Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180091
ทั้งหมด:13491323
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 362, 363, 364 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2020 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (47)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3536 ระหว่างวันที่ 9 - 11 มกราคม 2563


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด และเป็นบทความที่ยาวที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง การบอกเลิกสัญญากันต่อนะครับ 3) ในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ คู่สัญญาตกลงให้มีการชดเชยแก่เอกชนคู่สัญญาสำหรับทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ก) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ รฟท.มีสิทธิเลือกดำเนินการชดเชยด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. รฟท.จะนำรายได้ที่เกิดจากการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ซึ่งเป็นไปตามอัตราราคาตลาด เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว พร้อมทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้นั้น (ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ) มาชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญา แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับจากการประมูลให้เช่าข้างต้น
2. รฟท.และเอกชนคู่สัญญาจะเข้าทำสัญญาให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว ต่อไปโดยมีข้อกำหนด เงื่อนไขและระยะเวลาการเช่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน
ข) กรณีที่บุคคลอื่นซึ่งเช่า เช่าช่วงและ/หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ จากเอกชนคู่สัญญา เป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ รฟท.จะชำระค่าชดเชยการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับมาไม่ว่จะมาจากการเข้าสวมสิทธิ์ของ รฟท.หรือบุคคลอื่นที่เข้ามาสวมสิทธิ์แทน รฟท.โดยผ่านการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ซึ่งเป็นไปตามอัตราราคาตลาด เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว


เด็กหญิงไทยอัจฉริยะค้นพบวิธีกำจัดไขมันให้หายไปตลอดกาลโดยบังเอิญ
อ่านต่อ
Advertiser

อย่างไรก็ตาม ในการชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อนี้ คู่สัญญาตกลงให้ รฟท.มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ รฟท.ได้รับจากการเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญามาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการประมูลให้เช่าทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว และค่าจ้างที่ปรึกษาในการดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้อง (หากมี)
4) ในระหว่างการดำเนินการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(1)เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมอันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
(2) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุความผิดของ รฟท. (ก) เหตุเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท. เอกชนคู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาร่วมลงทุนเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1) รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนที่เหลือ นอกเหนือจากพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟได้จนมีผลกระทบร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิของเอกชนคู่สัญญาที่จะดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ในสัญญาร่วมลงทุนนี้ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเดินรถไฟความเร็วสูง
2) อัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้ตามสัญญาร่วมลงทุนนี้ไม่มีผลบังคับใช้ตามสัญญาร่วมลงทุน หรือ 3) รฟท.สิ้นสภาพ หรือไม่มีอำนาจ หรือหน้าที่ที่จะดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนนี้โดยไม่มีหน่วยงาน หรือองค์กรอื่นใดเข้ามาแทนที่เพื่อรับโอนสิทธิและหน้าที่ของ รฟท.ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทย
(ข) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท.ก่อนใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามข้อสัญญานี้ เอกชนคู่สัญญาจะบอกกล่าวแก่ รฟท.ให้แก้ไขเยียวยาการผิดสัญญาร่วมลงทุนหรือเหตุผิดนัดอื่นๆ และ รฟท.จะต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดที่จะแก้ไขเยียวยาเหตุดังกล่าวภายในระยะเวลาที่เอกชนคู่สัญญากำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่ง (1)ปี นับจากวันที่ได้รับการบอกกล่าวนั้น ซึ่งเอกชนคู่สัญญาอาจขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้อีก หากเห็นว่ามีความจำเป็นและมีเหตุผลสมควรทั้งนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้รับการแก้ไขเยียวยาภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป เอกชนคู่สัญญาอาจใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนนี้ได้ทันที


หมอ: มีกลิ่นปากหรอ? แสดงว่าคุณมีพยาธิ!ลองดูสิมีวิธีดูวิธีแก้! คลิก!
อ่านต่อ
Advertiser

(ค) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท.
1) กรณีที่มีการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท.ตามข้อ 30.2(2)(ข) รฟท.จะพิจารณาชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
ก) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น ให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับมูลค่าทางบัญชี รวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ
ข) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้นให้แก่เอกชนคู่สัญญา เท่ากับมูลค่าตลาดยุติธรรม (Fair Market Value) รวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าตลาดยุติธรรม และ รฟท.ตกลงชำระวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่เหลืออยู่ให้แก่เอกชนคู่สัญญา
ทั้งนี้ การชำระค่าชดเชยข้างต้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ โดยหากไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว ในกรณีนี้เอกชนคู่สัญญาจะต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง) พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน ให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินการต่อได้ ณ วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น
เทียบข้อสัญญารัฐกับเอกชนแล้ว ท่านว่าใครบอกเลิกใครง่ายกว่า!

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (48)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 11 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3536 ระหว่างวันที่ 12 - 15 มกราคม 2563

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ประวัติศาสตร์การประมูล (48) ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด และเป็นบทความที่ยาวที่สุด

กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปีสัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง การบอกเลิกสัญญากันในข้อ 29 การใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ เพื่อความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือมีเหตุที่ทำให้บริการสาธารณะหยุดชะงักลง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนหรือเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเมื่อ รฟท.ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รฟท.มีสิทธิใช้อำนาจเข้าไปดำเนินโครงการฯ เองทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว โดยอาจเป็นการสั่งให้เอกชนคู่สัญญาเปลี่ยนแปลงงานตามข้อ 17.1(3) หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นใดดำเนินการดังกล่าวก็ได้ หรือมีสิทธิสั่งให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามข้อ 39.2 หรือมีสิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามข้อ 30.2 ได้


ทั้งนี้ก่อนที่ รฟท.จะดำเนินการใดๆ ในข้อ 29 นี้ รฟท.จะแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบเป็นหนังสือถึง(1) การดำเนินการที่ รฟท.จะกระทำ(2)เหตุที่ รฟท.ต้องเข้าดำเนินโครงการ(3) วันที่จะเริ่มดำเนินการ และ(4) ระยะเวลาของการดำเนินการในกรณีที่เหตุเกิดจากการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่ได้มาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญาเอกชนคู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุน และไม่ถือว่าเอกชนคู่สัญญาผิดหน้าที่ในส่วนนั้น โดย รฟท.จะจ่ายค่าชดเชยให้เป็นไปตามกฎหมายแก่เอกชนคู่สัญญาอย่างเป็นธรรมตามความเสียหายที่แท้จริง

30. การสิ้นสุดของสัญญาร่วมลงทุน 30.1 เหตุสิ้นสุดของสัญญาร่วมลงทุน สัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดลงเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เมื่อครบระยะเวลาของโครงการฯ
(2) เมื่อมีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6.2 หรือ
(3) เมื่อมีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2

30.2 การเลิกสัญญาร่วมลงทุน (1) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา
(ก) เหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา รฟท.มีสิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุน เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1) กรณีเอกชนคู่สัญญาถูกศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ
2) กรณีเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญตามข้อ 27(1) เกิดขึ้น และเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ก) กรณีผู้สนับสนุนทางการเงินไม่สามารถแก้ไขเยียวยาโครงการฯ ได้สำเร็จตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินข) กรณีผู้สนับสนุนทางการเงินสละสิทธิไม่ใช้สิทธิแก้ไขเยียวยาโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน และปรากฏว่าเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถแก้ไขเยียวยาโครงการฯ ได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบ (90)วัน นับจากวันที่เอกชนคู่สัญญารับการแจ้งถึงการเกิดเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในข้อ 27(1)นั้น ซึ่ง รฟท.อาจขยายระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวออกไปได้อีก หากเห็นว่ามีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควรหรือค) กรณีเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญตามข้อ 27(1)เกิดขึ้น โดยที่เอกชนคู่สัญญาไม่ได้เข้าทำสัญญาจัดหาสนับสนุนและปรากฏว่าเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถแก้ไขเยียวยาโครงการฯ ได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเก้าสิบ (90)วัน นับจากวันที่เอกชนคู่สัญญารับการแจ้งถึงการเกิดเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญนั้น ซึ่ง รฟท.อาจขยายระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวออกไปได้อีก หากเห็นว่ามีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควร

(ข) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา กรณีที่เหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญาเกิดขึ้น รฟท.อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนโดยบอกกล่าวแก่เอกชนคู่สัญญาให้แก้ไขเยียวยาการผิดสัญญาร่วมลงทุนหรือเหตุผิดนัดอื่นๆ และเอกชนคู่สัญญาจะต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดที่จะแก้ไขเยียวยาเหตุดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบ (30)วัน นับจากวันที่เอกชนคู่สัญญาได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น ซึ่ง รฟท.อาจขยายระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวออกไปได้อีก หากเห็นว่ามีเหตุผลสมควรทั้งนี้หากเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้รับการแก้ไขเยียวยาภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป รฟท.อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนนี้ได้ทันที โดยมิต้องบอกกล่าวใดๆ อีก
(ค) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา 1) ภายใต้ข้อ 30.2(1)(ค)2)และ3) ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน กรณีที่ รฟท.ใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญาตามข้อ 30.2(1)(ข) รฟท.จะไม่ชำระเงินใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญาและมีสิทธิที่จะบังคับหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 และเรียกค่าเสียหายจากเอกชนคู่สัญญา โดยคำนวณจากฐานผลประโยชน์ตอบแทนของ รฟท.ที่ รฟท.พึงได้รับตลอดระยะเวลาของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1 และค่าเสียหายอื่นที่กฎหมายไทยกำหนดให้สิทธิแก่ รฟท.สามารถเรียกได้ มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณา2) กรณี รฟท.ใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญาตามข้อ 30.2(1)(ข)แล้ว เห็นว่าทรัพย์สินภายใต้โครงการฯ ในส่วนใดไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ในกรณีนี้เอกชนคู่สัญญาจะต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินในส่วนที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ (ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง) พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินการต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้นอย่างไรก็ตาม คู่สัญญาตกลงว่า หากทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ นอกเหนือจากกรณีที่เอกชนคู่สัญญาจะต้องรื้อถอน ในวรรคก่อนหน้านี้ รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญา ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ก) กรณีใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้นให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับมูลค่าทางบัญชี (แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ)ข) กรณีใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับผลลัพธ์ของ 1.หรือ ผลลัพธ์ของ 2.โดยเลือกค่าใดค่าหนึ่งที่มีมูลค่าตํ่ากว่า ทั้งนี้คู่สัญญาตกลงว่า

1. กรณีเลือกชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น เท่ากับมูลค่าทางบัญชี รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาดังต่อไปนี้ สำหรับงานโยธา จะชดเชยเท่ากับมูลค่าทางบัญชีหักด้วยเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการฯ ที่เอกชนคู่สัญญาได้รับแล้ว (ซึ่งเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ดังกล่าวจะต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าเสื่อมราคาสะสมที่ใช้คำนวณมูลค่าทางบัญชีของงานดังกล่าว ณ วันที่วัดมูลค่า ค่าชดเชย) ทั้งนี้ค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินของเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ และสำหรับงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ จะชดเชยเท่ากับมูลค่าทางบัญชี
2. กรณีเลือกชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ดังกล่าว ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิ์และภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้นเท่ากับมูลค่าตลาดยุติธรรม รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับมูลค่าตลาดยุติธรรม และ รฟท.ตกลงชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯที่เหลืออยู่ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

ท่านคิดว่า ใครจะบอกเลิกใคร!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2020 5:51 am    Post subject: Reply with quote

“บอร์ดรถไฟ” ยังไม่อนุมัติผลประมูลรถไฟไทยจีน 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านรอเคาะรวดเดียว 28 ม.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 มกราคม 2563 - 19:41 น.

“บอร์ดรถไฟ” ยังไม่อนุมัติผลประมูลรถไฟไทยจีน 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านรอเคาะรวดเดียว 28 ม.ค.นี้
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการในตำแห่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ยังไม่เห็นชอบการจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงกรุงเทพ – หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพ – นครราชสีมา 3 สัญญา รวม 27,501 ล้านบาท

ประกอบด้วย สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ที่มีบริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,838 ล้านบาท, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ที่มีบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 7,750 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ที่มีบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,913 ล้านบาท


เนื่องจากที่ประชุมบอร์ดต้องการรับทราบถึงภาพรวมโครงการทั้งหมดก่อน รวมถึงหากเริ่มดำเนินงานในสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) มูลค่าสัญญา 50,633.50 ล้านบาท จะมีการเชื่อมต่อและขั้นตอนการเข้างานหลังจากก่อสร้างงานโยธาอย่างไร ทั้งนี้ ทั้ง 3 สัญญา ไม่ได้มีปัญหาด้านการจัดซื้อจัดจ้างไม่โปร่งใสแต่อย่างใด โดยจะมีการนำเสนออีกครั้งในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไปในวันที่ 28 ม.ค.นี้

ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ทั้ง 3 สัญญาจะนำไปรวมกับอีก 4 สัญญาที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบผลการเสนอราคา เพื่อเสนอที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบในการประชุมวันที่ 28 ม.ค.นี้ จึงรวมเป็น 7 สัญญาที่จะเข้าสู่การพิจารณาในครั้งหน้า

อย่างไรก็ตาม แม้บอร์ดจะอนุมัติครบทุกสัญญาแล้ว แต่ทั้งโครงการก็ยังลงนามในสัญญาไม่ได้ เนื่องจากต้องรอการอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่มีการเพิ่มเติมในรายละเอียดก่อน เพราะตอนผ่านการอนุมัติโครงการในครั้งแรก ใช้ผลการศึกษาเดิมของสนข.เป็นโมเดลหลัก ซึ่งได้รับการอนุมัติในเส้นทางช่วงกรุงเทพ – ภาชี และภาชี – นครราชสีมา

แต่ต่อมาโครงการได้ยกระดับเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-จีน จึงมีการปรับปรุงแนวก่อสร้างบางจุดและมีผลต่อรายงาน EIA ฉบับเดิม ร.ฟ.ท.จึงต้องทำรายงาน EIA เพิ่มเติมและเสนอตามกระบวนการ โดยจุดที่ต้องทำ EIA เพิ่มเติมอยู่กระจายไปตามแนวเส้นทางทั้งหมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) คาดว่าจะผ่านการพิจารณาได้ประมาณเดือน ก.พ.นี้

นอกจากนี้ ในส่วนงานสัญญาที่ 4-4 งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท กระบวนการกำหนดราคากลางเสร็จแล้ว จะมีการประชุมคณะกรรมการทีโออาร์ในสัปดาห์หน้า เพื่อกำหนดวันประกาศเจัดซื้อจัดจ้างผ่านเว็บไซด์ร.ฟ.ท.ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2020 11:47 pm    Post subject: Reply with quote

รับเหมาไทย-จีนดัมพ์ราคาหัวทิ่ม 2 หมื่นล้านชิง “ไฮสปีดเทรนสายอีสาน”
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 มกราคม 2563 - 18:00 น.

อัพเดตไฮสปีดไทย-จีน 2020 รถไฟเร่งประมูลให้จบ รับเหมารายกลาง จีน ดัมพ์ราคาร่วม 2 หมื่นล้าน ฮุบเค้กก่อสร้างทั้งโครงการ “อิตาเลียนไทยฯ” ซิวได้ 1 สัญญา เวนคืนเพิ่ม สร้างถนนเชื่อมสถานีอยุธยา ปรับไทม์ไลน์เปิดหวูดจากปี’66 เป็นปี’68 เชื่อมการเดินทาง กทม.-โคราช

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในปี 2563 โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,413 ล้านบาท หรือรถไฟไทย-จีน การประมูล ขออนุมัติและเซ็นสัญญา คาดว่าจะดำเนินการได้ครบและเดินหน้าก่อสร้างโครงการ แต่คงจะไม่ได้เต็มพื้นที่ทั้งโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ทำเพิ่มเติมด้วย ถึงจะเซ็นสัญญาได้

ปัจจุบันได้เริ่มงานก่อสร้าง 2 สัญญาได้แก่ ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. เป็นงานถมคันดินกรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้างให้ มีความคืบหน้าแล้ว 75% จะแล้วเสร็จในเดือน พ.ค.นี้ และช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง วงเงิน 3,114 ล้านบาท เนื้องานแบ่งเป็นสร้างคันทางรถไฟระดับดินประมาณ 7 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับประมาณ 4 กม. ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 1 แห่ง งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ งานคืบหน้าแล้วประมาณ 9% จะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.นี้


“อีก 12 สัญญาที่เหลือ รอเซ็นสัญญา 3 สัญญา รออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) อีก 3 สัญญา อยู่ระหว่างพิจารณาด้านราคา 2 สัญญา พิจารณาผลประมูล 2 สัญญา กำลังจะประมูล 2 สัญญา ทั้งนี้ผลประมูลที่ผ่านมา มีผู้รับเหมาดัมพ์ราคาต่ำกว่าราคากลาง ทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างไปกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท จะนำเงินส่วนหนึ่งประมาณ 2,000 ล้านบาท โยกไปในสัญญา 2.3 งานระบบที่มีงบฯเพิ่มขึ้นจาก 3.8 หมื่นล้านบาท เป็น 50,633 ล้านบาท ที่กำลังเจรจากับจีนและเสนอ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้น”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับ 3 สัญญาที่รอเซ็นสัญญา ได้แก่ สัญญาช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคา 8,626 ล้านบาท

สัญญาช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้เสนอราคา 11,525 ล้านบาท

และสัญญาช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 9,429 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนรอพิจารณาด้านราคา ได้แก่ สัญญางานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เสนอราคา 4,279.328 ล้านบาท

สัญญาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 10,421.014 ล้านบาท ซึ่ง บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 8,560 ล้านบาท

สัญญาช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน 11,064 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคา 9,330 ล้านบาท

สัญญาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เสนอราคา 9,788 ล้านบาท

อยู่ระหว่างรอบอร์ดอนุมัติ 3 สัญญา ได้แก่ สัญญางานโยธา ช่วงบันไดม้า-โคกกรวด ระยะทาง 26.1 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีปากช่องของบริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคา 9,838 ล้านบาท สัญญางานโยธาช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงิน 9,913 ล้านบาท และสัญญาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK วงเงิน 7,750 ล้านบาท

อีก 2 สัญญารอปรับทีโออาร์ ได้แก่ สัญญางานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับแบบ และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม.ที่รอแบบจากกลุ่ม ซี.พี.ผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกัน

“ตรงเชียงรากน้อย มีเวนคืน 500 ไร่ และปรับรูปแบบก่อสร้างไปจากเดิม ใช้พื้นที่ก่อสร้างเท่าที่จำเป็น ส่วนที่สถานีอยุธยายังคงอยู่ที่เดิม แต่มีปรับแบบสถานีใหญ่ขึ้นและมีเวนคืนเพิ่ม 5 ไร่ สร้างถนนเชื่อมทางฝั่งแม่น้ำป่าสัก” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับเป้าหมายการเปิดให้บริการ จากความล่าช้าของการประมูล ทำให้ไทม์ไลน์ขยับไปจากเดิมจะเปิดในปี 2566 เป็นปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2020 6:53 am    Post subject: Reply with quote

3.5โลสร้างกว่า2ปีผลงาน74%
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

รถไฟไฮสปีดไทย-จีนสายแรก ทางหลวงเร่งปิดจ๊อบพ.ค.นี้

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ช่วงแรกระยะทาง 3.5 กม. ที่กระทรวงคมนาคมมอบหมายทล.ก่อสร้างคันทางรถไฟจากสถานีกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา กม.150+500-กม.154+000 ระยะทาง 3.5 กม. ได้ผลงานล่าสุด 74% อยู่ระหว่างสร้างรางสายเคเบิลคอนกรีตป้องกันคันทาง รวมทั้งคอนกรีตป้องกันคันทางเดิม และคอนกรีตแบ่งช่องจราจร

ทล.รอการเบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) 2 งวด รวม 20,771,581 บาท แบ่งเป็น งวดที่ 4 วงเงิน 12,387,513 บาท และ งวดที่ 5 วงเงิน 8,384,068 บาท เมื่อเบิกจ่ายแล้วเสร็จจะดำเนินงานคอนกรีตปิดไหล่คันทางฐานเสาสัญญาณ และงานปูผิวถนนบริการ เพื่อให้แล้วเสร็จเดือน พ.ค. 63 ส่วนปัญหาอุปสรรคนั้นขณะนี้ไม่มีแล้วได้งบฯ มาดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเบิกจ่ายงบฯ แล้ว 3 งวด รวม 314,830,552 บาท แบ่งเป็น งวดที่ 1 วงเงิน 118,680,000 บาท งวดที่ 2 วงเงิน 116,537,004 บาท และ งวดที่ 3 วงเงิน 79,613,548 บาท จากทั้งหมด 425 ล้านบาท จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วมทำพิธีเริ่มก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์ที่มอหลักหินรัชกาล ที่ 5 ต.กลางดง อ.ปาก ช่อง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 60 ภายใต้แนวคิด "น้ำหนึ่งใจเดียวทุกเรื่องราบรื่น" ซึ่งเดิมวางเป้าหมายก่อสร้าง 3.5 กม. ให้แล้วเสร็จภายใน 6-8 เดือนหรือภายในเดือน ส.ค. 61 ให้เป็น เชิงสัญลักษณ์ว่าโครงการเกิดขึ้นแล้ว แต่เกิดปัญหาการเบิกจ่ายงบฯระหว่างหน่วยงานทล.และรฟท.ล่าช้า จนต้องปรับแผนงานก่อสร้างหลายครั้ง ล่าสุดได้ปรับแผนแล้วเสร็จเป็น พ.ค. 63 หากภายในเดือน พ.ค.นี้ก่อสร้างเสร็จจะใช้เวลาก่อสร้างคันทางรถไฟไฮสปีด 3.5 กม. ถึง 2 ปีครึ่ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 11:38 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (49)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 16 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3540 ระหว่างวันที่ 16 - 18 มกราคม 2563

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการยกเลิกโครงการ
2) ในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้นำข้อ 30.2(1)(ค)3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่มีการนำรายได้ที่เกิดจากการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้พร้อมทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้นั้น (ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ) มาชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(2)(ค)1) แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับจากการประมูลให้เช่าข้างต้น
3) ในระหว่างการดำเนินการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท.เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญา จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม



(3) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(ก) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ กรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29 เกิดขึ้น รฟท.อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนนี้ ได้ทันที โดยมิต้องบอกกล่าวใดๆ อีก (ข) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
1) กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 29 เกิดขึ้นโดยเป็นความผิดของเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงให้ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(1)(ค)
2) กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 29 เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงให้ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเป็นไปตามที่กฎหมายไทยกำหนด
3) ในระหว่างการดำเนินการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
(4) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน (ก) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)และเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)
กรณีเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)เกิดขึ้นและเหตุดังกล่าวมีความรุนแรงถึงขนาดที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเห็นว่าเหตุดังกล่าวทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้สมดังวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของสัญญาร่วมลงทุนนี้ ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะให้มีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนหรือไม่ โดยหากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ให้มีการเลิกสัญญาร่วมลงทุน โดยให้นำผลของการเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามข้อ 30.2(4)(ข) มาบังคับ แต่หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ให้มีการดำเนินการระงับข้อพิพาทตามข้อ 39.12
(ข) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน 1) กรณีมีการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)และผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)คู่สัญญาตกลงว่า
ก) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งปลอดจากการรอนุสิทธิและภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้นให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับมูลค่าทางบัญชีรวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้
ข) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญา ดังต่อไปนี้



1. สำหรับทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ จะชำระเท่ากับมูลค่าทางบัญชีหักด้วยเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่เอกชนคู่สัญญาได้รับแล้ว (ซึ่งเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯดังกล่าวจะต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าเสื่อมราคาสะสมที่ใช้คำนวณมูลค่าทางบัญชีของงานดังกล่าว ณ วันที่วัดมูลค่าค่าชดเชย) ทั้งนี้ โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ และ
2. ชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี ทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ การชำระค่าชดเชยข้างต้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ โดยหากไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทดังกล่าว ในกรณีนี้เอกชนคู่สัญญา จะต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ (ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง) พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน ให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินการต่อได้ ณ วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลบังคับใช้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น
2) ในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้นำข้อ 30.2(1)(ค)3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่มีการนำรายได้ที่เกิดจากการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้พร้อมทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้นั้น (ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ) มาชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(4)(ข)1) แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับจากการประมูลให้เช่าข้างต้น
3) ในระหว่างการดำเนินการผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) และเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้ เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
//------------------------------------------------------

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (50)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 19 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3541 ระหว่างวันที่ 19 - 22 มกราคม 2563

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี และพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง

31. การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เมื่อสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง

31.1 การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์
(1) กรณีครบระยะเวลาของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 2 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา



(ข) ส่งมอบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ทั้งหมด
1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯและ
2) ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และ

(ค) ต้องรื้นถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1(1)(ก)และ(ข) ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินงานต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น
(ง) จัดทำและส่งมอบคู่มือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท. (2) กรณีสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 1 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.จะชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2
(ข) ส่งมอบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ทั้งหมด
1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯ และ
2) ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 1 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.จะชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2



ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพเหมาะสม ตามอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และ
(ค) เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุนต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1(1)(ก)และ(ข) ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินงานต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

(ง) จัดทำคู่มือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.

31.2 การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
(1) กรณีครบระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 4 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา
(ข) ส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 4 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามสภาพอายุการใช้งาน ภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
(ค) ต้องดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(12)และข้อ 16.1(13) และ
(ง) ต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.2(1)(ก)และ(ข)ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพเดิมที่เป็นอยู่ ณ วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับโดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

รอบคอบรัดกุม มีช่องโหว่หรือไม่!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

‘CP’ ฟิตเปรี๊ยะ! ส่งแบบไฮสปีดก่อนกำหนด ‘รถไฟ’ รับลูกเร่งแผนเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง
The Bangkok Insight
21 มกราคม 2563 12:13:17

“กลุ่ม CP” ฟอร์มดี! ดอดส่งแบบแนวเส้นทาง-จุดวางตอม่อ “ไฮสปีด3สนามบิน” ก่อนกำหนด 1 สัปดาห์ “การรถไฟฯ” รับลูก เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มูลค่า 2.2 แสนล้าบาทว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม CP) ได้ส่งการออกแบบเบื้องต้นให้การรถไฟฯ อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา เร็วกว่าแผนซึ่งกำหนดให้ส่งมอบได้ถึงวันที่ 24 มกราคมนี้

โดยหลังจากนี้ หน่วยงานต่างๆ ที่มีสาธารณูปโภคอยู่ตามแนวเส้นทาง จะต้องนำแบบของกลุ่ม CP ไปจัดทำแผนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคและเสนอตารางการรื้อย้ายให้คณะทำงานส่งมอบพื้นที่ ที่มีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ด้านการรถไฟฯ ก็ต้องจัดทำแผนเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างใน 3 ส่วน ได้แก่

1. พื้นที่ที่ต้องเวนคืน ซึ่งมีทั้งหมด 11 แปลงและการรถไฟฯ จะเริ่มตั้งทีมสำรวจแนวเวนคืนภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ โดยคาดว่าจะดำเนินการเวนคืนได้เร็วที่สุดภายใน 1 ปี

2. พื้นที่ที่มีผู้บุกรุก ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้สำรวจผู้บุกรุกตั้งแต่สนามบินอู่ตะเภามาถึงบริเวณสามเสน กรุงเทพฯ แล้ว พบว่ามีผู้บุกรุกประมาณ 682 ราย จากนี้ก็จะดำเนินการสำรวจต่อจากบริเวณสามเสนไปถึงสนามบินดอนเมือง ก่อนจัดทำแผนการรื้อย้ายผู้บุกรุกเพื่อเสนอให้คณะทำงานฯ พิจารณาในเดือนหน้า

3. พื้นที่ที่การรถไฟฯ เปิดให้เช่า ซึ่งคาดว่าจะไม่มีปัญหาๆ ในการส่งมอบ เพราะสัญญาเช่าระบุให้การรถไฟฯ ต้องแจ้งบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน แต่การรถไฟฯ จะแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน

งานหนักช่วง ‘ดอนเมือง-สามเสน’
รายงานข่าวเปิดเผยว่าต่อว่า เส้นทางการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-สามเสน จะซ้อนทับกับโครงการก่อสร้างอื่นๆ อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ในบริเวณบางซื่อ-สามเสน และโครงสร้างร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน บริเวณบางซื่อ-ดอนเมือง

สำหรับช่วงบางซื่อ-สามเสนนั้น กลุ่ม CP จะต้องลงทุนขุดอุโมงค์แห้ง ซึ่งจะใช้เป็นโครงสร้างร่วมกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ซึ่งอุปสรรคสำคัญของช่วงนี้ก็คือ ท่อส่งน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) และอุโมงค์ระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ต้องรื้อย้าย

ด้านเส้นทางช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ก็ต้องใช้โครงสร้างร่วมกันกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งกลุ่ม CP และการรถไฟฯ ต้องมาหารือเรื่องนี้ร่วมกันต่อไป ส่วนตอม่อโฮปเวลล์ที่เหลืออยู่ตามแนวเส้นทางบางซื่อ-ดอนเมืองนั้น ถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางและกลุ่ม CP จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการรื้อย้ายเอง

รายงานข่าวเปิดเผยต่อว่า ล่าสุดเป้าหมายการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้กลุ่ม CP ยังคงเป็นไปตามเดิม คือ

ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในปัจจุบัน พร้อมส่งมอบได้ทันที ที่ชำระเงิน
ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทางยาวที่สุด 170 กิโลเมตร จะส่งมอบระหว่าง 1-2 ปี
ช่วงพญาไท-สนามบินดอนเมือง จะส่งมอบภายใน 2-4 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2020 10:55 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (51)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 23 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3536 ระหว่างวันที่ 23 - 25 มกราคม 2563



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด และเป็นบทความที่ยาวที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งคือกลุ่มบีบีเอสจึงชนะประมูลไป แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาใน (2) กรณีสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเช่า เช่าช่วง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนและไม่ว่าจะเป็นช่วงหนึ่งหรือหลายช่วง) ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯและ/หรือบรรดาสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่พื้นที่ดังกล่าว รฟท.จะสวมสิทธิเอกชนคู่สัญญาเพื่อรับโอนสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ในสัญญาดังกล่าวได้/จนกระทั่งสิ้นสุดสัญญานั้น ตามข้อกำหนดในข้อ 16.1(4)(ข)2)ค)
ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญา ไม่ต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 3 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.จะต้องชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2
(ข) ส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 3 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.จะชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2




ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์ เหมาะสม ตามอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนด สามารถดำเนินการพัฒนาทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
(ค) ต้องดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(12)และข้อ 16.1(13) และ
(ง) เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุนต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.2(2)(ก)และ(ข) ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้งพร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินงานต่อได้โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น
32. การใช้เรือไทย ในการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุน หากเอกชนคู่สัญญาจะต้องสั่งหรือนำเข้าของมาจากต่างประเทศรวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้ามาเพื่อปฏิบัติงานตามสัญญาร่วมลงทุน ไม่ว่าเอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้ที่นำของเข้ามาเอง หรือนำเข้ามาโดยผ่านตัวแทนหรือบุคคลอื่นใด ถ้าสิ่งของนั้นต้องนำเข้ามาโดยทางเรือในเส้นทางเดินเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด เอกชนคู่สัญญาจะใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการจัดการให้สิ่งของดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทย จากต่างประเทศมายังประเทศไทย
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนบรรทุกของนั้นลงเรืออื่นที่มิใช่เรือไทย หรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าการสั่งหรือสั่งซื้อของดังกล่าวจากต่างประเทศจะเป็นแบบใด
ในการส่งมอบงานตามสัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ถ้างานนั้นมีสิ่งของตามวรรคแรก เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือสำเนาใบตราส่งสำหรับของนั้น ซึ่งแสดงว่าได้บรรทุกมาโดยเรือไทย หรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยให้แก่ รฟท.พร้อมกับการส่งมอบงานด้วย
ในกรณีที่สิ่งของดังกล่าวไม่ได้บรรลุจากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยเรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทย เอกชนคู่สัญญาต้องส่งมอบหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้บรรทุกของโดยเรืออื่นได้ หรือหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษเนื่องจากการไม่บรรทุกของโดยเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชย์นาวีแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ รฟท.ด้วย




33. การใช้แรงงานไทย เอกชนคู่สัญญาต้องจัดให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของ รฟท. โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้ทำงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงบุคลากรหลักด้านเทคนิค
เว้นแต่งานใดที่มีลักษณะเฉพาะด้าน ซึ่งเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถจัดหาคนไทยที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นมาทำงานได้ เอกชนคู่สัญญาอาจให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจากต่างประเทศมาทำงานแทนได้ แต่เอกชนคู่สัญญาต้องจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ความชำนาญให้บุคคลสัญชาติไทยตามหลักเกณฑ์และวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามข้อ 22
สัญญาในหมวดนี้ควบคุมเรื่องการเช่าช่วง การว่าจ้างคนไทยให้ทำงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทยล้วนๆครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2020 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

โคโรนาทำพิษ! จ่อเลื่อนถกไฮสปีดไทย-จีน “ประยุทธ์” สั่งฟื้นรถไฟระนอง-ชุมพรเชื่อม EEC
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 27 มกราคม 2563 - 19:53 น.

โคโรนาทำพิษ! จ่อเลื่อนถกไฮสปีดไทย-จีน “ประยุทธ์” สั่งฟื้นรถไฟระนอง-ชุมพรเชื่อม EEC
พิษไวรัสโคโรนา ป่วนวงประชุมไฮสปีดไทย-จีน จ่อเลื่อนประชุมออกไป ชงครม.คอนเฟอเรนซ์แทน ไม่ห่วงเซ็นสัญญา 2.3 ลงนามที่สถานฑูตได้ “ประยุทธ์” ควักงบกลางปี ‘63 ร่วม 90 ล้าน ฟื้นศึกษารถไฟระนอง – ชุมพร เสร็จปี’64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการหารือกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Novel Coronavirus) ซึ่งมีต้นตอมาจากประเทศจีน เบื้องต้น ได้รับรายงานว่า อาจจะมีผลทำให้การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ซึ่งมีประเด็นพิจารณาสัญญา 2.3 สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ มูลค่า 50,633 ล้านบาท หนึ่งในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ต้องเลื่อนออกไปก่อน และอาจจะต้องใช้วิธีประชุมทางไกล (Video Conference) แทน


ชงครม.ขอประชุมทางไกล

เบื้องต้นได้มีการสื่อสารกับจีนไปแล้ว แต่ต้องกลับมาตรวจสอบระเบียบที่มีร่วมกันก่อนว่า สามารถประชุมทางไกลได้หรือไม่ ซึ่งทางฝั่งไทยสามารถทำได้ แต่ทางการจีนต้องให้ทางนั้นตรวจสอบรายละเอียดก่อน หากสามารถประชุมทางไกลได้ จะต้องขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอย่างเป็นทางการก่อน และแน่นอนว่าจะทำใหกำหนดการเดิมที่จะประชุมหลังเทศกาลตรุษจีนประมาณต้นเดือน ก.พ.นี้ต้องเลื่อนออกไป ส่วนการลงนามในสัญญา 2.3 สามารถลงนามผ่านสถานฑูตได้กรณีมีความจำเป็นจริงๆ

ขณะที่การลงนามในสัญญางานโยธาที่รอการปรับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) บางส่วนนั้น มีเพียงบางส่วนในบางสัญญา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.)และสามารถประสานงานเรื่องข้อมูลกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อยู่แล้ว

“ศักดิ์สยาม” เร่งเดินหน้ารถไฟไทย-จีนต่อ จ่อถกข้อตกลงสัญญาต้นเดือนก.พ.นี้
เผยแพร่ วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ.2563

“ศักดิ์สยาม” เร่งเดินหน้ารถไฟไทย-จีน จ่อถกต้นเดือนก.พ.นี้ผ่าน วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์หนีไวรัสโคโรนา ยันไม่ปิด BTS-MRT สั่งกรมรางฯ เพิ่มมาตรการป้องกันหารือร่วมกรมควบคุมโรค 29 ม.ค.นี้


เมื่อวันที่ 27 มกราคม ที่กรมการขนส่งทางราง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่กรมการขนส่งทางราง และเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีกำหนดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยล่าสุดทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปตรงกันแล้วใน การเจรจาข้อตกลงรายละเอียดร่างสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานกับทางจีนว่าการประชุมรอบล่าสุดที่กำลังจะถึงนี้ ว่าจะสามารถประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลด้วยจอภาพ (วีดีโอคอนเฟอเรนซ์) ได้หรือไม่ เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาอาจจะกระทบต่อการเดินทาง ซึ่งในส่วนฝ่ายไทย สามารถดำเนินการประชุมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยต้องรอคำตอบฝ่ายจีนว่าดำเนินการได้หรือไม่ ขัดข้อกฎหมายหรือไม่ เพราะเป็นการดำเนิการแบบรัฐต่อรัฐ

“เดิมฝ่ายจีนขอให้ผ่านช่วงวันหยุดตรุษจีนก่อนจึงจะเดินทางมาประชุมร่วมกัน แต่ขณะนี้ในจีนมีสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ต้องรอก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไร ยังไม่ได้คำตอบเพราะติดช่วงวันหยุดตรุษจีน หลังวันหยุดตรุษจีนน่าจะมีคำตอบชัดเจน

ทั้งนี้ แม้ว่าจะประชุมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่หากต้องมีการสัญญาสามารถดำเนินการได้โดยผ่านสถานทูตของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการของโครงการแต่อย่างใด” นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงมาตรการป้องกันไวรัสโคโรนา ว่า ปัจจุบันจีนที่เป็นประเทศต้นทางมีมาตรการป้องกันเข้มงวดมาก ในส่วนสถานการณ์ของไทย ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องปิดระบบขนส่งมวลชน แต่ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางรางมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลป้องกัน ทั้งนี้ ในส่วนกระทรวงฯ เรื่องการดูแลคนไทยที่อยู่ในจีน ขณะนี้ได้มีการเตรียมเครื่องบิน และประสานกระทรวงสาธารณสุขเตรียมหน่วยแพทย์เรียบร้อยแล้ว รอกระทรวงการต่างประเทศประสานงานและรออนุญาตจากทางการจีน ขณะนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่ได้รับอนุญาตเข้าไปรับพลเมือง แต่หากได้รับอนุญาตมีคงามพร้อมทันที ส่วนการเดินทางทางอากาศที่ครอบคลุมกว่า 90% ของเดินทางระหว่างประเทศได้เข้มงวดในการสแกนอุณหภูมิร่างกายของผู้โดยสารและมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง มีการกำหนดพื้นที่เฉพาะสายการบินที่อาจจะมีการนำกลุ่มเสี่ยงเข้ามาด้วย พยายามที่จะทำเต็มที่และทำให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ด้านสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางราง มีการติดตามด้านการก่อสร้างโครงดารรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เพื่อดูแลผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งมีการรายงานเป็นระยะ

นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่มีการกำหนดมาตรการป้องกันและดูแลประชาชนที่ใช้ระบบขนส่งทางรางเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปดำเนินการ และวันที่ 29 มกราคมนี้ จะมีการประชุมหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับประชุมกับกรมควบคุมโรคเพื่ออีกครั้งว่าที่ดำเนิการอยู่ครอบคลุมและช่วยดูแลประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ต้องเพิ่มคงามเข้มขนหรือไม่ เช่น ต้องมีการฆ่าเชื้อทุกครั้งในการเดินรถ หรือต้องดูแลจุดใดเป็นสำคัญ


Last edited by Wisarut on 31/01/2020 12:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 9:51 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
โคโรนาทำพิษ! จ่อเลื่อนถกไฮสปีดไทย-จีน “ประยุทธ์” สั่งฟื้นรถไฟระนอง-ชุมพรเชื่อม EEC
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 27 มกราคม 2563 - 19:53 น.

เลี่ยง”ไวรัสโคโรนา” ปรับแผนประชุมไฮสปีด”ไทย-จีน”ทางไกล เคาะสัญญา 2.3 ซื้อระบบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 มกราคม 2563 - 19:35



“ศักดิ์สยาม”เตรียมชงครม. จัดประชุมทางไกล “รถไฟไทย-จีน”เพื่อตกลงสัญญา2.3 ซื้อระบบไฮสปีด หลังจีนเผชิญไวรัสโคโรนา เร่งไม่ให้ล่าช้าไปกว่าแผนมากกว่านี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับฝ่ายจีนในการประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 แต่เนื่องจาก จีนประสบปัญหาโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 แพร่ระบาด และคาดว่าจะอยู่ในสถานการณ์นี้ไปอีกระยะหนึ่ง จึงอาจจะต้องพิจารณา ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมทางไกล ทางวิดีโอ (Video conference) แทนการเดินทางมาประชุมร่วมที่ประเทศไทย ตามกำหนดเดิม

โดยรอทางจีน พิจารณาระเบียบของจีนก่อน ว่าสามารถทำได้หรือไม่ หากจีนตอบตกลงไม่ติดขัดระเบียบ ทางกระทรวงคมนาคม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอจัดประชุมทางไกล รถไฟไทย-จีน ซึ่งไม่น่ามีปัญหาเนื่องจาก ที่ผ่านมามีการเจรจาข้อตกลงรายละเอียดร่างสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาทไว้แล้ว ส่วนการลงนามในสัญญา 2.3 นั้น สามารถส่งเอกสารผ่านทางสถานทูตได้ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้าไปจากแผนมากนัก โดยแผนเดิม จะประชุมJC ครั้งที่ 28 ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ตรวจสอบขั้นตอนและประสานกับทางฝ่ายจีน

สำหรับการก่อสร้างงานโยธาช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 120,162.126 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 14 สัญญา โดยอยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญา ได้แก่ ช่วงกลางดง – ปางอโศก และช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ส่วนอีก 12สัญญา อยู่ระหว่างประมูล และรอลงนามสัญญาแล้วบางส่วน แต่ยังไม่สามารถลงนามได้ เนื่องจากบางช่วง มีการปรับแบบเพื่อให้รองรับกับระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะต้องเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA ) เพิ่มเติม นั้น รมว.คมนาคมกล่าวว่า จะเร่งประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยอธิบดีกรมรางรายงานว่า ได้เร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 9:55 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (52)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 26 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3536 ระหว่างวันที่ 26 - 29 มกราคม 2563

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด และเป็นบทความที่ยาวที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งคือกลุ่มบีบีเอสจึงชนะประมูลไป แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในข้อ 37. การเข้าทำ การใช้สิทธิเยียวยาโครงการฯ และการสิ้นสุดสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
37.1 กรณีเอกชนคู่สัญญาได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ได้เข้าทำสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินระหว่าง รฟท.เอกชนคู่สัญญาและผู้สนับสนุนทางการเงินตามข้อ 6.3(2)(ก) หากปรากฏว่า ในระหว่างระยะเวลาของโครงการฯเอกชนคู่สัญญาประสงค์จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากผู้สนับสนุนทางการเงินรายอื่นนอกเหนือจากผู้สนับสนุนทางการเงินที่ได้เข้าทำสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินแล้ว
หากผู้สนับสนุนทางการเงินรายดังกล่าวประสงค์จะรับก่อภาระผูกพันเหนือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหรือนำมาใช้ประโยชน์ในโครงการฯ หรือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาตกลงจะเข้าทำและจะดำเนินการทำให้ผู้สนับสนุนทางการเงินทั้งรายเดิมและรายใหม่นั้นเข้าแก้ไขสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงินเพื่อทำให้ผู้สนับสนุนทางการเงินรายใหม่เข้ามาเป็นคู่สัญญาและผูกพันตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าว ทั้งนี้ภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด
37.2 การใช้สิทธิของผู้สนับสนุนทางการเงิน ภายใต้สัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน กรณีเอกชนคู่สัญญาผิดหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสาระสำคัญของสัญญาจัดหาเงินสนับสนุน ผู้สนับสนุนทางการเงิน มีสิทธิแจ้งความประสงค์ให้ รฟท.ทราบถึงการใช้สิทธิแก้ไขเยียวยาโครงการฯ (Funders’step-in rights) และ/หรือมีสิทธิเสนอนิติบุคคลที่เข้าแทนที่เพื่อเข้ามารับโอนสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา ได้โดยผู้สนับสนุนทางการเงินจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน
37.3 การเลิกสัญญาที่เข้าทำโดยตรงกับผู้สนับสนุนทางการเงิน กรณีสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนมีผลสิ้นสุดลงหรือเอกชนคู่สัญญาได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนครบถ้วนแล้ว ในกรณีดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่แจ้งไปยัง รฟท.ให้รับทราบภายในเจ็ด (7)วัน นับจากวันที่เกิดเหตุการณ์ข้างต้น



วิธีลดนน.ที่รวดเร็วที่สุดในสามโลก! อ่านเพิ่มเติม ดูสูตร
เพียงผสม 1 ช้อนลงในแก้ว.. ประหยัดเงิน! ไม่ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายหนักๆ!
อ่านต่อ
Advertiser

38. การยกเลิกวงเงินเงินสนับสนุน ภายหลังการเข้าทำสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนแล้วเอกชนคู่สัญญาตกลงจะไม่ยกเลิกวงเงินสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกวงเงินสนับสนุนทั้งหมดหรือบางส่วนในงวดใดงวดหนึ่งภายใต้สัญญาจัดหาเงินสนับสนุนโดยไม่ได้รับการอนุมัติจาก รฟท.ยกเว้นในกรณียกเลิกวงเงินสนับสนุนบางส่วนเนื่องจากเอกชนคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องใช้เงินกู้ดังกล่าวและไม่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการก่อสร้างในโครงการฯ ในกรณีดังกล่าวเอกชนคู่สัญญาจะแจ้งให้ รฟท.ทราบ
39. ข้อกำหนดทั่วไป 39.1 สัญญาฉบับนี้เป็นข้อตกลงทั้งหมด (Entire Agreement) สัญญาฉบับนี้เป็นสัญญาเบ็ดเสร็จระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลเป็นการยกเลิกความตกลงหรือความเข้าใจใดๆ ในเรื่องเดียวกันกับที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้ไม่ว่าจะทำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
39.2 การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาให้แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน จะมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและลงนามโดยผู้มีอำนาจโดยชอบตามกฎหมายไทยของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประกาศคณะกรรมการนโยบาย
ทั้งนี้ กรณีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะขอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงจะพิจารณาข้อเสนอการแก้ไขสัญญา และดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขสัญญา รวมถึงการเจรจาและการขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชนซึ่งรวมถึงการจัดสรรความเสี่ยงระหว่าง รฟท.และเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
39.3 การโอนสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา หรือการเปลี่ยนตัวคู่สัญญา เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะไม่โอนสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่บุคคลอื่น (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท.และได้ดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อที่ 39.2
39.4 ความไม่สมบูรณ์ของข้อสัญญาบางส่วน (Severability) หากข้อความ และ/หรือเงื่อนไขใดในสัญญาร่วมลงทุนตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลสมบูรณ์ หรือไม่มีผลใช้บังคับไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม คู่สัญญาตกลงให้ข้อความ และ/หรือข้อตกลง และ/หรือเงื่อนไขที่เป็นโมฆะไม่สมบูรณ์ ขัดต่อกฎหมายไทย หรือใช้บังคับไม่ได้นั้น ไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของข้อความ และ/หรือข้อตกลง และ/หรือเงื่อนไขส่วนที่เหลือ และให้ข้อความ และ/หรือข้อตกลง และ/หรือเงื่อนไขส่วนที่เหลือดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ต่อไป



คุ้มค่าน่าลงทุน! ชวนชื่น ซิตี้ จองเพียง 2,020 บ.* พร้อมรับโปรพิเศษ
หนูไม่อั้น...รับคืนครึ่งล้าน โปรพิเศษจาก ชวนชื่น ซิตี้ วัชรพล-รามอินทรา มอบส่วนลดสูงสุด 800,000 บาท*
อ่านต่อ
Advertiser

ทั้งนี้ คู่สัญญาจะใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลและโดยสุจริตในการร่วมกันแก้ไขข้อความ และ/หรือข้อตกลง และ/หรือเงื่อนไขที่เป็นโมฆะ ไม่สมบูรณ์ ขัดต่อกฎหมายไทย หรือใช้บังคับไม่ได้ดังกล่าวให้เป็นข้อสัญญาที่สมบูรณ์ และ ใช้บังคับได้ใกล้เคียงกัน หรือตรงตามเจตนารมณ์แรกเริ่มในการเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนของคู่สัญญาต่อไป โดยดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง
39.5 การเก็บรักษาความลับ การเปิดเผยข้อมูล และการรักษาข้อมูล (1) เว้นแต่กรณีตามข้อ 39.5(2) ห้ามมิให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้หรือเปิดเผย และคู่สัญญาจะดำเนินการเพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนใช้หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวข้องกับสัญญาร่วมลงทุนและข้อมูลที่เป็นความลับ เว้นแต่กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ได้รับอนุมัติจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ
(ข) การเปิดเผยตามที่กฎหมายไทยกำหนด หรือตามคำสั่งของศาล หรือหน่วยงานของรัฐ
(2) คู่สัญญาตกลงว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาร่วมลงทุนและข้อมูลที่เป็นความลับ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการกำกับดูแล คณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯรวมถึง สำนักงาน และที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานข้างต้น ผู้สนับสนุนทางการเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินโครงการฯ ผู้ถือหุ้นผู้สนใจร่วมทุน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ผู้เช่า ผู้เช่าช่วง นายหน้าประกันภัย บริษัทประกันภัย ที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการดำเนินโครงการฯ ของเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้เท่าที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการฯ ของบุคคลและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปิดเผยข้อมูลข้างต้นให้แก่บุคคลดังกล่าว คู่สัญญาฝ่ายนั้นตกลงจะรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง จากการที่บุคคลดังกล่าวนำข้อมูลข้างต้นไปใช้หรือเปิดเผยให้บุคคลอื่นต่อไป
โปรดพิจารณาหมวดสถาบันการเงินที่สนับสนุนเงินกู้ดีๆ ใครก็ตามที่ได้สัญญานี้ เขาห้ามเปลี่ยนห้ามยกเลิกเด็ดขาด อันนี้แหละครับที่ยุ่ง เหมือนยุงตีกัน!
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 362, 363, 364 ... 542, 543, 544  Next
Page 363 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©