Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180209
ทั้งหมด:13491443
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2019 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

·

วันนี้ (16 ต.ค. 62) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือทางเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย - ญี่ปุ่น) พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ข้าราชการ ขร. และตัวแทนฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Kenji HAMAMOTO Project Development,International Policy and Project Division, Railway Bureau, MLIT (กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น) ผู้แทนจาก Japan Railway Construction,Transport and Technology Agency (JRTT) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เข้าร่วมประชุม โดยการประชุมเป็นการนำเสนอแผนการดำเนินงานและขอบเขตการศึกษา รวมทั้งแนวทางการลดต้นทุนโครงการ มีกำหนดการดำเนินงาน 6 เดือน (ตุลาคม 2562 - มีนาคม 2563) ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้นำเสนอแนวทางการลดต้นทุน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การปรับลดจำนวนตู้รถไฟจาก 12 ตู้ต่อขบวน เหลือ 8 ตู้ต่อขบวน และการปรับลดในส่วนของงานโยธา ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานต่อไป

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/516669169110032?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 10:35 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางยืนยันเดินหน้าแผนปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 11:19

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยความคืบหน้าการปรับลดค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้า ตามมติคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงที่หน่วยงานเจ้าของโครงการและควบคุมระบบการเดินรถของภาครัฐหน่วยงานต่างๆ กำลังมีคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามากำกับนโยบาย โดยเมื่อวานนี้ (6 พ.ย.) คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชุดใหม่ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานแต่งตั้งบอร์ดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า Airport Rail Link ชุดใหม่อีกหน่วยงานหนึ่ง และหลังจากแต่ละหน่วยงานมีบอร์ดกำกับนโยบายแล้ว เชื่อว่านโยบายเรื่องการปรับลดค่าโดยสารจะเดินหน้าต่ออย่างรวดเร็วตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2019 7:07 am    Post subject: Reply with quote

ปฏิรูปรถไฟไทย...ให้ออกจากสถานี
Nov 11, 2019
tdritv

รถไฟไทย ค่อยๆเคลื่อนออกจากสถานี...
.
รถไฟไทยเต็มไปด้วยปัญหา แต่ไม่ใช่ไม่มีความก้าวหน้า
ที่ผ่านมามีการพัฒนารถไฟทางคู่ ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ สร้างโอกาสธุรกิจ

ล่าสุดมีการจัดตั้งกรมราง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการกำกับดูแล
แต่ก็ยังไม่แน่ว่ากรมรางจะมีอำนาจเปลี่ยนรถไฟไทยให้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
.
สาเหตุเป็นเพราะอะไร ติดตามจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ในคิดยกกกำลังสอง ออกอากาศเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562


https://www.youtube.com/watch?v=jyinIQG7dDo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2019 8:20 pm    Post subject: Reply with quote

‘คมนาคม’ วางเป้าอุตสาหกรรมระบบราง ตั้งโมเดลปี 66 ต้องผลิตภายในประเทศเท่านั้น พร้อมคาดอีก 20 ปีต้องการ 1.2 หมื่นตู้
ข่าวคมนาคม
14 พฤศจิกายน 2562

“คมนาคม” ลุยพัฒนาอุตฯ ระบบราง สนองนโยบาย “บิ๊กตู่-ศักดิ์ศยาม” หลังอัดงบลงทุนทางรางมหาศาล พร้องกางแผน 4 ระยะ ตั้งโมเดลระบุใน TOR ปี 66 ต้องผลิตภายในประเทศเท่านั้น สั่ง ขร. จัด Market Sounding ระดมกึ๋นรัฐ-เอกชน ก่อนทำแผนชัดเจน ด้าน “ชัยวัฒน์” เผยไทยต้องการรถไฟ 1.2 หมื่นตู้ ภายใน 20 ปีข้างหน้า

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางว่า กระทรวงคมนาคม ได้หารือร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวเนื่อง พร้อมทั้งเพื่อความยั่งยืนในระบบรางของประเทศ ให้เป็นไปตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้มอบนโยบาย Thai First “ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน” พร้อมมีข้อสั่งการให้ ขร. พิจารณาปรับระยะเวลาดำเนินการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้เร็วขึ้นสอดคล้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของรัฐบาลจำนวนมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นรูปแบบเฉพาะเช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมทางอากาศ ขณะเดียวกัน มอบหมายให้ ขร. ไปจัดสำรวจความสนใจ (Market Sounding) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนภายในปีนี้ ก่อนที่จะมีการจัดทำแผนรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ ยังให้การบ้านกับ BOI ไปพิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ รองรับการลงทุนจากนักลงทุนทั้งจากภายในและจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้กำหนดแนวคิด พร้อมตั้งเป้าหมายแผนดังกล่าว โดยจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย 1.ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างและเปิดประมูลโครงการระบบรางทั้งหมด จะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ หรือผู้ผลิตที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้นโดยเขียนระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในร่างขอบเขตเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) 2.ภายในปี 2564 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องประกอบชิ้นสุดท้ายในโรงงานภายในประเทศ 3.ภายในปี 2565 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ โดยราคาของมูลค่าชิ้นส่วน (Local Content) จะต้องไม่น้อยกว่า 40% และ 4.ภายในปี 2566 เป็นต้นไป กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้า การซ่อมบำรุง รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณ ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องผลิตภายในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลัก ที่เป็นสาระสำคัญ อาทิ ตัวรถ ตู้โดยสาร ห้องควบคุม ระบบช่วงล่าง โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบเชื่อมต่อ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวนั้น เพื่อให้เกิดพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานเทคโนโลยี กลไกภาครัฐ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การพัฒนาบุคคลากรทางด้านระบบราง เนื่องจากตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ระยะ 20 ปี (M-Map) ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2580 และแผนการจัดหารถจักรของ รฟท. พ.ศ.2562 มีการประมาณการณ์ความต้องการจำนวนตู้รถไฟในประเทศไทยภายใน 20 ปีข้างหน้ารวมประมาณ 12,000 ตู้ จากในปัจจุบันที่มีอยู่ 3,729 ตู้ โดยต้องวางแผนร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตบุคลากร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางฯ ต่อไปในอนาคต รวมถึงเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านด้วย อย่างไรก็ตาม ด้านการส่งเสริมการลงทุนของ BOI นั้น จะให้สิทธิพิเศษด้านการยกเว้นภาษีการจัดตั้งโรงงานและสิทธิพิเศษด้านอื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาก่อตั้งโรงงานใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น และได้เสนอให้พิจารณาพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี รวมถึงจังหวัดตามแนวเส้นทางระบบรางด้วย

“หลังจากนี้ ขร. จะต้องไปจัดสำรวจความเห็นของภาครัฐและเอกชนว่าทำได้ไหม และให้สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อดึงดูดใจให้นักลงทุนมาดำเนินการ ซึ่งแผนทั้ง 4 ระยะนั้น เป็นตุ๊กตาที่ตั้งไว้เท่านั้น ยังไม่ได้มีการสรุป โดยหลังจากสำรวจความเห็นถึงจะทราบว่าแผนจะเป็นอย่างไร เราจะต้องเอาตัวเลขความต้องการ 12,000 ตู้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ว่านี่ คือ สิ่งที่เราอยากจะมี เพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุน” นายชัยวัฒน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2019 10:05 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ดันแผนตั้ง รง.ผลิต-ประกอบรถไฟ คาด 20 ปีต้องการใช้กว่าหมื่นตู้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 20:36
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 11:13

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนกรมการขนส่งทางราง (ขร.), สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย โดยได้รับทราบรายงานความคืบหน้าแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 ที่ได้เห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดย สนข. และ ขร. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ตามผลการศึกษาให้เป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีบัญชาให้ดำเนินการเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตและการประกอบรถไฟในไทยอย่างต่อเนื่อง และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบาย Thai First คือ ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน พร้อมมีข้อสั่งการให้ ขร.พิจารณาปรับระยะเวลาดำเนินการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้เร็วขึ้น

เดิมได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน กำหนดเวลา และเงื่อนไขการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ระหว่างปี 2563-2568 (6 ปี) ปรับให้เร็วขึ้นเป็นปี 2563-2566 (4 ปี) เพื่อให้ทันต่อความต้องการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราง เช่น ร.ฟ.ท. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร

ที่ประชุมเห็นควรใช้แผนระยะ 4 ปีในการจัดซื้อขบวนรถไฟประเภทที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงมากนัก ขณะเดียวกันให้พัฒนาประสิทธิภาพอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้มีศักยภาพรองรับเทคโนโลยีขั้นสูงตามแผนเดิม รวมทั้งมีมติให้เสนอแผนดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้มีผลบังคับในการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับระบบรางของหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ ขร.จัด Market Sounding เพื่อสำรวจความสนใจของผู้ประกอบการเอกชนที่จะลงทุนด้านระบบราง จัดทำรายละเอียดของแผนและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนอีกครั้ง

สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ เป็นเรื่องสำคัญ โดยกระทรวงคมนาคมลงทุนด้านระบบรางจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องวางแผนการพัฒนาเพื่อใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในระยะยาวต้องวางแผนทั้งการซ่อมบำรุง การพัฒนาบุคลากร การส่งเสริมการลงทุนด้านระบบราง อยากให้ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบรางฯ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง รองรับความต้องการของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ขร.จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้านระบบรางของประเทศ ให้ BOI ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมจากที่ได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ประเภทกิจการผลิตและซ่อมรถไฟไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมระบบรางสามารถดำเนินการได้ ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานเทคโนโลยี กลไกภาครัฐ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบราง เนื่องจากตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ระยะ 20 ปี (M-Map) ตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2580 และแผนการจัดหารถจักรของ ร.ฟ.ท. พ.ศ. 2562 มีการประมาณการจำนวนตู้รถไฟในประเทศไทยรวม 11,927 ตู้ โดยต้องวางแผนร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตบุคลากร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางฯ ต่อไปในอนาคต


__________________

คมนาคม มอบขร.ทำแผนระบบรางของไทย

วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 19.56 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ซึ่ง คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 ได้พิจารณาเรื่องแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ โดยเห็นชอบในหลักการ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. )และ กรมขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ตามผลการศึกษาให้เป็นรูปธรรมต่อไป



อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบตามมติที่ประชุม คจร. จากนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือกันเป็นระยะ เพื่อขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าว โดยนายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้ดำเนินการเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตและการประกอบรถไฟในไทยอย่างต่อเนื่อง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบาย Thai First คือ ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน พร้อมมีข้อสั่งการให้ ขร. พิจารณาปรับระยะเวลาดำเนินการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้เร็วขึ้น ซึ่งเดิมได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน กำหนดเวลา และเงื่อนไขการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ระหว่างปี 2563 – 2568 (6 ปี) ปรับให้เร็วขึ้นเป็น 2563 – 2566 (4 ปี) เพื่อให้ทันกับความต้องการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราง เช่น รฟท. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมเห็นควรใช้แผนระยะ 4 ปี ในการจัดซื้อขบวนรถไฟประเภทที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงมากนัก ขณะเดียวกันให้พัฒนาประสิทธิภาพอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้มีศักยภาพรองรับเทคโนโลยีขั้นสูงตามแผนเดิม รวมทั้งมีมติให้เสนอแผนดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้มีผลบังคับในการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับระบบรางของหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ ขร. จัด Market Sounding เพื่อสำรวจความสนใจของผู้ประกอบการเอกชนที่จะลงทุนด้านระบบราง จัดทำรายละเอียดของแผนและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนอีกครั้ง


นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ เป็นเรื่องสำคัญ โดยกระทรวงคมนาคมลงทุนด้านระบบรางจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องวางแผนการพัฒนาเพื่อใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในระยะยาวต้องวางแผนทั้งการซ่อมบำรุง การพัฒนาบุคลากร การส่งเสริมการลงทุนด้านระบบราง อยากให้ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบรางฯ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง รองรับความต้องการของภาครัฐ โดยในที่ประชุมได้มอบหมายให้ ขร. จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้านระบบรางของประเทศ ให้ BOI ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมจากที่ได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ประเภทกิจการผลิตและซ่อมรถไฟไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมระบบรางสามารถดำเนินการได้

ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวให้เกิดพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานเทคโนโลยี กลไกภาครัฐ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคคลากรทางด้านระบบราง เนื่องจากตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ระยะ 20 ปี (M-Map) ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2580 และแผนการจัดหารถจักรของ รฟท. พ.ศ.2562 มีการประมาณการจำนวนตู้รถไฟในประเทศไทยรวม 11,927 ตู้

โดยต้องวางแผนร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตบุคลากร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางฯ ต่อไปในอนาคต

//-------------------------------



คมนาคมหนุนเอกชนขนสินค้าทางรถไฟ *ตั้งเป้าเพิ่ม30%ภายใน3ปี *เปิดรางให้ลงทุนหัวรถจักร
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่กระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยหลังการประชุมสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกรระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ ขร.และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.ด้านการบริหารจัดการ 3.ด้านบุคลากร และ4.ด้านการตลาด

โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางให้มากขึ้นอีก 30% ภายใน 3 ปี จาก 10.4 ล้านตันต่อปี เป็น 14 ล้านตันต่อปี ซึ่งต้องจัดทำแผนให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นนำมาหารือที่ประชุมอีกครั้ง ก่อนนำเสนอนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พิจารณาเห็นชอบต่อไป

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า การจัดทำปฏิบัติการต้องกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินงานให้เห็นภาพชัดเจน โดยเฉพาะกรอบอัตรากำลังบุคลากรที่ต้องเสนอขอเพิ่ม เพื่อรองรับการเดินรถที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงสร้างแรงจูงใจและหาตลาดใหม่ เพื่อสนับสนุนแหล่งรายได้ของรฟท.

ขร.พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้รฟท.มีการบริหารจัดการและรายได้ที่สูงขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐลงทุนไป ทั้งรถไฟทางคู่ สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) และ สถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้า(คอนเทนเนอร์ยาด) ที่มีแผนก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จากที่มีอยู่13 แห่ง เพิ่มเป็น 40 แห่ง

นายสรพงศ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบการสนับสนุนเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุนหัวรถจักร และล้อเลื่อนเข้ามาเดินรถขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยใช้ศักยภาพจากรางที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้ให้รฟท.ไปวางแผนเส้นทางเดินรถทั้งปัจจุบันและอนาคตให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทับซ้อนกับการเดินรถของภาคเอกชน

***ฝากกด like 👍👍กด share 👌👌เพจข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์ ด้วยนะจ๊ะ
https://www.facebook.com/anwar.deae/posts/3248456688503869
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2019 11:03 am    Post subject: Reply with quote

เบื้องลึกผลัดใบ 2 อธิบดี “กรมท่า-กรมราง” สนองการเมืองเปลี่ยนขั้ว
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 4 ธันวาคม 2562 - 09:30 น.


อีกเก้าอี้ที่การคัดสรรสะเด็ดน้ำ คือ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ถึงจะเป็นกรมน้องใหม่ แต่คุมระบบรางทั่วประเทศ ล่าสุดชื่อ “สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” รองอธิบดีเต็งจ๋ามีแนวโน้มสูงจะได้นั่งเก้าอี้ใหญ่ในไม่ช้านี้

ไฟเขียวตั้งอธิบดี “ทย.-กรมราง” เร่งพัฒนาสนามบินภูมิภาคและปิดดีลเงินกู้รถไฟไทย-จีน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 3 ธันวาคม 2562 - 18:59
ปรับปรุง: วันที่ 4 ธันวาคม 2562 - 10:48


ครม.ตั้ง “ทวี เกศิสำอาง” ข้ามห้วยจากกรมทางหลวงนั่งเก้าอี้อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และขยับ “สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” ขึ้นอธิบดีกรมรางฯ “ศักดิ์สยาม” เผยอธิบดีกรมรางฯ คนใหม่กำลังเร่งปิดดีลเจรจาเงื่อนไขรถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (3 ธ.ค.) มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 ราย คือ

1. นายทวี เกศิสำอาง รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง (ทล.) ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน (ทย.)

2. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรมการขนส่งทางรางมีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรางของประเทศ ซึ่งขณะนี้ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รักษาการอธิบดีกรมราง อยู่ระหว่างการเจรจาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ในส่วนของสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) มูลค่า 38,558.35 ล้านบาท กับกิจการร่วมค้าไทยเอ็นจิเนียริ่งและไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) ประเด็นเงินกู้ สกุลเงินและใช้วันใดในการกำหนดอัตราค่าเงิน

โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมเจรจา ซึ่งจะได้ข้อยุติในวันนี้ (3 ธ.ค.) จากนั้นจะนัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ต่อไป



...

สำหรับกรมการขนส่งทางราง อธิบดีคนใหม่ถือว่าเข้าใจโครงการด้านระบบรางเพราะได้ร่วมทำแผนงาน แผนแม่บทรถไฟฟ้าและรถไฟไทย-จีนมาตั้งแต่แรก นอกจากนี้ กรมรางฯ ยังมีภารกิจในการทำกฎหมายลูก ด้านขนส่งทางรางอีก

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งการคัดสรรระดับรองอธิบดี (ระดับ 9) ของหน่วยงานราชการอีก 7 ตำแหน่ง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก กรมราง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2019 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

อธิบดีกรมรางตรวจ"บีทีเอส"คาด 12 ธ.ค ปชช. 2 หมื่นใช้ "สถานีสะพานตากสิน"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 ธันวาคม 2562 - 13:07
ปรับปรุง: 8 ธันวาคม 2562 - 14:03


อธิบดีกรมรางฯ ตรวจ รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสะพานตากสิน คาด 12 ธ.ค. มีผู้โดยสารกว่า 2 หมื่นคน โดยเตรียมเพิ่มเจ้าหน้าที่อีกเท่าตัวให้ บริการ และ ประสาน ขสมก. เรือโดยสาร เชื่อมรถต่อเรือ ไร้รอยต่อ

วันนี้ (8 ธ.ค.) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางรางรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง ได้ ตรวจการเตรียมความพร้อมรองรับประชาชนที่จะมาใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสะพานตากสิน ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 เพื่อร่วมรับเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ให้มีความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการที่สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสินประมาณ 2 หมื่นคน

โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ในการเตรียมความพร้อม ได้แก่

1. จัดเจ้าหน้าที่ประจำสถานีและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชนจากเดิมในช่วง 1 กะ จะทำงาน 17 คนเป็นอีกหนึ่งเท่าตัวในช่วงวันเฝ้ารับเสด็จ

2. จัดเจ้าหน้าที่ออกบัตรโดยสารฟรีให้ประชาชนเพื่อเพิ่มความสะดวก พร้อมทั้งบรืหารจัดการผู้โดยสาร และเฝ้าระวังบนชั้นชานชาลา เนื่องจากมีระยะทางสั้น และเป็นทางเดี่ยว ในช่วงที่มีประชาชนหนาแน่น เพื่อป้องกันประชาชนล้ำเข้ามาในเขตการเดินรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้ แนะนำ ให้มีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม เพื่อแนะนำเส้นทางการชื่อมต่อกับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ท่าเรือสาทร และการให้บริการเรือโดยสารของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ไอคอนสยาม

โดยทาง บีทีเอสได้หารือกับกรมการขนส่งทางรางเกี่ยวกับสภาพการตัดการความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ใต้สะพานตากสิน ซึ่งจะขอความร่วมมือให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) พิจารณาติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเพิ่มเติมและบำรุงรักษาไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งานทุกดวง และเพิ่มจำนวนจุดติดตั้งไฟในยามวิกาล

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางจะมีหนังสือถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อจัดตำรวจท้องที่ มาช่วยดูแลความปลอดภัยบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าและบริเวณโดยรอบ

พร้อมทั้งจะประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ กรุงเทพมหานคร( กทม.) เพื่อบูรณาการในเรื่องป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง ที่มีระยะทางเดินกว่าร้อยเมตรในปัจจุบัน ให้มีสภาพพร้อมให้บริการในการส่งเสริมการเชื่อมต่อ ล้อ-ราง-เรือ ให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นการเดินทางเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2020 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ เปิดสัมมนา เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD) ของประเทศไทยผ่านประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่น”
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
13 มกราคม 2563 เวลา 17:11 น.

วันที่ (13 ม.ค. 2563) เวลา 9.30 น. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวเปิดสัมมนา เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD) ของประเทศไทยผ่านประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่น” ณ โรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์พอยต์ เทอร์มินัล 21 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมการขนส่งทางราง National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) และ Japan International Cooperation Agency (JICA) ภายใต้โครงการ ASEAN-Japan Strategic Policy Research and Innovation Program เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ในประเทศอาเซียนได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่และนักวิชาการญี่ปุ่น โดยเปิดหลักสูตร เอสปรี (SPRI) (ASEAN-Japan Strategic Policy Research and Innovation Program :SPRI) ในประเด็นด้านนโยบายสาธารณะและนำประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้ในประเทศอาเซียน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับโอกาสให้ส่งเจ้าหน้าที่ของไทยศึกษาในประเด็นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD)

ประเทศไทยอยู่ระหว่างผลักดันนโยบายในการพัฒนาระบบราง โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่นในโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) เพื่อที่จะพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟ จึงไม่ใช่เพียงแต่ก่อสร้างเส้นทางรถไฟ แต่ต้องมีการวางแผนพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ดังเช่นกรณีตามแนวเส้นทางที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพหากมี การวางแผนอย่างเหมาะสม ดังนั้น การพัฒนาระบบรางร่วมกับการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในด้านดังกล่าว ทำให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา TOD ในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลและประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ร่วมเปิดการสัมมนาว่าด้วยการพัฒนาระบบรางและพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ (Seminar on Railway Development and Transit Oriented Development)
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
14 มกราคม 2563

วันนี้ (14 ม.ค. 63) เวลา 09.30 น. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมเปิดการสัมมนาว่าด้วยการพัฒนาระบบรางและพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ (Seminar on Railway Development and Transit Oriented Development) พร้อมด้วย Mr. Noboru Sekiguchi อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย Mr. Yasuhiro Okanishi Director-General for International Affairs, MLIT, Japan Mr. Masafumi Shukuri Chairman, สถาบันวิจัยด้านการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (JTTRI) พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว ณ โรงแรม Westin Grande Sukhumvit กรุงเทพฯ

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบจากประเทศชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงอย่างประเทศญี่ปุ่น เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี ให้เป็นระบบรางที่ประสบความสำเร็จ ตามกรอบแนวคิดการพัฒนา 4 ประการ ได้แก่
1. Inclusivity การสร้างการเข้าถึงระบบรางของประชาชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ด้วยการออกแบบและบริการเพื่อคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
2. Green & Safe Transport การพัฒนาระบบรางให้มีความปลอดภัย มั่นคง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. Transport Efficiency การพัฒนาระบบรางให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และสร้างโครงข่ายทางรางเพื่อเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
4. Innovation & Management การเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ในการส่งเสริมการขนส่งทางราง รวมถึงการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ระบบรางเป็นระบบการขนส่งที่ยั่งยืน
รวมทั้งผลักดันนโยบายสู่การลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การให้บริการประชาชนที่เป็นเลิศ ตอบสนองความต้องการของประชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2020 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

อธิบดีกรมรางหาทางป้องกันโรคระบาดทางรถไฟก่อนจะบานปลาย
By JNC Team - N -23 มกราคม 2563
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มี การแพร่ระบาดของ“โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019”ว่า ภายในสัปดาห์หน้าทาง ขร.ได้เตรียมที่จะมีการหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ขณะเดียวกัน จะมีการเชิญผู้บริหารของระบบขนส่งทางราง เช่น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ,บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM),บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ,รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)มาหารือถึงแนวทางการป้องการเพื่อให้ผู้ที่ใช้บริการระบบขนส่งทางรางเกิดความปลอดภัย ไม่ติดเชื้อโรคผ่านการเข้ามาใช้บริการขนส่งในระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2020 6:28 am    Post subject: Reply with quote

'รถไฟ'คุมเข้ม!! เพิ่มมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า
แนวหน้า วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563, 17.47 น.

กรมการขนส่งทางรางประสานหน่วยงานผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมาตรการด้านการป้องกันเชื้อโคโรน่า

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า และได้พบผู้ติดเชื้อในเขตประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวจีนมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมาก กรมการขนส่งทางรางได้มีความห่วงใยผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าและให้ความสำคัญในการหาแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าดังกล่าว


โดยเมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ทุกหน่วยงานที่ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(BEM) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(BTS) ได้ดำเนินการเคร่งครัดและรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดในทุกหนทาง เช่น การจัดตั้งขวดเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อที่บริเวณโต๊ะตรวจ/ห้องจำหน่ายตั๋วบนสถานีรถไฟฟ้า , เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด (ที่นั่ง ห่วง ราวจับ) รวมทั้งพ่นยาน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในตัวขบวนรถไฟฟ้าและสถานี รถไฟฟ้าก่อนให้บริการและระหว่างวัน , รวมทั้งมีบริการแจกหน้ากากอนามัยให้กับผู้ใช้บริการ

นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานได้กำชับให้นายสถานีรถไฟฟ้า (Station Controller) ตรวจสุขภาพพนักงานประจำสถานีก่อนเริ่มให้บริการประชาชน และย้ำการใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันกานแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า

สำหรับการดำเนินงานต่อไป ในวันที่ 29 มกราคม 2563 นี้ กรมการขนส่งทางรางจะจัดประชุมหารือร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้า รวมถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันประเมินและกำหนดมาตรฐานกำหนดมาตรการ และประสานความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างบูรณาการร่วมกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 63, 64, 65  Next
Page 5 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©