Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179872
ทั้งหมด:13491104
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บทความ+Poster: อาคารสถานีรถไฟ มรดกทางสถาปัตยกรรมของไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บทความ+Poster: อาคารสถานีรถไฟ มรดกทางสถาปัตยกรรมของไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2013 5:25 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ ปริญญา ถ่ายรูป โรงงานมักกะสันปี 2556 เชิญดูที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/parinya.chukaew/media_set?set=a.495931493860081.1073741876.100003297034059&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2013 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
อ.ปริญญา ตั้งค่าอัลบั้มภาพไว้ให้ดูได้เฉพาะเพื่อนครับ ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ ถ้าไม่เป็นเพื่อนกันในเฟสบุ๊กจะดูไม่ได้ครับ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2017 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟเก่า...เราจะคิดถึงเธอ
โดย ปริญญา ชาวสมุน
กรุงเทพธุรกิจ
21 มีนาคม 2560 |
จะดีแค่ไหนถ้าเราเปลี่ยนคำอำลา มาเป็นช่วยกันเรียกร้องให้การพัฒนาเดินหน้าไปพร้อมกับการอนุรักษ์
“งานก่อสร้างรางรถไฟทางคู่มาจ่อห่างจากที่นี่ไม่ถึง 500 เมตรแล้ว ต้นไม้ถูกจัดการหมดแล้ว เหลือแค่เขามารื้อสถานีออกไป”
นี่คือปากคำจากนายสถานีรถไฟหนองแมว จ.นครราชสีมา บ่งบอกถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับสถานีรถไฟเก่า แม้จะเคยเป็นสถานีประจำชุมชนหนองแมว แต่สุดท้ายก็กลายเป็นสิ่งกีดขวางของการพัฒนาที่จะต้องถูกกำจัดออกไป
สถานีต่อไป...ไล่รื้อ
แทบจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วที่การพัฒนาสารพัดสิ่งในบ้านนี้เมืองนี้จะต้องเป็นเส้นขนานกับการอนุรักษ์ทุกครั้งไป ทั้งที่การพัฒนาไม่ได้ถูกตีกรอบเพียงแค่สร้างสิ่งใหม่ เพราะสิ่งที่ดีงามอยู่แล้วก็ควรต้องรักษาไว้
พอดีกับวาระ 120 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ในวันที่ 26 มีนาคม 2560 ที่จะถึงอยู่รอมร่อ ข่าวคราวการพัฒนากิจการรถไฟด้านต่างๆ มีมาให้รับรู้เพียบ เสมือนว่านโยบายรัฐจะขานรับวาระพิเศษนี้ด้วยนานาอภิมหาโครงการ ที่น่าจะยกระดับรถไฟไทยให้หลุดพ้นจากคำครหาว่า “โบราณคร่ำครึ” ไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ตามสไตล์ไทยแลนด์ 4.0
แต่ท่ามกลางอภิมหาเมกะโปรเจกต์ ยังมีอีกบางแง่มุมที่จำเป็นต้องไตร่ตรองกันให้ถ้วนถี่ว่าเหตุใดการพัฒนาต้องมาพร้อมกับการทำลายไปเสียหมด
ปริญญา ชูแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่าโครงการก่อสร้างรางรถไฟทางคู่ทั่วประเทศกำลังส่งผลกระทบต่อของดีที่มีอยู่เดิม นั่นคือ ‘สถานีรถไฟเก่า’ หลังเล็กหลังน้อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกเส้นทางเดินรถไฟกำลังจะต้องหายสาบสูญ
“ตอนนี้ที่มีปัญหามากคือรถไฟทางคู่ เราเคยมีทางคู่ที่สร้างกันมาแล้วแหละ อย่างที่กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา สมัยก่อนเป็นสายที่โดนรื้อมาก แต่พอตอนนี้รถไฟทางคู่ที่กำลังจะสร้างทั่วประเทศ โดยเฉพาะสายที่ปัจจุบันกำลังสร้างคือ ถนนจิระ – ขอนแก่น สายนี้แหละครับที่จะถูกรื้อเยอะมาก สถานีรถไฟเก่าแทบจะหายไปหมด”
ที่สถานีหนองแมว ณ ตอนนี้สถานการณ์เลวร้ายถึงขีดสุด ต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่ในพิกัดการก่อสร้างถูกตัดโค่นและถอนออกไปจนหมดแล้ว และไม่นานจากนี้อาคารสถานีที่อยู่คู่บ้านหนองแมวมานานจะเหลือเพียงความทรงจำ
“ไม่น่าจะเกินต้นเดือนเมษายนนี้จะต้องถูกรื้อหมดแล้ว ตอนนี้ต้นไม้เอาออกไปหมดแล้วเพราะอยู่บนเส้นทางแน่นอน แต่ว่าสถานีเราก็ยังหวังที่จะรอดูผู้บริหารว่าจะเอาอย่างไร” อำพล รัตนิยะ นายสถานีหนองแมว บอก
กรณีสถานีหนองแมวเมื่อปี พ.ศ.2558 นายสถานีคนนี้ควักทุนทรัพย์ส่วนตัวมาปรับปรุงสถานีตั้งแต่ ซ่อมแซม ทาสี ตกแต่ง ดูแลให้อยู่ในสภาพเดิมทุกอย่าง ทำให้สถานีหนองแมวตลอดเวลาที่เขาดูแลนับเป็นสถานีรถไฟเก่าที่สวยดูดีแบบดั้งเดิมมาตลอด การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศสถานีรถไฟสวยงามระดับประเทศในทุกปี
อำพลบอกว่าที่ทำไปก็เพื่อองค์กร สถานีรถไฟก็เหมือนเป็นบ้านหลังที่สอง ไม่ว่าจะเป็นสถานีไหนที่เขาดูแลก็ทำเต็มที่ ตลอดเวลา 3 ปี 10 เดือนที่เขาเป็นนายสถานีหนองแมว เขายอมทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และแรงเงิน ทำให้สถานีรถไฟบ้านๆ ไม่น้อยหน้าสถานีไหนในประเทศไทย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ช่างผิดคาด
เขาเล่าว่าทีแรกที่สำรวจการทำทางคู่ ทางการรถไฟฯบอกว่าฝั่งสถานีไม่โดนแน่นอน เขาก็ดีใจ และยังคงดูแลสถานีนี้อย่างดีไปเรื่อยๆ ด้วยความชะล่าใจ แต่จู่ๆ เส้นทางก่อสร้างกลับสลับทางมาโดนสถานีหนองแมวเต็มเปา ท่ามกลางความงุนงงสงสัย มีเพียงคำอธิบายว่า “การพัฒนาต้องเดินหน้า และผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้างไม่ได้ตกลงกันว่าอาคารสถานีพวกนี้จะทำอย่างไร ใครจะเก็บรักษา หรือใครจะดูแลต่อ”
พอย้อนกลับไปหาต้นตอ อาจารย์ปริญญาพบว่าเกิดจากจุดเล็กๆ เพียงจุดเดียว แต่กระเทือนไปทั้งประเทศ นั่นคือ ไม่มีนโยบายเชิงอนุรักษ์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้การเกิดขึ้นของรถไฟทางคู่สายอื่นๆ ก็จะเกิดเหตุการณ์เดียวกับสถานีเก่าตลอดสายถนนจิระ – ขอนแก่น
‘หนองแมว’ สถานีดีไม่มีคนเห็น
กรณีสถานีหนองแมว หลังจากได้รับข่าวว่าสถานีนี้ถูกรื้อแน่ นายสถานีกับชาวบ้าน (กลุ่มเล็กๆ) ก็หารือกัน เกิดความคิดว่าจะลงขันกันทอดผ้าป่ารักษาสถานีนี้ไว้ แต่ถึงตอนนี้นายสถานีก็ยอมรับอย่างพยายามเข้าใจว่า ‘คงไม่ทัน’
บางทีเสียงเรียกร้องที่เสมือนถูกเปล่งผ่านสุญญากาศ ก็เพราะอาคารสถานีที่ถูกรื้อทิ้งเป็นเพียงสถานีรถไฟเก่าๆ ไม่ใช่สถานีรถไฟหลัก หรือสถานีชื่อดัง เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพฯ สถานีรถไฟหัวหิน หรืออื่นๆ แต่ในแง่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตคนท้องถิ่น สถานีเล็กๆ รายทาง ก็มีคุณค่าไม่แพ้สถานีรถไฟขนาดใหญ่ที่ออกสื่อตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ค่อยมีใครมองเห็น
อาจารย์ปริญญาคาดว่าอาจเพราะเรื่องการอนุรักษ์ไม่ใช่พันธกิจหลักของการรถไฟมากไปกว่าการสร้างทางรถไฟ การเดินรถ หรือการซื้อหัวรถจักรรุ่นใหม่ การพัฒนาไปพร้อมการอนุรักษ์จึงไม่เคยอยู่บนโต๊ะประชุมหารือกันเลย
ในบริบทชุมชนสถานีรถไฟเล็กๆ เหล่านี้มีคุณค่าเกินกว่าแค่อาคารรอขึ้น-ลงรถไฟ แต่เปรียบได้กับวัดประจำหมู่บ้านทีเดียว
“หมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน สถานีรถไฟก็คือสถานีรถไฟประจำตำบล (เพราะแต่ละสถานีต้องมีระยะห่าง) มันจึงเป็นศูนย์กลางทางคมนาคมขนส่งของชุมชน ซึ่งวัดเป็นศูนย์กลางทางศาสนา นั่นหมายความว่าวันดีคืนดี ศูนย์รวมจิตใจมันหายไป เหมือนเรามีโบสถ์เก่า เรารื้อโบสถ์เก่าแล้วสร้างโบสถ์ใหม่ ทั้งที่โบสถ์ใหม่ก็สร้างในพื้นที่วัดได้ โบสถ์เก่าก็เก็บไว้ ทำไมหลายที่โบสถ์ถึงหายไป แต่มีโบสถ์ใหม่ขึ้นมาแทน จะบอกว่าสังคมไทยไม่ได้สนใจเรื่องนี้ก็ไม่เชิง แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจต่างหากที่ไม่มองว่าเรื่องนี้ต้องได้รับการดูแลรักษา” อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมฯ อธิบาย
ลึกกว่านั้นคุณค่าทางสังคมซึ่งสถานีรถไฟเล็กๆ เหล่านี้เคยมีคุณูปการ คือ ก่อนที่สถานีจะเกิด ชุมชนก็เป็นเพียงชุมชนธรรมดา พอมีสถานีรถไฟ การคมนาคมขนส่งเข้าถึงความเจริญต่างๆ ก็ตามมา ทั้งการค้าขาย ผู้คนจากต่างถิ่นแวะเวียนเข้ามา การขนส่งสินค้าจากพื้นที่รอบๆ กระทั่งรอบสถานีรถไฟเจริญเติบโต
ในแง่สถาปัตยกรรม สถานีรถไฟแบบนี้มักจะสร้างขึ้นอย่างสอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย เป็นไม้โปร่งๆ โล่งๆ อากาศถ่ายเทเย็นสบาย ด้วยคุณค่าทุกด้านทั้งประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และสถาปัตยกรรม ในมุมมองของคนที่คลุกคลีกับเรื่องนี้ สถานีรถไฟเก่าสำคัญไม่แพ้สถานีชื่อดังอื่นๆ เลย
“ถ้าวันนี้มีคนจะรื้อสถานีหัวลำโพง (สถานีกรุงเทพฯ) คนส่วนมากก็ไม่ยอมใช่ไหม ทำไมล่ะ เพราะมีที่เดียวหรือ สถานีเล็กๆ พวกนี้ก็มีที่เดียวเหมือนกัน นี่เป็นคำถามที่ถามง่ายแต่ตอบยากใช่ไหม” อาจารย์ปริญญาตั้งคำถาม
ถามว่าหลังจากที่สถานีรถไฟเก่า ‘ถูกทำให้หาย’ แล้วจะมีอะไรมาแทนที่ คำตอบที่ได้คือ ชานชาลาแบบแพลตฟอร์มเดียวกัน มีโครง มีหลังคา และที่นั่งรอรถไฟ...จบ
อาคารที่ออกแบบและสร้างตามบริบทของชุมชนและท้องถิ่น หรือสวนหย่อมและต้นไม้ จะกลายเป็นอดีตหรือความทรงจำสีจางๆ เท่านั้นเอง
สถานีรถไฟเก่า เอาไงดี
สำหรับเหตุผลทางวิศวกรรมที่จำเป็นจะต้องทำให้เส้นทางรถไฟทางคู่เป็นเส้นตรงมากที่สุด เพื่อให้รถไฟแล่นได้ไวที่สุด เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ แต่ด้วยเหตุผลที่ลึกซึ้งกว่านั้นอันแสนเจ็บปวดคือการรถไฟฯขาดนโยบายอนุรักษ์ นี่เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายรับไม่ได้
“สถานีรถไฟเก่าที่ทำจากไม้รื้อถอดไปประกอบตั้งที่ใหม่ได้ นี่ต่างหากที่เราพยายามเสนอและส่งเสริมให้เกิด แต่มันก็ไม่เกิดเป็นรูปธรรมสักอย่างจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะเขาไม่มีแผนและนโยบาย”
อาจารย์คนเดิมอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าสถานีรถไฟเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษสร้าง คนที่อยู่ตอนนี้ไม่ใช่คนสร้าง เพียงแต่ทำงานให้การรถไฟฯ นั่นหมายความนี่คือมรดกของประเทศเราหรือเปล่า? สำหรับเขาคำตอบคือใช่
“มันเป็นมรดกร่วมกัน เพียงแต่การรถไฟฯได้รับสืบทอดมาให้ดูแล เอาละ การรถไฟฯอาจพูดว่ากำลังประสบปัญหาทางการเงิน ไม่มีเงินดูแลก็ว่าไป ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าทำไมการรถไฟฯถึงขาดทุนหรือไม่มีสตางค์ ก็กลับมาที่การสนับสนุนจากภาครัฐอีก เป็นงูกินหางแบบนี้
ถ้าคุณไม่มีเงินดูแล ก็น่าจะเปิดโอกาสหรือมีนโยบายว่าเราจะรักษา เช่น รถไฟทางคู่คุณได้เงินจากรัฐเป็นหมื่นล้านแสนล้านที่มาทำ สถานีหนึ่งหลังคุณลงทุนหลังละล้าน มีอยู่สามร้อยกว่าหลัง ก็สามร้อยกว่าล้านเองเมื่อเทียบกับแสนล้าน แต่คุณไม่มีวิธีคิดตั้งแต่แรกว่าจะรักษามัน”
เขายืนยันว่าไม่เคยปฏิเสธว่าห้ามสร้างสถานีรถไฟใหม่ ถ้าจำเป็นต้องสร้างให้ใหญ่โตเพื่อรองรับคนหรือสินค้าที่มากขึ้นกว่าปกติ แต่ประเด็นอยู่ที่สถานีเล็กๆ นี้ ทางเทคนิคและวิธีการนั้นทำได้ ทว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำไมไม่ทำ ทำไมจึงคิดว่าสถานีเหล่านี้จะถูกรื้อได้อย่างไม่ต้องไยดี
ในทางเทคนิคอาจารย์สถาปัตย์คนนี้บอกว่าถ้าเป็นบ้านไม้สมัยก่อน จะยกบ้านให้ลูกหลาน เขาจะยกทั้งหลัง โดยตัดเสา ตีไม้ประกบให้เป็นเฟรม คล้ายการห่อแล้วยกด้วยรอก เคลื่อนย้ายได้ หรืออาจใช้เครนยกก็ทำได้ ซึ่งสถานีรถไฟก็ไม่แตกต่างจากบ้านหลังเล็กๆ ที่เขายกเขาดีดบ้านกันทั่วประเทศ เพียงแต่แทนที่จะยกขึ้นก็อาจยกเป็นแนวขนานกับพื้นดิน แต่พอไม่มีนโยบายรักษาตั้งแต่แรกก็เป็นเรื่องยาก
“ถ้าเส้นทางรถไฟไม่ไปทับสถานีรถไฟเก่าก็ไม่มีปัญหาใช่ไหม แต่ทีนี้มันต้องทับ ผมก็เลยบอกว่าใช้เทคนิคโบราณที่ทำกันอยู่จนถึงทุกวันนี้คือยกย้าย หรือจะใช้วิธีถอดเป็นชิ้นๆ แล้วไปประกอบขึ้นใหม่ก็ได้ ยกตัวอย่างถ้าเรามีบ้านเจ้าคุณปู่สมัยรัชกาลที่ 6 ในกรุงเทพฯ แล้วจะยกไปไว้ที่โคราช ถ้ายกไปทั้งหลังค่าขนส่งจะแพงมาก เขาก็จะถอดประกอบเป็นชิ้นๆ แล้วทำตัวเลขไว้ แล้วไปสร้างที่โคราช ซึ่งก็ไม่ได้ใช้เงินมากมายอะไร และที่สำคัญงบประมาณก็มาจากเราที่เสียภาษีให้เขาไปสร้างรถไฟทางคู่”
อย่างที่ทราบกันดีว่าที่ดินของการรถไฟฯมีเยอะมาก แน่นอนว่าแม้จะสร้างทางคู่ก็ไม่ได้ใช้ที่ดินทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ คือ จากเดิมมีรางประธานกับรางหลีก เพิ่มเลนกลางเป็นรางที่สาม ก็เท่ากับเพิ่มอีกไม่เท่าไร ซึ่งอาคารสถานีส่วนมากกว้างยาวไม่เกิน 4x12 เมตร (หรือใกล้เคียง) แค่เคลื่อนย้ายไปตรงพื้นที่ที่เหลือก็ได้ เพราะอย่างไรก็เป็นที่ของการรถไฟฯ
ก่อนหน้านี้ มีหลายสถานีที่อยู่ในข่าย ‘ผู้กีดขวาง’ เช่น สถานีแม่พวก จ.แพร่, สถานีบ้านปิน จ.แพร่ หรือสถานีสูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่เกิดการรวมตัวกันต่อสู้คัดค้านเป็นเรื่องเป็นราว กระทั่งการรถไฟฯขอพิจารณาใหม่ แล้วมีคำสั่งออกมาว่าจะอนุรักษ์ไว้ ไม่ถูกรื้อ อาจารย์ปริญญาบอกว่าเป็นเรื่องประหลาดมากที่เสียงแข็งทีแรกอ่อนลงอย่างง่ายดาย คล้ายว่าถ้าใครไม่ส่งเสียง การรถไฟฯก็พร้อมที่จะเดินหน้าเต็มกำลัง แต่ถ้ามีเสียงค้านที่ดังพอก็ขอคิดแป๊บหนึ่ง คำถามคือจำนวน 300 กว่าสถานีที่สวยทรงคุณค่า จะมีใครส่งเสียงเหมือนที่แม่พวก บ้านปิน หรือสูงเนิน หรือเปล่า
ในขณะที่หลายคนกำลังตื่นตาตื่นใจกับการพัฒนากิจการรถไฟไทยให้ทันสมัย แต่หลงลืมไปว่าของดีที่มีอยู่เดิมนั้นกำลังจะหายไปอย่างไม่มีวันกลับ หรือจะเราจะรอให้ชานชาลาทรงมะลื่อทื่อที่มีประโยชน์แค่ใช้สอยรอขึ้นรถ-ลงรถ แต่ขาดคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมต้องมาแทนที่สถานีรถไฟเก่าแต่เก๋าด้วยประสบการณ์จริงๆ แม้วินาทีนี้จะมีกี่สถานีรถไฟเก่าถูกลบจากหน้าประวัติศาสตร์ไปแล้ว แต่ยังไม่สายเกินไปหากสถานีที่เหลือจะได้รับการเหลียวแล ไม่ใช่แค่มาร่ำลาแล้วกล่าวว่า “เราจะคิดถึงเธอ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 10:31 am    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ปริญญา ชูแก้ว พูด:

Quote:
ThaiPBS เคยจัดเวทีสาธารณะ "อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟไทย" ไปแล้วเมื่อปี 2559 ถ้าปีนี้ ThaiPBS จะจัดอีกครั้งต้อง ผมคิดว่าครั้งนี้เราต้องเชิญนายกรัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากรมาร่วมงานด้วย เพราะเราจะได้บอกให้นายกตู่และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยให้มากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่ และขอให้กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนอาคารสถานีรถไฟที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ต่อไปผู้บริหารและมีอำนาจตัดสินใจของการรถไฟก็จะไม่อ้างได้ว่าเพราะการรถไฟไม่มีเงินและคนเพียงพอที่จะดูแลรักษาอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าตามหลักวิชาการครับ

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=yjHuniz0rDs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2019 11:20 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (29 ต.ค.62) บ้านปินจะมาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 16.00 - 18.30 น.ภายใต้โครงการ Creative Train(ing) Space ดำเนินการโดย ThaiPBS การรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรียนเชิญพ่อแม่พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เครือข่ายอนุรักษ์มรดกประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมรถไฟไทย และลูกศิษย์สถาปัตย์ลาดกระบังมาร่วมงานด้วยกันครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2611986462181616&set=a.2224340790946187&type=3&theater
Cr : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=2498422636944280&id=100003297034059
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
วันนี้ (29 ต.ค.62) บ้านปินจะมาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 16.00 - 18.30 น.ภายใต้โครงการ Creative Train(ing) Space ดำเนินการโดย ThaiPBS การรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรียนเชิญพ่อแม่พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เครือข่ายอนุรักษ์มรดกประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมรถไฟไทย และลูกศิษย์สถาปัตย์ลาดกระบังมาร่วมงานด้วยกันครับ


🚂 เพราะสถานีรถไฟไม่ใช่แค่ทางผ่าน…
จอดเทียบสถานีรถไฟบ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ อายุกว่า 105 ปี ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปสไตล์บาวาเรียนเฟรมเฮาส์ สร้างโดยช่างชาวเยอรมัน #สถานีรถไฟเก่า #สถานีรถไฟบ้านปิน #บาวาเรียนสไตล์ #รถไฟทางคู่ #ดูเปลี่ยนชีวิต #ThaiPBS
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/318603522187485/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2020 10:57 am    Post subject: Reply with quote


อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟไทย โดยอาจารย์ ปริญญา ชูแก้ว
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=aAU7kRRN-CY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2020 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวดีที่สุดของวันนี้เลยครับ
อาคารสถานีรถไฟหนองน้ำขุ่น สูงเนิน กุดจิก โคกกรวด ต้องได้รับการอนุรักษ์ด้วยเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม

ที่มา https://www.facebook.com/421508948626055/posts/686909902085957/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2021 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ ปริญญา ชูแก้วยังยืนยันคำพูดเดิมเหมือนเมื่อ 20 ปีที่แล้วว่า “การอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ด้วยกันได้” ครับ
https://fb.watch/6W3d2xkLFo/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

มรดกรถไฟไทย โดยอาจารย์ปริญญา ชูแก้ว เิปดให้ชมแล้วครับ https://www.facebook.com/media/set/?vanity=parinya.chukaew&set=a.4361972053922653
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©