RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179711
ทั้งหมด:13490943
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รถไฟ'คุมเข้ม!! เพิ่มมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า
แนวหน้า วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563, 17.47 น.


อธิบดีกรมรางกำชับรถไฟฟ้าเพิ่มมาตรการป้องกันเชื้อโคโรนา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:11
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:08

อธิบดีกรมรางกำชับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมาตรการป้องกันเชื้อโคโรนา เผย 29 ม.ค.หารือร่วมกรมควบคุมโรค กรมอนามัย และผู้เดินรถไฟฟ้า ประเมินและกำหนดมาตรการเพิ่ม

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และได้พบผู้ติดเชื้อในเขตประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวจีนมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมาก

กรมการขนส่งทางรางได้มีความห่วงใยผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าและให้ความสำคัญในการหาแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท, รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ดำเนินการเคร่งครัดและรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดในทุกหนทาง เช่น

• การจัดตั้งขวดเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อที่บริเวณโต๊ะตรวจ/ห้องจำหน่ายตั๋วบนสถานีรถไฟฟ้า

• เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด (ที่นั่ง ห่วง ราวจับ) รวมทั้งพ่นยาน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในตัวขบวนรถไฟฟ้าและสถานี รถไฟฟ้าก่อนให้บริการและระหว่างวัน

• รวมทั้งมีบริการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ผู้ใช้บริการ

นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานได้กำชับให้นายสถานีรถไฟฟ้า (Station Controller) ตรวจสุขภาพพนักงานประจำสถานีก่อนเริ่มให้บริการประชาชน และย้ำการใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา

สำหรับการดำเนินงานต่อไป ในวันที่ 29 มกราคม 2563 นี้ กรมการขนส่งทางรางจะจัดประชุมหารือร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้า รวมถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันประเมินและกำหนดมาตรฐาน กำหนดมาตรการ และประสานความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างบูรณาการร่วมกันต่อไป


สั่งเข้มรถไฟฟ้า ป้องกันไวรัส "โคโรนา"
วันอาทิตย์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

กรมการขนส่งทางรางประสานหน่วยงานผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมาตรการด้านการป้องกันเชื้อโคโรนาวันนี้ (26 มกราคม 2563) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และได้พบผู้ติดเชื้อในเขตประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวจีนมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากกรมการขนส่งทางรางได้มีความห่วงใยผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าและให้ความสำคัญในการหาแนวทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาดังกล่าว


โดยเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน)(BEM) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)(BTS) ได้ดำเนินการเคร่งครัดและรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดในทุกหนทาง เช่น • การจัดตั้งขวดเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อที่บริเวณโต๊ะตรวจ/ห้องจำหน่ายตั๋วบนสถานีรถไฟฟ้า •เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด (ที่นั่ง ห่วงราวจับ) รวมทั้งพ่นยาน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในตัวขบวนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าก่อนให้บริการและระหว่างวัน •รวมทั้งมีบริการแจกหน้ากากอนามัยให้กับผู้ใช้บริการ



นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานได้กำชับให้นายสถานีรถไฟฟ้า (Station Controller) ตรวจสุขภาพพนักงานประจำสถานีก่อนเริ่มให้บริการประชาชน และย้ำการใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันกานแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสำหรับการดำเนินงานต่อไป ในวันที่ 29 มกราคม 2563 นี้ กรมการขนส่งทางรางจะจัดประชุมหารือร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้า รวมถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันประเมินและกำหนดมาตรฐานกำหนดมาตรการและประสานความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างบูรณาการร่วมกันต่อไป


Last edited by Wisarut on 27/01/2020 10:41 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2020 10:53 am    Post subject: Reply with quote

”ประกับราง”ทางคู่กว่า6ล้านชิ้น”เมดอินไทยแลนด์”
*โปรเจคท์แรกคมนาคม “Thai First”
*กรมรางจับมือหน่วยวิชาการลุยวิจัย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2507597099461793

'กรมรางฯ' เด้งรับนโยบาย Thai First ศึกษาผลิต 'ประกับรางรถไฟ' ในประเทศ
‘กรมรางฯ’ เล็งใช้ ‘เครื่องยึดเหนี่ยวราง’ ผลิตในไทยแทนจีน หนุนนโยบาย ‘Thai First’ เร่งถก วว. จ่อเคาะสรุปภายใน 6 เดือน
...นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดี ขร.นั้น เตรียมประสานความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมถึงจะจัดให้มีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรทางรางในต่างประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพ และสร้างมาตรฐานในงานระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และระบบไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาการดำเนินการนโยบาย “Thai First” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อนนั้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นการลดใช้วัสดุจากต่างประเทศ ดังนั้น ขร. จึงเตรียมหารือร่วมกับ วว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานรับรองให้ไทยสามารถพัฒนาและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) และหมอนรองรางรถไฟได้เอง ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด โดยจะช่วยประหยัดงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยังช่วยสนับสนุนการนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้

‘กรมรางฯ’ เล็งใช้ ‘เครื่องยึดเหนี่ยวราง’ ผลิตในไทยแทนจีน หนุนนโยบาย ‘Thai First’ เร่งถก วว. จ่อเคาะสรุปภายใน 6 เดือน
27 มกราคม พ.ศ. 2563

“กรมรางฯ” รับลูกนโยบาย ”Thai First-ใช้ยางพารา” เร่งบูรณาการสร้างมาตรฐานงานระบบราง ลุยผนึก วว.-ม.สงขลาฯ ศึกษาผลิต “เครื่องยึดเหนี่ยวราง” เอง หลังทางคู่เฟสแรกอิมพอร์ตแดนมังกร 6.6 ล้านตัว หวังช่วยหั่นงบลงทุน หนุนอุตฯในประเทศ คาดศึกษาเสร็จภายใน 6 เดือน พร้อมเล็งใช้ในทางคู่เฟส 2
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดี ขร.นั้น เตรียมประสานความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมถึงจะจัดให้มีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรทางรางในต่างประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพ และสร้างมาตรฐานในงานระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และระบบไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาการดำเนินการนโยบาย “Thai First” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อนนั้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นการลดใช้วัสดุจากต่างประเทศ ดังนั้น ขร. จึงเตรียมหารือร่วมกับ วว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานรับรองให้ไทยสามารถพัฒนาและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) และหมอนรองรางรถไฟได้เอง ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด โดยจะช่วยประหยัดงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยังช่วยสนับสนุนการนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้

นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ อธิบดี ขร.
ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง และหมอนรองรางรถไฟอย่างมหาศาล โดยในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ระยะทาง 993 กิโลเมตร (กม.) นั้น ได้ใช้เครื่องยึดเหนี่ยวรางกว่า 6.6 ล้านตัว และใช้หมอนรองรางรถไฟ จำนวน 1.65 ล้านหมอนรองราง ซึ่งในทางรถไฟ ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้หมอนรองรางรถไฟ 1,660 หมอนรองราง และใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง 2 ชุด (เหล็กบน-ล่าง จำนวน 4 ตัว) อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถดำเนินการได้เองนั้น จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ระยะทาง 1,483 กม.

“ทาง วว. รับที่จะเข้ามาช่วยเหลือกับเรา คือ วัสดุบางตัวเราสามารถสร้างเองได้ ดังนั้นทำไมเราไม่ทำเอง ทำให้เป็นมาตรฐานรางไทย เพราะหมอนรองรางเราสร้างเองได้แล้ว ถ้าเราสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้อีก ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณมหาศาล เพราะ ตอนนี้เรานำเข้าจากจีน โดยเครื่องยึดเหนี่ยวราง ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,700 บาทต่อ 1 ชุด ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างรวบร่วมรายละเอียด แต่ส่วนที่เห็นชัด คือ เราได้ช่วยใช้ยางพาราในประเทศ ใช้เหล็กในประเทศ และซัพพลายเออร์ ได้มีงานทำ ถ้าทำได้ และเป็นไปตามนโยบาย Thai First ด้วย” นายสรพงศ์ กล่าว

https://www.trjournalnews.com/14904
https://www.thebangkokinsight.com/279825/
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2807340425979551

กรมรางฯขานรับนโยบาย Thai First ลุยสร้างมาตรฐานระบบราง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ

27 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:58 น.

....27 ม.ค. 2563 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดี ขร.นั้น เตรียมประสานความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมถึงจะจัดให้มีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรทางรางในต่างประเทศประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพ และสร้างมาตรฐานในงานระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และระบบไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาการดำเนินการนโยบาย “Thai First” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อนนั้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นการลดใช้วัสดุจากต่างประเทศ ดังนั้น ขร. จึงเตรียมหารือร่วมกับ วว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานรับรอง ให้ไทยสามารถพัฒนาและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) และหมอนรองรางรถไฟได้เอง ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยังช่วยสนับสนุนการนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้

ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง และหมอนรองรางรถไฟอย่างมหาศาล โดยในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ระยะทาง 993 กิโลเมตร (กม.) นั้น ได้ใช้เครื่องยึดเหนี่ยวรางกว่า 6.6 ล้านตัว และใช้หมอนรองรางรถไฟ จำนวน 1.65 ล้านหมอนรองราง ซึ่งในทางรถไฟ ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้หมอนรองรางรถไฟ 1,660 หมอนรองราง และใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง 2 ชุด (เหล็กบน-ล่าง จำนวน 4 ตัว) อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถดำเนินการได้เองนั้น จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ระยะทาง 1,483 กม.

“ทาง วว. รับที่จะเข้ามาช่วยเหลือกับเรา คือ วัสดุบางตัวเราสามารถสร้างเองได้ ดังนั้นทำไมเราไม่ทำเอง ทำให้เป็นมาตรฐานรางไทย เพราะหมอนรองรางเราสร้างเองได้แล้ว ถ้าเราสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้อีก ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณมหาศาล เพราะ ตอนนี้เรานำเข้าจากจีน โดยเครื่องยึดเหนี่ยวราง ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,700 บาทต่อ 1 ชุด ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างรวบร่วมรายละเอียด แต่ส่วนที่เห็นชัด คือ เราได้ช่วยใช้ยางพาราในประเทศ ใช้เหล็กในประเทศ และซัพพลายเออร์ ได้มีงานทำ ถ้าทำได้ และเป็นไปตามนโยบาย Thai First ด้วย” นายสรพงศ์ กล่าว

นายสรพงศ์ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ได้รับโยบายจากรัฐบาล และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการรักษาสุขอนามัยในระบบขนส่งสาธาณณะระบบราง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ และเชื้อไวรัส โดยในสัปดาห์นี้ จะมีการหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการป้องกันดังกล่าว ในการเดินทางในระบบรางทั้งหมด

“ในช่วงเวลาเร่งด่วน ประชาชนเดินทางด้วยระบบรางจำนวนมาก โดยจะมีการรณรงค์และสร้างแนวทางป้องกันการติดต่อเชื้อโรคต่างๆในส่วนของระบบการเดินทางในระบบการขนส่งทางราง โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งในสัปดาห์นี้ จะเรียกผู้ประกอบการระบบขนส่งทางรางทั้งหมด มาหารือถึงแนวทางป้องกันเชื้อโรคติดต่อ จะต้องมีป้ายเตือนมีการสัมผัส และจะขอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนเรื่องของแอลกอฮอล์เช็ดมือ เพราะต้องมีการจับการโหนแตะมือ สิ่งเหล่านี้เราสามารถทำได้และคิดว่าประชาชนจะเห็นด้วยกับแนวทางเหล่านี้” นายสรพงศ์ กล่าว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2808198825893711&set=a.2020745444639057&type=3&theater


Last edited by Wisarut on 27/01/2020 11:37 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2020 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ตรวจ เยี่ยมการให้บริการประชาชน ณ สถานีรถไฟบุรีรัมย์

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชน ณ สถานีรถไฟบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 26 มกราคม 2563 โดยมี นายบรรจง จันทร นายสถานีรถไฟบุรีรัมย์ นายรุ่ง บัวใหญ่รักษา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงบุรีรัมย์ นายวิทย์ วรวงศ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับ ในโอกาสนี้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และพบปะกับผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งกำชับให้ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณสถานี และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง

เครดิตข่าวและภาพ : กระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/603506103759671
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2020 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
”ประกับราง”ทางคู่กว่า6ล้านชิ้น”เมดอินไทยแลนด์”
*โปรเจคท์แรกคมนาคม “Thai First”
*กรมรางจับมือหน่วยวิชาการลุยวิจัย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2507597099461793

กรมรางขานรับนโยบาย Thai First ลุยสร้างมาตรฐานระบบราง
เศรษฐกิจ 27 ม.ค. 2020 11:01:57

กรุงเทพฯ 27 ม.ค. - กรมการขนส่งทางรางรับลูกนโยบาย “Thai First-ใช้ยางพารา” เร่งบูรณาการสร้างมาตรฐานงานระบบราง ลุยผนึก วว.-ม.สงขลาฯ ศึกษาผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวรางเอง หวังช่วยหั่นงบ-หนุนอุตฯ ในประเทศ เล็งใช้เฟส 2 คาดศึกษาเสร็จภายใน 6 เดือน

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า หลังจากรับตำแหน่งอธิบดี ขร.นั้น เตรียมประสานความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมถึงจะจัดให้มีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรทางรางในต่างประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพและสร้างมาตรฐานในงานระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และระบบไฟฟ้า

ขณะเดียวกันตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปพิจารณาการดำเนินการนโยบาย “Thai First” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อนนั้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นการลดใช้วัสดุจากต่างประเทศ ดังนั้น ขร.จึงเตรียมหารือร่วมกับ วว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อกำหนดมาตรฐานรับรองให้ไทยสามารถพัฒนาและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) และหมอนรองรางรถไฟได้เอง ซึ่งปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยังช่วยสนับสนุนการนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้

ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้เครื่องยึดเหนี่ยวรางและหมอนรองรางรถไฟอย่างมหาศาล โดยโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ระยะทาง 993 กิโลเมตร (กม.) นั้น ได้ใช้เครื่องยึดเหนี่ยวรางกว่า 6.6 ล้านตัว และใช้หมอนรองรางรถไฟ 1.65 ล้านหมอนรองราง ซึ่งทางรถไฟ ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้หมอนรองรางรถไฟ 1,660 หมอนรองราง และใช้เครื่องยึดเหนี่ยวราง 2 ชุด (เหล็กบน-ล่าง จำนวน 4 ตัว) อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถดำเนินการได้เองนั้น จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ระยะทาง 1,483 กม.

“ทาง วว.รับที่จะเข้ามาช่วยเหลือ คือ วัสดุบางตัวสามารถสร้างเองได้ ดังนั้น ทำไมไม่ทำเอง ทำให้เป็นมาตรฐานรางไทย เพราะหมอนรองรางสร้างเองได้แล้ว ถ้าสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้อีก ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณมหาศาล เพราะ ตอนนี้นำเข้าจากจีน โดยเครื่องยึดเหนี่ยวรางราคาประมาณ 1,500-1,700 บาทต่อ 1 ชุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียด แต่ส่วนที่เห็นชัด คือ ช่วยใช้ยางพาราในประเทศ ใช้เหล็กในประเทศ และซัพพลายเออร์มีงานทำ ถ้าทำได้และเป็นไปตามนโยบาย Thai First ด้วย” นายสรพงศ์ กล่าว

นายสรพงศ์ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ได้รับโยบายจากรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเรื่องการรักษาสุขอนามัยในระบบขนส่งสาธาณณะระบบราง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจและเชื้อไวรัส โดยสัปดาห์นี้จะมีการหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการป้องกันดังกล่าว ในการเดินทางในระบบรางทั้งหมด

“ช่วงเวลาเร่งด่วนประชาชนเดินทางด้วยระบบรางจำนวนมาก โดยจะมีการรณรงค์และสร้างแนวทางป้องกันการติดต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ในส่วนของระบบการเดินทางในระบบการขนส่งทางราง โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งสัปดาห์นี้จะเรียกผู้ประกอบการระบบขนส่งทางรางทั้งหมดมาหารือถึงแนวทางป้องกันเชื้อโรคติดต่อ จะต้องมีป้ายเตือนมีการสัมผัส และจะขอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนเรื่องของแอลกอฮอล์เช็ดมือ เพราะต้องมีการจับการโหนแตะมือ สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้และคิดว่าประชาชนจะเห็นด้วยกับแนวทางเหล่านี้” นายสรพงศ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 1:47 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางฯบี้รฟม.ลดค่าจอด จูงใจประชาชนใช้รถไฟฟ้าแก้ PM2.5

วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) กล่าวว่าทางกรมรางฯได้ เตรียมเข้าหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เกี่ยวกับแนวทางการลดอัตราค่าจอดรถ 50% ในอาคารจอดแล้วจร (PARK & RIDE) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อสนองนโยบายของทางกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น และช่วยในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุม ประสานแผนปฏิบัติการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเพื่อแก้ไขปัญหา PM2.5 โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯจัดทำแผนรายงานดำเนินการแก้ไขปัญหาของแต่ละหน่วยงานทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีการบริการสาธารณะเป็นพิเศษเช่น รถเมล์ ขสมก.,รถร่วมบริการ และรถ บขส. รวมถึงการรถไฟฯ เป็นต้น


รายงานข่าวจากรฟม. ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีพื้นที่จอดรถ 4 แห่ง จอดรถได้รวม 4,923 คันประกอบด้วย 1.อาคารจอดแล้วจร สถานีคลองบางไผ่ จอดรถได้ 1,986 คัน2.อาคารจอดแล้วจร สถานีสามแยกบางใหญ่ จอดรถได้ 1,296 คัน 3.อาคารจอดแล้วจร สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ จอดรถได้ 1,076 คัน และ 4.อาคารจอดแล้วจร สถานีแยกนนทบุรี 1 จอดรถได้ 565 คัน โดยในส่วนของอัตราค่าจอดรถผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จะอยู่ที่ 2 ชั่วโมง ราคา 10 บาท หรือจอดทั้งวัน 180 บาท

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น มีพื้นที่จอดรถ 12 แห่ง จอดรถได้รวม 4,000 คัน โดยเป็นอาคารจอดรถ 3 แห่ง และลานจอดรถ 10 แห่ง ประกอบด้วย อาคารจอดรถ 9 ชั้น สถานีลาดพร้าว จอดรถได้ 2,200 คัน, ลานจอดรถสถานีรัชดาภิเษก จอดรถได้ 75 คัน,ลานจอดรถสถานีห้วยขวาง จอดรถได้73 คัน, ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จอดรถได้ 30 คัน, อาคารจอดรถ 3 ชั้น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จอดรถได้ 205 คัน, ลานจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จอดรถได้ 106 คัน

ลานจอดรถสถานีพระราม 9 จอดรถได้ 50 คัน, ลานจอดรถสถานีเพชรบุรี จอดรถได้ 54 คัน, ลานจอดรถสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จอดรถได้ 79 คัน, ลานจอดรถฝั่งตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จอดรถได้
42 คัน, ลานจอดรถสถานีสามย่าน จอดรถได้ 31 คัน โดยในส่วนของอัตราค่าจอดรถผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จะอยู่ที่ 2 ชั่วโมง ราคา 15 บาท และอาคารจอดรถสถานีหลักสอง จอดรถได้ 1,000 คัน มีอัตราค่าจอดรถผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าจะอยู่ที่ 2 ชั่วโมง ราคา 10 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2020 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (29 ม.ค. 63) เวลา 09.30 น. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการออกแบบสถานีเพื่อทุกคน โดยมีเจ้าหน้ากรมการขนส่งทางราง สถาปนิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย เข้าร่วมประชุมฯ รวมทั้ง ได้รับเกียรติวิทยกรจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข มาบรรยายในเรื่อง Universal Design และการออกแบบสถานีเพื่อทุกคน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมรับฟังองค์ความรู้และเสนอข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการออกแบบสถานีเพื่อทุกคน ที่สอดคล้องกับกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยกรมการขนส่งทางรางจะรวบรวมและสรุปข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดมาตรฐานกลางในการออกแบบสถานีที่รองรับคนทุกคนต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/604887326954882
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 11:22 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางถกรับมือ “ไวรัสโคโรนา” ยกระดับมาตรการป้องกัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 มกราคม พ.ศ. 2563, 19:18
ปรับปรุง: 30 มกราคม พ.ศ. 2563, 09:29




วันนี้ (29 ม.ค.) นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของผู้โดยสารที่เดินทางในระบบการขนส่งทางราง โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง และผู้แทนจากกรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS เข้าร่วม

ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันวางและกำหนดมาตรการแนวทาง ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โคโรนา เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการ

ที่ประชุมได้มีเห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในระบบขนส่งทางราง ซึ่งประกอบด้วย 4 ระดับตามระดับความรุนแรง ได้แก่

1) ระดับที่ 1 การเฝ้าระวัง (ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ)
2) ระดับที่ 2 พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้
3) ระดับที่ 3 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและขยายเป็นวงกว้าง
4) ระดับที่ 4 มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมควบคุมโรคพิจารณาแล้วเห็นว่ายังอยู่ในระดับที่ 2 คือ พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้ ซึ่ง ขร.ได้มีมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดแก่หน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง ดังนี้

1. ให้จัดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมทั้งแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ผู้โดยสาร 2. เพิ่มความถี่ในการเช็ดทำความสะอาดทั้งในขบวนรถ และสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้า โดยเน้นที่จุดสัมผัสร่วมต่างๆ เช่น ราวจับ ที่นั่ง เครื่องออกบัตรโดยสาร ประตูจัดเก็บบัตรโดยสาร เป็นต้น รวมทั้งพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ 3. ให้หน่วยผู้ให้บริการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลล้างมือ

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้กำชับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางเข้มงวดในการดำเนินงานตามมาตรการตามที่กำหนดไว้ โดยหากพบผู้โดยสารที่สงสัยว่าป่วยเป็นไข้ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีหรือติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

อย่างไรก็ตาม หากมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น กรมควบคุมโรคจะเป็นผู้พิจารณาในประกาศยกระดับความรุนแรงแจ้งให้ ขร.ทราบ เพื่อดำเนินการในการยกระดับตามแผนปฏิบัติการต่อไป โดย ขร.จะรายงานแผนปฏิบัติการฯ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางใช้เป็นแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (30 ม.ค. 63) เวลา 13.30 น ณ สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬา ปทุมวัน นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยชัยวุฒิ พักโพธิ์เย็น ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัย และรักษาความปลอดภัย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้า BTS ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจความปลอดภัยในการเดินทางในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางราง ตามนโยบายท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมีการแสดงวิธีการทำความสะอาดพ่นยาฆ่าเชื้อในตู้รถไฟฟ้า และตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมทั้งแจกหน้ากากอนามัยแก่ประชาชนผู้เดินทาง

หลังจากนั้นได้มีการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่อง Skynews Uk แห่งสหราชอาณาจักร. เพื่อเผยแพร่สร้างความมั่นใจในการเดินทางมาประเทศไทยให้กับประชาชนทั่วโลก
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/605680856875529
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมคลอดแผนปฏิบัติการ
ป้องกัน “Corona Virus” ในระบบราง

กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า วันนี้ (29 มกราคม 2563) เวลา 13.30 น. นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของผู้โดยสารที่เดินทางในระบบการขนส่งทางราง พร้อมด้วยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง และผู้แทนจากกรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BEM) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTS) เข้าร่วมการประชุมฯ

ในครั้งนี้เพื่อร่วมกันวางและกำหนดมาตรการแนวทาง ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โคโรนา เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายนโยบายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เร่งดำเนินการโดยเร่งด่วน

โดยที่ประชุมได้มีเห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในระบบขนส่งทางราง ซึ่งประกอบด้วย 4 ระดับตามระดับความรุนแรง ได้แก่
1) ระดับที่ 1 การเฝ้าระวัง (ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ)
2) ระดับที่ 2 พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้
3) ระดับที่ 3 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและขยายเป็นวงกว้าง
4) ระดับที่ 4 มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้สถานการณ์ปัจจุบัน กรมควบคุมโรคพิจารณาแล้วเห็นว่ายังอยู่ในระดับที่ 2 คือ พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้ ซึ่ง ขร. ได้มีมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดแก่หน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง ดังนี้ 1. ให้จัดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมทั้งแจกหน้ากากอนามัยให้กับผู้โดยสาร 2. เพิ่มความถี่ในการเช็ดทำความสะอาดทั้งในขบวนรถ และสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้า โดยเน้นที่จุดสัมผัสร่วมต่าง ๆ อาทิเช่น ราวจับ ที่นั่ง เครื่องออกบัตรโดยสาร ประตูจัดเก็บบัตรโดยสาร เป็นต้น รวมทั้งพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ 3. ให้หน่วยผู้ให้บริการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลล้างมือ

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้กำชับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางเข้มงวดในการดำเนินงานตามมาตรการตามที่กำหนดไว้ โดยหากพบผู้โดยสารที่สงสัยว่าป่วยเป็นไข้ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีหรือติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

“อย่างไรก็ตาม หากมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น กรมควบคุมโรคจะเป็นผู้พิจารณาในประกาศยกระดับความรุนแรงแจ้งให้ ขร.ทราบ เพื่อดำเนินการในการยกระดับตามแผนปฏิบัติการต่อไป โดย ขร. จะรายงานแผนปฏิบัติการฯ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางใช้เป็นแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ ต่อไป”
https://www.facebook.com/113315516739119/posts/184955949575075/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2812039358842991&set=a.2313261335387465&type=3&theater

กรมรางถกรับมือ “ไวรัสโคโรนา” ยกระดับมาตรการป้องกัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:18
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:29




วันนี้ (29 ม.ค.) นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของผู้โดยสารที่เดินทางในระบบการขนส่งทางราง โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง และผู้แทนจากกรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS เข้าร่วม

ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันวางและกำหนดมาตรการแนวทาง ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โคโรนา เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการ

ที่ประชุมได้มีเห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในระบบขนส่งทางราง ซึ่งประกอบด้วย 4 ระดับตามระดับความรุนแรง ได้แก่

1) ระดับที่ 1 การเฝ้าระวัง (ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ)
2) ระดับที่ 2 พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้
3) ระดับที่ 3 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและขยายเป็นวงกว้าง
4) ระดับที่ 4 มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมควบคุมโรคพิจารณาแล้วเห็นว่ายังอยู่ในระดับที่ 2 คือ พบผู้ติดเชื้อแต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได้ ซึ่ง ขร.ได้มีมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดแก่หน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง ดังนี้

1. ให้จัดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมทั้งแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ผู้โดยสาร 2. เพิ่มความถี่ในการเช็ดทำความสะอาดทั้งในขบวนรถ และสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้า โดยเน้นที่จุดสัมผัสร่วมต่างๆ เช่น ราวจับ ที่นั่ง เครื่องออกบัตรโดยสาร ประตูจัดเก็บบัตรโดยสาร เป็นต้น รวมทั้งพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ 3. ให้หน่วยผู้ให้บริการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลล้างมือ

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้กำชับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางเข้มงวดในการดำเนินงานตามมาตรการตามที่กำหนดไว้ โดยหากพบผู้โดยสารที่สงสัยว่าป่วยเป็นไข้ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีหรือติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

อย่างไรก็ตาม หากมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น กรมควบคุมโรคจะเป็นผู้พิจารณาในประกาศยกระดับความรุนแรงแจ้งให้ ขร.ทราบ เพื่อดำเนินการในการยกระดับตามแผนปฏิบัติการต่อไป โดย ขร.จะรายงานแผนปฏิบัติการฯ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางใช้เป็นแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ ต่อไป

'รองปลัดคมนาคม'ถกรับมือ'ไวรัสโคโรนา' ป้องกันแพร่กระจายผู้โดยสารบนรถไฟ
วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563, 20.03 น.

วันนี้ (29 มกราคม 2563) เวลา 13.30 น. นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานโประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของผู้โดยสารที่เดินทางในระบบการขนส่งทางราง พร้อมด้วย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง และผู้แทนจากกรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTS) เข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อร่วมกันวางและกำหนดมาตรการแนวทาง ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โคโรนา เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้มอบหมายนโยบายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เร่งดำเนินการโดยเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส X กรมราง
30 มกราคม 2563

ห่วงใยผู้ใช้บริการ พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารที่มาใช้บริการโดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะคลี่คลาย

วันนี้ (30 มกราคม 2563) นายชัยวุฒิ พักโพธิ์เย็น ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัย และรักษาความปลอดภัย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง เข้าชมการทำความสะอาดพ่นยาฆ่าเชื้อในขบวนรถไฟฟ้า และร่วมแจกหน้ากากอนามัยแก่ผู้ใช้บริการ ณ สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ (W1)

สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น ได้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด โดยได้กำหนดมาตรการในการทำความสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคอย่างเต็มพิกัด เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการ ด้วยการจัดเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือฆ่าเชื้อโรคให้ผู้โดยสารใช้บริเวณโต๊ะตรวจการทั้ง 2 ฝั่ง ของทุกสถานี เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดทุกสถานี ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บริเวณจุดที่ผู้โดยสารต้องสัมผัส ภายในสถานี เช่น ห้องจำหน่ายตั๋ว, เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ที่แตะบัตรโดยสาร (Gate), ราวจับบันได/ บันไดเลื่อน, ลิฟต์, ราวกันตกบริเวณชั้นจำหน่ายตั๋ว และบนชั้นชานชาลา

การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในขบวนรถไฟฟ้าทุกขบวน ก่อนเปิดให้บริการ รวมทั้งในระหว่างวันหลังชั่วโมงเร่งด่วนที่สถานีปลายทาง สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(N13) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ยังเพิ่มการทำความสะอาด และฉีดพ่นน้ำยาเชื้อโรคในขบวนรถไฟฟ้าหลังปิดให้บริการภายในอู่จอดรถไฟฟ้า (Depot) ทุกวัน จัดเตรียมหน้ากากอนามัย ให้กับผู้ใช้บริการทุกสถานี โดยสามารถติดต่อขอรับได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว รวมทั้งจัดเตรียมหน้ากากอนามัย ให้พนักงานที่ปฏิบัติงานบนสถานี พนักงานควบคุมรถไฟฟ้า และพนักงานที่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย ในขณะปฏิบัติงานตลอดเวลาการทำงาน

บีทีเอสยังได้ให้ความสำคัญ ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่เชื่อมต่อ (Feeder) กับบีทีเอส โดยได้มีการประสานกับผู้ให้บริการ เพื่อยกระดับมาตรการรักษาความสะอาด ทั้ง รถบีอาร์ที, รถสมาร์ทบัสสาย ปอ. 104 และสาย ปอ. 150, เรือด่วนเจ้าพระยา ด้วยการสนับสนุนให้เพิ่มความเข้มงวดและความถี่ในการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคภายในสถานีรถบีอาร์ทีทุกสถานี เพิ่มการทำความสะอาด รถสมาร์ทบัส สาย ปอ. 104 และ สาย ปอ. 15 ด้วยการพ่นยาฆ่าเชื้อ และใช้น้ำยาฆ่าเรือด่วนเจ้ำพระยาทุกลำ เช่น ราวจับภายในเรือ เก้าอี้ และถูพื้นเรือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค รวมถึงตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ท่าเรือสำคัญ เช่น ท่าสาทร,ท่าน้ำนนท์ และท่าพรานนก เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 63, 64, 65  Next
Page 6 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©