RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181436
ทั้งหมด:13492674
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 368, 369, 370 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2020 10:40 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'คมนาคม'อนุมัติขยายเขตทาง สร้าง'ไฮสปีด'เชื่อม3สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563


เคาะเวนคืนเพิ่ม 5 จุดขยายเขตทาง “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ขีดเส้น ม.ค. 64 ส่งพื้นที่เปิดไซต์งาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563 18:07
ปรับปรุง: วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563 10:07

“คมนาคม” ขีดเส้น ม.ค. 64 ส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มซีพีเปิดไซต์งานก่อสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน วางไทม์ไลน์ ทยอยจ่ายค่าทดแทนเวนคืน 931 แปลง และรื้อย้ายบุกรุกกว่า 1 พันหลัง พร้อมเคาะเวนคืนเพิ่ม 5 จุด ขยายเขตทางรถไฟจาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร ช่วงทางเข้าสุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา, แม่น้ำบางปะกง, อุโมงค์เขาชีจรรย์

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมทางไกล คณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ครั้งที่ 3/2563 (ครั้งที่ 5) วันที่ 8 เม.ย. ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการเวนคืนที่ดินและย้ายผู้บุกรุกออกจากพื้นที่โครงการ โดยได้ข้อสรุปตรงกันว่า หากไม่มีข้อติดขัดใดๆ ในเดือน ม.ค. 2564 จะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในส่วนของ พื้นที่เวนคืนและบุกรุกให้แก่คู่สัญญา คือ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) ได้ทั้งหมด

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รายงานแผนงานและความก้าวหน้าการดำเนินงาน โดยกำหนดตารางการทำงานในส่วนของการเวนคืนที่ดินจำนวน 931 แปลงว่า เดือน เม.ย. 2563 จะทำการสำรวจข้อมูล ปักหลักเขตเวนคืน และประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ถูกเวนคืน, เดือน พ.ค. 2563 จะทำการสำรวจรายละเอียดที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ พืชผล, เดือน ก.ย. 2563 สรุปรายละเอียดและค่าทดแทนทั้งหมด, เดือน ต.ค. 2563 ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ผู้ถูกเวนคืนและเริ่มทยอยจ่ายค่าทดแทน

สำหรับพื้นที่บุกรุกมีจำนวน 1,352 หลัง โดยเป็นผู้บุกรุกที่กีดขวางโครงการจำนวน 498 หลังที่ต้องรื้อย้ายออกโดยด่วน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มที่รับค่าเยียวยาแล้วพร้อมรื้อย้ายทันที 342 หลัง และกลุ่มที่พร้อมรับค่าเยียวยาแต่ขอเวลาในการรื้อย้ายออกจำนวน 156 หลัง ซึ่งได้มอบให้ ร.ฟ.ท.เจรจาให้เร่งออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด

“ในหลักปฏิบัติ เมื่อตรวจสอบรายละเอียดที่ดิน ตกลงค่าทดแทนและจ่ายเงินให้ผู้ถูกเวนคืน จะทยอยส่งมอบที่ดินให้เอกชนคู่สัญญา ซึ่งคาดว่าจะทยอยส่งมอบได้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2563 เพื่อให้ส่งมอบหมดในเดือน ม.ค. 2564 ตามแผน แม้ว่าตามกรอบเวลาจะสามารถส่งมอบพื้นที่เวนคืนและบุกรุกได้ถึง ต.ค. 2564”

ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่
การประปานครหลวง (กปน.)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)

รายงานว่า ได้งบกลางปี 2563 ดำเนินการ อยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนการก่อสร้างสาธารณูปโภคทดแทนนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ใช้งบประมาณปี 2564 ดำเนินการ วงเงินรวม 1,002 ล้านบาท โดย กปน. วงเงิน 41 ล้านบาท กปภ. วงเงิน 112 ล้านบาท กฟภ. วงเงิน 523 ล้านบาท กฟน. วงเงิน 29 ล้านบาท และกรุงเทพมหานคร (กทม.) 297 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบการเวนคืนพื้นที่เพิ่มเพื่อขยายเขตทางเพิ่มเติมจากที่มี 25 เมตร หลังจากทางซีพีได้มีการออกแบบก่อสร้าง ซึ่งพบว่าพื้นที่เขตทางรถไฟที่มีบางจุดไม่เพียงพอต่อรัศมีโค้งและการปรับแนว แต่ยังเป็นไปตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) และสำหรับวางเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยการทำงาน และประชาชนในขณะก่อสร้าง รวมทั้งเพื่อเป็นเส้นทางสำหรับใช้ในการบำรุงรักษาในอนาคต และอพยพและรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและใช้เป็นเส้นทางสาธารณะแก่ประชาชนใช้โดยสารทางถนนโดยรอบตลอดเส้นทาง

โดยมีทั้งหมด 5 จุด ได้แก่
1. ช่วงสถานีลาดกระบัง จุดเริ่มต้น ขยายความกว้างเขตทางจาก 25 เมตร เป็น 35 เมตร ยาว 180 เมตร เพื่อรองรับรัศมีโค้งเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ
2. บริเวณแนวโค้ง ตำแหน่ง กม. 63+777 จุดเบี่ยงหลบประตูน้ำกรมชลประทาน ขยายความกว้างจาก 25 เมตรเป็น 32 เมตร ยาว 140 เมตร
3. ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ขยายความกว้างจาก 25 เมตรเป็น 40 เมตร ยาว 1.48 กม. สำหรับวางเครื่องจักรขนาดใหญ่ และชิ้นส่วนสำเร็จรูป
4. ช่วงอุโมงค์เขาชีจรรย์ ขยายจาก 25 เมตรเป็น 50 เมตร ยาว 440 เมตร สำหรับใช้วางเครื่องจักรเจาะอุโมงค์
5. ช่วงทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา ขยายจาก 2 5 เมตรเป็น 40 เมตร ยาว 4.1 กม. รองรับทางโค้ง และถนนเชื่อม และเส้นทางสำหรับเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุง


อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มส่วนใหญ่เป็นที่ดินเกษตรกรรม ซึ่งที่ปรึกษา ร.ฟ.ท.ได้ตรวจสอบข้อเสนอของเอกชนแล้ว ซึ่งหากมีพื้นที่ส่วนใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกครั้ง

สำหรับการส่งมอบพื้นที่มี 3 ช่วง คือ
1. ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ หรือระบบแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ระยะทาง 28 กม. ส่งมอบได้ทันที เมื่อซีพีชำระค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันลงนาม
2. ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. มีระยะภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ปี หลังลงนามสัญญา
3. ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 22 กม. มีระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปีหลังลงนามสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2020 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
'คมนาคม'อนุมัติขยายเขตทาง สร้าง'ไฮสปีด'เชื่อม3สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563


เคาะเวนคืนเพิ่ม 5 จุดขยายเขตทาง “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ขีดเส้น ม.ค. 64 ส่งพื้นที่เปิดไซต์งาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:07
ปรับปรุง: วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:07



อ่วม ! ขยายเขตทางเวนคืนไฮสปีดเพิ่ม 25ม.
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / EEC
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:49 น.

ผู้บุกรุก สั่งรฟท.ตั้งงบดำเนินการต่อเนื่อง ก่อนส่งมอบไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 3/2563 (ครั้งที่5) ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการ

ดำเนินงานของบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และให้บริษัทฯ ติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามแผนงาน ทั้งนี้ให้ รฟท. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสำรวจพื้นที่ และรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ หาแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อเร่งรัดการรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามแผนงาน และนำมารายงานคณะกรรมการทราบ รวมทั้งให้แจ้งผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรื้อย้ายสายสื่อสารที่อยู่ในเขตพื้นที่ก่อสร้างฯ โดยกำหนดกรอบเวลาการรื้อย้ายที่ชัดเจน

"เราได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเวนคืนที่ดินและโยกย้ายผู้บุกรุกให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และหากพบปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงาน ให้รายงานที่ประชุมทราบเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป"

ขณะเดียวกันที่ประชุมรับทราบหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยสำหรับผู้บุกรุกในพื้นที่โครงการฯ โดย มอบให้ รฟท. พิจารณาการขอตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายดังกล่าว และศึกษาแนวทางการดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเห็นชอบหลักการตามข้อเสนอการขอขยายเขตทางในพื้นที่เวนคืนเพิ่มเติมจาก 25 เมตร ตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) ตามที่บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ เสนอ

ทั้งนี้รฟท. และบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ ได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการขยายเขตทางตามความเป็นจำเป็น 5 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยการทำงานและการก่อสร้าง และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนขณะก่อสร้างและเมื่อเปิดเดินรถให้บริการ รวมทั้งเพื่อเป็นเส้นทางสำหรับการอพยพและรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและใช้เป็นเส้นทางสาธารณะแก่ประชาชนใช้โดยสารทางถนนโดยรอบตลอดเส้นทางโครงการฯ อย่างไรก็ตาม หากมีพื้นที่ส่วนใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 13/04/2020 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

เจรจาไฮสปีด “ไทย-จีน” สะดุดยาว จ่อขยายเวลาสัญญา 2.3- ร.ฟ.ท.เร่งเซ็นจ้าง “นิรุฒ” 16 เม.ย.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 เวลา 07:55
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 เวลา 08:57


ร.ฟ.ท.ชงบอร์ดขยายกรอบเวลาสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน ออกไปถึง ต.ค. 63 หลังโควิด-19 ระบาด เจรจาเงื่อนไขเงินกู้สะดุด ขณะที่คาดว่า 16 เม.ย.บอร์ด ร.ฟ.ท.เตรียมเซ็นสัญญาจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เริ่มงานปลาย เม.ย.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่าการเจรจาและตกลงในการดำเนินงานในสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงยังไม่สามารถกำหนดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญา 2.3 ได้ เนื่องจากติดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 อาจจะยังไม่ยุติเร็วๆ นี้ ดังนั้น ร.ฟ.ท.จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน ในวันที่ 16 เม.ย.นี้ ขอขยายกรอบเวลาในการดำเนินงานในสัญญา 2.3 ที่จะครบกำหนดต้นเดือน พ.ค.นี้ออกไปถึงเดือน ต.ค. 2563 ทั้งนี้ กรอบเวลาในสัญญา 2.3 เป็นการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560

“ที่ผ่านมาฝ่ายไทยได้ประสานงานกับฝ่ายจีนผ่านอีเมล แต่ฝ่ายจีนยังไม่มีคำตอบใดๆ เข้าใจว่าเพราะติดเรื่องไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักๆ ในสัญญา 2.3 ได้ข้อตกลงกันไว้แล้ว เหลือรายละเอียดเรื่องสกุลเงินและอัตราที่จะใช้”

สำหรับการก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน ซึ่งมีจำนวน 14 สัญญานั้น ร.ฟ.ท.ได้ทยอยเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธาด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ไปแล้ว 13 สัญญา ยังเหลืองานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งต้องรอความชัดเจนการหารือแผนการก่อสร้างของกลุ่มซี.พี.ก่อน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการก่อสร้างไปได้เพียง 2 สัญญาเท่านั้น ส่วนสัญญาที่ประมูลเสร็จแล้วแต่ยังไม่สามารถลงนามกับผู้รับจ้างได้ เนื่องจากรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติมยังไม่ผ่านการอนุมัติ

จ่อเซ็นสัญญาจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” 16 เม.ย.นี้



รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.แจ้งว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายนิรุฒ มณีพันธ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนใหม่แล้วนั้น คาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจ้างในวันที่ 16 เม.ย.นี้ ตรงกับที่มีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พอดี โดยบอร์ด ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้ลงนามสัญญจ้าง และคาดว่านายนิรุฒจะกำหนดเริ่มทำงานในวันที่ 24 เม.ย. โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีเต็ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2020 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

อนุมัติเนาวรัตน์สร้างอุโมงค์รถไฟไทย-จีน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 เมษายน 2563 - 13:34 น.

“บอร์ดรถไฟ” อนุมัติเนาวรัตน์พัฒนาการ สร้างอุโมงค์รถไฟไทย-จีนช่วง “มวกเหล็ก-ลำตะคอง” วงเงินกว่า 4.2 พันล้าน ยังไม่เคาะรูปแบบบริหารสถานีกลางบางซื่อ หวั่นไม่ทันเปิดใช้ ม.ค.ปีหน้า ร.ฟ.ท.จ่อดูแลเองงานรักษาความสะอาดและความปลอดภัย ด้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งศึกษาข้อดี ข้อเสีย เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงระหว่างให้บริษัทลูก เปิด PPP ให้เอกชนบริหารจัดการ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบผลการประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-2 งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดภูเขาช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ชนะการประกวดราคาด้วยการเสนอราคาต่ำสุดที่วงเงิน 4,279 ล้านบาท

หลังจากบอร์ดเห็นชอบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดวันลงนามในสัญญาต่อไป ทั้งนี้ การลงนามจะทำได้ก็ต่อเมื่อรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการผ่านความเห็นชอบก่อน ขณะนี้ EIA ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.)

ส่วนข้อสรุปของการบริหารสถานีกลางบางซื่อ บอร์ดได้ให้พิจารณาใหม่ถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารสถานี โดยฝ่ายบริหารทรัพย์สินได้เสนอรูปแบบการบริหารมาประมาณ 4-5 รูปแบบ ซึ่งได้ให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินทำข้อมูลเพิ่มเติมในแต่ละรูปแบบมารายงานอีกครั้ง หลังจากได้ข้อมูลแล้วจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการร่างขอบเขตการดำเนินงาน (TOR)

“กรรมการร่าง TOR จะต้องเป็นผู้กำหนดว่าจะใช้รูปแบบไหน หากยังไม่สามารถสรุปรูปแบบการบริหารสถานีได้ทันปลายปีนี้ จะกระทบต่อกำหนดเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อในเดือน ม.ค.ปีหน้า การรถไฟฯอาจจะนำส่วนงานการรักษาความสะอาดและการรักษาความปลอดภัยมาดูแลไปพลางก่อนได้ ส่วนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เชื่อว่ายังสามารถรอได้”

สำหรับการเดินรถของสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดเดินรถเดือน ม.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมหาแนวทางดำเนินการ โดยให้ ร.ฟ.ท.กลับไปทำการบ้านเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างรูปแบบการตั้งบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.เองขึ้นมาบริหาร กับการเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในลักษณะ PPP แบบไหนจะดีกว่ากัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2020 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

ม.ค.ปีหน้าปิดจ็อบเวนคืน-รื้อย้ายสร้างไฮสปีด ซี.พี.
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 เมษายน 2563 - 10:38 น.

รัฐเร่งเคลียร์ “เวนคืน-บุกรุก” ไฮสปีด 3 สนามบิน ปรับแผนให้ปิดจ็อบจบ ม.ค. 64 “ซี.พี.” ขอขยายเขตทางเพิ่ม 5 จุด เปิดพื้นที่ติดตั้งไซต์ ปรับรัศมีโค้ง “สุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-อู่ตะเภา” หน่วยงานสาธารณูปโภคของบฯเพิ่ม จากเดิม 4.1 พันล้าน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้ประชุมทางไกลติดตามความคืบหน้าการเวนคืนที่ดินและการจัดการกับผู้บุกรุกของโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ได้ข้อสรุปไทม์ไลน์การเวนคืนแล้ว

โดยช่วงเดือน เม.ย.จะเป็นขั้นตอนของการสำรวจและปักหลักเขตเวนคืน และจัดประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ถูกเวนคืนรับทราบ จากนั้นเดือน พ.ค.จะสำรวจรายละเอียดที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต้นไม้ และอื่น ๆ และเดือน ก.ย.จะสรุปรายละเอียดค่าทดแทนทั้งหมด จากนั้นตั้งแต่เดือน ต.ค.- ธ.ค.นี้จะเริ่มทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ถูกเวนคืน และทยอยจ่ายค่าเวนคืน โดยตั้งเป้าภายในเดือน ม.ค. 2564 จะเคลียร์ที่ดินครบทั้งหมดและดำเนินการส่งมอบที่ดินสำหรับก่อสร้างโครงการต่อไป


“จะมีพื้นที่เวนคืนทั้งหมด 931 แปลงส่วนผู้บุกรุกขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,352 หลัง แบ่งเป็นผู้บุกรุกที่กีดขวางแนวเส้นทางของโครงการ 498 หลัง ซึ่งใน 498 หลังจะแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกพร้อมรับค่าเยียวยา แต่ขอเวลารื้อย้าย จำนวน 156 หลัง และกลุ่มที่พร้อมรับค่าเยียวยาและออกจากพื้นที่เลย 342 หลัง ซึ่งได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดกระบวนการเจรจาในรายละเอียดและเร่งรื้อย้ายออกให้เร็วที่สุด จะให้เคลียร์พื้นที่ให้จบพร้อมกับการเวนคืนที่เดือน ม.ค. 2564 ซึ่งคณะทำงานพยายามเร่งให้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมที่วางไว้ในช่วงเดือน ต.ค. 2564”

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า ขณะที่การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 หน่วย ได้แก่ การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้รับจัดสรรงบประมาณเปิดพื้นที่จากอีอีซีแล้ว 490 ล้านบาท และได้ประสานงานกับสำนักงบประมาณเพื่อขอจัดซื้อจัดจ้างแล้ว อยู่ระหว่างรออนุมัติวงเงินงบประมาณ เป็นการใช้งบกลางปี 2563

นอกจากนี้ยังมีงบก่อสร้างทดแทนใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ซึ่งรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วย จะของบประมาณเพิ่มเติมอีก 1,000 ล้านบาท จากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซีอนุมัติกรอบไปแล้ว 4,103 ล้านบาท

โดยมีหน่วยงานที่เสนอขอ ประกอบด้วย กปน.ขอเพิ่มมา 41 ล้านบาท, กปภ.ขอเพิ่มมา 112 ล้านบาท กฟภ.ขอเพิ่มมา 523 ล้านบาท กปน.ขอเพิ่มมา 29 ล้านบาท และ กทม.ขอเพิ่มมา 297 ล้านบาท เพื่อขยับท่อไซฟ่อนและท่อรวบรวมน้ำเสียบริเวณคลองสามเสน ซึ่งจากการพิจารณาเนื้องานต่าง ๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติมแต่อย่างใด

ขณะเดียวกันทางบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ได้ขอขยายแนวเขตทางเพิ่มเติมจาก 25 เมตร จำนวน 5 จุด ประกอบด้วย 1.ช่วงสถานีลาดกระบังขอต่อขยายจาก 25 เมตรเป็น 35 เมตร ยาว 180 เมตร ขยายวงโค้งออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ

2. ช่วงกม.63+777 จ.ฉะเชิงเทรา ขอขยายเป็น 32 เมตร ยาว 140 เมตร หลบประตูน้ำกรมชลประทาน 3.ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ขอขยายเป็น 40 เมตร ยาว 1.48 กม. ใช้พื้นที่ในการวางเครื่องจักรกลขนาดใหญ่และชิ้นส่วนสำเร็จรูป

4.อุโมงค์เขาชีจรรย์ ขอขยายความกว้างเป็น 50 เมตร ยาว 440 เมตร ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการเจาะภูเขา เพื่อก่อสร้างอุโมงค์ และ 5.ทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา ขอขยายเป็น 40 เมตร ยาว 4.1 กม. ขยายวงโค้งเข้าสนามบินอู่ตะเภา สร้างถนนทางเชื่อม และโลคอลโรด

“ต้องมีเวนคืนเพิ่ม ให้ซี.พี.และที่ปรึกษาของ ร.ฟ.ท.สรุปข้อมูล ทั้งแนวที่ต้องเวนคืนเพิ่มและกรอบวงเงินเวนคืนมาให้ชัดเจน รวมถึงการเวนคืนเพิ่มเติมนี้จะต้องทำ EIA ใหม่หรือไม่”

ทั้งนี้ หากต้องทำ EIA เพิ่มเติมก็ให้ส่งประเด็นให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาและเชิญให้มาร่วมประชุม เพื่อให้ความเห็นและคำแนะนำด้วย ซึ่งการเวนคืนเพิ่มตรงนี้ จะไม่รวมกับ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปก่อนหน้านี้ อาจจะต้องขออนุมัติเพิ่มเติม โดยจะต้องเวนคืนเท่าที่จำเป็นและต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุสัมปทาน 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2020 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

“เจ้าสัวซีพี” เชื่อไฮสปีด 4 ปีเสร็จ แนะรัฐบาลไทยตั้งเป้าศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 เมษายน 2563 - 15:47 น.

วันที่ 16 เมษายน 2563 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) แถลงข่าวผ่าน วิดีโอ คอนเฟอร์เรนท์ ภายหลังเปิดเดินเครื่องโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยวันแรก ตอนหนึ่งของการแถลงข่าว นายธนินท์ กล่าวถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และโครงการลงทุนของเครือซีพีว่า

“ผมยังมองในแง่ดี รถไฟความเร็วสูงอีก 4 ปี กว่าจะสร้างเสร็จ พอดีเลย ตอนนั้นเศรษฐกิจทั่วโลกจะบูม เพราะทุกครั้งหลังวิกฤต เศรษฐกิจจะบูมอย่างก้าวกระโดด และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างคาดไม่ถึง”

“ผมไม่เชื่อว่า…ถ้าจะดีเลย์ก็รัฐบาล ผมคิดว่าโครงสร้างพื้นฐานเป็นส่วนที่เราเตรียมให้พร้อมหลังวิกฤต เราไม่หยุดก่อสร้าง เพราะเราเตรียมพร้อมอยู่แล้ว รัฐบาลควรสนับสนุนให้ทั่วโลกมั่นใจว่าโครงสร้างพื้นฐานเราไม่หยุด เดินหน้าเต็มที่ ชักชวนให้เดินทางมาเมืองไทย”

“ถามนักธุรกิจทั่วโลกว่าทำไมถึงยังจะมาเมืองไทย เพราะพื้นฐาน คนนิสัยดี เป็นศูนย์กลางค้าของโลก ทำไมรู้ไหม เราเป็นศูนย์ระดับโลก เพราะบริเวณนี้ มีประชากรสามพันกว่าล้านคน ครึ่งโลกแล้ว แล้วมีการเจริญเติบโต ในภูมิภาคนี้มี จีน ญี่ปุ่น กำลังเติบโต ญี่ปุ่นรวยที่สุด ตามมาด้วยจีน ซึ่งกำลังเติบโต มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน รองมาคืออินเดีย 1,200 ล้านคน”

“อินเดียรวยเท่าอเมริกาญี่ปุ่นได้แน่นอน ถ้าประชากร 30 % ของอินเดียรวย จำนวนคนก็เท่าอเมริกาแล้ว ส่วนจีนแค่ 30 % ก็เท่ากับ 400 ล้านคน ใหญ่เท่ายุโรปแล้ว วันหนึ่งต้องรวยแน่ ถ้าบอกว่า 30 % รวย ก็ใหญ่เท่ายุโรป ใหญ่กว่าอเมริกาอีก รวมทั้งรัสเซียก็อยู่ในนี้ส่วนหนึ่ง รวมแล้วก็กว่า 3,000 ล้านคน”

“ที่น่าสนใจมาก คือวัฒนธรรมประเทศไทย ใคร ๆ ก็ติดใจคนไทย วัฒนธรรมของเรา ใครมาเที่ยวเมืองไทยก็ชอบมาเที่ยวอีก มาอยู่ 1-2 ปี ไม่กลับประเทศ เราต้องรักษาวัฒนธรรมนี้ไว้ รัฐบาลไม่ต้องตั้งเป้าศูนย์กลางเศรษฐกิจเอเชีย เราต้องตั้งเป้าศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก จีนกำลังรวยขึ้นอีก อินเดียก็เก่ง เพียงแต่เขามีวัฒนธรรมหลายอย่าง ทำให้ของเมืองไทยเยี่ยมสุด ผมสั่งกับทั่วโลกว่า เรามีวัฒนธรรมยอดเยี่ยม อย่าทิ้ง เราต้องรักษาไว้ รับรองว่าเราเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก แต่รัฐบาลต้องเข้าใจ ต้องมีเป้าหมาย”


การแก้ปัญหาของรัฐบาลในมุมมองของเจ้าสัวธนินท์
เจ้าสัวธนินท์ กล่าวว่า การกู้เงินประมาณ 10% ของจีดีพี ถือว่าเล็กน้อยมาก เพราะสุดท้ายแล้วรัฐบาลจะได้เงินจากภาษีคืนมาทั้งหมดแน่นอน ขอเพียงทำให้คนไทยเข้มแข็งก่อน เมื่อรัฐบาลรักษาทุกอย่างไว้ได้เหมือนเดิม สังคมก็จะเป็นปกติ มีการจ้างงานและการจับจ่ายใช้สอย พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ประเทศไทยจะวิ่งไปข้างหน้าได้ทันที ตรงกันข้าม หากปล่อยให้ทุกอย่างพังลงไป สังคมจะเดือดร้อน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คนยากจนจะลุกฮือขึ้นมา

“การที่ผมพูดแบบนี้ ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัว แต่ผมเห็นแก่ประเทศ เพราะถ้าประเทศอยู่ไม่ได้ ผมจะอยู่ได้อย่างไร ใครบอกผมไม่รักเมืองไทย ผมรักเมืองไทยที่สุด เพราะผลประโยชน์ผมอยู่ที่เมืองไทย ถ้าเมืองไทยเสียหาย ผมเสียหายที่สุด ผมไม่ได้คิดว่าเป็นประโยชน์ส่วนตัว เพราะถ้าเมืองไทยเจริญรุ่งเรือง ประชาชนมีกำลังซื้อ สินค้าผมก็ขายได้”

ส่วนกรณีการจ่ายเงินเยียวยาของรัฐบาล ซึ่งหลายคนมองว่ามีขั้นตอนยุ่งยาก เจ้าสัวธนินท์ ซึ่งออกตัวตลอดการแถลงข่าวว่า “มองโลกแง่ดี” กล่าวว่า รัฐบาลควรมองว่าคนไทยทุกคนเป็นคนดี หากมีหลักฐานก็ควรจ่ายเงินเลยทันที ไม่ต้องมีขั้นตอนเยอะ เหมือนที่อังกฤษและอเมริกา แต่หากพบว่ามีคนโกงก็ค่อยตามไปจัดการทีหลัง

“เพราะฉะนั้นรัฐบาลวันนี้ หนี้เท่าไหร่ต้องเกิด แม้หนี้ระยะยาว 10-30 ปี ก็ก่อไปสิ ประเทศไม่ล้มละลาย ประเทศจะได้เงินอีกด้วย ถ้าเราเอาเงินเหล่านี้ทุ่มไป คนเลี้ยงครอบครัวได้ สังคมไม่ได้เดือดร้อน ทุกอย่างอยู่รอด ภัตตาคาร แท็กซี่ แม่ค้าหาบเร่ โรงแรม แม้ว่าวันนี้ไม่มีคนท่องเที่ยวก็มีเงื่อนไขว่ายังจ่ายเงินเดือน แต่อย่าอยู่เฉยๆ ต้องฝึกอบรม เตรียมพร้อมหลังวิกฤต ว่าจะทำให้ดีกว่าเดิมอย่างไร”

ดูแลบุคลากรซีพี
เรื่องแรกเพราะเรามีประสบการณ์ในเมืองจีน ซึ่งพนักงานเราไม่มีใครตายสักคน จาก 90,000 คน เพราะเราดูแลพนักงานของเรา นี่คือความสำเร็จของซีพี เราจะสำเร็จเราต้องมีคน ทำไรทุกอย่างต้องคน ใครบอกหุ่นยนต์เก่งกว่าคนไม่จริง ยังไงคนก็สร้างหุ่นยนต์ รุ่นนี้สะสมหลายรุ่นที่เก่งขึ้น สุดท้ายพอมีรุ่นใหม่ก็เรียนรู้ต่อยอดอีก เราสร้างหุ้นยนต์มันจะไปเก่งกว่าเราได้ไง เพียงแต่เรามีการเสียชีวิต แต่หุ่นยนต์ไม่ตาย ซอฟแวร์อยู่ในหุ่นยนต์ คนใหม่ก็ต่อยอดสิ เพิ่มเติมให้ดีกว่าเดิม

“สุดท้ายก็ต้องใช้คน หุ่นยนต์ คือเครื่องมือเท่านั้น แต่อัจฉริยะเหมือนคนไม่ได้ ผมไม่เชื่อว่าวันนี้มีหุนยนต์ที่มีน้ำใจ จิตใจ ที่เก่งกว่ามนุษย์ไม่มี ทำไม่เหนื่อย แม่นยำ ไม่ลดคุณภาพ ซื่อสัตย์ สั่งให้ทำมันก็ทำ แล้วไม่ฟ้องเราด้วยนะ ถ้าเราใช้คนเกินเวลา ผิดกฎหมาย ใช้อายุต่ำกว่า 18 แต่หุ่นยนต์ไม่มีใครห้ามใช้ 24 ชั่วโมง ไม่มีสหภาพ ซื่อสัตย์ แข็งแรง”

สำคัญ ทุกอย่างมีวิกฤตก็มีโอกาส แน่นอนเลย มันคู่กัน มีวิกฤตก็จะตามมาด้วยโอกาส แล้วใครเจอวิกฤตแล้วอยู่รอด โอกาสจะมา โอ้โห้ มันไม่รู้เบิ้ลกี่เท่า งั้นเราต้องทำยังไงให้อยู่รอดตอนวิกฤต แล้วในเวลานั้นไม่ใช่มัวแต่ตอนวิกฤต เราต้องคิดหลังวิกฤต ช่วงนี้คนเราว่างงาน เราต้องฝึกฝนคนของเรา เตรียมพร้อมช่วงหลังวิกฤต ที่คนอื่นอ่อนแอ แต่เราเข้มแข็ง หลังวิกฤตเราวิ่งเลย เราพร้อมกว่าคนอื่น

“หลักสำคัญสุดคือ ตอนไม่มีวิกฤต ต้องเตรียมทำเรื่องวิกฤตจะมาแล้วเราทำยังไง ตอนวิกฤตมา เราต้องทำเรื่องหลังวิกฤต ไม่ใช่รอเจอวิกฤตแล้วมาเตรียม มันก็สายเกินไป”

นโยบายไม่เลิกจ้าง
ใช่…ทำไมรู้ไหม คนเก่งเนี่ยหายาก มนุษย์วันนี้ยังสร้างหุ่นยนต์เก่งเท่าคนไม่ได้ นี่คือความสำเร็จของซีพี คือคน พูดเป็นหมื่นครั้งก็คน เรามเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็คือมนุษย์สร้าง สร้างเสร็จมนุษย์ก็เอาไปใช้ อย่าเข้าใจผิด มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ไม่มีวิญญาณ ก็ให้มนุษย์ใช้ สวมวิญญาณมนุษย์เข้าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่ศูนย์ผู้นำซีพีเน้นมากคือคน ไม่มีอะไรที่ไม่มีคนทำ จากคนทั้งนั้นเลยครับ”

ไม่มีเลิกจ้าง เรายังประกาศจ้างคนอีก 20,000 คน ไม่ใช่ลดคนนะ เราเพิ่มอีกสองหมื่นนะ บริษัทต้องดูแล นี่คือทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าคือคน ต้องรักษาตรงนี้ไว้ ถ้าไม่มีคนบริษัทจะใหญ่โตได้อย่างไร

แนะผู้ประกอบการรายอื่นๆ
ทำไมซีพีไม่ต้องเลิกจ้างคน เพราะธุรกิจของซีพีเตรียมพร้อมอยู่ ถ้าวิกฤต บริษัทจะอยู่รอดไหม ธุรกิจจะใช้ได้ไหม แต่บางธุรกิจ ไม่ใช่เค้าไม่เก่ง อย่างท่องเที่ยว จะไปบอกว่าไม่ลดคน ไม่ให้คนตกงาน ก็คนไม่มาเที่ยว แล้วเงินเขาก็มีจำกัด จ่ายไปก็ไม่ไหว ใน อังกฤษบอกกับเจ้าของโรงแรม จะจ่ายเงินให้พนักงาน 80 % ห้ามเลิกจ้าง แล้วหลังวิกฤต โอกาสมาแล้ว ค่อยไปจ่ายเงิน ถ้าทำแบบนี้ ธนาคารก็ไม่มีหนี้เสีย ประชาชนก็มีเงินจับจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เพิ่ม คนก็ไม่ตกงาน ขนส่ง ค้าขาย แม่ค้าหาบเร่ ก็ยังมีคนซื้อ

อุ้มนักธุรกิจ ช่วยเศรษฐกิจไม่ให้ล้ม
ขณะที่การช่วยเหลือภาคธุรกิจ รัฐบาลควรรีบให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่มีปัญหา เพื่อไม่ให้บริษัทเหล่านี้ล้มหายตายจาก เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะบริษัทต่างๆ ทำได้ไม่ดีพอ

เจ้าสัวธนินท์ มองว่า การช่วยภาคธุรกิจ รัฐบาลไม่ควรคิดว่าเป็นการเอื้อให้นักธุรกิจ แต่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจและประเทศชาติ นักธุรกิจอยู่ได้ ประเทศไทยก็อยู่ได้

เมื่อถูกถามว่า วิกฤตโควิดถือว่าร้ายแรงที่สุดหรือไม่ เจ้าสัวธนินท์ตอบว่า ไม่ หากเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะครั้งนั้นประเทศไทยมีปัญหาด้วยตัวเอง รัฐบาลและเอกชนเป็นหนี้ต้องเสียเงินมหาศาล ประเทศเข้าขั้นล้มละลาย ต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ มีสถานะไม่ต่างจากขี้ข้า ซึ่งต้องทำตามคำสั่งของไอเอ็มเอฟ

“ธุรกิจท่องเที่ยว” ฟื้นตัวเร็วสุด
เจ้าสัวธนินท์ ยังพูดถึงธุรกิจที่น่าจะมาแรงหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 โดยระบุว่า “ธุรกิจท่องเที่ยว” จะได้เงินทันตาและเร็วมาก เนื่องจากในโลกยังมีคนรวยอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเร็วที่สุด แต่ระหว่างนี้รัฐบาลควรให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักมีทุนในการปรับปรุงสถานที่ และสร้างความเชื่อมั่นว่าที่พักของตนปลอดเชื้อ ให้นักท่องเที่ยวรู้สึกปลอดภัย

นอกจากนี้ เจ้าสัวยังมองว่า รัฐบาลควรเริ่มผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวด เพราะตอนนี้ประเทศไทยได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว เนื่องจากคนที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ พร้อมยกตัวอย่างที่เมืองอู่ฮั่นของจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาด ที่ตอนนี้เริ่มเปิดเมืองแล้ว

“อู่ฮั่นหนักขนาดนั้นจีนยังกล้าปล่อย เราลองทดลองดู อย่าปล่อยหมด แต่ผมเชื่อมั่นว่าคนไทยมีภูมิต้านทานธรรมชาติดีกว่า ผมเคยคิดว่าตอนที่รัฐบาลสั่งปิดกรุงเทพฯ คนจะแห่กลับต่างจังหวัด แล้วเชื้อจะกระจายไปทั่วประเทศ อาจเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลายร้อย แต่ถือว่าเราผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว เพราะคนกรุงเทพฯ ไม่เป็น เชื้อมาจากคนที่มาจากเกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย ผมว่าไม่มีปัญหา ลองทดลองดูสิ อย่างชลบุรีเปิดแล้ว ถ้าไม่เป็นอะไร จังหวัดอื่น ๆ ก็ทยอยเปิด แต่ดีสุดเรียนรู้จากที่จีน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2020 8:40 am    Post subject: Reply with quote

ต่อเวลาเจรจาซื้อระบบไฮสปีด”ไทย-จีน” ถึงต.ค. 63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 16 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 19:41


บอร์ดรฟท.เคาะขยายเวลาเจรจาซื้อระบบไฮสปีดสัญญา2.3 ”ไทย-จีน” ถึง31ต.ค. 63 เหตุ”โควิด-19”ระบาด พร้อมอนุมัติผลประมูลโยธาอีก2สัญญา และให้เร่งหารือ สผ.เคลียร์ EIA ขอทยอยเซ็นจ้างรับเหมา

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท. วันที่ 16 เม.ย. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทำสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดอบรมบุคลากร (สัญญา2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในวันที่30 พ.ค.63 โดยขยายออกไปอีก 155 วัน หรือจนถึง วันที่ 31 ต.ค. 2563 ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19 ทำให้ไม่สามารถประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ได้ โดยให้รฟท.เสนอต่อกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรี ต่อไป

นอกจากนี้ บอร์ดยังอนุมัติ ผลการประมูล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เพื่อจ้างก่อสร้าง งานโยธา รถไฟไทย-จีน จำนวน2 สัญญา
ได้แก่ สัญญาที่ 3-3 งานโยธา สำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. (ราคากลาง 12,043 ล้านบาท ) ซึ่ง บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เสนอราคาต่ำสุด ที่ 9,838 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. (ราคากลาง 11,801 ล้านบาท) ซึ่ง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) หรือ ITD เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท

ส่วน สัญญาที่3-5 งานโยธา สำหรับช่วงโคกกรวด- นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. (ราคากลาง 9,257 ล้านบาท ) ซึ่งกิจการร่วมค้าบริษัท SPTK จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 7,750 ล้านบาท นั้น ยังไม่อนุมัติ โดยให้ไปสอบถามกรมบัญชีกลาง ในประเด็นกิจการร่วมค้าจดทะเบียนใหม่ เพื่อความชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะเสนอบอร์ดได้ในการประชุมครั้งหน้า พร้อมกันนี้ ให้เร่งรัดในเรื่อง EIA เพื่อเร่งลงนามสัญญากับผู้รับจ้างต่อไป

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการฯรฟท. กล่าวว่า ภายในเดือนเม.ย.นี้ จะส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)เพิ่มเติม ช่วงบ้านภาชี-โคราช ต่อสผ. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป นอกจากนี้ รฟท.ยังได้ทำหนังสือหารือ สผ. เพื่อขอให้รฟท.สามารถลงนาม สัญญากับผู้รับจ้างในช่วงที่ไม่มีปัญหา EIA เป็นช่วงๆได้ก่อนหรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจาก งานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งเป็น 14 สัญญานั้น ขณะนี้ กำลังก่อสร้างเพียง2 สัญญา อีก 7 สัญญา ประมูลและบอร์ดอนุมัติแล้ว แต่ยังลงนามไม่ได้ เพราะต้องรออนุมัติ EIA. ขณะที่มีบางสัญญา ครบกำหนดการยืนราคา ซึ่งได้เจรจากับผู้รับจ้างขยายออกไปถึงเดือนส.ค.-ก.ย.”

“EIA ไม่ได้ติดทั้งเส้นทาง ติดเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้น รฟท.จึงหารือสผ.ไปว่า หากสัญญาช่วงที่ไม่ติดเรื่อง EIA จะขอเซ็นกับผู้รับจ้างก่อนได้หรือไม่ เพื่อทยอยก่อสร้าง”

บอร์ด รฟท.ขยายเวลาทำร่างสัญญา 2.3 รถไฟไทย - จีน 155 วัน
16 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 21:11

ที่ประชุมคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติขยายระยะเวลาในการจัดทำร่างสัญญาฯ 2.3 โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ออกไป 155 วัน จากผลกระทบการระบาดไวรัส COVID-19

วันนี้ (16 เม.ย.2563) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า ที่ประชุมบอร์ดที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ได้อนุมัติการขยายระยะเวลา การจัดทำร่างสัญญาจ้าง และเงื่อนไขทำสัญญาจ้างงานระบบราง ,ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล การจัดหาขบวนรถไฟและอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย- จีน ออกไปอีก 155 วัน นับจากวันที่ 30 พ.ค.2563 จากผลกระทบการระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้การดำเนินงานระหว่าง 2 ประเทศ ต้องชะลอไป


โดยบอร์ด รฟท. จะต้องการรายงานการขยายระยะเวลาให้ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนฯ ที่มี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานรับทราบ เพื่อรายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป


นอกจากนี้ บอร์ด รฟท. ยังอนุมัติการขยายระยะเวลาสร้างสัญญาที่3 ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รถตู้รถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และตลิ่งชัน-บางซื่อ ปัญหาอุปสรรคที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง

นายวรวุฒิ ระบุว่า ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคในโครงการทั้งในส่วนของท่อก๊าซ ระบบประปา และการบุกรุกพื้นที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การดำเนินการก่อสร้างในสัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อ) ล่าช้า จนกระทบไปถึงสัญญาที่ 3

นายวรวุฒิ ระบุอีกว่า อุปสรรคความล่าช้าดังกล่าว จะทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้บริการทั้งโครงการไม่ทันต้นปี 2564 แต่อย่างไรก็ตามยังมั่นใจว่า โครงการจะยังเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564 แน่นอน


‘บอร์ด รฟท.’ ขยายเวลาสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน 155 วัน หลังโดน ‘โควิด-19’ พ่นพิษ! ด้าน ‘สายสีแดง’ หลุดแผน ส่อแววเลื่อนเปิดให้บริการ
เผยแพร่: 16 เมษายน พ.ศ. 2563

“บอร์ด รฟท.” เคาะขยายเวลาสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน 155 วัน หลังโดน “โควิด-19” พ่นพิษ! จ่อรายงาน “ศักดิ์สยาม” รับทราบ ก่อนส่งต่อ ครม. ต่อไป ด้าน “รถไฟสายสีแดง” หลุดแผน ส่อแววเลื่อนเปิดให้บริการ
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. วันนี้ (16 เม.ย. 2563) โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการจัดทำร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขทำสัญญาจ้างงานระบบราง,ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล การจัดหาขบวนรถไฟและอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ออกไปอีก 155 วัน หรือสิ้นสุดในวันที่ 31 ต.ค. 2563 (นับจากวันที่ 30 พ.ค. 2563) เนื่องจากได้รับผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้การดำเนินงานระหว่าง 2 ประเทศต้องชะลอไป อย่างไรก็ตาม บอร์ด รฟท. จะต้องการรายงานการขยายระยะเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนฯ ที่มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานรับทราบ เพื่อรายงานเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด รฟท. ยังได้อนุมัติการขยายระยะเวลาสร้างสัญญาที่ 3 ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รถตู้รถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ซึ่งปัญหาอุปสรรคดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง โดยเกิดขึ้นมาจากปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคในโครงการฯ ทั้งในส่วนของท่อก๊าซ ระบบประปา และการบุกรุกพื้นที่ จึงส่งผลกระทบทำให้การดำเนินการก่อสร้างในสัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อ) มีความล่าช้า จนกระทบไปถึงสัญญาที่ 3 อย่างก็ตาม ยอมรับว่า อุปสรรคความล่าช้าดังกล่าวนั้น ทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ไม่สามารถเปิดให้บริการทั้งโครงการตามแผน หรือในช่วงต้นปี 2564 แต่ยังมั่นใจว่า จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564 อย่างแน่นอน


Last edited by Wisarut on 17/04/2020 9:16 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2020 9:04 am    Post subject: Reply with quote

ตำแหน่งสถานี
1. สถานีกลางบางซื่อ กม. 0 + 000
2. สถานีดอนเมือง กม. 13 + 765
3. สถานีอยุธยา กม. 63 + 450
4. สถานีสระบุรี กม. 110 + 030
5. สถานีปากช่อง กม. 173 + 400
6. สถานีนครราชสีมา กม. 251 + 260

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2979315762115349&set=a.2871014466278813&type=3&theater

ยังจบไม่ได้!!สัญญา2.3”ไฮสปีดโคราช”5หมื่นล้าน
*โควิด-19พ่นพิษต้องขยายไปอีก155วัน
*บอร์ดไฟเขียวงานโยธาไทย-จีน2สัญญา
https://www.facebook.com/TransportDailynews/photos/a.2043948872493287/2575775425977293/?type=3&theater

บอร์ด รฟท.' อนุมัติ !!! ผลการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงสาย 'กรุงเทพฯ - นครราชสีมา' จำนวน 2 สัญญา
1.ช่วง 'บันไดม้า - ลำตะคอง' มูลค่า 9,383 ล้านบาท
2.ช่วง 'บ้านโพ - พระแก้ว' มูลค่า 9,913 ล้านบาท
https://www.thebangkokinsight.com/336044/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2020 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟเคาะชื่อ “ITD-กรุงธนฯ” สร้างรถไฟไทย-จีน1.9หมื่นล้าน เจรจาสผ.ปลดล็อกEIAลุยเซ็นสัญญา
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 เมษายน 2563 - 14:53 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟท. วันที่ 16 เม.ย. 2563 อนุมัติผลประมูลรถไฟไทย – จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา รวมมูลค่า 19,751 ล้านบาท ได้แก่ สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง มี บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 9,838 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ที่มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท ส่วนสัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา มี บจ.นภาก่อสร้าง เสนอราคาต่ำสุด 7,750 ล้านบาท บอร์ดยังไม่เห็นชอบ รอกรมบัญชีกลางตรวจสอบคุณสมบัติ คาดว่าจะเสนอให้บอร์ดเห็นชอบได้ในครั้งต่อไป


ขณะนี้ภาพรวมรถไฟไทย-จีน ทั้ง 14 สัญญา ก่อสร้างไปแล้ว 2 สัญญา คือ ช่วงกลางดง – ปางอโศก และ ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก กำลังเปิดประมูล 1 สัญญาคือ สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบ 1 สัญญา คือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง อยู่ระหว่างรออนุมัติผลการประมูล 3 สัญญาคือ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และปางอโศก – บันไดม้า สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง – สีคิ้ว และกุดจิก – โคกกรวด และสัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา และรอเซ็นสัญญาอีก 7 สัญญา

“ในปีนี้จะได้ผู้รับเหมาครบทั้งหมด แต่การเซ็นสัญญาต้องรอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ผ่านการอนุมัติก่อน อยู่ระหว่างทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้บอร์ดสิ่งแวดล้อมพิจารณา แต่เพื่อให้งานเดินหน้าได้เร็วจะหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ.ขอเซ็นสัญญากับรับเหมาที่ไม่ติด EIA ไปก่อนเพื่อเริ่มงานก่อสร้าง”

นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบขยายเวลาสัญญาที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร มูลค่าสัญญา 50,633.50 ล้านบาทของรถไฟไทย-จีน ออกไปอีก 155 วัน นับจากวันที่จะหมดอายุสัญญาวันที่ 31 พ.ค.นี้ เนื่องจากเหตุสุดวิสัยจากการแพร่ระบาดโควิด-19 หลังจากนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (คบร.) มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน รับทราบ ก่อนจะเสนอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2020 7:39 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟไทยจีนช่วง 3.5 กิโลเมตรแรก
https://www.youtube.com/watch?v=y14g8g2M0aA
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 368, 369, 370 ... 542, 543, 544  Next
Page 369 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©