Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263451
ทั้งหมด:13574734
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 206, 207, 208 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2020 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

ว้าววๆๆของขวัญปี'หนูเริงร่า' ว่าด้วย..โหมดเดินทาง
บทความ
หน้า กทม.-จราจรมุมคนเมือง
อังคารที่ 7 มกราคม 2563 เวลา 08.00 น.

เสร็จเสียทีรถไฟฟ้าสายสีทอง...เส้นสีเขียววิ่งยาวลำลูกกา

รถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร(กม.) การก่อสร้างคืบหน้าแล้วเกือบ 60% ขบวนรถไฟฟ้าจะทยอยเดินทางถึงประเทศไทยเดือน มี.ค. จากนั้นเดือน ส.ค.จะเริ่มทดสอบเดินรถ พร้อมเปิดบริการในเดือนต.ค.เบื้องต้นจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร และสถ านีคลองสาน

รถไฟฟ้าสีอร่ามนี้กรุงเทพมหานคร(กทม.) มอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที เป็นผู้บริหารมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้เดินรถ แนว เส้นทางเริ่มจากถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวเข้าถนนเจริญนคร ผ่านห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม จากนั้นเลี้ยวเลี้ยวเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา สิ้นสุดที่โรงพยาบาล(รพ.) ตากสิน รถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะมาช่วยเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสีในกรุงเทพฯ ผลิตโดยบอมบาร์ดิเอร์ รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 เป็นรถไฟฟ้าชนิดล้อยางขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(ไร้คนขับ) หรือ Automated Guideway Transit (AGT) ต่างกับรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่เป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก

เมื่อเปิดบริการเชื่อแน่ว่า ผู้ใช้รถใช้ถนน คงยกมือสาธุ!! ท่วมหัว เพราะสุดแสนจะเอือมระอากับปัญหารถติดย่านนี้เต็มทน...

อีกเรื่องดี๊ดี....ภายในปี 2563 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะเปิดบริการครบตลอดทั้งเส้น 16 สถานี รวม 19 กม. ขยายโครงข่ายจากปลายปีที่ผ่านมาเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรี 5 สถานี ถึงม.เกษตรฯ จะทำให้ผู้โดยสารเดินทางสายสีเขียว จากกรุงเทพฯ เชื่อมปากน้ำ จ.สมุทรปราการ และ คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ....ใช้รถไฟฟ้าฟินๆทะลุ3จังหวัดได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว..


มาแล้วจ้า!!APMรถไฟฟ้าไร้คนขับ..แห่งแรก@สนามบินสุวรรณภูมิ

ปีชวดแต่เราจะไม่ชวด!! เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.) จะมีอาคารหลังใหม่ ที่เรียกว่า “อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่1” หรืออาคารแซทเทิลไลท์1 (SAT1) ให้บริการผู้โดยสารเพิ่มเติมจากอาคารผู้โดยสาร(เทอร์มินอล) หลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาคารหลังนี้มี 28 หลุมจอด รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ A380 ได้พร้อมกัน 8 ลำ และอื่นๆ อีก 20 ลำ ในเวลาเดียวกัน จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของ ทสภ. จากปัจจุบัน 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคนต่อปี และรองรับเที่ยวบินได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 60-63 เที่ยวบินต่อชั่วโมง(ชม.) เป็น 68 เที่ยวบินต่อชม.

ความพิเศษของอาคาร SAT1 อยู่ที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ วิ่งใต้ดินให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างเทอร์มินอลปัจจุบัน และ SAT1 ฟรี มีระยะทางประมาณ 1 กม. ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีต่อเที่ยว ใช้ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. รองรับโดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 6,000 คนต่อชั่วโมง อดใจรอ!! พ.ย.2563 ได้ใช้บริการแน่ๆ .......@สนามบินสุวรรณภูมิแห่งแรกของประเทศไทยแจ่มว้าวว!! สุดๆและจะเป็นครั้งแรกที่เราจะได้นั่งรถไฟฟ้าภายในสนามบินไปขึ้นเครื่องชิคๆกันเนอะๆๆ

สุขใจทุกการเดินทาง...ผลงานเมกะโปรเจคท์คมนาคมที่เริ่มชัดเป็นรูปธรรม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2020 11:38 am    Post subject: Reply with quote

ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยเป็นความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
8 มกราคม 2563

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 100
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work)เสร็จสมบูรณ์ 100% ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 97.43
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงเเคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 50.10 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 45.15
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 49.89 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 44.87
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 53.31
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2020 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมตัว!! มิ.ย.นี้ มีลุ้นได้ใช้ตั๋วร่วม
*14.6 ล.ใบแตะครั้งเดียวได้ทุกระบบ
*นั่งฟิน“บีทีเอส-MRT-แอร์พอร์ตลิงก์”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2492255384329298


“คมนาคม” เดดไลน์ 4 เดือนบีบ “BEM-BTS-แอร์พอร์ตลิ้งค์” เข้าตั๋วร่วม สั่ง “รถไฟ” ดึงสายสีแดงแจม
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 มกราคม 2563 - 17:18 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมวันนี้ (10 ม.ค.) ได้ข้อสรุปแนวทางการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมในการใช้ข้อมูลการใช้งานร่วมกันของระบบตั๋วร่วม ในระยะเร่งด่วน โดยการพัฒนาให้บัตรแมงมุม, บัตร MRT Plus ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบัตร Rabbit ของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) สามารถใช้งานร่วมกันได้

ในทางเทคนิคจะต้องพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่ระดับที่ 1 เครื่องอ่านบัตรของแต่ละประตูทางเข้าสถานี ระดับที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละสถานี ระดับที่ 3 Clearing House ของแต่ละหน่วยงาน และระดับที่ 4 ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง เพื่อให้สามารถรองรับบัตรได้ทั้ง 3 รูปแบบ พร้อมนี้ รฟม. จะพัฒนาระบบตั๋วร่วมแบบที่ผูกกับบัญชีในลักษณะของ Account Based Ticketing หรือ ABT เพื่อรองรับบัตรประเภทอื่น ๆ เช่น บัตร EMV หรือ QR Code ไปด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้


1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง, BTS ผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบให้สามารถใช้บัตรร่วมกันได้ภายใน 4 เดือน (ก.พ. – พ.ค. 63)

2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณในการลงทุนพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกัน

3. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พัฒนาระบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เข้ากับระบบตั๋วร่วม และขอให้รายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป

4. ให้ รฟม. เร่งรัดพิจารณาดำเนินการระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และนำเสนอแนวทางดำเนินงานต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป

ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วในการเดินทาง และขอให้รายงานความคืบหน้า ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงาน ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งต่อไป

ฝันใกล้เป็นจริง! ลุ้นใช้ตั๋วร่วมบัตรเดียวแตะได้ทุกระบบ ‘บัตรแรบบิท-MRT Plus-แมงมุม-แอร์พอร์ เรล ลิงก์’ มิ.ย.63นี้
วันที่ 10 มกราคม 2563
...นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ตามที่ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์นั้น ในที่ประชุมวันนี้ ได้เร่งรัดให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ประกอบด้วย 1.การออกแบบและพัฒนาระบบ 2.การตกลงทางธุรกิจ เพื่อป้องกันข้อมูลของแต่ละฝ่าย

3.การหาเงินลงทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วงเงินรวม 385 ล้านบาท ตามสัดส่วนของแต่ละหน่วยงานที่กำหนดไว้ เพื่อให้ระบบหัวอ่าน (Reader) สามารถอ่านข้อมูลของแต่ละบัตรได้ ที่ในปัจจุบันมีผู้ถือบัตรรถไฟฟ้า จากผู้ให้บริการ 4 ราย จำนวน 14.5 ล้านใบ ได้แก่ บัตรแรบบิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ที่มีผู้ถือบัตรประมาณ 12.2 ล้านใบ, บัตร MRT Plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง) จำนวน 2 ล้านใบ, บัตรแมงมุม จำนวน 2 แสนใบ และบัตรรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กว่า 4 แสนใบ 4.การทำข้อบันทึกตกลงร่วมกัน และลงนามเพื่อเริ่มดำเนินการ 5.เข้าสู่กระบวนการทดสอบระบบ ทั้งนี้ ได้ให้กรอบระยะเวลาให้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมดภายใน พ.ค. 2563 หากไม่ติดปัญหาใดๆ นั้น ผู้โดยสารจะสามารถใช้ได้ในช่วง มิ.ย.นี้ ในส่วนของการจัดแบ่งรายได้ (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) นั้น รฟม. จะเป็นผู้ดำเนินการ

“คณะกรรมการได้เร่งรัดให้ระบบตั๋วร่วมแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 6 เดือน ซึ่งช้าไป เพราะที่ผ่านมามีการประชุม ประสานงาน และมีพื้นฐานกันอยู่แล้ว หลังจากนี้ คณะกรรมการจะนัดประชุมทุกเดือน เพื่อรายงานความคืบหน้า ว่าติดปัญหาส่วนไหนไหม ถ้าไม่ติดอะไร ก็เดินหน้าตามกระบวนการ โดยมอบหมายให้ สนข. และ รฟม. คอยประสานงาน เพื่อแก้ปัญหาที่ติดขัดทันที จากนั้นจะมีการทดสอบระบบ ป้องกันไม่ให้ผิดพลาด ก่อนที่ผู้โดยสารจะใช้ได้ ทั้งนี้ ผมเตรียมรายงานให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับทราบความคืบหน้าด้วย” นายชัยวัฒน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2020 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คมนาคม” เดดไลน์ 4 เดือนบีบ “BEM-BTS-แอร์พอร์ตลิ้งค์” เข้าตั๋วร่วม สั่ง “รถไฟ” ดึงสายสีแดงแจม
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 มกราคม 2563 - 17:18 น.


ตั้งเป้า มิ.ย. 63 “BTS-MRT” เปิดระบบตั๋วร่วม รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามค่าย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 มกราคม 2563 - 18:33
ปรับปรุง: วันที่ 11 มกราคม 2563 - 12:11




“คมนาคม” ขีดเส้นบัตรรถไฟฟ้า BTS และ MRT ใช้ข้ามระบบได้ ภายใน มิ.ย. 63 เริ่มตั๋วร่วมรถไฟฟ้าระยะเร่งด่วน เร่งเจ้าของระบบ ปรับปรุงหัวอ่าน Open ระบบ คาดลงทุนกว่า 300 ล้าน ด้าน “ชัยวัฒน์” เร่ง รฟม.อัปเกรด “แมงมุม 4.0” หรือ EMV เป็นเฟสต่อไป

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 28-1/2563 ว่า จากที่คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ระยะเร่งด่วน โดยให้สามารถใช้งานผ่านบัตรรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้ข้ามระบบได้ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสะดวกมากขึ้น

โดยในทางเทคนิคจะต้องพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่ระดับที่ 1 เครื่องอ่านบัตรของแต่ละประตูทางเข้าสถานี ระดับที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละสถานี ระดับที่ 3 Clearing House ของแต่ละหน่วยงาน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รฟม. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.), กรุงเทพมหานคร (กทม.) ,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ปรับปรุงพัฒนาระบบให้สามารถใช้บัตรร่วมกันได้ภายใน 4 เดือน (ก.พ.-พ.ค. 63)และให้เริ่มใช้งานบัตรข้ามระบบได้ในเดือน มิ.ย. 2563 โดยให้หน่วยงานเจ้าของระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการลงทุนพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกัน

ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้พัฒนาระบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เข้ากับระบบตั๋วร่วม และขอให้รายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป และระดับที่ 4 ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง เพื่อให้สามารถรองรับบัตรได้ทั้ง 3 รูปแบบ

สำหรับการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) เป็น EMV (Euro/ Master/ Visa Card) นั้น มอบหมายให้ รฟม.เร่งรัดพิจารณาดำเนินการระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และนำเสนอแนวทางดำเนินงานต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป

อย่างไรก็ตาม จะมีการติดตามความคืบหน้าทุกๆ 1 เดือน ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วในการเดินทาง และขอให้รายงานความคืบหน้า ปัญหา อุปสรรค

รายงานข่าวแจ้งว่า ประเมินว่าการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์หัวอ่านและระบบของรถไฟฟ้า 4 สาย ให้สามารถรับบัตรข้ามระบบได้ จะใช้เงินลงทุนรวมกว่า 300 ล้านบาท ทั้งนี้ มีข้อกังวลเนื่องจากจะมีเวลาในการทำงานปรับปรุงระบบที่จำกัด เนื่องจากสามารถทำได้ในช่วงหลังปิดให้บริการแล้ว คือหลังเที่ยงคืน-ตี 5 เท่านั้น

โดยปัจจุบันบัตรรถไฟฟ้าในปัจจุบันมี 4 รูปแบบ คือ บัตรแรบบิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส) มีผู้ถือบัตรประมาณ 12 ล้านใบ บัตร MRT plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง) มีผู้ถือบัตรจำนวน 2 ล้านใบ และบัตรแมงมุมมีจำนวน 2 แสนใบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2020 11:55 am    Post subject: Reply with quote

'เอกชน'ชงรัฐหนุน ชิงโอกาส'อุตฯระบบราง' (ระบบราง) - (มีภาพ) คลิกดูคลิป >>
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563
วัชร ปุษยะนาวิน

Click on the image for full size


ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการลงทุนในระบบราง โดยมีโครงการที่เตรียมจะก่อสร้าง เช่น โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ซึ่งทำให้มีความต้องการขบวนรถไฟเพิ่มขึ้นมาก

ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมระบบรางภายในประเทศ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน การผลิตรถไฟ ทั้งขบวน รวมไปถึงระบบต่างๆ แต่ทั้งนี้ การที่จะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นจะต้อง เพิ่มมาตรการส่งเสริมผู้ผลิตชาวไทยอีก หลายด้าน เพื่อลดการนำเข้า การสร้างเทคโนโลยีให้เกิดภายในประเทศ

วีระชัย ตรีพรเจริญ ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบราง สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เปิดเผยว่า นโยบายการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมระบบราง ในประเทศเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐบาลควรช่วยเหลือ สนับสนุนในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการจัดทำ มาตรฐานชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมระบบราง เพราะโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่มีผู้ได้รับสัมปทานหลากราย มีการใช้รถไฟจากหลายค่าย เช่น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ซึ่งหากไทยไม่มีมาตรฐานกลาง ของประเทศจะผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ป้อนให้บริษัทเหล่านี้ได้ยาก

ปัจจุบันผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟและรถไฟฟ้าของไทย ผลิตสินค้าตามแบบและ มาตรฐานที่บริษัทต่างชาติมาจ้างผลิต ทำให้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ และแบรนด์ตัวเองได้ เพราะผู้ว่าจ้างเปลี่ยนไป จ้างโรงงานอื่น หรือโรงงานในประเทศอื่น ผลิตได้ตลอด หากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ถ้าไทย มีมาตรฐานชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมระบบราง ของตัวเอง ก็จะทำให้ผู้ได้รับสัมปทานก็จะต้อง ใช้มาตรฐานที่ไทยกำหนด ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน ของไทยมีมาตรฐานรองรับ และบริษัทต่างชาติ ก็มีความมั่นใจในสินค้าชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ

สำหรับชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมระบบรางมีเป็นจำนวนมาก หากให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมดก็จะต้องใช้เวลานานมาก ดังนั้นจึงควรดูแนวทางของจีนที่นำมาตรฐานประเทศผู้ผลิตรถไฟฟ้าและรถไฟชั้นนำมาปรับให้เหมาะสมกับไทย เช่น ปรับสภาพภูมิอากาศที่ไทยมีความแตกต่างจากประเทศที่มีอากาศหนาว

รวมทั้งปรับให้เหมาะกับคุณสมบัติของผู้ผลิตไทย เพื่อให้ผู้ผลิตของไทยได้ประโยชน์มากขึ้น จากนั้นประกาศใช้เป็นมาตรฐานของไทย ซึ่งทำให้บริษัทผู้ผลิต ต่างชาติปรับไปใช้ได้ง่าย เพราะมาตรฐาน เหล่านี้คล้ายกันทั่วทั้งโลก รวมทั้ง สมอ.ก็ออก มาตรฐานชิ้นส่วนได้รวดเร็ว

นอกจากนี้ รัฐบาลควรลงทุนทำ ห้องทดสอบและสนามทดสอบอุตสาหกรรมระบบราง เพราะชิ้นส่วนต่างๆ ต้องได้รับรองคุณภาพมาตรฐานจากห้องทดสอบที่สากลยอมรับ ซึ่งในไทยมีเพียงห้องทดสอบเฉพาะวัสดุ แต่ยังไม่มีห้องทดสอบชิ้นส่วน รถไฟขนาดใหญ่ หรือทดสอบทั้งโบกี้ ทำให้ต้องส่งชิ้นส่วนไปทดสอบในต่างประเทศ ที่มีราคาสูงมาก

ส่วนการกำหนดทีโอาร์โครงการ ระบบราง รัฐบาลควรลงรายละเอียดการใช้ชิ้นส่วนวัสดุภายในประเทศให้ละเอียดขึ้น เพราะปัจจุบันกำหนดกรอบกว้างว่าแต่ละโครงการต้องใช้วัสดุและแรงงานในประเทศสัดส่วนเท่าใด ซึ่งทำให้มีเพียงงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร หมอนคอนกรีตรางรถไฟและการจ้างแรงงานชาวไทยที่ได้รับ ประโยชน์ ซึ่งงานส่วนนี้ผู้ประกอบการไทย ดำเนินการได้นานแล้ว

รวมทั้งทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ไม่ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะงานโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้และการจ้างแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 20% ของมูลค่าโครงการแล้ว ตรงตามที่ ทีโออาร์กำหนด โดยภาครัฐควรกำหนดชัดเจนว่า ต้องใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดที่ผลิต ในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย มีส่วนร่วมมากขึ้น และการกำหนดราคา ต้องไม่เน้นสินค้าที่ราคาถูกที่สุด เพราะจะมี แต่สินค้าจีนที่ราคาถูกมาก

"การจัดทำมาตรฐานและห้องทดสอบ จะต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี เพราะหากนานกว่านั้นโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่จะผ่านการลงนามสัญญา และกำหนดทีโออาร์ไปหมดแล้ว ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด ในปัจจุบันก็มีผู้ผลิตหลายรายสนใจที่จะผลิตโบกี้ทั้งคัน เช่น ช.ทวี อิตาเลียนไทย บีทีเอส ซึ่งไทยมีศักยภาพที่จะผลิตเองได้ แต่หากไม่มีการกำหนดมาตรฐาน หรือ ศูนย์ทดสอบก็ทำได้ยาก"

นอกจากนี้ รัฐบาลควรกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าหรือต่างชาติที่มาตั้งโรงงานผลิตในไทย ให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกับคนไทย ซึ่งที่ผ่านมามาเลเซียที่ซื้อรถไฟฟ้าจากต่างประเทศก็มีมาตรการเหล่านี้ ทำให้เกิด วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ระบบรางจำนวนมาก โดยโครงการลงทุนรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่มีความต้องการขบวนรถไฟและโบกี้อีกมาก ซึ่งมากพอที่จะชักจูงให้เกิดการลงทุนในไทย กำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงเหล่านี้ได้

ขณะนี้ไทยควรเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางเพราะภายใน 20 ปีนี้ ไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มีโครงการรถไฟฟ้ามาก หากไม่เร่งทำก็จะถูกประเทศผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่จากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย แย่งส่วนแบ่งนี้ไปหมด โดยปัจจุบัน ผู้ผลิตชาวไทยสามารถผลิตได้หลายอย่าง เช่น ระบบประตูปิดเปิดในชานชาลาสถานี การผลิตตัวรถของรถไฟไม่รวมเครื่องยนต์ การตกแต่งต่างๆ การผลิตโบกี้ ระบบไฟฟ้าภายในสถานี

ในช่วงแรกควรกำหนดให้โครงการระบบรางใช้วัสดุอุปกรณ์ชิ้นส่วน ในประเทศ 10% จะสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้มาก เพราะโครงการลงทุนระบบรางในปี 2563 ก็มีมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาท หากใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในประเทศ 10% ก็มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทแล้ว ซึ่งในอนาคต เมื่อผู้ผลิตไทยมีความพร้อมมากขึ้นก็ทยอยเพิ่มสัดส่วนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2020 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์2020 “ศักดิ์สยาม” จัดคิวประมูลรถไฟฟ้าสี”ส้ม-ม่วงใต้-แดง-ทางด่วน”3แสนล้าน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 18 มกราคม 2563 - 09:57 น.

เมกะโปรเจ็กต์2020 “ศักดิ์สยาม” จัดคิวประมูลรถไฟฟ้าสี”ส้ม-ม่วงใต้-แดง-ทางด่วน”3แสนล้าน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กำชับต้องเร่งผลักดันการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ได้แนะนำให้นำเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ซึ่งกระทรวงมีนโยบายอยู่แล้ว แต่ได้รายงานถึงเรื่องที่ติดล็อกประเด็นต่างๆ เช่น การเวนคืนโครงการต่างๆ ที่ทำให้โครงการล่าช้า ก็ได้ปลดล็อกไปหมดแล้ว หน่วยงานที่เป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ คือการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังพยายามปลดล็อกปัญหาอยู่

ทั้งนี้ มีบางโครงการที่ดูเหมือนวงเงินน้อยลง แต่ข้อเท็จจริงมาจากการแก้ปัญหาบางอย่างได้ จึงทำให้วงเงินดังกล่าวลดลง เช่น ประมูลทางด่วนพระราม 3 – ดาวคะนอง -วงแหวนตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

“รองนายกสมคิดยังแนะนำอีกว่า ต้องการเห็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระจายโครงการลงทุนไปตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งก็รายงานไปว่ามีอยู่แล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้า จ.ภูเก็ต รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ และอยากให้ กทพ.ออกไปลงทุนต่างประเทศ เช่น เมียนมาร์ ลาว จึงได้เรียนไปว่า คงต้องดูแหล่งเงินทุนที่ต้องใช้ก่อน เพราะศักยภาพองค์กรเหล่านี้ก็พอมีอยู่แล้ว”


เมกะโปรเจ็กต์2020 “ศักดิ์สยาม” จัดคิวประมูลรถไฟฟ้าสี”ส้ม-ม่วงใต้-แดง-ทางด่วน”3แสนล้าน

ส่วนการกำหนดคิวเสนอโครงการต่างๆ นายสมคิดได้บอกให้เร่งรัดเช่นกัน ทางกระทรวงได้แจ้งว่า มีโครงการที่จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้แน่นอน ยกตัวอย่าง

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ ระยะทาง 27 กม. วงเงินรวมงานระบบ 122,041 ล้านบาท ก็ได้รายงานไปว่า อยู่ระหว่างการจัดวาระเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ครม.แล้ว

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,595 ล้านบาท ได้เคลียร์ปัญหาการขอเข้าใช้พื้นที่บริเวณ ถ.สามเสน เพื่อดำเนินการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว

3. รถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง คือ
3.1 สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท,
3.2 สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม.,
3.3 สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท จะดำเนินการเปิดประมูลภายในปีนี้

และโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงิน 15,200 ล้านบาท

“การใช้เงินจากกองทุน TFFIF มาสร้างทางด่วน ที่กำลังมีปัญหาเรื่องของภาระดอกเบี้ย ก็ได้ให้นโยบายกับทาง กทพ.ไปว่า ขอให้ดูให้เหมาะสมให้พอดี ขนาดโครงการที่จะลงทุนไม่ควรใหญ่เกินไป อย่าผูกสัญญาเดียว ควรจะเอาโมเดลการแบ่งสัญญาออกเป็นหลายๆ ตอน อย่างมอเตอร์เวย์บางปะอิน- นครราชสีมา และมอเตอร์เวย์บางใหญ่ – กาญจนบุรี ถ้าทำให้เสร็จได้ภายใน 1 ปีถึง 1 ปีครึ่งก็ยิ่งดี ต้นทุนไม่สูง”

ขณะที่เงินในกองทุนที่มีกว่า 40,000 ล้านบาท ที่ยังเบิกจ่ายช้า จะเกลี่ยไปใช้โครงการอื่นหรือไม่นั้น ต้องดูในรายละเอียด เพราะทุกอย่างก็ต้องไปที่กระทรวงการคลังอยู่ดี โดยได้ถามนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว นายอุตตมก็บอกว่า ไม่มีปัญหาทำมาเถอะ โครงการที่จะเข้าข่ายต้องเป็นโครงการที่จะสามารถใช้เงินจากกองทุนได้นั้นต้องเป็นโครงการที่สร้างผลตอบแทนทางการลงทุน เช่น มอเตอร์เวย์ศรีนครินทร์ – สุวรรณภูมิ และมอเตอร์เวย์นครปฐม – ชะอำ ของกรมทางหลวง (ทล.) เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2020 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เมกะโปรเจ็กต์2020 “ศักดิ์สยาม” จัดคิวประมูลรถไฟฟ้าสี”ส้ม-ม่วงใต้-แดง-ทางด่วน”3แสนล้าน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 18 มกราคม 2563 - 09:57 น.

ส่วนการกำหนดคิวเสนอโครงการต่างๆ นายสมคิดได้บอกให้เร่งรัดเช่นกัน ทางกระทรวงได้แจ้งว่า มีโครงการที่จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้แน่นอน ยกตัวอย่าง

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ ระยะทาง 27 กม. วงเงินรวมงานระบบ 122,041 ล้านบาท ก็ได้รายงานไปว่า อยู่ระหว่างการจัดวาระเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ครม.แล้ว

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,595 ล้านบาท ได้เคลียร์ปัญหาการขอเข้าใช้พื้นที่บริเวณ ถ.สามเสน เพื่อดำเนินการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว

3. รถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง คือ
3.1 สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท,
3.2 สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม.,
3.3 สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท จะดำเนินการเปิดประมูลภายในปีนี้

และโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงิน 15,200 ล้านบาท


“ศักดิ์สยาม”หอบคำของบ’64ชงครม.นราฯ1.7แสนล้าน
*เมกะโปรเจ็คต์เกินพันล้านบิ๊กลอต46โครงการ
*เร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายหลากสีปีนี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2501637900057713



รถไฟฟ้า เปิดใช้เพิ่ม4เส้นทาง111กม.ปี64
ออนไลน์เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,541
วันที่ 19 - 22 มกราคม พ.ศ. 2563

ทั้งสองเส้นทาก่อสร้างไปกว่า 50% ช่วยแก้ปัญหาจราจรบนถนนลาดพร้าว ถนนรัชดา บริเวณเมืองทอง ได้เป็นอย่างดีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการเดินรถ ส่วนต่อขยายสายหลักไปแล้วหลายเส้นทาง ทั้งสีนํ้าเงิน MRT ส่วนต่อขยาย เตาปูน-ท่าพระ และหัวลำโพง-หลักสอง เชื่อมพื้นที่ฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครให้เป็นเนื้อเดียว เมื่อช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับเส้นทางสายสีเขียวส่วนต่อขยาย บีทีเอส ขยับไกลถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประมาณเดือนมิถุนายนนี้ คาดว่าการเดินทางจากทางตอนใต้ของกรุงเทพ มหานคร จะลื่นไหลไปถึงวงเวียนหลักสี่ ตามด้วย สถานีปลายทาง คูคต ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2563 ได้อย่างไม่มีสะดุด รองรับปริมาณผู้โดยสาร ทั้งระบบ กว่า 1 ล้านคนต่อวัน เช่นเดียวกับ แอร์พอร์ตลิงค์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เชื่อมการเดินทาง จากพญาไท ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิที่วันนี้คนแน่นสุดๆตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางในปี 2564 จะยืดเส้นทางเดินรถไฟฟ้าเพิ่มจากเดิม อีก 111.86 กิโลเมตร หากรวมกับเส้นทางที่เปิดให้บริการ จะมีระยะทางยาวถึง 282.24 กิโลเมตร

ทั้งนี้ปีหน้า เริ่มจาก รฟท.จะเปิดเดินรถอีก 2 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร
2. สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ระยะทาง 15.26 กิโลเมตร

เช่นเดียวกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนเปิดเดินรถ อีก 2 เส้นทาง
3. สายสีชมพูช่วง แคราย-มีนบุรี ระยะทางรวมส่วนต่อขยาย 37.3 กิโลเมตร และ
4. สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รวมส่วนต่อขยาย 33 กิโลเมตร ภายในต้นปี 2564

สำหรับความคืบหน้าก่อสร้าง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการรฟม. ระบุว่า ทั้ง 2 เส้นทาง ก่อสร้างไปกว่า 50% ช่วยแก้ปัญหาจราจรบนถนนลาดพร้าว ถนนรัชดาฯ บริเวณเมืองทองได้เป็นอย่างดี



ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ขบวนรถสายสีแดงเดินทางจาก ประเทศญี่ปุ่นเกือบครบทั้ง 25 ขบวน ประมาณกลางปี 2563 จะทดลองเดินรถเสมือนจริงเดือนตุลาคม 2563 เปิดให้ประชาชนได้ทดลองนั่งฟรีก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการต้นปี 2564เมื่อขบวนรถมาถึง จะได้รับการทดสอบเบื้องต้นได้นำออกวิ่งช่วงสถานีวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง รวม 6 สถานี ส่วนอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-47 บาท ทั้งนี้มีการประเมินว่า สายสีแดงช่วงบางซื่อ - รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อ 306,608 คนต่อวันนอกจากนี้ปี 2563 รถไฟฟ้าจะยืดเส้นทางรับผู้โดยสารได้ไกลขึ้นแล้ว ต้นปี 2564 จะสะดวกสบายเพิ่มขึ้น เมื่ออีก 4 เส้นทาง เปิดให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2020 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/419139
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2020 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

ทะลวงกลางกรุง เวนคืนที่ดิน 915 แปลง บ้าน 598 หลัง ลุยรถไฟฟ้า‘ส้มตะวันตก-ม่วงใต้’
18 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3540
วันที่ 16-18 มกราคม 2563

รัฐบาลอนุมัติก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลแบบไร้รอยต่อ หลังประชาชนผู้ใช้เส้นทาง เดินทางสะดวกขึ้น จากรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต วิ่งถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เส้นทางส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน วิ่งเป็นวงรอบ บนถนนวงแหวนรัชดาฯ จาก เตาปูน-ท่าพระ-หัวลำโพง-หลักสอง ขณะการก่อสร้างเส้นทางสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพู ช่วง แคราย-มีนบุรี เร่งวันเร่งคืนก่อสร้างให้ทันการเปิดให้บริการตามแผนในปี 2564ที่รอคอยมานานถึงเวลาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสำคัญ ได้แก่ สายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวมกันกว่า 3 แสนล้านบาท งานนี้มี 2 ค่ายใหญ่ บีทีเอสกรุ๊ป กับ BEM บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประกาศชิงดำสำหรับ เส้นทางสายสีม่วงใต้ เชื่อมต่อจากสถานีเตาปูน ผ่านหน้าอาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย วิ่งไปตามเส้นทางบนถนนสามเสน ผ่านชุมชนบางกระบือ ตลาดศรีย่าน ชุมชนสวนอ้อย กรมชลประทาน บางลำพู วิ่งเข้าสู่ถนนราชดำเนิน ลอดเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า ขึ้นฝั่งย่านฝั่งธน ผ่านวงเวียนใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ดาวคะนอง สุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่ครุใน เวนคืน ที่ดิน 410 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 267 หลังคาเรือน โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นใต้ดินแต่จะมีการใช้พื้นที่เพื่อเป็นสถานี ซึ่งจะเป็นพื้นที่ติดถนนเป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร สำหรับพื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่เป็นจุดขึ้น-ลงของตัวสถานีทั้ง 17 สถานี และที่จอดรถไฟฟ้า (เดโป้) 50 ไร่ บริเวณด่านเก็บเงินสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก



ขณะ สายสีส้มตะวันตก เวนคืนที่ดิน 505 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 331 หลังคาเรือน เริ่มจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯของสายสีส้มตะวันออก ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ลอดใต้ห้างเอสพลานาดรัชดาฯ มุ่งหน้าผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ บ้านเรือนเกือบ 200 หลังคาเรือนถูกกระทบจากการเวนคืน ในจำนวนนี้มีโรงเรียนดรุณพาณิชยการเก่าถูกเวนคืน เพื่อสร้างสถานี จากนั้นวิ่งผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (กทม.2) ออกสู่ถนนวิภาวดีบริเวณทหารผ่านศึก ทะลุราชปรารภ ประตูนํ้า ลอดใต้เจ้าพระยา เชื่อมสายสีแดงบริเวณโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดสถานีปลายทางบางขุนเทียนรถไฟฟ้าสายใหม่กำลังออกประมูล นอกจาก 2 บิ๊กบีทีเอส และ บีอีเอ็มแล้ว จะมียักษ์ใหญ่รายอื่นร่วมแจมด้วยหรือไม่ ต้องจับตา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2020 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.-การเคหะฯร่วมMOUพัฒนาที่อยู่อาศัย

วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และดร. ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อบูรณาการการพัฒนาระบบคมนาคมและการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน ระหว่าง รฟม. และการเคหะแห่งชาติ ณ สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ โดยโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายระยะเวลาการดำเนินงานภายใต้พันธกิจร่วมกัน เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล

ตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามเส้นทางโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ปี 2558 - 2572 ด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ให้มีที่อยู่อาศัยใกล้ระบบคมนาคมขนส่งโดยรถไฟฟ้า และการร่วมกันพิจารณาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย บนที่ดินของทั้ง 2 หน่วยงาน รวมถึงบริเวณใกล้ สถานีเปลี่ยนถ่าย หรือสถานีซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ตลอดจนการพิจารณากำหนดสถานที่รับ - ส่ง การให้บริการรถไฟฟ้าให้สอดคล้องกับพื้นที่พัฒนาของการเคหะแห่งชาติที่ได้ดำเนินการแล้วหรือกำลังจะมีขึ้นในอนาคตต่อไป

ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และส่งผลให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 206, 207, 208 ... 278, 279, 280  Next
Page 207 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©