Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311236
ทั่วไป:13181378
ทั้งหมด:13492614
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 207, 208, 209 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2020 6:56 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ อินฟรา'sFun: เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์'63
มติชน ฉบับวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563
นายขันตี

ปีนี้จะเป็นอีกปีที่กระทรวงคมนาคมเตรียมพร้อมผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจำนวนมาก โดยกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าแต่ละโครงการจะเดินหน้าช่วงไหน อย่างไรบ้าง

เริ่มจาก โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)คือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชันศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงินรวม 2.3 หมื่นล้านบาท เปิดประมูลงานโยธาในช่วงต้นปี รู้ผลการประมูลเดือนกรกฎาคม

ส่วน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และ ช่วงพญาไท-หัวหมาก (มิสซิ่งลิงก์) วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท ต้องทบทวนใหม่เพราะเส้นทางบางส่วนทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าเรื่องถึงกระทรวงคมนาคมเดือนมกราคมนี้ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายกรอบเวลาดำเนินการก่อสร้างจาก 36 เดือน เป็น 54 เดือน

ขณะที่ รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง มูลค่ารวม 2.62 แสนล้านบาท รฟท.อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบภายในปีนี้

ส่วน โครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการเดินรถตลอดเส้นทาง วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท คาดว่าจะเสนอ ครม.เห็นชอบเดือนมกราคมนี้ และเปิดประมูลในเดือนมิถุนายน

ขณะที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลและลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้

สำหรับ การขนส่งทางอากาศ ของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จะเปิดประมูลโครงการพัฒนาสนามบินภูมิภาคทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ กระบี่, สุราษฎร์ธานี, นราธิวาส และบุรีรัมย์ วงเงินรวม 3.4 พันล้านบาท คาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้รับเหมาได้ภายในกลางปี พร้อมเปิดบริการปี 2565-2566

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. อยู่ระหว่างเสนอโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 4.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเสนอ ครม.ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังพิจารณา

และยังมีอีกหลายโครงการที่เริ่มชัดเจนต่อเนื่อง รอติดตามต่อสัปดาห์หน้าครับ!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 11:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.-การเคหะฯร่วมMOUพัฒนาที่อยู่อาศัย

วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563




กคช. ผนึกรฟม.ลุยคอนโดแนวรถไฟฟ้า
อังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

กคช. จับมือรฟม. เช็นMOU พัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน โฟกัส สายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่ กับ สถานีบางปิ้ง สมุทรปราการ นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ถือเป็นการบูรณาการระหว่าง กคช. กับ รฟม. ในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย ด้วยการเชื่อมโยงที่อยู่อาศัยเข้ากับแหล่งงาน โดยใช้โครงข่ายระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการพัฒนาและการบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางให้สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน และตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่เหมาะสม รวมถึงยังสามารถเข้าถึงระบบบริการขนส่งมวลชนและระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น การดำเนินโครงการในครั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการใช้พื้นที่เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยควบคุมทิศทางการขยายตัวของเมืองให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ลดภาระการเงินของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ทั้งนี้ การพัฒนาและบริหารจัดการเมืองด้วยระบบดังกล่าว เป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงเป็นการส่งเสริมการบูรณาการการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างองค์กรของรัฐ อนึ่ง การดำเนินโครงการความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างโอกาสการมีที่อยู่อาศัย ด้วยการนำที่ดินของหน่วยงานภาครัฐมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยทั้งนี้ กคช. และ รฟม. จะร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามเส้นทางโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนปี 2558 – 2572 ประกอบด้วย การร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยบนที่ดินของ รฟม. หรือ กคช. รวมถึงกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (สถานี) หรือสถานีซ่อมบำรุง หรือเพื่อการอยู่อาศัย พร้อมองค์ประกอบด้านอื่นที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดสถานที่ จอดรับ – ส่ง การให้บริการรถไฟฟ้าให้สอดคล้องกับพื้นที่พัฒนาของ กคช. ที่มีการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแล้ว หรือจะมีการพัฒนาขึ้นในอนาคต โดยตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 โดย รฟม. ได้พิจารณานำที่ดินของรฟม. จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าคลองบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี และสถานีรถไฟฟ้าบางปิ้ง จังหวัดสมุทรปราการ มาร่วมดำเนินการ ซึ่งผลดำเนินงานโครงการฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปใช้ประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2020 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทอง
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 มกราคม 2563 - 15:37 น.

Click on the image for full size
บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมืองทอง “สีเหลือง” เชื่อมรัชโยธินติดปมแย่งผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วันที่ 22 ม.ค.2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้อนุมัติผลเจรจาการลงทุนส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ตามที่บริษัท นอร์ท เทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานนำเสนอจะลงทุน 3,379 ล้านบาท สร้างจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. จำนวน 2 สถานี

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทอง

โดยผลเจรจาเอกชนจะแบ่งรายได้ค่าโดยสารส่วนต่อขยายให้กับ รฟม.ก็ต่อเมื่อมีผลการดำเนินการที่มีกำไรเพิ่มขึ้น 30% ตาม EIRR ซึ่งจะเป็นหลังปีที่ 20 ไปแล้ว เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 2-3 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากปีแรกเปิดบริการสายสีชมพูทั้งสายหลักและส่วนต่อขยายจะอยู่ที่ 1.9 แสนเที่ยวคนต่อวัน

“หลังจากนี้จะเสนอคณะกรรมการมาตรา 43 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จะมีประชุมวันที่ 5 ก.พ.2563 จะพิจารณาร่างแก้ไขสัญญาเพิ่ม ตามผลเจรจา เช่น เรื่องเส้นทางที่เพิ่มเติมไปในเมืองทองธานี ผลเงื่อนไขการลงทุนทั้งหมด รวมถึงการที่ รฟม.จะต้องเป็นผู้เวนคืนที่ดินให้เพิ่มตรงหัวมุมทางเข้าประมาณ 200-300 ตารางวา นอกเหนือจากขอใช้พื้นที่ใต้ทางด่วนจากการทางพิเศษฯ” นายภคพงศ์กล่าวและว่า

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองบอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองบอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทอง

เมื่อคณะกรรมการมาตรา 43 อนุมัติแล้ว จะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจร่าง ส่งกลับไป รฟม. กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะเวลาดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ อีกสักระยะหนึ่ง แต่จะเร่งให้มีการก่อสร้างภายในปี 2563 นี้ ส่วนการเปิดให้บริการจะล่าช้าจากสายหลักไปอย่างน้อย 1 ปี

Click on the image for full size
นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า สำหรับสายสีเหลืองส่วนต่อขยายที่บริษัท อีสเทิร์น โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานเสนอจะลงทุนก่อสร้างจากแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปแยกรัชโยธิน เชื่อมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 2.6 กม. ลงทุน 3,779 ล้านบาท ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากทาง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน มีข้อกังวลจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารของสายสีน้ำเงิน

บอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจา BTS ลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทอง

ภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ รฟม. BEM และกลุ่มบีทีเอสเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการชดเชยให้กับ BEM ยังไงได้บ้าง เนื่องจากจะมีผู้โดยสารหายไป 9,000 เที่ยวคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2020 11:11 am    Post subject: Reply with quote

คุมเข้มก่อสร้าง รถไฟฟ้า ไม่ให้ปล่อยพิษ
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 มกราคม 2563 05:22 น.

ต่อมาเวลา 13.30 น. พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. ร่วมประชุมขอความร่วมมือแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 กับนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีที่ปรึกษา รฟม. ตัวแทนผู้รับเหมาก่อสร้างสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง มาร่วมด้วย จากนั้นเจ้าหน้าที่ รฟม. พาดูตัวอย่างไซส์งานจุดก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานี รฟม. ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ เช่น การฉีดละอองน้ำ ขนาดเล็ก การล้างล้อรถบรรทุกก่อนออกสู่ถนนหลัก บริเวณจุดที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า รฟม.ในพื้นที่กรุงเทพฯ การทำความสะอาดถนนสาธารณะโดยใช้รถดูดฝุ่น และการใช้เครื่องจักรก่อสร้างไม่มีการสร้างควันมลพิษ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่นๆที่กำหนดไว้ อาทิ งดกิจกรรมก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง การใช้ผ้าใบคลุมรถบรรทุก เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2020 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

โมโนเรล อบจ.สมุทรปราการ 5 หมื่นล้านได้ไปต่อ ก.ก.ถ.ไฟเขียว แนะรูปแบบลงทุน-บริหารจัดการ-เชื่อมต่อระบบ ต้องให้หน่วยงานรัฐร่วม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 14:58
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:09




รถไฟฟ้ารางเดี่ยว “อบจ.สมุทรปราการ” มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน ได้ไปต่อ ก.ก.ถ.เห็นตามอนุฯ แก้ปัญหาบริการสาธารณะ อปท. แต่ต้องให้ความสำคัญมาตรฐานการเดินรถ ความปลอดภัย ผลกระทบจากการเข้าไปใช้พื้นที่ของเอกชน ตามที่กฎหมายกำหนด รวมคำนึงถึงศักยภาพของ อบจ.ที่จะดำเนินโครงการ แนะรูปแบบการลงทุน บริหารจัดการระบบและการเชื่อมต่อระบบ ให้พิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “คจร.-กรมราง-รฟม.” เข้ามาเกี่ยวข้อง

วันนี้ (31 ม.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติในวาระหารืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ของจังหวัดสมุทรปราการ

โดยที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.เสนอ โดย อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 (21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร โดยในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวของอบจ.สมุทรปราการต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ที่กำหนดว่า ถ้าจะดำเนินกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และให้แจ้ง อบจ.สมุทรปราการทราบ พร้อมกับข้อสังเกตของ ก.ก.ถ.ไปดำเนินการดังนี้

1. การดำเนินการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) จะต้องพิจารณามาตรฐานการเดินรถ มาตรฐานความปลอดภัย ผลกระทบที่เกิดขึ้นในการเข้าไปใช้พื้นที่ดำเนินการ โดยเฉพาะพื้นที่ของเอกชน ตามที่กฎหมายกำหนดและคำนึงถึงศักยภาพของ อบจ.สมุทรปราการ ที่จะดำเนินโครงการด้วย

2. การดำเนินโครงการของ อบจ.สมุทรปราการ จะต้องพิจารณารูปแบบการลงทุน การบริหารจัดการระบบและการเชื่อมต่อระบบ ซึ่งจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) กรมการขนส่งทางราง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลซนแห่งประเทศไทย ฯลฯ เข้าร่วมพิจารณาด้วย

ทั้งนี้ เห็นควรแจ้งมติดังกล่าวให้ อบจ.สมุทรปราการทราบต่อไป

มีรายงานว่า ที่ประชุม ก.ก.ถ.ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการว่า ควรจะให้ อบจ.เป็นผู้พิจารณาสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เช่น จังหวัดขอนแก่น ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าโครงการจะผ่านเนื่องจากติดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่ดินที่เป็นของกรมทางหลวง โดยคาดว่าในอนาคตจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดเชียงใหม่ จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย หากต่อไปในอนาคตมีการอนุญาตให้ อบจ.สร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ได้ ก็เห็นควรให้มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะด้านเทคนิคท้องถิ่นคงจะไม่มีความชำนาญ ต้องอาศัยหน่วยชำนาญการของรัฐบาลกลาง

นอกจากนี้ รัฐบาลมีกฎหมายแล้ว เกี่ยวกับเรื่องประชารัฐ ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น หรือสมุทรปราการ เอกชนมีหน้าที่ร่วมลงทุนด้วย อาจจะตั้งเป็นบริษัทจำกัด หรือมหาชน แต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงทุนด้วย จะได้ดูแลผลประโยชน์ ได้รับความสะดวกของราษฎร ให้ความสำคัญเกี่ยวกับท้องถิ่น

“นายก อบจ.จะรู้สภาพภูมิประเทศในเขตจังหวัดของตนเอง โดยเฉพาะในตัวเมืองแต่ตัวเมืองเป็นหน้าที่ของเทศบาลนคร แต่ว่าไม่มีกำลังพอ คิดว่าควรรับหลักการในเรื่องให้ อบจ.เป็นผู้มีภาระในการขออนุญาตจัดทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เพราะว่าขั้นตอนซับซ้อนยุ่งยากพอสมควร ยกตัวอย่าง จังหวัดขอนแก่น กว่าจะเสร็จ หลายปี แต่ถ้าหากรับหลักการตรงนี้ ขั้นตอนต่อไปจะง่ายขึ้น แล้วทำให้ความเจริญของบ้านเมืองจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว”

ขณะที่ด้านกฎหมาย ตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ด้านกฎหมายที่คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.เสนอมา เพราะว่าโดยตัวกฎหมายให้ทาง อบจ.มีอำนาจหน้าที่ทำ แต่การจะทำได้แค่ไหนเพียงใดก็คงจะต้องไปดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 เพราะเป็นกฎหมายหลักตอนนี้ในการดำเนินการ

สิ่งที่สำคัญการจัดทำระบบราง Monorail หรือระบบรางคู่ก็ตามมีเรื่องหลายเรื่องที่จะต้องดู เช่น มาตรฐานการเดินรถ มาตรฐานความปลอดภัย เพราะการดำเนินการอยู่ในกฎหมาย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลซนแห่งประเทศไทย มีวางกฎเกณฑ์อยู่ แต่การดำเนินการต้องขึ้นกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ที่จะต้องกำหนดว่า จะต้องดำเนินการอย่างไร ผลกระทบจากการต้องลงไปใช้พื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ของเอกชนที่จะต้องไปดำเนินการให้ได้มา

มีการดำเนินการทางกฎหมาย และการดำเนินการตามข้อเท็จจริงอีกหลายประการ ทั้งหน่วยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) หรือกรมการขนส่งทางราง ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับระบบรางต้องเข้าไปดูด้วย เพราะฉะนั้นในแง่ของกฎหมาย แต่จะทำได้แค่ไหนต้องไปดูข้อเท็จจริงกับสภาพที่เกิดขึ้นว่ามีศักยภาพและมีความสามารถเพียงใด

บอร์ด ก.ก.ถ.หลายคนแสดงความเห็นว่า ถ้าชัดเจนในประเด็นกฎหมาย คงไม่เป็นห่วง แต่ไม่แน่ใจว่ามติในประเด็นนี้จะครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อระบบไปกับระบบอื่นหรือไม่ที่เป็นขนส่งมวลชน คือ เคยมีบทเรียนรถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อไม่ได้ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ดังนั้นควรมีมติคลุมไปถึงด้วย นอกจาก อบจ.ดำเนินการได้แล้วจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อระบบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต้องมาวินิจฉัยตีความกันในอนาคต




นอกจากนี้ ในด้านเศรษฐศาสตร์ การดำเนินการขนส่งมวลชนภายในเมือง หรือภายในจังหวัด ต้องเป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นนั้นๆ การเงินการคลังถึงจะชัดเจน มีเช่นนั้นต้องนำงบประมาณที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศมาสร้างทางให้คนกรุงเทพ แล้วคนกรุงเทพใช้ ซึ่งไม่ถูก

“จะเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือ แผนมหภาค หรือแผนแม่บท เรื่องของระบบและการกำกับดูแล การเชื่อมต่อ ความปลอดภัย มาตรฐานต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และมีองค์กรกำกับ ส่วน Operation ในแต่ละภาค จังหวัด แต่ละเมือง ไม่ควรให้องค์กรเดียว การที่ รฟม.มีอำนาจดำเนินการให้อำนาจได้ แต่อำนาจนั้นไม่ควรเป็นอำนาจผูกขาด (ห้ามคนอื่นทำ) เวลานี้ตีความเป็นแบบนั้นแล้วซึ่งถูกต้องควรจะส่งเสริมให้แต่ละพื้นที่ดำเนินการกันเอง แต่ต้องทำในระบบภายใต้แผนแม่บท ภายใต้ระบบใหญ่ ภายใต้กำกับดูแลมาตรฐานที่จะเชื่อมต่อกันได้”

ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม ประธานในที่ประชุมเห็นว่า คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ อปท.วินิจฉัยปัญหาว่า อบจ.สมุทรปราการ มีอำนาจดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งก็ดำเนินการได้ พอดำเนินการได้ไม่ถึง 100% หากไปเชื่อมต่อระบบหรือจะมีโครงการ PPP ได้หรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง รวมทั้งการต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่น เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และกฎหมายอีกหลายฉบับ กฎหมายของ รฟม. เองด้วย ต้องไปคำนึงถึงสิ่งเหล่านั้น เพราะว่า แต่เดิมเกรงว่าสุดท้าย อบจ. จะทำไม่ได้แต่เมื่อทำได้ก็แล้วไป

ทั้งนี้ อบจ.สมุทรปราการ ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และแสดงเส้นทางโครงการในท้องที่ 15 สถานี ได้กำหนดแนวทางออกเป็น 9 เส้นทาง โดยได้สรุปใช้แนวทางสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท นำร้อง ระยะทาง 29.79 กิโลเมตร รวม 15 สถานี โดยสถานีแพรกษาจะเป็นจุดสำคัญ เนื่องจากจะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ)

“อบจ.สมุทรปราการ ยังกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำสุดที่ 15 บาท ปรับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาท/กิโลเมตร โดยไกลสุดสถานีแพรกษาถึงสถานีลาดกระบัง จะจัดเก็บ 90 บาท คาดใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 57,495.31 ล้านบาท”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2020 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะ “ผังเมืองรวมนนทบุรี” บังคับใช้ปีนี้ เขย่าใหม่พื้นที่3.8แสนไร่บูม23สถานีรถไฟฟ้า3สาย
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 - 09:19 น.

เคาะ “ผังเมืองรวมนนทบุรี” บังคับใช้ปีนี้ เขย่าใหม่พื้นที่3.8แสนไร่บูม23สถานีรถไฟฟ้า3สาย
คุมการพัฒนา - ผังเมืองรวมจังหวัดนนทบุรี หลังใช้เวลากว่า 10 ปีในการปรับปรุงให้ทันการพัฒนาที่รุดหน้าไป จากการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง และกำลังจะมีสายสีชมพู-สีแดงตามมาในเร็ว ๆ นี้ ไม่เกินปีนี้ทาง อบจ.จะออกประกาศบังคับใช้ร่างใหม่ได้ ไฮไลต์คุมความหนาแน่นของแต่ละพื้นที่ และบูมการพัฒนารอบสถานีรถไฟฟ้า

ร่างผังเมืองนนทบุรีสะเด็ดน้ำแล้ว รอเสนอบอร์ดผังเมืองจังหวัดเคาะ คาดประกาศใช้ในปี”63 ยกเครื่องทุกพื้นที่ รับรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี “ม่วง-ชมพู-แดง” อัพโซน 23 สถานีรัศมี 500 เมตร ขึ้นตึกสูง แถมโบนัสอีก 2 เท่า หากพัฒนาที่จอดรถเพิ่ม ลดพื้นที่สีเขียวเกือบ 50% ดาวน์โซนย่านสวนทุเรียนเมืองนนท์ บูมถนนราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ แจ้งวัฒนะ เพิ่มโครงข่ายถนนทั้งขยายถนนเก่า ตัดถนนใหม่จากเหนือลงใต้เชื่อม กทม. พุทธมณฑลสาย 2-3 ระยะทาง 23.5 กม. ขนานวงแหวนตะวันตก รับเมืองโต

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนนทบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้ปรับปรุงร่างผังเมืองรวมจังหวัดนนทบุรีจะนำมาใช้ทดแทนผังเมืองรวมปี 2548 จบกระบวนการทุกอย่างแล้ว รอเสนอคณะกรรมการผังเมืองรวมจังหวัดที่จะมีการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ตาม พ.ร.บ.ผังเมืองรวมฉบับ 2562 ที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา คาดว่าผังเมืองฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 2563 นี้

ร่างผังเมืองใหม่เสร็จแล้ว
“มีผู้ยื่นคำร้อง 1,060 รายขอปรับปรุงแก้ไข ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนสีผังเมือง ปรับข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่ง อบจ.ได้ปรับปรุงบางข้อเรียกร้องเท่านั้น”


รายละเอียดของผังเมืองใหม่ มีการนำหลักเกณฑ์ของผังเมืองรวมกรุงเทพฯมาดำเนินการด้วย เช่น กำหนดความหนาแน่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น FAR หรืออัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน และ OSR หรืออัตราพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวมเพราะมีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พาดผ่านจึงจัดระเบียบการพัฒนาพื้นที่

เคาะ “ผังเมืองรวมนนทบุรี” บังคับใช้ปีนี้ เขย่าใหม่พื้นที่3.8แสนไร่บูม23สถานีรถไฟฟ้า3สาย

แจ้งวัฒนะได้ FAR สูงสุด 8 : 1
“FAR สูงสุดอยู่ที่ 8 : 1 ย่านแจ้งวัฒนะ จะไม่ให้สูงสุดเท่ากรุงเทพฯ อย่างที่ผู้ประกอบการคอนโดฯต้องการ เพราะสาธารณูปโภคและการคมนาคมยังไม่พอรองรับ”

ที่ผ่านมาเอกชนยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นได้ หลังผังเมืองหมดอายุปี 2548 ซึ่งในข้อบัญญัติไม่ได้ห้ามเหมือนผังเมืองรวม ทำให้มีการขออนุญาตก่อสร้างกันมากก่อนที่ผังเมืองรวมฉบับใหม่บังคับใช้

ลดพื้นที่สีเขียว 2 หมื่นไร่
สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 388,939.38 ไร่ มีทั้งปรับเพิ่มและปรับลดบางพื้นที่ เช่นลดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จาก 201,304.87 ไร่ เหลือ 181,442.13 ไร่ หรือลดลง 46.65% ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) จาก 101,064.88 ไร่ เหลือ 94,094.83 ไร่ หรือลดลง 24.19% ปรับเพิ่มที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) จาก 46,160.61 ไร่ เป็น 58,920.11 ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 15.15% เป็นต้น

“คอนเซ็ปต์ผังใหม่ พัฒนาเมืองให้เป็นที่อยู่อาศัยชั้นดี มีอัพโซนและดาวน์โซนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แต่ละย่าน การวางผังพัฒนาต้องมอง 20 ปี และเป็นไปในทิศทางเดียวกับผังเมือง กทม. ปทุมธานี นครปฐม”

หนุนพัฒนา 500 เมตรรอบสถานี
โดยจะส่งเสริมการพัฒนาในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง 13 สถานี ได้แก่ คลองบางไผ่ ตลาดบางใหญ่ สามแยกบางใหญ่ บางพลู บางรักใหญ่ ท่าอิฐ ไทรม้า สะพานพระนั่งเกล้า แยกนนทบุรี 1 ศรีพรสวรรค์ ศูนย์ราชการนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข และแยกติวานนท์ ปรับจากสีเหลือง และสีส้มเป็นสีน้ำตาล

“รอบสถานี 500 เมตร ไม่จำกัดความสูงและขนาดพื้นที่อาคาร หากเกินรัศมีนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของถนน เช่น พื้นที่สีเหลืองและสีเขียว จะสร้างอาคารสูงต้องอยู่บนเขตทางกว้าง 10 เมตร และ 12 เมตร”

ในส่วนของสายสีชมพูจะส่งเสริมตั้งแต่แยกแคราย-ถนนประชาชื่น มี 10 สถานี ได้แก่ ศูนย์ราชการนนทบุรี แคราย สนามบินน้ำ สามัคคี ชลประทาน ปากเกร็ด เลี่ยงเมืองปากเกร็ด แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 เมืองทองธานี และศรีรัช มีปรับสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล และช่วงเมืองทองธานี-คลองประปา ปรับสีเหลืองเป็นสีส้ม และมีปรับพื้นที่ อ.บางกรวย จากสีเหลืองเป็นสีส้มรับสายสีแดง

ปรับสีผังย่านราชพฤกษ์-ชัยพฤกษ์
นอกจากนี้จะปรับสีผังเมืองถนนราชพฤกษ์และชัยพฤกษ์ จากพื้นที่สีเขียว และสีเหลือง เป็นสีเหลืองและสีส้ม เช่น ช่วงเชื่อมต่อห้าแยกปากเกร็ดถึงถนนชัยพฤกษ์

ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินมีปรับบริเวณด้านหลังศูนย์การค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะอยู่ในพื้นที่สีส้ม มีผู้ประกอบการคอนโดฯ ขอให้สร้างได้เกิน 10,000 ตร.ม. และขอปรับสีผังเมืองบริเวณคลองข่อย บางพลับ คลองพระอุดม ย่านปากเกร็ดจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และสีเหลืองเป็นสีส้ม

ดาวน์โซนย่านสวนทุเรียน
สำหรับการปรับลดความหนาแน่น (ดาวน์โซน) บริเวณบางเลน บางกร่าง และไทรม้าด้านใต้ (คลองอ้อมนนท์) มีสะพานนนทบุรี 1 จากเดิมสีเหลืองเป็นสีเขียว เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีสวนทุเรียน เริ่มมีบ้านจัดสรรเข้าไปพัฒนา

ด้านพื้นที่สีม่วงอ่อน (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ) อยู่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คลองขวาง อ.ไทรน้อย สร้างโรงงานกำจัดขยะของจังหวัด และเพิ่มพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม และคลังสินค้า) อยู่บริเวณ อบต.ละหาร ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าเฟอร์นิเจอร์และคลังสินค้า

“บริเวณนี้อนาคตจะกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เพราะจะตัดถนนใหม่ไปเชื่อมกับมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี”

ทั้งนี้มีบริษัทใหญ่ยื่นขอปรับสีผังเมืองแต่ยังไม่ให้ เพราะยังไม่จำเป็น เช่น บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ขอปรับพื้นที่ราชพฤกษ์ ใกล้กับคริสตัลพาร์ค ให้สร้างศูนย์การค้าออฟฟิศที่อยู่อาศัยรวมได้เกิน 10,000 ตร.ม.

ตัด-ขยายถนนใหม่รับเมืองโต
ขณะที่ผังโครงข่ายคมนาคมมีทั้งขยายถนนเก่าและตัดถนนใหม่ ให้เชื่อมโยงกันสะดวกขึ้น 43 สายทาง เช่น ตัดถนนสายใหม่เชื่อมจากแนวเหนือ-ใต้กับถนนพุทธมณฑลสาย 2-3 หรือถนนสาย ฉ ขนาด 50 เมตร ระยะทาง 23.56 กม.แนวจะคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นจากคลองลากค้อนบริเวณคลองลากค้อน บรรจบกับถนน 340 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวคลองลากค้อน มาบรรจบกับถนน 3215 ถนนกาญจนาภิเษก ตัดตรงลงมาตัดกับคลองมหาสวัสดิ์ และถนนพุทธมณฑลสาย 2 และสาย 3, ถนนเชื่อมถนนนครอินทร์กับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ซอย 17 และมีประชาชนขอตัดโครงการสะพานสนามบินน้ำไปเชื่อมวิภาวดีขาออก

สร้างที่จอดรถได้โบนัสเพิ่ม
ยังให้โบนัสFARเจ้าของที่ดินและผู้ประกอบการ เพิ่ม 20% ใน 3 กรณี 1.มีพื้นที่โล่งหรือสวนสาธารณะ 2.มีที่จอดรถ ใน 9 สถานี ได้แก่ ตลาดบางใหญ่ บางพลู บางรักใหญ่ ไทรม้า สะพานพระนั่งเกล้า บางกระสอ ศูนย์ราชการนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข และแยกติวานนท์ และ 3.ถอยร่นแนวอาคารมากกว่า 15 เมตร แนวถนนแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ นครอินทร์ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ เลี่ยงเมืองปากเกร็ดและเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2020 10:44 am    Post subject: Reply with quote

“อบจ.สมุทรปราการ” จัดประชุมเตรียมก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล

การเมืองท้องถิ่น
สยามรัฐออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2563 00:11

Click on the image for full size
ที่ห้องประชุมชั้น 4 ตึกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีการประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสถาบันวัสดุและเครื่องจักรจากประเทศเกาหลี ได้มานำเสนอเทคโนโลยี การขนส่งระบบราง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้พลังงานแม่เหล็กในการขับเคลื่อนซึ่งเป็นโมโนเรลชนิดหนึ่ง โดยมี นายวิมล มงคลเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ.สมุทรปราการ นายพิริยะ โตสกุลวงศ์ กรรมการหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายสรากร บรรจงจิตต์ ผู้อำนวยการกองผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ Mr.Dusun kim กรรมการผู้จัดการ บริษัท RETD จำกัด จากประเทศเกาหลี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม





นายวิมล มงคลเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า เป็นที่ปรากฏแน่ชัดแล้วว่าทางคณะกรรมการกระจายอำนาจได้ตอบมาแล้วว่า ในเรื่องของการขนส่งมวลชนเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ โดยจะทำการเชื่อมโยงจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ไปยังสถานีแอร์พอตลิงค์ สนามบินสุวรรณภูมิ วันนี้จึงได้เปิดโอกาสให้บริษัทจากประเทศเกาหลีได้นำเสนอเทคโนโลยีขนส่ง โดยใช้พลังงานแม่เหล็กซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่ง พร้อมกับเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นๆได้นำเสนอเทคโนโลยีชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดกับชาวสมุทรปราการ โดยต้องพิจารณาในเรื่องของงบประมาณและความคุ้มค่า



ซึ่งจะต้องมีการเปรียบเทียบเรื่องความคุ้มค่ากับรถไฟฟ้าโมโนเรลระบบรางกับระบบแม่เหล็กที่มีเสียงเงียบกว่า รวมทั้งระยะเวลาในการก่อสร้างและงบประมาณในการดำเนินการ โดยจะใช้ระยะทางในการก่อสร้างประมาณ 30 กิโลเมตร โดยทีมที่ปรึกษา ได้ศึกษาดูว่าจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณเท่าไหร่และใช้เส้นทางไหนบ้าง ขณะนี้ได้นำเข้าแผนเพื่อนำสู่สภาอบจ.เพื่อจะจัดจ้างที่ปรึกษาของโครงการนี้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2020 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพย 'ที่จอดรถ' 2.7 หมื่นคัน จูงใจทิ้งรถส่วนตัวนั่งรถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การจัดพื้นที่จอดแล้วจร หรือ park & ride ในแนวรถไฟฟ้า นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายของรัฐบาลที่พยายามจะผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม

เพื่อเป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น หากสำเร็จจะช่วยแก้ปัญหา หลายอย่าง ทั้งแก้ปัญหา รถติดในเมืองกรุง ลดมลพิษ และฝุ่น PM 2.5

ย้อนไปเมื่อปี 2559 หลัง "รัฐบาล คสช." มี "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารงานได้ไม่นาน มีไอเดียให้สร้างที่จอดรถเพิ่ม โดยให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

"มีแนวคิดจะทำอย่างไรให้ลดปัญหาการจราจรได้ สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้หาความเชื่อมโยงต่อระบบขนส่งมวลชน ซึ่งรอยต่อของแต่ละช่วงจะต้องมีที่จอดรถ จึงให้แนวทางกับผู้ที่เกี่ยวข้องไปหารือกับเอกชน ร่วมมือลงทุนสร้างที่จอดรถในเมือง เป็นตึกสูงประมาณ 10 ชั้น จากนั้นก็บริหารจัดการ เก็บค่าเช่า จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการจราจรดีขึ้น" เป็นข้อสั่งการของ "บิ๊กตู่" เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา

ล่าสุดเรื่องที่จอดรถถูกหยิบนำมา เป็นหัวข้อการหารือในวงประชุมแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดย "สนข.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้บรรจุมาตรการจัดพื้นที่จอดแล้วจรไว้เป็นหนึ่งในแผนระยะกลาง (2565-2569) ที่จะมาแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋วในอนาคต

ในข้อมูลของ "สนข." ฉายภาพถึงพื้นที่จอดแล้วจรแนวรถไฟฟ้าในแผนแม่บท 12 สายทาง อยู่ในความรับผิดชอบของ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" และ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" รวมทั้งหมด 27,025 คัน

แบ่งเป็นรถไฟฟ้าก่อสร้างแล้วเสร็จ มีที่จอดรถ จำนวน 6,420 คัน ได้แก่ สายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ จำนวน 5,520 คัน มีสถานีนนทบุรี 1 จำนวน 1,100 คัน สถานีท่าอิฐ 1,070 คัน สถานีแยกบางใหญ่ 1,450 คัน และสถานีคลองบางไผ่ 1,900 คัน และ สายแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 900 คัน มีสถานีบ้านทับช้าง 50 คัน สถานีลาดกระบัง 500 คัน และสถานีหัวหมาก 350 คัน

อยู่ในแผนและอยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 9,955 คัน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ที่สถานีหลักสอง 1,000 คัน สายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ สถานี กม.25 จำนวน 1,042 คัน สถานี คูคต 713 คัน สายสีส้มที่สถานี คลองบ้านม้า 1,200 คัน สถานีมีนบุรี 3,000 คัน สายสีเหลืองที่สถานีศรีเอี่ยม 3,000 คัน

อยู่ในแผนแต่ยังไม่ได้ก่อสร้าง จำนวน 3,400 คัน อยู่ในสายสีม่วงใต้ช่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีบางปะกอก 1,700 คัน และสถานีราษฎร์บูรณะ 1,700 คัน

ขณะเดียวกัน "สนข." ได้กำหนดพื้นที่เสนอแนะให้สร้างเพิ่มเติม จำนวน 7,250 คัน แยกเป็นในแนวสายสีแดงช่วงบางซื่อ- รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่รังสิต 4,000 คัน กาญจนาภิเษก 500 คัน ตลิ่งชัน 500 คัน

แนวแอร์พอร์ตลิงก์ที่ลาดกระบัง 500 คัน และบ้านทับช้าง 50 คัน สายสีชมพูแคราย- มีนบุรี ที่วัชรพล 1,000 คัน แคราย 50 คัน สายสีเขียวที่ตลาดพลู 150 คัน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่บางหว้า 500 คัน

นอกจากแผนงานของ "สนข." แล้ว ในส่วนของผังเมืองรวมกรุงเทพ มหานครฉบับใหม่ที่กำลังจะบังคับใช้ ได้เพิ่มมาตรการลดจำนวนที่จอดรถ 25% ในโครงการคอนโดมิเนียมทำเลใจกลางเมืองใกล้รถไฟฟ้า

ในทางกลับกัน จะส่งเสริมทำเลชานเมืองที่อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่เชื่อม ให้พัฒนาพื้นที่จอดรถเพิ่มขึ้น โดยแลกกับได้รับโบนัส FAR (สัดส่วนพื้นที่อาคารต่อขนาดที่ดิน) เพิ่มขึ้นไม่เกิน 20%

มี 22 สถานี ได้แก่ สถานี กม.25, ดอนเมือง, หลักสี่, วัชรพล, มีนบุรี, บางซื่อ, ลาดพร้าว, หมอชิต, บางบำหรุ, ตลิ่งชัน, ศูนย์วัฒนธรรมฯ, บางกะปิ, มักกะสัน, หัวหมาก, ลาดกระบัง, ศูนย์สิริกิติ์, สะพานตากสิน, หลักสอง, ศรีเอี่ยม, สะพานพระราม 9, ราษฎร์บูรณะ, รางโพธิ์

หวังดึงคนชานเมืองหันมาใช้รถไฟฟ้าเข้าเมืองมากขึ้น เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่สิ่งที่คิดจะเป็นจริงได้แค่ไหน ก็ต้องติดตามกัน ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2020 4:47 am    Post subject: Reply with quote

ในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยเป็นความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) ณ วันที่ 31 มกราคม 2563

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 100
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work)เสร็จสมบูรณ์ 100% ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 98.52
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงเเคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 51.96 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 47.50
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 51.81 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 47.39
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 54.93
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2563)

https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2436659376550782/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2020 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะแน่ 3 รถไฟฟ้า นํ้าตาล-เทา-"ทองเฟส2"
ออนไลน์เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,547
วันที่ 9 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ไม่ว่าจะผ่านไปทางไหนจะเห็นการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้ากระจายเกือบเต็มพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร และทยอยเปิดเดินรถตามระยะทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้สัญจร อีกทั้งยังเปิดหน้าดินพัฒนาโครงการน้อยใหญ่ของภาคเอกชน คู่ขนานไปตามเส้นทางเกิดการจ้างงาน ผู้รับเหมาดึงความเจริญเข้าสู่พื้นที่

เห็นได้ชัดอย่าง ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต ปัจจุบันเปิดเดินรถไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถัดไปจะวิ่งยาวไปถึงสถานีย่านสะพานใหม่,วงเวียนหลักสี่ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ และเปิดเดินรถทั้งเส้นทางถึงคูคตได้ภายในปลายปีนี้ขณะส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงินเปิดครบทุกเส้นทาง ทั้ง ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง/เตาปูน-ท่าพระ ช่วยให้การเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครไปมาหาสู่กันเพียงไม่กี่นาที

อีกเส้นทางที่จะเปิดให้บริการ โดยเริ่มทดลองเดินรถอย่างไม่เป็นทางการ คือสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ส่วนสายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีส้มตะวันออก ช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ได้เห็นความก้าวหน้าอย่างชัดเจน มีการวางคานบนตอม่อเป็นแนวยาวเรียกว่าอีกชั่วอึดใจคนเมืองไม่ต้องหวาดผวาเสียเวลากับปัญหารถติดอีกต่อไป เนื่องจากมีทางเลือกที่ดี และสะดวกกว่า

นอกจากนี้ ราวกลางปีนี้ ยังเตรียมประมูลรถไฟฟ้าอีก 2 สาย ทั้งสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และ สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายหลักที่มีกลุ่มทุนให้ความสนใจจำนวนมาก



ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสั่งการให้เดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ต่อเนื่อง เชื่อมโยงให้ครอบคลุมทุกการเดินทาง อำนวยความสะดวกคนกรุง และพื้นที่ใกล้เคียง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งทางรางมากขึ้น ไล่ตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสนํ้าตาล ช่วงแคราย-มีนบุรี ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟม.)อนุมัติให้ก่อสร้างทับบนฐานรากทางด่วน N2 เพื่อไม่ให้กระทบต่อการก่อสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)

สำหรับความคืบหน้า ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบและทำรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ซึ่งยังติดปัญหาค่อนข้างมาก แม้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดให้ รฟม. ประมูลภายในปีนี้ แต่ประเมินว่าน่าจะก่อสร้างได้จริงปี 2565 ในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนเอกชน (พีพีพี)โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร จะเป็นลักษณะฟีดเดอร์รับส่งผู้โดยสาร เชื่อมเข้ากับเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก หากจะให้คุ้มค่าการลงทุนต้องรอโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-คูคต สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เปิดให้บริการขณะข้อมูลปรึกษา รถไฟฟ้าเส้นนี้ ระบุเส้นทางที่เหมาะสม จะใช้แนวเส้นทางเดิม หรือวิ่งตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ผ่านถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีฯ ก่อนไปสิ้นสุดที่สถานีแครายบนถนนงามวงศ์วาน และประเมินว่า สายสีนํ้าตาล ยังช่วยเชื่อมเมืองด้านฝั่งแคราย จังหวัดนนทบุรี กับฝั่งเกษตร-นวมินทร์ ที่มีอัตราการเติบโตสูงเข้าด้วยกัน


นักเรียนไทยค้นพบวิธีกำจัดไขมันให้หายไปตลอดกาลโดยไม่ต้องจำกัดอาหาร
อ่านต่อ
Advertiser

มาที่รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และพระ โขนง-ท่าพระ โครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพ มหานคร ล่าสุดกระทรวงคมนาคม เตรียมหารือเพื่อเร่งเดินหน้าโครงการนี้ให้เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายหลักระยะแรก ที่มีแผนก่อสร้างแนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วง มิสซิ่งลิงก์ บางซื่อ - หัวหมาก เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่สถานี 2 มีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทสถานีพระโขนงจากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระราม 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวรถโดยสารด่วนพิเศษสายสาทร-ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมอีกจุดหนึ่งที่สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระอันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลอีก 1 จุด ระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตรส่วนรถไฟฟ้าสายสีทอง เส้นทางฝั่งธน ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-สะพานพุทธ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี ช่วงแรก มีความก้าวหน้าไปมาก เตรียมเปิดให้บริการเชื่อมโยงห้างไอคอนสยาม ตัดกับสถานีกรุงธนบุรี บีทีเอสสายสีเขียวส่วนระยะที่ 2 เตรียมก่อสร้างอีกไม่นาน กรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีระบบรางเชื่อมโยง ครอบคลุม และสะดวกสบายท่ามกลางความเจริญที่ล้อไปตามเส้นทางที่เกิดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 207, 208, 209 ... 277, 278, 279  Next
Page 208 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©