Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179680
ทั้งหมด:13490912
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 364, 365, 366 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2020 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

'ซีพี'ห่วงส่งมอบพื้นที่ล่าช้า หวังเริ่มสร้าง'ไฮสปีด'ปี63
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ "ซีพี" ชี้ปมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง เงื่อนไขไฮสปีดไปรอด หวังเริ่มงานก่อสร้างปีนี้ "ศุภชัย"สั่งเข้าบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์เร็วที่สุด เล็งเพิ่มขบวนรถ เปลี่ยนอาณัติสัญญาณ "แมคโนเลีย" ลุยออกแบบมักกะสัน ไม่หวั่นพลาดอู่ตะเภา มั่นใจ "ทีโอดี" หนุนโครงการไฮสปีดมีกำไร

บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อ เป็นคู่สัญญาการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินโครงการรถไฟความเร็งสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่ได้ลงนามไป เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 และกลุ่มซีพีที่เป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ได้แต่งตั้งนายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทฯ คนแรก เพื่อทำงานร่วมกับนางโป หง ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ เพื่อมาร่วมผลักดันงานช่วงแรกที่เน้นการก่อสร้างและการระดมทุน

นายธิติฏฐ์ กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องการจะเริ่มงาน ในปี 2563 โดยเงื่อนไขความสำเร็จของโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำงานร่วมกับส่วนราชการ 21 แห่ง และรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง เพื่อสรุปข้อมูลว่ามี ระบบสาธารณูปโภคใดที่ต้องย้ายออก ซึ่งจุดที่ยากที่สุด คือ ท่อน้ำมัน

สำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ที่มาพิจารณา คือ 1.คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) 2.คณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบที่ดินและสาธารณูปโภคที่มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยบริษัทฯ ได้ส่งแผนการใช้พื้นที่และจุดที่ต้องรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้ภาครัฐไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา

"ผมเห็นการแอคทีฟของหน่วยงานรัฐ และถ้าหน่วยงานร่วมแรงร่วมใจกันจะทำให้การส่งมอบเป็นไปตามแผนได้ และถ้าโชคดีคาดว่าปลายปี 2563 บริษัทฯ จะเริ่มทำงานได้ แค่นี้ถือว่าเร่งมากแล้ว แต่เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่การส่งมอบพื้นที่ ซึ่งบริษัทฯ ได้ลง ไซต์งานทุกวันกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ไอทีดี)"

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจจุดที่จะวางรางและเตรียมข้อมูลสำหรับการหารือกับภาครัฐในการย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เตรียมงานบางส่วนแล้วจึงเชื่อว่าจะทันตามกำหนด ซึ่งส่วนที่จะเริ่มก่อสร้างได้ก่อนจะเป็นช่วงสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะใช้เวลาในการดำเนินงานมากกว่า

ห่วงช่วงพญาไท-ดอนเมือง

นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนใน ท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา อำเภอบางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และอ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งบริษัทฯ จะวางแผนการก่อสร้างให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดให้เวนคืน โดยไม่ต้องการให้มีการประกาศพื้นที่เวนคืนเพิ่มเพราะชุมชนจะเดือนร้อน

รวมทั้งเมื่อมีการส่งมอบพื้นที่แล้วจะต้องมาพิจารณาการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีผลทำให้แบบก่อสร้างมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมในบางจุด เช่น เส้นทางช่วงเข้าสนามบินอู่ตะเภาและสุวรรณภูมิ

"ช่วงการก่อสร้างมีจุดที่กังวล คือ พื้นที่ก่อสร้างบางจุดที่อยู่ใกล้ประชาชนมากเกินไป ไม่ว่าเราจะถูกหรือผิดก็เป็นเรื่องน่ากังวล โดยเฉพาะช่วงพญาไท-ดอนเมือง ที่อยู่ใกล้กับประชาชน"

"ศุภชัย"เร่งแอร์พอร์ตเรลลิงก์

นายธิติฏฐ์ กล่าวถึงการเข้าไปพัฒนา โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กำชับว่าเมื่อซีพีจะเข้าไปดำเนินการใดแล้วจะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าดี และทุกอย่างต้องดีขึ้น รวมทั้งนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มอบนโยบายให้เข้าไปเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์เร็วที่สุด

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟความเร็วสูงเร็ว และในสัญญาการร่วมลงทุนกำหนดให้บริษัทฯ ต้องชำระค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปี จึงจะมีสิทธิเข้าไปดำเนินการ

ทั้งนี้ หลังการลงนามร่วมลงทุนกับ ร.ฟ.ท. 2 เดือน บริษัทฯ ได้ทำแผนความต่อเนื่องธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งกำลังประเมินงบประมาณที่จะใช้เตรียมการก่อนบริษัทฯ เข้าไปเดินรถ โดยการเข้าไปเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าไปดำเนินงาน และจะต้องมีการดำเนินการอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ 1.การเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้าให้เพียงพอ 2.การเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบที่จะใช้กับรถไฟความเร็วสูง

ระดมทีมออกแบบมักกะสัน

การดำเนินงานในส่วนการเดินรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศจะไม่มีกำไร แต่การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ Transit Oriented Development (TOD) จะเป็นส่วนที่ทำกำไร เช่น รถไฟความเร็วสูงเส้นทางโตเกียว-โอซาก้า รถไฟความเร็วสูงเส้นทางปารีส-ลียง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงในจีนที่มีการพัฒนา TOD เพื่อสร้าง ชุมชนและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้รถไฟความเร็วสูงเป็นตัวขยายเมือง เช่น จ.ฉะเชิงเทราที่ขยายตัวต่อเนื่องจากกรุงเทพฯ

สำหรับการพัฒนา TOD สำคัญตามสัญญาร่วมลงทุนมี 2 จุด คือ 1.พื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ 2.พื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ ซึ่งบริษัทแมกโนเลียควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จะเป็นผู้ออกแบบการพัฒนา 100% รวมทั้งบริษัทฯ ได้เริ่มเข้าไปสำรวจพื้นที่แล้ว และมีที่ปรึกษาเพื่อวางแผนการพัฒนาพื้นที่ให้ชุมชนได้ประโยชน์จากการพัฒนา โดยขณะนี้กำลังวางรูปแบบการพัฒนาและกำหนดโครงสร้างผู้จะเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่มักกะสัน

รวมทั้งจะนำระบบการเช็คอินสายการบิน กลับมาใช้ เพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสาร หลังจากที่ก่อนหน้านี้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ออกแบบสำหรับให้สายการบินเปิดเช็คอินได้ แต่ต่อมาได้ถูกยกเลิก

ไม่หวั่นพลาดประมูลอู่ตะเภา

สำหรับการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ซึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้ประกาศชื่อผู้ยื่นข้อเสนอสูงสุดแล้ว คือ กิจการร่วมค้าบีบีเอส โดยบริษัทฯ เห็นว่าไม่ว่าใครจะเป็นผู้ประมูลได้ก็ถือว่ามีประโยชน์

"หากเราประมูลอู่ตะเภาได้ก็ดี แต่ผมก็มองโลกในแง่ดีว่าหากอีกกลุ่มประมูลได้ก็คงพยายามให้มีผู้โดยสารผ่านสนามบินอู่ตะเภาเพิ่มมากขึ้น จะเป็นลักษณะที่เราต้องพึ่งพาเขา และเขาก็ต้องพึ่งพาเรา"

ทั้งนี้ เมื่อการบริหารรถไฟความเร็วสูงจะไม่มีกำไร แต่บริษัทฯ ต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้ได้ ซึ่งหลังจากนี้ก็จะมีโมเดลการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงแต่ละจุดออกมา โดยมั่นว่าที่ผ่านมาได้ศึกษาข้อมูลมาดีแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2020 3:54 am    Post subject: Reply with quote

เปิดตัว 'ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ' ซีพีส่งคุมไฮสปีดเทรน

8 กุมภาพันธ์ 2563

“ซีพี” ชี้ปมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง เงื่อนไขไฮสปีดไปรอด หวังเริ่มงานก่อสร้างปีนี้ “ศุภชัย”สั่งเข้าบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์เร็วที่สุด เล็งเพิ่มขบวนรถ เปลี่ยนอาณัติสัญญาณ “แมคโนเลีย” ลุยออกแบบมักกะสัน ไม่หวั่นพลาดอู่ตะเภา มั่นใจ “ทีโอดี” หนุนโครงการไฮสปีด

บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคู่สัญญาการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินโครงการรถไฟความเร็งสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562

กลุ่มซีพีที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้แต่งตั้ง นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ เป็นประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนแรก เพื่อทำงานร่วมกับนางโป หง ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ เพื่อมาร่วมผลักดันงานช่วงแรกที่เน้นการก่อสร้างและการระดมทุน

สำหรับช่วงที่ผ่านมานายธิติฏฐ์ รับผิดชอบงานในกลุ่มทรู เช่น บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัทเอเซียอินโฟเน็ท บริษัททรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บริษัททรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ บริษัททรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์

"ผมผ่านงานสัมปทานโทรคมนาคมมาหลายโครงการ คราวนี้ลองมาทำงานสัมปทานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง"นายธิติฏฐ์ กล่าว

นายธิติฏฐ์ กล่าวว่า บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ ต้องการจะเริ่มงานในปี 2563 โดยเงื่อนไขความสำเร็จของโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำงานร่วมกับส่วนราชการ 21 แห่ง และรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง เพื่อสรุปข้อมูลว่ามีระบบสาธารูปโภคใดที่ต้องย้ายออก ซึ่งจุดที่ยากที่สุด คือ ท่อน้ำมัน

สำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ที่มาพิจารณา คือ 1.คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) 2.คณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบที่ดินและสาธารณูปโภคที่มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยบริษัทฯ ได้ส่งแผนการใช้พื้นที่และจุดที่ต้องรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้ภาครัฐไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา

“ผมเห็นการแอคทีฟของหน่วยงานรัฐ และถ้าหน่วยงานร่วมแรงร่วมใจกันจะทำให้การส่งมอบเป็นไปตามแผนได้ และถ้าโชคดีคาดว่าปลายปี 2563 บริษัทฯ จะเริ่มทำงานได้ แค่นี้ถือว่าเร่งมากแล้ว แต่เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่การส่งมอบพื้นที่ ซึ่งบริษัทฯ ได้ลงไซต์งานทุกวันกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ไอทีดี)”

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจจุดที่จะวางรางและเตรียมข้อมูลสำหรับการหารือกับภาครัฐในการย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เตรียมงานบางส่วนแล้วจึงเชื่อว่าจะทันตามกำหนด ซึ่งส่วนที่จะเริ่มก่อสร้างได้ก่อนจะเป็นช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะใช้เวลาในการดำเนินงานมากกว่า

ห่วงช่วงพญาไท-ดอนเมือง

นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งบริษัทฯ จะวางแผนการก่อสร้างให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดให้เวนคืน โดยไม่ต้องการให้มีการประกาศพื้นที่เวนคืนเพิ่มเพราะชุมชนจะเดือนร้อน

รวมทั้งเมื่อมีการส่งมอบพื้นที่แล้วจะต้องมาพิจารณาการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีผลทำให้แบบก่อสร้างมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมในบางจุด เช่น เส้นทางช่วงเข้าสนามบินอู่ตะเภาและสุวรรณภูมิ

“ช่วงการก่อสร้างมีจุดที่กังวล คือ พื้นที่ก่อสร้างบางจุดที่อยู่ใกล้ประชาชนมากเกินไป ไม่ว่าเราจะถูกหรือผิดก็เป็นเรื่องน่ากังวล โดยเฉพาะช่วงพญาไท-ดอนเมือง ที่อยู่ใกล้กับประชาชน”

“เจ้าสัว”สั่งรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต้องดีขึ้น


นายธิติฏฐ์ กล่าวถึงการเข้าไปพัฒนาโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กำชับว่าเมื่อซีพีจะเข้าไปดำเนินการใดแล้วจะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าดี และทุกอย่างต้องดีขึ้น รวมทั้งนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มอบนโยบายให้เข้าไปเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์เร็วที่สุด

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟความเร็วสูงเร็ว และในสัญญาการร่วมลงทุนกำหนดให้บริษัทฯ ต้องชำระค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปี จึงจะมีสิทธิเข้าไปดำเนินการ

ทั้งนี้ หลังการลงนามร่วมลงทุนกับ ร.ฟ.ท. 2 เดือน บริษัทฯ ได้ทำแผนความต่อเนื่องธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งกำลังประเมินงบประมาณที่จะใช้เตรียมการก่อนบริษัทฯ เข้าไปเดินรถ โดยการเข้าไปเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าไปดำเนินงาน และจะต้องมีการดำเนินการอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ 1.การเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้าให้เพียงพอ 2.การเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบที่จะใช้กับรถไฟความเร็วสูง


ระดมทีมออกแบบมักกะสัน

การดำเนินงานในส่วนการเดินรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศจะไม่มีกำไร แต่การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ Transit Oriented Development (TOD) จะเป็นส่วนที่ทำกำไร เช่น รถไฟความเร็วสูงเส้นทางโตเกียว-โอซาก้า รถไฟความเร็วสูงเส้นทางปารีส-ลียง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงในจีนที่มีการพัฒนา TOD เพื่อสร้างชุมชนและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้รถไฟความเร็วสูงเป็นตัวขยายเมือง เช่น จ.ฉะเชิงเทราที่ขยายตัวต่อเนื่องจากกรุงเทพฯ

สำหรับการพัฒนา TOD สำคัญตามสัญญาร่วมลงทุนมี 2 จุด คือ 1.พื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ 2.พื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ ซึ่งบริษัทแมกโนเลียควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จะเป็นผู้ออกแบบการพัฒนา 100% รวมทั้งบริษัทฯ ได้เริ่มเข้าไปสำรวจพื้นที่แล้ว และมีที่ปรึกษาเพื่อวางแผนการพัฒนาพื้นที่ให้ชุมชนได้ประโยชน์จากการพัฒนา โดยขณะนี้กำลังวางรูปแบบการพัฒนาและกำหนดโครงสร้างผู้จะเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่มักกะสัน

รวมทั้ง จะนำระบบการเช็คอินสายการบินกลับมาใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสาร หลังจากที่ก่อนหน้านี้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ออกแบบสำหรับให้สายการบินเปิดเช็คอินได้ แต่ต่อมาได้ถูกยกเลิก

ไม่หวั่นพลาดประมูลอู่ตะเภา

สำหรับการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้ประกาศชื่อผู้ยื่นข้อเสนอสูงสุดแล้ว คือ กิจการร่วมค้าบีบีเอส โดยบริษัทฯ เห็นว่าไม่ว่าใครจะเป็นผู้ประมูลได้ก็ถือว่ามีประโยชน์

“หากเราประมูลอู่ตะเภาได้ก็ดี แต่ผมก็มองโลกในแง่ดีว่าหากอีกกลุ่มประมูลได้ก็คงพยายามให้มีผู้โดยสารผ่านสนามบินอู่ตะเภาเพิ่มมากขึ้น จะเป็นลักษณะที่เราต้องพึ่งพาเขา และเขาก็ต้องพึ่งพาเรา”

ทั้งนี้ เมื่อการบริหารรถไฟความเร็วสูงจะไม่มีกำไร แต่บริษัทฯ ต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้ได้ ซึ่งหลังจากนี้ก็จะมีโมเดลการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงแต่ละจุดออกมา โดยมั่นว่าที่ผ่านมาได้ศึกษาข้อมูลมาดีแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2020 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

ขอรถไฟเร็วสูงข้ามเมือง6กม.
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานีเป็นประธานประชุมรับฟังการชี้แจง โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย จากนายสุวัฒน์ กันภูมี หน.แผนกบริหารทั่วไป ศูนย์บริหารโครงการพิเศษ การรถไฟแห่งประเทศไทย นำคณะ 8 บริษัทที่ปรึกษาชี้แจง ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี มีผู้บริหาร อปท.หอการค้าสภาอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐ ร่วมรับฟังและซักถาม

นายวรนิติ ช่อวิเชียร ผช.ผจก.โครงการนำคณะที่ปรึกษาชี้แจงว่า โครงการนี้ สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ได้ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น และทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ไปแล้ว ขณะที่จีนได้มาศึกษาออกแบบเช่นกัน จนต้นปี 2561 ได้นำเอาผลการศึกษาทั้ง 2 ฝ่ายมาพิจารณาแล้วนำผลที่ได้มาว่าจ้างที่ปรึกษา ศึกษาออกแบบรายละเอียดประมาณค่าก่อสร้าง ผู้ร่วมรับฟังได้เสนอ ดังนี้ อาทิ ให้อนุรักษ์สถานีเดิมไว้, ขอให้ยกระดับทางรถไฟข้ามเมืองอุดรธานี ระยะทางราว 6 กม. การก่อสร้างไม่ใช่เพียงจากต้นทางมาปลายทางแต่อยากจะให้ก่อสร้างจากปลายทางย้อนกลับไปต้นทางพร้อมๆกัน เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2020 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
โถ อ้ายหัวxx เอ้ย อยากปั่นราคาที่ดินตัวเองเก็งกำไรสินะ อย่าอ้อมค้อมเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2020 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

“โคโรน่า” พ่นพิษ กระทบไฮสปีดไทย-จีน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 - 11:42 น.

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ “ไวรัสโคโรน่า” จากเมืองอู่ฮั่นกระจายไปสู่มณฑลต่าง ๆ ของประเทศจีน


จนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ห้ามมีการเข้า-ออกนอกประเทศ ทำให้โรงงานและบริษัทในประเทศซึ่งหยุดยาวเทศกาลตรุษจีนต้องหยุดดำเนินการธุรกิจเพิ่ม

“ไวรัสโคโรน่า” ยังส่งผลกระทบต่อการประชุมเจรจารถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” ระยะทาง 253 กม. ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนที่จะมีขึ้นในเดือน ก.พ.นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมการขนส่งทางรางว่าจากกรณีของไวรัสโคโรน่า อาจจะมีผลทำให้การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน หรือ Joint Committee (JC) จะมีการพิจารณาสัญญา 2.3 งานวางราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถมูลค่า 50,633 ล้านบาทของรถไฟไทย-จีนต้องเลื่อนออกไปก่อน และอาจจะต้องใช้วิธีประชุมทางไกลแทน

“ได้ประสานกับจีนไปแล้วก็ต้องดูระเบียบจะสามารถประชุมทางไกลได้หรือไม่ ฝั่งไทยสามารถทำได้ แต่ฝ่ายจีนต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน หากสามารถประชุมทางไกลได้ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ จะทำให้กำหนดการเดิมจะประชุมหลังเทศกาลตรุษจีนในต้นเดือน ก.พ.นี้ต้องเลื่อนออกไป ส่วนการเซ็นสัญญา 2.3 สามารถผ่านสถานทูตได้กรณีมีความจำเป็นจริง ๆ” นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำ

เป็นการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นเฉพาะหน้าในห้วงเวลานี้ !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2020 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

แม่ปล่อยโฮรับศพ‘หนุ่มวิศวกร’กลับถึงบ้านเกิด ขับรถผ่านห้างเทอร์มินอล 21 เจอกระสุนจ่าเหี้ยม

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 - 23:13 น.

วันที่ 10 ก.พ. ที่วัดช่องลม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ราชบุรี ครอบครัวได้รับศพ นายพีรพัฒน์ พละสาร อายุ 27 ปี วิศวกรโครงการรถไฟความเร็วสูง เหยื่อผู้เสียชีวิต 1 ใน 30 จากเหตุการณ์กราดยิงขณะขับรถผ่าน ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 จ.นครราชสีมา เสียชีวิตเมื่อ 8 ก.พ. กลับถึงบ้านเกิด โดยมี พ.ต.อ.วิฑูรย์ พละสาร บิดา นางวรรณิชา พละสาร มารดา พร้อมครอบครัวและญาติ มายืนรอรับศพลูกชายด้วยอาการโศกเศร้า พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ และเพื่อนร่วมงานเดินทางมาร่วมไว้อาลัยจำนวนมาก

สำหรับกำหนดการสวดอภิธรรมในพระราชานุเคราะห์ จำนวน 5 คืน ระหว่างวันที่ 10 - 14 กุมภาพันธ์ เวลา 19.30 น. โดยคืนนี้เป็นคืนแรก มีนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธีสวดพระอภิธรรม พร้อมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ส่วนในคืนต่อไปจะมีส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน ส่วนราชการและประชาชนที่รู้จักครอบครัวพละสารเข้าร่วม



ประกันสังคมมอบเงินช่วยเหลือทายาทหนุ่มวิศวกรชาวราชบุรี เหยื่อจ่าคลั่ง
ภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์
12 กุมภาพันธ์ 2563 - 14:19

วันที่ 12 ก.พ. 63 นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เดินทางมาที่วัดวัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี มอบเงินช่วยเหลือทายาทของนายพีระพัฒน์ พละสาร วิศกรหนุ่มชาวราชบุรี ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิง ที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์การค้าเทอร์มินอลทเวนตี้วัน จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา

โดยมี พ.ต.อ.วิฑูรย์ นางวรรณิชา พละสาร พ่อแม่เป็นผู้รับมอบ มีนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ข้าราชการและเจ้าหน้าที สำนักงานประกันสังคมจังหวัดราชบุรี ร่วมในพิธีรับมอบในครั้งนี้ด้วย สำหรับการมอบเงินทดแทนกรณีเสียชีวิต กองทุนเงินทดแทน เป็นค่าทำศพ จำนวน 33,600 บาท เงินค่าทดแทนกรณีเสียชีวิต จำนวน 1,680,000 บาท และเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 34,546.98 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,748,146.98 บาท


__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2020 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดตัว 'ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ' ซีพีส่งคุมไฮสปีดเทรน

8 กุมภาพันธ์ 2563

ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ MD รถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 - 16:33 น.

ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ MD รถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์
หลังตั้งบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท และปิดดีลสัมปทาน 50 ปี กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อ 24 ต.ค. 2562

ล่าสุด กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ประกอบด้วย CP, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ได้จัดทัพผู้บริหารคุมงานก่อสร้าง โดยมี “นางโปง หง” บอสใหญ่จากประเทศจีนเป็น CEO และ “ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ” ลูกหม้อเครือ ซี.พี. เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

“ธิติฏฐ์” จบ ป.ตรี วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คร่ำหวอดในธุรกิจโทรคมนาคม เคยเป็นผู้บริหาร ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) ออกแบบซอฟต์แวร์เพจเจอร์ภาษาไทยคนแรกและเป็นผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มทรูที่ได้รับความไว้วางใจจาก “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์” และ “ศุภชัย เจียรวนนท์” จึงได้นั่งเก้าอี้ MD ไฮสปีดเทรนคนแรกของประเทศไทย


“งานสร้างรถไฟความเร็วสูงเป็นอะไรที่ใหม่ ท้าทายมาก รถไฟต้องแข่งบริการและปลอดภัย ผลประโยชน์ผู้โดยสารต้องมาก่อน ไม่อยากให้คุณศุภชัยผิดหวัง”

งานแรกหลังเซ็นสัญญาคือเร่งออกแบบก่อสร้างทั้งวันทั้งคืนเพื่อส่งมอบให้การรถไฟฯใน 3 เดือน รัฐจะได้เวนคืน รื้อย้ายสาธารณูปโภคตลอดแนว 220 กม. โชคดีที่ทำงานล่วงหน้า จึงส่งแบบก่อนกำหนดเมื่อ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา

หากรัฐส่งมอบพื้นที่ได้เร็ว ถ้าโชคดีเราจะวางศิลาฤกษ์ได้เร็วสุดปลายปีนี้ การสร้างรถไฟเรื่องพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ จะสร้างแบบฟันหลอไม่ได้ ต้องสร้างทีเดียวทั้งเส้น

“ทำงานร่วมกับการรถไฟฯมาตลอด ทั้งเวนคืน รื้อย้าย ยากสุดคือย้ายท่อน้ำมัน เราเห็นความเอาจริงเอาจังของรัฐ ท่านปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานคณะทำงาน เราทำร่วมกับส่วนราชการถึง 21 หน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจทีโอที กับ CAT ตอนนี้ทุกหน่วยรู้แล้วต้องย้ายอะไร ใช้งบฯเท่าไหร่ แบบที่เราส่งไปเหลือเรื่องรื้อย้าย หากช่วยกันทำอีอีซีจะเกิดได้เร็ว ไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีรถไฟความเร็วสูง เป็นความภาคภูมิใจ”

ยกเครื่องแอร์พอร์ตลิงก์

การส่งมอบพื้นที่ส่วนแรกสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กม. เพื่อบริหารแอร์พอร์ตลิงก์เดิม การรถไฟฯพร้อมส่งมอบทันทีหลังจ่ายค่าใช้สิทธิเดินรถ 10,671 ล้านบาท บริษัทที่ปรึกษาและ FS (บจ.Ferrovie dello Stato Italiane) พันธมิตรจากอิตาลีมาช่วยด้านโอเปอเรต กำลังทำแผนงานโครงการจะเสร็จอีก 2-3 เดือน จากนั้นจะประเมินการใช้งบฯลงทุน โครงสร้างบุคลากร ส่วนหนึ่งจะรับโอนจากแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีอยู่ 500 คน และรับเพิ่มบางส่วน

“ผมลองใช้บริการจากสถานีบ้านทับช้างมาที่มักกะสัน คิดว่าต้องพัฒนาหลายจุด ทั้งซื้อรถเพิ่ม ปรับปรุงระบบราง อาณัติสัญญาณเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงและสายที่ไปอีสานในอนาคตตามนโยบายของท่านประธานอาวุโส (เจ้าสัวธนินท์) และคุณศุภชัย ต้องเรียนรู้และทำให้ดีที่สุด”

ฟื้นเช็กอินสถานีมักกะสัน

พร้อมฟื้นระบบเช็กอินในเมืองหรือซิตี้เทอร์มินอล “สถานีมักกะสัน” เพื่อให้ผู้ใช้บริการไปสนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภาได้สะดวก ผู้โดยสารที่มาจากต่างประเทศก็เช็กอินกระเป๋าที่มักกะสันได้ด้วย โดยปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี งานก่อสร้างมีอิตาเลียนไทยฯและ CRCC ดำเนินการ 2 ช่วง เริ่มก่อนที่สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. จะส่งมอบใน 2 ปี รัฐขอให้เสร็จ 1 ปี 3 เดือน ตอนนี้กำลังสำรวจสภาพดินร่วมกับอิตาเลียนไทยฯ แม้ส่งแบบไปแล้วแต่แบบอาจเปลี่ยนได้อีกเพราะเป็นดีไซน์แอนด์บิลด์ เช่น เข้าสนามบินอู่ตะเภา แนวจะทำยังไงให้ผู้โดยสารได้ประโยชน์สูงสุด

อีกช่วงสถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. แผนส่งมอบ4 ปี แต่รัฐขอเร่ง 2 ปี 3 เดือน ถือเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะต้องรื้อย้ายท่อน้ำมัน ท่อไซฟอนน้ำขนาดใหญ่ของ กทม. เสาตอม่อโฮปเวลล์ มีโค้งหักศอกช่วงพญาไท-สามเสน ต้องใช้พื้นที่เพิ่ม ไม่อยากเวนคืนมากกว่าที่รัฐกำหนดใน พ.ร.ฎ.เวนคืน ถ้ามีเปลี่ยนแปลงจะต้องทำรายงานสิ่งแวดล้อมใหม่ ต้องใช้ความเก่งของพันธมิตรและที่ปรึกษา

“งานนี้มี 4 เรื่องหลัก คือ ก่อสร้าง วางราง วางระบบอาณัติสัญญาณ และพัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือ TOD เราให้พันธมิตรที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาช่วย งานก่อสร้าง วางรางมีอิตาเลียนไทยฯ และ CRCC ด้านโอเปอเรตมี FS ช่วยจัดการและเทรนนิ่งคนที่จะ transfer มา เพราะเราไม่มีประสบการณ์รถไฟความเร็วสูง ส่วนขบวนรถยังไม่ได้เลือก ของจีนก็เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ขี้เหร่ ส่วน ช.การช่างกับ BEM ยังไม่ได้คุยเชิงลึก”

TOD คีย์ซักเซสโครงการ

คีย์สำคัญที่จะทำให้โครงการมีกำไร อยู่ที่ TOD เหมือนต่างประเทศที่ทำสำเร็จ อาทิ โตเกียว โอซากา ปารีส-ลียอง เพราะเกิดชุมชน และเศรษฐกิจใหม่ในเส้นทางที่รถไฟผ่านเมืองขยายจากกรุงเทพฯไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา ศรีราชา และระยอง ถ้าโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้มาก ถ้าเชื่อมรถไฟความเร็วสูงสายอีสานได้อีก เราก็เชื่อม สปป.ลาว วิ่งไปจีนและยุโรปได้

“จะให้เกิดประโยชน์ต้องพัฒนา TOD ทุกสถานี เราจะเริ่มก่อน 2 สถานี คือ มักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ทางที่ปรึกษาได้สำรวจพื้นที่มักกะสันแล้ว พร้อมวางแผนการพัฒนาในรูปแบบที่เป็นประโยชน์สูงสุดทั้งสังคมและโครงการ โดยความเป็นอยู่เดิมจะไม่ถูกเปลี่ยน”

โดยมีบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ช่วยออกแบบและพัฒนา คอนเซ็ปต์และรูปแบบการลงทุนยังไม่เสร็จ เชื่อว่าจะออกมาดี ส่วนศรีราชายังไม่ได้สำรวจ

ส่วนวิธีการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารถือเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผู้โดยสารจะเป็นกลุ่มเดียวกับเมืองการบินอู่ตะเภา หากไม่ใช่เราเป็นผู้พัฒนาโครงการก็มีความเป็นไปได้ที่จะคุยกันรู้เรื่องและไม่รู้เรื่อง ในการเชื่อมโยงระหว่างสถานีกับสนามบิน

“ผมมองโลกในแง่ดีนะ ยังไงผู้โดยสารก็ต้องมาจากเรา เราก็ต้องพึ่งผู้โดยสารจากเขา ต่างคนต่างพึ่งพา เพราะคนที่ใช้สนามบินอู่ตะเภาต้องนั่งรถไฟความเร็วสูงเข้ากรุงเทพฯ จริง ๆ 2 โครงการนี้ต้องไปด้วยกัน”

เราถึงต้องเมกชัวร์ จะไปหวังน้ำบ่อหน้าไม่ได้ การลงทุนของ ซี.พี. ได้ศึกษารายละเอียดก่อนทุกครั้ง โดยนึกถึง 3 ประโยชน์ คือ ประชาชน ประเทศชาติ และตัวเรา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2020 12:22 am    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เบิกทาง “ประยุทธ์” ลุยร่วมลงทุนญี่ปุ่น-สหรัฐ หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563
..
นอกจากนี้ ทางบริษัทเอกชนญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของไทย โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน

โดยขณะนี้ ทางญี่ปุ่นได้ระดมทุนครั้งใหญ่ รวมทั้งได้ประกาศข้อริเริ่มด้านเงินกู้และการลงทุนสำหรับอาเซียน (Initiative on Overseas Loan and Investment for ASEAN) มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคการเงินของญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดปตท.ไฟเขียว 10 ล้าน รื้อ “ท่อส่งก๊าซ” ขวางไฮสปีด
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:30 น.


บอร์ด ปตท.ไฟเขียว 10 ล้านบาท รื้อถอนท่อส่งก๊าซเคลียร์รถไฟฟ้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต่ำกว่าคาดการณ์ที่วางไว้ 4,000 ล้านบาท


นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ปตท.พร้อมให้ความร่วมมือในการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ซึ่งในส่วนของ ปตท.จะกระทบเฉพาะเรื่องก๊าซ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติเท่านั้น จึงใช้งบประมาณมูลค่าไม่สูง ซึ่งบอร์ด ปตท.ได้ทำการอนุมัติไปแล้วประมาณ 10 ล้านบาท โดย ปตท.พร้อมรื้อถอนทันที

ทั้งนี้ กรณีส่วนอื่นที่เป็นท่อน้ำมันจะเป็นการประเมินมูลค่าของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) และบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (เอฟพีที)

“ในส่วนของก๊าซ ปตท.ออกค่าใช้จ่ายเอง ส่วนงบฯที่ประเมินกันไว้ว่าต้องใช้งบฯสูงไม่เกี่ยวกับ ปตท.เพราะเรากระทบเฉพาะก๊าซ เราอนุมัติเรียบร้อย ไม่มีปัญหา เราพร้อมรื้อถอนได้ทันที”


รายงานข่าวระบุ เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา นายชาญศิลป์นำคณะ ปตท.แจ้งถึงความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคของ ปตท.ทั้งท่อน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต่อ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กีดขวางบริเวณแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นหลายฝ่ายได้ประเมินว่า การดำเนินการรื้อถอนสาธารณูปโภคทั้งหมด จะใช้งบประมาณสูงถึง 4,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

"ขยายเอ็มโอยูสร้าง ‘ไฮสปีดไทย-จีน’ 3.5 กม.แรก ย้ำขอให้เป็นครั้งสุดท้าย -
The Bangkok Insight
20 กุมภาพันธ์ 2563

ทางหลวงสร้างเก่งงง!!คันทางไฮสปีดเทรน3.5กิโล3ปี
*หยุดผลงานไว้ที่74%รฟท.ขยายให้ถึงก.ย.นี้
*สะท้อนการทำงานส่วนราชการดี๊ดี(ตามนั้น)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2528425107378992

บอร์ดฯ การรถไฟ เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างการรถไฟฯ และกรมทางหลวง (ทล.) ที่มอบหมายให้กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรแรก ให้ไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2563 โดยบอร์ดฯ การรถไฟ เน้นย้ำว่า ขอให้การขยายระยะเวลา MOU ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย

20/2/2563 https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/422209
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 364, 365, 366 ... 542, 543, 544  Next
Page 365 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©