Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180135
ทั้งหมด:13491369
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 208, 209, 210 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2020 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เคาะแน่ 3 รถไฟฟ้า นํ้าตาล-เทา-"ทองเฟส2"
ออนไลน์เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,547
วันที่ 9 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


รฟม.เปิดสัมปทาน 3 แสนล้าน สร้าง 5 รถไฟฟ้าหัวเมืองหลัก
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:17 น.

สัมภาษณ์
ปี 2020 นับเป็นอีกปีที่ท้าทายของ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ต้องสปีดการลงทุนรถไฟฟ้าให้กรุงเทพฯและหัวเมืองหลัก 5 สายทาง มูลค่า 339,414 ล้านบาท เครื่องยนต์กระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เปิดประมูลได้ตามเป้า หลังโครงการช้าจากแผนร่วมปี

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยภารกิจของปีนี้ว่า เรื่องแรกจะผลักดัน ระบบตั๋วร่วมให้ใช้ข้ามระบบได้ทั้งสายสีน้ำเงิน สีม่วง บีทีเอสและแอร์พอร์ตลิงก์ ในเดือน มิ.ย.นี้ ได้หารือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) พร้อมจะปรับปรุงระบบให้อ่านบัตรโดยสารของแต่ละระบบได้


“BTS และ BEM จะต้องอัพเกรดระบบให้อ่านบัตรของแต่ละราย อาจจะถือโอกาสอัพเกรดให้รับกับระบบ EMV เช่น บีทีเอสจะต้องอัพเกรดให้รับได้ทั้งบัตรแมงมุมและ MRT ส่วน BEM ต้องอัพเกรดให้รับบัตรแรบบิทได้ ขณะที่ค่าโดยสารยังต้องเสียตามอัตราของแต่ละระบบ ต้องรอในระยะต่อไป ตอนนี้เอาแค่ข้ามระบบให้ได้ก่อน รวมถึงจะร่วมกับธนาคารกรุงไทยเพื่อบริหารจัดการระบบหลังบ้านให้เป็น EMV ด้วย”

นอกจากนี้จะเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้า 3 สายทางที่ยังช้า ให้เป็นไปตามกรอบการลงทุนของรัฐบาล ซึ่ง รฟม.ได้ขอกระทรวงการคลังปรับเป้ากรอบลงทุนลง 2 หมื่นล้านบาท หลังติดเวนคืนยังไม่มีการออก พ.ร.ฎ.เวนคืน และเบิกจ่ายงบฯก่อสร้างในช่วงเริ่มงานระยะแรก ประกอบด้วย สายสีส้มตะวันตกศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ จะเปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี 1 สัญญา มูลค่า 142,789 ล้านบาท หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.จะประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 พิจารณาร่างทีโออาร์ คาดว่าในเดือน มิ.ย.นี้จะเปิดประมูลได้ในรูปแบบนานาชาติ

“รัฐจะลงทุนค่าเวนคืน 14,661 ล้านบาท เอกชนจะลงทุน 128,128 ล้านบาท งานโยธาช่วงตะวันตก จัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถตลอดสายจากบางขุนนนท์-มีนบุรี 35.9 กม. รัฐจะสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากเปิดบริการ หากเอกชนรายไหนให้รัฐอุดหนุนน้อยและจ่ายผลตอบแทนให้รัฐสูงจะเป็นผู้ชนะประมูล”

หากสายสีส้มได้เอกชนผู้ชนะประมูลแล้ว จะเร่งรัดงานระบบก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อเปิดให้บริการช่วงตะวันออกศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่งานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 50% ให้เปิดบริการก่อนในปี 2567 และเปิดบริการตลอดสายในปี 2569

ส่วนความคืบหน้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 124,959 ล้านบาท “ภคพงศ์” กล่าวว่า รอออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ด้านการเดินรถจะขออนุมัติในปีนี้ ให้เอกชนลงทุน PPP gross cost เหมือนสายสีม่วงเพื่อให้เดินรถต่อเนื่องโดยเอกชนรายเดียว ถ้าปีนี้สีส้มกับสีม่วงใต้เปิดประมูล ในปีหน้าจะเริ่มการเวนคืนที่ดินได้

“สายสีม่วงใต้ ครม.อนุมัติแล้ววันที่ 9 ส.ค. 2560 จะประมูลงานโยธาภายในปีนี้ แบ่ง 6 สัญญา วงเงิน 77,385 ล้านบาท มีงานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญาจะเริ่มก่อสร้างปี 2564 เปิดปี 2569”

อีกโครงการเป็นรถไฟฟ้า จ.ภูเก็ต ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. วงเงิน 35,295 ล้านบาท บอร์ด รฟม.ให้ทบทวนเป้าผู้โดยสารที่ประเมินไว้ 39,000 เที่ยวคนต่อวัน อาจจะสูงเกินไป เพราะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการแค่ 20% อาจจะไม่จูงใจเอกชนร่วมลงทุน PPP หากโครงการใช้เงินลงทุนสูง

“โครงการอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รูปแบบการลงทุนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือบอร์ด PPP คาดว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติโครงการในปีนี้”

จากนั้นเป็นคิวของ รถไฟฟ้า จ.เชียงใหม่ สายสีแดงจากโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงิน 27,890 ล้านบาท และรถไฟฟ้า จ.นครราชสีมา มูลค่า 8,481 ล้านบาท จะขออนุมัติโครงการภายในปีนี้

และจะเร่งสร้างฐานราก รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี 22 กม. เงินลงทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาท ตอนนี้ได้จ้างออกแบบแล้ว เมื่อแบบเสร็จแล้วจะส่งแบบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดประมูลเพราะใช้โครงสร้างร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 2 สายเหนือ ซึ่งโครงการนี้จะลงทุนรูปแบบ PPP

สุดท้าย รฟม.ยังได้เซ็นบันทึกข้อตกลง กับการเคหะแห่งชาติพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลางในแนวรถไฟฟ้า ตามนโยบายของรัฐบาล คาดว่าจะนำร่องที่สถานีคลองบางไผ่ของสายสีม่วง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2020 1:39 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” จี้ “BEM-BTS” เปิดระบบรับบัตรข้ามค่าย - หนักใจ “แอร์พอร์ตลิงก์” สุดอืดส่อตกขบวน มิ.ย.63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 19:24



“คมนาคม” เร่ง รฟม. BEM และ BTS ปรับหัวอ่าน ยังเป้า มิ.ย. ต้องใช้บัตรข้ามระบบได้ตามแผนตั๋วร่วมระยะเร่งด่วน ยอมรับหนักใจ “แอร์พอร์ตลิงก์” อืดสุด หมดสัญญา 11 เดือน เอกชนปรับระบบไม่ได้ สั่งเร่งตัดสินใจ ยกเลิกสัญญา นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 29-2/2563 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ในระยะเร่งด่วน ให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบัตร Rabbit ของ BTS ซึ่งมีในปัจจุบันทุกระบบรวมกันมีจำนวน 14.2 ล้านใบ สามารถใช้งานข้ามระบบได้ ตามเป้าหมายเดือน มิ.ย. 2563

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ 1. งบประมาณ ซึ่งในส่วนของ รฟม. ซึ่งมีรถไฟฟ้าสีม่วง และสีน้ำเงิน ซึ่งมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM รับสัมปทาน มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ รวม 225.4 ล้านบาท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 105 ล้านบาท ส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทาน ประเมินค่าใช้จ่ายที่ 120 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการที่ใกล้เคียงกับต้นทุนในการว่าจ้างเอกชนเข้ามาปรับปรุงและพัฒนาระบบ

2. เร่งรัดให้ทุกฝ่ายทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกันซึ่งเป็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูล (Non 3 Disclosure agreement : NDA) โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ร่าง MOU และส่งให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบ โดยคาดว่าจะสรุปและลงนามร่วมกันในเดือน ก.พ.นี้

3. ข้อตกลงทางธุรกิจ (Business Rules) ซึ่ง BEM และ BTS ยังมีความแตกต่างกัน เช่น การเติมเงิน การให้ส่วนลด เด็ก นักเรียน ผู้สูงอายุ หรือกรณีเงินไม่พอ บัตรติดลบ ซึ่งพบว่าบัตร MRT Plus ของ รฟม. กรณีบัตรมีค่าติดลบแล้วยังสามารถออกจากระบบได้ ส่วน BTS จะกำหนดให้เป็นเงินขั้นต่ำ หรือ ส่วนต่อขยายสายสีเขียว BTS ไม่มีส่วนลดให้นักเรียน เป็นต้น จึงให้ไปตกลงรายละเอียดให้ชัดเจน กรณีส่วนลดในกลุ่มบุคคลถือเป็นหลักสากล เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันในการใช้บัตรข้ามระบบ

โดยขณะนี้แอร์พอร์ตลิงก์ค่อนข้างน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะการปรับปรุงระบบก่อนหน้านี้ให้รองรับ บัตรแมงมุมและ MRT Plus ยังไม่แล้วเสร็จ การทดสอบระบบในห้องทดลอง 3 ครั้งยังไม่ผ่าน ขณะที่สัญญาจ้างสิ้นสุดไปแล้ว 11 เดือน ที่ประชุมเร่งให้แอร์พอร์ตลิงก์ พิจารณาความสามารถของบริษัทฯ และตรวจสอบ เงื่อนไขสัญญา และการยกเลิกสัญญา โดยเท่าที่จำได้ ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง หากค่าปรับเกิน 10% ของมูลค่าสัญญา เจ้าของงานมีสิทธิ์ยกเป็นข้ออ้างยกเลิกสัญญาได้

“ตอนนี้หนักใจแอร์พอร์ตลิงก์มาก ได้ให้ สนข.และรฟม.ช่วยแก้ไข โดยแอร์พอร์ตลิงก์ต้องเร่งตัดสินใจ โดยดูข้อกฎหมายและระเบียบ สามารถยกเลิกสัญญาได้ ต้องเร่งดำเนินการ และ อาจจะต้องเร่งหาผู้ปรับปรุงระบบใหม่ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการจ้างตรง กับผู้พัฒนาระบบให้ รฟม. หรือบีทีเอส เพื่อความรวดเร็ว”



อย่างไรก็ตาม ในส่วน รฟม.และบีทีเอสนั้น โดยให้ทุกหน่วยประชุมจากสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็น 2 ครั้ง เพื่อให้เริ่มใช้บัตรข้ามระบบได้ภายในเดือน มิ.ย. 63 ตามเป้าหมาย ส่วนข้อกังวลเรื่องข้อมูลในบัตรของแต่ละค่าย ที่เป็นความลับทางธุรกิจนั้น เรื่องนี้เป็นการส่งข้อมูลเพื่อเรียกเก็บเงินที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยมี รฟม.เป็นหน่วยงานกลาง ในการเคลียร์ข้อมูลไม่ได้เป็นการส่งข้อมูลตรงกัน และเชื่อว่า สิ่งที่เป็นความลับของแต่ละค่าย ต่างฝ่ายจะระมัดระวังข้อมูลของตัวเองอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องเทคนิค ซึ่ง สนข.และรฟม.จะเป็นหน่วยงานหลักในการเจรจาหารือ หากประเด็นใดตกลงกันได้ให้ทำเลย หากไม่ได้ เร่งแจ้งที่ประชุมเพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว

รายงานข่าวแจ้งว่า แอร์พอร์ตลิงก์ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท สมาร์ทเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนจากประเทศจีน โครงการติดตั้งซอฟต์แวร์และหัวอ่านบัตรโดยสารร่วม (บัตรแมงมุม) วงเงิน 104 ล้านบาท ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2561 โดยสัญญาสิ้นสุดในเดือน เม.ย. 2562 แล้ว โดยขณะนี้ กก.ตรวจการจ้างอยู่ระหว่างพิจารณาการยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ เงื่อนไขค่าปรับอยู่ที่ 0.03% ต่อวัน หรือประมาณวันละ 30,000 บาท ส่วนค่าจ้างยังไม่มีการจ่าย เนื่องจากตกลงจ่ายเมื่องานสำเร็จ 100%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2020 2:17 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คมนาคม” จี้ “BEM-BTS” เปิดระบบรับบัตรข้ามค่าย - หนักใจ “แอร์พอร์ตลิงก์” สุดอืดส่อตกขบวน มิ.ย.63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 19:24



ปลัดคค.บี้แอร์พอร์ตลิงค์พัฒนาเชื่อมตั๋วร่วม
วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, - 15:37

ปลัดคมนาคม บี้แอร์พอร์ต ลิงค์ เร่งพัฒนาระบบเชื่อมตั๋วร่วม ให้แล้วเสร็จ มิ.ย.63 สั่งพิจารณาสัญญาผู้รับจ้างพัฒนาระบบหลังพบทำงานล่าช้า 11 เดือน


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการระบบตั๋วร่วม ในระยะเร่งด่วนในการพัฒนาให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบัตร Rabbit ของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งได้มอบหมายให้ BTS รฟม. และ BEM หาข้อสรุปเรื่องแหล่งที่มาของค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบและการดำเนินการ รวมถึงหาข้อสรุปการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูล โดยให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และได้เร่งรัดให้การดำเนินงานทั้งหมดแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อเริ่มใช้งานได้ตามแผน


นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ รฟม. และ BTS กลับไปพิจารณาส่วนลดการใช้บริการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ เนื่องจากพบว่าการให้บริการยังไม่มีในส่วนนี้ เช่นเดียวกับ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้า MRT โดยต้องพิจารณาหลักการตามสัญญาสัมปทานแต่จะได้ส่วนลดเท่าไรนั้นหน่วยงานจะต้องไปเจรจาตกลงร่วมกันและให้นำเสนอคณะกรรมการฯอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่ยังล่าช้า คือ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เนื่องจากติดปัญหาการพัฒนาระบบเครื่องอ่านบัตร และการเชื่อมต่อ โดยได้รับรายงานว่าบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างมาพัฒนาระบบไม่สามารถทำงานได้ทันตามกำหนด และมีความล่าช้ากว่าสัญญา 11 เดือน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มอบหมายให้แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ไปพิจารณาว่าทางบริษัทจะสามารถดำเนินงานต่อได้หรือไม่ จะจ้างต่อหรือยกเลิกสัญญา และไปว่าจ้างผู้พัฒนาระบบโดยตรงที่ทำงานให้กับ BTS และ รฟม.ซึ่งให้กลับมารายงานภายใน 1 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2020 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า 14.6 ล้านใบได้ใช้แน่มิ.ย.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เผยแพร่: วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08:40 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ได้ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้ บริการรถไฟฟ้า MRT, บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ผู้ให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เพื่อให้ประชาชนที่ถือบัตรโดยสารรถไฟฟ้าทั้ง 14.6 ล้านใบ สามารถใช้กันได้ทุกระบบ โดยตั้งเป้าให้ใช้บริการได้เดือน มิ.ย.63


จากการรับฟังรายงานพบว่า แต่ละหน่วยงานจัดเตรียมงบประมาณในการพัฒนาระบบหัวอ่านให้สามารถอ่านข้อมูลบัตรรถไฟฟ้าระบบอื่นได้แล้ว รวม 450 ล้านบาท โดย รฟม. ใช้งบ 225 ล้านบาท ส่วนบีทีเอส ใช้ 120 ล้านบาท ขณะที่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ใช้ 105 ล้านบาท ซึ่งได้ว่าจ้างเอกชนให้พัฒนาระบบมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่จนถึงปัจจุบันทำงานเกินอายุสัญญามา 11 เดือนแล้ว ยังไม่สามารถพัฒนาระบบได้ โดยขณะนี้สิ่งที่หนักใจที่สุดคือ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งไม่สามารถ ตอบได้ว่าจะสามารถพัฒนาระบบเสร็จได้ทันตามเป้าหมายหรือไม่ เพราะจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการทั้ง 3 ครั้ง ทำไม่สำเร็จ ขณะที่ รฟม. และบีทีเอส ไม่มีปัญหาเหลือเพียงรายละเอียดด้านเทคนิคเล็กน้อย

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เพิ่มการประชุมจากสัปดาห์ละครั้ง เป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และหากถึงเดือน มิ.ย.นี้แล้ว แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ยังพัฒนาระบบไม่สำเร็จ จะให้ รฟม.และบีทีเอสใช้ตั๋วร่วมกันไปก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้ประชาชน ขณะที่ได้เร่งรัดให้สำนักนโยบายและแผนการ ขนส่งและจราจร(สนข.) จัดทำร่างบันทึกข้อตกลง (MOU) การ ดำเนินงานในระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ทุกหน่วยงานลงนามร่วมกันภายใน ก.พ.นี้ และได้ให้ รฟม. บีทีเอส และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จัดการรายละเอียดข้อตกลงทางธุรกิจต่างๆให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยไม่ขัดต่อสัมปทาน เช่น การเติมเงิน บัตร ส่วนลดนักเรียน และผู้สูงอายุ รวมถึงกรณีที่มีเงินในบัตรไม่พอจะทำอย่างไร เพราะขณะนี้ยังแตกต่างกัน เช่น รฟม. ให้ติดลบเงินในบัตรได้ ขณะที่บีทีเอสติดลบเงินในบัตรไม่ได้ ทั้งนี้ ให้ นำมารายงานในการประชุมคณะกรรมการฯ เดือน มี.ค.นี้

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแรบบิท ที่ใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส 12 ล้านใบ, บัตรแมงมุมและบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง/สายสีน้ำเงิน 2.2 ล้านใบ และบัตร Smart Pass ที่ใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 4 แสนใบ รวม 14.6 ล้านใบ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2020 12:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
[
รฟม.เปิดสัมปทาน 3 แสนล้าน สร้าง 5 รถไฟฟ้าหัวเมืองหลัก
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:17 น.


นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Marketing Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง เส้นทางโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วันนี้ (12 ก.พ.) ว่า การจัดงาน Marketing Sounding วันนี้ เป็นการทดสอบความสนใจและรวบรวมข้อคิดเห็นจากภาคเอกชน เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งเอกชนที่ให้ความสนใจต่อโครงการนี้ก็มีทั้งในระดับท้องถิ่น ส่วนกลาง และซัพพลายเออร์

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ จะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail) ระยะทาง 16 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานีและสถานีใต้ดิน 7 สถานี กรอบวงเงินลงทุนอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท หลักๆ แบ่งเป็นกรอบวงเงินเวนคืน 4,400 ล้านบาท, งานโยธา 1.5 หมื่นล้านบาท และงานระบบ 5,000 ล้านบาท

เบื้องต้น รฟม. คาดว่า การจัดทำรายงาน PPP ของโครงการนี้จะแล้วเสร็จช่วงกลางปี จากนั้นจะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม., กระทรวงคมนาคม, คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในกลางปี 2564 ก่อนเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างได้ช่วงกลางปี 2565 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีและเปิดให้บริการได้ในปี 2570 โดยประเมินว่า เมื่อเปิดบริการปีแรกจะมีจำนวนผู้โดยสาร 16,000 คนต่อวัน ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะเป็นแบบตามระยะทาง ประมาณ 15-30 บาทต่อเที่ยว

การลงทุนในโครงการนี้ใช้รูปแบบ PPP ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งงานโยธา งานระบบ และงานเดินรถ คล้ายกับโครงการก่อร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพูในกรุงเทพฯ โดย รฟม. พยายามจะลดต้นทุนในโครงการ เพราะมีผู้โดยสารไม่มาก และรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เอกชนบางส่วน เพื่อให้ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) มีความคุ้มค่า สูงกว่า 12% ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจขณะนี้อยู่ที่ 13%

สำหรับการเวนคืนที่ดินในโครงการมีไม่มากนัก เพราะเป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา ไม่ได้ใช้พื้นที่มากเหมือนโครงการรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) พื้นที่ที่ถูกเวนคืนส่วนใหญ่เป็นบริเวณทางขึ้น-ลงสถานีใต้ดิน รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณแยกหนองฮ่อ ขนาด 25 ไร่ ขณะเดียวกัน รฟม. ก็อยู่ระหว่างจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) คู่ขนานกันด้วย

นายธีรพันธ์เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว เส้นทางตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 8,000 ล้านบาทว่า รฟม. อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและกำลังจะจัดงาน Market Sounding ในเร็วๆ นี้ โดย รฟม. คาดว่าจะสรุปรายงาน PPP และเสนอให้ ครม. เห็นชอบได้ช่วงปลายปี 2564 จากนั้นจะเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ช่วงปลายปี 2565

ด้านโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1,566 ล้านบาทนั้น ล่าสุด รฟม. เตรียมเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. … ให้ ครม. เห็นชอบในเดือนนี้
https://www.thebangkokinsight.com/289673/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2020 1:27 am    Post subject: Reply with quote

เชียงใหม่-ภูเก็ต พร้อมสุดตอกเข็มรถไฟฟ้า

หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,548
วันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กรมราง พร้อมให้คำปรึกษาท้องถิ่นเมืองรอง ลุยรถไฟรางเบา แก้ปัญหาจราจร เผยเชียงใหม่-ภูเก็ต พร้อมสุด สมุทรปราการ หารือเดินรถเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ

จากชุมชนขยายปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ส่งผลให้จังหวัดในหัวเมืองใหญ่ต่างลงทุนทำแผนรับมือ แก้ปัญหาจราจร ด้วยการลงทุนระบบราง เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจาก รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด จึงเปิดให้แต่ละท้องถิ่นที่มีความพร้อม เสนอโครงการลงทุน โดยใช้เม็ดเงินจากการจัดเก็บรายได้และการลงขันของภาคเอกชนในพื้นที่ ที่ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ก่อนส่งมอบให้กรมการขนส่งทางราง ดำเนินงาน แต่หากจังหวัดใดต้องการมีระบบขนส่งทางราง สามารถขอรับคำปรึกษาจากกรมการขนส่งทางรางได้ตามนโยบายรัฐบาลแก้ปัญหาจราจรในท้องที่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมื่อทันทีที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางรางบังคับใช้
สำหรับจังหวัดหัวเมืองใหญ่ที่เสนอแผนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า รับส่งผู้โดยสารในเขตเมือง ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ฯลฯ แต่ที่มีความพร้อม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง สะท้อนมีเพียง 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ และ ภูเก็ต คาดว่าจะลงมือได้ก่อนปีหน้า ส่วน นครราชสีมา และขอนแก่น อยู่ระหว่างเตรียมการ



ทั้งนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่ เริ่มจากช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ ไปจนถึงแยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 12.5กิโลเมตร และเส้นทางภูเก็ต ช่วงท่านุ่นถึงท่าอากาศยานภูเก็ตสิ้นสุดโครงการที่ ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงเฉพาะจังหวัดหัวเมืองใหญ่เท่านั้นปัจจุบันจังหวัดเมืองรอง ชุมชนเริ่มขยาย นักท่องเที่ยวเริ่มเข้าพื้นที่ เมืองเริ่มแออัดเต็มไปด้วยรถยนต์ ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ มีจำกัด เทศบาลในแต่ละจังหวัด สามารถรวมตัวกันตั้งบริษัทพัฒนาโครงการระบบราง โดยไม่ต้องรอให้เมืองขยาย เพราะไม่เช่นนั้นการก่อสร้างอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก ประเมินว่าเทศบาลทั้ง 37 แห่งทั่วประเทศ ต้องวางแผนลงทุนโครงการดังกล่าวได้ และสามารถหารือมายังกรมการขนส่งทางรางได้โดยตรง เช่นเดียวกับจังหวัดสมุทรปราการ ที่ต้องการลงทุนรถไฟรางเบาในพื้นที่เชื่อมโยง ภายในเขตเมืองกับรถไฟฟ้า เส้นทางหลักและสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้การนำระบบรางมาใช้ การจัดทำจุดจอดรถยนต์ และเดินทางต่อทางราง จะช่วยแก้ปัญหาจราจรอย่างยั่งยืนตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด “เมืองขยายตัวรวดเร็ว ทุกจังหวัดต้องเตรียมความพร้อม ไม่เฉพาะเจาะจงต้องเป็นจังหวัดหลัก หากเป็นจังหวัดรองต้องเริ่มวางแผน นับตั้งแต่บัดนี้เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากเมืองขยาย จะกระทบ ต้นทุนการเวนคืน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2020 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

20 ก.พ.รู้ผลบัตรแมงมุม”แอร์พอร์ตลิงก์”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
18 Feb 2020

แอร์พอร์ตลิงก์ เผยคืบหน้าระบบตั๋วร่วม หลังเอกชนทำงานล่าช้า 11 เดือน เร่งทดสอบระบบ 20ก.พ.นี้ หากไม่ทันให้บริการ มิ.ย.นี้ เตรียมเจรจาเลิกจ้างเอกชน


นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดเอกชนให้รีบดำเนินการพัฒนาระบบหัวอ่านและสามารถอ่านข้อมูลบัตรรถไฟฟ้าระบบอื่นได้ด้วย โดยต้องให้แล้วเสร็จทันกับแผนที่กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าหมายว่าจะให้สามารถใช้บริการตั๋วร่วมกันระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า MRT, บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า BTS ได้ภายในเดือน มิ.ย.63

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการคำนวณค่าปรับการทำงานล่าช้าของเอกชน เนื่องจากปัจจุบันเอกชนทำงานล่าช้าเกินอายุสัญญามา 11 เดือนแล้ว โดยเอกชนจะถูกปรับประมาณ 10% ของค่าว่าจ้าง ซึ่งเรายังไม่ได้เริ่มปรับ แต่เชื่อว่าการผลักดันใช้ตั๋วร่วมสามารถทำได้ เป็นเรื่องที่แอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้ความสำคัญและพยายามเร่งรัดงานทุกวัน เพื่อให้ผู้โดยสารที่ถือบัตรของระบบต่างๆ สามารถใช้งานร่วมกันได้และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารที่ถือบัตรเติมเงิน (Smart Pass) ที่ใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ราว 4 แสนใบ”นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ผลจากการทดสอบระบบในห้องปฏิบัติการก่อนหน้านี้ทั้ง 3 ครั้ง ยังทดสอบไม่สำเร็จ เบื้องต้นทราบว่าได้ขอดำเนินการทดสอบระบบอีกครั้งในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ดังนั้นบริษัทฯ จะขอพิจารณาผลการทดสอบในครั้งนี้อีกรอบ หากพบว่าทำสำเร็จก็จะทันให้บริการภายในเดือน มิ.ย.นี้ แต่หากไม่สำเร็จ เตรียมเจรจาเรื่องการขอยกเลิกสัญญาว่าจ้างกับเอกชนรายดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ทางเอกชนมีสิทธิ์ฟ้องกลับอยู่แล้ว แต่บริษัทฯ ก็สามารถโต้แย้งได้ว่าปฏิบัติตามหลักการระเบียบอย่างถูกต้องเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่กำลังจะทำ

BKKTrains wrote:
📣 มีข่าวมาอัพเดทกันครับ เกี่ยวกับชื่อสถานีรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม, สายสีเหลือง, สายสีม่วง (ใต้), และสายสีชมพู โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีดังนี้

🟧 #สายสีส้ม
🚈 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี

🚉 สถานีหัวหมาก (Hua Mak) เป็น สถานีรามคำแหง 34 (Ram Khamhaeng 34)

🚉 สถานีลำสาลี (Lam Sali) เป็น สถานีแยกลำสาลี (Yaek Lam Sali)

🚉 สถานีสุวินทวงศ์ (Suwinthawong) เป็น สถานีแยกร่มเกล้า (Yaek Rom Klao)

🟨 #สายสีเหลือง
🚈 ลาดพร้าว - สำโรง

🚉 สถานีลำสาลี (Lam Sali) เป็น สถานีแยกลำสาลี (Yaek Lam Sali)

🟪 #สายสีม่วง (ใต้)
🚈 เตาปูน - ราษฎร์บูรณะ

🚉 สถานีสะพานพระราม 9 (Rama 9 Bridge) เป็น สถานีแยกประชาอุทิศ (Yaek Pracha-Uthit)

⬜️ #สายสีชมพู
🚈 แคราย - มีนบุรี

🚉 สถานีสินแพทย์ (Synphaet) เป็น สถานีรามอินทรา กม. 9 (Ram Inthra Km.9)

🚉 สถานีวงแหวนตะวันออก (East Outer Ring Road) เป็น สถานีวงแหวนรามอินทรา (Outer Ring Road - Ram Inthra)

https://www.facebook.com/bkktrains/photos/a.486600744796379/2575628385893594/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.-BTS รอเซ็น MOU ตั๋วร่วม เร่งปรับหัวอ่านปักธง มิ.ย.เสร็จ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 18:06
ปรับปรุง: 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 14:04

“แอร์พอร์ตลิงก์” จ่อเลิกสัญญา ปรับปรุงระบบตั๋วร่วม ยังให้โอกาสทดสอบรองสุดท้าย 24 ก.พ. เผยค่าปรับทะลุ 10% ของวงเงินจ้าง 10 ล.แล้ว ด้าน รฟม.-BTS พร้อมเร่งปรับหัวอ่าน รอ สนข.นัด เซ็นMOU ตกลงเงื่อนไขทางธุรกิจ

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เร่งรัดผู้รับจ้างในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในระยะเร่งด่วน เพื่อรองรับบัตรโดยสารของรถไฟฟ้า MRT และ BTS ได้ตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กำหนดให้เริ่มใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมา ผู้รับจ้างยังไม่ผ่านการทดสอบในห้องทดลอง ซึ่งจะมีการทดสอบครั้งสุดท้ายในวันที่ 24-25 ก.พ.นี้ หากผลยังไม่ผ่าน คณะกรรมการตรวจการจ้างฯ ซึ่งมีทั้งผู้แทนจาก แอร์พอร์ตลิงก์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะพิจารณาตามเงื่อนไขสัญญาจ้างต่อไป

ทั้งนี้ ยอมรับว่าสัญญาจ้างปรับปรุงระบบตั๋วร่วมได้สิ้นสุดไปแล้ว 11 เดือน ซึ่งค่าปรับคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 10% ของมูลค่างานแล้ว ซึ่งตามระเบียบสามารถยกเลิกได้ และสาเหตุที่ยังไม่ได้ปรับผู้รับจ้างเพราะ ที่ผ่านมายังไม่มีการจ่ายค่าจ้าง เพราะผู้รับจ้างยังไม่ได้เริ่มติดตั้ง เพราะยังไม่ผ่านขั้นตอนการทดสอบระบบ

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผ่านการทดสอบในวันที่24 ก.พ.นี้ ผู้รับจ้างจะต้องเร่งปรับปรุงระบบเพื่อให้ทันกำหนดเวลาเดือนมิ.ย. ที่คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ให้เริ่มใช้งาน

โดยแอร์พอร์ตลิงก์ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท สมาร์ทเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนจากประเทศจีน โครงการติดตั้งซอฟต์แวร์และหัวอ่านบัตรโดยสารร่วม (บัตรแมงมุม) วงเงิน 104 ล้านบาท ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2561 โดยสัญญาสิ้นสุดในเดือน เม.ย. 2562 แล้ว

@รฟม.-BTS พร้อมเร่งปรับหัวอ่าน รอ สนข.นัด เซ็นMOU ตกลงเงื่อนไขทางธุรกิจ



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM พร้อมพัฒนาปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถอ่านบัตรโดยสารข้ามระบบทุกบัตรได้ ในรูปแบบ Interoperability โดยอยู่ระหว่างทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกันทั้ง รฟม. ,BEM และกรุงเทพมหานคร (กทม.)และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ซึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ร่าง MOU และส่งให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบแล้ว

ซึ่ง MOU มีความสำคัญ เพราะจะเป็นข้อตกลงที่ทุกฝ่ายจะไม่น้ำความลับที่ได้รับการเปิดเผยจากอีกฝ่ายไปเผยแพร่ ซึ่งหลังลงนาม MOU จะเกิดความมั่นใจ และเริ่มกระบวนการออกแบบ และสั่งผลิต จัดซื้อ และปรับปรุงและทดลอง โดยเป้าหมายต้องให้ใช้ได้ในเดือน มิ.ย.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า บริษัทพร้อมดำเนินการตามข้อตกลง โดยต้องรอ MOU ร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องก่อน จึงจะเริ่มดำเนินการได้ โดยระหว่างนี้เตรียมการไว้แล้ว ประเมินค่าใช้จ่ายที่ 120 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาเป็นระบบเปิด (Open Loop) ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa) ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ให้แยกพัฒนาแบบคู่ขนาน โดยเร่งในส่วนของรับบัตรข้ามระบบก่อน


Last edited by Wisarut on 23/02/2020 3:06 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2020 2:57 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. สั่งเปลี่ยนชื่อ สถานีรถไฟฟ้า 4 สาย หวังให้ประชาชนจำง่ายขึ้น
เด่นออนไลน์
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 10:49 น.

รฟม. สั่งเปลี่ยนชื่อ สถานีรถไฟฟ้า 4 สาย หวังให้ประชาชนจำง่ายขึ้น
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ รฟม. ได้มีมติให้มีการปรับเปลี่ยนขื่อสถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถจดจำสถานีได้ง่ายขึ้นและสะดวกต่อการเดินทาง โดยได้ทำการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้า 4 สายทาง รวมทั้งสิ้น 7 สถานีดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี มีการปรับเปลี่ยนชื่อจำนวน 3 สถานี ได้แก่
1.สถานีหัวหมาก (Hua Mak) เปลี่ยนเป็น สถานีรามคำแหง 34 (Ram Khamhaeng 34)
2.สถานีลำสาลี (Lam Sali) เปลี่ยนเป็น สถานีแยกลำสาลี (Yaek Lam Sali) และ
3.สถานีสุวินทวงศ์ (Suwinthawong) เปลี่ยนเป็นสถานีแยกร่มเกล้า (Yaek Rom Klao)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง มีการปรับเปลี่ยนชื่อ จำนวน 1 สถานี คือจากสถานีลำสาลี (Lam Sali) เปลี่ยนเป็น สถานีแยกลำสาลี (Yaek Lam Sali)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ มีการปรับเปลี่ยนชื่อจำนวน 1 สถานีคือ จากสถานีสะพานพระราม 9 (Rama 9 Bridge) เปลี่ยนเป็น สถานีแยกประชาอุทิศ (Yaek Pracha-Uthit)

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย - มีนบุรี ปรับเปลี่ยนชื่อจำนวน 2 สถานีคือ
1.สถานีสินแพทย์ (Synphaet) เปลี่ยนเป็น สถานีรามอินทรา กม. 9 (Ram Inthra Km.9) และ
2.สถานีวงแหวนตะวันออก (East Outer Ring Road) เปลี่ยนเป็น สถานีวงแหวนรามอินทรา (Outer Ring Road - Ram Inthra)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 208, 209, 210 ... 277, 278, 279  Next
Page 209 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©