RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181791
ทั้งหมด:13493030
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2020 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

เลาะไซต์ก่อสร้าง “สายสีส้มตะวันออก” คืบหน้า 51.33% เปิดหวูดปี’67
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
คอลัมน์เวนคืนอัพเดต
วันที่ 6 มกราคม 2563 - 15:50 น.


หลังจดปากกาเซ็นสัญญาพร้อมกัน 6 สัญญาไปเมื่อเดือน ก.พ. 2560 ใช้เวลาร่วมปีในการออกแบบก่อสร้าง จนได้ฤกษ์ตอกเข็มเมื่อปี 2561

ล่าสุดรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 23 กม. ใช้เงินลงทุน 109,021 ล้านบาท ทั้ง 6 สัญญามีทั้งงานอุโมงค์ใต้ดินและทางวิ่งยกระดับ ผลงาน ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2562 ที่ผ่านมามีความก้าวหน้าแล้ว 51.33% ทุกสัญญาสร้างเร็วกว่าแผน แยกเป็น

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 มีกิจการร่วมค้า CKST (บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 20,633 ล้านบาท คืบหน้า 63.63%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ก่อสร้าง วงเงิน 21,057 ล้านบาท คืบหน้า 46.61%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 18,570 ล้านบาท คืบหน้า 48.91%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโยธาทางยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-มีนบุรี มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 9,990 ล้านบาท คืบหน้า 39.54%

สัญญาที่ 5 ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจรของกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 4,831 ล้านบาท คืบหน้า 55.73%

และ สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,690 ล้านบาท คืบหน้า 48.43%

ตลอดเส้นทางมี 17 สถานี ได้แก่
1.สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ อยู่ใต้ ถ.รัชดาภิเษก หน้าห้างเอสพลานาด เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน และจะเจาะอุโมงค์ทะลุเข้าห้างเอสพลานาด และจะใหญ่กว่าที่สถานีพระราม 9

2.สถานี รฟม. อยู่บริเวณประตูติด ถ.พระราม 9
3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม อยู่ใต้ ถ.พระราม 9 ปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก
4.สถานีรามคำแหง 12 อยู่หน้าห้างเดอะมอลล์
5.สถานีรามคำแหง หน้า ม.รามคำแหง
6.สถานีราชมังคลา ด้านหน้าสนามกีฬาหัวหมาก
7.สถานีหัวหมาก ด้านหน้า รพ.รามคำแหง
8.สถานีลำสาลี บริเวณแยกลำสาลี
9.สถานีศรีบูรพา แยกรามคำแหง ตัด ถ.ศรีบูรพา หน้าห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3

10.สถานีคลองบ้านม้า ระหว่างซอยรามคำแหง 92-94
11.สถานีสัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร
12.สถานีน้อมเกล้า อยู่หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
13.สถานีราษฎร์พัฒนา หน้าบริษัทมิสทิน
14.สถานีมีนพัฒนา ทางเข้าวัดบางเพ็งใต้
15.สถานีเคหะรามคำแหง ปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง
16.สถานีมีนบุรี บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ซอยรามคำแหง 192 เชื่อมสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ
17.สถานีสุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์

ตามแผนงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2566 แต่เนื่องจากงานเดินรถที่นำไปผูกกับการประมูลก่อสร้างช่วงตะวันตกศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ซึ่งยังล่าช้า ล่าสุด “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวย้ำว่า การเปิดใช้สายสีส้มตะวันออก จะขยับออกไปเป็นปี 2567 และสายสีส้มตะวันตกเปิดในปี 2568 และคาดว่ามีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 110,000 เที่ยวคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2020 2:53 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดดีลรถไฟฟ้า ‘สีส้ม’ ตะวันตก ‘ศักดิ์สยาม’ ชงสัญญาเดียว รัฐอุ้ม 10 ปี 9.6 หมื่นล.
เขียนโดย isranews
หมวดหมู่รายงาน-สกู๊ป | ข่าวเด่น นโยบายสาธารณะ | เรื่องเด่น -
สำนักข่าวอิศรา

เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 09 มกราคม 2563 เวลา 15:13 น.
"...เราเป็นหน่วยสร้าง ไม่ว่าเงินจะมาจากแหล่งไหน เราก็มีหน้าที่สร้าง และเมื่อกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยหาเงิน ให้ความเห็นอย่างนี้ เราก็รับได้..."

ในที่สุดสรุปลงตัวแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กรอบวงเงิน 122,041 ล้านบาท หลังจากการสรุปรูปแบบการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) ยืดเยื้อมานานกว่า 3 เดือน

ย้อนกลับไปในช่วงปลายเดือนก.ย.2562 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พิจารณาแยกสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ออกเป็น 2 สัญญา

คือ 1.สัญญางานโยธา ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ วงเงิน 96,012 ล้านบาท (แบ่งเป็นงานโยธา 88,568 ล้านบาท รวมเงินเฟ้ออัตรา 2.5% ต่อปี งบสำรองค่างานโยธา 4,029 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 3,223 ล้านบาท) ซึ่งยังไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,661 ล้านบาท

และ2.สัญญางานระบบรถไฟฟ้า การจัดขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทางตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะเวลาเดินรถ 30 ปี วงเงิน 26,029 ล้านบาท

นายอนุทิน ให้เหตุผลว่า กระทรวงการคลังรายงานว่า หากรัฐลงทุนงานโยธาเอง และเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนระบบเดินรถ จะทำให้รัฐใช้เงินเพียง 9 หมื่นล้านบาท และการลงทุนงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง รัฐก็ลงทุนเอง

แต่ทว่าแนวคิดการแยกสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตกของนายอนุทิน ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการ ‘เอื้อประโยชน์’ ให้เอกชนบางรายหรือไม่ และยังทำให้การเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต้องเลื่อนออกไป จากเดิมที่กำหนดว่าจะเสนอให้ครม.เห็นชอบในวันที่ 1 ต.ค.2562

ต่อมาวันที่ 11 ต.ค.2562 นายศักดิ์สยาม ได้เสนอให้คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ หรือครม.เศรษฐกิจ พิจารณาแยกสัญญาโครงการฯเป็น 2 สัญญา แม้ว่าจะถูกทักท้วงจากกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า ‘หากแยกสัญญารัฐจะได้ประโยชน์อย่างไร’

สุดท้ายแล้วการประชุมครม.เศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาแยกสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ‘จบลงแบบไม่มีข้อสรุป’ และต่อมาในเดือนพ.ย.2562 ทางกระทรวงการคลังได้ทำหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อเสนอประกอบการพิจารณาของครม.

โดยระบุว่า แม้การกู้เงินมาลงทุนงานโยธาของเอกชน จะมีดอกเบี้ยสูงกว่าภาครัฐ แต่ก็ควรเปิดให้เอกชนร่วมทุนงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกเช่นเดิม เพราะภาครัฐจำเป็นต้องนำเงินไปพัฒนาภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคเกษตร และภาคการศึกษา ที่เอกชนไม่สนใจร่วมลงทุนด้วย

ดังนั้น การพัฒนารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกที่ศึกษาไว้ในรูปแบบ PPP Net Cost รวมงานโยธาและงานบริหารการเดินรถเป็น 1 สัญญา จึงเหมาะสมแล้ว

ข้อสรุปที่ไม่ ‘ลงตัว’ ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง แม้ว่าจะนำไปสู่ ‘รอยร้าว’ ในพรรคร่วมรัฐบาล แต่จะจบลงอย่างชื่นมื่นหลังงานเลี้ยง ‘ดินเนอร์หูฉลาม’ เมื่อค่ำคืนวันที่ 19 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา

นายศักดิ์สยาม ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราว่า นายอนุทิน ในฐานะรองนายกฯ ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ไปยัง สลค.แล้ว และต้องขึ้นอยู่กับทางเลขาธิการ สลค. ว่า จะบรรจุเป็นวาระการพิจารณาของที่ประชุมครม.ได้เมื่อใด โดยรูปแบบโครงการจะเป็นสัญญาเดียวตามเดิม

“ตามความเห็นกระทรวงการคลัง เขาให้ความเห็นเรื่องเกี่ยวกับเพดานหนี้สาธารณะว่า ถ้าโครงการที่มีผลการตอบแทนการลงทุนที่ดี ก็อยากให้ใช้ PPP เพื่อรักษาเพดานหนี้สาธารณะไปใช้กับโครงการอื่นที่มีผลตอบแทนไม่สูง เช่น แหล่งน้ำ กระทรวงคมนาคมก็ไม่มีปัญหา จึงจะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนเป็นสัญญาเดียวแบบเดิม”นายศักดิ์สยามระบุ

นายศักดิ์สยาม ยังย้ำว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เดิมใช้รูปแบบการร่วมลงทุน PPP สัญญาเดียวก็จริง แต่เมื่อมีการเสนอโครงการให้ครม.เศรษฐกิจพิจารณา กระทรวงการคลังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรจะแยกสัญญา เป็นสัญญางานโยธา และสัญญางานเดินรถ กระทรวงคมนาคมจึงดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

แต่ต่อมากระทรวงการคลังเปลี่ยนความเห็นเป็นว่า ควรใช้รูปแบบสัญญาเดียวแบบเดิม กระทรวงคมนาคมก็ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ดังนั้น ทุกอย่างจึงอยู่ที่กระทรวงการคลังทั้งหมด และเมื่อรวมเป็นสัญญาเดียวเหมือนเดิม วงเงินที่ภาครัฐจะสนับสนุนในโครงการนี้ก็ยังคงเป็นเท่าเดิม

“เราเป็นหน่วยสร้าง ไม่ว่าเงินจะมาจากแหล่งไหน เราก็มีหน้าที่สร้าง และเมื่อกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยหาเงิน ให้ความเห็นอย่างนี้ เราก็รับได้ แต่การแยกสัญญาก็มีเหตุผล เพราะหากเรามีเพดานสาธารณะมาก การแยกสัญญาจะทำให้เรามีต้นทุนโครงการถูกลง” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า หากครม.เห็นชอบโครงการฯ กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดประมูลภายในปีนี้ และเปิดให้บริการเดินรถช่วงแรกได้ตั้งแต่ปี 2566


สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ภาครัฐจะลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,661 ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินสนับสนุนค่างานโยธาให้เอกชน 96,012 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะทยอยชำระคืนให้เอกชนหลังจากเปิดเดินรถทั้งเส้น โดยแบ่งชำระไม่ต่ำกว่า 10 ปีพร้อมดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม รฟม. ประเมินว่า การให้เอกชนลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และรัฐทยอยคืนชำระคืนให้เอกชนเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี พร้อมดอกเบี้ยนั้น จะทำให้รัฐมีภาระทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยประมาณ 40,000 ล้านบาท

ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ และงานเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาของโครงการฯ ระยะเวลา 30 ปีนั้น ให้เอกชนแป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงิน (Subsidy)

จากนี้คงต้องติดตามกันว่า บทสรุปสุดท้ายของการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก กลุ่มผู้รับเหมารายใดจะ ‘เข้าวิน’ คว้างานมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท พ่วงสัมปทานเดิน 30 ปี ไปครอบครอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2020 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ ทะลุแล้ว อุโมงค์รถไฟฟ้า สายสีส้ม สัญญา 3 เสร็จแล้ว 1 อุโมงค์ (อุโมงค์ฝั่งตะวันตก) เตรียมรื้อหัวขุด กลับไปตั้งต้น เพื่อขุดอีก 1 อุโมงค์

วันนี้อุโมงค์สายสีส้มสัญญา 3 ของ ITD ช่วง หัวหมาก-คลองบ้านม้า ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 อุโมงค์ (อุโมงค์ฝั่งตะวันตก) ซึ่งทั้งโครงการจะต้องใช้ทั้งหมด 2 อุโมงค์

ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องรื้อถอนหัวขุด TBM ย้ายไปที่สถานีหัวหมากอีกครั้ง เพื่อเริ่มขุดฝั่งตะวันออกอีกอุโมงค์

Fun Fact

- เส้นผ่าศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.70 เมตร
- ระดับความลึก 15-25 เมตรจากผิวดิน
- หัวขุด TBM สามารถขุดเจาะได้ถึง 33.60 เมตร/วัน และ 190.40 เมตร/สัปดาห์
- มีความยาวทั้งสิ้น 3,330 เมตร
- ใช้เวลาก่อสร้าง 1 อุโมงค์ 11 เดือน

ปล.รอให้ประมูล PPP ผู้ร่วมทุน และก่อสร้าง สายสีส้มให้ครบสายซักที รอจนเหนื่อยแล้วจ้าาาาา

————————
รายละเอียดข่าว

รฟม. เยี่ยมชมความก้าวหน้างานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

วันนี้ (16 มกราคม 2563) เวลา 09.09 น. นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) พร้อมด้วยนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รฟม. ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้างานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ที่ 1 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญา ที่ 3 และร่วมบันทึกภาพความสำเร็จของงานขุดเจาะอุโมงค์ที่เจาะทะลุ (Breakthrough) เข้าสถานีหัวหมากอย่างเป็นทางการซึ่งดำเนินการ

โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ณ สถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ สถานีหัวหมาก ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ส่วนที่ 1 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ซึ่งเป็นอุโมงค์แรกที่อยู่ในถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้าเมือง โดยเริ่มขุดเจาะอุโมงค์ตั้งแต่สถานีคลองบ้านม้า ผ่านแยกบ้านม้า แยกลำสาลี เข้าสู่สถานีหัวหมาก โดยอุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ที่ระดับความลึก 15-25 เมตรจากผิวดิน และมีความยาวทั้งสิ้น 3,330 เมตร โดยได้เริ่มงานขุดเจาะที่สถานีคลองบ้านม้าเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 และถึงสถานีหัวหมาก (จุดสิ้นสุดการขุดเจาะของอุโมงค์แรก) เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาในการขุดเจาะทั้งสิ้น 11 เดือน สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ ได้นำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบสนับสนุนการเจาะต่าง ๆ ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการขุดเจาะอุโมงค์มาใช้งาน โดยหัวเจาะอุโมงค์ได้ถูกออกแบบและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ

จึงทำให้การขุดเจาะอุโมงค์นี้สามารถขุดเจาะได้ถึง 33.60 เมตร/วัน และ 190.40 เมตร/สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นสถิติความเร็วในการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าในชั้นดินเหนียวอ่อนลำดับต้น ๆ ของภูมิภาคนี้ โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ

มีความก้าวหน้าการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 53.31

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการเดินทางที่สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้อย่างยั่งยืนต่อไป สอบถามข้อมูลและติดตามข่าวสาร รฟม. เพิ่มเติมได้ที่ www.mrta.co.th และแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือ โทร 0 2716 4044
-------------------------------------------------
กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ
โทร 0 2716 4000 ต่อ 1735
โทรสาร 0 2716 4019
Email:pr@mrta.co.th
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/844188156019665
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2498305647057605


Last edited by Wisarut on 17/01/2020 10:32 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 10:16 am    Post subject: Reply with quote

^^^^
รถไฟฟ้าสีส้มเจาะอุโมงค์แรกทะลุแล้ว เผยภาพรวมคืบ 53.31%
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 มกราคม 2563 เวลา 17:32
ปรับปรุง: 17 มกราคม 2563 เวลา 08:49




รฟม.เผยรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันออกขุดเจาะอุโมงค์แรกทะลุแล้ว ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ใต้ ถ.รามคำแหง ยาว 3,330 เมตร ใช้เวลา 11 เดือน ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2562 คืบหน้า 53.31%

วันนี้ (16 ม.ค.) นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) พร้อมด้วยนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รฟม. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้างานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ที่ 1 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และร่วมบันทึกภาพความสำเร็จของงานขุดเจาะอุโมงค์ที่เจาะทะลุ (Breakthrough) เข้าสถานีหัวหมากอย่างเป็นทางการ โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ณ สถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ สถานีหัวหมาก ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ส่วนที่ 1 ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ซึ่งเป็นอุโมงค์แรกที่อยู่ในถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้าเมือง โดยเริ่มขุดเจาะอุโมงค์ตั้งแต่สถานีคลองบ้านม้า ผ่านแยกบ้านม้า แยกลำสาลี เข้าสู่สถานีหัวหมาก โดยอุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ที่ระดับความลึก 15-25 เมตรจากผิวดิน และมีความยาวทั้งสิ้น 3,330 เมตร ได้เริ่มงานขุดเจาะที่สถานีคลองบ้านม้าเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 และถึงสถานีหัวหมาก (จุดสิ้นสุดการขุดเจาะของอุโมงค์แรก) เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาในการขุดเจาะทั้งสิ้น 11 เดือน

สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้นำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบสนับสนุนการเจาะต่างๆ ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการขุดเจาะอุโมงค์มาใช้งาน โดยหัวเจาะอุโมงค์ได้ถูกออกแบบและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ จึงทำให้การขุดเจาะอุโมงค์นี้สามารถขุดเจาะได้ถึง 33.60 เมตร/วัน และ 190.40 เมตร/สัปดาห์

ถือว่าเป็นสถิติความเร็วในการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าในชั้นดินเหนียวอ่อนลำดับต้นๆ ของภูมิภาคนี้ โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีความก้าวหน้าการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 คิดเป็น 53.31%




ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการเดินทางที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้อย่างยั่งยืนต่อไป สอบถามข้อมูลและติดตามข่าวสาร รฟม.เพิ่มเติมได้ที่ www.mrta.co.th และแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือ โทร. 0-2716-4044

มุดใต้ดินไซต์ “อิตาเลียนไทย” ส่องอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 21:22 น.

เมื่อวันที่16 มกราคม 2563 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ ด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

พร้อมด้วยนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รฟม. ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้างานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ที่ 1 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญา ที่ 3 และร่วมบันทึกภาพความสำเร็จของงานขุดเจาะอุโมงค์ที่เจาะทะลุ (Breakthrough) เข้าสถานีหัวหมากอย่างเป็นทางการซึ่งดำเนินการ

โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ณ สถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ สถานีหัวหมาก ถนนรามคำแหง


ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ส่วนที่ 1 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ซึ่งเป็นอุโมงค์แรกที่อยู่ในถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้าเมือง เริ่มขุดเจาะอุโมงค์ตั้งแต่สถานีคลองบ้านม้า ผ่านแยกบ้านม้า แยกลำสาลี เข้าสู่สถานีหัวหมาก โดยอุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ที่ระดับความลึก 15-25 เมตรจากผิวดิน และมีความยาวทั้งสิ้น 3,330 เมตร

โดยได้เริ่มงานขุดเจาะที่สถานีคลองบ้านม้าเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 และถึงสถานีหัวหมาก (จุดสิ้นสุดการขุดเจาะของอุโมงค์แรก) เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาในการขุดเจาะทั้งสิ้น 11 เดือน สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ ได้นำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบสนับสนุนการเจาะต่าง ๆ ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการขุดเจาะอุโมงค์มาใช้งาน

โดยหัวเจาะอุโมงค์ได้ถูกออกแบบและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ จึงทำให้การขุดเจาะอุโมงค์นี้สามารถขุดเจาะได้ถึง 33.60 เมตร/วัน และ 190.40 เมตร/สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นสถิติความเร็วในการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าในชั้นดินเหนียวอ่อนลำดับต้น ๆ ของภูมิภาคนี้

ปัจจุบันสายสีส้มมีความก้าวหน้าการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 53.31

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการเดินทางที่สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้อย่างยั่งยืนต่อไป

16 ม.ค.63 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มสัญญา3 ได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์แรกซึ่งเป็นอุโมงค์สำหรับเดินรถมุ่งหน้าตะวันตก จากต้นทางสถานีคลองบ้านม้า(OR 22)ถึงสถานีหัวหมาก (OR 19) ระยะทางขุดเจาะ 3,340 เมตร เริ่มขุดเจาะเมื่อ 12 ม.ค 2562 ถึงปลายทาง 16 ม.ค 2563 ระยะเวลาโดยรวม 369 วัน เวลาที่ใช้เฉพาะในการขุดเจาะจริง 222 วัน
นับจากนี้ไป จะทำการถอดชิ้นส่วนของหัวเจาะแล้วยกขึ้น จากสถานีหัวหมากแล้ว ขนส่งกลับไปยกลงที่บ่อเริ่มงานอุโมงค์ที่สถานีคลองบ้านม้า เพื่อประกอบ แล้วเริ่มเจาะอุโมงค์ที่สองสำหรับรถไฟฟ้าที่วิ่งมุ่งตะวันออกในเดือน มี.ค 2563 จะใช้เวลาขุดเจาะอีก 1 ปี และจะกลับมาทะลุเข้าสู่สถานีหัวหมากนี้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2564
cr: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2407058962732950&id=185621321543403
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2786184508095143&set=a.1775055352541402&type=3&theater

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มสัญญา3 ได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์แรกซึ่งเป็นอุโมงค์สำหรับเดินรถมุ่งหน้าตะวันตก จากต้นทางสถานีคลองบ้านม้า(OR 22)ถึงสถานีหัวหมาก (OR 19) ระยะทางขุดเจาะ 3,340 เมตร เริ่มขุดเจาะเมื่อ 12 ม.ค 2562 ถึงปลายทาง 16 ม.ค 2563 ระยะเวลาโดยรวม 369 วัน เวลาที่ใช้เฉพาะในการขุดเจาะจริง 222 วัน
นับจากนี้ไป จะทำการถอดชิ้นส่วนของหัวเจาะแล้วยกขึ้น จากสถานีหัวหมากแล้ว ขนส่งกลับไปยกลงที่บ่อเริ่มงานอุโมงค์ที่สถานีคลองบ้านม้า เพื่อประกอบ แล้วเริ่มเจาะอุโมงค์ที่สองสำหรับรถไฟฟ้าที่วิ่งมุ่งตะวันออกในเดือน มี.ค 2563 จะใช้เวลาขุดเจาะอีก 1 ปี และจะกลับมาทะลุเข้าสู่สถานีหัวหมากนี้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2564
(16 มกราคม 2563)#ITDMRTBU
https://www.facebook.com/itdho/posts/2407058962732950

Clip วีดีโอแสดงภาพการขุดเจาะอุโมงค์ด้วยหัวเจาะ Breakthrough เข้าสู่สถานีหัวหมาก OR19
https://www.facebook.com/MRTA.PR/videos/505794080050824/
https://www.facebook.com/1860889064132603/posts/2498305647057605/
https://www.facebook.com/185621321543403/posts/2407068076065372/
https://www.facebook.com/itdho/videos/460081991546038/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2020 11:36 am    Post subject: Reply with quote

ภาพความก้าวหน้าการก่อสร้าง #สถานียกระดับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
สำหรับความก้าวหน้า ณ เดือนมกราคม 63 อยู่ที่ 42.12% ดำเนินการโดย สัญญาที่ 4 : บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ข้อมูล ณ 18 มกราคม 63
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/773660419779978

#เก็บรางมาฝากจ๊า #เห็นเงียบๆรางเพียบนะจ๊ะ
#งานออกแบบและก่อสร้างระบบราง TRACKWORK ที่ Depot Platform Area และ Stabling Track 14
สำหรับความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 62 อยู่ที่ 57.70 ดำเนินการโดย สัญญาที่ 6 UNIQ : งานออกแบบและก่อสร้างระบบราง ข้อมูล ณ 22 มกราคม 63

#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม #เพื่ออนาคตการเดินทาง#Orangeline#รฟม.
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/772558246556862
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2020 8:46 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ไม่หวั่นงบ63อืดพร้อมเร่งลงทุน ลุ้นครม.เคาะสายสีส้ม-ประมูลในปีนี้
เผยแพร่: 27 ม.ค. 2563 07:29 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความพร้อมในการลงทุนโครงการ ต่างๆ ทันที เมื่อได้รับงบประมาณประจำปี 2563.ซึ่ง ล่าสุดจากการประชุมร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นกระตุ้นการลงทุนผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่ง ได้มีการเสนอไปยังเลขาคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว หากครม.อนุมัติ กระทรวงคมนาคมพร้อมเดินหน้าโครงการทันที

ส่วนกรณีที่กังวลว่า ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2563 อาจเป็นโมฆะนั้น เบื้องต้นทาง สำนักงบประมาณมีแผนเพื่อรองรับอยู่แล้ว ซึ่งในเรื่องค่าใช้จ่ายประจำไม่มีปัญหา ส่วนงบลงทุนในโครงการต่างๆ ของ กระทรวงคมนาคมมีหลายส่วน เช่น ส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้เอง ส่วนงบลงทุนที่เป็นงบประมาณ จะต้องรอความชัดเจนต่อไป โดยยืนยันว่า เมื่อได้รับงบประมาณ จะดำเนินการทุกโครงการอย่างเต็มความสามารถ

ด้านนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และการบริหารการเดินรถ สายสีส้ม ด้านตะวันตก-ตะวันออก (บางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงินประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท โดยหลังครม.อนุมัติ จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. จะแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เพื่อพิจารณาและเห็นชอบร่างเชิญชวนเอกชน(TOR)​ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปี 2563 โดยจะเร่งรัดการติดตั้งระบบในส่วนตะวันออกเพื่อ เปิดให้บริการได้ในปี 2567

ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตกใช้รูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ตลอดเส้นทางด้านตะวันออก และตะวันตก ระยะทาง 35.9 กม.ระยะเวลาการก่อสร้าง 6 ปี โดยงานโยธา มีมูลค่า 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท ส่วนการดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์มีระยะเวลา 30 ปี

ส่วนการเสนอครม.ขออนุมัติโครงการนั้น ทราบว่า ทางสำนักงบประมาณ จะทำความเห็นในเรื่องการบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ย เสนอ เลขาฯ ครม.โดยตรงเพื่อประกอบการพิจารณา ของครม. ซึ่งจะมีการใช้วิธีการบริหารอัตราดอกเบี้ยให้ประหยัดมากที่สุด

เนื่องจากค่างานโยธา จำนวน 9.6 หมื่นล. จะ มีดอกเบี้ย มี2 ส่วน คือ
1. ดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้าง เป็นเวลา6 ปี ซึ่งดอกเบี้ยจะทยอยเกิด ตามมูลค่างานที่คู่สัญญาทยอยเบิกจ่าย ซึ่งจะสอดคล้องกับความคืบหน้าการก่อสร้าง ซึ่งจะเกิดดอกเบี้ยจนเบิกค่างานครบ9.6 หมื่นล้านบาท

โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลังจะใช้วิธีกู้ระยะสั้น สำหรับจ่ายค่างานก่อสร้าง เพื่อให้มีความยืดหยุ่น เนื่องจากใน การก่อสร้างจริง ในช่วงแรกการก่อสร้างจะช้า การเบิกจ่ายค่างานจะยังไม่มาก ขณะที่ช่วงกลางงานก่อสร้างจะทำได้ เลิกค่างวดงานจะสูงไปด้วย และการก่อสร้างจะกลับมาช้าอีกครั้งในช่วงท้าย ๆ ที่งานใกล้จะแล้วเสร็จ
2. หลังก่อสร้างเสร็จ จะเป็นดอกเบี้ยที่จ่าย ช่วงระหว่างการผ่อนชำระ มี ระยะเวา10ปี ซึ่ง เงินต้นจะทยอยลดลงไปเรื่อยๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ‘ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์’ 1.42 แสนล้าน เปิดทางเอกชนร่วมลงทุน PPP สัญญา 30 ปี
เผยแพร่: 28 มกราคม 2563

ครม. ไฟเขียวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” 1.42 แสนล้าน เปิดทางเอกชนร่วมลงทุน PPP สัญญา 30 ปี พร้อมรับความเสี่ยงรายได้จากค่าโดยสาร พ่วงการพัฒนาเชิงพาณิชย์
รายงานจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (28 ม.ค. 2563) มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.42 แสนล้านบาท ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ทั้งนี้ ภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ ที่ดินโครงการฯส่วนตะวันตก ส่วนค่างานโยธาให้ภาคเอกชนลงทุนไปก่อน และภาครัฐจะทยอยจ่ายคืนระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี (อัตราคิดลด 5%)

นอกจากนี้ ภาคเอกชนจะลงทุนค่างานระบบไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวมทั้งค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ มีระยะเวลาเดินรถ 30 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการโครงการฯ ส่วนตะวันออกในช่วงปี 2567 เป็นต้นไป ขณะเดียวกัน เอกชนจะเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านรายได้จากค่าโดยสาร และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงินแก่เอกชนในส่วนงานระบบรถไฟฟ้าฯ

ในส่วนของมูลค่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.42 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็น ค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ วงเงิน 14.66 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธาโครงการฯ วงเงิน 9.6 หมื่นล้านบาท รวมวงเงินลงทุนของภาครัฐ 1.10 แสนล้านบาท ขณะที่เอกชนจะลงทุนค่างานระบบไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารการเดินรถ ควบคุมงานระบบไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ วงเงิน 1.11 พันล้านบาท

สำหรับขอบเขตและเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนนั้น จะจำกัดอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 12 สถานี ทั้งนี้ รฟม.ได้ปรับอัตราค่าโดยสาร 3% ต่อ 2 ปี รวมทั้งกำหนดกติกาให้มีผู้เข้าแข่งขันได้จำนวนมากราย และให้มีการประกวดราคาโดยแข่งขันอย่างยุติธรรม ตามมติบอร์ด รฟม. เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2561 ที่ระบุไว้ว่า เอกชนจะต้องแข่งขันว่ารายใดจะเสนอต้นทุนค่าก่อสร้างและอัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่ากัน ในส่วนงานระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟ และงานเดินรถนั้น เอกชนจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด โดยเอกชนต้องยื่นข้อเสนอว่า รายใดจะรับผลประโยชน์จากค่าโดยสารและพื้นที่เชิงพาณิชย์ต่ำกว่ากัน

ฉลุย! ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.22 แสนล้าน ดึงเอกชนลงทุน PPP 30 ปี
วันที่ 28 มกราคม 2563 - 13:27 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 ม.ค.2563 อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำเสนอ โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี ในส่วนงานโยธาช่วงตะวันตก ระยะทาง 16.4 กม. และลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการเดินรถตลอดสายจากบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กม. จำนวน 29 สถานี วงเงินลงทุน 122,067 ล้านบาท

โดยรัฐจะอุดหนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา วงเงิน 96,012 ล้านบาท จะผ่อนชำระคืนเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากเปิดบริการเดินรถช่วงตะวันออกในปี 2567 ทั้งนี้ รฟม.คาดว่าจะประกาศคัดเลือกเอกชนภายในเดือน มิ.ย.2563 และได้ผู้ชนะประมูลต้นปี 2564


Last edited by Wisarut on 28/01/2020 5:33 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสีส้ม1.28 แสนล. คาดประมูล PPP ในต.ค. 63 ดึงเอกชนรับสัมปทาน 30 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มกราคม 2563 18:37
ปรับปรุง: 28 มกราคม 2563 18:53

ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดึงเอกชนร่วมลงทุน PPP มูลค่า1.28 แสนล. รับสัมปทานบริหารเดินรถตลอดสาย 30 ปี คาด รฟม.เปิดประมูลในต.ค. 63 ขณะที่เร่งก่อสร้างส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เร่งเปิดเดินรถก่อนในปี 66

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 ม.ค. มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP ) เห็นชอบ รูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ส่วนตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวมทั้งค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ โดยมีระยะเวลาเดินรถ 30 ปี โดยหลังจากนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการ ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ปี 2556) ต่อไป

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ครม.ที่ประชุมอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการส่วนตะวันตก ส่วนเอกชนลงทุนค่างานโยธาและระบบ โดยรัฐจะทยอยจ่ายคืนระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเอกชน บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทางเส้นทางตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์ถึงมีนบุรี มีระยะเวลา 30 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการโครงการส่วนตะวันออกที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 เป็นต้นไป ซึ่ง รฟม.จะประกาศคัดเลือกเอกชนภายในเดือน ต.ค.นี้ และสรุปผลประมูลต้นปี 2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น เอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระสนับสนุนทางการเงิน (Subsidy) แก่เอกชนในส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถและงานเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาของโครงการฯ

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติ ค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ในกรอบวงเงิน 14,661 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และอนุมัติกรอบวงเงินสนับสนุนให้เอกชนตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินค่างานโยธา ส่วนตะวันตก จำนวน 96,012 ล้านบาท โดยรัฐทยอยชำระคืนให้เอกชนหลังจากเปิดเดินรถทั้งเส้นทางแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี กำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี พร้อมดอกเบี้ย โดยใช้อัตราส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยตามความเห็นของ สำนักงบประมาณ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4 กม. (ใต้ดินตลอดสาย) จำนวน 11 สถานี มีค่า ก่อสร้างงานโยธา/ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 96,012 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน มูลค่า 14,661 ล้านบาท มีพื้นที่เวนคืน รวม 505 แปลง (41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว.) รวม 331 หลัง ค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ ด้านตะวันออก-ตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กม. (ใต้ดิน 27 กม. + ยกระดับ 8.9 กม.) วงเงิน 32,116 ล้านบาท

ส่วนสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. (ใต้ดิน 13.6 กม. + ยกระดับ 8.9 กม.) ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 และจะเปิดให้บริการได้ก่อน โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 121,599 คน/เที่ยว/วัน (ปี 2566) ส่วนด้านตะวันตกคาดว่าจะมีผู้โดยสาร 439,736 คน/เที่ยว/วัน (เปิดให้บริการในปี 2569)

ครม.ไฟเขียวรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล.
อังคารที่ 28 มกราคม 2563 เวลา 17.34 น.

ครม.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เปิดประมูลต.ค.นี้ ทั้งงานโยธาฝ่ายตะวันตก และเดินรถทั้งเส้น คาดเปิดบริการเต็มรูปแบบปี 69

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือบอร์ดพีพีพี โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะมีการเปิดคัดเอกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในเดือนต.ค.63 นี้ ทั้งงานโยธาโครงการฝั่งตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และการเดินรถไฟฟ้าตลอดทั้งเส้นทาง คือรวมฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ด้วย เบื้องต้นคาดว่า งานก่อสร้างฝั่งตะวันออกจะเสร็จในปี 66 ส่วนฝั่งตะวันตกเสร็จในเดือน มี.ค.69 ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ในปี 69

ทั้งนี้โครงการนี้มีมูลค่าโครงการรวม 142,789 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ีที่ดินโครงการในส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก 14,661 ล้านบาท ค่างานโยธาโครงการฯรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก 96,012 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งโครงการ/ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการฯวงเงิน 32,116 ล้านบาท โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก มีระยะทางรวม 13.4 กิโลเมตร เป็นการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทาง มีสถานีทั้งสิ้น 11 สถานี คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ณ ปี 2569 อยู่ที่ประมาณ 4.39 แสนคนต่อวัน ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 19.45%


Last edited by Wisarut on 29/01/2020 2:58 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2020 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ฉลุย! ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.22 แสนล้าน ดึงเอกชนลงทุน PPP 30 ปี
วันที่ 28 มกราคม 2563 - 13:27 น.

ครม.เคาะ"สายสีส้มตะวันตก"สกัดแบ่งเค้กแสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 28 Jan 2020

ครม.อนุมัติแล้วรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าสายส้มตะวันตก วงเงิน 1.16แสนล้านบาท ในรูปแบบ PPP หลังยืดเยื้อมานานนางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก วงเงิน 1.16 แสนล้านบาท ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด จากสถานีบางขุนนนท์ ถึงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยรูปแบบการลงทุนแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือ PPP ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 19.45% โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่าค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนลงทุนค่างานโยธา กำหนดระยะเวลาสัมปทานเดินรถ 30 ปี ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้บริหารจัดเก็บค่าโดยสาร คาดว่าจะเริ่มคัดเลือกเอกชนภายใน ตุลาคม 2563 จากนั้นจะเริ่มสำรวจและก่อสร้าง สามารถปิดบริการได้ในปี 2569

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในสมัยรัฐบาล"พล.อ.ประยุทธ์1" เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก และเอกชนลงทุนค่างานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้มีการเสนอโครงการนี้ให้ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจพิจารณา ปรากฎว่านายศักดิ์ สยามชิดชอบ ได้มีการเสนอให้ทบทวนรูปแบบการลงทุนงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกจากเดิมที่เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนมาเป็นรัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเองหลังจากกระทรวงการคลังซึ่งเคยมีข้อสังเกตว่า การให้รัฐลงทุนงานโยธาจะมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่ากรณีให้เอกชนร่วมลงทุน เนื่องจากเอกชนมีต้นทุนการชำระหนี้ที่สูงกว่ารัฐ

นายศักดิ์สยาม ให้เหตุผลว่าเนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินลงทุนสูง จึงจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนรูปแบบการให้รัฐลงทุนงานโยธา โดยการเปิดประมูลว่าจ้างเอกชนเข้ามาเป็นผู้ก่อสร้าง แต่นายสมคิดไม่เห็นด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ประชุม จึงมอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไปหาข้อสรุป

Click on the image for full size

ต่อมาในระหว่างการพิจารณาทบทวนกระทรวงการคลังได้เสนอความเห็นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ว่า แม้การจัดหาเงินกู้โดยภาครัฐจะมีอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมต่ำกว่าภาคเอกชนแต่รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนงานโยธาส่วนตะวันตกด้วยนั้นมีความเหมาะสม เนื่องจากรัฐยังมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการอื่นตามนโยบายของรัฐบาลที่มีความสำคัญภายใต้แหล่งเงินที่จำกัดอยู่เพียงงบประมาณและเงินกู้ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร เป็นต้น ประกอบกับกรณีรัฐเป็นผู้จัดหาเงินกู้เพื่อก่อสร้างงานโยธาจะเกิดภาระหนี้สาธารณะตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อสร้าง ซึ่งจะกระทบต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอาจส่งผลต่อความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศ

นอกจากนี้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหนังสือที่ ที่ กค 1005/15417 ถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบความเห็นครม. กรณีกระทรวงคมนาคมจะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน ระบุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการหรือโครงการ ตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรม การนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ เรื่อง การดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 ดังนั้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)จะต้อง ดําเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 ให้ครบถ้วน

จากนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 นายอนุทิน ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปเสนอให้ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจพิจารณาอีกครั้ง แต่ปรากฏว่าต้องสั่งปิดการประชุมลงก่อนที่จะมีข้อสรุป หลังจากนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอความเห็นในที่ประชุมระบุ สศช.ไม่ขัดข้องที่จะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน แต่กระทรวงคมนาคมและรฟม.ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ารัฐจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะก่อนหน้านี้รฟม.เคยทำการศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน และเสนอให้คณะกรรมการสศช. และบอร์ดพีพีพีพิจารณา โดยได้มีการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ EIRR ที่รัฐจะได้รับพบว่า ถ้าลงทุนด้วยรูปแบบ PPP รัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 21% แต่ถ้าแยกสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างรัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 15.9% หรือลดลงเกือบ 5%

หลังจากหน่วยงานต่างๆมีการทั้งท้วงรฟม.ได้นำความเห็นต่างๆไปทบทวน และมีความเห็นว่าควรกลับมาใช้การลงทุนในรูปแบบ PPP เหมือนเดิม และเสนอให้ครม.อนุมัติในที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2020 10:30 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
28 มกราคม 2563

ประชาสัมพันธ์ #ย้ายแนวเบี่ยงมาอยู่เกาะกลางบริเวณซอยรามคำแหง34 – 42 #งานขุดเจาะอุโมงค์จากสถานีหัวหมากไปสถานีรามคำแหง ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563 เวลา 22:30 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาออกและฝั่งขาเข้า เหลือฝั่งละ 2 ช่องทาง

ทั้งนี้ การเบี่ยงการจราจรในช่วงวันเวลาดังกล่าว อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในระหว่างเนินการ ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจรได้ที่หมายเลข 0 2168 3490 และติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ ที่เว็บไซต์ www.mrta-orangelineeast.com

https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/photos/a.257972248015467/776771056135581/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 89, 90, 91  Next
Page 24 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©