ กลุ่มที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ ตามเส้นทาง ที่ไม่มีโฉนด อาจได้รับผลกระทบไม่มีที่อยู่อาศัยทำกิน

วันที่ 12 มกราคม 2563 ชาวบ้านใน 3 จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี นัดรวมพลต่อต้านการเวนคืน ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท หลังพระราช กฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมลงพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้แทนชาวบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุแม้ รฟท.จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า จะถูกกระทบบริเวณใดบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ ตามเส้นทางที่ไม่มีโฉนด อาจได้รับผลกระทบไม่มีที่อยู่อาศัยทำกิน เช่นเดียวกับเลือกสวนไร่นา บ้านเรือนประชาชนที่มีโฉนด อาจจะกระทบเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะจุดที่จะสร้างสถานีใหม่บริเวณ ตำบลวังตะเคียน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นท้องนา อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังกังวลอีกว่า ร่างกฎหมาย การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี(ทีโอดี) มองว่า จะเป็นการย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยวิธีเวนคืนและอาจจะมอบที่ดินให้เอกชนผู้รับสัมปทาน เข้าพัฒนาเชิงพาณิชย์แทนสำหรับเขตที่ดินที่จะเวนคืน ครอบคลุมท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ตำบลราชาเทวะ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ขณะ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี ที่ถูกกระทบในหลายพื้นที่ ไล่ตั้งแต่ ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ ขณะจังหวัด ระยอง จะได้รับผลกระทบบริเวณ ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง เชื่อมกับเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา ที่กำลังชิงดำร้อนฉ่า ระหว่างกลุ่มซีพี และกลุ่มบีทีเอส อยู่ในขณะนี้

ด้านความพร้อมนายวรวุฒิมาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า พ.ร.ฎ.เวนคืนมีกำหนดระยะเวลา ส่งผลให้การรถไฟฯต้องเข้าพื้นที่ตรวจสอบ โดยเฉพาะ กลุ่มที่ดำเนินการได้ ก่อนจะเป็น กลุ่มบุกรุก ขณะการลงพื้นที่ เวนคืน ตลอดเส้นทางกฎหมายให้อำนาจไว้ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ตาม ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ไม่เกิน 1-2 ปี พร้อม ทั้งหารือเอกชน ปรับแบบก่อสร้างใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 361, 362, 363 ... 542, 543, 544  Next
Page 362 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©