RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180563
ทั้งหมด:13491797
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2020 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ครับโครงการทางรถไฟจากปากบาราไปท่าเรือสงขลาใหม่ที่ จะนะ
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/ProjectOTP/2553/Project7/1-FinalReport.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2020 11:13 am    Post subject: Reply with quote

ยุติโครงการท่าเรือปากบารา หลังกระทบประมงพื้นบ้าน
พฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563

'กรมเจ้าท่า' เซ็นสัญญายุติโครงการท่าเรือปากบารา หลังชาวบ้านประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบ เตรียมศึกษา-ออกแบบท่าเรือขนส่งสินค้าฝั่งอันดามันเพิ่ม

วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563 เวลา 10:30 น. ณ ห้องประชุม 1 กระทรวงคมนาคม นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานรับฟังข้อร้องเรียนจากเครือข่ายประชาชน ติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เรื่อง “ยกเลิกโครงการท่าเรือนำ้ลึกจังหวัดสตูล (ปากบารา)และขอให้แก้ไขปัญหาชาวประมงพื้นบ้านและฐานทรัพยากรประมงและชายฝั่ง” โดยมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม(หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง), นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังข้อร้องเรียน


นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือนำ้ลึกฯ (ปากบารา) แล้วเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

นอกจากนี้การพัฒนาเพื่อการขนส่งทางน้ำยังคงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนา โดยกรมเจ้าท่าได้เสนอโครงการศึกษาและออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้า บริเวณชายฝั่งอันดามันตอนล่าง (ในพื้นที่ จ.กระบี่ จ.พังงา จ.ตรัง จ.สตูล) ในปี 2564 ส่วนการแก้ไขปัญหาชาวประมงพื้นบ้าน กรมเจ้าท่าได้มีการซักซ้อมแนวทางการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน กับเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าแล้ว เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และได้รับข้อเสนอแนะของสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยไปพิจารณาหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป

ชาวสตูลร้องยกเลิกท่าเรือน้ำลึกปากบารา
พฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563

ชาวสตูลร้องยกเลิกโครงการฯ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จี้แก้ปัญหาเรือประมงพื้นบ้าน ขณะที่กรมเจ้าท่าแจงการพัฒนาการขนส่งทางน้ำจำเป็น


นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปฏิบัติการ เป็นผู้แทนกรมเจ้าท่า รับข้อร้องเรียนจากเครือข่ายประชาชน ติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เรื่อง “ยกเลิกโครงการท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสตูล (ปากบารา) และขอให้แก้ไขปัญหาชาวประมงพื้นบ้านและฐานทรัพยากรประมงและชายฝั่ง”


โดยรองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้ชี้แจงเบื้องต้นว่า กรมเจ้าท่าได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) แล้วเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ไปแล้ว แต่การพัฒนาเพื่อการขนส่งทางน้ำยังคงมีความจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งกรมเจ้าท่าได้เสนอโครงการศึกษาและออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้า บริเวณชายฝั่งอันดามันตอนล่าง (ในพื้นที่ จ.กระบี่ จ.พังงา จ.ตรัง จ.สตูล) ในปี 2564

ส่วนการแก้ไขปัญหาชาวประมงพื้นบ้าน กรมเจ้าท่าได้มีการซักซ้อมแนวทางการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน กับเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าแล้ว เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วและได้รับข้อเสนอแนะของสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2020 9:49 am    Post subject: Reply with quote

ลุยศึกษาท่าเรือน้ำลึกอันดามัน-อ่าวไทย
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

พัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมเรือ-รถ-ราง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการกรมเจ้าท่า (จท.) ศึกษาการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทางภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าฝั่งอันดามัน-อ่าวไทยแห่งใหม่ พร้อมหารือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมทางหลวง (ทล.) เรื่องเส้นทางโลจิส ติกส์ เชื่อมต่อการขนถ่ายสินค้าทางเรือ-รถราง เพื่อสรุปเลือกพื้นที่เหมาะสมนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป เนื่องจากแผนการก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสตูล (ปากบารา) ถูกยุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ในรายละเอียดไปแล้ว เพราะชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กรมเจ้าท่ารายงานให้ทราบว่า อยู่ระหว่างศึกษาพัฒนาท่าเรือ 2 แห่ง ได้แก่
1. ท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 กำลังสำรวจออกแบบและศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) แต่เกิดปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ประกอบกับ โครงการซ้ำซ้อนกับพื้นที่พัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้หารือกับ ศอ.บต. เพื่อความชัดเจนก่อนดำเนินการ ซึ่งท่าเรือสงขลา 2 อยู่ห่าง จ.สงขลาประมาณ 30 กม. ตามเป้าหมายจะเริ่มพัฒนาในปี 65 แล้วเสร็จในปี 70 แบ่งการพัฒนาออกเป็น ระยะ 1 รับเรือกินน้ำลึก 12.5 เมตร ความลึกหน้าท่า 14.0 เมตร และระยะ 2 รับเรือกินน้ำลึก 13.9 เมตร ความลึกหน้าท่า 15.4 เมตร รองรับปริมาณสินค้าทั่วไปได้ 2.5 ล้านตันต่อปี และรองรับสินค้าตู้ได้ 5 แสน ที.อี.ยู.ต่อปี

สำหรับแห่งที่ 2 ท่าเรือปัตตานี เพื่อการขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค ได้แก่ ท่าเรือสินค้าชายฝั่งอยู่ระหว่างปรับปรุง

คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 79.97 ล้านบาท ปรับปรุงแล้วเสร็จภายในปี 64 นอกจากนี้ ยังศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบ เพื่อพัฒนาท่าเทียบเรือในอ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี ใช้วงเงินประมาณ 40 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จในปี 64 เพื่อพัฒนาให้รองรับเรือขนส่งสินค้า 5,000 ตันกรอสได้ในอนาคต

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาในอนาคต จท. ได้ขอตั้งงบประมาณปี 64 - 66 วงเงิน 95 ล้านบาท ศึกษาและออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือสินค้าและท่าเรือท่องเที่ยวในพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และระนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน สนับสนุนการเชื่อมโยง BIM STEC (บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา ภูฏาน และเนปาล สู่พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อการขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการท่องเที่ยวทางน้ำ (Rivera)

สำหรับฝั่งอันดามัน จท. ได้ขอตั้งงบประมาณปี 64 - 65 ในวงเงิน 66.5 ล้านบาท ศึกษาและออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือสินค้าบริเวณอันดามันตอนล่าง จากการยุติโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งยังจำเป็นต้องมีท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณศึกษาครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอันดามันตอนล่างทั้ง จ.กระบี่ จ.พังงา จ.ตรัง และ จ.สตูล เพื่อเชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ทั้งนี้ ได้มอบให้ จท. ศึกษาแนวเส้นทางการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า เพิ่มเติม อาทิ เส้นทางจากประเทศต่าง ๆ ฝั่งตะวันออกที่ผ่านแหลมญวน (เวียดนาม)-ชุมพร/สุราษฎร์ ธานี- ระนอง-ศรีลังกา และเส้นทางจากประเทศอื่น ๆ ฝั่งตะวันตก ซึ่งมี ระยะทางใกล้ และใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าเส้นทางที่อ้อมผ่านประเทศสิงคโปร์ โดยรวมทั้งหมดแล้วคาดว่าจะใช้งบศึกษากว่า 200 ล้านบาท

รายงานข่าวจากกรมเจ้าท่า ระบุว่า โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือในพื้นที่ SEC และบริเวณฝั่งอันดามันตอนล่าง ในพื้นที่ จ.สงขลา และปัตตานี กรมจะขอรับจัดสรรงบประมาณศึกษาในปี 64 โดยคาดว่าโครงการทั้งหมดจะศึกษาแล้วเสร็จในปี 66 เพื่อเริ่มพัฒนาโครงการในช่วงปี 66-69 ซึ่งจะเป็นท่าเรือสนับสนุนการท่องเที่ยวและขนส่งสินค้า.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2020 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลุยศึกษาท่าเรือน้ำลึกอันดามัน-อ่าวไทย
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563


กรณีท่าเรือสงขลาสองที่หาดสะกอมแถวจะนะ นี่ท่าจะยุ่งหน่อย ส่วนฝั่งอันดามันจะใช้การขยายท่าเรือนาเกลือและให้ต่อทางรถไฟจากตรังไปท่าเรือนาเกลือก็ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/07/2020 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

บูมศก.ใต้เล็งถมทะเลผุดท่าเรือใหม่ฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย “ศักดิ์สยาม”สั่งลุยแลนด์บริดจ์เชื่อม
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2563 19:22 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” วางผังปี 64 เร่งศึกษาโครงข่ายคมนาคมพัฒนาโลจิสติกส์ภาคใต้ ผุดท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ผุด2 โมเดล พัฒนาท่าเรือเก่า หรือถมทะเลสร้างท่าเรือใหม่ ดันรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ แลนด์บริด์เชื่อม “ชุมพร-ระนอง”

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน“MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19” ว่า การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้ง 4 มิติ ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศนั้น มีแผนงานครอบคลุมทั่วประเทศ โดยในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ จะมีการศึกษาเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ระดับความลึกที่ 15 เมตร เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย (จ.ชุมพร-จ.ระนอง ) ซึ่งได้วาง 2 รูปแบบคือ พัฒนาท่าเรือเดิมที่มีหรือสร้างท่าเรือใหม่ ซึ่งอาจจะถมทะเล ซึ่งทั่วโลกทำ เช่น สิงคโปร์ มาเก๊า โดยจะประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และแก้ปัญหาผลกระทบประชาชน ดังนั้นจะต้องตัดสินใจ เรื่องการอนุรักษ์และบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่หากเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะทำให้เสียโอกาส ซึ่งแม้ตนจะไม่ใช่คนภาคใต้ แต่ก็อยากเห็นภาคใต้เจริญ

โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จะศึกษาส่วนของท่าเรือน้ำลึก รวมไปถึงเรื่องรูปแบบการลงทุนกับเอกชน( PPP) โดยศึกษาในปี 2564 ใช้เงินจากงบกลาง วงเงิน 75 ล้านบาท คาดว่าจะมีความชัดเจนในการลงทุน
นอกจากนี้จะมีโครงการ แลนด์บริดจ์ทั้งมอเตอร์เวย์ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ศึกษา และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษา รถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. เพื่อเชื่อมท่าเรือจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปี 2565 และนำเสนอนายกฯ ต่อไป

“จะมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่ทำคลองคอดกระ เรื่องนี้เพราะปัญหาระดับน้ำ ทะเลอันดามันและอ่าวไทย ไม่เท่ากัน ทำให้ต้องสร้างสถานีสำหรับปรับระดับน้ำ ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก และเสียเวลามากกว่า รูปแบบการทำท่าเรือ และแลนด์บริดจ์มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่เชื่อม ซึ่งจะไม่ตอบโจทย์การประหยัดเวลาและงบประมาณในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางน้ำ”

สำหรับในปี 2563 กระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อนงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี ซึ่งพบปัญหาอุปสรรค เช่น การเวนคืนโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) โดยปรับเพิ่มค่าเวนคืนให้สอดคล้องกับราคาปัจจุบัน ทำให้สามารถก่อสร้างและมีเป้าหมายเปิดให้บริการได้ตามแผนงาน รวมถึงมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา (M6) ซึ่งขณะนี้ได้เสนอผลการประมูล โครงการร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา ( O&M) ทั้ง 2 สายไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้วคาดว่าจะพิจารณาในสัปดาห์หน้า ซึ่งเอกชนขอรับผลตอบแทนต่ำกว่าราคากลางถึง 36-37% เป็นประโยชน์กับรัฐอย่างมาก

ส่วนมอเตอร์เวย์สายใหม่ “นครปฐม-ชะอำ มูลค่า 79,006 ล้านบาท ลงทุนแบบ PPP Net Cosอยู่ระหว่าง ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องเวนคืน บริเวณ จ.เพชรบุรีหากทำความเข้าใจได้จะเร่งเสนอครม. แต่หากยับติดขัดอาจต้องทบทวนรูปแบบปรับแนวเพื่อเลี่ยงจุดที่มีปัญหา แต่จะกระทบต่อการศึกษา PPP และ EIA ที่ทำให้โครงการยิ่งล่าช้าออกไป


สำหรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน กำลังแก้ปัญหาEIA แบบก่อสร้างสถานีอยุธยาโดยทำความเข้าใจกับกรมศิลปากร กรณีไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสถาปัตยกรรม

ส่วนรถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 ( การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้บรรลุข้อตกลงกับจีนแล้ว อยู่ระหว่างการแปลเอกสารสัญญาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและส่งให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายไทย และจะลงนามสัญญาในเดือนต.ค.นี้ ที่ประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ส่วนโครงการในอีอีซี เช่นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามแผนและเปิดให้บริการได้ในปี 2568 ตามแผนงาน รวมถึงเมืองการบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีการต่อขยายมอเตอร์เวย์สาย 7ไปถึงอู่ตะเภา ระยะทาง 7 กม. โดยใช้งบจากอีอีซี และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 คาดว่าจะเสนอผลประมูลต่อคณะกรรมการอีอีซี ภายในเดือนก.ค.นี้ จะสร้างความเชื่อมั่น นักลงทุนประเทศต่างๆ และคนไทยได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2020 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:

การรถไฟฯ ทุ่ม9.8หมื่นล้าน ผุดทางสายใหม่322กม. ผ่าน8จังหวัด เชื่อม"แหลมฉบัง-ทวาย"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 10:51:58 น.
ร.ฟ.ท.ได้ข้อสรุปเส้นทางเชื่อมรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเทียบเรือน้ำลึกทวายแล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 เมษายน 2558 17:06 น.


รถไฟใหม่ "พุน้ำร้อน-แหลมฉบัง" เวนคืนหมื่นไร่ เปิดหน้าดิน 8 จังหวัด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 เมษายน 2558 2558 เวลา 14:58:07 น.


พอจะเห็นแนวทางจาก ท่ากิเลนไปด่านพุน้ำร้อนจากแผนที่เทศบาลบ้านเก่าเล้ว เสียดาย ที่ ติดสินใจไม่ฟื้นฟูสถานีบ้านเก่าเพื่อการนี้เสียนี่เลยดูอ้อมโลกไปหน่อย
http://bankaokan.go.th/assets-admin/files/news/32401273455605.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2020 8:12 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ จิระพงค์ เต็มเปี่ยม: 'แลนด์บริดจ์' ที่ภาคใต้
แนวหน้า ฉบับวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563
jirapong2507@live.com

สัปดาห์นี้ผมตะลอนทัวร์อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ร่วมงานเทศกาลเดือนสิบ ในหลายพื้นที่
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญของคนภาคใต้ โดยเฉพาะ ชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง

มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรม ที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดย จะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ รับส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

ปีนี้ก็ตรงกับช่วงวันที่ 3-17 กันยายน อิ่มบุญอย่างทั่วหน้า

ในพื้นที่ภาคใต้มีการตื่นตัวเรื่องการขุดคลองไทยแนว 9A เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน เส้นทาง กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขุดคลองไทยเส้น 9A ไปแล้ว

ผมเคยถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม เมื่อครั้งท่านมาเยือนนสพ.แนวหน้า เกี่ยวกับการขุดคลองไทย แนว 9A ทาง พล.อ.ประยุทธ์ ถามผมกลับมาว่า แล้วมีคนคัดค้านหรือเปล่า ??

เมื่อเดือนที่แล้ว เว็บไซต์ นสพ.South China Morning Post ของฮ่องกง เสนอข่าว Thailand looks to cut Malacca Strait shipping time by land link between Indian, Pacific Oceans ว่า ด้วยความพยายามของประเทศไทยในการเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เพื่อที่บรรดาเรือสินค้าจะได้ไม่ต้อง เดินทางไกลแล่นอ้อมไปเข้าช่องแคบมะละกาอีกต่อไป

โครงการนี้ถูกเรียกว่า "แลนด์บริดจ์ (Land Bridge)" เป็นการก่อสร้างถนนและทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีแนวคิดว่าจะถูกนำมาใช้แทนการขุดคลอง ตัดผ่านแผ่นดินเชื่อมต่อ 2 ฝั่งทะเล เนื่องจาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า โดย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (Saksiam Chidchob)รมว.คมนาคมของไทย กล่าวว่า ช่องแคบมะละกา นั้นแออัดมาก หากมีเส้นทางอื่นที่ผ่านประเทศไทย จะช่วยลดเวลาขนส่งสินค้าได้ถึง 2 วัน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในแง่ธุรกิจ

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แนวคิดการขุดคลองตัดผ่านแผ่นดินไทย ซึ่งจะร่นระยะทาง เดินเรือได้ถึง 745 ไมล์ หรือ 1,200 กิโลเมตร ถูกพูดถึงครั้งแล้วครั้งเล่าในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

สำหรับช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทาง เดินเรือแคบๆ ตามคาบสมุทรของประเทศมาเลเซีย ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ทอดตัวไปทางตะวันออกผ่านประเทศสิงคโปร์ เป็นเส้นทางเดินเรือที่สั้นที่สุดในการเชื่อมประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อินเดีย และตะวันออกกลางเข้าด้วยกัน 1 ใน 4 ของสินค้าที่ซื้อ-ขายทั่วโลกล้วนเคยถูกขนส่งผ่านช่องแคบแห่งนี้

สำหรับโครงการใหม่ Land Bridge ที่รมว.คมนาคมระบุกับสื่อต่างประเทศนี้ ผมเข้าใจว่า ก็คง ไปทับกับ ถนนเซาท์เทิร์น เป็นทางหลวงแผ่นดิน ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจ สายกระบี่-ขนอม มี 4 ช่องจราจร และให้กำหนดเขตทางหลวงรวม 200 เมตร เพื่อกันพื้นที่วางท่อส่งน้ำมัน และทางรถไฟในอนาคตอีก 100 เมตร รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นผู้อนุมัติ

ผมใช้เส้นทางนี้บ่อยเพราะสามารถแวะลงถนนเอเชีย เส้นทางหลักที่จะล่องใต้หรือเข้ากทม.

ช่วงที่กันพื้นที่ไว้วางท่อน้ำมัน ทางรถไฟในอนาคตนั้น บางช่วงบ้านเข้าไปปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา ปลูกหญ้าไว้เลี้ยงโคขุน

ครับ แม้การขุดคลองไทย ยังอีกยาวไกล แต่ผมเห็นด้วย ที่รัฐบาลจะพัฒนาศักยภาพของถนนเส้นนี้ให้ดีกว่าเดิม ตามวัตถุประสงค์ของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกฯ เจ้าของวาจา "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า"

----------

นายกฯฟื้น'แลนด์บริดจ์' โปรเจคใหม่ต่อยอด'อีอีซี'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

Click on the image for full size

กรุงเทพธุรกิจ นายกฯ สั่งฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ สั่งทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องศึกษา ระบุเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย หลัง "อีอีซี" เดินหน้าตามแผน ชี้อีก 5 ปี ต้องมีโครงการใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า การแพร่ระบาด ของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมาก เพราะเศรษฐกิจของเรา พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมาก ดังนั้นเราต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ และพัฒนาให้เกิดการลงทุนใหม่ในประเทศ

รวมทั้งพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างผลักดัน เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) แต่ในอนาคตเรา ก็ต้องหาโครงการขนาดใหญ่ในการที่จะลงทุน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ทั้งนี้ นโยบายอีอีซีใช้เวลาในการลงทุนและก่อสร้างโครงการต่างๆ ซึ่งก็เริ่ม 5 ปีแล้ว ซึ่งในอีกระยะหนึ่งเมื่อโครงการอีอีซีสำเร็จก็ต้องหาโครงการใหม่ เช่น โครงการ สะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) ที่จะเชื่อมระหว่างทะเลภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยในพื้นที่ภาคใต้ โครงการนี้ กำลังพิจารณาว่าควรจะมีหรือไม่ ก็ให้ไปศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้

"ทุกอย่างใช้เวลาในการก่อสร้างอีอีซีเริ่มมา5 ปีแล้ว ก็ไปได้ระยะหนึ่ง ก็ต้องหาโครงการใหม่เรากำลังดูว่าจะเชื่อมตะวันตกตะวันออกได้อย่างไร ควรจะมีไหมเรื่องของแลนด์บริดจ์กำลังให้แนวทางไปศึกษากันอยู่ ผมคิดว่าก็จะช่วยเศรษฐกิจในระยะยาว ได้ในต่อไป การขนส่งข้ามตะวันตกและ ตะวันออก อ่าวไทยกับอันดามัน ท่าเรือต่างๆ ต้องพัฒนาทั้งหมด อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ต้องเดินต่อไป ขั้นตอนการศึกษา ขั้นตอน การลงทุน เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการใน ครม.ว่าให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไปศึกษาในเรื่องโครงการขนาดใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งให้ดำเนินการลักษณะเดียวกับโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ

ทั้งนี้ ต้องคิดแผนรองรับทั้งหมด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล ซึ่งต้องดูในส่วนของพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษา ให้ครบทุกด้านทั้งในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือ โลจิสติกส์และระบบรางที่จะเชื่อมโยง ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก หรือโครงการ ที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่อื่นให้ไป ศึกษาแล้วนำกลับมารายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบอีกครั้ง

รายงานข่าวระบุว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ภาคใต้ของไทยเป็นโครงการที่มีการผลักดัน มาหลายรัฐบาล โดยความคืบหน้าล่าสุด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ โดยได้งบประมาณในการ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งแยกเป็น 3 ส่วน คือ

1.การพัฒนา ท่าเรือนำลึก 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและ ทะเลอันดามัน โดยพัมนาท่าเรือน้ำลึกระนอง และพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร

2.การพัฒนาทางหลวงและมอเตอร์เวย์เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร 3.การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 120 กิโลเมตร โดยกระทรวงคมนาคม ได้รับงบประมาณในการศึกษาแล้ว โดยมีการคาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจ โลจิสติกส์ และธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย

ก่อนหน้านี้ ศักดิ์สยาม ระบุว่า การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศมีเส้นทางจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ผ่านตอนใต้ของเวียดนาม จากนั้นเดินทางขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาไปเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยหากใช้เส้นทางตอนใต้ของเวียดนามเป็นตัวตั้งจะมีเส้นทางขนส่งทางเรือ ตัดตรงเข้ามา จ.ชุมพร ของไทย ซึ่งการพัฒนาแลนด์บริดจ์เชื่อม จ.ชุมพร ไปยัง จ.ระนอง เพื่อขนส่งสินค้าออกไปทางทะเลอันดามันจะลดระยะเวลาขนส่งได้ 2 วันครึ่ง

ในขณะที่แนวทางการพัฒนา ท่าเรือน้ำลึกชุมพรและท่าเรือน้ำลึกระนองจะพัฒนาเป็นสมาร์ทพอร์ต โดยจะมีการนำ ระบบออโตเมชันมาใช้ในการบริหารจัดการท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ท่าเรือมีศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าได้มาก

ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ที่เคยสำรวจไว้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร คาดว่า จะใช้การลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท โดยจะเป็น การเชื่อมทะเลทั้ง 2 ฝั่งเข้า ด้วยกันด้วย เส้นทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อส่งน้ำมัน และท่อก๊าซ โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อในฝั่งอันดามัน คือ พื้นที่ใกล้กับท่าเรือปากบารา จ.สตูล ส่วนฝั่งอ่าวไทยอยู่ที่บริเวณ ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา

รวมทั้งมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อ พื้นที่อื่นและมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เหล็ก จะอยู่ในฝั่งอ่าวไทย ส่วนอุตสาหกรรมเบา อาจอยู่ฝั่งอันดามัน ซึ่งการพัฒนา ระบบขนส่ง ทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ ซึ่งจะมีการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2551 ครม.เคยเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ความร่วมมือเบื้องต้นกับ กลุ่มดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อสนับสนุน ค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลไทย ในการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอ่าวไทยและ ฝั่งทะเลอันดามัน

รายละเอียดเอ็มโอยูดังกล่าว ดูไบเวิลด์ จะคัดเลือกที่ปรึกษาจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับที่ปรึกษาที่ทางการไทย คัดเลือก โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผล การศึกษาภายใน 1 ปีหลังจากลงนามเอ็มโอยู โดยพิจารณาแนวเส้นทางเดิม คือ ท่าเรือปากบารา จ.สตูล มาที่ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา และ ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช หรือ จ.กระบี่-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช


"กำลังพิจารณาว่า ควรจะมีหรือไม่ให้ไปศึกษา ความเหมาะสม เป็นไปได้'
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2021 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

พม่าบอกลา'อิตาเลียนไทย'ช้ำหนัก สูญ 8 พันล้านท่าเรือน้ำลึกทวาย รัฐไทยฝันค้างเชื่อมแหลมฉบัง
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

รัฐบาลพม่าบอกเลิกสัญญาสัมปทานโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายที่อิตาเลียนไทยถือครองอยู่ พร้อมกับมองหาพันธมิตรรายใหม่ทั้งจีน-ญี่ปุ่นเพื่อขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตัดปัญหาความล่าช้าและมีปัญหาทางการเงินของทุนไทย ขณะที่รัฐบาลไทยยังฝันเคลียร์ปัญหาได้จบพร้อมเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ร่วมกันต่อเพราะทุ่มทุนไปไม่น้อยแล้ว

ยืนยันอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลพม่าตามรายงานข่าวของ เอเอฟพี ที่เผยแพร่ข่าว พม่าประกาศเมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมาว่าได้ยกเลิกสัญญาสัมปทานโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์(ITD) ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย โดยคณะกรรมการที่ดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของพม่า ระบุว่า คณะกรรมการสูญเสียความเชื่อมั่นใน ITD หลังมีปัญหาซ้ำๆ ซากๆ

"ความล่าช้าซ้ำๆ การละเมิดภาระผูกพันทางการเงินภายใต้สัญญาอย่างต่อเนื่อง และความล้มเหลวของผู้ได้รับสัมปทานที่จะยืนยันความสามารถทางการเงินในการดำเนินการพัฒนาโครงการ" คณะกรรมการฯ ระบุในคำประกาศ โดยตุน นาย ประธานคณะกรรมการบริหารงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กล่าวว่า พม่าจะมองหาผู้พัฒนารายใหม่เพื่อลงทุนในโครงการนี้

ก่อนที่จะมีข่าวออกมาจากฝั่งพม่า ทางบริษัท บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 มีรายละเอียดว่า ตามที่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป- เมนต์ และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนภายใต้บริษัทที่จดทะเบียนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Project Companies รวม 5 บริษัท ได้รับสัมปทานโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก โดยได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับคณะกรมการบริหารงานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Dawei Special Economic Zone Management Committee : DSEZ MC เพื่อดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่รวม 27 ตารางกิโลเมตร พร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำเป็นต่อนิคมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 จำนวน 6 ฉบับ และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 อีก 1 ฉบับรวมสัญญาสัมปทาน 7 ฉบับ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา Project Companies ทั้ง 5 บริษัท ได้รับหนังสือแจ้งการบอกเลิกสัญญาสัมปทานรวม 7 ฉบับ จาก DSEZ MC เนื่องจาก DSEZ MC อ้างว่า Project Companies ผิดนัดไม่ชำระค่าสิทธิตามสัญญาสัมปทาน และไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนบางประการในการเริ่มดำเนินการตามสัญญา สัมปทานได้

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และได้มีมติให้ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ จัดทำหนังสือชี้แจงและโต้แย้งข้อกล่าวหาของ DSEZ MC ข้างต้นโดยด่วน ซึ่งบริษัทฯ จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

หลังจากแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ทาง ITD ได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และหารือร่วมกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้รัฐบาลช่วยเหลือตามข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในทุกระดับ เช่น การบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม คุ้มครองการลงทุนที่อาจไม่ได้รับการชดเชยตามสัญญาในโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการเสร็จแล้วเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทและเจรจาสัญญาเช่าที่ดินให้ดำเนินต่อไปได้

ทั้งนี้ ITD ระบุว่า DSEZ MC ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้กับกลุ่มบริษัทร่วมทุน โดยอ้างเหตุกรณีไม่นำส่งหนังสือสละสิทธิของ ITD ที่ได้รับชดเชยเงินลงทุนในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะสมบูรณ์ที่ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 กับกรณีไม่ชำระค่าสิทธิสัมปทานประจำปีให้แก่ DSEZ MC ซึ่ง ITD ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างเพราะที่ผ่านมากลุ่มบริษัทลงทุนในพื้นที่ไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท โดยช่วง 5 ปี หลังลงนามสัญญา ทาง DSEZ MC ได้ส่งร่างสัญญาเช่าที่ดินให้กลุ่มบริษัทเพียงฉบับเดียว และอยู่ระหว่างเจรจา โดย DSEZ MC ไม่เคยชี้แจงเหตุผลว่าทำไมไม่พิจารณาสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว

ตามรายงานข่าวผ่านสื่อ เผยแพร่คำชี้แจงของ ITD ด้วยว่า ก่อนบอกเลิกสัญญา DSEZ MC ได้ออกหนังสือ Notice of Modification ของสัญญาสัมปทานโครงการนิคมอุตสาหกรรมระยะแรก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2562 พร้อมแจ้งความประสงค์การแก้ไขสัญญาสัมปทาน และให้สัญญาเช่าที่ดินโครงการดังกล่าวมีผล ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพราะ DSEZ MC กำหนดแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ส่งร่างสัญญาเช่าที่ดินโครงการที่เหลือกลับมาให้กลุ่มบริษัทพิจารณา ทำให้กลุ่มบริษัทได้ขอใช้สิทธิพักการชำระค่าสิทธิสัมปทานประจำปีบางส่วน จึงเป็นเหตุข้ออ้างของการบอกเลิกสัญญาในที่สุด

"ในหนังสือ Notice of Modification กำหนดเงื่อนไขบังคับเพิ่มเติมให้ ITD ลงนามในหนังสือสละสิทธิ (Deed of Release) ในการได้รับค่าชดเชยสำหรับเงินลงทุนที่ใช้ในการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งการได้รับชดเชยดังกล่าว ITD ยืนยันว่า เป็นสิทธิที่บริษัทมีตามสัญญา 3 ฝ่าย" ITD อธิบายความ

ท่าทีจากฝ่ายรัฐบาลไทยหลังเกิดเรื่องใหญ่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้หารือถึงเรื่องดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนที่จะลงมือแก้ไขปัญหาใดๆ อันดับแรกสุดนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งนายสุพัฒนพงษ์ เป็นประธานคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JHC) แทนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ ที่เคยนั่งในตำแหน่งดังกล่าว

อีกทั้งยังแต่งตั้งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย- เมียนมาเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง (JCC) เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบโครงการความร่วมมือข้ามชาตินี้หลังจากว่างเว้นนับแต่นายสมคิด หลุดจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และไม่ได้เข้ามามีบทบาทใดๆ ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีก

ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมฯ คนใหม่ ต้องโชว์วิสัยทัศน์และเรียกความเชื่อมั่นคืนมา โดยนายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า ในทางนโยบายรัฐบาลยังให้ความสำคัญกับโครงการทวาย เนื่องจากได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมต่อกับโครงการไปเป็นจำนวนมาก และโครงการทวายก็เป็นท่าเรือน้ำลึกที่จะเปิดประตูออกสู่อันดามัน

สำหรับการช่วยเหลือบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ที่พม่าบอกเลิกสัญญาและส่งหนังสือขอให้รัฐบาลช่วยเหลือนั้น ขณะนี้กำลังรอรายงานจากคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูว่ารัฐบาลจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วบริษัทเอกชนของไทยจะได้รับความคุ้มครองตามแนวทางและข้อปฏิบัติการคุ้มครองนักลงทุนอาเซียน ซึ่งคาดว่าฝ่ายกฎหมายของบริษัทเอกชนก็กำลังดูอยู่

ส่วนของรัฐบาลจะเร่งรัดการประชุมร่วม 3 ฝ่ายระหว่างไทย- เมียนมา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลไกคณะกรรมการที่มีอยู่ในโครงการนี้ เพื่อที่จะหารือถึงปัญหาการยกเลิกสัมปทานของเอกชน รวมถึงสถานะของโครงการนี้ด้วยว่าจะพัฒนาโครงการร่วมกันอย่างไรต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของไทยและพม่า

ทั้งนี้ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เป็นความร่วมมือของรัฐบาลเมียนมา รัฐบาลไทย และทุนไทย เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ซึ่งจะเปิดทางให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงมหาสมุทรอินเดียได้โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่ทอดทิ้งโครงการทวายซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-เมียนมา-ญี่ปุ่น ที่ร่วมดำเนินการกันมานานแล้วและคืบหน้าพอสมควร เพื่อเชื่อม 3 ประเทศให้มีทางออกทะเลฝั่งอันดามัน ส่วนเงินกู้ให้เมียนมากู้ 4,500 ล้านบาท สร้างถนนไปถึงทวายนั้น ถ้ากันเงินกู้ไว้ให้แล้วก็ต้องดำเนินการต่อไป

"รัฐบาลไทยลงทุนไปเยอะในเรื่องถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯกาญจนบุรี และกาญจนบุรี-ทวาย ซึ่งมีการพูดคุยกันอยู่ว่าจะช่วยเหลือกันอย่างไร รู้สึกแปลกใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะสาเหตุอะไร..." นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธาน JCC ก็ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการทวายฯ ทั้งกระทรวงคมนาคม, สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. , สศช. และสำนักงบประมาณ เพื่อหารือถึงสถานะโครงการ การปล่อยกู้ให้รัฐบาลเมียนมาสร้างถนนจากชายแดนบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี ไปถึงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งรัฐบาลยังกันเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไว้ให้รัฐบาลเมียนมา 4.9 พันล้านบาท รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่เอกชนของไทยถูกถอนสัมปทานในโครงการทวาย

สื่อท้องถิ่นอย่างเมียนมาไทมส์ รายงานว่า การบอกเลิกสัญญากับอิตาเลียนไทยของรัฐบาลพม่า อาจเพราะต้องการผู้ลงทุนรายใหม่มาร่วมโครงการที่ล่าช้ามานาน ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีความหวังจะลงทุนต่อโดยล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ทางการญี่ปุ่นส่งหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ เพราะมีบริษัทจีนสนใจจะเข้าลงทุนในโครงการนี้ซึ่งญี่ปุ่นต้องการตีกันจีนออกไป

สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชีย รายงานตรงกันว่า รัฐบาลเมียนมาต้องการขจัดความไม่แน่นอนของโปรเจกต์ออกไป โดยการตัด ITD ออกจากแผนงานระดับชาติ และหวังจะดึงดูดผู้เล่นต่างชาติรายอื่น เพื่อมาช่วยผลักดันโครงการที่หยุดยาวให้เดินหน้าต่อ โดยก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นได้ลงนามในสัมปทานกับเมียนมาและไทยในปี 2558 เพื่อเข้าร่วมโครงการและจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการนี้ผ่านธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น

แต่อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายจนกว่าจะสรุประยะแรก ทว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าร่วมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการนี้ แทนที่จะเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์

นิกเกอิ เอเชีย รายงานว่า มีกระแสข่าวบริษัทของรัฐบาลจีน แสดงความสนใจเข้าลงทุนโรงกลั่นน้ำมัน และโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย การตัดสินใจในเดือนพฤศจิกายนของญี่ปุ่นเชื่อว่า มีแรงจูงใจส่วนหนึ่งมาจากความต้องการที่จะต่อต้านอิทธิพลของจีนในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้

จีนกับญี่ปุ่นต่างช่วงชิงบทบาทการลงทุนในเมียนมา โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในเขตติลาวา ซึ่งอยู่ใกล้กรุงย่างกุ้ง เริ่มดำเนินการในปี 2558 เป็นความร่วมมือพัฒนาระหว่างรัฐและเอกชนของญี่ปุ่น ส่วนโครงการท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งรัฐยะไข่ มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหัวใจหลักของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน- เมียนมา โดยท่าเรือ "เจ้าผิว" จะเป็นเส้นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียของจีนนั้น ได้รับการสนับสนุนจากจีน

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน เพิ่งเสร็จสิ้นการเดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกในฐานะผู้นำจีน เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง มูลค่า 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เชื่อมจากมณฑลยูนนานของจีนที่ไม่มีทางออกทางทะเล ไปสู่ชายฝั่งทางฝั่งตะวันตกของพม่า

และท่าเรือน้ำลึก "เจ้าผิว" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) สร้างเส้นทางให้เชื่อมจีนไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ตามแนวคิดเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road) ที่จะขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและอิทธิพลของจีนไป ทั่วโลก

นอกจากนั้น จีนยังสนใจมีโครงการเขื่อนมิตโสน มูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้า 6,000 เมกะวัตต์

สำหรับรัฐไทย โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ที่กลุ่มทุนอิตาเลียนไทยได้รับสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2553 แต่มีความล่าช้าในการดำเนินการ กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจขณะนั้น ได้เร่งเครื่องเพื่อเดินหน้าทวายเต็มสูบ โดยในช่วงปลายปี 2558 รัฐบาลไทยและเมียนมา ได้เข้า "เทกโอเวอร์" โครงการจากอิตาเลียนไทย กลายๆ โดยดึงญี่ปุ่นเข้าร่วมถือหุ้นในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่

โดยนายสมคิด ในฐานะคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่าง เมียนมาและไทยเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (จีเอชซี) และนายญาณทุน รองประธานาธิบดีของเมียนมา ประธานร่วมขณะนั้น ได้บรรลุข้อตกลงหลังการประชุม จีเอชซี ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558 ลงนามข้อตกลงผู้ถือหุ้นใหม่ของบริษัท ทวาย เอส อี แซด ดีเวลล๊อปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) เพื่อขับเคลื่อนโครงการทวายฯ โดยมีประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับเมียนมา และไทย ฝ่ายละเท่าๆ กัน คือ 33.33% คิดเป็นเงินร่วมทุนฝ่ายละ 6 ล้านบาท เป็นหมุดหมายแรกที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมผลักดันโครงการทวาย ที่มีวงเงินลงทุนรวมกว่า 400,000 ล้านบาท ให้เกิดขึ้นได้จริง

อดีตรองนายกฯ สมคิด ยังผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อแหลมฉบังกับทวาย เช่น การเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตกด้านล่าง ช่วงกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง-ทวาย ช่วยขนส่งไปพม่าและอินเดียได้เร็วขึ้น โดยเปิดให้ลงทุนในรูปแบบ PPP ที่การรถไฟฯ ศึกษาไว้เบื้องต้นแล้ว ระยะทาง 475 กม. เป็นราง 1 เมตร สร้างขนานไปกับแนวรถไฟเดิมและสร้างบนพื้นที่ใหม่ มูลค่าลงทุน 175,000 ล้านบาท

นอกจากนั้น ยังมีโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงินลงทุน รวม 45,000 ล้าน และโครงการก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมจากกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางจากบ้านพุน้ำร้อน-ท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 132 กิโลเมตร ที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รับสัมปทานจากพม่าเพื่อให้มีเส้นทางเชื่อมต่อ รับผิดชอบการก่อสร้าง หากโครงการเสร็จจะสามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย ผ่านกาญจนบุรีมายังกรุงเทพฯ ออกไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกมากขึ้น

นับจากปี 2553 บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ได้ลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวาย ตามระยะเวลาการเช่าที่ดินมากกว่า 75 ปี ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ครอบคลุมพื้นที่ 4 แสนไร่ พร้อมด้วยถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไทย-พม่า รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยพม่า วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท

ด้วยความที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อีกทั้งการเมืองภายในของไทยและเมียนมาไม่มีเสถียรภาพ ทำให้การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในโครงการดังกล่าวของอิตาเลียนไทยฯ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ ประสบปัญหาลุ่มๆ ดอนๆ ต่อมามีการปรับสัญญา และดึงญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุน แต่โครงการยังไม่มีความคืบหน้า กระทั่งในที่สุดรัฐบาลพม่าบอกเลิกสัญญากับไทยเพื่อหันไปซบจีนแทน ขณะที่ญี่ปุ่นก็รีบรุกเข้ามามีบทบาทการลงทุนในเมียนมามากขึ้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2021 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเปิดแผนศึกษาแลนด์บริดจ์เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:01 น.
ลุยศึกษาแลนด์บริดจ์ จ่อเคาะที่ตั้งท่าเรือใหม่ 2 แห่งปีนี้

พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 18.25 น...

สนข. เปิดงานศึกษาแลนด์บริดจ์ 6 ส่วน พร้อมเคาะที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ 2 แห่ง “ชุมพร-ระนอง” ภายในปี 64 ด้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งเจ้าท่า-การท่าเรือศึกษาบริหารจัดการท่าเรือแบบอัตโนมัติเพิ่ม  


29 ม.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานผ่านการประชุมระบบทางไกล VDO CONFERENCE เรื่องแนวทางและแผนการดำเนินงาน โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องตัน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดล การพัฒนาการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) ว่าการดำเนินโครงการได้คำนึงถึงความหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต่อการดำเนินโครงการ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในปี 2564 นี้ จะดำเนินการศึกษา 6 ส่วน คือ

1.งานคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่ จ.ชุมพร และจ.ระนอง
2.งานศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกโครงการในรูปแบบต่างๆ
3.งานออกแบบแนวคิดโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย ท่าเรือ ทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)
4.งานศึกษาความเหมาะสมโครงการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
5.งานศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจ และทางเลือกการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP)

และ 6.ส่วนร่วมของภาคประชาชน ตลอดระยะเวลาโครงการ

เพื่อจะนำไปสู่การทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market sounding) ในขั้นต่อไป นอกจากนี้จะทำการออกแบบเบื้องต้นท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ตลอดจนจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พ.ศ.2562 เพื่อให้มีรายละเอียดเพียงพอสำหรับการดำเนินการประกวดราคาในลำดับต่อไป

ทั้งนี้ได้สั่งการให้กรมเจ้าท่า และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการบริหารจัดการท่าเรือแบบอัตโนมัติ (Fully Automate Port) รวมทั้งให้ สนข. จัดทำรายละเอียดของเนื้องาน โดยเฉพาะการคัดเลือกทำเลที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึก และงบประมาณที่จะดำเนินงานใน 64 ให้ชัดเจน และศึกษาหน่วยงานหลักที่จะรับผิดชอบพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการในขั้นต่อไปเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งประสานกับกระทรวงพลังงาน เพื่อศึกษาแนวทางเรื่องการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อต่อไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2021 7:49 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุย'แลนด์บริดจ์' เชื่อมขนส่ง2ฝั่งทะเล'ระนอง-ชุมพร'
แนวหน้า ฉบับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

มีรายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในวันที่ 1 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ

ขณะที่รายงานข้อมูลจาก สนข. ระบุว่า ในการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์นั้น ใช้วงเงินค่าจ้างตามสัญญาประมาณ 67 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 30 เดือน (เริ่มตั้งแต่ 2 มี.ค. 2564-1 ก.ย. 2566) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ที่จะมาดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย บมจ. ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด, บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์, บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์, บมจ. อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป, บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

สำหรับการดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์ หากสามารถดำเนินโครงการให้เกิดขึ้นในไทยได้ จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้ามากขึ้น

ในส่วนของรูปแบบการพัฒนาแลนด์บริดจ์นั้น จะประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบริเวณปลายทั้ง 2 ด้านของฝั่งทะเล จ.ระนอง และ จ.ชุมพร โดยมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่งด้วยทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน ซึ่งในขณะนี้กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการมอเตอร์เวย์เช่นกัน สำหรับรูปแบบการดำเนินโครงการฯ รัฐบาล จะลดการใช้งบประมาณ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาร่วมพัฒนาโครงการด้วย และจะมีการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

สำหรับในการศึกษาโครงการดังกล่าว มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.งานคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง
2.งานศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกโครงการในรูปแบบต่างๆ
3.งานออกแบบแนวคิด (Conceptual Design) ของโครงการแลนด์บริดจ์ ทั้งในส่วนของท่าเรือ ทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์
4.งานศึกษาความเหมาะสมโครงการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม
5.งานศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) และทางเลือกในการลงทุนโดยภาคเอกชนมาร่วมลงทุน (PPP) และ
6.การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตลอดระยะเวลาโครงการ เพื่อจะนำไปสู่การทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ในขั้นต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการนั้น จะมีการจัดทำแบบในการออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) ของท่าเรือน้ำลึก แห่งใหม่ทั้ง 2 แห่ง ศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อมในระดับ EHIA ตลอดจนจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้มีรายละเอียดเพียงพอเพื่อการดำเนินการประกวดราคาในลำดับต่อไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51, 52  Next
Page 50 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©