RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181771
ทั้งหมด:13493009
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 213, 214, 215 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2020 7:47 am    Post subject: Reply with quote

"อนุทิน-ศักดิ์สยาม" พบ "นายกรัฐมนตรี" ถกลงทุนคมนาคม รับมือเอกชนเมินเมกะโปรเจค

https://www.thebangkokinsight.com/352416/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2020 2:08 am    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ประจำเดือนเมษายน 2563 🔛 ดังนี้

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 60.60%

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.60% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 51.87% ความก้าวหน้าโดยรวม 55.11%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.15 % 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 51.53% ความก้าวหน้าโดยรวม 54.77%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1433440196872710/2506184299598289/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2020 2:09 am    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ประจำเดือนเมษายน 2563 🔛 ดังนี้

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 60.60%

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.60% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 51.87% ความก้าวหน้าโดยรวม 55.11%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.15 % 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 51.53% ความก้าวหน้าโดยรวม 54.77%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1433440196872710/2506184299598289/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2020 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดตล่าสุด รถไฟฟ้า 10 สาย “กทม.-ต่างจังหวัด”
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 - 17:36 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 พ.ค.2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอรายงานผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปีงบประมาณ 2562 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543

ที่บัญญัติให้ รฟม.ทำรายงานปีละครั้งเสนอคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลของงานในปีที่ล่วงมาแล้วและคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการและแผนงานที่จะทำในภายหน้า ซึ่งคณะกรรมการ รฟม.ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563

@คืบหน้ารถไฟฟ้า 5 สาย
โดยผลการดำเนินงานของ รฟม. ในปีงบประมาณ 2562 ด้านพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เปิดให้บริการตลอดเส้นทางอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มี.ค.2563

สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการแล้ว 5 สถานี ช่วงสถานีหมอชิต-สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการตลอดทั้งสายภายในปีงบประมาณ 2564

สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 46.88% ซึ่งเร็วกว่าแผน คาดว่าจะเปิดบริการในเดือน มี.ค. 2567


สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี การก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถแล้วเสร็จ 40.72% เร็วกว่าแผน คาดว่าจะเปิดบริการเดือน ต.ค.2564

สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง การก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถแล้วเสร็จ 40.34% เร็วกว่าแผน คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2564

@รอ สคร.เคาะ PPP เดินรถสีม่วงตลอดสาย
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา 1 โครงการ คือ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) อยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงตลอดสายทางในรูปแบบ PPP Net Cost และศึกษาแนวทางการปรับเส้นทางโครงการเพื่อใช้ประกอบการปรับปรุงรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน เม.ย.2569

@ศึกษา 5 สาย ต่างจังหวัด
ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ 5 โครงการ ได้แก่ สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แล้วเสร็จ 97.50% ล่าช้ากว่าแผน คาดว่าจะลงนามสัญญากับเอกชนผู้ร่วมลงทุนในเดือน พ.ย.2563

รถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต ผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จจะเปิดให้บริการในเดือน มี.ค. 2568

รถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ 40% จะเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2570

รถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ 32% จะเปิดให้บริการในเดือน ก.ค.2568

และรถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก การดำเนินกิจการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ 50% จะเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค. 2569

@ปี 62 ผู้โดยสารสีน้ำเงิน-สีม่วงเพิ่ม
ส่วนผลดำเนินการให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เฉลี่ย 324,706 คน-เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5.66% สายสีม่วงเฉลี่ย 53,416 คน-เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 14.77% ทั้งนี้ ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการสายสีน้ำเงิน 76.54% และสายสีม่วง 70.86%

สำหรับผลประกอบการ รฟม.มีกำไรสุทธิ 1,171.22 ล้านบาท โดยมีรายได้ 12,362.87 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายรวม 11,191.65 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายงบลงทุน 99.99%

และมีแผนหารายได้จากธุรกิจต่อเนื่องประมาณ 202 ล้านบาท แบ่งเป็น สายสีน้ำเงิน 165.42 ล้านบาท
สายสีม่วง 36.59 ล้านบาท มีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) 0.66% นอกจากนี้มีแผนที่จะบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยต้องควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงกว่าปีที่ผ่านมา

@ปี’63 พิษโควิด เป็นปีที่ยากลำบาก
สรุปโดยรวมกระทรวงคมนาคม มีความเห็นว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานของ รฟม. ในปี 2562 อยู่ในระดับดีเยี่ยม สามารถผลักดันให้มีปริมาณผู้โดยสารโครงการรถไฟฟ้า 2 สายทาง เป็นไปตามเป้าหมายและมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และการดำเนินการในปี 2563 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับการขนส่งมวลชนทางรางทั้งระบบ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภาพรวมคาดว่า รฟม.จะมีปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถคาดการณ์ได้

@เร่งคัดเลือกเอกชนลงทุน
เพื่อให้การดำเนินการของ รฟม. ในปี 2563 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้ รฟม. เร่งดำเนินการประกวดราคา คัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนสำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแล้ว เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารผลกระทบต่อการจราจรในทุกมิติ และให้ควบคุมการก่อสร้างไม่ให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 ตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

เร่งดำเนินการพัฒนาระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ให้สามารถใช้งานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมืองภูมิภาคให้ รฟม.ให้ความสำคัญสูงสุดกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2020 12:29 am    Post subject: Reply with quote

ส่องพื้นที่แนวรถไฟฟ้าย่านไหนราคาพุ่ง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 19:48 น.

วิจัยกรุงศรีเผยผลวิเคราะห์พื้นที่ใดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่มีโอกาสและศักยภาพสูง
วิจัยกรุงศรีโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2563-2565 จะเป็นพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ 3 โซน และ บริเวณใจกลางกรุงเทพฯ อีก 2 โซน ได้แก่

1 .พื้นที่บริเวณส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (โซน D) ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรและอพาร์ตเมนต์ แต่ปัจจุบันเน้นพัฒนาคอนโดมิเนียมรองรับโครงการรถไฟฟ้าที่จะแล้วเสร็จในปี 2563 อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย รวมทั้งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินดอนเมือง จึงคาดว่าจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่แถบนี้สูงขึ้นในอนาคต สำหรับที่อยู่อาศัยที่เปิดขายมากที่สุดในโซนนี้คือ คอนโดมิเนียม รองลงมา คือ ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว โดยมีอัตราการขายเฉลี่ย 33.6% 33.9% และ 21.1% ตามลําดับ

2. พื้นที่ย่านรัชดาภิเษก ลาดพร้าว (โซน F) เป็นศูนย์รวมของที่อยู่อาศัย แหล่งธุรกิจ และแหล่งบันเทิง ถือเป็นพื้นที่ CBD (Central Business District) ใหม่และมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สําโรง) ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2563 ทําให้การเดินทางในระยะต่อไปจะเชื่อมต่อครอบคลุมทั้งในเมือง และขยายออกนอกพื้นที่มากขึ้น ปัจจุบันโครงการที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่สนใจของลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน อัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 42.9% ส่วนบ้านแนวราบ ซึ่งมีข้อจํากัดด้านที่ดินที่เหมาะสําหรับการพัฒนามีอยู่น้อย ทําให้จํานวนยูนิตมีไม่มากส่งผลให้บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์มีอัตราการขายเฉลี่ยค่อนข้างสูงที่ 38.4% และ 54.2% ตามลําดับ

3. พื้นที่บริเวณใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ (โซน I) เป็นพื้นที่บริเวณ สีลม สาทร ถนนพระรามที่ 4 เพลินจิต ถนนวิทยุ อโศก และสุขุมวิท มีความสะดวกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภท (BTS/MRT) และทางพิเศษยกระดับ อีกทั้งมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่มาก ราคาที่อยู่อาศัยจึงสูงกว่าโซนอื่นๆ ปัจจุบัน โครงการส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมระดับ High-end ซึ่งเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ โดยอัตราการขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียม อยู่ที่ 41.2% ส่วนบ้านแนวราบจะเป็นโครงการระดับบน ราคาเฉลี่ยยูนิตละ 20 ล้านบาทขึ้นไป มีจํานวนยูนิตต่อโครงการไม่มากทําให้บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์มีอัตราการขายเฉลี่ยค่อนข้างสูงที่ 43.2% และ 42.1% ตามลําดับ
4. พื้นที่บริเวณส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน (โซน L) และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ (โซน M) เป็นพื้นที่เชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลางเมืองและย่านศูนย์กลางธุรกิจ (ถนนสีลม-สาทร) การเดินทางสะดวกทั้งรถไฟฟ้า (ปัจจุบันสายสีน้ําเงินได้เปิดให้บริการครบทั้งสายหัวลําโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ รวมทั้งมีจุดตัดกับสายสีเขียวที่สถานีบางหว้า) และระบบถนน ถนนเพชรเกษม ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ และถนนพรานนก-พุทธมลฑล สาย 4 ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในโซน E เป็นคอนโดมิเนียมมีอัตราการขายเฉลี่ย 39.5% ขณะที่โซน M ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์มีอัตราการขายเฉลี่ย29.4% และ 30.7% ตามลําดับ



5. พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ําเจ้าพระยา (โซน N) เป็นพื้นที่รอบนอกที่มีเส้นทางคมนาคมและทางด่วนเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวก รวมทั้งมีการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลเวสต์เกตและเมกะบางใหญ่ อีกทั้งในอนาคตจะมีโครงการมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรีเชื่อมต่อไปสู่ ภาคตะวันตก ปัจจัยเหล่านี้เอื้อต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคตปัจจุบันโครงการบ้านแนวราบได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่อง สําหรับที่อยู่อาศัยที่เปิดขายมากที่สุดในโซนนี้ คือทาวน์เฮ้าส์รองลงมาเป็นบ้านเดียว โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยที่ 24.0% และที่ 25.8% ตามลําดับ โดยปกติโครงการใหม่ที่ตั้งอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะมีอัตราการขายได้สูงกว่าทําเลอื่นๆ แต่การเปิดโครงการใหม่ที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ส่งผลให้มียูนิตเหลือขายสะสมสูงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ําเงิน ได้แก่ โซน N M D และ C ในทําเลที่อยู่ไกลที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้า คาดว่าจะต้องใช้เวลาในการดูดซับอุปทานส่วนเกินอีกไม่น้อยกว่า 2-3 ปี ทําให้การพัฒนาโครงการใหม่ในพื้นที่เหล่านี้อาจมีอัตราการขายไม่สูงนัก

อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพของพื้นที่มีแนวเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณบางซื่อ (โซน C) จะเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางราง “สถานีกลางบางซื่อ” ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูงในระยะต่อไป รวมถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการในการชะลอเปิดโครงการใหม่อาจช่วย บรรเทาปัญหาอุปทานส่วนเกินให้ลดลงในระยะต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2020 10:19 pm    Post subject: Reply with quote

RATCH ลั่นปีนี้ปิดดีล M&A 5 โครงการ เล็งตั้ง รง.ผลิตรถไฟฟ้าในไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:21
ปรับปรุง: วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 18:09




ราช กรุ๊ป มั่นใจปิดดีลซื้อโรงไฟฟ้าเพิ่มปีนี้ 5 โครงการ เผยจับมือ AMR Asia ศึกษาความเป็นไปได้ตั้งโรงงานผลิต และประกอบรถไฟฟ้าในไทย คาดได้ข้อสรุปต้นปีหน้า เผยไตรมาสแรกโกยกำไร 1,360.82 ล้านบาท

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่บริษัทยังคงแผนการเข้าซื้อกิจการ (M&A) หรือร่วมทุนโรงไฟฟ้าใหม่ในปีนี้ 5โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตรวม 800 เมกะวัตต์ หลังจากไตรมาสแรกปีนี้ประสบความสำเร็จร่วมทุนในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ประเภทโคเจเนอเรชัน 2 แห่งในไทย คาดว่าไตรมาส 2/63 จะปิดดีลซื้อกิจการได้อีก 1-2 โครงการ และอีก 1-2 โครงการในครึ่งหลังปี 2563 เพื่อบรรลุเป้าหมายมีกำลังการผลิตไฟฟ้าครบ 10,000 เมกะวัตต์ในปี 2566

ในปีนี้บริษัทฯ เตรียมเงินลงทุนไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนในโครงการที่อยู่ในแผนแล้ว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 1 หมื่นล้านเตรียมไว้สำหรับการเข้าซื้อกิจการ ทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากโครงการ M&A ได้ทันที

ส่วนความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ที่บริษัทร่วมทุนกับ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์นั้น คาดว่าจะได้รับการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้ หลังจากนั้นก็ดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ คาดเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ในปี 2565 แล้วเสร็จจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2567 และปี 2568

ส่วนสัญญาจัดหาก๊าซฯ เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าดังกล่าว ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างรอความชัดเจนนโยบายของภาครัฐในการเปิดเสรีโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในรูปแบบตลาดจร (Spot) ถูกลงมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเช่นกัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสเพื่อนำเข้า LNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าหินกอง ทำให้ยังไม่มีการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ กับ ปตท.ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

นายกิจจากล่าวต่อไปว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ตั้งโรงงานผลิตและประกอบรถไฟ, รถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง คาดแล้วเสร็จต้นปี 2564 โดยจะร่วมกับพันธมิตรอย่าง AMR Asia ผู้นำด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางของคนไทย หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมระบบราง โดยมองว่าไทยมีศักยภาพในการผลิตและประกอบรถไฟฟ้าได้แทนการนำเข้า ส่วนพันธมิตรเดิมอย่างบีทีเอสก็สนับสนุนให้บริษัทเดินหน้าศึกษาไปก่อน

ส่วนโครงการธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (วูดพาเลต) คาดว่าจะไดลงนามสัญญาได้ในไตรมาส 2 นี้ เพื่อดำเนินการปลูกไม้โตเร็วใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวูดพาเลตเพื่อส่งออกไปยังญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล

นอกจากนี้ บริษัทมองโอกาสในการลงทุนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ธุรกิจสีเขียว โครงการ Independent Power Supply (IPS) เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิต การต่อยอดธุรกิจจากโครงข่าย IoT เพื่อตอบสนองภาคธุรกิจและผู้บริโภค การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการลงทุนพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์วิถีปกติใหม่ของธุรกิจและสังคมร่วมกับกลุ่มการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


X


ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้ใช้โอกาสจากการทำงานทางไกล ยกระดับศักยภาพขององค์กรเพื่อปรับรูปแบบการทำงานให้เป็น Smart Workplace ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานเชื่อมต่อกันภายในและซัปพลายเชน รวมทั้งสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยมีการเตรียมความพร้อมพื้นที่ในภาคใต้แล้ว 2 โครงการ

นายกิจจากล่าวอีกว่า สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2563 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,360 ล้านบาท ลดลง 21.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,741 ล้านบาท เนื่องจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 623.03 ล้านบาท จากรายการเงินให้กู้ยืมแก่กิจการในกลุ่มบริษัทในสกุลเงินเหรียญออสเตรเลีย โดยค่าเงินเหรียญออสเตรเลียอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลเงินเหรียญออสเตรเลียมีมูลค่าลดลง

ขณะที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,506 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 4,014 ล้านบาท มาจากรายได้จากส่วนแบ่งกำไรกิจการร่วมทุนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วน 32.9% ของรายได้รวม ปัจจัยสำคัญมาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาที่มีการเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงโรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียนเซน้ำน้อย และโรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชั่นที่จะเริ่มรับรู้รายได้เต็มปีในปีนี้
URL
1,012
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2020 10:19 pm    Post subject: Reply with quote

RATCH ลั่นปีนี้ปิดดีล M&A 5 โครงการ เล็งตั้ง รง.ผลิตรถไฟฟ้าในไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:21
ปรับปรุง: วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 18:09




ราช กรุ๊ป มั่นใจปิดดีลซื้อโรงไฟฟ้าเพิ่มปีนี้ 5 โครงการ เผยจับมือ AMR Asia ศึกษาความเป็นไปได้ตั้งโรงงานผลิต และประกอบรถไฟฟ้าในไทย คาดได้ข้อสรุปต้นปีหน้า เผยไตรมาสแรกโกยกำไร 1,360.82 ล้านบาท

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่บริษัทยังคงแผนการเข้าซื้อกิจการ (M&A) หรือร่วมทุนโรงไฟฟ้าใหม่ในปีนี้ 5โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตรวม 800 เมกะวัตต์ หลังจากไตรมาสแรกปีนี้ประสบความสำเร็จร่วมทุนในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ประเภทโคเจเนอเรชัน 2 แห่งในไทย คาดว่าไตรมาส 2/63 จะปิดดีลซื้อกิจการได้อีก 1-2 โครงการ และอีก 1-2 โครงการในครึ่งหลังปี 2563 เพื่อบรรลุเป้าหมายมีกำลังการผลิตไฟฟ้าครบ 10,000 เมกะวัตต์ในปี 2566

ในปีนี้บริษัทฯ เตรียมเงินลงทุนไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนในโครงการที่อยู่ในแผนแล้ว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 1 หมื่นล้านเตรียมไว้สำหรับการเข้าซื้อกิจการ ทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากโครงการ M&A ได้ทันที

ส่วนความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ที่บริษัทร่วมทุนกับ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์นั้น คาดว่าจะได้รับการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้ หลังจากนั้นก็ดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ คาดเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ในปี 2565 แล้วเสร็จจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2567 และปี 2568

ส่วนสัญญาจัดหาก๊าซฯ เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าดังกล่าว ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างรอความชัดเจนนโยบายของภาครัฐในการเปิดเสรีโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในรูปแบบตลาดจร (Spot) ถูกลงมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเช่นกัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสเพื่อนำเข้า LNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าหินกอง ทำให้ยังไม่มีการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ กับ ปตท.ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

นายกิจจากล่าวต่อไปว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ตั้งโรงงานผลิตและประกอบรถไฟ, รถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง คาดแล้วเสร็จต้นปี 2564 โดยจะร่วมกับพันธมิตรอย่าง AMR Asia ผู้นำด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางของคนไทย หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมระบบราง โดยมองว่าไทยมีศักยภาพในการผลิตและประกอบรถไฟฟ้าได้แทนการนำเข้า ส่วนพันธมิตรเดิมอย่างบีทีเอสก็สนับสนุนให้บริษัทเดินหน้าศึกษาไปก่อน

ส่วนโครงการธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (วูดพาเลต) คาดว่าจะไดลงนามสัญญาได้ในไตรมาส 2 นี้ เพื่อดำเนินการปลูกไม้โตเร็วใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวูดพาเลตเพื่อส่งออกไปยังญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล

นอกจากนี้ บริษัทมองโอกาสในการลงทุนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ธุรกิจสีเขียว โครงการ Independent Power Supply (IPS) เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิต การต่อยอดธุรกิจจากโครงข่าย IoT เพื่อตอบสนองภาคธุรกิจและผู้บริโภค การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการลงทุนพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์วิถีปกติใหม่ของธุรกิจและสังคมร่วมกับกลุ่มการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้ใช้โอกาสจากการทำงานทางไกล ยกระดับศักยภาพขององค์กรเพื่อปรับรูปแบบการทำงานให้เป็น Smart Workplace ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานเชื่อมต่อกันภายในและซัปพลายเชน รวมทั้งสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยมีการเตรียมความพร้อมพื้นที่ในภาคใต้แล้ว 2 โครงการ

นายกิจจากล่าวอีกว่า สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2563 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,360 ล้านบาท ลดลง 21.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,741 ล้านบาท เนื่องจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 623.03 ล้านบาท จากรายการเงินให้กู้ยืมแก่กิจการในกลุ่มบริษัทในสกุลเงินเหรียญออสเตรเลีย โดยค่าเงินเหรียญออสเตรเลียอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลเงินเหรียญออสเตรเลียมีมูลค่าลดลง

ขณะที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,506 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 4,014 ล้านบาท มาจากรายได้จากส่วนแบ่งกำไรกิจการร่วมทุนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วน 32.9% ของรายได้รวม ปัจจัยสำคัญมาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาที่มีการเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงโรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียนเซน้ำน้อย และโรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชั่นที่จะเริ่มรับรู้รายได้เต็มปีในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2020 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

“โควิด-19” ป่วนตั๋วร่วมข้ามสายส่อหลุดเป้า ต.ค. คมนาคมเร่ง “BTS-MRT” พัฒนาระบบหัวอ่าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 16:51
ปรับปรุง: วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:12

ตั๋วร่วมสะดุด “โควิด-19” ออกแบบและพัฒนาระบบ รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบ ส่อหลุดเป้า ต.ค. 63 “คมนาคม” เร่ง BTS และ MRT ยึดแผนเดิม ขณะที่เตรียมเสนอคลังเพิ่มขอบเขตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ใช้กับรถเอกชน “บขส.-ขสมก.” ได้

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบการใช้งานร่วมกันของระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability ในระยะเร่งด่วน ที่จะทำให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งมีการรายงานว่าขณะที่บริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้การใช้บัตรข้ามระบบอาจล่าช้าออกไปจากแผนงาน ซึ่งทางสิงคโปร์ระบุว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2563 จึงได้กำชับให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เร่งรัดบริษัท ผู้ออกแบบ เพื่อให้เปิดใช้ได้ตามแผนเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT และ BTS จะต้องตกลงรายละเอียดในเรื่องค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรข้ามระบบด้วย ซึ่งผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว จะต้องตกลงร่วมกันอีกด้วย

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เป้าหมายการใช้บัตรข้ามระบบเริ่มในเดือน ต.ค. 63 นั้นจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และ BTS สายสีเขียว ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากยังติดปัญหาผู้พัฒนาระบบ โดยตามแผนงานจะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน (พัฒนาและติดตั้ง 4 เดือน ทดสอบ 2 เดือน) ขณะนี้พบว่าบริษัท STE ประเทศสิงคโปร์ ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารยังมีข้อติดขัดในการทำงาน

ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนข.จัดทำไทม์ไลน์การพัฒนาระบบตั๋วร่วมใหม่เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณา โดยแบ่งเฟสการพัฒนาระยะเร่งด่วน (การใช้บัตรข้ามระบบ) เมื่อใด จำนวนกี่สาย การพัฒนาระยะยาว การระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ซึ่งใช้บัตร EMV นั้นจะเริ่มเมื่อใด

สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (แมงมุม 2.5) ซึ่งกรมบัญชีกลางออกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีประมาณ 1.3 ล้านใบ โดยสามารถใช้ชำระค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชน และรถไฟฟ้า MRT BTS และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้นั้น จะหมดอายุในเดือน ต.ค. 2565 จะมีการเปลี่ยนบัตรสวัสดิการทั้งหมดเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยตัวบัตรจะเปลี่ยนเป็นระบบ EMV ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card)

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ขอให้เพิ่มสิทธิในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับรถโดยสารเอกชนใน 14 เส้นทางที่ บขส.ไม่ได้วิ่งให้บริการ ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอให้ใช้บัตรกับรถร่วมเอกชนได้ฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางให้รวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เพื่อพิจารณา

สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 ที่เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... นั้นอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างฯ และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการประกาศ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน จากนั้น สนข.จะเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือน โดย คนต.จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม



ตั๋วร่วมสะดุด “โควิด-19” ออกแบบและพัฒนาระบบ รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบ ส่อหลุดเป้า ต.ค. 63 “คมนาคม” เร่ง BTS และ MRT ยึดแผนเดิม ขณะที่เตรียมเสนอคลังเพิ่มขอบเขตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ใช้กับรถเอกชน “บขส.-ขสมก.” ได้

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบการใช้งานร่วมกันของระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability ในระยะเร่งด่วน ที่จะทำให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งมีการรายงานว่าขณะที่บริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้การใช้บัตรข้ามระบบอาจล่าช้าออกไปจากแผนงาน ซึ่งทางสิงคโปร์ระบุว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2563 จึงได้กำชับให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เร่งรัดบริษัท ผู้ออกแบบ เพื่อให้เปิดใช้ได้ตามแผนเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT และ BTS จะต้องตกลงรายละเอียดในเรื่องค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรข้ามระบบด้วย ซึ่งผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว จะต้องตกลงร่วมกันอีกด้วย

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เป้าหมายการใช้บัตรข้ามระบบเริ่มในเดือน ต.ค. 63 นั้นจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และ BTS สายสีเขียว ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากยังติดปัญหาผู้พัฒนาระบบ โดยตามแผนงานจะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน (พัฒนาและติดตั้ง 4 เดือน ทดสอบ 2 เดือน) ขณะนี้พบว่าบริษัท STE ประเทศสิงคโปร์ ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารยังมีข้อติดขัดในการทำงาน


ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนข.จัดทำไทม์ไลน์การพัฒนาระบบตั๋วร่วมใหม่เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณา โดยแบ่งเฟสการพัฒนาระยะเร่งด่วน (การใช้บัตรข้ามระบบ) เมื่อใด จำนวนกี่สาย การพัฒนาระยะยาว การระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ซึ่งใช้บัตร EMV นั้นจะเริ่มเมื่อใด

สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (แมงมุม 2.5) ซึ่งกรมบัญชีกลางออกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีประมาณ 1.3 ล้านใบ โดยสามารถใช้ชำระค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชน และรถไฟฟ้า MRT BTS และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้นั้น จะหมดอายุในเดือน ต.ค. 2565 จะมีการเปลี่ยนบัตรสวัสดิการทั้งหมดเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยตัวบัตรจะเปลี่ยนเป็นระบบ EMV ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card)

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ขอให้เพิ่มสิทธิในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับรถโดยสารเอกชนใน 14 เส้นทางที่ บขส.ไม่ได้วิ่งให้บริการ ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอให้ใช้บัตรกับรถร่วมเอกชนได้ฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางให้รวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เพื่อพิจารณา

สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 ที่เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... นั้นอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างฯ และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการประกาศ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน จากนั้น สนข.จะเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือน โดย คนต.จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม

//-----------------------------------------------------


“ตั๋วร่วม” ส่อล่ม หลังบีทีเอส-MRT อัพข้ามระบบไม่ทัน 1 ต.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 15:12 น.

“คมนาคม” ลุยแก้ระบบ “ตั๋วร่วม” เหตุติดโควิด-19 กระทบบีทีเอส-MRT พัฒนาข้ามระบบไม่ทันใช้ 1 ต.ค.นี้ สั่ง สนข.ปรับแผนพัฒนาระบบต่อเนื่อง เร่งชง ครม.ไฟเขียว
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้ที่ประชุมได้ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาตั๋วของระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่างๆ ให้สามารถใช้ข้ามระบบกันได้ โดยจะเริ่มใช้ตั๋วร่วมข้ามระบบกับรถไฟฟ้า 3 สาย ประกอบด้วย บัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน แต่เวลานี้ได้รับรายงานว่าอาจไม่ทันตามเป้าหมายที่กำหนด อาจต้องเลื่อนออกไปไม่เกินสิ้นปีนี้ จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการในวันที่ 1 ต.ค.63 ขณะเดียวกันบริษัทในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้รับจ้างพัฒนาระบบของบีอีเอส และ MRT ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปทดสอบระบบในแล็ปได้ ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า ทั้งนี้ได้สั่งการให้บีอีเอสและMRT ต่อรองกับผู้พัฒนาระบบให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ “ทั้งนี้ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรข้ามระบบ โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ช่วยพิจารณาค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม ซึ่งจะมีความชัดเจนหลังจากนายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารตั๋วร่วม(คนต.)แล้ว รวมถึงการคิดค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะไม่กระทบต่อค่าโดยสารของผู้โดยสาร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการจะต้องตกลงกันเอง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2020 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“โควิด-19” ป่วนตั๋วร่วมข้ามสายส่อหลุดเป้า ต.ค. คมนาคมเร่ง “BTS-MRT” พัฒนาระบบหัวอ่าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 16:51
ปรับปรุง: วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:12



//-----------------------------------------------------


“ตั๋วร่วม” ส่อล่ม หลังบีทีเอส-MRT อัพข้ามระบบไม่ทัน 1 ต.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 15:12 น.


“คนกรุงเซ็ง” ตั๋วร่วมอืดไม่ทันใช้ 1 ต.ค.นี้ เลื่อนไปไม่เกินสิ้นปีนี้!!

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่กระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมได้ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาตั๋วของระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่างๆ ให้สามารถใช้ข้ามระบบกันได้

เดิมตั้งเป้าหมายว่าวันที่ 1 ต.ค.63 จะเริ่มใช้ตั๋วร่วมข้ามระบบกับรถไฟฟ้า3สาย ได้แก่ บัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน แต่เวลานี้ได้รับรายงานว่าอาจไม่ทันตามเป้าหมายที่กำหนดแล้ว อาจต้องเลื่อนออกไปไม่เกินสิ้นปีนี้

เนื่องจากติดปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทจากประเทศสิงคโปร์ผู้รับจ้างพัฒนาระบบของบีอีเอส และMRTไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย เพราะออกจากบ้านไปทดสอบระบบในแล็ปไม่ได้จึงทำงานให้ล่าช้า อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้เร่งรัด พร้อมให้บีอีเอสและMRT ต่อรองกับผู้พัฒนาระบบให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมาย
https://www.facebook.com/1860889064132603/posts/2603491023205733/
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/268701464496200/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2020 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

ขยายสัญญา รถไฟฟ้า แบกดอกเบี้ย-ค่าแรงอ่วม!
หน้าแรกเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ เสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2563 เวลา 11:50 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 2
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,576
วันที่ 21 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เอกชนอ่วม แบกดอกเบี้ย-ค่าแรง รฟม.เลื่อนขยายสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีเหลือง-ชมพู อีก 1 ปี ขยับเปิดให้บริการปี 2565 ยอมรับมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เดินหน้าเจรจากลุ่มบีทีเอส ส่วนส้มตะวันออก ต้องรอความพร้อมส้มตะวันตก
การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า การกำหนดระยะเวลาก่อสร้างรถไฟฟ้าที่สั้นเกินไป ประกอบกับการมาของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายใหม่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ต้องเลื่อนออกไปอีกราว 1 ปี เริ่มตั้งแต่สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 45,797 ล้านบาท คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (บอร์ดรฟม.) มีมติขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปเกือบ 9 เดือน หรือ 265 วัน และขยับการเปิดให้บริการออกไป เป็นเดือนกรกฎาคม 2565 ตามแผนเดิม จะต้องแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2564เช่นเดียวกับสายสีชมพู ช่วง แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 46,643 ล้านบาท ที่ บอร์ดรฟม. พิจารณาขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปีอย่างไรก็ตาม รฟม.ยอมรับว่าเอกชน อย่างบีทีเอสกรุ๊ปและพันธมิตร ผู้รับสัมปทาน จะกระทบ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งดอกเบี้ย และค่าแรงแหล่งข่าวจาก รฟม. เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการขยายสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง สายสีเหลืองและสายสีชมพู ออกไป อีกเกือบ 90 วันและอีก 1 ปี ตามลำดับนั้น เอกชนมีผลกระทบเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายแน่นอน แต่ขณะนี้ได้มีการเจรจากันอย่างต่อเนื่อง กลุ่มบีทีเอสไม่ได้ติดใจเรื่องนี้โดยจะไม่เกิดกรณีค่าโง่ตามมาอย่างแน่นอนสำหรับปมความล่าช้า เกิดจากความผิดพลาดของรฟม.ที่กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง รถไฟฟ้า 2 เส้นนี้สั้นเพียง 3 ปี เพื่อ เร่งเปิดให้บริการ ทั้งที่ระยะทางยาวกว่าสายอื่นถึง 3 เท่า ขณะระยะเวลาก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสาย จริงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงเป็นเหตุให้มีเวลาจำกัดในการส่งมอบพื้นที่ ทั้งรื้อย้าย สาธารณูปโภค และการต่อต้านตลอดแนวของประชาชน ขณะเดียวกันยังถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีส่วนต่อการเข้าพื้นที่ก่อสร้างแต่ทั้งนี้ รฟม.สามารถรับมือวิกฤตินี้ได้

ส่วนความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร แม้การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2565 เป็นไปตามแผน แต่ไม่สามารถเดินรถได้ จนกว่าสายสีส้มตะวันตก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ )ระยะทาง 13 กิโลเมตร มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท จะแล้วเสร็จ นั่นหมายถึงการเปิดให้บริการเดินรถสายสีส้มตะวันออก ปี 2566 ต้องเลื่อนออกไปจนกว่าสายสีส้มตะวันตกจะเปิดใช้เส้นทาง ทั้งนี้เนื่องจาก

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ผูกให้สัมปทานเดินรถสายสีส้ม ทั้งตะวันออก-ตะวันตก เป็นสัญญาเดียว รวมระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อสายสีส้มตะวันตก ถูกครม. ตีกลับ ร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) เวนคืนฯ โดยมอบรฟม.กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประชาชนคัดค้าน อีกทั้งโครงการยังไม่ผ่านการอนุมัติการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ จึงต้องใช้เวลา แต่รฟม.พยายามเร่งรัดให้เป็นไปตามแผนที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2567สำหรับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นของรฟม.ที่มีกำหนดเปิดให้บริการเป็นไปตามแผน ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 16 กิโลเมตร และสายสีทองระยะที่ 1 ช่วงกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร สามารถเปิดให้บริการได้เต็มทั้งสายปลายปีนี้ ขณะรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต /บางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผลกระทบเกี่ยวกับ การจัดตั้งบริษัทลูก ทำให้การเปิดให้บริการต้องเลื่อนจากต้นปี 2564 ไปเป็นปี 2565 โดยมีแผนให้เอกชนร่วมลงทุน หรือพีพีพีเพื่อความคล่องตัว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 213, 214, 215 ... 277, 278, 279  Next
Page 214 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©