Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180419
ทั้งหมด:13491653
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เมื่อเมืองพัทยาจะมีระบบรถไฟฟ้าบ้าง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เมื่อเมืองพัทยาจะมีระบบรถไฟฟ้าบ้าง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2019 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

เมืองพัทยาดันงบ 74 ล้านบาท ศึกษา-รับฟังความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้า
ข่าวบริหารท้องถิ่น
อธิปบูรพา
16 ธันวาคม 2019


ที่ห้องประชุมแกรนด์คาริเบียน ชั้น 8 โรงแรมไบรท์ตัน แกรนด์ พัทยา (16 ธ.ค.62) นายสุธรรม เพ็ชรเกตุ รองปลัดเมืองพัทยา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ของโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรอิสระ และผู้สนใจเข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน

ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการ แผนการดำเนินงาน แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบและร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ตลอดจนร่วมหารือถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแนวทางการพัฒนาโครงการต่อไป

การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง นั้น เป็นการดำเนินการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจนำเสนอโครงการ เพื่อจัดหางบประมาณการก่อสร้างหรือในการร่วมลงทุนกับเอกชน ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนหรือเอกชนผู้ลงทุน พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ และโครงข่ายในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบ เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ให้เกิดการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านการคมนาคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

ในการดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นการศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดของโครงการนำร่องของระบบขนส่งสาธารณะ ในรูปภาพรถไฟฟ้ารางเบา หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพในเส้นทางที่มีลำดับความสำคัญูสูงสุด โดยในการศึกษานั้นจะมีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งขอบเขตพื้นที่ศึกษาโครงการจะครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองพัทยา และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอบางละมุง และพื้นที่บางส่วนของอำเภอสัตหีบ ซึ่งรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 74 ล้านบาท สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า.

เพจโครงการรถไฟฟ้าเมืองพัทยา ดูได้ที่นี่ครับ
http://pattayalrt.com/index.html
https://www.youtube.com/watch?v=GaAqWUsEhSs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2020 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

งานประชาสัมพันธ์โครงการขนส่งมวลชนเมืองพัทยา ครั้งที่ 2 วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2563 จำนวน 6 รอบ

วันนี้เอาข่าวระบบขนส่งมวลชนเมืองพัทยามาฝากครับ ซึ่งหลังจากปลดล็อก สถานการณ์ #COVID19 ต่างๆแล้ว

ทางเมืองพัทยา และที่ปรึกษาได้ กลับมาจัดงานประชาสัมพันธ์โครงการอีกครั้ง วันพรุ่งนี้ 22-24 พฤษภาคม 2563 ซึ่งปรกติจะจัดวันเดียว แต่ได้กระจายเป็น 3 วัน 6 รอบ เพื่อทำตามมาตรการ Social Distancing ของรัฐบาล

ซึ่งพรุ่งนี้น่าจะสรุปเส้นทาง และรูปแบบ ของระบบขนส่งมวลชน ในเมืองพัทยาเรียบร้อย

ลิ้งค์เว็บไซด์โครงการ
http://pattayalrt.com/index.html

ปล.ใครจะเข้าประชุม รบกวนลงทะเบียนก่อนเข้านะครับ ที่ 038-253188
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/934608236977656
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2020 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
PRPATTAYA
22 พฤษภาคม 2563

วันนี้ (๒๒ พ.ค. ๖๓) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา เป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมีนายบรรลือ กุลละวณิชย์ รองนายกเมืองพัทยา หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งมีนายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดการโครงการฯกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ โครงการดังกล่าวฯจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. บริเวณลานพื้นที่เปิดโล่ง อาคาร ๑ ชั้น ๔ ศาลาว่าการเมืองพัทยา โดยจัดประชุมรับฟังความเห็นวันละ ๒ รอบ รอบเช้า – รอบบ่าย รอบละ ๔๐ คน รวมทั้งสิ้น ๒๔๐ คน เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙

เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาการจราจรและขนส่งเป็นอันมาก โดยเฉพาะบริเวณกลางเมืองซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ อันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของเมือง พบว่าสาเหตุหลักของปัญหาการจราจรและขนส่งในเมืองพัทยา คือ ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลพอเพียง ส่งผลให้มีปริมาณการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาจราจรและการขนส่ง ส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษทั้งทางอากาศและทางเสียง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อรองรับการเดินทางในเมืองพัทยาให้ครอบคลุมทั้งที่พักอาศัยและแหล่งกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-๑๙ พบว่าเมืองพัทยามีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากยิ่งขึ้นหากสถานการณ์คลี่คลายลง ดังนั้นจะต้องดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพสูง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองและเป็นการป้องกันปัญหาการจราจร การขนส่งในตัวเมืองพัทยาได้ในอนาคต ภายใต้กรอบนโยบายของการพัฒนาการขนส่งระบบราง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลดความต้องการการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล โดยในการดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับโครงการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ดังนั้นเมืองพัทยาจึงได้ดำเนินการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อินทิเกรเทด เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท แพลนโปร จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินงานโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นั้น เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบ เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านการคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดของโครงการนำร่องของระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพในเส้นทางที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด นอกจากนี้จะมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งจะต้องดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ

สำหรับขอบเขตของการดำเนินงาน โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น ตลอดระยะเวลาดำเนินการโครงการ รวมทั้งสิ้น ๔ ครั้ง โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ สำหรับในครั้งนี้เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ ๒ เพื่อนำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบและโครงสร้างของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองพัทยา แนวเส้นทางโครงการนำร่องผลการคัดเลือกตำแหน่งที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ ๑ ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด พร้อมกันนี้จะได้นำเสนอถึงผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ให้ข้อคิดเห็นถึงประเด็นที่ยังเป็นห่วงหรือวิตกกังวล เพื่อที่จะได้นำไปประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียดต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ ๒ ตามโครงการดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าได้ที่สำนักการช่าง ส่วนจราจรและขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๒๕๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๘๘ในวันและเวลาราชการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2020 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

'พัทยา' เร่งแผนโมโนเรล เปิดรับฟังความคิดเห็น เส้นทาง 22 พ.ค.นี้
21 พฤษภาคม 2563
เมืองพัทยา เดินหน้ารับฟังความเห็น “โมโนเรล” ครั้งที่ 2 วันที่ 22-24 พ.ค.นี้ เปิดฟังความเห็นแนวเส้นทางโครงการฯ


รายงานข่าวจากเมืองพัทยา ระบุว่า เมืองพัทยา เตรียมจัดเวทีรับฟังความเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวตล้อม

การพัฒนาระบบนส่งสาธารณะมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้รางเบา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ในวันที่ 22-24 พ.ค.นี้ หลังจากที่เมืองพัทยาประกาศเลื่อนมาจากเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากมีการระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย




ทั้งนี้ เมืองพัทยาต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงกำหนดให้มีการประชุม ครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการคัดเลือกเส้นทางขอโครงการนำร่องรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของเส้นทางโครงการ โดยจะมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วม

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2562 เมืองพัทยาได้จัดรับฟังความเห็นครั้งที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งเป็นการชี้แจงรายละเอียดโครงการ ขั้นตอนและแนวทางให้ประชาชนรับทราบ รวมทั้งขอความร่วมมือหน่วยงาน องค์กรและชุมชนที่เกี่ยวข้องในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้เกิดการเชื่อมต่อด้านคมนาคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2020 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

ใกล้เป็นจริง! โครงการรถไฟฟ้าเมืองพัทยา เคาะรูปแบบโมโนเรลชี้เหมาะสม-ประหยัดงบแผ่นดิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 พฤษภาคม 2563 เวลา 13:25
ปรับปรุง: 23 พฤษภาคม 2563 เวลา 13:53


ศูนย์ข่าวศรีราชา - ใกล้เป็นจริง! เมืองพัทยา เคาะรูปแบบรถไฟฟ้าสำหรับพัฒนาระบบขนส่งและการเดินทางในพื้นที่เชื่อมโยงโครงการ EEC พบระบบรถรางเบา หรือโมโนเรล รวมระยะทาง 9 กม. เหมาะสมที่สุดทั้งประหยัดงบ ใช้ได้กับพื้นผิวถนนเดิม

วันนี้ (23 พ.ค.) นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 เรื่องโครงการศึกษาความเหมาะสมออกแบบและศึกษาผลกระ ทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยมี นายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดโครงการฯ ร่วมชี้แจง และมีหน่วยงานราชการ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม

ทั้งนี้ เนื่องจากเมืองพัทยา ถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันกลับประสบปัญหาด้านการจราจรและการขนส่ง โดยเฉพาะบริเวณกลางเมืองซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งมีปัจจัยมาจากการเจริญเติบโตของเมือง และยังพบว่าสาเหตุหลักของปัญหาการจราจรและขนส่งในเมืองพัทยาคือ ระบบขนส่งสาธารณะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอ

ส่งผลให้มีปริมาณการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น สร้างทั้งปัญหาด้านการจราจรและการขนส่ง รวมทั้งมลพิษทางอากาศและทางเสียง



นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา เผยว่า วันนี้เมืองพัทยา มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเดินทางในเมืองให้ครอบคลุมทั้งที่พักอาศัยและแหล่งกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 เมืองพัทยา มีประชากรและจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ความต้องการด้านการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพสูงจะมีมากขึ้น

“การพัฒนาเมืองพัทยาในอนาคต ภายใต้กรอบการพัฒนาการขนส่งระบบรางเพื่อกระจายความเจริญสู่ส่วนภูมิภาคซึ่งจะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาอุตสาหกรรม จะต้องมีการลดความต้องการใช้ยาพาหนะส่วนบุคคล สู่การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบรถไฟฟ้า ซึ่งเมืองพัทยา ได้ใช้งบประมาณในการศึกษาเพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายในเขตเมืองพัทยาและเชื่อมต่อพื้นที่โดยรอบให้มีศักยภาพมากถึง 70 ล้านบาท”



เพื่อให้สอดคล้องต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันนออก (EEC) ที่จะต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการท่องเที่ยวให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ



โดย เมืองพัทยา ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการคมนาคมขนส่งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในรูปแบบรถไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนนำเสนอโครงการเพื่อจัดหางบประมาณก่อสร้าง หรืออาจออกมาในรูปแบบของการร่วมลงทุนกับเอกชน ตามประกาศของคณะกรรมการ EEC

นายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดโครงการศึกษาฯ กล่าวว่า จากนโยบายการผลักดันให้เมืองพัทยา เป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก จึงต้องมีการวางแผนขับเคลื่อนการพัฒนาให้สอดคล้องต่อแผนของนโยบายหลักของ EEC โดยเฉพาะระบบโครงข่ายด้านขนส่งสาธารณะในเมืองที่เชื่อมต่อกับระบบหลัก จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะแบบรถไฟฟ้าในเมืองพัทยาขึ้น



และได้กำหนดรูปแบบรถไฟฟ้าไว้ 3 ประเภท คือ การจัดทำโครงการในรูปแบบบนพื้นถนนหรือ Tram แบบยกระดับหรือ BTS หรือ Monorail และแบบใต้ดินหรืออุโมงค์ ซึ่งจะต้องมีวิเคราะห์ปัจจัยหลักทางด้านกายภาพ สภาพถนนเดิม เส้นทาง และการเวนคืนที่ดิน รวมทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและงบประมาณการลงทุน

โดยจากผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 1 พบว่า โครงสร้างทางวิ่งระดับดินหรือ Tram เป็นรูปแบบทางวิ่งที่ก่อสร้างระดับเดียวกับถนนเดิมมีผลกระทบต่อการใช้พื้นที่ผิวการจราจร เนื่องจากถนนมีความกว้างน้อยและจุดตัดมากจะส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร

ขณะที่โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน เป็นรูปแบบทางวิ่งใต้ระดับถนนเดิมจะมีค่าก่อสร้างสูงมากและรูปแบบนี้เหมาะสำหรับถนนที่มีความกว้างเขตทางเดิมมากเช่นกัน


ส่วนระบบยกระดับซึ่งได้เลือกระบบ Monorial เป็นโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่สูงกว่าระดับถนนเดิมแล้วแต่การกำหนด การก่อสร้างที่มีผลกระทบน้อย เพราะจะมีเพียงพื้นที่ก่อสร้างตอม่อ หรือ Pier ที่กว้างเพียง 1.8 เมตร และมีการนำมาประกอบเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง ขณะที่งบการลงทุนก็น้อยกว่าระบบอื่น ที่สำคัญเหมาะกับพื้นที่ผิวถนนเดิมของเมืองพัทยาที่มีความกว้างเขตทางไม่มากนัก
ขณะที่เส้นทางการเดินรถกำหนดไว้ 3 เส้นทางหลักคือ

1.สายสีแดง ระยะ 8.20 กม.วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอเตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนสายชายหาด-ท่าเรือบาลีฮาย

2.สายสีเขียว ระยะ 9 กม.วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอร์เตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนพัทยาสายสอง-แยกทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย
และ

3.สายสีม่วง วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอร์เตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนพัทยาสาย 3-ถนนทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย

และจากผลการศึกษาทางกายภาพและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พบว่า สายสีเขียว เป็นเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากเป็นเส้นทางหลักที่ประชาชนใช้ในการสัญจร และไม่จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดินมากนัก

ส่วนบริเวณถนนพัทยาสายสอง ไม่มีอาคารที่มีความสูงเกิน 4 ชั้นมาก ทำให้การยกระดับไม่จำเป็นต้องใช้ระดับความสูงซึ่งอาจส่งผลต่องบประมาณในการลงทุนทั้งสถานีจอดและทัศนียภาพ อย่างไรก็ตาม สำหรับเส้นทางนี้อาจต้องมีการเวนคืนที่ดินบ้าง เช่น ริมถนนมอร์เตอร์เวย์ด้านทิศใต้เลียบรั้วตลอดแนวเพื่อไม่ให้ไปรบกวนเส้นทางหลัก

จุดที่ 2 คือบริเวณหน้าห้าง Terminal 21 และ
3.บริเวณแยกทัพพระยา โดยตลอดเส้นทางจะมีจุดจอดรวม 13 จุด

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการศึกษายังคงดำเนินการต่อไป รวมทั้งการรับฟังความเห็นจากประชาชน ก่อนจะสรุปเสนอต่อเมืองพัทยาต่อไป

ด้านรูปแบบการลงทุนอาจะเป็นแบบ PPP หรือร่วมกับเอกชน ซึ่งจะมีการประเมินตามผลการศึกษาว่าจะดำเนินการในรูปแบบใดต่อไป


แนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาเมืองพัทยา เชื่อมสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาที่อยู่ที่เดียวกันกับสถานีพัทยา 🚊🚅 กับท่าเรือแหลมบาลีไฮ สำหรับสายเขียว ที่ตอนนี้ส่อว่าจะเป็นโมโนเรลเสียแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
สายเขียว สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาที่อยู่ที่เดียวกันกับสถานีพัทยา - ถนนพัทยาเหนือ - วงเวียนปลาโลมา - ถนนพัทยาสายสอง - แยกทัพพระยา - ท่าเรือแหลมบาลีไฮ ยาว 8.15 กิโลเมตร
มีสายแดง จาก สนามกีฬาแห่งชาติพัทยาแถวอ่างเก็บน้ำห้วยซากนอก - ถนนสาย ง. 4 - ถนนจอมเทียนสาย 2 หาดนาจอมเทียน ถนนทัพพระยา แยกทัพพระยา ถนนพัทยาสายสอง วงเวียนปลาโลมา ยาว 14.5 กิโลเมตร
โดยใช้ทางร่วมกันกับสายเขียวช่วง แยกทัพพระยา ไป วงเวียนปลาโลมา และ
สายม่วงจากหนองปรือ ตรงถนนสาย ง. 1 ถนนสาย ก. 1 ผ่านแยกพัทยาใต้ ถนนพัทยาสายสาม ไป แยกทัพพระยา ยาว 7.6 กิโลเมตร

นองกจากนี้ยังมีความคิดจะเอารถไฟไฟรางเบาเดินบนทางรถไฟที่มีอยู่เพื่อเดินรถชานเมืองอีกด้วย

**ภาพประกอบข่าว
https://www.facebook.com/Thfutu/posts/270918034274543

เอารายละเอียดเบื้องต้นของ รถไฟฟ้าเมืองพัทยามาให้ชมครับ

ตอนนี้กำลังฟังที่ปรึกษาชี้แจงอยู่ ใครมีข้อสงสัยตรงไหน ถามมาได้ครับ เดี๋ยวจะสอบถามที่ปรึกษาให้ครับ
ส่วนระบบยกระดับซึ่งได้เลือกระบบ Monorial เป็นโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่สูงกว่าระดับถนนเดิมแล้วแต่การกำหนด การก่อสร้างที่มีผลกระทบน้อย เพราะจะมีเพียงพื้นที่ก่อสร้างตอม่อ หรือ Pier ที่กว้างเพียง 1.8 เมตร และมีการนำมาประกอบเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง ขณะที่งบการลงทุนก็น้อยกว่าระบบอื่น ที่สำคัญเหมาะกับพื้นที่ผิวถนนเดิมของเมืองพัทยาที่มีความกว้างเขตทางไม่มากนัก
ขณะที่เส้นทางการเดินรถกำหนดไว้ 3 เส้นทางหลักคือ

1.สายสีแดง ระยะ 8.20 กม.วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอเตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนสายชายหาด (ถนนพัทยาสายหนึ่ง) -ท่าเรือบาลีฮาย

2.สายสีเขียว ระยะ 9 กม.วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอร์เตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนพัทยาสายสอง-แยกทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย
และ

3.สายสีม่วง วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอร์เตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนพัทยาสาย 3-ถนนทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/936750813430065
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2020 8:39 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'เร่งดันโปรเจคอีอีซี หนุน'รถไฟรางเบา'เมืองพัทยา
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ "คมนาคม" ดันการพัฒนา ระบบรถไฟรางเบาเมืองพัทยา เชื่อม 3 สนามบิน สั่งทบทวนโครงสร้างพื้นฐาน เฟส 2 ต้องสอดรับอีอีซีอย่างแท้จริง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนโครงการพื้นฐานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ระยะที่ 2 ได้สั่งให้แต่ละหน่วยงานกลับไป ทบทวนความจำเป็น ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะที่ 2 ให้ตอบโจทย์ การใช้งานในอีอีซีอย่างแท้จริง และ ไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ พร้อมสำรวจ ความเห็นของภาคเอกชน และนำกลับมาเสนอใหม่ในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ต่อไป

ทั้งนี่โครงการที่เหมาะสมในการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีระยะที่ 2 เช่น การพัฒนาระบบรถไฟรางเบา (แทรม) เมืองพัทยา ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ศึกษาเพื่อ เชื่อมต่อระบบการขนส่งทางรางจาก ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) มายังแหล่งท่องเที่ยวเมืองพัทยา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)จะศึกษาความเหมาะสม ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่เข้าสู่ นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอีอีซี เพื่อส่งสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง ด้วย

ส่วนโครงการที่มีแนวโน้มถูกตัดออกเช่น โครงการสร้างทางยกระดับ ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เนื่องจากปัจจุบัน มีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองอยู่แล้ว รวมไปถึง โครงการขุดลอกแม่น้ำบางปะกง-เกาะสีชัง ของกรมเจ้าท่า (จท.) ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้า แต่ไม่สนับสนุนพื้นที่อีอีซี และท่าเรือแหลมฉบังอย่างชัดเจน จึงยกออกไปพัฒนาภายใต้แผนบูรณาการ โลจิสติกส์ของประเทศ

สำหรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (ระบบราง น้ำ เรือ อากาศ)ใน อีอีซี รวม 106 โครงการ วงเงินกว่า 2.52 แสนล้านบาท กำหนดจะพัฒนาในระยะที่ 2 ช่วงปี 2565-2570 และยังมีโครงการที่ถูกยกยอดมาจากอีอีซีระยะ 1 ที่จะหมดกรอบระยะเวลาพัฒนา ในปี 2564 มาจัดสรรงบประมาณในระยะที่ 2 มาพัฒนาต่อเนื่องด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 2:04 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนอีอีซีเฟส 2 ลาก "แทรม" พัทยา เชื่อม "ไฮสปีด-อู่ตะเภา"
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project /
10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 06:35 น.อ่าน 916 ครั้ง
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,581 วันที่ 7-10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รัฐบาลเดินหน้าแผนลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีระยะแรก มาแล้วถึง 5 ปี (ปี 2560-2564) จนถึงขณะนี้ โครงการขนาดใหญ่หัวใจหลักในเฟสแรก ยังไม่ลงมือก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา )สนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบิน ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส3 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับแผนใหม่ โดยโยกโครงการดังกล่าวไปยังแผนพัฒนา อีอีซีระยะ2 ระหว่าง ปี2565-2570 เฟสเดียวกับ ฟีดเดอร์ รถไฟรางเบา(แทรม) พัทยา โครงการขนส่งมวลชนสาธารณะที่วิ่งเข้าสู่เมือง พื้นที่ท่องเที่ยว และแหล่งอุตสาหกรรม ให้เชื่อม โยกกับไฮสปีดที่มีแผนเปิดให้บริการในปี 2567 อีกทั้งยังมุ่งเน้นโครงการที่เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นซอฟต์แวร์ หรือเทคโนโลยี เพราะไม่ต้องการให้มีแค่โครงสร้างพื้นฐานหลักๆเพียงอย่างเดียว เช่น โครงการรถไฟทางคู่ที่เข้านิคมอุตสาหกรรมเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบังจำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีแบบ E-Logistic เพื่อให้ทราบข้อมูลและรายละเอียดกรณีขนส่งสินค้า โดยส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางรางและทางน้ำเป็นหลัก ขณะแผนการลงทุนฯ เฟส 1 (ปี 2560-2564) จำนวน 168 โครงการ วงเงินรวม 9.88 แสนล้านบาท มีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ 34 โครงการ, โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 79 โครงการ, โครงการได้รับงบประมาณปี 63 เพื่อใช้ในการดำเนินการแล้ว 25 โครงการ, โครงการอยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 64 จำนวน 10 โครงการ, โครงการที่เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ 6 โครงการ, โครงการที่ให้ชะลอออกไปก่อน 2 โครงการ และโครงการที่ถูกยกเลิก 5 โครงการทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ระยะที่ 2 ยืนยันว่า แผนระยะ2 ต้องเห็นผลเป็นรูปธรรม จับต้องได้ โดยมอบสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ปรับแผนพัฒนาอีอีซีเฟส2จัดลำดับความสำคัญ หลัง สนข.เสนอโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง น้ำ อากาศ จำนวน 106 โครงการ วงเงิน 2.52 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ถูกโอนมาจากแผนปฏิบัติการฯ ใน เฟส 1 เนื่องจากบางโครงการใกล้หมดระยะเวลาในการพัฒนาในเฟส 1 จะถูกจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาโครงการต่อในเฟส 2


ชายไทยอายุ 120 ปีพูดว่า: กำจัดความดันโลหิตภายใน 1 นาที เพียงใช้วิธีนี้
Advertiser

www.เยียวยาเกษตรกร.com ตรวจสอบสิทธิ์ ตรวจสอบสถานะ ผลการโอนเงิน แบบไหนได้เงินชัวร์
www.เยียวยาเกษตรกร.com ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบสิทธิ์ เช็กอัพเดทล่าสุดที่นี่
เกาะติด "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รับเงิน 3,000บาท


โดนนายชัยวัฒน์ ย้ำว่า” จะต้องเป็นโครงการสำคัญและมีความจำเป็นต่อเขตพื้นที่อีอีซี เท่านั้น” อีกทั้งยังให้สนข.ศึกษา 13 อุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเฟส 2 ช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2570) หากเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นใหม่ในพื้นที่อีอีซีจะต้องใช้วัสดุจากภายในประเทศและต่างประเทศในการผลิตสินค้า เช่น โครงการรถไฟทางคู่ที่เข้านิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะช่วยลดการจราจรติดขัดบนท้องถนน ทำให้มีโครงการ ในเฟส 2 ถูกตัดสิทธ์ เช่น โครงการสร้างทางยกระดับ การขยายถนนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) และกรมทางหลวง (ทล.) เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการสร้างทางเลี่ยงเมืองแล้ว รวมถึงโครงการขุดลอกแม่น้ำบางปะกง-เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ของกรมเจ้าท่า (จท.) เนื่องจากเป็นโครงการที่สนับสนุนขนส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งไม่ได้สนับสนุนพื้นที่อีอีซีโดยตรง จะถูกจัดอยู่ในแผนบูรณาการโลจิสติกส์ในประเทศแทน“ได้สั่ง สนข.กลับไปทบทวนจัดทำแผนการลงทุนดังกล่าว เพื่อดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน เพื่อนำมาเสนอกระทรวงคมนาคม ภายในเดือนกรกฎาคม นี้ หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมนโยบายเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) ต่อไป”หลังจากกระทรวงคมนาคมมอบการบ้านเล่มใหญ่ขนาดนี้ ก็คงเป็นหน้าที่ของ สนข.ในการเดินหน้าวางแผนการลงทุนพื้นที่อีอีซีเฟส 2 ว่าจะเป็นอย่างไร ถือเป็นโจทย์หินที่ไม่ง่าย หากเดินหน้าได้ตามแผนที่วางไว้จะทำให้ระบบคมนาคมขนส่งสะดวก รวดเร็ว มากขึ้น รวมถึงส่งผลให้ในอนาคตเกิดการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

ผลสรุปการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
PRPATTAYA
11 มิถุนายน 2563

ตามที่เมืองพัทยาได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อินทิเกรเทด เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท แพลนโปร จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินงานโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นั้น

เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งจะต้องดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ และได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการดังกล่าวฯ เมื่อวันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2563 ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น 4 อาคาร 1 ศาลาว่าการเมืองพัทยา โดยมีการคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิ รักษาระยะห่าง และจำกัดผู้เข้าร่วมประชุมไม่ให้เกินเวทีละ 50 คน โดยจัดให้มีการประชุมทั้งหมด 6 วิธี แบ่งเป็นสองช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า เวลา 08.30 น. - 12.00 น. และ ช่วงบ่ายเวลา 14.00 น. - 17.00 น. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันต่างๆ ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และประชาชนที่สนใจ ในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 266 คน

สำหรับผลสรุปประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีดังนี้

* การร่วมแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางโครงการนำร่อง (ถนนพัทยาสาย 2)
เกณฑ์การคัดเลือก
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 62 %
เห็นด้วย แต่เห็นควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียด 23 %
ไม่เห็นด้วย 7 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 8 %
ผลการคัดเลือก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 39 %
เห็นด้วย 31 %
ไม่เห็นด้วย 19 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 11 %
* การความคิดเห็นต่อระบบขนส่งสาธารณะที่จะนำมาใช้ในเมืองพัทยารถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)

เกณฑ์การคัดเลือก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 61 %
เห็นด้วย แต่เห็นควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียด 19 %
ไม่เห็นด้วย 6 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 14 %
ผลการคัดเลือก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 36 %
เห็นด้วย 43 %
ไม่เห็นด้วย 10 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 9 %
* การแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง

เกณฑ์การคัดเลือก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 64 %
เห็นด้วย แต่เห็นควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียด 15 %
ไม่เห็นด้วย 4 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 17 %
ผลการคัดเลือก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 40 %
เห็นด้วย 43 %
ไม่เห็นด้วย 5 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 12 %
* การแสดงความคิดเห็นต่อตำแหน่งที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณที่ดินเอกชนถนนทัพพระยา 29 ไร่

เกณฑ์การคัดเลือก
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 58 %
เห็นด้วย แต่เห็นควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียด 17 %
ไม่เห็นด้วย 3 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 22 %
ผลการคัดเลือก
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 34 %
เห็นด้วย 39 %
ไม่เห็นด้วย 7 %
ไม่แสดงความคิดเห็น 20 %
โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น ตลอดระยะเวลาดำเนินการโครงการ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง เพื่อนำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบและโครงสร้างของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองพัทยา แนวเส้นทางโครงการนำร่องผลการคัดเลือกตำแหน่งที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด พร้อมกันนี้จะได้นำเสนอถึงผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ให้ข้อคิดเห็นถึงประเด็นที่ยังเป็นห่วงหรือวิตกกังวล เพื่อที่จะได้นำไปประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2020 1:10 am    Post subject: Reply with quote

คาด ก.ย.นี้โครงการศึกษาออกแบบรถไฟฟ้าเมืองพัทยา ได้ข้อสรุป
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 มิ.ย. 2563 19:19

Click on the image for full size
Click on the image for full size

ศูนย์ข่าวศรีราชา - นายกเมืองพัทยา เผยโครงการศึกษาออกแบบรถไฟฟ้ายังเหลือเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนโดยรอบอีก 3 ครั้ง คาดได้ข้อสรุปชัดเจน ก.ย.นี้

วันนี้ ( 20 มิ.ย.) นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้าหลังจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มข้าราชการ สื่อมวลชนและกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปแล้ว 2 ครั้ง ว่าการดำเนินงานหลังนี้คือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับทั้งผลกระทบและได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวให้ครบทั้ง 5 ครั้ง

เพื่อให้สามารถสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง โดยเฉพาะแนวเส้นทางการเดินรถ รวมทั้งการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ควบคู่กันไป อาทิ รถบริการและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ



“ โครงการรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ หรือระบบขนส่งมวลชนรวมของเมืองพัทยา จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเป็นวงกว้างและเฉพาะกลุ่ม ซึ่งต่อจากนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีก 3 กลุ่มย่อย โดยจะเน้นในเรื่องของแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และกลุ่มระบบขนส่งมวลชนที่เกี่ยวข้องรวมถึงรถบริการ หรือที่เรียกว่า ฟีดเดอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะให้บริการรับคนเข้า-ออกจากสถานี”



โดยการรับฟังความคิดเห็นด้านระบบสาธารณูปโภคที่จะมีขึ้นอีก 3 ครั้ง จะมีกลุ่มประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมและที่ประชุมจะนำผลการรับฟังความคิดมาประมวลเป็นข้อเสนอแนะก่อนจัดทำเป็นข้อสรุปในเรื่องของรูปแบบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อ เป็นทางเลือกว่าหากดำเนินการแล้วจะเกิดประ โยชน์คุ้มค่ากับการเป็นเมืองหลักหรือศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวตามแผนของ พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ได้มากน้อยเพียงใด



นายกสนธยา ยังเผยอีกว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า จะดำเนินการไปจนถึงเดือน ก.ย.นี้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง


“ อย่างไรก็ดีต้องขอขอบคุณประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้การศึกษาโครงการฯได้ผลออกมาดีที่สุดและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด” นายกเมืองพัทยา กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทำความรู้จักกับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน และโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองพัทยากัน

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
9 กรกฎาคม 2563

วันนี้ขอมาพูดถึงแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของเมืองพัทยาในพื้นที่ EEC กันหน่อยครับ ซึ่งทางเมืองพัทยาได้ทำการศึเองแยกจากโครงการศึกษาแผนแม่บทขนส่งมวลชนของ EEC ที่ศึกษา ในฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง


————————
ในโครงการการศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเมืองพัทยา เป็นการศึกษาแผนแม่บทเพื่อจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบหลักและระบบย่อยในเมืองพัทยา

แต่โครงการไม่ได้พูดแค่เมืองพัทยา แต่จะรวมไปถึง บางละมุง, หนองปรือ จอมเทียน และพื้นที่ต่อเนื่องทั้งหมด เพื่อความต่อเนื่องของผู้โดยสาร และประชาชนในพื้นที่

รวมถึงการวางแผนเชื่อมต่อจาก โครงการขนส่งมวลชนหลักในพื้นที่ EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มเมืองใหม่ (cluster) เช่น EECdและ EECi ในอนาคตด้วย

จากยุทธศาสตร์ของ เมืองพัทยา ในแผน EEC คือ
- เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก
- พัฒนาเมืองพัทยาเป็น Pattaya MICE City เพื่อรองรับการจัดประชุม และนิทรรศการระดับโลก
- โครงการพัฒนาแหลมบาลีฮาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

จากแผนทั้งหมดจะมีทั้งประชากร และนักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ในพื้นที่พัทยาอีกหลายเท่าตัว

ดังนั้นจึงมีความจำที่พัทยาจะต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี สะดวกและได้มาตรฐาน ซักที

—————————
ตามแผนแม่บทของเมืองพัทยา จะมีเส้นทางดังนี้

- เส้นทางหลัก (Main line) ทั้งหมด 4 เส้นคือ
1. สายสีเขียว สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา - แหลมบาลีฮาย => ทำก่อนเพื่อน
2. สายสีเหลือง บนทางรถไฟทางไกลของ รฟท เป็น โครงการรถไฟชานเมืองพัทยา เชื่อม ศรีราชา-พัทยา-อู่ตะเภา => รอว่าจะให้สัมปทานใครดี
3. สายสีม่วง แยกทัพพระยา - หนองปรือ (เชื่อมต่อถนนผังเมือง ง1)
4. สายสีแดง วงเวียนปลาโลมา(พัทยาเหนือ) - แยกทัพพระยา(ท้บกับสายสีเขียว)- จอมเทียน - สนามกีฬาแห่งชาติ ภาคตะวันออก

- เส้นทางสายรอง (Feeder line) มีทั้งหมด 22 เส้น ยกตัวอย่างมาให้ดู 8 สายใครอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากในภาพครับ

1. วงกลม วงเวียนปลาโลมา - พัทยาสาย 1 -พัทยาสาย 3
2. วงเวียนปลาโลมา-บ้านสุขาวดี
3. แยกมัจฉานุ-หาดจอมเทียน
4. บ้านสุขาวดี-แหลมฉบัง
5. จอมเทียนสาย 2-อบต.บางเสร่
6. ตลาดนาเกลือ-ฟาร์มจระเข้พัทยา
7. ถนนพัทยาสาย 1-วัดสุธาวาส
8. สำนักงานเจ้าท่าพัทยา-สถานีรถไฟพัทยาใต้

บ้านใครอยู่ติดแนวสายไหนยกมือหน่อยครับ อยากให้สายไหนเร่งทำก่อน ลองคอมเม้นกันมานะครับ

—————————
ในแผนการพัฒนาในเบื้องต้นคือดึงเอาเส้นทางสายหลัก สายสีเขียว มาศึกษาในรายละเอียด และก่อสร้างโครงการนำร่อง

เส้นทาง สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา-เมืองพัทยา-แยกทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย

ระยะทาง 8.15 กิโลเมตร

ซึ่งพอเลือกเส้นทางนำร่องได้ก็มีการศึกษาต่อในรายละเอียดคือ

- รูปแบบรถไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการ เป็นรูปแบบ Monorail (แบบคร่อมหรือแขวน) เพื่อความสอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสาร
- รูปแบบทางวิ่ง เป็นรูปแบบยกระดับนตลอดเส้นทาง
- ศึกษาเส้นทางในรายละเอียด โครงการเลือกถนนพัทยาสาย 2 เป็นจุดก่อสร้างโครงการ เพราะไม่บดบังทัศนียภาพของหาดพัทยา และมีถนนซอยเชื่อมระหว่างสาย 1 และ 2 เป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกของประชาชนและนักท่องเที่ยว
- มีสถานีทั้งหมด 13 สถานี ได้แก่

1. สถานีรถไฟพัทยา
2. สถานีสุขุมวิท
3. สถานีขนส่งพัทยา
4. สถานีพัทยาสาย 3
5. สถานีศาลากลางพัทยา
6. สถานีวงเวียนปลาโลมา
7. สถานีอัลคาซ่า
8. สถานีพัทยากลาง
9. สถานีไนท์บาซาร์
10. สถานี ตม. พัทยา
11. สถานีพัทยาใต้
12. สถานีทัพพระยา
13. สถานีบาลีฮาย

- ความพิเศษ ของโครงการนี่ซึ่งทางที่ปรึกษาต้องการจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองพัทยาให้เป็นโครงสร้างเดียวกับรถไฟฟ้า โดยการทำเป็นสวนลอยฟ้าคร่อมเหนือทางวิ่งรถไฟฟ้าตลอดโครงการ เพื่อจะทำเป็น Green Belt กลางเมือง พร้อมกับเป็น Landmark ใหม่ของเมืองพัทยาร่วมด้วย

- ศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าอยู่บริเวณ ถนนทัพพระยา ซอย 3 ใช้พื้นที่ 29 ไร่


- ในโครงการจะมีพื้นที่อาคารจอดแล้วจร อยู่ที่ จุดตัดมอเตอร์เวย์-ถนนสุขุมวิท เพื่อรับรถที่มาจากทางด้านเหนือ และมอเตอร์เวย์ มาเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้าเดินทางภายในเมืองพัทยา

——————————
จากแผนแม่บท และรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังศึกษาอยู่ ผมมองว่าลงตัว และน่าสร้างมากครับ

ยกเว้นตัวสวนลอยฟ้า ที่ต้องดูในรายละเอียดว่าจะทำให้โครงสร้างเป็นอย่างไร ทึบรึเปล่า แล้วจะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากน้อยขนาดไหน

หลายๆคนแย้งเรื่องการใช้ Monorail มามองว่าไม่เหมาะสม เพราะบดบังทัศนียภาพของเมืองอยากให้เป็นรถราง และอยากให้อยูที่สาย 1

ผมเองก็ถามกับที่ปรึกษาโครงการด้วยคำถามนี้เหมือนกัน แต่ก็ได้คำตอบที่ผมเองก็เห็นด้วยคือ

1. ถ้าทำรถรางเลนสวนที่สาย 1 มีเขตทางอยู่เพียงพอแค่วาง 1 ทางวิ่ง ถ้าจะทำทางสวนจะต้องเอาถนนมา 1 เลน ซึ่งจะกระทบกับจราจร คนพัทยาโอเคมั้ย??
2. การทำรถราง มีความเสี่ยงกับการชนคน หรือชนรถ โดยเฉพาะคนเมาตอนกลางคืน (ปรกติรถวิ่งถึงเที่ยงคืน) ถ้าชนคนตายขึ้นมาดังไปทั่วโลก เรายอมรับความเสี่ยงนี้มั้ย
3. มีการจัดกิจกรรมริมชายหายพัทยาตลอด ซึ่งมีผลกับการเดินรถรางริมหาดแน่นอน จะจัดการอย่างไร

ผมเลยค่อนข้างเห็นด้วยกับที่ปรึกษาในการทำ Monorail ยกระดับบนสาย 2 ครับ

ใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆ ของโครงการดูได้จากเว็บไซต์นี้ครับ
http://pattayalrt.com
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/970703560034790
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 6 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©