RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179557
ทั้งหมด:13490789
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2019 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ลุยต่อขยายเส้นทางรถไฟเชียงใหม่หนุนท่องเที่ยว

05 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:48 น.



สรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีแดง
โดย ผู้สื่อข่าวออนไลน์ CM108 (3) -
17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
ในงานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) เมื่อวันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เสนอประเด็นห่วงกังวล และได้แสดงความคิดเห็นอย่างครอบคลุมทั่วถึง ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาโครงการเป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน โดยได้พิจารณาให้สอดคล้องตามประกาศสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แนวทาง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2542 และเป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ และมีจุดสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี และมีสถานเบื้องต้น 12 สถานี ซึ่งมีระยะทางรวม 12.54 กิโลเมตร ในการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมมีขอบเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ใน ระยะประมาณ 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 8 ตําบล 2 อําเภอ ได้แก่ ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม ตําบลช้างเผือก ตําบลศรีภูมิ ตําบลพระสิงห์ ตําบลหายยา ตําบลสุเทพ ตําบลป่าแดด และตําบลแม่เหียะ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สรุปประเด็น ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ)
ด้านวิศวกรรม
1. แนวเส้นทางโครงการควรมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่อําเภอแม่ริมและมีจุดสิ้นสุดที่ย่านายหางดง
2. ควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ประกอบการระบบขนส่งทุกระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรได้ตรงจุด
3. ควรมีการพัฒนาโครงการเป็น loop สั้นๆ
4. ควรออกแบบโครงการให้รองรับประชาชนที่เดินทางโดยจักรยาน
5. ควรกําหนดตําแหน่งสถานีให้อยู่ใกล้บริเวณโรงเรียนหรือสถานที่ราชการ เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่เด็กและประชาชน ที่มาใช้บริการ
6. ควรมีสถานีเพิ่มเต็มช่วงบริเวณท่าอากาศยานเชียงใหม่ถึงแยกแม่เหียะเสมานสามัคคี
7. ควรมีที่จอดรถบริเวณท่าอากาศยานเชียงใหม่ถึงแยกแม่เหียะ สมานสามัคคี
8. ควรมีการศึกษาแบบบูรณาการกับโครงการอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นต้น 9. ควรออกแบบพัฒนาโครงการให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับประชาชน
10. ควรพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่พร้อมกันทั้ง 3 เส้นทาง ตามแผนแม่บท
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. ควรออกแบบโครงสร้างให้อยู่ระดับดิน เนื่องจากโครงการบางส่วนอยู่ในเขตเมืองเก่าและช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้าง
ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. ควรประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เช่น ผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
2. ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดําเนินโครงการ
3. ควรจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหารือแนวทางการจัดทํา TOD
4. ควรเพิ่มเติมข้อมูลโครงการและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เฟชบุ๊ก เป็นต้น
5. ควรเชิญผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างครบถ้วน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
1. ควรเร่งดําเนินโครงการให้เกิดขึ้นจริง
2. ควรเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

รอนั่ง"แทรมเชียงใหม่" สายแรกยาว 12.54 กิโลเมตร 12 สถานี ปี 2570 เนื่องจากเจองานยาก! ต้องขุดอุโมงค์ มุดเมืองเก่า สำรวจโบราณคดีถึง8 จุด ดังนี้

1.บริเวณตลาดบริบูรณ์ (จุดที่รถไฟฟ้าเริ่มลงสู่ใต้ดิน)
2.บริเวณพื้นที่ว่างใกล้แยกช่วงสิงห์(สถานีข่วงสิงห์)
3.บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(สถานีราชภัฏเชียงใหม่)
4.บริเวณใกล้ประตูช้างเผือก(สถานีช้างเผือก)
5.บริเวณประตูสวนดอก(สถานีสวนดอก)
6.บริเวณแจ่งกู่เฮือง(สถานีหายยา)
7.บริเวณใกล้หมู่บ้านไทยสมุทร(จุดที่รถไฟใต้ดินยกระดับขึ้นสู่ผิวดิน)
8.บริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี(สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี จุดสิ้นสุดโครงการ)


สถานี
1.โรงพยาบาลนครพิงค์
2.ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
3.สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
4.ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
5.หนองฮ่อ
6.ข่วงสิงห์
7.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
8.ช้างเผือก
9.สวนดอก
10.หายยา
11.ท่าอากาศยานเชียงใหม่
12.แม่เหียะสมานสามัคคี
http://chiangmai-transitredline.com/PDF/PPT_M1.pdf
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2628766730503589&set=a.2073045072742427&type=3&theater

สรุปคําถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฯกลุ่มที่ 1 ณเทศบาลเมืองแม่เหียะ (ตําบลแม่เหียะตําบลสุเทพและตําบลป่าแดด)
1. ควรมีการทบทวนชื่อสถานีใหม่ในบางสถานี
2. แนวเส้นทางควรเจาะลอดใต้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้านหลังเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
3. ควรใช้รางกว้าง 1 เมตร (meter gauge) แทน 1.435 เมตรเนื่องจากมีประโยชน์มากกว่า (ชะรอยจะเอารถรางที่ว่าเดินรถชานเมืองเชียงใหม่ - ลำพูนแน่ๆ)
4. ควรขยายแนวเส้นทางไปถึงแยกสะเมิง (อีก 2.9 กิโลเมตร) เนื่องจากมีที่ดินว่าง 13.5 ไร่สามารถพัฒนาต่อได้
5. ควรจัดการเรื่องสัญญาณไฟจราจรข้ามแยกด้วย
6. ควรพิจารณาจุดจอดรถเช่นบริเวณหน้าโลตัสหางดงหรือกาดวรุณและหากมีการใช้พื้นที่กรมทางหลวงควรมีการหารือกับเจ้าของพื้นที่ด้วย (บทเรียนจากรถรางภูเก็ตที่คาราคาซังจนเมื่อเร็วๆนี้จึงแก้ได้)
7. ควรมีแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้างและหารือแนวทางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8. รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดงและสายสีน้ําเงินเป็นอย่างไร (ข้อนี้น่าคิด เพราะสายสีน้ำเงินทะลุกำแพงพระนครเชียงใหม่ ไปสถานีัรถๆไฟเชียงใหม่เสียด้วย)
9. ควรเพิ่มสถานีบริเวณโลตัสหางดงหรือโรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอเนื่องจากมีชุมชนหนาแน่นและตอบโจทย์การเดินทางของประชาชน
10. ควรปรับแนวเส้นทางไปสิ้นสุดที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีหรืออุทยานหลวงราชพฤกษ์เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยใชพื้นที่แนวคลองชลประทาน (รอสร้างสายเขียว และ สายน้ำเงินไม่ดีกว่าหรือ?)
11. การกําหนดรูปแบบการจ่ายไฟให้กับขบวนรถไฟฟ้าไม่ควรบดบังทัศนียภาพ (จะเอาระบบรางที่สามหรือ?)
12. การสร้างอุโมงค์ควรมีมาตรการป้องกันน้ําท่วมด้วยและเพิ่มสถานีบริเวณมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์นเพื่อรองรับประชาชนที่มาจากทิศตะวันออก
13. ควรกําหนดตําแหน่งจุดสิ้นสุดโครงการให้ชัดเจน
14. ควรมีจุดจอดรถบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคีและต่องการทราบว่าจะมีการคิดค่าที่จอดหรือไม่อย่างไร
15. ควรใช้พื้นที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ทั้งหมดเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน (ถ้า AOT ไม่ยอมขึ้นมาเอ็งจะทำอย่างไร?)
16. การเดินทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุดโครงการใช้ระยะเวลาเท่าไร (ปี 2570)
17. ในการประชุมครั้งต่อไปควรมีรายละเอียดแนวเส้นทางสถานีและที่จอดรถเพื่อให้การพัฒนาโครงการเป็นไปอย่างรวดเร็ว

สรุปคําถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฯกลุ่มที่ 2 ณ องค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว (ตําบลดอนแก้วและตําบลช้างเผือก)

1. กรมทางหลวงชนบทมีโครงการจะสร้างถนนเลี่ยงเมืองแม่ริมจะส่งผลให้รถยนต์ที่ผ่านถนนโชตนามีปริมาณลดลงดังนั้นหากรถไฟฟ้าสายสีแดงใช้เกาะกลางถนนจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากนัก
2. กรมทางหลวงยินดีที่จะให้ใช้เกาะกลางถนนทล.107 สําหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงแต่หากต้องใช้พื้นที่ถนนควรพิจารณาพื้นที่ริมเขตทางแทน
3. แนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ผ่านถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีควรใช้พื้นที่ทหารเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน (ทหารเขาจะยอมหรือ?)
4. ต้องการทราบมาตรการในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค
5. การออกแบบแนวเส้นทางบริเวณประตูช้างเผือกและประตูสวนดอกควรให้มีระยะห่างจากคูเมืองพอสมควรเพื่อป้องกันผลกระทบด้านความสั่นสะเทือน
6. ควรออกแบบแนวเส้นทางและสถานีรถไฟฟ้าให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด (กระทบน้อยก็ไม่ผ่านบ้าน โรงเรียน และ ที่ทำงานของ พวกเอ็งสิ)
7. ควรเพิ่มสถานีขนส่งช้างเผือกและสถานีแอร์พอร์ตเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน (ก็มีอยู่แล้วนี่)
8. ต้องการทราบว่ารถไฟฟ้า (TRAM) ใช้ความเร็วสูงสุดเท่าไร (70 - 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
9. ควรทําทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานีกับสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงด้วย
10. ควรประสานงานกรมทางหลวงในการจัดการจราจรเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
11. ควรมีจุดจอดรถบริเวณจุดเริ่มต้นโครงการเพื่อรองรับประชาชนที่มาจากทิศเหนือ
12. สถานีช้างเผือกควรอยู่บริเวณขนส่งช้างเผือก (อึมมม ...)
13. ควรปรับแนวเส้นทางไปอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลนครพิงค์ซึ่งเป็นพื้นที่ทหารเพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืน (ทหารเขาจะยอมหรือ?)
14. แนวเส้นทางควรใช้พื้นที่ทหารผ่านหน้าสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ผ่านโรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพเพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืน (ทหารเขาจะยอมหรือ?)
15. ควรใช้พื้นที่ด้านขวา (ทิศตะวันตก) หรือบริเวณด้านหน้าพื้นที่ทหารเพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืน (ทหารเขาจะยอมหรือ?)
16. ควรผลักดันให้โครงการเกิดขึ้นโดยเร็ว (ติดการขุดทางโบราณคดี ปี 2570 กว่าจะได้ใช้)
17. ควรพิจารณาจ่ายค่าเวนคืนให้เป็นธรรมและเหมาะสมที่สุด
18. ควรออกแบบโครงการให้ครอบคลุมเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดเช่น Park&Ride ทางเชื่อมเป็นต้น (สายเดียวคลุมหมดเนี่ยนะ?)
19. โครงการจะมีการแบ่งช่วงในการก่อสร้างหรือไม่อย่างไร
20. ควรแจ้งระยะเวลาการดําเนินงานให้ประชาชนทราบเพื่อประชาชนจะได้ปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสม

สรุปคําถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฯกลุ่มที่ 3 ณที่ทําการแขวงนครพิงค์ (กลุ่มแขวงนครพิงค์ )
1. โครงการสามารถขยายแนวเส้นทางขึ้นไปถึงแม่แตงได้หรือไม่เพื่อรองรับการเดินทางของนักศึกษา (!!!!)
2. โครงการควรรองรับการเดินทางของประชาชนเช่นเด็กนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น
3. กรณีบ้านพักอยู่ห่างจากถนน 200 เมตรจะอยู่ในแนวเขตเวนคืนหรือไมอยางไร
4. สถานีช้างเผือกมีรูปแบบการก่อสร้างอย่างไร
5. บริเวณโรงเรียนวัดข่วงสิงห์มีสถานีหรือไม่ (สถานีข่วงสิงห์ไกลจากโรงเรียนไปหรือ?)
6. หากโครงสร้างใต้ดินอยู่ในระดับลึกมากอาจมีปัญหาด้านการก่อสร้างและส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูง
7. แนวเส้นทางควรอยู่ระดับดินทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการขยายแนวเส้นทางหรือปรับเปลี่ยนตําแหน่งสถานี (เอ็งไปเถียงกะคนที่กระสันอยากให้ ทำเป็นรถใต้ดินสิ)
8. แนวเส้นทางใต้ดินบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และสถานีช้างเผือกจะมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่อย่างไร
9. แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวถนนใช่หรือไม่ (ก็แน่หละสิ)
10. แนวเส้นทางจะลดระดับลงใต้ดินที่บริเวณใดและจะใช้พื้นที่ด้านข้างเท่าไร
11. ควรปรับแนวเส้นทางจากประตูช้างเผือกให้ผ่านวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเนื่องจากจะมีประชาชนใช้บริการจํานวนมาก (รอสายน้ำเงินที่ผ่านกลางเวียงและ สถานีรถไฟเชียงใหม่ไม่ดีกว่าหรือ?)
12. แนวเส้นทางบริเวณที่ลดระดับลงใต้ดินเป็นตําแหน่งเดียวกับสถานีหรือไม่
13. จุดจอดรถจะอยู่บริเวณใดบ้างและคิดค่าบริการอย่างไร
14. ขบวนรถไฟฟ้าสามารถรองรับผู้โดยสารได้จํานวนเท่าไร
15. การดําเนินโครงการจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานหรือไม่และหากมีการขุดพบจะมีมาตรการในการจัดการอย่างไร (ก็กำลังทำอยู่แล้วนี่)
16. รถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีกี่ขบวนและวิ่งสองทิศทางใช้หรือไม่
17. ควรเร่งดําเนินการก่อสร้างให้เร็วที่สุด - (อย่างเร็วก็ปี 2570 เพราะการที่ต้องขุดอุโมงค์นี่แหละ)
18. ควรหาวิธีการผลักดันให้โครงการรถไฟฟ้าเกิดขึ้นเร็วที่สุด
19. ควรกําหนดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสมต่อค่าครองชีพของประชาชน
20. ระยะเวลาการเดินทางโดยรถไฟฟ้าจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการไม่ควรเกิน 30 นาทีเพราะจะทําให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้าแทนรถยนต์ส่วนตัว (แล้วพวกจากแม่ริมไปหางดงจะว่ากระไร)
21. ควรประสานระบบขนส่งอื่นๆเพื่อรองรับประชาชนที่จะเดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้า


สรุปคําถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฯกลุ่มที่ 4 ณที่ทําการแขวงนครพิงค์ (กลุ่มแขวงศรีวิชัยและแขวงเม็งราย)
1. ในอนาคตถนนหลายสายจะมีการขยายเป็น 6 ช่องจราจรเพราะปัจจุบันการจราจรหนาแน่นมากในกรณีที่ใช้เป็นทางร่วมก็ค่อนข้างลําบากและหากก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องอยู่ในระดับที่ลึกกว่าทางลอดจึงควรหลีกเลี่ยงดีกว่าดังนั้นแนวเส้นทางบริเวณแยกข่วงสิงห์ควรอยู่ระดับดินเพราะหากเป็นใต้ดินจะลึกมากทําให้สิ้นเปลืองงบประมาณ (เอ็งไปเถียงกะคนที่กระสันอยากให้ ทำเป็นรถใต้ดินสิ)
2. ควรมีการจัดการจราจรและทางเท้าระหว่างการก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
3. แนวเส้นทางที่ผ่านบริเวณแยกต่างๆควรมีระบบสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสม
4. ควรจัดตั้งคณะทํางานร่วมกันเช่นกรมทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่รฟม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้นเพื่อแก้ปัญหาจากการดําเนินโครงการ
5. ควรนําเสนอรายละเอียดให้ครบถ้วนเช่นขอบเขตโครงการรูปแบบโครงการระยะเวลาการศึกษาและดําเนินโครงการเป็นต้น
6. ควรมีทางเชื่อมต่อกับห้างสรรพสินค้าโรบินสันโดยหารือร่วมกับเจ้าของพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกัน (อึม ....)
7. ควรศึกษาจุดเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ่าสายสีแดงสายสีน้ําเงินและสายสีเขียวไปพร้อมกัน (อึม ....)
8. จุดเริ่มต้นโครงการควรอยู่ที่อําเภอแม่ริมและจุดสิ้นสุดโครงการควรอยู่ที่อําเภอหางดง (รอตอ่ขยายสายแดงก่อนมิได้หรือ? หรือ รอสายสีอื่นไม่ไหว?)
9. ควรศึกษาระดับความลึกของโครงสร้างใต้ดินให้เหมาะสมเนื่องจากหากมีความลึกมากจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง (ก็กำลังทำอยู่นี่ - ก็ไม่ใช่เพราะเอ็งต้องการทางใต้ดินหรอกอรื งบเลยบานจาก 2 หมื่นล้านเป็น 1 แสนล้านบาท)
10. ควรศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหครอบคลุมในทุกด้านเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
11. กรณีที่มีการปรับแนวเส้นทางควรพิจารณาแนวเส้นทางที่ผ่านมหาลัยราชภัฏจังหวัดเชียงใหม่และกําหนดพื้นที่ด้านข้าง 2 เมตรตลอดแนวซึ่งปัจจุบันมีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
12. แนวเส้นทางโครงการสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่เนื่องจากฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลนครพิงค์มีชุมชนหนาแน่นจึงควรปรับแนวเส้นทางไปใช้พื้นที่ทหารเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน (ทหารเขาจะยอมหรือ? - และ ถ้าไปตามทางที่เอ็งต้องการแล้วต้องเดินไปอีกไกลเอ็งจะริบผิดชอบไหม?)
13. แนวเส้นทางรถไฟฟ้าจากโรงพยาบาลนครพิงค์ถึงแยกข่วงสิงห์สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้บริเวณใดบ้าง
14. หากรถไฟฟ้าวิ่งด้วยความเร็ว 15 - 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรัฐบาลควรพิจารณาลงทุนในโครงการอื่นดีกว่า
15. ควรปรับแนวเส้นทางไปบริเวณห้างสรรพสินค้า MAYA เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจํานวนมาก (ให้ทำสายเขียวก่อนมิได้หรือ?)
16. แนวเส้นทางไม่ควรผ่านคูเมือง (ก็อยากจะให้ใกล้ชุมชนก็ต้องผ่านคูเมืองอยู่วันยังค่ำ จะเอาอะไร)
17. ควรทบทวนตําแหน่งสถานีหนองฮ่อเนื่องจากอาจมีผู้โดยสารน้อย
18. ควรขยายแนวเส้นทางให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้คุ้มค่า
19. ควรมีสถานีบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารช้างเผือกเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน
http://chiangmai-transitredline.com/PDF/Poster_Sum_G1.pdf


Last edited by Wisarut on 30/01/2020 5:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2019 10:25 am    Post subject: Reply with quote

รอกันไหวมั้ย??ปี70โน่น!! รถไฟฟ้าไปถึงเชียงใหม่
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด"
อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ดูความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ เส้นทางก่อสร้างมีใต้ดิน ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องใช้เวลานานถึงปี 70

สัปดาห์ที่แล้วพาไปล่องใต้ อัพเดทรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตหรือ “แทรมภูเก็ต” ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบื้องต้นเอาไว้ รวมทั้งจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2562 (PPP) เสร็จเรียบร้อยแล้ว

รฟม. เตรียมเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม., กระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาตามขั้นตอน หากได้รับอนุมัติในหลักการ คาดว่าต้นปี 63 จะประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการได้ โดยวางแผนเริ่มก่อสร้างระยะแรก(เฟส) ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร(กม.) ก่อน ภายในปี 63 ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง เปิดบริการปี 67 ซึ่งถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในต่างจังหวัดที่มีความคืบหน้ามากที่สุด

สัปดาห์นี้จะพาไปขึ้นเหนือ ดูความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่กันบ้าง แน่นอนว่า เมืองใหญ่ของภูมิภาคและเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักที่โกยเม็ดเงินเข้าประเทศมหาศาล ขณะนี้ในเขตเมืองเชียงใหม่มีปัญหาการจราจรติดขัดไม่แพ้กรุงเทพฯ เลยทีเดียว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพมาแก้ไขปัญหา

ข่าวดีคือ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ หรือรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) สายสีแดง (รพ.นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 12.54 กม. วงเงินลงทุนกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโครงการรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา พร้อมจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

โครงการนี้ล่าช้ากว่าแทรมภูเก็ตแน่นอน เพราะตามแนวเส้นทางของแทรมสายสีแดงเชียงใหม่มีบางช่วงที่เป็นใต้ดินด้วย ไม่ได้เป็นระดับดินทั้งหมดเหมือนแทรมภูเก็ต ทำให้ต้องใช้เวลาดำเนินการนานกว่า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. บอกว่า งานก่อสร้างแทรมเชียงใหม่ในส่วนที่เป็นใต้ดินต้องผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่เมืองเก่าของ จ.เชียงใหม่ด้วย การก่อสร้างจึงเพิ่มความยุ่งยากและซับซ้อนเข้าไปอีก โดยก่อนลงพื้นที่เข้าไปก่อสร้างต้องสำรวจทางโบราณคดีด้วยเหมือนกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคที่สถานีสนามไชย และสถานีสามยอด

เวลานี้เริ่มลงพื้นที่สำรวจในเบื้องต้นแล้วเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพิจารณาก่อสร้างก่อนดำเนินการขุดทำอุโมงค์ต่อไป สำหรับแทรมเชียงใหม่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการประมาณกลางปี 70

ขณะนี้ทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เริ่มดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อตรวจสอบชั้นดินทางวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ภายใต้โครงการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการแทรมเชียงใหม่สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) แล้ว โดยจุดที่ขุดค้นทางโบราณคดี ประกอบด้วย 8 จุด ได้แก่บริเวณตลาดบริบูรณ์, บริเวณพื้นที่ว่างใกล้แยกช่วงสิงห์, บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บริเวณใกล้ประตูช้างเผือก,บริเวณประตูโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่(สวนดอก), บริเวณแจ่งกู่เฮือง, บริเวณใกล้หมู่บ้านไทยสมุทร และบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 63

สำหรับโครงการแทรมเชียงใหม่สายสีแดง มี 12 สถานี เริ่มต้นจากทางวิ่งบนดินตั้งแต่ รพ.นครพิงค์ - ศูนย์ราชการเชียงใหม่ – สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่700 ปี – ศูนย์ประชุมนานาชาติ – สถานีตำรวจช้างเผือก– เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกช่วงสิงห์ – มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ – ประตูช้างเผือก – ประตูรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ –โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ – ท่าอากาศยานเชียงใหม่เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานเชียงใหม่ จะเริ่มใช้ทางบนดินสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคีโดยก่อนหน้านี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการประมาณปี 67

รฟม.ปรับแผนเปิดบริการจากปี 67 ไปอีก 3 ปี เป็นปี 70 โน่น ต้องรอกันยาวๆ ถึง 8 ปี แต่ระหว่างแผนยังต้องเจอปัญหาอุปสรรครายทางอีกมาก ให้ไว้ 10 ปีก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า รฟม. จะฝ่าฟันงานยาก ขยายรถไฟฟ้าไปปักธงที่ จ.เชียงใหม่ ได้สำเร็จตามแผน ต้องมีลมใต้ปีกช่วยพัด.
...................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2019 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

แค่ 12 สถานีไม่พอ เลยต้องเพิ่มเป็น 16 สถานีให้เป็นที่พอใจ

สถานี
บนดิน:
1. โรงพยาบาลนครพิงค์
2. ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
3. สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
4. ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
5. หนองฮ่อ
6. โพธาราม - เพิ่มมาใหม่
ใต้ดิน:
7. ข่วงสิงห์
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
9. สถานีขนส่งช้างเผือก - ปรับแก้ตำแหน่งตามความต้องการของคนเชียงใหม่ ทั้งในเมืองและชานเมือง
10. มณีนพรัตน์ - เพิ่มมาใหม่
11. ประตูสวนดอก - แก้ชื่อให้ตรงกะชื่อประตูเมือง
12. แยกหายยา - แก้ชื่อให้ตรงกะชื่อแยก
13. แยกท่าอากาศยานเชียงใหม่ - เพิ่มมาใหม่
บนดิน:
14. ท่าอากาศยานเชียงใหม่
15. บ้านใหม่สามัคคี - เพิ่มมาใหม่
16. แม่เหียะสมานสามัคคี

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=419591315662185&id=322576578696993&__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

🖲🖲🖲เปิด 3 เส้นทาง รถไฟรางเบาเชียงใหม่ 🚆🚊🚉ช่วยยกระดับเชียงใหม่ให้ไปสู่เมืองท่องเที่ยวระดับโลกเหมือนหลายๆ เมืองทั่วโลก💵💲💵 วงเงินงบประมาณราว 8.6 หมื่นล้านบาท 🛤🛤🛤คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี #PRDแข่งขัน #PRD03 #PRD09 #PRD16 #smartcity #Smartcity #เมืองอัจฉริยะ #เมืองอัจฉริยะ
https://www.facebook.com/prd3cmi/posts/3025358677484745
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2020 10:32 am    Post subject: Reply with quote

สวท.เชียงใหม่ขอเชิญติดตาม ((((Live)))) เพจ : โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง และ เพจ: สวท.เชียงใหม่ PRD วันที่ 29 มกราคม 2563🔴

📌📌การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง ครั้งที่ 2” (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) 🎬🚇 09.00-12.00 น.
📌📌การประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Market sounding 🎬🚇 13.30-16.30 น.
https://www.facebook.com/chiangmairadiothailand/posts/2729062370475427?__tn__=H-R
โครงการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ดูได้ที่นี่
https://www.facebook.com/watch/live/?v=183001746110224

ผู้สนใจข้อมูลข่าวสาร รายละเอียดโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ Link ด้านล่างนี้
http://www.chiangmai-transitredline.com/PDF/Paper_M2.pdf

รฟม. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) และการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)

วันนี้ (29 มกราคม 2563) เวลา 09.00 น. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) โดยได้รับเกียรติจากนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 นี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานี รูปแบบโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ได้มีการจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ณ ห้องทิพย์พิมาน โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนโครงการ และรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากตัวแทนของภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับผลการศึกษาโดยสรุปคือ โครงการได้ออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือราง มีรูปแบบที่คล้ายกับรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยวิ่งตามแนวเหนือใต้ รวมระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีสถานีรับ - ส่ง ผู้โดยสาร 16 สถานี ได้แก่
สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์
สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
สถานีแยกหนองฮ่อ
สถานีโพธาราม
สถานีข่วงสิงห์
สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สถานีขนส่งช้างเผือก
สถานีมณีนพรัตน์
สถานีประตูสวนดอก
สถานีแยกหายยา
สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
สถานีบ้านใหม่สามัคคี และ
สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี

โดยเป็นทางวิ่งระดับดินประมาณ 9 กิโลเมตร และเป็นทางวิ่งใต้ดินประมาณ 7 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2565 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ของประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2429751827241537

เปิดเส้นทาง”แทรมเชียงใหม่”รถไฟฟ้าสายแรกภาคเหนือ
*16กม.16สถานีเชื่อมสนามบิน-ขนส่ง
*ก่อสร้างปี65ความเร็วฉิวไม่แพ้"พี่วิน"

นายวุฒิชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้งานศึกษารายละเอียดฯ มีความคืบหน้าแล้ว 72% จะแล้วเสร็จประมาณเดือน มิ.ย.63 จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการขออนุมัติโครงการ และจัดหางบประมาณ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ก่อนจะเริ่มจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณปลายปี 64 เริ่มก่อสร้างประมาณต้นปี 65 และเปิดให้บริการในปี 70
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2509468382607998?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 10:25 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งสรุปรถไฟฟ้าเชียงใหม่ คาดประมูลเริ่มก่อสร้างปี65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มกราคม 2563 -16:37

เชียงใหม่คืบหน้า”รถไฟฟ้าสายสีแดง”กลุ่มทุนไทย-จีน-ฝรั่งเศสจ่อ PPP
เศรษฐกิจภูมิภาค

วันที่ 29 มกราคม 2563 - 15:47 น.

รฟม.ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ 2.7 หมื่นล้าน วิ่งเชื่อม “รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ” ตอกเข็มปี’65
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 มกราคม 2563 - 15:45 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 มกราคม 2563) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจากนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นประธาน

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 นี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานี รูปแบบโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 นี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานี รูปแบบโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการในขั้นตอนนี้ราว 2 เดือน จากนั้นราวเดือนพฤษภาคม 2563 จะนำผลการศึกษาฉบับปรับปรุงดังกล่าว มานำเสนอในเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3 ที่จังหัดเชียงใหม่ เป็นครั้งสุดท้าย และคาดว่าในส่วนของรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก็จะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมเช่นกัน

“ในช่วงบ่ายของวันนี้ เราจะเปิดเวทีประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ที่สนใจร่วมทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งโครงการนี้จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในสัดส่วนรัฐ 80% เอกชน 20% เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการที่เหมาะสมต่อไป”


นายภคพงศ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มทนที่ให้ความสนใจร่วมทุนโครงการด้วยหลายกลุ่ม เป็นกลุ่มทุนไทยรายใหญ่ 3 กลุ่ม กลุ่มทุนจีน กลุ่มทุนฝรั่งเศส และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดย รฟม.จะนำเสนอรายละเอียดโครงการให้กับกลุ่มทุนที่เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้ ถึงรูปแบบการร่วมลงทุน และความคุ้มค่าของการลงทุน และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จะเปิดเวทีให้กลุ่มทุนที่สนใจรับฟังแนวทางและรายละเอียดโครงการที่กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จและมีการปรับปรุงผลการศึกษาอย่างสมบูรณ์ทุกขั้นตอน รวมถึงได้กลุ่มผู้รวมทุนโครงการ จนนำมาสู่ขั้นตอนรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีได้ราวปลายปี 2563 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการได้ภายในปี 2565 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ราวปี 2570


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ถือว่ามีความคืบหน้าอย่างมากและมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในเชิงพื้นที่ได้มีการสำรวจทั้งแนวเส้นทางบนดินและใต้ดิน ซึ่งการก่อสร้างจะดำเนินการครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจากสายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งตามแนวทางวิ่งหรือราง มีรูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยวิ่งตามแนวเหนือ-ใต้ รวมระยะทางประมาณ รวมระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีสถานีรับ - ส่ง ผู้โดยสาร 16 สถานี ได้แก่
สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์
สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
สถานีแยกหนองฮ่อ
สถานีโพธาราม
สถานีข่วงสิงห์
สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สถานีขนส่งช้างเผือก
สถานีมณีนพรัตน์
สถานีประตูสวนดอก
สถานีแยกหายยา
สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
สถานีบ้านใหม่สามัคคี และ
สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี

โดยเป็นทางวิ่งระดับดินประมาณ 9 กิโลเมตร และเป็นทางวิ่งใต้ดินประมาณ 7 กิโลเมตร สำหรับมูลค่าการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง อยู่ที่ราว 27,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปรายละเอียดรถไฟฟ้ารางเบา เมืองเชียงใหม่สายสีแดง โรงพยาบาลนครพิง-แยกแม่เหียะฯ

รูปแบบทางวิ่ง

โครงการ แบ่งรูปแบบทางวิ่ง เป็น 2 แบบคือ

- ทางวิ่งระดับดิน จะทำในช่วงนอกเมืองถนนมีขนาดใหญ่ มี 2 ช่วงคือ
จากต้นทางสถานี โรงพยาบาลนครพิงค์ - สถานีโพธาราม
ช่วง สถานีสนามบินเชียงใหม่-แยกแม่เหียะฯ

- ทางวิ่งใต้ดิน ตั้งแต่สถานีข่วงสิงห์ - สถานีแยกสนามบินเชียงใหม่

มีสถานีทั้งหมด 16 สถานี คือ

- โรงพยาบาลนครพิงค์ - มีอาคารจอดแล้วจร จอดรถได้ 1,600 คัน
- ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
- สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
- ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่
- แยกหนองฮ่อ - มีอาคารซ่อมบำรุง (Depot) ก่อสร้างบริเวณใกล้แยกหนองฮ่อ พื้นทื่ลัดดาแลนด์ เก่า
- แยกโพธาราม

—— ลดระดับลงใต้ดิน——
- แยกข่วงสิงห์
- มหาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- สถานีขนส่งช้างเผือก
- มณีนพรัตน์
- ประตูสวนดอก
- แยกหายยา
- แยกสนามบินเชียงใหม่

—— ยกระดับกลับมาเป็นระดับดิน——
- สนามบินเชียงใหม่
- บ้านใหม่สามัคคี
- แม่เหียะสมานสามัคคี - มีอาคารจอดแล้วจร จอดรถได้ 1,200 คัน

——————
ข้อคิดเห็นส่วนตัว

ซึ่งตรงนี้ต้องขอบคุณทีมงานที่ปรึกษาที่เพิ่มสถานี แยกสนามบินข้าง Central Airport มาตามคำเรียกร้องของประชาชนในพื้นที่

แต่ส่วนที่น่าสนใจคือการเชื่อมต่อระหว่างสนามบิน กับสถานีสนามบินเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ด้านคูน้ำด้านนอกสนามบิน ซึ่งค่อนข้างไกล ไม่แน่ใจว่าได้คุยกับ AOT แล้วว่าจะมีทางเชื่อมมาหรือตามแผนการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่หรือไม่

และอีกอย่างที่ต้องชื่นชมคือ การออกแบบเส้นทางช่วงสนามกีฬา ถึง สถานี โพธาราม ตอนแรกหลายๆคนมีความกังวลว่าจะทำให้รถติดหรือไม่เพราะถนนมีขนาดเล็ก

แต่พอดูจากในคลิป โครงการเลี่ยงไปใช้ถนนคันคลองอีกฝั่งหนึ่ง เลียบจากสนามกีฬา ซึ่งไม่กระทบการจราจรหลัก และช่วงศูนย์ประชุมเลี้ยงซ้ายมา ก็ใช้พื้นที่ของราชการในการก่อสร้างไม่กระทบถนน 1366

แต่ยังมีส่วนที่ยังติดใจอยู่ คือ ช่วงที่ออกจากสนามบินเชียงใหม่ ไป ตัดกับถนนเชียงใหม่-หางดง เท่าที่ดูเป็นจุดตัดระดับดิน ซึ่งกลัวว่าจะมีผลกระทบกับจราจรโดยตรง จึงอยากแนะนำให้ช่วงที่เป็นจุดตัด เป็นสะพานยกระดับรูปตัว L เพื่อข้ามถนนก่อจะเข้าทางวิ่ง

ใครยังไม่ได้ดูคลิปประชาสัมพันธ์โครงการ ดูตามลิ้งค์นี้เลยครับ
https://youtu.be/jN44c-ifVis

รายละเอียดการประชุม
http://www.chiangmai-transitredline.com/PDF/Paper_M2.pdf

รายละเอียดข้อมูลการประชุมครั้งที่ 1
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/701750956930053/?d=n
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2020 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. จัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 น. นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (กลยุทธ์และแผน) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทดสอบความสนใจและรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากตัวแทนของภาคเอกชน เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการที่เหมาะสมต่อไป

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี มีกรอบวงเงินลงทุนโครงการประมาณ 27,000 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบตามระยะทาง ประมาณ 15 -30 บาทต่อเที่ยว โดยผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า โครงการฯ มีผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ประมาณร้อยละ 13 ทั้งนี้ รฟม. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้ดำเนินการในส่วนของการจัดเตรียมข้อมูลโครงการเพื่อนำเสนอขออนุมัติการดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่ง รฟม. จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการประชุมครั้งนี้ ไปประกอบการพิจารณารูปแบบการร่วมลงทุนโครงการ ขออนุมัติดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุน และจัดเตรียมเอกสารโครงการเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในงานด้านต่างๆ เช่น งานโยธา ระบบรถไฟฟ้า การเดินรถ งานบำรุงรักษา และงานให้บริการต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีราวกลางปี 2564 เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2565 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2440228239527229

อดใจรอ!!นั่งแทรมเชียงใหม่เริ่ม 15 บาท
*เอกชนไทย-เทศสนใจลงทุนพรึ่บ
*ลุยต่อแทรม"โคราช-พิษณุโลก"
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2520846878136815?__tn__=K-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2020 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนติงรถไฟฟ้าเชียงใหม่ลงทุนสูง-ผลตอบแทนติดลบ แนะเปลี่ยนรูปแบบ PPP
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 13:56
ปรับปรุง: วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 15:58

Click on the image for full size


รฟม.เผยผลศึกษารถไฟฟ้าเชียงใหม่ เปิดเอกชนร่วมลงทุน PPP-Net งานโยธาและระบบ กว่า 2 หมื่นล้าน และสัมปทาน 30 ปี คาดสรุปชง ครม.กลางปี 64 ด้านเอกชนติงต้นทุนสูง ผลตอบแทนติดลบ แนะปรับรูปแบบเป็นจ้างวิ่ง

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ว่าที่ปรึกษาจะนำข้อสังเกต ข้อเสนอเเนะต่างๆ จากนักลงทุน เพื่อประกอบรายงานการศึกษา การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยโครงการมีมูลค่ารวม 27,200 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะลงทุนค่าเวนคืนประมาณ 4,400 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา (Civil Work) ประมาณ 15,000 ล้านบาท จัดหาขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stock) ประมาณ 5,000 ล้านบาท และบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี โดยตามหลักรัฐจะอุดหนุนการลงทุนเอกชนไม่เกินมูลค่างานโยธา

โดยจะสรุปผลศึกษาได้ในเดือน มิ.ย. จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. และกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการ PPP และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ราวกลางปี 2564 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2562 คาดว่าจะได้ตัวผู้รับสัมปทานและเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2565 ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เปิดให้บริการในปี 2570

ทั้งนี้ โครงการมีระยะทาง 16 กม. มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี เป็นทางระดับดิน 6.5 กม. ใต้ดิน 9.5 กม. โดยทางระดับดินจะใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นหลัก โดยมีการเวนคืนที่บริเวณทางขึ้น-ลงสถานี และศูนย์ซ่อมบำรุงที่สี่แยกหนองฮ่อ จำนวน 25 ไร่

โดยกำหนดอัตราค่าโดยสาร ตามระยะทาง เริ่มต้น 15 -30 บาทต่อเที่ยว ซึ่งการศึกษาวิเคราะห์ โครงการฯ มีผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) 13% ประมาณการณ์ผู้โดยสารในปีเเรกที่เปิดให้บริการ ที่ 16,000 คน/ต่อวัน

“โครงการระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ กำหนดเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) เพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณผู้โดยสาร ซึ่งระหว่างการก่อสร้างจะให้ความสำคัญฝุ่นและการจราจร และพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย ต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว”

นายธีรพันธ์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว จากตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.7 กม. ว่าจะสรุปผลการศึกษานำเสนอได้ประมาณปลายปี 2563 จากนั้นจะเสนอบอร์ด รฟม.ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า การก่อสร้างที่เป็นระบบใต้ดินเพื่อลดผลกระทบ ทำให้วงเงินลงทุนโครงการสูง โดยการศึกษานำเสนอรูปแบบการลงทุน PPP Net Cost ซึ่งเอกชนลงทุนค่างานโยธาและระบบ กว่า 2 หมื่นล้านบาท รัฐจะอุดหนุนไม่เกินค่างานโยธา (1.5 หมื่นล้านบาท) นั้น พบว่าโครงการมีผลตอบแทนการลงทุน (FIRR) ติดลบ และไม่จูงใจในการเปิดประมูลหาเอกชนลงทุนแน่นอน หรือแม้แต่ให้เอกชนลงทุน ค่าระบบและตัวรถ FIRR ยังติดลบอยู่ ทั้งนี้ เอกชนได้นำเสนอความเห็นว่าโครงการนี้ควรใช้รูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐลงทุนและจ้างเอกชนเดินรถ หรือเปิดประมูลโดยให้คัดเลือกเอกชนรายที่ขอรัฐอุดหนุนน้อยที่สุด อาจจะทำให้จูงใจเอกชนมากขึ้น


รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าแทรมเชียงใหม่
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563

รฟม. เดินหน้ารถไฟฟ้าแทรมป์ เชียงใหม่ เตรียมหาข้อสรุปเอกชน-หน่วยงานเกี่ยวข้อง คาดเสนอบอร์ดคมนาคม- PPP กลางปีนี้ พร้อมเร่งประมูล 2โครงการ นครราชสีมา-ภูเก็ต กลางปี 2565

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดงานประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วันที่ 12 กุมภาพันธ์ นั้น
นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกุล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ฝ่ายกลยุทธ์และแผน(รฟม.) เปิดเผยถึง โครงการระบบขนส่งมวลชน (LRT/Tram) จังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 16 กิโลเมตร 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีระดับใต้ดิน 7 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมความคิดเห็นจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เพื่อจัดเตรียมเอกสารโครงการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในงานด้านต่างๆ เช่น งานระบบโยธา ระบบไฟฟ้า การเดินรถ งานบำรุงรักษา


ทั้งนี้ภาคเอกชนให้ความสนใจจำนวนมาก ทั้งจากส่วนกลาง ท้องถิ่น และซับพลายเออร์ โดยผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า โครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIR) ประมาณ 13% รวมถึงรัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เอกชนบางส่วนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) มีความคุ้มค่า สูงกว่า 12% หลังจากนั้นจะขออนุมัติดำเนินโครงการดังกล่าวและรูปแบบการลงทุนและนำเสนอกระทรวงคมนาคมและบอร์ด PPP ช่วงกลางปี 2563 นี้ คาดว่าสามารถขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ราวกลางปี 2564 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2565 หลังจากนั้นจะสามารถดำเนินการเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570 คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการราว 16,000 คนต่อเที่ยว

“ เราจะใช้โมเดลเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง โดยให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งก่อสร้างและจัดหาระบบเดินรถ ซึ่งเป็นการรับสัมปทาน 30 ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 27,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 4,400 ล้านบาท โดยเป็นบริเวณสถานีสี่แยกหนองฮ่อ (ทางหลวงหมายเลข 1366) และทางขึ้น-ลงสถานี โดยส่วนใหญ่เป็นใต้ดิน จำนวน 25 ไร่ และค่าโยธา 15,000 ล้านบาท และค่างานระบบ 5,000 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราค่าโดยสาร ประมาณ 15-30 บาทต่อกิโลเมตร ” สำหรับแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชน (LRT/Tram) จังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ประกอบด้วย สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สี่แยกหนองฮ่อ โพธาราม ข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มณีนพรัตน์ ขนส่งช้างเผือก ประตูสวนดอก แยกหายยา แยกท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ บ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหยีะสมานสามัคคี นอกจากนี้ รฟม. ดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวจังหวัดนครราชสีมา (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงินลงทุน ราว 8,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะล่าช้ากว่าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ราว 3 เดือน คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) พิจารณา ในช่วงปลายปี 2563 หลังจากนั้นนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) พิจารณา ราวปลายปี 2564 และเปิดประมูลโครงการดังกล่าวได้ช่วงกลางปี 2565 ในขณะเดียวกันโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง) ระยะทาง 42 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอข้อมูลเข้าคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) พิจารณาภายในวันนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า) ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร วงเงิน 1,566 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) เตรียมเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ให้ครม.เห็นชอบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้

รฟม.ดัน”รถไฟฟ้าเชียงใหม่”เข้าบอร์ดมิ.ย.นี้ เอกชนไทย-จีนสนใจคึกคัก”เจ้าสัวเจริญ-เซ็นทรัล”ไม่ตกขบวน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 - 16:05 น.

รฟม.เปิด Market Sounding แทรมเชียงใหม่ วางไทม์ไลน์เสนอบอร์ด รฟม. มิ.ย.นี้ ก่อนชงบอร์ด PPP ปลายปี คาดใช้เวลาคัดเลือกเอกชน 1 ปี ประเมินผู้โดยสารปีแรก 1.6 หมื่นคน ด้านเอกชนบ่นอุบรูปแบบลงทุนไม่คุ้น ไม่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์-TOD พบเจ้าสัวเจริญ-เซ็นทรัล แจมด้วย

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการด้านกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 27,211 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทำรายงานผบการศึกษาโครงการ ซึ่งวันที่ 12 ก.พ.2563 ได้จัดประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ขึ้นเพื่อหวังที่จะได้รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะที่จะมานำมาปรับใช้กับการศึกษาของโครงการ

รฟม.ดัน”รถไฟฟ้าเชียงใหม่”เข้าบอร์ดมิ.ย.นี้ เอกชนไทย-จีนสนใจคึกคัก”เจ้าสัวเจริญ-เซ็นทรัล”ไม่ตกขบวน


@เวนคืน 4.4 พันล้าน
เบื้องต้นวางรูปแบบลงทุนโครงการในลักษณะเอกชนร่วมลงทุนงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า (PPP Net Cross) ระยะเวลาสัญญา 30 ปี ไม่รวมระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 5 ปี เมื่อทำเสร็จแล้วจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี และจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2565 เปิดให้บริการประมาณปี 2570

โครงการมีการตั้งงบรองรับการเวนคืนไว้ 4,400 ล้านบาท จุดใหญ่อยู่ที่แยกหนองฮ่อ ซึ่งจะต้องเวนคืน 25 ไร่ เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์ซ่อม ที่เหลือจะเป็นส่วนของทางขึ้นลงสถานี กระจายไปตามแนวเส้นทางต่างๆ ส่วนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ อยู่ระหว่างจัดทำเป็นคู่ขนาน เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ตามขั้นตอน

@ผู้โดยสารปีแรก 1.6 หมื่นคน
ด้าน นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า วงเงิน 27,211 ล้านบาท แบ่งเป็นค่างานโยธาและเวนคืน 20,046 ล้านบาท, งานวางระบบรถไฟฟ้า (M&E) 3,334 ล้านบาท, งานระบบล้อเลื่อน 2,168 ล้านบาท, สำรองเงินฉุกเฉิน 966 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา 698 ล้านบาท

สำหรับรูปแบบโครงการที่ศึกษาไว้ขณะนี้ จะเป็นรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) ขนาดความกว้างของราง 2.4 เมตร ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้ล้อยางหรือล้อเหล็กก็ได้ ทางวิ่งเป็นแบบวิ่งระดับดิน 9 กม. และใต้ดินประมาณ 6 กม.

โดยคาดการณ์ผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดให้บริการที่ 16,487 คน/วัน และเมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2590 คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะอยู่ที่ 42,321 คน/วัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ที่ 13% ส่วนผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ยังอยู่ระหว่างสรุป แต่เบื้องต้นคาดว่าน่าจะติดลบ

รฟม.ดัน”รถไฟฟ้าเชียงใหม่”เข้าบอร์ดมิ.ย.นี้ เอกชนไทย-จีนสนใจคึกคัก”เจ้าสัวเจริญ-เซ็นทรัล”ไม่ตกขบวน

@ชงบอร์ด รฟม.เคาะผลศึกษา มิ.ย.
“หลังจากนี้จะนำเสนอผลการศึกษาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ภายในเดือน มิ.ย.นี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จะเสนอให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาไม่เกินปลายปีนี้ และเสนอต่อ ครม.เห็นชอบ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการตามาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เพื่อดำเนินการคัดเลือกเอกชน คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปีต่อจากนี้ จึงจะได้ตัวเอกชนที่จะร่วมลงทุน” นายกีรติกล่าว

@เอกชนไม่ขานรับ PPP Net Cost
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสอบถาม เอกชนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในทางกังวลเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน โดยตัวแทนจาก บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง แสดงความคิดเห็นว่า เห็นตัวเลขต่างๆ แล้ว โครงการนี้น่าจะเหนื่อย เพราะคาดการณ์ผู้โดยสารปีแรกไม่ถึง 20,000 คน/วัน ไม่คุ้มที่ลงทุนแบบ PPP Net Cost แน่นอน

เพราะเอกชนรับภาระทั้งงานระบบและงานโยธาสูงมาก ควรจะเสนอเป็น PPP Gross Cost คือให้รัฐช่วยสนับสนุนทั้งค่าเวนคืนและค่าก่อสร้างงานโยธามากหน่อย เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ รัฐต้องชัดเจนว่าสถานีที่ออกแบบไว้ จะเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด เพื่อให้เอกชนคาดการณ์ได้ถูกว่า จะกำหนดพื้นที่เชิงพาณิชย์อย่างไร

สอดคล้องกับตัวแทนจาก บมจ.คริสเตียนนีและนีลเส็น ที่มองว่ารูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost ไม่ตอบโจทย์เอกชนเท่าไหร่ เพราะแม้รัฐจะอุดหนุนค่าก่อสร้างบางส่วน แต่รัฐมักจะให้เอกชนก่อสร้างเสร็จก่อน รัฐจึงจ่ายค่าอุดหนุนโครงการ ซึ่งหากอ้างอิงตามผล FIRR ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก

เคาะแล้ว ค่ารถไฟฟ้าแทรมเชียงใหม่ เริ่ม 15 บาท คาดเปิดให้บริการปี’70
เศรษฐกิจ
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:47 น.

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง (รถไฟฟ้าแทรมสายสีแดง) เส้นทางโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ว่า คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) เสนอให้กระทรวงคมนาคม จากนั้นเสนอเข้าบอร์ดพีพีพี และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติในช่วงกลางปี 2564 ตั้งเป้าที่จะเปิดประมูลปลายปี 2564 และเริ่มงานก่อสร้างกลางปี 2565 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2570

สำหรับรถไฟฟ้าแทรมสายสีแดง โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มีวงเงินลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น
1. งบเวนคืนที่ดินวงเงิน 4.4 พันล้านบาท ซึ่งนำมาใช้ในการเวนคืนที่ดินบริเวณแยกหนองฮ่อ จำนวน 25 ไร่ และพื้นที่ทำทางขึ้นและลงสถานีใต้ดิน
2. งานติดตั้งระบบรถไฟฟ้า 5 พันล้าน
3. งบงานโยธา 1.5 หมื่นล้านบาท และ
4. และอื่นๆ 2.6 พันล้านเช่น ค่าจ้างที่ปรึกษา




“โครงการนี้มีผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐกิจประมาณ 13% โดย รฟม. จะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนงานโยธา และงานระบบรถไฟฟ้า ให้สัมปทานรวม 30 ปี ซึ่งขณะนี้มีเอกชนทั้งในเชียงใหม่ และส่วนกลางสนใจเข้าร่วม โดยเฉพาะเอกชนที่ผลิตรถไฟฟ้า ซึ่งแทรมเส้นนี้จะมีระยะทางรวม 16 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี เก็บค่าโดยสารระระหว่าง 15-30 บาท คาดว่าปีแรกจะมีจำนวนผู้โดยสารวันละ 1.6 หมื่นคน”

สำหรับสถานีทั้ง 16 แห่ประกอบด้วย ทางวิ่งระดับดิน 9 สถานี ประมาณ 9 ก.ม. ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์, ศูนย์ราชการ จ.เชียงใหม่, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ, แยกหนองฮ่อ, โพธาราม, ท่าอากาศยานเชียงใหม่, บ้านใหม่สามัคคี และแม่เหียะสมานสามัคคี ส่วนระดับใต้ดิน 7 สถานี ระยะทาง ประมาณ 7 ก.ม. ได้แก่ สถานีข่วงสิงห์, มหาวิทยาลัยราภัฎเชียงใหม่, ขนส่งช้างเผือก, มณีนพรัตน์, ประตูสวนดอก, แยกหายยา และแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

นายธีรพันธ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างแทรมโคราช สายสีเขียว ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงินลงทุน 8 พันล้านบาท ระยะทางรวม 11.17 ก.ม. ว่า อยู่ระหว่างจัดทำการศึกษารูปแบบการลงทุนคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาเสนอให้บอร์ดรฟม. พิจารณาอนุมัติปลายปีนี้ และเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติปลายปี 2564 และเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนในปี 2565 ส่วนแทรมพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงม.พิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า วงเงิน 1.56 พันล้านบาท ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร นั้น ในเดือน นี้ รฟม. จะนำเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ... เพื่อให้อำนาจ รฟม.ในการเข้าไปดำเนินโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10, 11, 12  Next
Page 9 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©