RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181602
ทั้งหมด:13492840
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 365, 366, 367 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2020 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
เปิดตัว 'ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ' ซีพีส่งคุมไฮสปีดเทรน

8 กุมภาพันธ์ 2563

ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ MD รถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 - 16:33 น.

'เจ้าสัวธนินท์' ดัน 'ธิติฏฐ์' คุมไฮสปีด มือดีปั้น 3 เงื่อนไขสำเร็จ!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 - 11:45
ปรับปรุง: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:10

จับตา “ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ” มือดีที่ 'เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์' เลือกมานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบินเป็นคนแรก จะสามารถผลักดัน 3 เงื่อนไขได้สำเร็จหรือไม่? โดยเฉพาะเสียงชื่นชมเป็นมือประสานฝ่ายผู้บริหารไทย-จีน ได้อย่างดี แถมรู้ลึกรู้จริงเรื่องแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่จะทำให้บริษัท W&W ของกลุ่มทรู ขยายงานเข้าสู่ระบบรางได้ ชี้ ARL เปลี่ยนอาณัติสัญญาณจาก Lzb ไปใช้ Etcs 2 มาตรฐานยุโรป เพื่อเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย วิ่งทะลุเข้าจีนได้

บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง และพันธมิตร : CPH) คู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินระยะทาง 220 กม. มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท ซึ่งมี “นางโปง หง” บอสใหญ่จากประเทศจีนเป็นประธานกรรมการบริหาร

พร้อมแต่งตั้ง “ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ” ลูกหม้อเครือซีพี เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่!


การที่ “นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ” ต้องมารับภารกิจใหญ่ในการขับเคลื่อนบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯเป็นคนแรก ภายใต้การชี้ขาดหรือคำสั่งที่มิอาจปฏิเสธได้จาก 'เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์' ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ นั่นย่อมหมายถึงว่าเจ้าสัวธนินท์ มองทะลุปรุโปร่งแล้วว่าเขาจะสามารถรับภารกิจนี้ได้ภายใต้ประโยชน์ 3 เงื่อนไข คือประชาชนต้องได้ประโยชน์ ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์ และเงื่อนไขสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การสร้างกำไรกลับคืนมายังบริษัทฯ

นายธิติฏฐ์ รับผิดชอบงานในกลุ่มทรู เช่น บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท เอเซียอินโฟเน็ท บริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ บริษัททรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์

ปัจจุบันเขายังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด หรือ W&W ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทวิศวกรรมครบวงจร ดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม

บริษัท W&W จึงมีกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมด้านการสื่อสาร ไฟฟ้า เครื่องกล และโทรคมนาคม รวมไปถึงงานดูแลบำรุงรักษาระบบต่างๆ

หนึ่งในลูกค้าของ บริษัท W&W ก็คือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link) หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ : ARL และบริษัท W&W ยังได้รับดูแลบำรุงรักษาระบบต่างๆ ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เช่นกัน

“ผมยังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัทไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส ซึ่งบริษัท W&W ได้เข้าไปทำงาน Maintenance ให้กับแอร์พอร์ตเรลลิงก์อยู่แล้ว คนของเราอยู่ที่นั่นมากกว่า 30 คน ทำให้เรารู้ถึงโครงสร้างของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จึงรู้ว่าอะไรควรปรับปรุง แก้ไขอะไร อย่างไร” ธิติฏฐ์บอก


โดยแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ถือเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟความเร็วสูงฯ และในสัญญาการร่วมลงทุนกำหนดให้บริษัทฯ ต้องชำระค่าสิทธิบริหาร ARL จำนวน 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปี จึงจะมีสิทธิเข้าไปดำเนินการได้

ในส่วนของ ARL อยู่ระหว่างการให้ที่ปรึกษาเข้าไปตรวจสอบทางเทคนิคของอุปกรณ์ต่างๆ ระบบ และขบวนรถ (Due Diligence) เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบปรับปรุงระบบ ตัวอย่างเช่น รถที่ใช้วิ่งในขณะนี้ซึ่งเป็นของบริษัทซีเมนส์ ปกติมีอายุใช้งาน 30 ปี แต่เมื่อใช้มาแล้ว 9 ปี ก็ต้องเข้าไปดูว่าสภาพเป็นอย่างไร รวมไปถึงระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling System) ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเช่นกัน

ด้านการวางแผนการเดินรถก็ให้ FS : บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (Ferrovie Dellio Stato Intaliane) เข้าไปพูดคุยกับ ARL เพื่อเตรียมแผนการดำเนินงาน บุคลากร แผนปฏิบัติการ บำรุงรักษาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ช่วงต้นเดือนมีนาคม

นอกจากนี้จะมีการฟื้นฟูระบบเช็กอินที่ทาง ARL ยกเลิกไป เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภาได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงผู้โดยสารที่มาจากต่างประเทศ จะได้สามารถเช็กอินกระเป๋าที่มักกะสันได้เช่นกัน รวมไปถึงการปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี ARL ให้มีความสะดวกมากขึ้น

“เมื่อบริษัทเข้าไปแล้วจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประชาชนผู้ใช้บริการ ARL ต้องรู้สึกดีขึ้นชัดเจน เพราะ ARL ถือเป็นจุดเรียนรู้ปัญหาทั้งหมด และความต้องการของผู้โดยสาร คือเราต้องรู้ว่า Pain Point เขาเป็นอย่างไร ก็ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เห็นโดยเร็ว” ธิติฏฐ์กล่าว

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมบอกว่า ในเรื่องของอาณัติสัญญาณนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน คือของเดิมที่ใช้ใน ARL จะเป็นระบบ Lzb (Linienzugbeeinflussung) ของ Siemens คาดว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ Etcs 2 มาตรฐานยุโรป แต่ยังไม่มีการสรุปว่าจะเป็นของกลุ่มทางฝรั่งเศส จีน หรือญี่ปุ่นที่จะเป็นผู้รับจ้าง

เหตุผลในการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ เนื่องจากระบบ Lzb ที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ เพราะลักษณะการใช้งานของ ARL ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันถูกใช้เป็นลักษณะของ Commuter Rail มากกว่า และมีสถานีจอดมากเกินไป จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนให้เป็นระบบเดียวกันตลอดเส้นทาง

“การเปลี่ยนอาณัติสัญญาณให้เป็นระบบเดียวกันนั้น เพื่อรองรับการเชื่อมต่อไปยังรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนได้ด้วย”

ขณะเดียวกัน ทางบริษัท อิตาเลียนไทย และบริษัท China Railway Construction Corporation Limited :CRCC (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของจีน ก็ได้มีการสำรวจพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างตลอดสาย ทำให้รู้ว่ามีพื้นที่ใดที่เป็นอุปสรรคในการก่อสร้างบ้าง และ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการรื้อย้ายและส่งมอบที่ดินให้กับบริษัทฯ


กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ บอกว่าโครงการก่อสร้างไฮสปีดเทรนนั้น มีงานหลัก 4 เรื่อง คือการก่อสร้าง วางระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ TOD (Transit Oriented Development) ซึ่งพันธมิตรก็ได้มีการร่วมมือในการทำงานเพื่อผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จให้ได้ ซึ่งโครงการนี้จะมีผลต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)

การก่อสร้าง วางราง อิตาเลียนไทย และ CRCC ก็รับผิดชอบดูแล งาน Operate จะมี FS รับผิดชอบ ส่วน Rolling Stock อยู่ระหว่างการเตรียมการหรือกำหนดสเปกประมูล และในส่วนของ TOD ก็จะต้องหามืออาชีพ ก็อาจเป็นบริษัทในเครืออย่างแมกโนเลียหรือบริษัทอื่นที่เชี่ยวชาญเข้ามาพัฒนา”

อย่างไรก็ดี โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง จะเกิดการขยายตัวของเมืองตามเส้นทางรถไฟฟ้าพาดผ่าน ประชาชนสามารถไปอยู่อาศัยที่ฉะเชิงเทรา พัทยา ระยอง และนั่งรถเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ได้ และจะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างดี

“ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ซึ่งเราได้สิทธิในการพัฒนาที่ดินจากการรถไฟฯ ก็อยู่ระหว่างการสำรวจและวางแผนพัฒนาที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในการประมูล และทุกๆ สถานีจะเกิดการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จะมีพื้นที่เปิดมากขึ้น”

ดังนั้น การเกิดขึ้นของโครงการนี้จะสามารถนำไปสู่เงื่อนไข 3 ข้อที่เจ้าสัวธนินท์บอกไว้ คือประชาชนก็จะได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องของการเดินทาง ที่พักอาศัย สิ่งแวดล้อมที่ดี ขณะที่ประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นและทำให้แผนพัฒนา EEC เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากโครงการรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในแผนพัฒนา EEC

ส่วนเป้าหมายสุดท้ายคือกำไรที่คาดว่าจะเกิดจากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือ TOD ในที่ดินของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะบริเวณมักกะสันที่ถือว่าเป็นที่ดินใจกลางเมืองที่มีขนาดใหญ่และเป็นที่หมายตาของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงที่ดินบริเวณต่างๆ ที่รถไฟความเร็วสูงพาดผ่าน ที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรได้มีการเตรียมการไว้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมบอกว่า การที่เจ้าสัวเลือก นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ มาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆ ก็รู้สึกยินดี เนื่องจากนายธิติฏฐ์ มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารและยังเป็นวิศวกรด้านไฟฟ้า ทำให้เข้าใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง อีกทั้งมีลักษณะค่อนข้าง Compromise สูง รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ทำให้การเจรจาหารือเป็นไปด้วยความราบรื่น ในการประสานงานกับภาครัฐที่มีทั้งหมด 21 หน่ายงาน และ 2 รัฐวิสาหกิจได้เป็นอย่างดี

“เขานั่งควบ 2 บริษัท คือ รถไฟ และW&W เป็นผลดีกับการทำงานไปได้ราบรื่น และในอนาคตเชื่อว่าW&W ซึ่งเป็นบริษัทของทรู จะมีการขยายขอบเขตของงานจากที่บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของรถไฟ ก็น่าจะเข้าสู่การ Maintenance ระบบรางทั้งในเรื่อง Alignment ของ Track เรื่องของ Elongation ให้อยู่ในสภาพดีเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารได้ง่าย”

ที่น่าสนใจที่สุดไม่ใช่แค่คุณสมบัติเป็นเลิศในการประสานงานกับฝ่ายไทยเท่านั้น เขายังเป็นมือประสานกับผู้บริหารทางจีนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การจะเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปยังเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อทะลุเข้าลาวและจีนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ที่สำคัญสุดก่อนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จนั้นได้ จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหามากมายโดยเฉพาะในเรื่องของการส่งมอบที่ดินซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาใช้ที่ดินของ ร.ฟ.ท.เป็นจำนวนมาก และบางพื้นที่ยังเป็นชุมชนริมทางรถไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามวลชนต่อต้านขึ้นมาได้

แม้วันนี้ดูเหมือนทุกอย่างจะราบรื่นขึ้นเมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธาน EEC ได้ลงมาเร่งรัด กระทั่ง 21 หน่วยงานและ 2 รัฐวิสาหกิจ พร้อมที่จะรื้อย้ายสิ่งกีดขวางทั้งหมดออกจากพื้นที่ เพื่อเปิดทางให้บริษัทฯ เข้าไปดำเนินการก่อสร้างได้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าได้หาก ร.ฟ.ท.ส่งมอบที่ดินแบบฟันหลอ

“ช่วงนอกเมืองดูมีแนวโน้มดี รัฐบาลจริงจังมาก จากสถานีสุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา น่าจะส่งมอบได้ตามสัญญา ส่วนช่วงในเมืองจากสถานีพญาไท ไปดอนเมือง น่าจะยากมากๆ แต่ทุกฝ่ายก็พยายามกันมาก”

ถึงวันนี้ยังไม่เริ่มกระบวนการส่งมอบที่ดิน เพราะยังต้องมีการเวนคืนที่ดิน รื้อย้ายสาธารณูปโภค ยกเลิกสัญญาเช่า รวมถึงย้ายผู้บุกรุกตามเส้นทางก่อสร้าง ทำให้บริษัททำได้เพียงเตรียมงานออกแบบ สำรวจ และเจาะสำรวจดินไปก่อน!

จากนี้ไปต้องนับวันรอการประกาศส่งมอบพื้นที่ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างต่อไป!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 12:32 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ยันไฮสปีด 3 สนามบิน ไม่เอื้อซี.พี.
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:53 น.

“ศักดิ์สยาม” ขึ้นแจงปมไฮสปีด 3 สนามบิน ยันไม่เอื้อซี.พี. เปิดประมูลแบบนานาชาติตามขั้นตอน แจงรวมที่ดินมักกะสัน-ศรีราชา เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนรถไฟความเร็วสูง เผยลงนามช้าติดถกส่งมอบพื้นที่ ย้ำสิทธิ์การปรับเปลี่ยนสถานี-ทำ Spur Line มีบอกใน RFP ไม่ได้เพิ่มทีหลัง

เมื่อ‪เวลา 10.33 น.‬ ที่รัฐสภา สี่แยกเกียกกาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวชี้แจงกรณีที่นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อ 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,554 ล้านบาทว่า ประเด็นแรก โครงการนี้ไม่ได้เอื้อเอกชนรายใหญ่ เพราะกระบวนการประมูลใช้รูปแบบ International Bidding (ประมูลแบบนานาชาติ) มีเอกชนเข้ามาซื้อซองเอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) 31 ราย เป็นบริษัทในไทย 14 รายและต่างประเทศรวม 17 ราย


และยื่นเสนอราคา 2 กลุ่ม คือกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง, บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และบมจ.ราชกรุ๊ป และกลุ่ม CPH ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.ช.การช่าง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลล๊อปเมนต์ และChina Railway Construction Corporation Limited (CRCC)

ทั้ง 2 กลุ่ม ผ่านการพิจารณาซองที่ 1 (คุณสมบัติ และซอง 2 (เทคนิค) ส่วนข้อเสนอในซองที่ 3 (การเงิน) ก็ได้ให้กลุ่ม CPH ชนะเพราะเสนอขอให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุดที่ 149,650 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่ากรอบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติที่ 152,457 ล้านบาท หรือ NPV ที่ 119,426 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกทุกประการ

ประเด็นที่ 2 การรวมเอาโครงการพัฒนาพื้นที่มักกะสันและศรีราชามาไว้กับการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ก็เพราะว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูงมากถึง 179,389.09 ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR) ที่ 2.12% ส่วนค่า NPV จะขาดทุนที่ 107,856 ล้านบาท ซึ่งไม่มีเอกชนรายใดมายื่นข้อเสนอแน่นอน

ส่วนการพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชามีวงเงินลงทุน 45,155.27 ล้านบาท ส่วน NPV อยู่ที่ 30,087 ล้านบาท ซึ่งมีเอกชนให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก และหากแยกโครงการออกจากกัน ก็จะมีแต่การพัฒนาที่ดินเท่านั้นที่เกิดขึ้น แต่ไม่มีใครทำรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเมื่อรวมทั้งสองส่วนแล้ว จะมีมูลค่าลงทุนที่ 224,544 ล้านบาท มีค่า NPV -77,769 ล้านบาท ซึ่งโครงการก็ยังขาดทุนอยู่

“ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องเข้ามาลงทุนร่วมอีก 119,426 ล้านบาท โดยรัฐจะทยอยจ่ายคืนเป็นระยะเวลา 10 ปี หลังก่อสร้างแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่ม CPH เป็นผู้ชนะการประมูล จึงทำให้รัฐประหยัดเงินลงทุนไปได้ถึง 60,000 ล้านบาท”

ประเด็นที่ 3 การลงนามในสัญญาที่ล่าช้ามาจากการส่งมอบพื้นที่โครงการที่ติดปัญหาหลายประการ ซึ่งคิดตามระยะทางของโครงการแล้ว ต้องส่งมอบรวม 4,429 ไร่ และตาม RFP ระบุให้รัฐส่งมอบพื้นที่ให้ได้มากกว่า 50% หลังจากที่มีการเจรจา และจากการลงพื้นที่สำรวจก็พบว่ามีอุปสรรคหลายอย่าง ทั้งระบบสาธารณูปโภค เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อส่งน้ำประปา อุโมงค์ระบายน้ำ เป็นต้น กีดขวาง 300 จุด, ผู้บุกรุก 900 หลังคาเรือน เป็นต้น

ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่แล้ว โดยมีกรอบเวลาชัดเจนกับหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าโง่ เพราะใน RFP ระบุไว้แล้วว่า กรณีส่งมอบพื้นที่ล่าช้าไม่ให้ชดเชยเป็นตัวเงินเด็ดขาด

และประเด็นสุดท้าย การลดค่าปรับกรณีก่อสร้าง และการเอื้อให้เอกชนก่อสร้าง Spur Line รวมถึงการเพิ่มสิทธิ์ First Right นั้น ขอยืนยันว่าไม่จริง การพิจารณาค่าปรับต้องสอดคล้องกับ RFP และทางอีอีซีได้ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วพบว่า เราได้ดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ ส่วนสิทธิ์ในการย้านสถานีหรือทำ Spur Line มีระบุใน RFP ตั้งแต่แรกแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2020 8:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” ยันไฮสปีด 3 สนามบิน ไม่เอื้อซี.พี.
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:53 น.

'ศักดิ์สยาม' แจง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีเอกชนซื้อเอกสาร 31 ราย
กรุงเทพธุรกิจ 25 กุมภาพันธ์ 2563

"ศักดิ์สยาม" แจงยิบ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่เอื้อเอกชนใดทั้งสิ้น 31 บริษัทเข้าซื้อเอกสาร และเงื่อนไขการเจรจากับเอกชนอยู่ในกรอบที่กำหนด อัยการสูงสุดตรวจสอบแล้ว พร้อมเผยรัฐบาลศึกษาเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษ เหนือ อีสาน ตะวันตก และภาคใต้ เพ

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ยืนยันว่า โครงการไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดทั้งสิ้น การทำสัญญา ไม่เอื้อเอกชน

นายศักดิ์สยาม ชี้แจงเรื่องความสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรีกับบริษัทเอกชน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยยืนยันว่า ไม่ได้มีการเอื้อให้กับบริษัทเอกชนใดบริษัทหนึ่ง เพราะมีเอกชนซื้อเอกสารการคัดเลือกถึง 31 ราย เป็นการพิจารณาคัดเลือกเอกชนโดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ประเทศ และขอรับเงินสนับสนุนน้อยที่สุด ส่วนรูปแบบการประมูลมัดรวม ไม่แยกการพัฒนาโครงสร้าง กับการพัฒนาที่ดินเข้าด้วยกัน รมว.คมนาคม ชี้แจงว่า เป็นการนำเอาศักยภาพของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อลดภาระงบประมาณเงินสนับสนุนของภาครัฐ

ส่วนที่มีข้อกล่าวหาที่ว่าการเซ็นสัญญาล่าช้า มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการส่งมอบที่ดิน มีการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเพิ่มมากขึ้นกว่าที่กำหนดในเอกสารคัดเลือก นั้น นายศักดิ์สยาม ชี้แจงว่า เพราะเอกสารการคัดเลือกเอกชนได้กำหนดไว้ว่าให้ส่งมอบพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 หลังจากเจรจากับเอกชน เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เสร็จตามนโยบายรัฐบาล และการรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินการส่งมอบพื้นที่ได้ จึงได้กำหนดสัดส่วนการส่งมอบพื้นที่ประมาณร้อยละ 70 ซึ่งที่ดินทั้งหมดจะตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้เอกชนขนส่งมอบพื้นที่กลับหลังก่อสร้างเสร็จ

สำหรับข้ออภิปรายที่ว่า มีการลดค่าปรับ เอื้อสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนแนว ทำ Spur line สิทธิ First Right นายศักดิ์สยาม ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก เป็นการพิจารณาค่าปรับให้สอดคล้องตามสัดส่วนงานที่เอกชนรับไปดำเนินงาน ซึ่งอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาเห็นชอบแล้ว สำหรับการย้ายสถานีหรือ Spur line สิทธิ First Right ได้กำหนดหลักการไว้ในเอกสารเงื่อนไขการร่างข้อเสนอ (RFP) และมติ ครม.ที่อนุมัติ ไม่มีข้อใดขัดกับหลักการ เอกชนเปลี่ยนตำแหน่งสถานีได้ เพื่อประโยชน์และตามความเห็นชอบของ รฟท. เท่านั้น

“ขณะนี้โครงการ EEC เดินหน้าไปได้ 3 โครงการ คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการขยายสนามบินอู่ตะเภา และโครงการที่ท่าเรือแหลมฉบัง สิ่งที่ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการต่อไป คือให้สภาพัฒน์ฯ ศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และที่สำคัญคือเขตเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้ง 5 เขตเศรษฐกิจ ที่นายกรัฐมนตรี ตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในประเทศไทยทำให้มีการพัฒนาความเจริญทั้งประเทศ เนื่องจากเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ผมเคยถามท่านว่า ใช้เวลาก่อสร้างหลายปี เราจะได้ใช้หรือ ท่านตอบกลับมาว่า คุณทำไปเถิด ผมต้องการทำสิ่งเหล่านี้ให้ประเทศไทย พวกเราต้องทำให้กับคนไทยทุกคน ให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีชีวิตที่ดีมากขึ้น” นายศักดิ์สยาม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

ใกล้ปิดจ็อบ! รับเหมารอลุ้นยื่นประมูลศูนย์ซ่อมบำรุง 7,664 ล้านรถไฟไทย-จีน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 - 10:45 น.

ใกล้ปิดจ็อบ! รับเหมารอลุ้นยื่นประมูลศูนย์ซ่อมบำรุง 7,664 ล้านรถไฟไทย-จีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 21-27 ก.พ.2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ประกาศประชาพิจารณ์ร่างทีโออาร์ประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย งานสัญญาที่ 4-4 ของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทะฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน วงเงิน 7,664.629 ล้านบาท


โดยขอบเขตของงานก่อสร้าง ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์บำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถนนต่อเชื่อม มีอาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนน งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

ส่วนกำหนดวันยื่นซองประมูล ทาง ร.ฟ.ท.ยังไม่กำหนดวันที่แน่นอน เนื่องจากต้องรอผลการวิจารณ์ร่างทีโออาร์ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ทยอยเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธา จำนวน 14 สัญญา ปัจจุบันยังเหลืองานศูนย์ซ่อมบำรุง และงานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม. รอแบบที่ชัดเจนจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

รับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตงาน(TOR) 21-27 ก.พ.63
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคา : 7,664,629,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631344844
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2020 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (26 ก.พ. 63) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือทางเทคนิคเพื่อลดต้นทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย และฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Kenji Hamamoto Director for Office of Project Development,International Policy and Project Division, Railway Bureau ผู้แทนจาก MLIT JICA และ Embassy of Japan โดยประเด็นการหารือ ประกอบด้วยกัน 4 เรื่อง ได้แก่
เรื่องที่ 1 การปรับลดจำนวนตู้รถไฟ
เรื่องที่ 2 การปรับเปลี่ยนจำนวนทางวิ่งและชานชาลา
เรื่องที่ 3 การปรับเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างอุโมงค์
เรื่องที่ 4 การประเมินต้นทุนตลอดอายุการใช้งานระหว่างทางรถไฟแบบหินโรยทางและแบบคอนกรีตอัดแรง
ซึ่งที่ประชุมขอให้ MLIT เพิ่มเติมรายละเอียดในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาทิ ผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสาร แผนการดำเนินงาน และนำเสนอในคราวประชุมครั้งต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/630419281068353
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2874151012631825
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/03/2020 2:39 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนดีเลย์ทั้งโครงการสร้าง 2 ปี ทำผลงานคืบหน้าแค่2%
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563
Arrow https://www.prachachat.net/property/news-427171

รถไฟไทย-จีนติดหล่มเวนคืนที่ดิน อีไอเอ ดีเลย์ทั้งโครงการ ลุยตอกเข็ม สร้าง 2 สัญญา 2 ปี คืบหน้า 2% จับตาขยายเวลา "ซีวิล" สร้างช่วงสีคิ้ว-กุดจิก รอเซ็น 12 สัญญา มูลค่า 8.9 หมื่นล้าน ชงบอร์ดอนุมัติ 7 สัญญา เวนคืน 500 ไร่ ผุดศูนย์ซ่อมเชียงรากน้อย เคลียร์ ซี.พี.ออกเงิน 4 พันล้าน สร้างโครงสร้างและฐานรากให้ก่อน แก้ปัญหา พื้นที่ทับซ้อนบางซื่อ-ดอนเมือง ขยับเป้า เปิดเป็นปี'68

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. เงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ร่วมกับรัฐบาลจีน ภาพรวมทั้งโครงการแบ่งสร้าง 14 สัญญา คืบหน้าแล้ว 2% จากเริ่มสร้างแล้ว 2 สัญญา นับจากปี 2560-2561

ได้แก่ ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. คืบหน้า 78% จะเสร็จเดือน ก.ย.นี้ เลื่อนจากเดิมเดือน พ.ค.นี้ และช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้ก่อสร้าง 3,114 ล้านบาท คืบหน้า 13% ยังล่าช้า 13% ติดส่งมอบพื้นที่ รอประเมินว่าจะสร้างเสร็จในเดือน ต.ค.นี้ตามสัญญาหรือไม่ หากไม่ทันจะต้องขอขยายเวลาออกไปอีก

"งานรอเซ็นสัญญาคิดเป็นวงเงิน 89,039 ล้านบาท รอประมูล 2 สัญญา รอบอร์ดอนุมัติ 7 สัญญา บอร์ดอนุมัติแล้ว 3 สัญญา แต่จะเซ็นสัญญายังไม่ได้ รอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ได้รับอนุมัติก่อน ถึงจะเริ่มเวนคืนและก่อสร้างได้ทั้งโครงการ"

สำหรับ 3 สัญญาที่ ผ่านบอร์ดแล้ว ได้แก่ ช่วงดอนเมือง-นวนคร ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด วงเงิน 8,626 ล้านบาท ช่วงนวนคร-บ้านโพ ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) วงเงิน 11,525 ล้านบาท และช่วงพระแก้ว- สระบุรี ของบมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 9,429 ล้านบาท

รอเสนอให้บอร์ดอนุมัติ 7 สัญญา ที่พร้อมเสนอได้ก่อน 4 สัญญา ได้แก่ ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ของ บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง 9,838 ล้านบาท, ช่วงโคกกรวด- นครราชสีมา ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK วงเงิน 7,750 ล้านบาท, ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 9,913 ล้านบาท และช่วงสระบุรี-แก่งคอย ของ บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง 8,560 ล้านบาท

อีก 3 สัญญา รอให้ผู้ว่าการอนุมัติ ได้แก่ ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก- บันไดม้า ของบจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง 9,330 ล้านบาท, งานอุโมงค์ (มวกเหล็กและ ลำตะคอง) ของบมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ 4,279.328 ล้านบาท และช่วงลำตะคองสีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด ของ บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) 9,788 ล้านบาท

ล่าสุด ร.ฟ.ท.รับฟังความคิดเห็นร่างทีโออาร์ประมูลงานศูนย์ซ่อมบำรุง เชียงรากน้อย วงเงิน 7,667 ล้านบาท หากไม่มีการร้องเรียนคาดว่าจะเปิดให้ซื้อทีโออาร์อีก 2 เดือนข้างหน้า หรือเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งส่วนนี้จะมีเวนคืนที่ดิน 500 ไร่ ก่อสร้างโครงการ ประกอบด้วย ทางรถไฟ ระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถนนต่อเชื่อม อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร ก่อสร้างถนน งานระบบระบายน้ำ รื้อย้าย ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ

ยังเหลือประมูลช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของกลุ่ม ซี.พี. ได้หารือแล้วซี.พี.จะต้องลงทุนสร้างฐานรากและโครงสร้าง 4,009 ล้านบาทให้ก่อน ซึ่งรถไฟไทย-จีนจะอยู่ด้านบน ส่วนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะอยู่ชั้น 3

จากความล่าช้าของโครงการ คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2568 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับงานสัญญา 2.3 งานวางราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ 50,633 ล้านบาท ซึ่งเลื่อนประชุมร่วมฝ่ายจีนออกไปไม่มีกำหนดจากปัญหาโควิด-19

บรรยายใต้ภาพ
เสร็จ ก.ย.นี้ - ความก้าวหน้างานก่อสร้างรถไฟไทย-จีนเฟสแรก 3.5 กม. จากกลางดง- ปางอโศกที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2560 คืบหน้า 78%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2020 3:00 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้ารถไฟความเร็วสูง ช่วง ดงพญาเย็น ถึง เขื่อนลำตะคลอง มกราคม 2563
https://www.youtube.com/watch?v=jXWB0SAOv7s
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2020 1:09 am    Post subject: Reply with quote

3 มี.ค.63 ครึ่งบ่าย มาเป็นผู้แทนหน่วยงานเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (อจร.) จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่1/2563 ที่ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ตามหนังสือเชิญของท่านผวจ.นครราชสีมาให้ไปชี้แจงความคืบหน้าเรื่องรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และนครราชสีมา-หนองคาย เส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระและชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี พร้อมทั้งความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ (กรณีจ.นครราชสีมาขิงให้แนวเส้นทางผ่านชุมทางบัวใหญ่) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รฟท.และ สนข.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2883715931675333&set=a.2789611361085791&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2020 10:29 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กป๊อก-ศักดิ์สยาม” ไขปมร้อน สัมปทาน “รถไฟฟ้า-ไฮสปีด” ทำไมต้อง BTS-CP
วันที่ 3 มีนาคม 2563 - 15:30 น.

แม้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ “รัฐบาลประยุทธ์ 2/1” จบไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่จับตาภาคต่อนับจากนี้ โดยเฉพาะสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส-สายสีทองและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หนึ่งในสปอตไลต์ ที่ฝ่ายค้านสาดใส่ “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี กับข้อครหาที่ว่า “เอื้อเจ้าสัว”

เจ้าหนึ่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ภายใต้ร่มเงาของ “คีรี กาญจนพาสน์” ผู้บุกเบิกรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย และเป็นผู้รับสัมปทานสายสีเขียวเดิมและเดินรถส่วนต่อขยายใหม่ อยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคาะต่อสัญญาใหม่กับ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ว่ากันว่าเสร็จศึกอภิปราย ทุกอย่างน่าจะเรียบร้อย เพราะผ่าน “ครม.เศรษฐกิจ” ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562

อีกเจ้า บจ.สยามพิวรรธน์ เจ้าของโปรเจ็กต์ยักษ์ “ไอคอนสยาม” ทุ่ม 2,000 ล้านบาท ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีทองเชื่อมบีทีเอสกรุงธนบุรี-คลองสาน เป็นฟีดเดอร์เดินทาง จึงทำให้ฝ่ายค้านหยิบเป็นประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ


ส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้เจ้าสัว ซี.พี.ลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท รับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์ 50 ปี ถึงจะเซ็นสัญญาไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นประเด็นคุกรุ่นในสภา

เวทีนี้ “บิ๊กตู่” มอบ “บิ๊กป๊อก-พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา” เจ้ากระทรวงคลองหลอดเป็นผู้ชี้แจง ในฐานะกำกับดูแล “กทม.” ที่คุมสัมปทานสายสีเขียวและสายสีทอง ขณะที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม ชี้แจงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

“บิ๊กป๊อก-ศักดิ์สยาม” ไขปมร้อน สัมปทาน “รถไฟฟ้า-ไฮสปีด” ทำไมต้อง BTS-CP

แจงสัมปทานบีทีเอสมี 3 ส่วน
“พลเอกอนุพงษ์” ชี้แจงสายสีเขียวแบ่งเป็น 3 ส่วน 1.สัมปทานเดิม หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน มีบีทีเอสเป็นผู้รับสัมปทาน 30 ปี (2542-2572) 2.ส่วนต่อขยายที่ 1 สะพานตากสิน-บางหว้า มี บจ.กรุงธนาคม (KT) วิสาหกิจของ กทม. เป็นผู้ก่อสร้างและจ้างบีทีเอสเดินรถ 30 ปี (2555-2585)

และ 3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้กู้เงินมาสร้าง ต่อมา ครม.ให้ รฟม.โอนทั้ง 2 ส่วน ให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการ มีมูลค่าหนี้รวม 113,428 ล้านบาท แบ่งชำระ 2 งวด ต้องจ่ายใน 10 ปี (2562-2572) ก่อนสัมปทานเดิมจะหมดอายุ 57,956 ล้านบาท และต้องชำระส่วนที่เหลือ 55,472 ล้านบาท

ต่อ 30 ปีนับหนึ่งปี”73
“กทม.ไม่มีสภาพคล่องพอจะจ่ายได้ จึงเป็นที่มาออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงข่าย ซึ่งเจรจาต่อสัญญา 30 ปี ตั้งแต่ 2573-2602 ไม่ใช่ 40 ปี แต่รวมสัมปทานเดิมที่ยังไม่หมดอายุด้วย จะแบ่งรายได้ให้ กทม.นำไปชำระหนี้ส่วนที่เหลือ และรายได้ที่เอกชนจะได้รับจะต้องเหมาะสม เพราะต้องนำมาคำนวณกับการจ่ายหนี้ให้ กทม.ก่อน 10 ปี”

เจรจาเหมือน พ.ร.บ.ร่วมทุน
ได้ศึกษาถึงผลกระทบกรณีปล่อยให้สัมปทานหมดอายุ และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ประชาชนจะมีภาระค่าโดยสารสูง 158 บาท/คน/เที่ยว ต้องจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เพราะไม่ได้รวมเป็นเส้นทางเดียวกัน ส่วนการร่วมทุน ไม่มีรายใดสนใจ เพราะสายสีเขียวลงทุนสูง เพราะต้องมารับหนี้แทน กทม. กว่า 1 แสนล้านบาท

ยังมีสัญญาบีทีเอสยังไม่หมดอายุ เอกชนรายใหม่จะต้องวางระบบเดินรถใหม่ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี การใช้คำสั่ง คสช.จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

“คำสั่ง คสช.ไม่ได้ให้ต่อสัมปทาน แต่ให้ไปหาวิธีการมาว่า จะทำอย่างไรให้แก้ปัญหานี้ให้ได้ โดยค่าโดยสารต้องเหมาะสม ยืนยันว่าจะต้องลดลงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบัน”

“บิ๊กป๊อก-ศักดิ์สยาม” ไขปมร้อน สัมปทาน “รถไฟฟ้า-ไฮสปีด” ทำไมต้อง BTS-CP

เอกชนซื้อโฆษณาสร้างสายสีทอง
ส่วนสายสีทอง พลเอกอนุพงษ์ระบุว่า อยู่ในแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองของ กทม. ตั้งแต่ปี 2552 ต่อมาคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และ ครม.เห็นชอบให้ กทม.ดำเนินการโครงการ โดยมี KT หาแนวทางลงทุนเพราะ กทม.ไม่มีสภาพคล่อง ซึ่ง KT ตกลงกับภาคเอกชนที่จะซื้อโฆษณาล่วงหน้า 30 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และนำเงินส่วนนี้ไปก่อสร้าง และขอยกเว้นมติ ครม.เมื่อปี 2537 ที่ให้สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินจะใช้เงินลงทุนสูง เปลี่ยนเป็นยกระดับแทน และจำเป็นต้องเจรจากับบีทีเอสเพื่อเดินรถ เพราะจ้างเดินรถสายนี้จะไม่ขาดทุน

ประมูลไฮสปีดยึด RFP
ด้าน “ศักดิ์สยาม” ชี้แจงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้เอื้อเอกชนรายใหญ่ การประมูลใช้รูปแบบนานาชาติ มีเอกชนเข้ามาซื้อซองเอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) 31 ราย เป็นบริษัทไทย 14 รายและต่างประเทศ 17 ราย มียื่นเสนอราคา 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง, บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ราชกรุ๊ป และกลุ่ม CPH ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.ช.การช่าง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC)

“ทั้ง 2 กลุ่มผ่านคุณสมบัติ และเทคนิค ส่วนข้อเสนอการเงิน กลุ่ม CPH ชนะ เพราะขออุดหนุนน้อยที่สุด 149,650 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 117,227 ล้านบาท น้อยกว่ากรอบ ครม.อนุมัติ 119,426 ล้านบาท”

ที่มาพ่วงมักกะสัน-ศรีราชา
การรวมเอาพื้นที่มักกะสันและศรีราชามาด้วย เพราะรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง 179,389.09 ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR) 2.12% ไม่มีเอกชนรายใดมายื่นข้อเสนอแน่นอน ส่วนการพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชา ลงทุน 45,155.27 ล้านบาท เมื่อรวมทั้ง 2 ส่วนจะมีมูลค่าลงทุนที่ 224,544 ล้านบาท เมื่อคิดมูลค่าสุทธิปัจจุบัน -77,769 ล้านบาท ยังขาดทุนอยู่ รัฐจึงต้องร่วมอีก 119,426 ล้านบาท ทยอยจ่ายคืน 10 ปี หลังสร้างเสร็จ

ไม่มีค่าโง่ส่งมอบพื้นที่ช้า
การลงนามสัญญาล่าช้ามาจากการส่งมอบพื้นที่โครงการที่ติดปัญหา คิดตามระยะทางของโครงการแล้วต้องส่งมอบรวม 4,429 ไร่ และตาม RFP ระบุให้รัฐส่งมอบพื้นที่ให้ได้มากกว่า 50% พบมีอุปสรรคทั้งระบบสาธารณูปโภค ผู้บุกรุก ได้ตั้งคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบ ไม่ต้องกังวลค่าโง่ เพราะไม่ชดเชยเป็นตัวเงินเด็ดขาด ขอยืนยันร่างสัญญาผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วทุกประการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2020 7:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟ ชง อีอีซี 6 มี.ค. ขอ 4 พันล้าน ค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน
ข่าวสดออนไลน์ เศรษฐกิจ 4 มี.ค. 2563 22:43 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า เป็นการติดตามความคืบหน้าการเวนคืน และกรอบกำหนดของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งขณะนี้พบว่าทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค ตลอดจนเอกชนที่ชนะการประมูลมีแผนทำงานที่ชัดเจน และมั่นใจว่าจะก่อสร้างเสร็จทันกรอบกำหนด

โดยหลังจากสรุปรายละเอียดของการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดแล้ว รฟท. เตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติงบ 4 พันล้านบาท เพื่อรื้อย้าย และสร้างทดแทนสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการ เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา และท่อระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมถึงสายไฟแรงสูงเชื่อว่าจะส่งมอบพื้นที่ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ให้ซีพีทันภายใน 2 ปีครึ่งตามแผน

สำหรับปัญหาการส่งมอบพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ติดการรื้อย้ายในส่วนของท่อน้ำมัน บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ปัจจุบันได้ข้อสรุปแล้วว่า FPT จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายเอง โดยต้องจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมด้วย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ส่วนแรกที่มีความพร้อมส่งมอบก่อน คือ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปีกว่า ซึ่งปัจจุบันได้เคลียร์ระบบสาธารณูปโภคเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นมั่นใจว่าพื้นที่ช่วงนี้ จะเป็นส่วนแรกที่กลุ่มซีพีสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 365, 366, 367 ... 542, 543, 544  Next
Page 366 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©