RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181791
ทั้งหมด:13493030
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 363, 364, 365 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2020 8:54 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล (จบ)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 30 มกราคม 2563
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3544 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม 2563 - 1 กุมภาพันธ์ 2563


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด และเป็นบทความที่ยาวที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามกันในตอนสุดท้าย ที่ว่าด้วยเรื่องการสละความคุ้มกัน การระงับข้อพิพาท การหักลบกลบหนี้กัน
(3) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ดังต่อไปนี้ (ก) เก็บรักษาข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายและเงินทุน ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ข้อมูลเกี่ยวแผนงาน และการปฏิบัติการในการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนให้ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมทั้งจัดทำรายงานตามแบบวิธีการภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจาก รฟท.และ
(ข) อำนวยความสะดวกให้แก่ รฟท.ในการตรวจสอบข้อมูลที่เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องเก็บรักษาตามข้อสัญญานี้
39.6 การสละสิทธิ์และการผ่อนปรนเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุน (1) การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ใช่สิทธิ์หรือมีความล่าช้าในการใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาร่วมลงทุนรวมถึงกำหนดเวลาและการขยายเวลาให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญาร่วมลงทุนหรือเพื่อแก้ไขเยียวยาการปฏิบัติผิดสัญญาร่วมลงทุนใดๆ ไม่ถือว่าการสละสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายนั้น และไม่จำกัดหรือตัดสิทธิคู่สัญญาฝ่ายนั้น ในอนาคตและไม่ถือว่าการใช้สิทธิใดๆ ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนของคู่สัญญาฝ่ายใดเพียงครั้งเดียวหรือเพียงบางส่วนเป็นการจำกัดการใช้สิทธิอย่างเดียวกันหรือสิทธิอื่นๆ หรือการใช้สิทธิเพิ่มเติมของคู่สัญญาฝ่ายนั้น
(2) การยกเว้นหรือสละสิทธิ์ใดๆ ของคู่สัญญาฝ่ายใดจะมีผลเป็นการยกเว้นหรือสละสิทธิเฉพาะในเรื่องนั้นและในคราวนั้นเท่านั้น และจะไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายนั้นที่ได้มีอยู่ก่อนเว้นแต่จะได้มีการบอกกล่าวอย่างชัดแจ้ง พร้อมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงของเวลา กำหนดเวลาการขยายเวลาหรือการสละสิทธิดังกล่าว
39.7 การสละความคุ้มกัน ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะยินยอมสละความคุ้มกันจากการฟ้องร้องหรือการบังคับคดีซึ่งตนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายไทยหรือสัญญาอื่นใดและจะไม่อ้างหรือถือประโยชน์ในความคุ้มกันดังกล่าวหากมีการฟ้องหรือบังคับคดีโดย รฟท.ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน นอกจากนี้เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นของเอกชนคู่สัญญาสละความคุ้มกันจากการฟ้องร้องหรือการบังคับคดีซึ่งผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติตามข้อผูกพันตามข้อสัญญานี้ด้วย


นักเรียนจากกรุงเทพสร้างสูตรโดยไม่ได้ตั้งใจและลดน้ำหนักได้ 37 กิโลกรัม!
อ่านต่อ
Advertiser

39.8 ค่าใช้จ่ายสกุลเงินและดอกเบี้ย (1) บรรดาค่าใช้จ่าย รวมถึงภาษี อากร ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาร่วมลงทุนและเป็นหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว
(2) บรรดาการชำระเงินใดๆ ระหว่างคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน คู่สัญญาตกลงให้ชำระเป็นสกุลเงินบาท
39.9 คำบอกกล่าวหรือรายงาน การส่งหนังสือ คำบอกกล่าว รายงาน การแจ้งหรือการติดต่อใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นภายใต้หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาร่วมลงทุน จะต้องกระทำเป็นหนังสือภาษาไทย และลงลายมือชื่อของคู่สัญญาฝ่ายที่จัดทำเอกสารดังกล่าว โดยการส่งหนังสือนั้นจะส่งโดยตนเอง โดยไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสถานที่อยู่ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ตามที่ได้แจ้งไว้ก็ได้เว้นแต่จะมีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่นโดยคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงให้ถือว่าหนังสือบอกกล่าวหรือหนังสือติดต่อใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นตามข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น มีผลทางกฎหมายไทยว่าเป็นการส่งโดยถูกต้องและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับเมื่อเอกสารดังกล่าวส่งไปถึงตามรายละเอียดที่ระบุด้านล่างนี้ ทั้งนี้รายละเอียดด้านล่างนี้อาจมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยคู่สัญญาฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
39.10 วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ ภายใต้ข้อ 6 สัญญาร่วมลงทุนจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาลงนามในสัญญาร่วมลงทุน
39.11 การมีผลใช้บังคับต่อไปของข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุน คู่สัญญาตกลงว่าเมื่อมีการสิ้นสุดของสัญญาร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30 ข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุนจะมีผลสิ้นสุดลงตามกฎหมายไทย เว้นแต่กรณีตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10 ข้อ 21 ข้อ 39.5 ข้อ 39.7 ข้อ 39.9 ข้อ 39.12 ข้อ 39.13 ข้อ 39.15 และข้อสัญญาอื่นใดในสัญญาร่วมลงทุนที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาต้องดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดสัญญาร่วมลงทุนไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามซึ่งข้อสัญญาข้างต้นจะยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปภายหลังการสิ้นสุดลงของสัญญาร่วมลงทุน
39.12 การระงับข้อพิพาท (1) เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุน ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าข้อพิพาทภายใต้สัญญาร่วมลงทุนเกิดขึ้น รวมถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุน คู่สัญญาฝ่ายนั้นมีสิทธิแจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงการเกิดขึ้นของข้อพิพาทนั้นและเริ่มดำเนินการเจรจากันเพื่อยุติข้อพิพาทโดยฉันมิตร (Amicable settlement of disputes)
(2) กรณีคู่สัญญาไม่สามารถหาข้อยุติในข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในข้อ 39.12(1) ได้ภายในระยะเวลาหกสิบ (60)วัน หรือกำหนดระยะเวลาอื่นที่คู่สัญญาอาจตกลงกัน คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจดำเนินการนำข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทยที่มีเขตอำนาจ เว้นแต่กรณีเอกชนคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลต่างประเทศหรือเหตุอื่นใดอันจำเป็น คู่สัญญาอาจระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการก็ได้ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนลงนามในสัญญาร่วมลงทุน
(3) ในระหว่างที่ข้อพิพาทยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามข้อนี้ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาและยังไม่มีคำพิพากษาอันถือเป็นที่สุดของศาลไทยที่มีเขตอำนาจ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุนต่อไปจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่นำเหตุแห่งข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน


ต้องขอบคุณสาวไทยคนนี้ผู้คนนับล้านทั่วโลกที่สูญเสียน้ำหนักตลอดไป
อ่านต่อ
Advertiser

39.13 การหักกลบลบหนี้ (1) คู่สัญญาตกลงว่าตลอดระยะเวลาของโครงการฯ ให้ คู่สัญญา มีสิทธิหักกลบลบหนี้ใดๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งที่ถึงกำหนดชำระ เพื่อชำระหนี้ใดๆ ที่คู่สัญญาฝ่ายใดมีต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง รวมถึงการชำระค่าชดเชยใดๆ อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2
(2) คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องใช้สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 39.13(1) แต่ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดใช้สิทธิในการหักกลบลบหนี้ข้างต้น คู่สัญญาฝ่ายใช้สิทธิจะแจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนที่จะมีการหักกลบลบหนี้ดังกล่าว
39.14 คณะกรรมการกำกับดูแล เอกชนคู่สัญญารับทราบว่าภายหลังจากวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ คณะกรรมการนโยบายจะแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลตามประกาศคณะกรรมการนโยบาย และเอกชนคู่สัญญาตกลงจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลกำหนด รวมถึงเข้าประชุมหรือส่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลร้องขอจากเอกชนคู่สัญญา
39.15 ภาษาและกฎหมายไทยที่ใช้บังคับ (1) คู่สัญญาตกลงให้สัญญาร่วมลงทุนจัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย โดยในกรณีที่มีการจัดทำเนื้อหาส่วนใดของสัญญาร่วมลงทุนเป็นภาษาอังกฤษ และปรากฏกรณีที่ข้อความภาษาอังกฤษมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับข้อความภาษาไทย คู่สัญญาให้ถือปฏิบัติตามข้อความภาษาไทย
(2) คำบอกกล่าวและเอกสารการติดต่อใดๆ ในระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และระหว่างคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกับที่ปรึกษาตรวจสอบ รวมถึง คู่มือ ข้อแนะนำ รายงาน ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งการร้องขอ การอนุมัติการให้ความยินยอม เห็นชอบ การโต้แย้ง หรือคัดค้าน การยกเว้น หรือสละสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุน จะต้องใช้เป็นภาษาไทย เว้นแต่จะได้รับการอนุมัติจาก รฟท.ให้เป็นภาษาอังกฤษ (ไม่ว่าโดยมีหรือไม่มีคำแปลภาษาไทยด้วยก็ตาม) ทั้งนี้ในกรณีที่ รฟท.อนุมัติให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องมีการจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ให้ใช้บังคับและถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยเป็นสำคัญ
(3) คู่สัญญาตกลงให้สัญญาร่วมลงทุนอยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายไทย
นี่คือสาระทั้งหมดของสัญญารถไฟความเร็วสูงซึ่ งผมได้นำเสนอมาตลอดทั้ง 53 ตอน หวังว่าประชาชนทุกท่าน จะมองเห็นภาพสัญญาประวัติศาสตร์การลงทุนของประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2020 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อย้ายไฮสปีด EEC บาน 4 พันล. “คีรี” ย้ำ 3 แสนล. คว้าอู่ตะเภาคุ้ม
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 08:00 น.

รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน งบฯบาน 4 พันล้าน ชงบอร์ดอีอีซีเคาะผงะ “ท่อไซฟ่อน-สายไฟแรงสูง” ไม่ฟันธง ซี.พี.ตอกเข็มปี 63 เมืองการบินอู่ตะเภา “กลุ่มหมอเสริฐ-บีทีเอส” ลุ้นเจรจาซอง 4 ปิดดีล มี.ค. หลังชนะขาด 3.05 แสนล้าน “กัลฟ์-ปตท.-ไชน่าฮาร์เบอร์” ลุ้นแหลมฉบังเฟส 3

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มูลค่ารวม 6.5 แสนล้านบาท คืบหน้าต่อเนื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 225,544 ล้านบาท ที่เซ็นสัญญากับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 อยู่ในขั้นตอนของการออกแบบ

งบรื้อย้ายสาธารณูปโภคบาน
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงานส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กลุ่ม ซี.พี. คู่สัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ส่งแบบก่อสร้างให้ ร.ฟ.ท.แล้ว อยู่ระหว่างตรวจสอบว่ามีระบบสาธารณูปโภคกีดขวางกี่จุด และให้หน่วยงานเจ้าของ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และ บมจ. ปตท.จัดทำแบบรายละเอียดการรื้อย้ายโดยต้องใช้งบฯของรัฐน้อยที่สุด


“ล่าสุดพบระบบสาธารณูปโภคใหม่ และมีขนาดใหญ่กีดขวางเพิ่ม 2 จุด ได้แก่ ท่อไซฟ่อนน้ำขนาดใหญ่ บริเวณคลองสามเสน ของสำนักการระบายน้ำ กทม. ค่ารื้อย้าย 2,000 ล้านบาท และสายไฟแรงสูงในค่ายลูกเสือวชิราวุธ จ.ชลบุรี ทาง กฟภ.กำลังสำรวจ คำนวณค่าใช้จ่าย”

ชงบอร์ดอีอีซีเคาะงบ 4 พัน ล.
ส่งผลให้กรอบวงเงินจัดการระบบสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นจาก 490 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณา ก.พ.นี้

“การรื้อย้ายจะใช้งบฯรัฐภายใต้โครงการอีอีซี แต่มีบางหน่วยที่ใช้งบฯของตัวเอง เช่น กฟผ. และได้ให้แต่ละหน่วยงานเตรียมพร้อมเบิกจ่ายเงินไปดำเนินการทันทีเมื่อ กพอ.อนุมัติ ส่วนไหนเสร็จก่อนจะให้กลุ่ม ซี.พี.เข้าพื้นที่ทันที ส่วนจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ได้หรือไม่ ยอมรับว่ายาก เพราะการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคไม่ง่าย”

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า กำลังตรวจสอบแบบก่อสร้างและออกแบบในรายละเอียด (detail design) ร่วมกับกลุ่ม ซี.พี. ยังไม่ได้หารือการจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) 10,671 ล้านบาท แม้จะพร้อมจะส่งมอบในทันที เพราะตามสัญญาให้เวลา 2 ปี

ยอดบุกรุก-เวนคืนไม่เพิ่ม
ตามข้อตกลงแบ่งพื้นที่ส่งมอบเป็น 3 ส่วน 1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กม. โครงสร้างแอร์พอร์ตลิงก์เดิม พร้อมส่งมอบทันที และเอกชนต้องจ่ายเงินทันที 2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ส่งมอบใน 2 ปี แต่จะเร่งให้ได้ 1 ปี 3 เดือน 3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. ส่งมอบใน 4 ปี จะเร่งรัดใน 2 ปี 3 เดือน โดยช่วงสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะเปิดบริการปลายปี 2566 และช่วงสถานีพญาไท-ดอนเมืองปี 2567-2568

“ยังมีพื้นที่ถูกบุกรุก เวนคืน ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจ ยอดผู้บุกรุกไม่มีเพิ่มจากเดิม 513 ราย คิดเป็นพื้นที่ 210 ไร่ พื้นที่เช่ามี 210 ไร่ สัญญาเช่า 83 ราย ส่วนเวนคืนเท่าที่ตรวจสอบแบบของกลุ่ม ซี.พี.ยังไม่พบต้องเวนคืนเพิ่ม ยังคงเวนคืน 850 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง ค่าเวนคืน 3,570 ล้านบาท การรื้อเสาโฮปเวลล์ 228 ต้น ก็เป็นหน้าที่ของกลุ่ม ซี.พี.”

BTS-หมอเสริฐชนะอู่ตะเภา
ขณะที่โครงการพัฒนาสนาบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เนื้อที่ 6,500 ไร่ วงเงิน 2.9 แสนล้านบาท ล่าสุด พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ เปิดเผยว่า วันที่ 30 ม.ค. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณารายละเอียดข้อเสนอราคาทั้ง 3 รายแล้ว พบว่ากลุ่ม BBS (บมจ.การบินกรุงเทพ-บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์-บมจ.ซิโน-ไทยฯ) เสนอผลตอบแทนให้รัฐดีที่สุด จากนี้จะมีหนังสือแจ้งผลให้ทั้ง 3 รายทราบ และเชิญกลุ่ม BBS มาจัดทำรายละเอียดร่างสัญญา และด้านเทคนิค จะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.นี้

ตั้งคณะทำงานเจรจาให้จบ มี.ค.นี้
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ กล่าวว่า จะตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาต่อรองราคากลุ่ม BBS ตรวจสอบโมเดลการเงินที่เสนอให้รัฐ 50 ปี คิดเป็นวงเงินปัจจุบัน 305,555 ล้านบาท

“กลุ่ม BBS มีข้อเสนอซองที่ 4 เป็นข้อเสนออื่น ๆ อยู่ที่คณะกรรมการคัดเลือกจะเปิดและนำมาพิจารณาหรือไม่”

โดยกองทัพเรือวางกรอบการเจรจากับกลุ่ม BBS ไว้ 2 เดือน คือ เดือน ก.พ.-มี.ค. หลังจากนั้นเดือน เม.ย.-พ.ค.จะส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ จึงจะเสนอบอร์ด กพอ.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

คีรีและพันธมิตรพร้อมสุดขีด
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ที่กลุ่ม BBSเสนอผลตอบแทนให้รัฐดีที่สุด 3.05 แสนล้านบาท เพราะมั่นใจว่าจะสร้างรายได้แบ่งผลตอบแทนให้รัฐได้ตามที่เสนอใน 50 ปี จะเริ่มจากน้อยไปหามาก ปรับเพิ่มขึ้นตามการรับรู้รายได้ เนื่องจากการลงทุนโครงการจะทยอยลงทุนเป็นเฟส

“เรามีข้อเสนอซองที่ 4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการให้ดียิ่งขึ้น เป็นการทำเพิ่ม แต่ไม่ใช่เงื่อนไขพิเศษที่ขอเพิ่มนอกเหนือทีโออาร์แน่นอน แต่ยังไม่ขอเผยรายละเอียด พันธมิตรทั้งบางกอกแอร์เวย์ส ซิโน-ไทยฯก็พร้อมจะลงทุนโครงการนี้”

นายคีรีย้ำว่า การตัดสินใจลงทุนในเมืองการบินอู่ตะเภาของบีทีเอสกรุ๊ป เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจในเครือ ทั้งด้านอินฟราสตักเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ เนื่องจากอู่ตะเภาไม่ได้มีเฉพาะสนามบิน แต่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องมาก

5 ก.พ.กัลฟ์-ปตท.แจงแหลมฉบัง
ด้านเรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า กำลังพิจารณาผลประกวดราคาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ซึ่ง
วันที่ 24 ม.ค.ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 
ผลประโยชน์ตอบแทนของกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, บจ.พีทีที แทงค์ 
เทอร์มินัล และ บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง แต่ยังไม่สรุป คณะกรรรมการมีข้อสงสัยจึงให้ชี้แจงอีกครั้ง วันที่ 5 ก.พ. ส่วนการประกาศผลการคัดเลือกต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่กลุ่ม NPC ยื่นฟ้องก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2020 12:32 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลยกระดับคุณภาพชีวิตชาวอีสาน เตรียมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วง 2 นครราชสีมา-หนองคาย

ภูมิภาค นครราชสีมา
โดย เกษม ชนาธินาถ
สยามรัฐออนไลน์
3 กุมภาพันธ์ 2563 17:36

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานการประชุมโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพมหานคร-หนองคาย (การออกแบบรายละเอียดงานโยธา ระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย) โดยมีผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชนและประชาชนจำนวน 80 คน รับฟังนายดุสดี อภัยสุวรรณ ผู้จัดการโครงการ ฯ ชี้แจงการดำเนินโครงการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทย พ.ศ 2558-2569 พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทาง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย




โดยรัฐบาลจีนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนเตรียม การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้รวมทั้งการดำเนินการก่อสร้างงานโยธา โดยฝ่ายไทยลงทุนเองทั้งหมดและกำหนดนโยบายเริ่มก่อสร้างเส้นทาง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อมส่วนการออกแบบและก่อสร้างต้องเป็นไปตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงประเทศจีน ซึ่งเป็นรูปแบบรถไฟความเร็วสูงให้บริการเฉพาะผู้โดยสาร เดินรถร่วมกับรถสินค้าจากประเทศจีนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำโขงถึงสถานีรถไฟนาทา อ.เมือง จ.หนองคาย ซึ่งเป็นการขนส่งรูปแบบใหม่ที่ให้บริการในการเดินทางอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน



นายดุสดี ฯ ผจก.โครงการ ฯ เปิดเผยว่า พื้นที่โครงการมีจุดเริ่มต้นที่หลักเสาโทรเลขรถไฟ 253+031 บริเวณหลังสถานีรถไฟนครราชสีมาสิ้นสุดที่หลักเสาโทรเลข 609+043 บริเวณกึ่งกลางสะพานข้ามแม่น้ำโขง หนองคาย รวมระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร (ทางวิ่งยกระดับ 102.90 กม. ทางวิ่งระดับพื้นดิน 253.11 กม.) ขนาดทาง 1.435 เมตร แนวเส้นทางรถไฟผ่านสถานีชุมทางบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย ส่วนการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 236 แห่ง ใช้วิธีก่อสร้างทางรถไฟข้ามถนน สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ สะพานรูปตัวยู ทางลอดใต้ทางรถไฟและถนนเลียบทางรถไฟ

“การรถไฟแห่งประทศไทย (รฟท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเปิดโอกาสให้ประชาชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วนและถูกต้อง รวมทั้งแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ แต่การดำเนินโครงการระยะที่ 2 จะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับระยะที่ 1 จึงอาจเปลี่ยนแปลงไปจากที่นำเสนอในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำให้ต้องทบทวนหรือประเมินข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมปรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้มีความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนี้เป็นความร่วมมือของภาครัฐและภาคประชาชนอย่างแท้จริง” ผจก.โครงการ ฯ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2020 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รัฐบาลยกระดับคุณภาพชีวิตชาวอีสาน เตรียมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วง 2 นครราชสีมา-หนองคาย

ภูมิภาค นครราชสีมา
โดย เกษม ชนาธินาถ
สยามรัฐออนไลน์
3 กุมภาพันธ์ 2563 17:36



หารือพัฒนารถไฟความเร็วสูงโคราช-หนองคายคาดเริ่มปีนี้
ข่าว ทิพมาศ พารุกา ภาพ พรนภา มหาหิงษ์
หน้าหลัก ภูมิภาค

4 กุมภาพันธ์ 2563 - 19:08 น.





เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 63 ณ ห้องประชุมเสียงแคน ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายวรทัศน์ ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น สถาปนิกที่ออกแบบการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ได้มีการจัดประชุมโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาแบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเป็นการจัดประชุมพบปะเพื่อให้ข้อมูลของโครงการเบื้องต้นและปรึกษาหารือ ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อชี้แจงรายละเอียดข้อมูลโครงการ แผนการมีส่วนร่วมของประชาชน ขอบเขตการศึกษา แผนการดำเนินโครงการ และช่องทางการติดต่อสื่อสาร และเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการศึกษาของโครงการ การพัฒนาโครงการ รวมทั้งแนวทางการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ศึกษา






โดยเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากในปี 2561 มีการประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟ-จีน ครั้งที่ 23 ฝ่ายไทยได้รับทราบรายงานความเห็นต่อผลการศึกษาความเหมาะสมกับโครงการ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่ฝ่ายจีนได้นำส่งให้ฝ่ายไทยแล้ว และขณะนี้ฝ่ายจีนอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษางานออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย)

มีจุดเริ่มต้นการสร้างบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา และจุดสิ้นสุดบริเวณจุดกึ่งกลางสะพานข้ามแม่น้ำโขง ผ่านพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร ความยาวขบวนรถ 200 เมตร บรรจุผู้โดยสารสูงสุด 600 คน/ขบวน ความเร็วสูงสุดที่ใช้ในการออกแบบ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรูปแบบของโครงการเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงให้บริการเฉพาะผู้โดยสาร และมีการเดินรถร่วมกับรถสินค้าจากจีนไปลาว เฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำโขง-นาทา

ด้านการออกแบบสถานีทั้งหมด 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดร และสถานีหนองคาย ซึ่งมีการออกแบบตามสัญลักษณ์ของแต่ละจังหวัด ดังนี้ สถานีบัวใหญ่ รูปทรงของสถานีจะเป็นรูปดอกบัว สถานีบ้านไผ่ รูปทรงของสถานีจะเป็นต้นไผ่และลายจักสาน สถานีขอนแก่น รูปทรงของสถานีจะเป็นโครงร่างสัตว์ดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ภูเวียงโกซอรัส สถานีอุดรธานี รูปทรงของสถานีจะเป็นลวดลายดินเผาบ้านเชียง และสถานีหนองคาย รูปทรงของสถานีจะเป็นรูปพญานาคและคลื่นน้ำ






รูปแบบการให้บริการซึ่งรูปแบบเดิมจะเป็นระบบรถไฟโดยสารความเร็วปานกลางที่เดินรถร่วมกับรถสินค้า แต่รูปแบบใหม่จะเป็นระะบบรถไฟความเร็วสูงให้บริการเฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร และมีการเดินรถร่วมกับรถสินค้าจากจีน/ลาว เฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำโขง-นาทา ซึ่งปรับลดความเร็วที่ใช้ในการออกแบบจาก 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดิน และปรับเปลี่ยนความลาดชันที่ใช้ในการไต่ระดับจากทางรถไฟระดับดินเป็นโครงสร้างสะพานยกระดับจาก 1% เป็น 2.5% เนื่องจากมีการปรับรูปแบบการให้บริการเป็นการขนส่งเฉพาะผู้โดยสารเท่านั้น ซึ่งการปรับความลาดชันดังกล่าวจะทำให้ความยาวของโครงสร้างสะพานที่เป็นทางลาดลดลง

ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างรวม 12 เดือน ระหว่างเดือนธันวาคม 62- เดือนธันวาคม 63 งบประมาณอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกัน อุปสรรคในการก่อสร้างคือผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตราการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

เรื่องนี้นายวรทัศน์ ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในการทำโครงการรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ ก็ต้องมีการอธิบายหรือชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำในครั้งนี้ ต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการปรึกษาหารือกันในการทำในครั้งนี้ให้ละเอียด ถ้าหากขาดหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ก็อาจจะทำให้โครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ต้องการให้กำลังใจกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2020 11:56 am    Post subject: Reply with quote

จาก โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ได้ความว่า

จุดเริ่มต้น กม. 253 + 031.075 หลังสถานีรถไฟนครรราชสีมา
จุดสิ้นสุด กม. 609 + 043.259 จุดกึ่งกลางสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง (หลักเขตแดน)

สถานีของโครงการมี5 สถานียกระดับ ได้แก่
1. สถานีบัวใหญ่ : สถานีใหม่จะถูกวางไว้ทางด้านใต้ของสถานีเดิม ที่กม. 333.6 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
2. สถานีบ้านไผ่ : สถานีใหม่จะถูกวางไว้ทางด้านทิศตะวันตกของสถานีเดิม ที่กม. 395.5 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
3. สถานีขอนแก่น : สถานีใหม่จะถูกวางไว้ทางด้านทิศตะวันตกของสถานีเดิม ที่กม. 437.5 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
4. สถานีอุดรธานี : สถานีใหม่จะถูกวางไว้ทางด้านทิศตะวันออกของสถานีเดิม ที่กม. 553.9 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
5. สถานีหนองคาย : สถานีใหม่จะถูกวางไว้ทางด้านทิศตะวันตกของสถานีเดิม ที่กม. 606 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)

สถานีนครราชสีมาสำหรับรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ กม. 251.3 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)

ส่วนบริเวณสถานีนาทา กม. 602 นับจากสถานีกลางบางซื่อ (โรงเก็บอยู่ กม. 603 นับจากสถานีกลางบางซื่อ และ มีย่านยาวถึงสถานีหนองคายกม. 606 นับจากสถานีกลางบางซื่อ) พัฒนาเป็น
1. ด่านศุลกากร (Customs yard)
2. ศูนย์ซ่อมบํารุงรถไฟขนสินค้า (Freight depot for China/Lao locos and Thai locos)
3. ย่านจอดรถไฟ (Stabling yard)
4. ศูนย์ซ่อมบํารุงรถไฟโดยสารและรถไฟความเร็วสูง (Conventional passengers (CVR) and HS trains depot)

นอกจากนี่้ ยังต้องสร้าง หน่วยซ่อมบํารุงทาง (Maintenance Base) ที่
บ้านไร่ กม. 319.1 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ) และ
โนนสะอาด ที่กม. 501.2 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)

สําหรับกรณีพัฒนาโครงการเป็นรถไฟขนาดทางมาตรฐานฯ ที่ใช้เดินรถขบวนผู้โดยสารและ
ขบวนสินค้าร่วมกัน เพื่อให้รถสินค้าจีนวิ่งผ่านด้วย คงต้องลงทุนสร้าง พื้นที่สําหรับรองรับการขนส่งสินค้า ซึ่งส่วนอยู่ในพื้นที่โครงการ ได้แก่
1. บริเวณชายแดนไทย - สปป.ลาว ที่บริเวณสถานีนาทา กม. 602 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ) เพื่อรวบรวมและกระจายสินค้าบริเวณภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัด หนองคาย นิคมอุตสาหกรรมในอุดรธานี และขอนแก่น และรองรับกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้าบริเวณชายแดน
2. บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ที่บริเวณสถานีบ้านกระโดน กม. 271.5 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ) เพื่อรวบรวมและกระจายสินค้าบริเวณภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


นอกเหนือจาก หลีกรถสินค้า (Freight siding) ที่
เมืองพล กม. 365 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
หนองเม็ก กม. 419.4 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)
ห้วยสามพาด กม. 528 (นับจากสถานีกลางบางซื่อ)

กําหนดสัญญาของโครงการออกเป็น 8 สัญญา อันประกอบด้วย
1. สัญญาที่ 1 งานระบบเดินรถ
2. สัญญาที่ 2 งานระบบราง
3. สัญญาที่ 3 งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่งและสถานี ช่วง นครราชสีมา - บัวใหญ่
4. สัญญาที่ 4 งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่งและสถานี ช่วง บัวใหญ่ - บ้านไผ่
5. สัญญาที่ 5 งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่งและสถานี ช่วง บ้านไผ่ - ขอนแก่น
6. สัญญาที่ 6 งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่งและสถานี ช่วง ขอนแก่น – อุดรธานี
7. สัญญาที่ 7 งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่งและสถานี ช่วง อุดรธานี– หนองคาย
8. สัญญาที่ 8 งานศูนย์ซ่อมบํารุง

ซึ่งทุกสัญญาได้รับการกําหนดรูปแบบเป็นลักษณะ Design & Build

บริเวณที่ต้องมีการปรับโค้งมีอยู่ 6 ช่วงสําคัญๆ ให้ได้พิกัดรัศมีความโค้ง 3000 เมตร
1. แนวทางเลือกบริเวณสถานีบ้านดงพลอง กม. 290+000
2. แนวทางเลือกบริเวณสถานีศาลาดิน กม. 350+000
3. แนวทางเลือกบริเวณสถานีขอนแก่น กม. 443+000 ให้คงใช้ทางโค้งแคบ 1250 เมตร
4. แนวทางเลือกสถานีห้วยเสียว กม. 477+000
5. แนวทางเลือกบริเวณสถานีห้วยสามพาด กม. 525+000
6. แนวทางเลือกบริเวณสถานีอุดรธานี กม. 552+000 ให้คงใช้ทางโค้งแคบ 1000 เมตร

ทางรถไฟ (Trackwork)
1. เรขาคณิตของทางรถไฟ (Track geometry)
1) ความเร็วออกแบบ (Design speed)
ได้ตั้งสมมติฐานเป็น 2 กรณี คือ:
กรณีที่ 1 การเดินรถร่วมกัน
- สําหรับกรณีนี้ การให้บริการคาดว่าจะเดินขบวนรถสินค้าด้วยความเร็ว 120 กม./ชม. และ ขบวนรถโดยสารด้วยความเร็ว 200 กม./ชม.
- อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานจะต้องเข้ากันได้กับความเร็วในการเดินรถ 250 กม./ชม. ในอนาคต

กรณีที่ 2 การเดินรถไฟความเร็วสูง
- สําหรับกรณีนี้ การให้บริการคาดว่าจะเดินรถด้วยความเร็วสูง 250 กม./ชม. ความเร็วออกแบบของทั้งสองกรณีจะอยู่ที่ 350 กม./ชม. สําหรับกรณีที่ 1 เพื่อที่จะวิ่งใน ความเร็วสูงสุดที่ออกแบบไว้ จะต้องระวังในเรื่องของตัวรถไฟความเร็วสูงในอนาคตที่สามารถ
รองรับการเดินรถร่วมกันในระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางรถไฟ (Track center) 4.5 เมตร

2) น้ําหนักกดเพลา (Axle load)
ทางรถไฟถูกออกแบบให้รองรับน้ําหนักลงเพลาไม่น้อยกว่า 22.5 ตัน/เพลา

3) ขนาดทางรถไฟ (Track gauge)
กําหนดให้ใช้ขนาดทางรถไฟมาตรฐาน 1,435 มม. ค่านี้จะวัดจากส่วนของรางด้านในที่ระดับ 14 มม. ใต้สันราง (ขอบเขตของงาน)

4) ระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางรถไฟ (Distance between track center lines) ตามคาดการณ์รูปแบบการเดินรถของทั้งสองกรณี ระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางประธาน จะต้องไม่น้อยกว่า 4.50 ม. ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในหัวข้อการศึกษาความเหมาะสม ของตัวรถ
กรณีทางหลีกหรือทางแยกสําหรับจอดรถในสถานี ระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางหลักและ ทางหลีกจะต้องไม่น้อยกว่า 7.50 ม. เพื่อให้มั่นใจว่าขนาดทางเหมาะสมที่จะใช้ทางหลีก และมี ทางเดินระหว่างทางหลักและทางหลีก

5) ลาดชันแนวดิ่งสูงสุด (Maximum vertical gradient)
สําหรับทั้งสองกรณี ลาดชันสูงสุดที่ตําแหน่งใดๆ จะเท่ากับ 35 มม./ม. อย่างไรก็ตาม ลาดชัน
เฉลี่ยสูงสุดสําหรับความยาวใดๆ ที่เกิน 350 ม. ต้องไม่เกิน 100 มม./ม.
สําหรับพื้นที่อื่นๆ เช่น ทางหลีก สถานี ย่านสถานี ลาดชันสูงสุด คือ 1 มม./ม.

ปรับเปลี่ยนความลาดชันที่ใช้ในการไต่ระดับจากทางรถไฟระดับดินเป็นโครงสร้างสะพานยกระดับจาก 1% เป็น 2.5% เนื่องจากมีการปรับรูปแบบการให้บริการเป็นการขนส่งเฉพาะผู้โดยสารเท่านั้น ซึ่งการปรับความลาดชันดังกล่าวจะทำให้ความยาวของโครงสร้างสะพานที่เป็นทางลาดลดลง จาก 30.36 กิโลเมตร เหลือ 12.23 กิโลเมตร และ ความยาวคันทางเพิ่มขึ้นจาก 234.98 กิโลเมตรเป็น 253.11 กิโลเมตร

สะพานข้ามแม่น่้ำโขงสำหรับรถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่ 30 เมตรทางตะวันออกของ สะพานมิตรภาพที่มีอยู่เดิม

ตําแหน่งการปรับรัศมีโค้งราบที่ใช้พื้นที่นอกเขตทาง

ลําดับที่ 1 กม. 273+700 ตําบล หนองไข่น้ํา อําเภอ เมืองฯ จังหวัด นครราชสีมา รัศมีโค้งราบเดิม 1,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 6,000 เมตร พื้นที่เวนคืน 17 ไร่
ลําดับที่ 2 กม. 289+800 ตําบล หลุมข้าว อําเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 10,000 เมตร พื้นที่เวนคืน 76 ไร่
ลําดับที่ 3 กม.312+300 ตําบล เมืองคง อําเภอคง จังหวัดนครราชสีมา รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 16 ไร่
ลําดับที่ 4 กม.349+500 ตําบลโนนจาน อําเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ แนวตรง พื้นที่เวนคืน 148 ไร่
ลําดับที่ 5 กม.353+000 ตําบลหนองมะเขือ อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 85 ไร่
ลําดับที่ 6 กม.379+000 ตําบลบ้านหัน อําเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม 2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 25 ไร่
ลําดับที่ 7 กม. 388+500 ตําบลบ้านหัน อําเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม 2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 10,000 เมตร พื้นที่เวนคืน 4 ไร่
ลําดับที่ 8 กม.443+200 ตําบลศิลา อําเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม850 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 1,450 เมตร พื้นที่เวนคืน 13 ไร่
ลําดับที่ 9 กม.462+500 ตําบลม่วงหวาน อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม 500 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 4 ไร่
ลําดับที่ 10 กม.476+500 ตําบลน้ําพอง อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม 2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 124 ไร่
ลําดับที่ 11 กม. 484+500 ตําบลคําม่วง อําเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 7,650 เมตร พื้นที่เวนคืน 37 ไร่
ลําดับที่ 12 กม. 494+000 ตําบลโคกกลาง อําเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี รัศมีโค้งราบเดิม 850 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600 เมตร พื้นที่เวนคืน 67 ไร่
ลําดับที่ 13 กม. 525+000 ตําบลผาสุก อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 6,300 เมตร พื้นที่เวนคืน116 ไร่
ลําดับที่ 14 กม. 556+700 ตําบลหนองบัว อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุดรธานี รัศมีโค้งราบเดิม2,500 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 4,500 เมตร พื้นที่เวนคืน1 ไร่
ลําดับที่15 กม. 562+000 ตําบลหมู่ม่น อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุดรธานี รัศมีโค้งราบเดิม2,500 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 5,400 เมตร พื้นที่เวนคืน10 ไร่
ลําดับที่16 กม. 581+500 ตําบลนาพู่ อําเภอเพ็ญ จังหวัดหนองคาย รัศมีโค้งราบเดิม2,000 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 8,600เมตร พื้นที่เวนคืน 5 ไร่
ลําดับที่17 กม. 604+500 ตําบลหนองกอมเกาะ อําเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย รัศมีโค้งราบเดิม1,200 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 1,000 เมตร พื้นที่เวนคืน 32 ไร่
ลําดับที่ 18 กม. 607+300 ตําบลมีชัย อําเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย รัศมีโค้งราบเดิม 400 เมตร รัศมีโค้งราบใหม่ 400 เมตร พื้นที่เวนคืน 19 ไร่
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/ProjectOTP/2557/Project5/ReportExecutiveSumTH.pdf


Last edited by Wisarut on 06/02/2020 2:08 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2020 8:44 am    Post subject: Reply with quote

จ.หนองคาย ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 05 ก.พ. 2563

Click on the image for full size

จังหวัดหนองคาย ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย

จังหวัดหนองคาย ร่วมประชุมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นและปรึกษาหารือ เพื่อการออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย)

วันนี้ (5 ก.พ. 63) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมปทุมเทวาภิบาล ศาลากลางจังหวัดหนองคาย ชั้น 4 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานการประชุม โดยมีตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (เจ้าของโครงการ) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ในการประชุมพบปะหารือร่วมกันในแนวทางการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ รายละเอียดข้อมูลโครงการ แผนการมีส่วนร่วมของประชาชน ขอบเขตการศึกษา แผนการดำเนินโครงการ และช่องทางการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการศึกษาของโครงการการพัฒนาโครงการ และแนวทางการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ศึกษา

สำหรับความเป็นมาของโครงการ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 - 2569 เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร และในวันที่ 23 มีนาคม 2559 ไทยได้หารือทวิภาคีกับจีน กำหนดนโยบายเริ่มก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา และส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม โดยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) โครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย จะต้องออกแบบและก่อสร้างให้สอดคล้องกับระยะที่ 1 โดยจะดำเนินการตามมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีน และในวันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ 2561 ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 23 ฝ่ายไทยได้รับทราบรายงานความเห็นต่อผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย) ที่ฝ่ายจีนนำส่งให้ฝ่ายไทยแล้ว และขณะนี้ฝ่ายจีนอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย - ลาว - จีน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษางานออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย) เพื่อออกแบบรายละเอียดงานโยธาให้สอดคล้องกับมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเชื่อมโยงกับทางรถไฟทั้งหมดของสะพานรถไฟไทย - ลาวแห่งใหม่

สำหรับข้อมูลโครงการ จุดเริ่มต้นที่ กม.253+031 (หลังสถานีนครราชสีมา) จุดสิ้นสุดที่ กม. 607+750 (ริมฝั่งแม่น้ำโขง) รวมระยะทางโดยประมาณ 356 กิโลเมตร ขนาดทาง 1.435 เมตร มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย รูปแบบการให้บริการระบบรถไฟความเร็วสูงให้บริการเฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร และมีการเดินรถร่วมกับรถสินค้าจากจีน/ลาว เฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำโขง - นาทา ความเร็วที่ใช้ในเส้นทางรถไฟ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง นอกจากนี้มีการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์โครงการความก้าวหน้า และสาระสำคัญต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบผ่านช่องทางสื่อมวลชน ต่อไป

#หนองคาย #การรถไฟแห่งประเทศไทย #รถไฟความเร็วสูง #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #NNT #ILOVETHAILAND

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : อาทร จันทร์พิลา
ผู้เรียบเรียง : วรัญญา นันตาแก้ว
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2020 2:38 pm    Post subject: Reply with quote

มีใครจำเหตุการณ์ตอนที่บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ กลุ่มซีพีและพันธมิตร ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาได้ไหมครับ ???
.
ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่ทางซีพีพยายามจะเคลียร์ก็คือ เรื่อง #การรื้อย้าย ระบบสาธารณูปโภคที่อยู่ในเส้นทางการก่อสร้างรถไฟความสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่าอยู่ในความรับผิดชอบของใครระหว่าง เอกชนผู้รับสัมปทาน หรือเจ้าของพื้นที่ (การรถไฟแห่งประเทศไทย) หรือเจ้าของระบบสาธารูปโภค กันแน่ !!!
.
จนได้ข้อสรุปที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย และเจ้าของระบบสาธารูปโภคนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเองทั้งหมด
.
แต่ ... แค่ซีพีส่งแบบก่อสร้าง 🗞🏗
ปัญหา ... ก็มาแล้ว 🌟
.
📌📍 จากเดิมที่กำหนดค่ารื้อย้ายไว้เพียง 490 ล้านบาท แต่ล่าสุดหลังจากที่ลงสำรวจพื้นที่พบว่า ต้องใช้งบมากถึง 4,000 ล้านบาท เช่น
.
🕳 ท่อไซฟ่อนน้ำขนาดใหญ่ บริเวณคลองสามเสน ของสำนักการระบายน้ำ กทม. ค่ารื้อย้าย 2,000 ล้านบาท
🏗 สายไฟแรงสูงในค่ายลูกเสือวชิราวุธ จ.ชลบุรี ทาง กฟภ. กำลังสำรวจ คำนวณค่าใช้จ่าย
.
ทำให้ปัญหาการรื้อเสาโฮปเวลล์ 228 ต้น กลายเป็นปัญหาจิ๊บๆ ไปเลย
.
เมื่อปัญหาบนดินไม่มีปัญหา แต่ใต้ดินที่ไม่มีใครรู้ กำลังสร้างปัญหาใหญ่
.
แล้วจะมีใคร #ใจปล้ำ ยอมออกเงินส่วนต่างเพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคส่วนนี้อีก 4,000 ล้านบาท เหมือนตอนที่ #เสี่ยหนู ท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล รมต. สาธารณสุข เคยออกมาพูดว่าจะควักเงินส่วนตัว 200 ล้านบาทเพื่อเป็นค่ารื้อเสาโฮปเวลล์ในครั้งนั้นอีกไหมครับเนี่ย
#รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน —
https://www.facebook.com/HST.DSU/photos/a.848683061990856/1271036523088839/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2020 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

“กฟภ.” ขอ “อีอีซี” 1.6 พันล้าน ย้ายเสาไฟฟ้า 143 จุดพ้นไฮสปีด ซี.พี.
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:21 น.

“กฟภ.” ขอ “อีอีซี” 1.6 พันล้าน ย้ายเสาไฟฟ้า 143 จุดพ้นไฮสปีด ซี.พี.
นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยว่า ในการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ได้มีการหารือกับคณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะหน่วยงานกำกับโครงการเรียบร้อยแล้ว


โดยจากการสำรวจของ กฟภ.พบจะต้องรื้อย้ายตั้งแต่ช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา มีพื้นที่ที่จะต้องรื้อย้าย 143 จุด มีทั้งส่วนที่เป็นสายไฟแรงดันสูง 100,000 โวลด์ และส่วนที่เป็นสายไฟแรงดันสูง 20,000 โวลด์ วิธีการรื้อย้ายมีทั้งปรับระดับสายไฟให้สูงขึ้น, มุดดินทำเป็นสายเคเบิลลอดใต้ทางรถไฟบริเวณจุดตัดรถไฟ และจัดระบบจ่ายไฟใหม่

ซึ่งได้เสนอของบประมาณกับอีอีซีเพื่อดำเนินการทั้งหมด 1,600 ล้านบาท ในการรื้อย้ายมีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ทั้งนี้ หากได้รับจัดสรรงบประมาณไม่ครบ 1,600 ล้านบาท ก็ไม่น่าห่วง เพราะ กฟภ.ก็มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจัดสรรมาเติมให้ครบ ส่วนอีอีซีจะให้เท่าไหร่ ยังไม่ทราบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2020 12:02 pm    Post subject: Reply with quote

1 ปี ชี้ชะตา 'ซีพี' เข็นรถไฟความเร็วสูง
7 กุมภาพันธ์ 2563

เงื่อนไขสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบภายใน 1 ปี 3 เดือน นับจากลงนาม หรือภายในเดือน ธ.ค.นี้


บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 และกำลังเตรียมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ขั้นตอนที่ ร.ฟ.ท.หารือในรายละเอียดของแผนก่อสร้างโครงการร่วมกับกลุ่มซีพี โดยเอกชนจะเสนอแผนก่อสร้างดังกล่าว พร้อมทั้งระบุถึงต้องการที่จะเข้าพื้นที่พัฒนาตามลำดับ ขณะที่ ร.ฟ.ท.ก็จะชี้แจงให้ทราบถึงความพร้อมของพื้นที่ที่ส่งมอบได้

“ตอนนี้เรากำลังหารือในรายละเอียดกันว่าพื้นที่ไหนที่ส่งมอบได้ และพื้นที่ไหนที่ทางเอกชนเขาอยากจะเข้าไปก่อสร้างก่อน เมื่อนำมาเทียบกันแล้ว หากดำเนินการได้เลยจะทยอยเข้าพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เตรียมพื้นที่ในส่วนของผู้บุกรุกคืบหน้าไปมากแล้ว โดยรวบรวมรายชื่อที่จะต้องเวนคืนแล้วเสร็จ 90%”

สำหรับการดำเนินงานโครงการในส่วนของ ร.ฟ.ท.ปีนี้ รับหน้าที่เคลียร์พื้นที่เพื่อส่งมอบให้เอกชนก่อสร้าง ซึ่งทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อรวมรายชื่อของที่ดินที่ต้องเวนคืนจากผู้บุกรุกแล้วเสร็จ หากเอกชนต้องการเข้าพื้นที่ ร.ฟ.ท.จะเร่งจ่ายเงินชดเชยผู้บุกรุก จึงคาดว่าภายในปีงบประมาณ 2563 นี้ จะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้บุกรุกเสร็จ พร้อมเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบให้เอกชนนำไปพัฒนา

สำหรับแผนส่งมอบที่ดิน ร.ฟ.ท.จะทยอยส่งมอบพื้นที่ออกเป็นส่วน คือ 1.พื้นที่ที่มีความพร้อมส่งมอบได้ทันที ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะส่งมอบแล้วเสร็จภายใน 1 ปีกว่า 2.ช่วงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีความพร้อมส่งมอบเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขเอกชนจะต้องจ่ายค่าโอนสิทธิ์บริหาร 1 หมื่นล้านบาทให้เสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามสัญญา

3.พื้นที่ที่ยังไม่พร้อมส่งมอบ เพราะมีระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาเคลื่อนย้าย เช่น ท่อน้ำมัน อีกทั้งมีปัญหาผู้บุกรุก คือช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะใช้เวลาทยอยส่งมอบเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนใน 1 เขตท้องที่กรุงเทพฯ และอีก 7 อำเภอใน 4 จังหวัดแล้ว รวม 11 แปลง 858 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2562 ซึ่ง ร.ฟ.ท.เตรียมลงพื้นที่สำรวจเส้นทางเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนแล้ว

“ตอนนี้กำลังเตรียมลงพื้นที่สำรวจพื้นที่เวนคืนแล้ว แต่จะต้องรอเทียบกับแผนก่อสร้างของเอกชนที่จะกำหนดชัดเจนขึ้นว่าจะใช้พื้นที่ใดบ้าง ใช้ส่วนใดก่อน"

ร.ฟ.ท.จะไม่ได้เวนคืนทั้งแปลง โดยหากพิจารณาจากแนวเส้นทางก่อสร้างที่กลุ่มซีพีส่งให้ก่อนหน้านี้ ก็ประเมินว่าจะมีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกว่า 1,000 ราย ใช้วงเงินชดเชย 3,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ พื้นที่ที่ต้องส่งมอบเพื่อพัฒนาอยู่ที่ 4,429 ไร่ แบ่งออกเป็น พื้นที่ที่ต้องเวนคืน 858 ไร่ พื้นที่ติดสัญญาเช่า 83 สัญญา 258 ไร่ พื้นที่โล่ง 3,103 ไร่ และพื้นที่ผู้บุกรุก 210 ไร่ โดยเบื้องต้น ร.ฟ.ท.จะส่งมอบพื้นที่ในช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาได้เป็นส่วนแรกก่อน ภายใน 1–2 ปีนี้ ส่วนพื้นที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะส่งมอบได้ภายใน 2-4 ปี

สำหรับการหารือแผนก่อสร้างร่วมกับกลุ่มซีพีที่ผ่านมา ไม่มีการหารือถึงกรณีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ต้องเชื่อมกับโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบิน โดยที่ผ่านมาลุ่มซีพี ประเมินตัวเลขปริมาณผู้โดยสารผ่านการวิเคราะห์การสร้างเมืองใหม่ตามแนวสถานีรถไฟ ประกอบกับประเมินการเดินทางเชื่อมต่อระหว่าง 3 สนามบิน โดยไม่ได้ประเมินผลลัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบิน

“สัญญาการร่วมทุนตอนนี้ ยังมีความเชื่อมั่นระหว่างกันว่าทางเอกชนจะไม่ทิ้งงานแน่นอน เพราะเป็นโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่ และ ร.ฟ.ท.เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทุน ไม่ได้เป็นผู้จ้างงานเหมือนโครงการอื่น ซึ่งตอนนี้ยังมั่นใจว่ากลุ่มซีพีตั้งใจที่จะทำโครงการนี้ เพราะมีแผนชัดเจนว่าจะพัฒนาอย่างไร และมีแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ด้วย”


ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของการร่วมทุนที่ระบุในสัญญาถึงกรณีที่จะยกเลิกสัญญาได้ ก็ต่อเมื่อ ร.ฟ.ท.หรือเอกชน ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในร่างสัญญา โดยเฉพาะหน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบได้ เช่น กรณี ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบที่ดินได้ตามแผนเอกชนขอยกเลิกสัญญา

ในขณะที่สัญญากำหนดให้กรณีส่งมอบพื้นที่ไม่ได้หรือไม่ครบจะมีการขยายเวลาก่อสร้าง แต่ไม่มีการจ่ายชดเชย ส่วนกรณี ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่ไม่ได้เลยใน 1 ปี 3 เดือนเอกชนขอเลิกสัญญาได้

ดังนั้นกรณีที่จะมีการยกเลิกสัญญา คือ หลังลงนามสัญญาแล้ว ร.ฟ.ท.ทำงานไม่ได้เลย หรือ เมื่อครบกำหนด 1 ปี 3 เดือน หลังลงนาม แล้ว ร.ฟ.ท.ไม่สามารถดำเนินการใดได้ ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายที่สุดและอาจเป็นเหตุให้ยกเลิกสัญญาได้ แต่เหตุการณ์นั้นปัจจุบันยังไม่เข้าข่าย เนื่องจาก ร.ฟ.ท.เริ่มดำเนินงานส่วนที่รับผิดชอบทั้งเตรียมเข้าพื้นที่เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชน

ส่วนกรณีของภาคเอกชนเห็นได้ว่าขณะนี้ กลุ่มซีพีเริ่มดำเนินการในส่วนที่รับมอบหมาย คือ การออกแบบงานก่อสร้าง การวางแผนงานให้เป็นรูปธรรม แสดงให้เห็นว่าเอกชนเริ่มทำงานตามที่วางแผนไว้หลังลงนามสัญญาไปแล้ว ดังนั้น ร.ฟ.ท.เชื่อว่าเอกชนตั้งใจดำเนินโครงการนี้ แต่หลังจากนี้ หากเอกชนไม่ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย จนนำไปสู่การยกเลิกสัญญาก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะผู้กำกับโครงการ

สำหรับการเลิกสัญญาเพราะความผิดของเอกชน ในสัญญากำหนดให้รัฐชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่รับโอน (ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุน) ส่วนการเลิกสัญญาที่เป็นเหตุจาก ร.ฟ.ท.กำหนดให้ ร.ฟ.ท.ชำระค่าทรัพย์สินที่รับโอน และชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้รวมในมูลค่าทางบัญชี

ในขณะที่การระงับข้อพิพาทกำหนดให้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2020 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
1 ปี ชี้ชะตา 'ซีพี' เข็นรถไฟความเร็วสูง
7 กุมภาพันธ์ 2563

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 363, 364, 365 ... 542, 543, 544  Next
Page 364 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©