Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180245
ทั้งหมด:13491479
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 134, 135, 136  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 11:09 am    Post subject: Reply with quote

จีน-เมียนมา : 5 โครงการสำคัญ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เตรียมเซ็นสัญญาขณะเยือนเมียนมา

วันที่ 16 มกราคม 2563


ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกในฐานะผู้นำจีน เตรียมเซ็นสัญญาสร้างโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูง หรือท่าเรือน้ำลึก ข้อตกลงเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) สร้างเส้นทางให้เชื่อมจีนไปสู่มหาสมุทรอินเดียตามแนวคิดเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road) ที่จะขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและอิทธิพลของจีนไปทั่วโลก

ท่าทีเป็นมิตรนี้สวนทางกับหลายชาติในตะวันตกที่ถอยห่างจากเมียนมาจากข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา

สำนักข่าวเอเอฟพีสรุป 5 โครงการหลักที่จีนและเมียนมาจะเจรจากันดังต่อไปนี้

โรงงานกลั่นน้ำมันของจีนที่เมืองเจ้าผิวในรัฐยะไข่ของเมียนมา

โครงการท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งรัฐยะไข่มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหัวใจหลักของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา โดยท่าเรือ “เจ้าผิว” จะเป็นเส้นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียของจีน

เมียนมาได้เจรจาลดทุนสร้างลงมาจาก 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำเร็จ เพื่อหลีกเลี่ยงติด “กับดักหนี้” กับจีน แต่อย่างไรก็ดี เมียนมาก็ต้องลงเงิน 30 เปอร์เซ็นต์ในโครงการนี้อยู่ดี

ในการสร้างท่าเรือนี้ จะมีการเปลี่ยนไร่นาและป่าสักโดยรอบให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าและอาหารแปรรูป แม้ทางการบอกว่าชาวยะไข่จะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับพิจารณารับเข้าทำงานบางตำแหน่งจากงานทั้งหมด 4 แสนตำแหน่ง แต่บางฝ่ายก็กังวลว่าจะเป็นคนจากนอกรัฐที่ได้รับผลประโยชน์

สี จิ้นผิง ย้ำ เส้นทางสายไหม โปร่งใส-ยั่งยืน

เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 คืออะไร?

เส้นทางส่วนแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเชื่อมจากมณฑลยูนนานของจีนที่ไม่มีทางออกทางทะเล ไปสู่ชายฝั่งทางฝั่งตะวันตกของพม่า

แต่ก็มีความกังวลเรื่องความมั่นคงเนื่องจากรัฐฉานของเมียนมาเต็มไปด้วยกลุ่มติดอาวุธและเป็นแหล่งผลิตยาไอซ์ หรือเมทแอมเฟตามีน กลุ่มเหล่านี้จะต้องหาทางหาผลประโยชน์ ก่อนอื่น ทางการจะต้องทำให้พวกเขาแน่ใจว่าการสร้างทางรถไฟจะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้และความมั่นคงของพวกเขา

จีนและเมียนมาจะเจรจาโครงการเปลี่ยนพื้นที่พรมแดนรัฐฉานให้กลายเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง นี่จะเพิ่มผลประโยชน์ให้กับผู้ค้าทั้งสองประเทศ ทั้งธุรกิจที่ถูกและผิดกฎหมาย


ที่ผ่านมา มีการขนส่งสารตั้งต้นซึ่งใช้ในการนำไปผลิตสารเสพติดหลายชนิดซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมค้ายาไอซ์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านพรมแดนประเทศอยู่แล้ว นี่หมายความจะยิ่งไม่มีข้อจำกัดทางพรมแดนระหว่างคู่ค้าของทั้งสองประเทศ แต่ก็อาจเกิดความรุนแรงโดยกลุ่มติดอาวุธที่จะพยายามต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

ปรับโฉมย่างกุ้งใหม่

ทางการย่างกุ้งหวังว่าจะปฏิวัติตัวเองในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจด้วยการสร้างเมืองขึ้นใหม่ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำในเมือง โดยหวังว่าเมืองใหม่นี้จะแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ประชากรแออัด และการขาดไฟฟ้าและน้ำได้

แต่โครงการมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้ ก็ได้ทำให้เกิดความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคำครหาเรื่องการทุจริตแล้ว

แม่น้ำอิรวดีเป็นเหมือนเส้นเลือดสายใหญ่หล่อเลี้ยงประเทศ

โครงการเขื่อนมิตโสน มูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้า 6,000 เมกะวัตต์ อาจเป็นประเด็นที่สำคัญมากที่สุดในการมาเยือนของจีนในครั้งนี้ แต่สาธารณชนอาจออกมาประท้วงอีกครั้งหากมีท่าทีที่จะกลับมาทำโครงการนี้อีกครั้งหลังโครงการโดนระงับไปตั้งแต่ปี 2011

ผู้วิพาษ์วิจารณ์บอกว่า การสร้างเขื่อนนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ขนาดเท่าประเทศสิงคโปร์และจะทำลายแม่น้ำอิรวดี

คิน คิน จอ จี ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันยุทธศาสตร์และนโยบายเมียน (The Institute for Strategy and Policy – Myanmar) มา บอกกับเว็บไซต์ข่าวเดอะอิรวดีในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ว่า ในการเยือนในครั้งนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง น่าจะกดดันให้เมียนมาเร่งดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผน

เธอบอกอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเมียนมาจะยิ่งแนบแน่นกว่าเก่า ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หากเมียนมาเริ่มสร้างโครงการจำนวนครึ่งหนึ่งของแผนทั้งหมดในโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

แต่ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้ก็เตือนว่าเมียนมาเองต้องวางแผนเรื่องนี้อย่างมียุทธศาสตร์

“จีนมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากเมียนมา รัฐบาลเมียนมาก็ควรจะมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเช่นกันว่าเราอยากได้อะไรจากจีน เราจะได้ผลประโยชน์อะไรจากโครงการต่าง ๆ และเราจะดำเนินโครงการเหล่านี้อย่างไรที่จะทำให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้นำจีนเตรียมเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ คาดคุยโครงการยักษ์เซ็นข้อตกลงหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 มกราคม 2563 22:07
ปรับปรุง: 17 มกราคม 2563 08:19




รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน จะเดินทางเยือนพม่าในวันศุกร์ (16) เพื่อลงนามข้อตกลงโครงสร้างพื้นฐานขนาดยักษ์และขยายอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้านที่ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกไม่ราบรื่นนักจากข้อกล่าวหาว่าดำเนินนโยบายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา

ในการเยือนพม่าครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศ และประธานาธิบดีจีนคนแรกในรอบ 19 ปี นักวิเคราะห์กล่าวว่า ผู้นำแดนมังกรจะถือโอกาสฟื้นโครงการโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่หยุดชะงัก ที่เป็นศูนย์กลางของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21

ผู้นำจีนมีกำหนดพบหารือกับนางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในกรุงเนปีดอ เมืองหลวงของพม่า

สองประเทศมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่บางครั้งเต็มไปด้วยปัญหา ด้วยชาวพม่าจำนวนมากยังสงสัยในอิทธิพลของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านที่เล็กกว่า

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอบอุ่นขึ้นนับตั้งแต่จีนเลี่ยงที่จะเข้าร่วมการตำหนิประณามพม่ากับนานาประเทศหลังปฏิบัติการของทหารในปี 2560 ทำให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 730,000 คน ต้องอพยพหลบหนีข้ามแดนไปบังกลาเทศ

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติกล่าวว่า การปราบปรามของทหารพม่ามีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แม้พม่ากล่าวว่าทหารดำเนินปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มติดอาวุธ

จีน ที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ปกป้องพม่าบนเวทีโลก ซึ่งถูกมองว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดในการดำเนินคดีที่ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ

จีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสองในพม่ารองจากสิงคโปร์ ตามข้อมูลของธนาคารโลก การส่งออกของพม่าไปจีน คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ มีมูลค่า 5,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 6,200 ล้านดอลลาร์

“ไม่มีประเทศใดลงทุนในพม่ายกเว้นจีน จีนสามารถเจรจาข้อตกลงที่ดีกับพม่า” หล่า จ่อ ซอ นักวิเคราะห์การเมือง กล่าว

รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวกับนักข่าวในกรุงปักกิ่งว่า จุดประสงค์ของการเยือนคือการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น กระชับความร่วมมือในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และทำให้แผนระเบียงเศรษฐกิจจีน-พม่าเป็นรูปธรรม



ธงชาติจีนและพม่าโบกสะบัดเคียงข้างกันตามถนนในกรุงเนปีดอวันนี้ พร้อมกับป้ายขนาดใหญ่ที่มีรูปของผู้นำแดนมังกร เจ้าหน้าที่เทศบาลทำความสะอาดถนนและตกแต่งสวน ขณะที่โรงแรมบางแห่งแขวนป้ายต้อนรับ

เจ้าหน้าที่จีน ที่รวมทั้งกระทรวงข้อมูลและสถานทูต ได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์พม่า-จีน ที่นครย่างกุ้งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา




จ่อ ติน รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศของพม่ายอมรับถึงความวิตกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ก่อนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของซูจีเข้าสู่อำนาจหลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2558

“แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพม่าและจีนแข็งแกร่งและใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเรากำลังสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศของเรา มันจะเป็นการเยือนที่ประสบความสำเร็จ และจะเกิดประโยชน์อย่างมากมาย” จ่อ ติน กล่าว

แต่โครงการยักษ์ใหญ่ของจีนมีความเสี่ยงทางการเมืองในพม่า ด้วยถูกมองว่าเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดการพลัดถิ่นฐานของชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

ในวาระการหารือช่วงสุดสัปดาห์นี้คาดว่าจะเป็นเรื่องท่าเรือน้ำลึกในรัฐยะไข่ที่ถูกลดขนาดลงในปี 2561 เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับกับดักหนี้ และโครงการเขื่อนยักษ์มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ ที่จีนให้การสนับสนุนซึ่งเวลานี้ถูกระงับไว้ในรัฐกะฉิ่น ที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้างเทียบขนาดเท่ากับสิงคโปร์ และทำให้ประชาชนหลายหมื่นคนต้องพลัดถิ่นฐาน

ซูจีเคยวิพากษ์วิจารณ์โครงการเขื่อนแห่งนี้ แต่เมื่อไม่นานนี้เธอกลับเรียกร้องให้ชาวกะฉิ่นเปิดใจ

ชาวบ้านรายหนึ่งที่ถูกบังคับให้ต้องออกจากที่ดินของตัวเองเพื่อเปิดทางให้แก่โครงการหลังการก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 2552 กล่าวว่า เธอกลัวว่าจีนจะกดดันพม่าให้ฟื้นโครงการขึ้นใหม่.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานความก้าวหน้ารถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路)
สำนักข่าวซินหัว
6 มกราคม 2020 เวลา 10:48:26
จะเร่งทำทางรถไฟสาย อิ๋วซี โม่หาน ระยะทาง 507.4 กิโลเมตร 13 สถานี ตามรายชื่อต่อไปนี้

Yuxi West Station 玉溪西站 เปืดใช้งานแล้ว เมื่อธันวาคม 2018
Yanhe Station 研和站 เปืดใช้งานแล้ว เมื่อธันวาคม 2018
Asan Station 峨山站,
Luoshan Li Station 罗里站,
Yuanjiang Station 元江站,
Mojiang Station 墨江站,
Ninglang Station 宁洱站,
Pu'er Station 普洱站, ทำเสร็จเดินทางจากคุนหมิงมาเมืองนี้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
Tongyang Station 勐养站,
Xishuangbanna Station 西双版纳站, ที่ เชียงรุ่ง - สิ้นสุดทางคู่ติดระบบรถไฟฟ้าที่นี่ จากนี้จะเป็นทางเดี่ยว ทำเสร็จเดินทางจากคุนหมิงมาเมืองนี้ประมาณ 3 ชั่วโมง
Ganlanba Station 橄榄坝站,
Mengla Station 勐腊站 และ
Mohan Station 磨憨站

โดยจะเร่งให้เสร็จในปี 2021 โดยล่าสุด สามารถเจาะอุโมงค์ Yueyatian Tunnel (月牙田隧道) ยาว 6820 เมตรที่สร้างยากมาก ได้สำเร็จเมื่อ 30 ธันวาคม 2019 หลังจากขุดอุโมงค์ Baqi (巴奇隧道) ยาว 2500 เมตร ที่นครเชียงรุ่ง (景洪市) สำเร็จ เมื่อ 17 ธันวาคม 2018

โครงการ นี้มีมูลค่าโครงการ 51,609 ล้านหยวน โดยเป็นงานโยธาและวิศวกรรมอื่นๆ 50,039 ล้านหยวน และ 1570 ล้านหยวนเป็นการซื้อรถจักรรถพ่วง เมื่อเมษายน 2019 ได้ลงทุนแลบ้ว 29,481 ล้านหยวน คิดเป็น 58.3% ของการลงทุนทั้งหมด


ตรวจพินืจการก่อสร้างอุโมงค์ Manle ทางสาย อิ๋วซี - โม่หาน เมื่อ 1 มกราคม 2020
http://www.eu233.com/art/2020/1/3/art_3806_3044000.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รายงานความก้าวหน้ารถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路)
สำนักข่าวซินหัว
6 มกราคม 2020 เวลา 10:48:26


บริษัทรถไฟจีนที่ 21 ได้เจาะอุโมงค์ Shitouzhai สำหรับ รถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน สำเร็จแล้ว
Panqu Travel
11 มกราคม 2020

บริษัทรถไฟจีนที่ 21 (中铁二十一局四公司) ได้เจาะอุโมงค์ Shitouzhai (石头寨隧道) ยาว 11842 เมตร สำหรับ รถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路) สำเร็จแล้ว เมื่อ 8 มกราคม 2020 โดยทำเสร็จก่อนเส้นตาย 117 วัน เป็นอุโมงค์ที่สร้างยากอยู่พอสมควร มีหินร่วนและหินหลากหลายและในอุโมงค์ก็ร้อนมาก

  
ข่าวจากมณฑลยูนนาน: ขุดอุโมงค์ ที่ยาวที่สุดของรถไฟสายจีนลาวได้สำเร็จ
Yunnan Information Port
13 มกราคม 2020 เวลา 16:22:18

ขุดอุโมงค์อันติง (安定隧道) ระยะทาง 17500 เมตร ที่ อยู่ระหว่าง Yuanjiang (元江) และ Mojiang (墨江) เฉพาะส่วนกลางที่ ยาว 10660 เมตร ได้สำเร็จ เมื่อ 13 มกราคม 2020
อุโมงค์อันติง เป็นอุโมงค์ ยาวที่สุดของรถไฟสายจีนลาว (คุนหมิง ไป เวียงจัน) และ เป็นอุโมงค์ที่ทะลุเขาอ้ายลาวด้วย ตอนนี้ยังเหลืออีก 6800 เมตรที่จะทำให้อุโมงค์อันติงทะลุถึงกันได้

รถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路) นั้นเริ่มจากสถานี อิ๋วซีตะวันตก (玉溪西站) บนเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง - อิ๋วซี (昆玉铁路) ผ่านอิ๋วซี พู่เอ๋อ สิบสองปันนา จนถึงด่านโม่หาน ประกอบด่้วยเส้นทางต่อไปนี้
1. ทางสายหลักระยะทาง 508.533 กิโลเมตร
2. ทางแยกจาก สถานีอิ๋วซีใต้ (玉溪南站) ไป สถานีย่านเหอ (研和站) ระยะทาง 4.367 กิโลเมตร
3. ทางรถไฟสายคุนหมิงไปอิ๋วซีช่วง สถานี อิ๋วซีตะวันตก (玉溪西站) ไป สถานีอิ๋วซีใต้ (玉溪南站) ระยะทาง 5.759 กิโลเมตร

มีการสร้างสถานี 27 สถานี และ ปรับปรุงสถานีที่มีอยู่แล้ว 2 สถานี
มีการสร้างสะพาน 134 สะพาน ยาวรวม 45.511 กิโลเมตร
มีการขุดอุโมงค์ 90 สะพาน ยาวรวม 392.416 กิโลเมตร
ดังนั้นมีอุโมงค์และสะพานยาวรวม 437.927 กิโลเมตร ซึ่งเท่ากับ 86.12% ของ ทางสายหลัก

การก่อสร้างกินเวลา 6 ปี และ มูลค่าโครงการ 51,609 ล้านหยวน

บริษัทรถไฟจีนที่ 16 สามารถขุดอุโมงค์โตจี ให้ทะลุถึงกันได้สำเร็จ
6 มกราคม 2020 เวลา 14:50

บริษัทรถไฟจีนที่ 16 (中铁十六局集团公司) สามารถขุดอุโมงค์โตจี (多吉隧道) บนทางรถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路) ระยะทาง 14.539 กิโลเมตร ให้ทะลุถึงกันได้สำเร็จ เมื่อเวลา 08:18 น. วันที่ 6 มกราคม 2020
อยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำ Talang River (他郎河南岸) ของเมือง พู่เอ๋อ (普洱市) จังหวัด Mojiang County (墨江县) โดยเริ่มทำ เมื่อ 30 มิถุนายน 2016
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รายงานความก้าวหน้ารถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路)
สำนักข่าวซินหัว
6 มกราคม 2020 เวลา 10:48:26
จะเร่งทำทางรถไฟสาย อิ๋วซี โม่หาน ระยะทาง 507.4 กิโลเมตร 13 สถานี ตามรายชื่อต่อไปนี้

Yuxi West Station 玉溪西站 เปืดใช้งานแล้ว เมื่อธันวาคม 2018
Yanhe Station 研和站 เปืดใช้งานแล้ว เมื่อธันวาคม 2018
Asan Station 峨山站,
Luoshan Li Station 罗里站,
Yuanjiang Station 元江站,
Mojiang Station 墨江站,
Ninglang Station 宁洱站,
Pu'er Station 普洱站, ทำเสร็จเดินทางจากคุนหมิงมาเมืองนี้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
Tongyang Station 勐养站,
Xishuangbanna Station 西双版纳站, ที่ เชียงรุ่ง - สิ้นสุดทางคู่ติดระบบรถไฟฟ้าที่นี่ จากนี้จะเป็นทางเดี่ยว ทำเสร็จเดินทางจากคุนหมิงมาเมืองนี้ประมาณ 3 ชั่วโมง
Ganlanba Station 橄榄坝站,
Mengla Station 勐腊站 และ
Mohan Station 磨憨站

โดยจะเร่งให้เสร็จในปี 2021 โดยล่าสุด สามารถเจาะอุโมงค์ Yueyatian Tunnel (月牙田隧道) ยาว 6820 เมตรที่สร้างยากมาก ได้สำเร็จเมื่อ 30 ธันวาคม 2019 หลังจากขุดอุโมงค์ Baqi (巴奇隧道) ยาว 2500 เมตร ที่นครเชียงรุ่ง (景洪市) สำเร็จ เมื่อ 17 ธันวาคม 2018

โครงการ นี้มีมูลค่าโครงการ 51,609 ล้านหยวน โดยเป็นงานโยธาและวิศวกรรมอื่นๆ 50,039 ล้านหยวน และ 1570 ล้านหยวนเป็นการซื้อรถจักรรถพ่วง เมื่อเมษายน 2019 ได้ลงทุนแลบ้ว 29,481 ล้านหยวน คิดเป็น 58.3% ของการลงทุนทั้งหมด


ตรวจพินืจการก่อสร้างอุโมงค์ Manle ทางสาย อิ๋วซี - โม่หาน เมื่อ 1 มกราคม 2020
http://www.eu233.com/art/2020/1/3/art_3806_3044000.html


ข้อมูล รถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路) ดูได้ที่นี่ครับ Arrow รถไฟสาย อิ๋วซี - โม่หาน (玉磨铁路) ทางส่วนใหญ่ ลาดชันที่ 12 ใน 1000 แต่ ทางช่วง Jiali เท่านั้นที่ชันขนาด 24 ในพันเท่าที่ ดงพระยาเย็น รัศมีความโค้ง 2000 เมตร แต่ ช่วง Jiali จะมีรัศมีความโค้งที่ 1600 เมตร

อุโมงค์และสะพานที่ควรกล่าวถึง 17 แห่ง
1. Wanhe Tunnel (万和隧道) ยาว 17441 เมตร อยู่แถว Asan (峨山) ยาวเป็นที่สอง
2. Xinping Tunnel (新平隧道) ยาว 14835 เมตร อยู่รอยต่อระหว่าง Xinping (新平) และ Yuanjiang (元江)
3. Yangwu Tunnel (扬武隧道) ยาว 14800 เมตร สร้างยากมาก เพราะมีทั้งหิน ทั้งโคลนและน้ำพุร้อน
4. Yuanjiang Bridge (元江特大桥) ยาว 832.2 เมตร ข้ามแม่น้ำหยวนเจียง มีหกตอม่อ ตอม่อ สามสูง 154 เมตร
5. Yueyatian Tunnel (月牙田隧道) ยาว 6820 เมตร สร้างยากมาก เพราะมีทั้งหิน ทั้งโคลนและน้ำพุร้อน และ อยู่ในรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสี่รอย
6. Anding Tunnel (安定隧道) ยาว 17476 เมตร อยู่รอยต่อระหว่าง Mojiang (墨江) และ Yuanjiang (元江) สร้างยากมาก เพราะมีทั้งหิน ทั้งโคลนและน้ำพุร้อน และ อยู่ในรอยเลื่อนแผ่นดินไหว และธรณีซับซ้น ขุดยากอีกต่างหาก
7. Tongda Tunnel (通达隧道) ยาว 11300 เมตร อยู่รอยต่อระหว่าง Mojiang (墨江) และ Yuanjiang (元江) สร้างยากมาก เพราะมีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสี่รอย รอยเลื่อนแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 1 รอย มีดินถล่ม น้ำพุร้อน ในอุโมงค์ร้อนมาก แถมยังมีแก๊สอันตรายด้วย
8. Amo River Double Bridge (阿墨江双线特大桥) จังหวัด Mojiang (墨江) ยาว 617 เมตรโดยมีช่วงกลางยาว 216 เมตร ข้ามแม่น้ำหยวนเจียง มีหกตอม่อ ตอม่อ สามสูง 154 เมตร ช่วง 3 และ 4 ยาวช่วงละ 89.5 ต้องเจาะเสาเข็มลึก 60 เมตร ตอม่อสะพานสูง 150 เมตร สร้างยาก
9. Xinhua Tunnel (新华隧道) ยาว 15845 เมตร อยู่ในอำเภอ Yutang Township จังหวัด Mojiang (墨江) สร้างยากมาก อยู่ในรอยเลื่อนแผ่นดินไหว มีรอยเลื่อนแผ่นดืนไหว มีโคลนร้อนๆ และน้ำพุร้อน
10. Shitouzhai Tunnel (石头寨隧道) ยาว 11842 เมตร จังหวัด Mojiang (墨江) สร้างยาก อยู่ในรอยเลื่อนแผ่นดืนไหว มีน้ำพุร้อน ขุดยาก
11. Bianjiang Bridge (把边江大桥) ยาว 421.5 เมตร ระหว่างจังหวัด Mojiang และจังหวัด Ninglang สร้างยาก ฝนตกเยอะ ขนอุปกรณ์ก่อสร้าวงได้ยาก
12. Dajinshan Tunnel (大金山隧道) ยาว 10657 เมตร เมือง Mohei Town, จังหวัด Ninglang และ สถานี Mohei (磨黑车站) ยื่นเข้าไปในอุโมงค์ด้วย แถมเป็นจุดอันตรายที่ดินถล่มปิดอุโมงค์ได้ง่าย
13. Dajianshan Tunnel (大尖山隧道) ยาว 14,207 เมตร อยู่จังหวัดปกครองตัวเองหนิงเอ๋อ ของ เผ่าฮานี และเผ่าอี๋ (Ning'er Hani and Yi Autonomous County) ซึ่งขึ้นตรงกับจังหัดพู่เอ๋อ (普洱市)
14. Hoi Pai Shan Tunnel (会排山隧道) เมือง Puwen Town, นครเชียงรุ่ง ยาว7475 เมตร สร้างยากเพราะมีกรณีดินถล่ม สี่หน
15. Meng yang tunnel (勐养隧道) ยาว 13539 เมตร มีหินปนดิน ในนครเชียงรุ่ง (景洪市)
16. The Mengla Tunnel (勐腊隧道) ยาว 13018 เมตร อยู่แถว เมืองลา (Mengla) และ Manla สร้างค่อนข้างยาก และ อยู่กลางป่าร้อนชื้น ทำขบวนได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
17. Shanggang No. 1 tunnel (尚岗一号隧道) ยาว 5790 เมตร อยู่แถว เมืองลา (Mengla) อยู่กลางป่าร้อนชื้น ทำขบวนได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนอุโมงค์รถไฟอื่นๆ ดูได้ที่นี่ครับ : List of railway tunnels in Mainland china (中华人民共和国铁路隧道列表)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

"ที่ดิน ราง และระบอบ : การแย่งชิงค่าเช่าทางเศรษฐกิจในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ธนวรรณ เหรียญทิพยะสกุล และภูพิงค์ ตั้งสิตาพร
16 กุมภาพันธ์ 2563

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนาในหัวข้อ "ที่ดิน ราง และระบอบ : การแย่งชิงค่าเช่าทางเศรษฐกิจในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งนำเสนอโดย อาจารย์ ดร.ตฤณ ไอยะรา อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การสัมมนาในครั้งนี้ อาจารย์ ดร.ตฤณ ไอยะรา เริ่มต้นจากการกล่าวถึงนโยบายรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งอ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ของ อาจารย์ ดร.ตฤณ ที่ได้ทำการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยศึกษาในไทยเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่า ไทยริเริ่มโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 โดยวางแผนจะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่สอง (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปัจจุบัน) และระยอง อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่สามารถสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายได้จนกระทั่งเจรจากับประเทศจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553 และในปีเดียวกันนั้นเอง มาเลเซียก็เริ่มวางแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ต่อมาในปี พ.ศ.2555 ลาวจึงเริ่มเจรจาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกับจีน ขณะที่อินโดนีเซียลงนามในสัญญาดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงจาร์กาตาไปเมืองบันดุงกับจีนในปี พ.ศ. 2558

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าในทศวรรษที่ผ่านมานั้น ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มวางแผนดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงขึ้นเนื่องจากสาเหตุสองประการ ประการแรก คือ ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในภูมิภาคนี้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นผ่านโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ส่วนสาเหตุประการที่สอง คือ จีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกรถไฟความเร็วสูงรายใหม่ของโลกมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการก่อสร้าง ประเทศต่าง ๆ จึงสามารถกำหนดรายละเอียดของข้อตกลงได้เหมาะสมตรงตามความต้องการของประเทศตน ซึ่งอาจารย์ ดร.ตฤณ เห็นว่า 'นโยบาย' ดังกล่าวนั้นเป็นผลลัพธ์จากการต่อสู้ของกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการร่างนโยบายที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของตัวเอง

ในประเด็นระบบการเมืองและค่าเช่าทางเศรษฐกิจนั้น อาจารย์ ดร.ตฤณ กล่าวว่า ระบบการเมืองเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดว่าอำนาจมีการกระจายตัวหรือการกระจุกตัวอยู่กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ และมีความสัมพันธ์กับค่าเช่าทางเศรษฐกิจอย่างไร ทั้งนี้ หากเป็นระบอบประชาธิปไตย ค่าเช่าทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มกระจายตัวไปยังคนกลุ่มต่างๆ แต่หากเป็นระบอบเผด็จการทหาร ค่าเช่าทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มกระจุกตัวอยู่กับคนกลุ่มเล็กเพียงเท่านั้น นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ตฤณ ยังตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกสองประการ ประการแรก คือ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจมักจะเกิดขึ้นก่อนที่นโยบายจะเสร็จสิ้น เช่น ราคาที่ดินซึ่งปรับเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่าในพื้นที่แถบโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และประการที่สอง ตัวแทนจากรัฐบาลจีนคือ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีสถานะเป็นบรรษัทข้ามชาติที่รัฐถือครองความเป็นเจ้าของ (SOMNCS – State – Owned Multinational Corporation) ก็มีส่วนร่วมในการแย่งชิงค่าเช่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย

งานศึกษาของอาจารย์ ดร.ตฤณ แบ่งค่าเช่าทางเศรษฐกิจออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

(1) ค่าเช่าจากการผูกขาด ซึ่งมักเกิดขึ้นในสัญญาทวิภาคีระหว่างประเทศ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนครราชสีมา ที่มีการรับเหมาโดยจีนเพียงประเทศเดียว

(2) ค่าเช่าจากการถ่ายโอนทรัพยากร โดยในกรณีรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น การถ่ายโอนทรัพยากรจากรัฐบาลไปยังเอกชนทำให้เกิดการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้โดยง่าย (Accessibility) เอกชนจึงมีโอกาสในการทำกำไรจากการบริหารสินทรัพย์และที่ดินในบริเวณโดยรอบได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP- Public Private Partnership) รัฐบาลจึงต้องโอนสิทธิ์ในการบริหารที่ดินให้เอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินโครงการ

(3) ค่าเช่าจากการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น อินโดนีเซียที่ทำสัญญากับจีนโดยให้จีนถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงรูปแบบอื่นด้วย และ

(4) ค่าเช่าจากมูลค่าที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น

ค่าเช่าทางเศรษฐกิจข้างต้นนั้นถูกกำหนดจากรายละเอียดทางนโยบาย 3 มิติ มิติแรก คือ การเจรจากับตัวแทนต่างชาติอันจะนำไปสู่ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ 2 ประเภท ได้แก่ ค่าเช่าจากการผูกขาด และค่าเช่าจากการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มิติที่สอง คือ แผนในการสร้าง อันจะนำไปสู่ค่าเช่าจากมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ในจังหวัดพิษณุโลกที่เป็นเส้นทางของรถไฟฟ้านั้น มีการซื้อที่ดินเพื่อไว้ล่วงหน้า ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 เท่า และ มิติสุดท้าย คือ แผนในการลงทุน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แผนการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รัฐบาลไทยลงทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเอง และรัฐบาลไทยร่วมทุนกับตัวแทนรัฐบาลจีน (Joint Venture) ซึ่งหากเป็นประเภทหลัง รัฐบาลไทยอาจต้องมีการแบ่งการบริหารที่ดินให้กับตัวแทนรัฐบาลจีนเพื่อจูงใจให้เกิดการร่วมทุนขึ้น ทำให้เกิดการถ่ายโอนทรัพยากรจากรัฐบาลไทยไปยังตัวแทนรัฐบาลจีนมากขึ้น ซึ่งในบางครั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับค่าเช่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบอื่น เช่น การจำนำข้าว และสิทธิ์ในการควบคุมทรัพยากรทางธรรมชาติ

นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ตฤณ ยังกล่าวถึงความสำคัญของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ทุน ที่ดิน และแรงงานในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า การครอบครองปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกันจะนำไปสู่อำนาจในการต่อรองและข้อเรียกร้องที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ถือครองทุนจะมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง รวมถึงการบริหารโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และหากเป็นการร่วมทุนในรูปแบบ PPP รัฐบาลต้องยินยอมให้เอกชนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการที่ดิน ทำให้เอกชนสามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวค่าเช่าทางเศรษฐกิจได้ ส่วนด้านแรงงานนั้น แรงงานที่มีบทบาทสำคัญในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงคือแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Labor) ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งต่างก็มีการแก่งแย่งค่าเช่าทางเศรษฐกิจผ่านการเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงกว่าปกติ และปัจจัยการผลิตสุดท้ายคือ ที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในโครงการนี้ เนื่องจากการแย่งชิงค่าเช่าจากที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นและการโอนย้ายความเป็นเจ้าของที่ดินมีผลต่อการกำหนดโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

ในประเด็นรูปแบบการเติบโตของรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น อาจารย์ ดร.ตฤณ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
(1) Smithian Growth คือ การเติบโตที่มาจากการขยายขนาดของตลาดในระบบคมนาคมที่ครอบคลุมมากขึ้น และนำไปสู่การแบ่งงานกันทำ
(2) Marshallian Growth คือ การเติบโตที่มาจากการสร้างคลัสเตอร์ (cluster) ทางเศรษฐกิจใหม่ และ
(3) Schumpeterian Growth คือ การเติบโตที่มาจากการเรียนรู้เทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างภาคเศรษฐกิจใหม่หรือยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งอาจารย์ ดร.ตฤณ เห็นว่า นโยบายรถไฟฟ้าความเร็วสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นให้ความสำคัญกับ Smithian Growth และ Marshallian Growth มากกว่า เนื่องจากมีแรงจูงใจในการหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในที่ดินมากกว่า เพราะการลงทุนในที่ดินนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

ในตอนท้ายของการสัมมนาอาจารย์ ดร.ตฤณ อธิบายความหมายของชื่อเรื่อง 'ที่ดิน ราง และระบอบ' ว่า ทั้งสามสิ่งมีความเกี่ยวโยงกันอย่างเหนียวแน่น โดยปัจจัยที่ดินทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำระบบราง ส่วนรางก็ส่งผลให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น ขณะที่ระบอบจะเป็นตัวกำหนดว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดจะมีโอกาสในการเข้าถึงค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ แผนนโยบายจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ ประการแรก คือ รัฐบาลมีความสามารถในการผลักดันนโยบายมากน้อยเพียงใด ประการที่สอง คือปัจจัยเชิงสถาบันและกฎระเบียบที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นเป็นเช่นใด และ ประการสุดท้าย ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมีอำนาจในการล้มเลิกนโยบายมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ แผนนโยบายนั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้บอกว่าค่าเช่าทางเศรษฐกิจจะไปในทิศทางไหน แต่ค่าเช่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อาจารย์ ดร.ตฤณ ทิ้งคำถามเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าไว้สามข้อด้วยกัน ได้แก่
(1) เราควรมองโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในสถานะ Fixed Capital หรือ Mobile Capital หรือทั้งสองสถานะผสมกัน
(2) รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งานที่ดินอย่างไร และ
(3) เมื่อมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเกิดขึ้นจะทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายได้มากขึ้น แรงงานจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทักษะเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร

เราคงต้องติดตามต่อไปว่าสุดท้ายแล้วนโยบายรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะเป็นโครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลให้ประเทศไทย หรือกลายเป็นเพียงแผนนโยบายที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/03/2020 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

จีนสร้างเมืองใหม่ตรงข้าม อ.เชียงของ จ.เชียงราย
10:32 | 6 มีนาคม 2563

Click on the image for full size

ถนนอาร์ 3 เอเส้นทางการค้าระหว่างไทย ลาว และจีน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะใน สปป.ลาว นอกจากการลงทุนด้านเกษตรแปลงใหญ่ ยังสร้างเมืองขนาดใหญ่ ตรงข้าม อ.เชียงของ จ.เชียงราย อีกแห่งเพื่อรองรับการขนส่งและการท่องเที่ยวของกลุ่มทุนจีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทไห่เฉิงกรุ๊ป คือเอกชนจีนที่ได้รับสัมปทานจากทางรัฐบาลที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เก้าจวง ในเมืองเชียงรุ้ง จังหวัดสิบสองปันนา ได้รับการสนับสนุนจาดรัฐบาลกลางจีนให้ลงทุนสร้างเมืองใหม่บนเส้นทางถนนอาร์ 3 เอ เริ่มจากเมืองเชียงรุ้ง ถึงบ่อหาน เมืองล่าในจีน

Click on the image for full size
(ภาพ : เมืองใหม่ อ.เมืองล่า ห่างจากด่านบ่อหาน ประมาณ 40 กม.เป็นโครงการสนับสนุนกรเป็นเมืองศูนย์กลางโลจิสติกของอนุภูมิภาคนี้ของเมืองบ่อหาน )

เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ติดกับพรมแดนจีน เป็นอีกเมืองที่บริษัทไห่เฉิงกรุ๊ป นักลงทุนจีนได้เช่าพื้นที่ระยะยาวในลงทุนสร้างเมืองพักตากอากาศขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า และศูนย์กลางด้านการขนส่งครบวงจร ตามถนนอาร์สามเอ

Click on the image for full size
(ภาพ : แบบจำลองเมืองใหม่บริเวณบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว)

เมื่อสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเมืองเมืองบ่อเต็น มีการเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าและอาคารต่างๆบริเวณพื้นที่เขตเศษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าที่จะเปิดใช้งานในปีหน้า

Click on the image for full size
(ภาพ : บริเวณด่านบ่อเต็น สปป.ลาว เป็นจุดแรกที่รถไฟฟ้าจากจีนเข้าสู่ สปป.ลาวสู่นครหลวงเวียงจันทน์ )

เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เป็นอีกหมุดหมายการลงทุนของทุนจีน บริษัทเดียวกันที่ลงทุนสร้างเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็น ได้มีการลงทุนสร้างเมืองใหม่อีกแห่งเชิงสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 ที่เมืองห้วยทราย ตรงข้ามพรมแดน อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อสำรวจการก่อสร้างเมืองล่าสุดเริ่มมีการก่อสร้างโรงแรมตึกแฝด และศูนย์การค้า อนาคตปลายสุดท้ายถนนอาร์สามเอบรเวณนี้ จะมีนักท่องเที่ยวจีน และนักลงทุนเข้ามาในเมืองใหม่จำนวนมาก

Click on the image for full size
(ภาพ :จำลองเมืองตากอากาศครบวงจร และศูนย์กลางโลจิสติก เชิงสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว)

ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ผู้อำนวยการศูนย์ China Intelligence Center วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าลักษณะการลงทุนของบริษัทเอกชนจีน รูปแบบการลงทุนจะเริ่มจากการลงทุนด้านการขนส่ง และเน้นสร้างเมืองท่องเที่ยวตากอากาศขึ้นใหม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกอย่างครัน ถือว่าเป็นนโยบายหลักของจีนที่เน้นส่งเสริมการลงทุน เชื่อมต่อกับมณฑลยูนนานเพราะไม่มีทางออกทางทะเล และพื้นที่ใกล้ที่สุดและมีศักยภาพ คือ ลาว เมียนมา จึงส่งเสริมสร้างให้เป็นประตูการค้าเชื่อมระหว่างเอเซียใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และแรงงานสามารถตอบโจทย์การลงทุน ดังนั้นจึงเห็นการลงทุนการเพาะปลูกขนาดใหญ่ มีเรื่องสิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนให้กับประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีน เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าของทุนจีนเข้าสู่มณฑลยูนนานผ่านถนนอาร์ 3 เอ

Click on the image for full size
(ภาพ : เส้นทางขนส่งถนนอาร์สามเอ ที่จะเชื่อมการขนส่งสินค้ารถไฟฟ้าของจีน )

ด้านความเคลื่อนไหวการลงทุนด้านอำเภอเชียงของ นายธนิสร กระฎมพร รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ระบุว่า นับตั้งแต่มีการเปิดถนนมาอาร์สามเอ และสะพานในช่วงแรกอาจมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนซื้อที่เก็บไว้ แต่หลังเปิดสะพานการขนส่งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงยังไม่เห็นการลงทุนทั้งขนาดใหญ่ ส่วนการลงทุนของทุนไทยในฝั่ง สปป.ลาว ล่าสุดทางการแขวงบ่อแก้วก็หันไปร่วมกับทุนจีนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่แล้ว

รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ยังระบุว่าหลังการเข้ามาลงทุนของทุนจีน สร้างเมืองใหม่ที่เมืองต้นผึ้ง สามเหลี่ยมทองคำ ห่างจากเมืองห้วยทรายประมาณ 60 กิโลเมตร ทำให้มีชาวจีนเข้ามาลงทุนจำนวนมาก และขยายการลงทุนมาในพื้นที่เมืองห้วยทรายปัจจุบัน มีการขยายตัวของการลงทุนจากกลุ่มทุนจีน อาคาร บ้านเมืองเริ่มมีความเจริญมากขึ้น มีโรงแรมขนาดใหญ่ และบ้านพักอาศัย อาคารที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังเริ่มมีการก่อสร้างทางด่วนจากพรมแดนจีนมาที่เมืองห้วยทราย ซึ่งจะทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าสะดวกมากขึ้นใช้เวลาเพียง 1.30 ชั่วโมง

Click on the image for full size
(ภาพ : ศูนย์การค้า และการลงทุนขนาดใหญ่ในเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ของกลุ่มทุนจีน )

ในอนาคตรูปแบบการค้า และการท่องเที่ยวบริเวณเชียงของ และห้วยทราย อาจเปลี่ยนไป หลังจากทางด่วน และรถไฟฟ้าจีนแล้วเสร็จในปีหน้า ผู้อำนวยการศูนย์ China Intelligence Center วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า อิทธิพลการค้าของจีนที่มีใน สปป.ลาวที่เชื่อมทั้งการขนส่ง และการท่องเที่ยว โดยทุนจีนจะใช้กลุ่มทุนจีนเองดึงนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น ส่วน อ.เชียงของ ปัจจุบันแม้เป็นประตูนำเข้าและส่งออกผัก ผลไม้ที่สำคัญระหว่างไทยกับประเทศจีน แต่อนาคตจีนสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่เมืองบ่อหาน ส่วนศูนย์กลายกระจายสินค้าของไทยอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้นเชียงของต้องปรับบทบาทตัวเองให้กับการลงทุนของจีน เพราะด่านบ่อหาน รัฐบาลกลางจีนกำหนดให้เป็นด่านกลุ่มสินค้าประเภทการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce อ.เชียงของอาจต้องวางบทบาทตัวเองเป็นหนึ่งในศูนย์กระจายสินค้าอีคอมเมิร์ซ เพื่อเป็นฮับสินค้าในไทย และอาเซียน ทั้งระบบการขนส่ง และการตรวจทางศุลกากรจะใช้ระบบมาตรฐานเดียวกันก็จะทำให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าไม่ใช่เพียงเส้นทางผ่านสินค้าเหมือนในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2020 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อู่ฮั่นคืนชีพ! เตรียมเปิดให้บริการรถไฟเกือบ 100 ขบวน เริ่ม 8 เม.ย.นี้
เผยแพร่: 4 เม.ย. 2563 17:56 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เมื่ออู่ฮั่นฟื้น รถสินค้าจากอู่ฮั่นไป Duisburg ประเทศเยอรมันีก็เริ่มการเดินรถสินค้าข้ามทวีปอีกหน
http://www.xinhuanet.com/english/europe/2020-03/28/c_138925781_2.htm


ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรป จากเมืองอู่ฮั่นเริ่มกลับมาเปิดให้บริการ
China Radio International. CRI
พุธที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 13:35:19
ตั้งแต่ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางจีน-ยุโรป ที่มีจุดเริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น เริ่มกลับมาเปิดให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ มีรถไฟออกเดินทางแล้ว 6 ขบวน บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานรวม 566 ตู้ ไปยังจุดหมายปลายทางใน 5 ประเทศยุโรป ได้แก่ เมืองฮัมบูร์ก และเมืองดุยส์เบิร์ก ของเยอรมนี เมืองท่ามาลาสเซอวิสเซอ ของโปแลนด์ เมืองท่าดอร์จ ของฝรั่งเศส กรุงบูดาเปสต์ ของฮังการี และเมืองปาร์ดูบีตเซ ของเช็ค

ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางจีน-ยุโรป ให้บริการแก่ประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป รายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยมีความได้เปรียบทั้งเรื่องความปลอดภัย ความสะดวก ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติน้อย จึงเป็นช่องทางขนส่งทางบกสายหลักระหว่างประเทศ ภายใต้สถานการณ์ที่โควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลก ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางนี้ ไม่เพียงแต่แสดงบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูการทำงานและการผลิตของวิสาหกิจในห่วงโซ่อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ เพื่อประกันการค้าระหว่างจีน-ยุโรปเท่านั้น หากยังกลายเป็นช่องทางสำคัญในการขนส่งเวชภัณฑ์ สำหรับการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ระหว่างประเทศด้วย


Last edited by Wisarut on 27/04/2020 8:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2020 10:35 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มการวางรางจากอิ๋วซีไปด่านโมหานระยะทาง 508 กิโลเมตร สำหรับรถไฟลาวจีนช่วงเมืองจีน เมื่อ 7 เมษายน 2020 ทางรถไฟสายนี้พิกัดความเร็วที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหมือนแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงที่เดินรถอยู่ แต่เป็นทางคู่ติดระบบรถไฟฟ้า ถึงเมืองเชียงรุ่งเท่านั้น จากเชียงรุ่งถึงด่านโม่หานเป็นทางเดี่ยวติดระบบรถไฟฟ้า โดยจะเร่งการวางรางให้เชื่อมกับฝั่งลาวก่อนสิ่้นปี 2020 และขณะนี้ได้เริ่มการวางรางที่ฝั่งลาว เมื่อ 27 มีนาคม 2020 ด้วย

ข่าวจากไชน่าเดลี่ เมื่อ 7 เมษายน 2020 เวลา 22:08 น.
http://www.chinadaily.com.cn/a/202004/07/WS5e8c8964a310aeaeeed50969.html
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2908600282560641&id=1525104484243568&__tn__=H-RH-R

จีนเริ่มปูรางจากอิ๋วซีมาด่านโม่หานเ (บ่อหาน) ระยะทาง 508 กิโลเมตร
https://www.allinlaos.com/2020/04/19365/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2020 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

ขุดอุโมงค์จิ่งควน (Jingkong) หมายเลข 2 ยาว 4600 เมตร กว้าง 80 เมตร พื้นที่หน้าตัด 249 ตารางเมตร ที่เชียงรุ่ง (จิ่งหง) ทางรถไฟสายอิ๋วซีไปด่านโม่หาน ระยะทาง 508 กิโลเมตร สำเร็จเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2020 โดยสำนักการรถไฟลำดับที่ 22 (China Railway 22nd Bureau Group)
https://twitter.com/i/web/status/1251775037125746695
https://www.xinhuathai.com/china/%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99-%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e0%b9%83_20200419
https://www.facebook.com/AeroLaos/videos/247173159806528/

จีน-ลาว ใช่อื่นไกล สร้างอุโมงค์รถไฟเชื่อม 2 ประเทศเสร็จแล้ว เตรียมเปิดใช้ปีหน้า
เกาะกระแสโลก
วันที่ 20 เมษายน 2563 - 07:48 น.
อุโมงค์จีน-ลาวเสร็จแล้ว ปีหน้าเปิดใช้ รถไฟสายคุนหมิง-เวียงจันทน์
วันที่ 20 เมษายน 2563 - 03:42 น.

วันที่ 19 เมษายน 2563 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า โครงการอุโมงค์ทางรถไฟ คุนหมิง–เวียงจันทน์ ซึ่งเชื่อมระหว่างมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับลาว ได้สร้างเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.)

โครงการนี้มีชื่อว่า อุโมงค์จิ่งควนหมายเลข 2 (Jingkuan No.2) ความยาวประมาณ 4.6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเมืองจิ่งหง มณฑลยูนนาน


อุโมงค์แห่งนี้มีทางออกใหญ่พิเศษเป็นระยะทาง 80 เมตร โดยมีพื้นที่หน้าตัดของการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดถึง 249 ตารางเมตร สาเหตุที่ต้องสำรองพื้นที่ขนาดใหญ่ก็เพื่อเอื้ออำนวยต่อการขยายเส้นทางรถไฟสายใหม่ในอนาคต

หวังกวนอิง ผู้จัดการโครงการของบริษัทสำนักการรถไฟลำดับที่ 22 ของจีน (China Railway 22nd Bureau Group) กล่าวว่า เนื่องจากความกว้างใหญ่ของอุโมงค์ส่วนนี้ ทีมเทคนิคจึงได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการเกิดเหตุอุโมงค์ถล่ม ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว

อุโมงค์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายอวี้ซี–โม่ฮัน (Yuxi-Mohan) ระยะทาง 508 กิโลเมตรของทางรถไฟคุนหมิง–เวียงจันทน์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการพร้อมกับเส้นทางรถไฟสายบ่อเต็น–เวียงจันทน์ ในลาว ที่จะสร้างเสร็จภายในปี 2021

ทางรถไฟข้ามพรมแดนเป็นโครงการสำคัญภายใต้แผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (BRI) โดยทางรถไฟระยะทางราว 1,000 กิโลเมตรนี้ จะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างคุนหมิงและเวียงจันทน์เหลือเพียงครึ่งวัน


Last edited by Wisarut on 22/04/2020 12:48 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 134, 135, 136  Next
Page 48 of 136

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©