RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180052
ทั้งหมด:13491284
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 79, 80, 81 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2020 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่เชื่อมือรถไฟ! “ศักดิ์สยาม” ดึงเอกชนเสียบเดินรถสายสีแดงเลื่อนเปิดปี’65
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 เมษายน 2563 - 16:28 น.

“บิ๊กตู่-สมคิด” ไฟเขียว “ศักดิ์สยาม” รื้อเดินรถสายสีแดง ดึงเอกชนเสียบเลื่อนเปิดปี 65

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เข้าหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในประเด็นการเดินรถโครงการถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จากเดิมที่จะอัพเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (เดินรถแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์) ขึ้นมาบริหารงานเดินรถ จะเปลี่ยนเป็นการเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในลักษณะ PPP แทน โดยแบ่งประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชนที่ รัฐ 60% และเอกชน 40%

@เปิด PPP ดึงเอกชนร่วมเสี่ยง
“เปิด PPP เพราะมีเนื้องานและค่าก่อสร้าง 3 สัญญาเพิ่ม 10,345 ล้านบาท โดยเฉพาะสัญญา 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพิ่ม 5,000-6,000 ล้านบาท ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเฉพาะการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งผู้รับเหมาได้ขอขยายเวลาสัญญาเพิ่มอีกประมาณ 512 วัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงคาดว่าทำให้มีเวลาที่จะทำ PPP ได้ ซึ่งประเด็นนี้ได้ปรึกษา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากทำ PPP คาดว่ารัฐบาลจะประหยัดเม็ดเงินไปได้ประมาณ 60,000 – 70,000 ล้านบาท”

@รวบงานก่อสร้างหมื่นล้าน-ต่อขยายใหม่
นอกจากเนื้องานด้านการเดินรถแล้ว จะผนวกเอาเนื้องานก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงใหม่ในสัญญา 1-3 รวมวงเงินประมาณ 10,345 ล้านบาท เข้ามาด้วย เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ไจก้าจะให้เงินกู้อีกแล้ว ซึ่งเนื้องานที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างสำรวจ เพราะเมื่อใช้เงินกูไจก้าไม่ได้แล้ว จะต้องใช้กระบวนการปกติ คือต้องใช้ระเบียบพัสดุในการกู้เงินภายในประเทศ ซึ่งจะต้องประกวดราคาใหม่ จึงเห็นว่าการนำมารวมกับ PPP ให้เอกชนรับภาระแทนจะดีกว่า เพราะรัฐบาลจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย

นอกจากนั้น จะให้รวมงานก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม., สายสีแดงอ่อน 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ 3.Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท เข้ามาในการจัดทำ PPP ด้วย พร้อมกับให้ ร.ฟ.ท.ชะลอการเปิดขายเอกสารขอบเขตงาน (TOR) การประกวดราคาสายสีแดง 3 เส้นทางคือ ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์, ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน – ศิริราชออกไปก่อน

“ที่ผนวกเอางานส่วนต่อขยายเข้ามาด้วยนั้น เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการก่อสร้างสายสีแดงบานปลายจากเดิมไปมาก โดยช่วงแรกเริ่มที่กู้เงินจากไจก้า วงเงินก่อสร้างยังอยู่แค่ประมาณ 50,000 ล้านบาท แต่วันนี้วงเงินก่อสร้างขยายออกไปทะลุ 100,000 ล้านบาทแล้ว ดังนั้นการทำ PPP จะช่วยคุมต้นทุนต่าง ๆ ได้ และไม่ต้องใช้ระเบียบพัสดุในการประกวดราคาด้วย พูดง่าย ๆ คือเหมือนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกนั่นแหละ” นายศักดิ์สยามกล่าว

@ให้ “รถไฟ-กรมราง” ศึกษา 1 เดือน
หลังจากนี้ จะนำประเด็นดังกล่าวไปทบทวนมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่เคยมีมติให้ตั้งบริษัทลูกเดินรถอีกครั้ง โดยมอบให้การรถไฟฯและกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปศึกษาและทำข้อมูลเพิ่มเติมกลับมาภายใน 1 เดือน

และเมื่อมีการเปิดเดินรถแบบ PPP แล้ว เงินลงทุนในสัญญาที่ 3 เอกชนจะต้องคืนกลับมาให้รัฐในส่วนของขบวนรถและระบบเดินรถ วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอมรับว่าจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้กำหนดการเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 นี้ต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อย 1 ปี หรือประมาณปี 2565

“ส่วนสถานะของบริษัทลูกรถไฟ อาจจะทบทวนให้ไปทำอย่างอื่นแทน เช่น เดินรถไฟสายอื่น ส่วนบุคลากรและพนักงาน ให้พิจารณาปรับเปลี่ยนบทบาทพนักงานต่าง ๆ แทน เหมือนที่ ขสมก.ปรับเปลี่ยนพนักงานเก็บค่าโดยสารมาเป็นพนักงานขับรถ” นายศักดิ์สยามกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2020 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไม่เชื่อมือรถไฟ! “ศักดิ์สยาม” ดึงเอกชนเสียบเดินรถสายสีแดงเลื่อนเปิดปี’65
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 เมษายน 2563 - 16:28 น.

“ศักดิ์สยาม” ล้มแผนตั้งบริษัทลูกสีแดง ดันเปิด PPP ก่อสร้างส่วนต่อขยายพร้อมเดินรถตลอดสาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:32
ปรับปรุง: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 17:07

“ศักดิ์สยาม” ล้มตั้งบริษัทลูกสายสีแดง ดันเปิด PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนเดินรถสีแดงตลอดสาย พ่วงก่อสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง มูลค่ากว่า 6.7 หมื่นล้าน เสนอ “นายกฯ” ประหยัดงบรัฐไปช่วยแก้วิกฤต “โควิด-19” สั่ง ร.ฟ.ท.เร่งศึกษารายละเอียด ชง คนร.ทบทวนมติเดิม ขณะที่สั่งเบรกประมูลรถไฟสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทางไปก่อน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ว่า ขณะนี้ได้นำเสนอแนวทางการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ทั้งการบริหารการเดินรถ และการก่อสร้างสายสีแดง ส่วนต่อขยายทั้งหมด 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการลงทุน และสามารถนำเงินไปใช้ในการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ รูปแบบ PPP เป็นคำตอบสำคัญสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ซึ่งได้นำเสนอแนวทางดังกล่าวต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว คาดว่าจะนำเสนอรูปแบบ PPP ต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) อนุมัติดำเนินการภายใน 1 ปี และเปิดประมูล โดยเมื่อได้ตัวผู้ลงทุน เอกชนจะต้องชำระคืนค่าระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถไฟฟ้าสีแดงที่ภาครัฐโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงทุนไปก่อนทันทีประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งจะมีรูปแบบเหมือนเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ต้องจ่ายค่าระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์คืนให้ ร.ฟ.ท.

สำหรับการเปิดเดินรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า จะต้องมีการเลื่อนการเปิดให้บริการออกไปจากแผนเดือน ม.ค. 2564 ซึ่ง ร.ฟ.ท.รายงานว่าเป็นปัญหาจากการก่อสร้างงานโยธาล่าช้า โดยเฉพาะสัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) จากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ท่อน้ำมัน ส่งผลให้สัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณล่าช้าไปด้วย โดยล่าสุดได้มีการเสนอขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก 512 วัน ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ให้ไปพิจารณาเหตุผลว่าจะมีการขยายให้กี่วัน

นอกจากการขอขยายระยะเวลาก่อสร้างแล้ว ยังมีปัญหากรณีขอขยายวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติม (Variation Order : VO) อีกประมาณ 10,345 ล้านบาท ซึ่งเดิมรถไฟสายสีแดงใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) แต่ล่าสุดไจก้าปฏิเสธที่จะให้เงินในส่วนของงาน VO ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เงินกู้ภายในประเทศ ดังนั้นจะต้องประกวดราคาใหม่ตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง โดยงานเพิ่มเติม VO นี้จะนำไปรวมกับ PPP ด้วย

“เรื่องนี้ได้นำเรียนต่อท่านนายกฯ แล้ว และก่อนหน้านี้ได้ปรึกษากับรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์แล้ว ซึ่งเรื่อง PPP เป็นแนวคิดของท่านรองนายกฯ มาตั้งแต่ต้น และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ในการลดภาระการลงทุน สิ่งสำคัญคือ PPP รัฐจะไม่ต้องลงทุนส่วนต่อขยายเองประหยัดเงินได้ 6-7 หมื่นล้านบาท ยอมรับว่าสัญญา PPP นี้จะใหญ่มีมูลค่าสูง แต่รัฐจะร่วมทุนในสัดส่วน 60% อยู่แล้ว ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากโครงการด้วย ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.จะมีความคล่องตัวในการลงทุนรถไฟทางคู่อีกหลายเส้นทางเป็นวิธีการบริหาร และใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ได้เร่งให้ ร.ฟ.ท.ทำรายละเอียดเพื่อเสนอ คนร.ต่อไป” รมว.คมนาคมกล่าว


X


สำหรับงานที่จะปิด PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนจะมี 5 ส่วน ประกอบด้วย 1. โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงเข้มส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท 2. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม. 2. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.เตรียมเปิดประกวดราคาก่อสร้าง ได้สั่งการให้ชะลอออกไปก่อน

4. รถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท และ 5. งาน VO วงเงิน 10,345 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัท รถไฟฟ้า รฟท.จำกัด และพนักงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น จะมีแนวทางในการพิจารณาปรับโอนไปปฏิบัติงานในส่วนอื่นๆ ของ ร.ฟ.ท. หรือยกระดับบริษัทไปดำเนินการงานด้านระบบรางอื่นๆ ได้ โดยให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาและนำเสนอรูปแบบต่อไป ซึ่งในอนาคตเมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่เสร็จทางรถไฟจะมีความจุเพิ่ม ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องพัฒนารูปแบบการขนส่งเพื่อให้รางให้เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้รางอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2020 5:17 am    Post subject: Reply with quote

ผมขอคัดค้าน การยกรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เอกชนเป็นผู้เดินรถ!!!!
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/916421968796283
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/04/2020 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

“รถไฟ” วืดเดินรถสายสีแดง “ศักดิ์สยาม” ดึงเอกชนเสียบ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 เมษายน 2563 - 23:41 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จากเดิมจะอัพเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทลูกการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ผู้เดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มาบริหารงานเดินรถ จะเปลี่ยนให้เอกชนเข้ามาบริหารในลักษณะ PPP ในส่วนของงานระบบและรับค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น 10,345 ล้านบาท แบ่งประโยชน์ให้รัฐ 60% และเอกชน 40% เพื่อช่วยรัฐประหยัดงบประมาณเงินกู้ที่จะต้องขออนุมัติเพิ่มเติม คาดว่าจะประหยัดได้ 60,000-70,000 ล้านบาท

โดยสัญญา 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพิ่ม 5,000-6,000 ล้านบาท ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อที่ยังไม่เรียบร้อย ผู้รับเหมาขอขยายสัญญาเพิ่ม 512 วัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ดร.ฟ.ท. ซึ่งได้ปรึกษา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีแล้ว จะทำให้การเปิดเดินรถช้าไป 1 ปี จาก ม.ค. 2564 เป็นปี 2565

นอกจากนี้จะให้รวมงานก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน 3 เส้นทางประกอบด้วย 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม., สายสีแดงอ่อน 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ 3.missing link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท เข้ามาในการจัดทำ PPP ด้วย พร้อมกับให้ ร.ฟ.ท.ชะลอการเปิดขายเอกสารขอบเขตงาน (TOR) การประกวดราคาสายสีแดง 3 เส้นทาง คือ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ออกไปก่อน

“เพราะปัจจุบันต้นทุนก่อสร้างสายสีแดงบานปลายมาก ช่วงแรกเริ่มที่กู้เงินจากไจก้า 50,000 ล้านบาท แต่วันนี้วงเงินก่อสร้างขยายออกไปทะลุ 100,000 ล้านบาทแล้ว” นายศักดิ์สยามกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2020 1:39 am    Post subject: Reply with quote

ขนส่งลงเรือ(ออกทางหลังโรงงาน) ประเทศญี่ปุ่น
สายสีแดง(รฟท.) HITACHI(Kasado Work) Japan
https://gramho.com/media/214722930693222172
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2020 12:37 am    Post subject: Reply with quote

การทดสอบการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง
https://www.facebook.com/TNG.TRT.CIS.RMUTI/posts/1269795703223825
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2020 11:23 am    Post subject: Reply with quote

ขนรถไฟฟ้าสายสีแดงไปส่ง:
📣โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง บนทางหลวงหมายเลข 3611, 3701, 7, 31 และ 1 ตั้งแต่เวลา 21.00 - 04.00 น. ⏰ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 - 4 มิถุนายน 2563 ระยะเวลารวม 30 วัน 📌เนื่องจากบริษัท วัฒนะกล ทรานสปอร์ต 2001 จำกัด จะดำเนินการขนส่ง ตู้โดยสาร น้ำหนัก 31 ตัน โดยมีจุดเริ่มต้นจากท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ไปยัง โครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต กรุงเทพมมหานคร (ไป – กลับ) ตามหนังสืออนุญาต เลขที่ คค 06148/8404 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 หมดอายุวันที่ 30 กันยายน 2563 และหนังสือคำขออนุมัติใช้เส้นทาง ตามคำขอเลขที่ 516 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ในเส้นทางดังกล่าว

🚑ทั้งนี้ ในระหว่างการขนส่งดังกล่าว อาจทำให้การจราจรติดขัดตามเส้นทางการเดินรถ จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายประชาสัมพันธ์ และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เส้นทาง โดยเฉพาะบริเวณเส้นทางที่มีการขนส่ง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
☎️หากมีเหตุขัดข้องในการเดินรถในเส้นทางดังกล่าว สามารถติดต่อประสานงานได้ที่ ศูนย์บริการอนุญาตเดินรถพิเศษบนทางหลวง กรมทางหลวง โทร. 02-3547904

จีงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกันครับ

บริษัท วัฒนะกล ทรานสปอร์ต 2001 จำกัด

🙏🙏🙏ขอบคุณครับ🙏🙏🙏
https://www.facebook.com/osshighwayweigh/posts/274539393918346?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2020 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟสีแดงสร้างมาราธอน 10 ปี “ศักดิ์สยาม” สบช่องล้มบริษัทลูก ปั้น “อภิโปรเจกต์” เปิด PPP จุดเปลี่ยนรถไฟไทย 100 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:45
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 11:01


ปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทำให้ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำเป็นต้องขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี 4 เดือน ส่งผลให้การเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 ต้องเลื่อนออกไปด้วย “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งล้มแผนตั้งบริษัทลูก เดินรถสายสีแดง และเปลี่ยนเป็นรูปแบบ PPP ให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานเดินรถไฟสายสีแดงทันที เพราะเห็นว่ามีเวลาเหลือเฟือที่จะเปิดประมูล

สาเหตุที่การก่อสร้างรถไฟสายสีแดงล่าช้า ปัญหาหลักๆ เกิดจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ย้ายผู้บุกรุกล่าช้า การปรับแบบของสัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อ) ส่งผลให้สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ต้องล่าช้าตามไปด้วย เพราะต้องรอสัญญา 1 สร้างไปก่อนระดับหนึ่งจึงจะเริ่มงานได้

ที่สุดเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 ตามแผนเดิมจึงทำไม่ได้ แนวคิดในการประมูลให้เอกชนเข้ามารับบริหารการเดินรถสายสีแดง จึงถูกขับเคลื่อนทันที

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ร.ฟ.ท.รายงานว่าการก่อสร้างงานโยธาสายสีแดง สัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) ล่าช้า เนื่องจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ท่อน้ำมัน ส่งผลให้สัญญาที่ 3 งานวางราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ต้องล่าช้าไปด้วย โดยล่าสุดได้มีการเสนอขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก 512 วัน ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ให้ไปพิจารณาเหตุผลว่าจะมีการขยายให้กี่วัน

นอกจากนี้ยังมีการขอขยายวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติม (Variation Order : VO) อีกประมาณ 10,345 ล้านบาท ซึ่งยังเป็นปัญหา เนื่องจากเดิมรถไฟสายสีแดงนั้นใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจป้า) แต่ล่าสุด ไจก้าปฏิเสธที่จะให้เงินกู้เพิ่มเติมในส่วนของงาน VO ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เงินกู้ภายในประเทศ ทำให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้างที่จะต้องประกวดราคางานเพิ่มเติมใหม่

“ศักดิ์สยาม” ระบุว่า ได้รายงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ทราบแล้วว่า แดงมีปัญหาอะไรบ้าง รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถ โดยเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน แทนการให้ ร.ฟ.ท.จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการเอง โดยได้เสนอแนวทางในการให้เอกชนร่วมเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ทั้งการบริหารการเดินรถ สายสีแดงตลอดสาย และการก่อสร้างสายสีแดง ส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทางวงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ให้เอกชนลงทุน 100% ซึ่งจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการลงทุนก่อสร้าง 6-7 หมื่นล้านบาท และนำงบไปใช้ในการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มากขึ้น

“ก่อนหน้านี้ได้เสนอแนวคิดต่อรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์แล้ว ซึ่งท่านมีแนวคิดเรื่อง PPP อยู่แล้ว และเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ลดภาระและความเสี่ยงของภาครัฐอย่างมาก” นายศักดิ์สยาม กล่าว

“โครงการยักษ์” มูลค่าลงทุนเฉียดแสนล้านบาท

ตามแนวคิด PPP สายสีแดงของ “ศักดิ์สยาม” จะมีมูลค่าเกือบแสนล้านบาท โดยเอกชนจะต้องลงทุน 5 ส่วน ประกอบด้วย
1. ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงเข้มส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท
2. ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม.กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท

3. ก่อสร้างสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท
4. ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม.วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท
5. รับผิดชอบงาน VO วงเงิน 10,345 ล้านบาท

นอกจากนี้จะต้องจ่ายคืนค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้ไฟฟ้าจำนวน 130 ตู้ ที่รัฐได้ลงทุนในสัญญา 3 อีกเป็นหมื่นล้านบาท โดยมอบกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และ ร.ฟ.ท.ไปศึกษารายละเอียดโดยเร็ว คาดว่าจะนำเสนอ รูปแบบ PPP ต่อ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) อนุมัติดำเนินการภายใน 1 ปี เพื่อเปิดประมูล ต่อไป

เปลี่ยน รมว.คมนาคม ล้มตั้งบริษัทลูก-ทบทวนมติ คนร.

แนวทางการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อเดินรถสายสีแดงนั้น เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเห็นชอบการเพิ่มพันธกิจให้แก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ที่ปัจจุบันมีพันธกิจในการบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) ให้เป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและบุคลากรของ รฟฟท.ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เนื่องจาก รฟฟท.มีประสบการณ์ในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ ARL โดยให้ปรับปรุงแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการหารายได้ และทำกำไร และให้กระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และ รฟฟท.ให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเทียบเท่าเอกชน เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและตัวชี้วัดที่กำหนดโดยไม่เป็นภาระของภาครัฐในอนาคต

ตามแผนมีการเพิ่มพันธกิจขอบเขตงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ใช้เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 3,400 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติก่อน รูปแบบการบริหารบริษัทลูกสายสีแดงกับ ร.ฟ.ท.จะเป็นแบบ Net Cost คือ สายสีแดงจะต้องรับความเสี่ยงในการบริหารโครงการทั้งหมดซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัว ส่วนกรอบอัตรากำลังกำหนดที่ 806 อัตรา หากไม่พอให้ใช้การจ้างแรงงานภายนอก (Outsource)

สำหรับทุนบริษัทลูกสายสีแดงใน 5 ปี ปีแรก (2564) จะจัดสรรให้ 989 ล้านบาท เป็นค่าจัดหาอะไหล่เริ่มต้นประมาณ 680 ล้านบาท และสำหรับชดเชยการขาดทุนประมาณ 300 ล้านบาท เนื่องจากการศึกษาประเมินปีแรกจะมีผู้โดยสารประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน ส่วนปีต่อไปจะมีการประเมินผลประกอบการและพิจารณาจัดสรรวงเงินอีกครั้ง ซึ่งหากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น การชดเชยขาดทุนจะลดลงและสายสีแดงมีเป้าหมายที่จะต้องคุ้มทุนภายใน 5 ปี โดย ร.ฟ.ท.ขอรับจัดสรรเงินกู้ทุนดังกล่าว ส่วนบริษัทสายสีแดงรับภาระดอกเบี้ยซึ่ง ร.ฟ.ท.ประเมินว่าสายสีแดงจะมีกำไรในปีที่ 13-14

คาดแผนว่าบริษัทลูกสายสีแดงจะทำหน้าที่บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง (Operator) และได้รับสิทธิในการบริหารพื้นที่ของสถานีรายทางของสายสีแดง เพื่อหารายได้เสริม ยกเว้นสถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีรังสิต โดยแผนล่าสุดช่วงแรก ร.ฟ.ท.เตรียมขออนุมัติเงินกู้ 3,000 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทฯ และจัดสรรบุคลากร 773 อัตรา ซึ่งจะโอนย้ายพนักงานจาก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด และพนักงานจาก ร.ฟ.ท. อีกส่วนจะเปิดรับสมัครใหม่ ขณะที่ตามมติ คนร.มีเงื่อนไขให้เวลา 5 ปี หากยังขาดทุน จะให้เอกชนมาบริหารแทน

“ร.ฟ.ท.รู้ดี ว่ายังไง สายสีแดงก็ขาดทุน ... แต่ขอเวลาพิสูจน์ตัวเอง โดยใช้บทเรียนจากแอร์พอร์ตลิงก์ และหวังว่าจะทำได้ในเวลา 5 ปี”

เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ “ศักดิ์สยาม” เป็น รมว.คมนาคม จุดเปลี่ยนเดินรถสายสีแดง

นโยบายของ รมว.คมนาคมคนใหม่ ต้องการใช้รูปแบบ PPP เดินรถสีแดง จึงมอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเปรียบเทียบ รูปแบบเดิมที่ ร.ฟ.ท.ตั้งบริษัทลูกบริหารเอง ซึ่ง “ศักดิ์สยาม” เห็นว่า รูปแบบ PPP จะทำให้การบริหารโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ให้กระทบต่อพนักงาน และไม่เป็นภาระงบประมาณรัฐบาล

“กังวลว่าสายสีแดงจะเกิดปัญหาเหมือนกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ซึ่งรัฐต้องอุดหนุนโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ มาตลอด ประกอบกับ ขณะนี้งบประมาณรัฐมีจำกัด หากให้เอกชนเข้ามารับบริหาร รูปแบบ PPP โดยคำนวณส่วนที่รัฐได้ลงทุนไป เช่น ค่าก่อสร้าง ระบบรถไฟฟ้า ให้เอกชนเข้ามารับดำเนินการ และแบ่งประโยชน์ให้รัฐโดยรัฐไม่ต้องลงทุนได้อย่างไร โดยย้ำให้พิจารณาในเรื่องผลตอบแทนทางการลงทุน EIRR อย่างรอบคอบ รวมถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม”

เป้าหมาย “ศักดิ์สยาม” ชัดเจนตั้งแต่แรกแล้วว่า ไม่เอาบริษัทลูก...เพียงแต่รอจังหวะและเหตุผลมาสนับสนุน

แผนแม่บท สีแดง เส้นทางหลักเชื่อม “เหนือ-ใต้, ออก-ตก” ผูกสัมปทาน PPP เอกชนกินรวบ?

ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-MAP) 10 เส้นทาง ระบุว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม มีระยะทาง 114.3 กม. 36 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ-ใต้ ทอดไปตามแนวทางรถไฟเดิม เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอน มหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง

โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดิน ทางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โครงข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอก ตามแนวคิดผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี ในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับสถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือแห่งใหม่อีกด้วย โครงการสามารถแก้ปัญหาจุดตัดระหว่างถนนและรถไฟในเขตเมือง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของระบบราง และลดความล่าช้าในการเดินทางบนโครงข่ายถนนได้

โครงข่ายด้านเหนือจาก ม.ธรรมศาสตร์รังสิต จะต่อไปถึงบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 28 กม.

ด้านใต้ จากหัวลำโพงจะต่อไปถึงมหาชัย ระยะทางประมาณ 36 กม. และระยะต่อไป จะขยายไปถึงปากท่อ จ.ราชบุรี เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟทางคู่ช่วงศาลายา-ปากท่อ-ปาดังเบซาร์ (ทางรถไฟสายใต้) ซึ่งยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน หรือ M-MAP มีการศึกษาวางโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าไว้อย่างครอบคลุม สายสีแดงจะเป็นเส้นทางหลัก ดังนั้น หากด้านใต้ไม่ต่อไปมหาชัยและปากท่อ รถโดยสารและสินค้า จะต้องเชื่อมเข้าทางนครปฐม-ศาลายา-ตลิ่งชัน ซึ่งมีทางเพียง 2 คู่ รถไฟชานเมืองสีแดง รถไฟทางไกล รถไฟสินค้า ต้องบริหารการเดินรถร่วมกัน (แชร์แทร็กซ์)

ดังนั้น การให้เอกชนลงทุนจะมองเส้นทางถึงธรรมศาสต์รังสิต ถึงแค่หัวลำโพง แค่ตลิ่งชัน หรือมักกะสันหรือ? กรณี ต่อขยายตามแผนแม่บท จะทำอย่างไร จะให้ ร.ฟ.ท.ทำเอง, เปิด PPP, ผูกแพกเกจรวมกับส่วนแรก ให้เอกชนรับสัมปทานไปเลยแบบอัตโนมัติ ...แบบนี้ถือว่ารัฐเอื้อเอกชนหรือไม่ ฝ่ายนโยบายต้องชี้แจง!

และหากย้อนดูบทเรียนจากโครงการโฮปเวลล์ที่ให้เอกชนลงทุนทั้งหมด เหมือนแนวคิด PPP สายสีแดงขณะนี้ แต่ในที่สุดเอกชนไปไม่รอด เหลือทิ้งซากตอม่อไว้

“ขณะที่ระบบราง เป็นระบบขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าทางถนน และยังไม่ก่อมลพิษ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่...รัฐกลับทุ่มงบประมาณกว่าแสนล้านบาท ไปลงทุนก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ถึง 3 สาย”

เบรกหัวทิ่ม! ประมูลสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.แจ้งว่า โครงการรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มูลค่ารวม กว่า 2.3 หมื่นล้านบาทนั้น ได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้ว ล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้จัดทำร่างทีโออาร์ และราคากลางเสร็จแล้ว เตรียมประกาศประมูล แต่ก็ต้องเบรกไว้ก่อน ...เพราะนโยบายเปลี่ยน

ต้องยอมรับว่า รถไฟสายสีแดงเจอสารพัดปัญหา เป็นโครงการที่ใช้เวลาก่อสร้างยาวนานที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2020 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟสีแดงสร้างมาราธอน 10 ปี “ศักดิ์สยาม” สบช่องล้มบริษัทลูก ปั้น “อภิโปรเจกต์” เปิด PPP จุดเปลี่ยนรถไฟไทย 100 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:45
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 11:01


รัฐหมดเงิน “สายสีแดง-ทางคู่” ดึงเอกชนลงทุนแลกสัมปทาน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 - 16:47 น.



เป็นเป้าหมายของ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” นับจากก้าวแรกเริ่มเข้ามานั่งเบอร์ 1 กระทรวงคมนาคม กับแนวคิดการเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต และเดินรถขนส่งสินค้า

ล่าสุดเสนอไอเดียให้ “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี พิจารณาและสั่งกรมการขนส่งทางราง และสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษารายละเอียดให้เสร็จใน 1 เดือน

เปิด PPP ทั้งก่อสร้าง-เดินรถ
“ศักดิ์สยาม” กล่าวว่า การเปลี่ยนรูปแบบเดินรถสายสีแดงจากให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้เดินรถและเป็นผู้เปิด PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนโมเดลเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เอกชนจะลงทุนงานก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถ เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลต้องนำเงินงบประมาณไปแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก่อน

“การที่ PPP จะช่วยรัฐประหยัดเงินได้ และเรื่องนี้ตนได้ปรึกษากับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งก็เห็นด้วย หากดำเนินการตามแผนที่เสนอจะช่วยประหยัดงบฯได้ถึง 60,000-70,000 ล้านบาท จึงได้มอบให้การรถไฟฯและกรมการขนส่งทางรางศึกษารูปแบบลงทุนให้เสร็จภายใน 1 เดือน”

รวบสัมปทานเดียวทั้งโครงข่าย
โดยจะเปิดให้เอกชนร่วม PPP 6 งาน ได้แก่
1.ค่างานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นของช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ผู้รับเหมาทั้ง 3 สัญญา ขอวงเงินเพิ่มเติม 10,345 ล้านบาท จากเดิมจะใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) แต่ภาระงานอยู่นอกเงื่อนไขไจก้าจึงไม่อนุมัติเงินกู้ หากไม่รวมใน PPP ร.ฟ.ท.จะต้องใช้เงินกู้โดยใช้วิธีเปิดประกวดราคาตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ตรวจสอบเนื้องานที่เพิ่มขึ้น

2. งานก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีแดงทั้งหมดรวม 67,575 ล้านบาท ได้แก่
2.1 รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท,
2.2 ตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202 ล้านบาท
2.3 ตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645 ล้านบาท และ
2.4 ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 44,157.76 ล้านบาท และ
3. งานระบบกว่า 32,000 ล้านบาท เอกชนรับสัมปทานเดินรถและแบ่งรายได้ให้รัฐ

“ให้รถไฟชะลอประกาศร่าง TOR ประมูลส่วนต่อขยายออกไปก่อน รอเปิดให้เอกชนประมูลทั้งโครงการ”

เสนอ คนร.ใน 1 ปี
ทั้งนี้จะต้องเสนอแก้มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) วันที่ 15 พ.ค. 2562 ที่ให้ รฟฟท.เพิ่มพันธกิจการเดินรถและซ่อมบำรุงสายสีแดง จะใช้เวลา 1 ปี กระทบการเปิดให้บริการจากเดิมเดือน ม.ค. 2564 เป็นปี 2565

“บทบาทของ รฟฟท.อาจจะให้บริหารการเดินเส้นทางอื่น และให้เปลี่ยนบทบาทเหมือนที่ ขสมก.เปลี่ยนพนักงานเก็บค่าโดยสารมาเป็นพนักงานขับรถ”

ดันเป้าขนส่งรางทะลุ 13 ล้านตัน
นายศักดิ์สยามยังกล่าวถึงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีทางรถไฟครอบคลุมแล้ว 47 จังหวัด รวม 4,044 กม. แบ่งเป็นสายใต้ 1,570 กม. อีสาน 1,094 กม. เหนือ 781 กม. ตะวันออก 534 กม. และสายแม่กลอง 65 กม. และเป็นรถไฟทางเดี่ยว

“รถไฟของประเทศยังใช้เทคโนโลยีระบบอาณัติสัญญาณล้าสมัย ยังใช้หัวรถจักรประเภทดีเซลต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้หัวรถจักรไฟฟ้า และสภาพขบวนรถเก่ามีอายุใช้งานมานานกว่า 30 ปี คนไม่นิยมใช้บริการ”

จากการที่รัฐบาลมีแผนพัฒนาทางคู่ต่อเนื่องตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว จะตั้งเป้าต้องเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็น 30% คิดเป็นปริมาณสินค้า 13.2 ล้านตัน จากปี 2561 ที่มีสัดส่วนเพียง 1% หรือคิดเป็นปริมาณสินค้า 10.2 ตัน

ดึงเอกชนร่วมเดินรถ
แนวทางดำเนินการ 1.เพิ่มประสิทธิภาพด้านความจุและความปลอดภัย 2.ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณแบบ ETCS 3.สนับสนุนให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ตอนนี้ ร.ฟ.ท.มีสลอตเส้นทางที่เหลืออยู่มากและนำมาใช้ในการเดินรถได้ไม่เท่าไหร่ จะทำให้เกิดการแข่งขัน 4.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์กองเก็บตู้สินค้าและสถานีขนถ่ายสินค้า และ 5.พัฒนาบุคลากรขยายโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากรด้านเดินรถ เช่น ช่างเครื่อง พนักงานขับรถ

“ให้ สนข. กรมการขนส่งทางราง และ ร.ฟ.ท. ทำ action plan ให้เสร็จใน 1 เดือน ต้องระบุกรอบเวลาให้ชัดเจนและขอ คนร.เร่งรัดออกกฎหมายลูก พ.ร.บ.การร่วมทุนฯ 2562 ที่จะมากำกับการดำเนินการที่เกี่ยวกับกิจการรถไฟ”

คืบหน้าทางคู่ประเทศไทย
ขณะที่ความคืบหน้าทางคู่เฟสแรกสร้างเสร็จ 2 โครงการ 293 กม.
1. ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. และ
2. จิระ-ขอนแก่น 187 กม.

อยู่ระหว่างสร้าง 5 โครงการ รวม 700 กม. ได้แก่
มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม.,
ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม.,
นครปฐม-หัวหิน 169 กม.,
หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. และ
ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. และ

อยู่ระหว่างประมูล 2 โครงการ
ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. และ
ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323 กม. โดยเป็นทางคู่สายใหม่

ส่วนทางคู่เฟส 2 อีก 7 เส้นทาง รวม 1,483 กม. วงเงิน 272,219.14 ล้านบาท รอเสนอ ครม.อนุมัติโครงการได้แก่
ขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. 26,663 ล้านบาท,
จิระ-อุบลราชธานี 308 กม. 37,527.10 ล้านบาท,
ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กม. 62,859.74 ล้านบาท,
เด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. 56,837.78 ล้านบาท,
ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. 24,294.39 ล้านบาท,
สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 321 กม. 57,375.43 ล้านบาท และ
หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. 6,661.37 ล้านบาท

แจกสัมปทาน-ลดภาระรัฐ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การเพิ่มบทบาทเอกชนเดินรถสายสีแดง เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้ซ้ำรอยแอร์พอร์ตลิงก์ และมีรายได้เพื่อมาชดเชยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาทที่มีการเพิ่มค่าก่อสร้างมา 5 ครั้ง ซึ่งผลการศึกษาสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิตในปีที่ 17 จะขาดทุน 4,500 ล้านบาท ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีถึงจะไปรอดและไม่เป็นภาระงบประมาณรัฐบาล

“ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าในประเทศที่มีศักยภาพมี 2 ราย คือ BTS และ BEM ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์มีกลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้บริหาร ยังไม่ทราบว่าจะรับโอนพนักงานทั้งหมดเลยหรือไม่”

ขณะที่การเดินรถทางคู่ด้วยหัวรถจักรไฟฟ้า มีเอกชนรายใหญ่สนใจหลายราย หลัง ร.ฟ.ท.ประเดิมทดสอบความสนใจ จะเปิดประมูล PPP net cost สัมปทาน 30-50 ปี ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน 2562 โครงการเดินรถขนส่งสินค้าทางรถไฟเส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-บัวใหญ่-แก่งคอย-คลอง 19-แหลมฉบัง 676 กม. วงเงิน 30,000 ล้านบาท อาทิ บมจ.ราช กรุ๊ป บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.ปตท. บมจ.อิตาเลียนไทยฯ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เป็นต้น

คาดว่าจะมี 3 กลุ่มใหญ่สนใจ คือ กลุ่ม ซี.พี. และพันธมิตรจากจีน กลุ่มบีทีเอส และกลุ่มทุนจากจีนและญี่ปุ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2020 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดง หมายเลข 1051,1052,1053 ที่มาถึงศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 3 คันจากชุดรถ 6 คัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3023763387682169&id=222323771159492

รถไฟฟ้าสายสีแดง หมายเลข 1054,1055,1056 มาถึงศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 3 คันครบชุดรถ 6 คัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3026607550731086&id=222323771159492

การขนย้ายรถไฟฟ้าลงราง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3024041014321073&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 79, 80, 81 ... 147, 148, 149  Next
Page 80 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©