RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181638
ทั้งหมด:13492876
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เปิดใช้สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ 3 ก.พ. 63
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เปิดใช้สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ 3 ก.พ. 63

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2020 2:11 pm    Post subject: เปิดใช้สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ 3 ก.พ. 63 Reply with quote

Wisarut wrote:
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป ให้เปิดใช้ "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ กม.162+811.00 ระหว่างสถานีบุใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย และสถานีหนองบัว ใช้อักษรย่อ "บญ." ชื่อภาษาอังกฤษ "Ban Phai Na Bun Junction" อักษรย่อ "BPB" รหัสสถานี 3122 เป็นสถานีลำดับที่ 446 ของสถานีรถไฟไทย

สถานีชุมทางแก่งคอยถือว่าอยู่ที่ กม. 168 + 357.5 ทางสายแก่งคอย - คลอง 19
สถานีชุมทางหนองบัวถือว่าอยู่ที่ กม. 167 + 255 ทางสายแก่งคอย - คลอง 19
สถานีบุใหญ่ถือว่าอยู่ที่ กม. 148 + 937.35 ทางสายแก่งคอย - คลอง 19
https://www.facebook.com/trafficsrt/posts/2707711289346368
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2020 2:23 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณภาพถ่ายจากเพจฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

รู้ยัง?”บ้านไผ่นาบุญ”สถานีรถไฟน้องใหม่ลำดับที่446
*เติมเต็มรางฉึกกะฉักปู๊นปู๊นทอดไกล4.5พันกม.
*สายใต้ยังยึดตำนานยาวสุดผู้โดยสาร34ล้าน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2510391912515645
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2020 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

เดินเท้าจากชุมทางแก่งคอย ไปตามทางรถไฟก็ 5.6 กิโลเมตรครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2020 8:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินเท้าจากชุมทางแก่งคอย ไปตามทางรถไฟก็ 5.6 กิโลเมตรครับ Very Happy


เดินเท้าสามกิโลเมตรก็ลิ้นห้อยหอบรับประทานแล้วครับ อิอิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2020 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เปิดใช้ “สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ” ทางเลี่ยงรับรถสินค้าสายเหนือ-อีสานเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 16:19
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 16:49

ร.ฟ.ท.เปิดใช้ “สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ” แนวรถไฟทางคู่ “ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วง “บุใหญ่-แก่งคอย” เพิ่มทางเลี่ยงขบวนรถสินค้า จากสายอีสานและสายเหนือเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง ประหยัดเวลา ลดต้นทุนโลจิสติกส์

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้เปิดใช้ “สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ” สถานีรถไฟลำดับที่ 446 ซึ่งอยู่ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วง “บุใหญ่-แก่งคอย” พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) จำนวน 3 แห่ง ระยะทางรวมประมาณ 106 กิโลเมตร

ทั้งนี้ สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ กม.162+811.00 ระหว่างสถานีบุใหญ่-ชุมทางแก่งคอย และสถานีหนองบัว จังหวัดสระบุรี ใช้อักษรย่อ “บญ.” ชื่อภาษาอังกฤษ “Ban Phai Na Bun Junction” อักษรย่อ “BPB” รหัสสถานี 3122 สถานีแห่งใช้เป็นสถานี chord line (เส้นทางเลี่ยงเมือง) เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางเดินรถของขบวนรถสินค้าจากสายเหนือไปยังสายตะวันออก จากเดิมที่ขบวนรถต้องทำขบวนเข้าสถานีชุมทางแก่งคอย เพื่อทำการสับเปลี่ยนหัวรถจักรจากด้านที่วิ่งมาจากสายเหนือมุ่งหน้าไปยังสายตะวันออกเฉียงเหนือให้ไปอยู่ด้านที่วิ่งไปทางสายตะวันออก จึงทำให้ขบวนรถเกิดความล่าช้า

นอกจากนี้ เมื่อมีการเปิดใช้สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญจะช่วยให้ขบวนรถสินค้าจากสายเหนือตรงไปสายตะวันออก ไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้ โดยไม่ต้องเข้าไปสับเปลี่ยนหัวรถจักรที่สถานีชุมทางแก่งคอย ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้า และประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและบริการระหว่างจังหวัดต่างๆ รวมถึงสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) ไปสู่ระบบรางและสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศอีกด้วย


เปิดใช้สถานีรถไฟบ้านไผ่ ลดเวลาขนส่งสินค้าไปแหลมฉบัง
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การรถไฟฯเปิดใช้ "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" สถานีแห่งใหม่ ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือ-อีสานเชื่อมไปตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังโดยไม่ผ่านกทม.นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไทย แจ้งว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – วิหารแดง และช่วงบุใหญ่ – แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) จำนวน 3 แห่ง ระยะทางรวมประมาณ 106 กิโลเมตร และได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" ซึ่งเป็นสถานีลำดับที่ 446 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการเปิดใช้สถานีรถไฟแห่งใหม่นี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ กม.162+811.00 ระหว่างสถานีบุใหญ่ – ชุมทางแก่งคอย และสถานีหนองบัว จังหวัดสระบุรี ใช้อักษรย่อ "บญ." ชื่อภาษาอังกฤษ "Ban Phai Na Bun Junction" อักษรย่อ "BPB" รหัสสถานี 3122 สถานีแห่งใช้เป็นสถานี chord line (เส้นทางเลี่ยงเมือง) เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางเดินรถของขบวนรถสินค้าจากสายเหนือไปยังสายตะวันออก จากเดิมที่ขบวนรถต้องทำขบวนเข้าสถานีชุมทางแก่งคอย เพื่อทำการสับเปลี่ยนหัวรถจักรจากด้านที่วิ่งมาจากสายเหนือมุ่งหน้าไปยังสายตะวันออกเฉียงเหนือให้ไปอยู่ด้านที่วิ่งไปทางสายตะวันออก จึงทำให้ขบวนรถเกิดความล่าช้า

เปิดแล้วจ้า!!”สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ”
*ลำดับที่ 446 หนุนขนส่งสินค้า!!
*เชื่อมอีสานเหนือไม่แวะแก่งคอย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2516939631860873?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©