RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261994
ทั้งหมด:13573274
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

ความเห็นเกี่ยวกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายจากเตาปูน ไปครุใน

Unknown2 wrote:
หลังจากนั่งอ่านEIAมา เจอสิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้

- ไม่รู้ว่า สายนี้ จะเชื่อมPaid Areaกับสายสีส้มและสีน้ำเงิน ที่สถานีผ่านฟ้า กับสถานีสามยอดไหม แต่ถ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมPaid Areaกับสายสีม่วงที่เตาปูน และสายสีส้มที่ศูนย์วัฒนธรรม มันก็ควรจะเชื่อม

- สถานีผ่านฟ้า (หน้า304) ออกแบบให้เชื่อมกันที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว แต่ถ้าดูจากแบบแล้ว เหมือนมันจะมีทางขึ้นลงหมายเลข3ขวางไว้อยู่ คือเดินเชื่อมกันได้ แต่ต้องอยู่นอกPaid Area เพราะคนเดินลงมาจากทางเข้า ก็จะมาเจอทางเชื่อมสถานีเลย แล้วถ้าจะเป็นบริเวณจำหน่ายตั๋ว ยกเว้นจะมีการแก้แบบย้ายทางขึ้นลงมาอยู่ด้านขวามือของทางเชื่อม แล้วให้Paid Areaเชื่อมกันผ่านทางเดินทางด้านซ้ายมือของทางเชื่อม(อ้างอิงตามรูปในรายงานนะครับ)

- แอบเสียดายว่า น่าจะมีทางเชื่อมชั้นชานชาลาบนของสายสีม่วง กับชั้นConcourseของสายสีส้มด้วย จะได้ลดระยะเดินได้นิดนึง(ไม่ต้องเดินขึ้นมาชั้นขายตั๋วก่อน แล้วเดินกลับลงไปใหม่) แต่ไม่เป็นไร เพราะสถานีไม่ไกลกันมาก ตราบใดที่Paid Areaเชื่อมกันได้ หรือทำให้มันเชื่อมกันได้ในอนาคต ก็โอเคอยู่

- สถานีสามยอด (หน้า305) แอบงงทำไมจากชั้นConcourse จะต้องเดินขึ้นไปชั้นอเนกประสงค์ก่อน แล้วเดินกลับลงมาใหม่ เพื่อเชื่อมกันสายสีน้ำเงิน เพราะมันสามารถเดินจากชั้นConcourse ไปชานชาลาสายสีน้ำเงินได้โดยตรง จริงๆต่อทางเดินจากปลายชานชาลาสายสีม่วงยาวมาเลย จนถึงสถานีสายสีน้ำเงิน แล้วทำทางแยกขึ้น/ลง ไปชั้นชานชาลาสายสีน้ำเงิน มันจะเป็นอะไรที่สุดยอดมาก

- ไม่รู้ว่าPaid Areaสถานีสามยอดจะเชื่อมกันยังไง หรือจะเชื่อมกันตั้งแต่ตอนสายสีม่วงส่วนต่อขยายเปิดใหม่ๆเลยไหม แต่ตราบใดที่ทำให้มันเชื่อมกันได้ในอนาคต ก็โอเคอยู่

- สถานีสะพานพุทธ (หน้า306) ถ้าย้ายสถานีสายสีทองมาอยู่เหนือสถานีสายสีม่วง จะดีมาก (ให้สถานีสายสีทองคล่อมแยก แล้วทำอาคารเชื่อบแบบตรงอโศกเอา) แต่ดูแล้วคงยาก ยิ่งเกลียดๆกันอยู่ด้วย2หน่วยงานนี้

- สถานีสะพานพุทธ กับสถานีสามยอด อยู่ไกลกันมาก(1.6กิโลเมตร) ไม่รู้เหมือนกันว่าควรมีสถานีอีกสถานีระหว่างกลางไหม ถ้าจะมี ตรงเชิงสะพานพระปกเกล้า ฝั่งพระนคร พอมีที่อยู่ แต่เค้าคงคิดมาแล้วมั้ง ว่าไม่คุ้ม

- สถานีสะพานพุทธ น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีสี่แยกบ้านแขกนะ เดี๋ยวมาดูของจริงกันอีกทีว่าจะโดนเปลี่ยนไหม

- สถานีวงเวียนใหญ่ (หน้า307) โดนย้ายหนี (หน้า181) สายสีเขียว(ที่ไกลกันมากๆอยู่แล้ว) โดยย้ายเข้าไปใกล้วงเวียนใหญ่มากขึ้น สงสัยกลัวสายสีแดงมาตามนัดเส้นเจริญรัถไม่ได้ (เพราะมันมีแววว่าจะได้มาเส้นลาดหญ้าแทน) แต่ถึงจะไกลขึ้น แต่ได้ทางเชื่อมอย่างดีมาแทน(เป็นอุโมงค์ใต้ดิน พร้อมแอร์) มันก็โอเคอยู่ ประเด็นคือลองวัดระยะคร่าวๆดู 270เมตร เหมือนจะไปไม่ถึงสถานีเดาว่าน่าจะไปโผล่ตรงแถวๆสนามบาสใต้สะพาน แบบลอดทางU-Turnมาแล้ว ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ทำติดแอร์ไปให้มันถึงสถานีเลยไม่ได้หรือไงเนี่ย แต่เดี๋ยวเค้าคงปรับปรังSkywalkใหม่มั้ง (หวังว่า)

- จะให้ดีก็เตรียมเผื่อเชื่อมPaid AreaกับBTSด้วย ถ้าเชื่อมจริงๆ น่าจะพอปรับปรุงโครงสร้างสถานีวงเวียนใหญ่ให้รองรับได้

- Park & Ride ดูโอเคเลย ทำแบบอย่างดี มีทางกลับรถในตัว แบบตรงหลักสอง

- ตามรายงาน (หน้า417) บอกว่าจะใช้รถไฟ4ตู้ 35ขบวน รองรับได้20ปี

- อันนี้ไม่รู้ว่า ที่บอกว่าใช้35ขบวน 4ตู้พอนี่ รวมของที่มีอยู่เดิมแล้วหรือยัง หรือเฉพาะส่วนต่อขยาย/ที่ต้องซื้อเพิ่ม แต่คิดว่าน่าจะรวม เพราะถ้าไม่รวม มันจะเป็นอะไรที่น่าแปลกใจมาก โครงการคำนวณRound Trip Timeไว้ที่68.3นาที เวลาเท่านี้ ไม่น่าวิ่งไป-กลับ จากบางใหญ่ถึงครุในได้

- ความถี่การเดินรถ ช่วงแรกคำนวณว่าใช้รถ27ขบวน ความถี่สุด2นาที 30วินาที ถ้าใช้เต็ม35ขบวน จะทำได้ที่1นาที 57วินาที (แต่ยังไงต้องมีรถไฟมากกว่า35ขบวนอยู่แล้ว เพราะต้องมีวนไปซ่อม ถ้าตามรายงาน โครงการคำนวณงบให้ซื้อ38ขบวน) ผมไม่รู้ว่ารวมช่วงเดิม/รถเดิมไหม แต่ให้ข้อมูลไว้ว่ารถเดิมมี21ขบวน 3ตู้ ก็ลองไปบวกลบกันเอาเอง



book-srt@hotmail.com wrote:
ถ้าโซนวงเวียนใหญ่นี้ทำเสร็จทั้ง 3 สายแล้วผมว่าน่าจะเป็นทำเลที่สุดยอดมากๆ ไม่ทราบว่าเป็นที่ดินที่ถือครองโดยเอกชนทั้งหมดเลยหรือไม่
เพราะถ้าได้วางแผนดีๆ มีปัจจัยส่งเสริมการลงทุนเจ๋งๆ น่าจะทำเป็น TOD ขนาดใหญ่เหมือนในญี่ปุ่นได้เลย

https://www.skyscrapercity.com/threads/mrt-purple-line-extension.1089479/page-33#post-168284932
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2020 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

Series รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ)

EP.2 รูปแบบสถานี และรูปแบบทางวิ่ง รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ)

มาต่อเรื่องรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้กันต่อ ในวันนี้ขอเสนอเรื่องรูปแบบสถานีและรูปแบบทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วง
เรามาดูที่รูปแบบสถานีกันก่อน
แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน และสถานียกระดับ

- ซึ่งสถานีใต้ดินจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. สถานีชานชาลากลาง (Central Platform) ซึ่งจะมีอุโมงค์ขนาบ 2 ข้าง และมีชานชาลารอรถไฟอยู่ตรงกลาง
เหมือนกับ สถานีหัวลำโพง สายสีน้ำเงิน

มีสถานีชานชาลากลางคือ สถานีรัฐสภา, สามยอด, สะพานพุทธฯ, วงเวียนใหญ่ และสำเหร่

2. สถานีชานชาลาซ้อน (Stacked Platform) ซึ่งจะเป็นชานชาลาซ้อนกัน 2 ชั้น อุโมงค์ซ้อนกัน เหมือนกับสถานีสีลม สายสีน้ำเงิน

มีสถานีชานชาลาซ้อนคือ สถานีศรีย่าน, วชิรพยาบาล, บางขุนพรหม และผ่านฟ้า

3. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) ซึ่งจะเป็นชานชาลาข้าง ซึ่งจะมีอุโมงค์อยู่กลาง และชานชาลาขนาบข้าง เหมือนกับสถานีบางซื่อ สายสีน้ำเงิน

มีสถานีหอสมุดแห่งชาติ

- รูปแบบสถานียกระดับ มี 1 แบบ คือ

3 ชั้น ชานชาลาข้าง มีทางวิ่งอยู่กลางมีชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ชั้น 2 และมีชานชาลาอยู่ชั้น 3

ซึ่งจะเป็นรูปแบบหลักของสถานียกระดับทุกสถานี ยกเว้นสถานีดาวคะนอง ซึ่งเป็นสถานีที่ขึ้นมาจากอุโมงค์แล้วอยู่ใกล้อุโมงค์ จึงทำให้ไม่สามารถยกระดับเป็น 3 ชั้น เต็มได้เหมือนสถานีอื่น

รูปแบบจะคล้ายกับ BTS และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนยกระดับทุกสถานี

** ซึ่งในทุกรูปสถานีทั้งยกระดับ และใต้ดิน มีการรองรับผู้พิการ คือ มีทางขึ้น-ลง เพื่อรองรับผู้พิการได้แก่ ลิฟต์อย่างน้อยสถานีละ 2 ชุด 1 ชุด/ฝั่งถนน เพื่อให้พี่ๆคนพิการ ไม่จำเป็นต้องข้ามถนนเพื่อขึ้นลิฟต์

ใน Paid Area สำหรับสถานีที่เป็นชานชาลากลาง หรือชานชาลาซ้อน จะมีลิฟต์ 1 ตัว แต่ถ้าเป็า สถานีชานชาลาข้าง จะมีลิฟต์ 2 ตัว ชานชาลาละ 1 ตัว
———————
โครงสร้างทางวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

- จะมีรูปแบบทางวิ่งใต้ดิน 3 รูปแบบคือ

1. อุโมงค์คู่ห่าง มีระยะห่างระหว่างอุโมงค์ 6.30 เมตรขึ้นไป เป็นรูปแบบการก่อสร้างบนถนนทั่วไปซึ่งมีเขตทาง ประมาณ 23 เมตรขึ้นไป โดยจะเป็นรูปแบบอุโมงค์หลักของโครงการ

2. อุโมงค์คู่แคบ สามารถก่อสร้างอุโมงค์ชิดกันได้ถึง 1.50 เมตร โดยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงความหนาแน่นของดินระหว่างอุโมงค์ เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดโพรงจากอุโมงค์ข้างๆได้ในการก่อสร้าง เป็นรูปแบบก่อสร้างซึ่งเป็นแบบรองจะใช้บนถนนซึ่งมีเขตทาง ประมาณ 16 เมตรขึ้นไป

3. อุโมงค์ซ้อน จะเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางแคบ ซึ่งจะเป็นส่วนหลักที่ใช้ในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่ง ใช้พื้นที่อุโมงค์เพียง 8-10 เมตร เพราะใช้พื้นที่เท่าตัวอุโมงค์ และเขตปลอดภัยอีก 2 เมตร

โดยรูปแบบนี้จะใช้การซ้อนอุโมงค์ โดยแต่ละอุโมงค์จะต้องห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร

พื้นที่การก่อสร้างดูได้จากในรูปผังการก่อสร้างได้เลย

- ทางวิ่งยกระดับ มี 2 รูปแบบคือ

1. ทางวิ่งทางคู่ จะเป็นรูปแบบทางทั่วไปของโครงการ ซึ่งเพื่อรองรับรถราง 2 ราง ให้รถไฟฟ้าสวนกันได้

2. ทางวิ่ง 3 จะเป็นการก่อสร้างเฉพาะช่วงที่เป็น Pocket Track หรือจุดพักซ่อมบำรุงรถ ซึ่งจะคล้ายกับ Pocket Track สถานีสนามเป้า และ อารีย์ ของ BTS

ซึ่งในโครงการนี้จะมี Pocket Track อยู่บริเวณ ระหว่างสถานีบางปะกอก และ สะพานพระราม 9

การปรับทางขึ้น-ลงสถานี ในพื้นที่ชั้นในเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์

มีสถานีที่ต้องมีการปรับรูปแบบทางขึ้ง-ลงให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบทั้งหมด 2 สถานี คือ สถานีผ่านฟ้า และสถานีสามยอด โดยแต่ละสถานีจะมีรายละเอียดคือ

1. สถานีผ่านฟ้า มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 4 ทาง

ทางขึ้น-ลงที่ 1 อยู่บริเวณตึกแถวเก่า โดยจะก่อสร้างอาคารทางขึ้น-ลง ให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ โดยทำเป็นรูปแบบอาคารเดิม แต่ปรับให้เป็นกระจกโปรง

ทางขึ้น-ลงที่ 2 อยู่บริเวณหน้าหาศิลป์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ โดยจะเป็นการก่อสร้างเป็นทางขึน-ลง ไม่มีหลังคา และลิฟต์เป็นแบบกระจกโปร่งใส เพื่อไม่ให้บดบังอาคาร

ทางขึ้น-ลงที่ 3 อยู่บริเวณหลังอาคารเทเวศร์ประกันภัย โดยทางขึ้น-ลง จะทำให้สอดคล้องกับอาคารโดยรอบ

ทางขึ้น-ลงที่ 4 อยู่บริเวณบ้านดารากรกฤษณา โดยทางขึ้น-ลง จะทำให้สอดคล้องกับอาคารโดยรอบ

ดูภาพสถานีผ่านฟ้าที่นี่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.938335399938273/938345346603945/?type=3&theater

2. สถานีสามยอด มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 4 ทาง

ทางขึ้น-ลงที่ 1 อยู่ในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เดิมเป็นอาคาร 2 ชั้น 6 คูหา ซึ่งอาคารทางขึ้น-ลงจะก่อสร้างให้เหมือนกับของเดิม ให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยรอบ

ทางขึ้น-ลงที่ 2 อยู่บริเวณอาคารโรงแรมบูรพาสามยอดเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่กำลังจะหมดสัญญา และพัฒนาเป็นสวนสาธารณะสามยอด โดยจะทำทางขึ้น-ลง ไม่มีหลังคา เพื่อไม่บดบังสวนและพื้นที่โดยรอบ

ทางขึ้น-ลงที่ 3 เดิมเป็นอาคารตึกแถว 3 ชั้น 4 คูหา จึงทำอาคารทางขึ้น-ลง ให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ

ทางขึ้น-ลงที่ 4 อยู่บริเวณหน้าสวนรมณีนาถ ซึ่งทางขึ้น-ลงเป็นตำแหน่งแหน่งหน้าป้อมและรั้วคุกเดิม จึงจำเป็นต้องลดขนาดแล้วป้องกันการบดบังของพื้นที่สำคัญ โดยที่ไม่มีหลังคาทางขึ้น-ลง และแท่นปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ

ปล่องระบายอากาศต่างๆ จะถูกปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่นบริเวณสวนหน้าวัดบวร ก็ปรับให้คล้ายกับอาคารเดิมของสวน

ดูภาพสถานีสามยอดที่นี่
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.938335399938273/938345419937271/?type=3&theater

ส่วนสถานีดาวคะนองนั้น ทางลอยฟ้า เชิ่อมตลาดดาวคะนองกลายเป็นของจำเป็นแล้วครับเพราะดูจากคำบ่นแล้วขืนไม่ทำหละไม่ดีแน่ สำหรับกรณีสถานีดาวคะนองนั้น ดูท่าจะต้องสร้างสะพานลอยข้ามชานชลากรณีลงผิดชานชลาเหมือนรถไฟฟ้ามหานครโซล หรือ สถานีรถไฟฟ้าวัดพระศรีสายสีชมพู
https://ww
w.facebook.com/Thailand.Infra/photos/p.938354356603044/938354356603044/?type=3&theater
ส่วนข้อที่ต้องตำหนิอย่างแรงพอๆกับกับการตัดสถานีมไหสวรรค์ คือ การไม่สร้างสถานีบางลำพู หรือ สถานีแถวสิบสามห้าง งานนี้ย่านบางลำพูคงเหงาไปเยอะเลย

ส่วนสถานีสะพานพุทธยอดฟ้า นั้น ดูจากตำแหน่งก็ไม่สมกะเป็น สะพานพุทธยอดฟ้าเท่าไหร่ ออกจะไปทางสถานี วงเวียนเล็ก หรือ สถานีสี่แยกบ้านแขกมากกว่า จนคิดๆ ว่าถ้าสร้างสถานีสะพานพุทธยอดฟ้าที่ฝั่งพระนครท่าจะได้เรื่องกว่าแม้จะใกล้กับปากทางเข้าสถานีสนามไชยตรงปากคลองตลาดก็ตามที

สถานีหอสมุดแห่งชาติมีปากทางเข้าอยู่ในรั้วหอสมุดแห่งชาติ
สถานีวชิระมีปากทางเข้าอยู่ในรั้ววัชิระพยาบาล
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/938335399938273
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2020 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มวันนี้! BEM แจกหน้ากากผ้า 1 ล้านชิ้นฟรี ผู้โดยสารรับได้ 53 สถานี 06.30-09.00 น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 11:39
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 12:41
BEM แจกหน้ากากผ้าฟรี 1 ล้านชิ้น ผู้โดยสาร “รถไฟฟ้าMRT-สีม่วง” ถึงส.ค.นี้
เผยแพร่:
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา09:06 น.


BEM เปิดตัวโครงการ “Healthy Journey with BEM” แจกหน้ากากผ้าฟรี 1 ล้านชิ้น! เริ่มวันนี้ รับได้ที่สถานีที่มีประกาศ ส่วนเติมเงิน 500 บาท รับเลยไม่ต้องรอคิว เผยคลายล็อกดาวน์ผู้โดยสารเริ่มเดินทางเพิ่มเป็น 1.6 แสนเที่ยวคน/วัน

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยืนยันถึงความพร้อมในการให้บริการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง โดยตระหนักถึงสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและพนักงานเป็นลำดับแรก MRT จึงยังคงมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ BEM ได้จัดทำโครงการ “Healthy Journey BEM” เพื่อแทนความขอบคุณ ห่วงใย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า โดยแจกหน้ากากผ้า 1 ล้านชิ้นฟรี ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ส่งเสริมการสวมหน้ากากอนามัยเมื่อมาใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและส่วนรวม โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนจนถึงเดือนสิงหาคม 2563 โดยรับได้ที่สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ทั้ง 53 สถานี และจะแบ่งปันอีกส่วนหนึ่งให้แก่ชุมชนกว่า 21 ชุมชน และสถานศึกษารายรอบเส้นทางรถไฟฟ้าและทางด่วนกว่า 60 แห่ง สำนักงาน เขต กทม.16 เขต เทศบาลนนทบุรี เป็นต้น

สำหรับการแจกหน้ากากผ้าให้แก่ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม จะแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะสลับช่วงเวลากันและวนไปจนครบทั้ง 53 สถานี เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับหน้ากากอย่างทั่วถึงมากที่สุด ผู้โดยสารไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ พียงแต่ขอความร่วมมือรับหน้ากากผ้า 1 ท่าน/1 ชิ้น ตลอดรายการ โดยสามารถติดตามรายละเอียดกำหนดการแจกหนำกากผ้าได้จากสื่อมวลชนและช่องทางประชาส้มพันธ์ต่างๆ ของบริษัท

โดยจะแบ่งการแจกออกเป็น 3 ครั้ง ซึ่งจะมีการกำหนดช่วงเวลา ในการแจก เพื่อให้สามารถกระจายหน้ากากผ้าให้ผู้โดยสารไอย่างทั่วถึง โดยครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1-7 มิ.ย. 63 เวลา 06.30-09.00 น. ซึ่งจะมีประกาศสถานีที่จะมีการแจก ในวันและเวลาใด ส่วนเดือน ก.ค.และ ส.ค.นั้นจะมีการประชาสัมพันธ์ในลำดับต่อไป

และพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่เติมเงินบัตรโดยสารตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป รับฟรีหน้ากากผ้า 1ชิ้นที่ห้องออกบัตรโดยสารทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน 2563 เป็นตันไปจนกว่าของจะหมด

นอกจากนี้ ได้เพิ่มมาตรการดูแลด้านสุขอนามัย เตรียมแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดสำหรับผู้โดยสารกว่า 800 จุด มีการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในขบวนรถ ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า เย็น และเพิ่มรอบทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครึ่งชั่วโมง และดำเนินการมาตรการ รักษาระยะห่าง (Social Distancing) บริเวณสถานีและในรถไฟฟ้า โดยเพิ่มขบวนรถเสริมเป็น 49 ขบวนและเพิ่มความถี่ในการเดินรถในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าเย็น เพื่อลดความแออัดภายในขบวนรถ

นายสมบัติกล่าวว่า ทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศเคอร์ฟิวและมาตรการคุมเข้มโควิด ซึ่งคนส่วนใหญ่จะทำงานที่บ้านลดการเดินทาง โดยในเดือน เม.ย.มีผลกระทบหนักสุด โดยในส่วนของทางด่วน มีรถวิ่ง 5-6 แสนเที่ยว/วัน รถไฟฟ้ามีผู้โดยสารไม่ถึง 1 แสนเที่ยวคน/ วัน โดยเพิ่มกลับมาเพิ่มขึ้นหลังการผ่อนปรนมาตรการ โดยผู้ใช้ทางด่วนมีประมาณ 9 แสนเที่ยว/วัน หรือกลับมาในระดับ 80-85% ส่วนรถไฟฟ้าผู้โดยสารเฉลี่ย 1.6 แสนเที่ยวคน/วัน จากปกติ มี 4 แสนเที่ยวคน/วัน ซึ่งยังมีมาตรการเว้นระยะห่างอีกด้วย โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 3 การเดินทางภาพรวมจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ


อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนภาครัฐอย่างเต็มที่ในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โรค COVID-19 กลับมาแพร่ระบาดซ้ำ และขอให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าปฏิบัติตนด้วยวิธีการง่ายๆ
1. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการ
2. เว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
3. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์เจลที่มีให้บริการทั่วทุกพื้นที่ในสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

ลดค่าตั๋วสีม่วงถึงสิ้นก.ย. รฟม.ต่อมาตรการลดค่าครองชีพ - โควิด-19”ป่วนเลื่อนแผนรถไฟฟ้าภูมิภาค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 11 มิถุนายน 2563 - 18:45
ปรับปรุง: วันที่ 11 มิถุนายน 2563 - 18:50




บอร์ดรฟม.เคาะขยายลดค่าโดยสารสีม่วเหลือ20 บ.อีก3 เดือน และชะลอขึ้นราคาสีน้ำเงินถึงสิ้นปี ช่วยลดภาระประชาชน เผยผลกระทบ “โควิด-19”ต้อง ปรับแผนรถไฟฟ้าภูมิภาค อีก 6 เดือน ขณะที่ประเมินผลงาน"ผู้ว่าฯรฟม.”ผ่านฉลุย ลุ้น อีก6ด. งานหินกระตุ้นเดินทางเพิ่ม

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม. วันนี้( 11 มิ.ย.) มีมติเห็นชอบขยายเวลา การลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เหลือ 14-20 บาท ออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่ 1 ก.ค. ถึง 30 ก.ย.2563) ซึ่งเป็นมาตรการลดค่าครองชีพ ประชาชน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามากขึ้น

ทั้งนี้ การลดค่าโดยสารสายสีม่วง ไม่มีผลกระทบต่อภาวะเงินสดของรฟม. โดยสามารถนำรายได้จากค่าสัมปทานสายสีน้ำเงินมาช่วย แต่จะ ยังไม่สามารถวิเคราะห์ประเมินผลตอบรับจากการลดค่าโดยสารได้ เพราะเป็นภาวะไม่ปกติจาก โรคโควิด-19 ซึ่งผู้โดยสารเลดลงหลือไม่ถึง1หมื่นคน/วัน จากปีที่แล้ว ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยถึง6 หมื่นคน/วัน

โดยล่าสุดผู้โดยสารสายสีม่วงเริ่มเพิ่มขึ้น อยู่ที่กว่า 3 หมื่นคน แต่เนื่องจากยังมีมาตรการ เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้การรองรับผู้โดยสารในแต่ละขบวนมีจำกัด ซึ่งบอร์ดจึงให้ผู้ว่าฯ รฟม.วิเคราะห์สถานการณ์ผู้โดยสารช่วงครึ่งหลังปี 63 จนถึงกลางปี64 และเก็บข้อมูลกลุ่มผู้โดยสารที่ผู้ใช้บริการตามมาตรการลดค่าครองชีพ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณามาตรการหลังจากสิ้นสุดเดือนก.ย. ต่อไป

@ปรับแผนรถไฟฟ้าภูมิภาค ขยายเวลาศึกษา 6 เดือน

นายสราวุธกล่าวว่า โรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการของรฟม. โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในภูมิภาค จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และนครราชสีมา. ที่อยู่ระหว่างศึกษา เพราะยังไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็น การมีส่วนของของประชนได้ตามขั้นตอน ดังนั้น จึงต้องปรับแผนงานตารางโครงการออกไปประมาณ 3-6เดือน นอกจากนี้ จะต้องทบทวนการศึกษาในบางประเด็นที่ได้รับผลกระทบ เช่นปริมาณผู้โดยสาร ที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และเพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งไม่เกี่ยวกับโครงการสายสีส้ม สายสีม่วง ที่อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูลตามแผน

@ประเมินรอบ 6เดือน”ผู้ว่าฯรฟม.”ผ่านฉลุย

นอกจากนี้บอร์ดรฟม. ยังได้ประเมินการทำงานของนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯรฟม. รอบ6 เดือน (ก.ย.62-มี.ค.63) ซึ่ง ผ่านการประเมิน ด้วยคะแนนค่อนข้างดี แม้จะมีโรคโควิด-19 ช่วง เดือน ปลายก.พ.-มี.ค.ที่ทำให้การเดินทางและจำนวนผู้โดยสารลดลง การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหยุดชะงัก ไปช่วงหนึ่ง ถือว่าตัวชี้วัดเสียเปรียบจากสถานการณ์ แต่เนื่องจากการทำงานในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ทั้งการก่อสร้างและปริมาณผู้โดยสาร อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก แต่สำหรับการประเมิน ช่วง6เดือนต่อจากนี้ คือ เม.ย.-ก.ย.63 ซึ่งยังมีผลกระทบใน เรื่อง โควิด-19 อยู่ จะเป็นช่วงที่ท้าทายการทำงานของรฟม. อย่างมาก ว่าจะสามารถพลิกวิกฤติที่มีเงื่อนไขในการให้บริการ หลายเรื่อง โดยจะหามาตรการใดมากระตุ้นให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม คาดว่า ปลายปีนี้หรือปีหน้า จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงินและสีม่วง อาจจะยังไม่กลับไปเท่าเดิม เนื่องจากยังมีปัจจัยลบ เช่น คนส่วนหนึ่งยังกลัวการติดเชื้อ จะยังไม่เดินทางด้วยรถไฟฟ้ารวมถึงนักท่องเที่ยว และส่วนหนึ่งยังมีเงื่อนไขมาตรการเว้นระยะห่าง

สำหรับการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทุก2ปี ซึ่งจะครบกำหนด ในวันที่3 ก.ค. 63 ตามสัญญาสัมปทาน 1บาท โดยนโยบายรมว.คมนาคมต้องการให้ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งบอร์ดรฟม.ได้อนุมัติตามเงื่อนไข โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BEM ได้มีหนังสือให้ความร่วมมือในการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราเดิมที่ 16 และสูงสุด42 บาท ต่อไปจนถึงสิ้นปี63 โดยไม่มีการสงวนสิทธิ์ใดๆ

คมนาคมลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง 20 บาทตลอดสายถึงก.ย.นี้
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
บอร์ดรฟม.ไฟเขียว ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงต่ออีก 3 เดือน
วันที่ 11 มิถุนายน 2563 - 17:29 น.


วันที่ 11 มิถุนายน 2563 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ จากปกติ 14-42 บาทต่อเที่ยว เหลือ 14-20 บาทต่อเที่ยว ออกไปอีก 3 เดือน


จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นวันที่ 30 กันยายน 2563 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางให้กับประชาชนตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะในช่วงนี้ รฟม.เข้าใจดีว่าประชาชนต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้จะมีการนำมติบอร์ดเรื่องดังกล่าวรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับทราบต่อไป

คมนาคมลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีม่วง 20 บาทตลอดสายถึงก.ย.นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 11 มิถุนายน 2563 - 18:57 น.



ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายนโยบายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปพิจารณาเรื่องการขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ออกไปถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ได้พิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลามาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ออกไปถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 จากเดิมสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม




ซึ่งจะมีผลให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ยังคงได้รับสิทธิ์ตามโปรโมชั่นค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จากอัตราปกติคือ จ่ายสูงสุด 42 บาท ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 และสำหรับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย ระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน จะจ่ายค่าโดยสารร่วมสูงสุดเพียง 48 บาท (เดินทางได้ถึง 53 สถานี) จากอัตราค่าโดยสารร่วมปกติคือ จ่ายสูงสุด 70 บาท ตลอดการขยายระยะเวลาโปรโมชั่นดังกล่าวด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ผู้โดยสารที่ได้รับสิทธิ์ส่วนลดพิเศษ ได้แก่ ส่วนลดค่าโดยสาร 50% สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ที่มีความสูงระหว่าง 91-120 ซม. และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และส่วนลดค่าโดยสาร 10% สำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี สามารถใช้สิทธิ์ส่วนลดพิเศษดังกล่าวเพิ่มเติมจากโปรโมชั่นได้



สายสีม่วงเฮ ลดค่าโดยสาร อีก 3 เดือน ถึง 30 ก.ย.63
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 11 มิถุนายน 2563 -16:43 น.

บอร์ด รฟม.ไฟเขียว ขยายเวลาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ต่อเนื่อง อีก 3 เดือน (1 ก.ค.- 30 ก.ย.63 ) หวังลดค่าครองชีพประชาชน หลังได้รับผลกระทบโควิด-19 ยืนยันมีสภาพคล่องต่อเนื่อง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ จากปกติ 14-42 บาทต่อเที่ยว เหลือ 14-20 บาทต่อเที่ยว ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิ.ย.63 เป็นวันที่ 30 ก.ย.63 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางให้กับประชาชนตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะในช่วงนี้ รฟม.เข้าใจดีว่าประชาชนต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2020 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT วิ่งยาวถึงเที่ยงคืน เริ่ม 15 มิ.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 12 มิถุนายน 2563 - 17:54

รฟม. –BEM แจ้งขยายเวลาให้บริการรถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงินและม่วงตามปกติ ถึง 24.00 น. ส่วนอาคารและลานจอดแล้วจรทุกแห่ง ใช้ได้ถึง 01.00 น. หลังศบค. ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว ตั้งแต่ 15 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 (ศบค.) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกเวลาการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) และผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมในระยะที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 นั้น

รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT จึงได้ปรับเวลาการให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เป็นเวลาปกติ โดยจะให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ตั้งแต่เวลา 05.30 – 24.00 น. และให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น.

ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบตารางการเดินรถและเวลารถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายได้จากประกาศภายในสถานี หรือ เฟซบุ๊ก MRT Bangkok Metro โมบายแอพลิเคชั่น Bangkok MRT เว็บไซต์ www.bemplc.co.th ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0 2624 5200

สำหรับอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม. จะเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 01.00 น. โดยปัจจุบัน รฟม. มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรที่สถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) และลานจอดแล้วจรที่สถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรที่สถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 รวมถึงที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ จำนวน 1 แห่ง คือ ลานจอดแล้วจรที่สถานีเคหะสมุทรปราการ

ทั้งนี้ การผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมในระยะที่ 4 นั้น จะส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จนใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติ รฟม. และ BEM ใคร่ขอความร่วมมือผู้โดยสารโปรดปฏิบัติตนในการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) ในการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า ด้วยการสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาการใช้บริการ รักษาระยะห่างในการใช้บริการตามมาตรการ Social Distancing ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง รวมถึงให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ในจุดให้บริการในสถานี เพื่อความปลอดภัยทางสุขอนามัยของทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2020 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

งานเข้าแบบเทตอม่อ อาคารพักผู้โดยสาร #ท่าเรือพระนั่งเกล้า #panrail
https://www.facebook.com/PanrailTH/posts/733270344143546?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 10:22 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า ‘ม่วงใต้’ บูมคุ้งบางกะเจ้า ชาวบ้านแห่ขายที่ดินพรึบ
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 03:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,590
วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Click on the image for full size

สายสีม่วงใต้ บูม คุ้งบางกะเจ้าปอดใหญ่ใกล้กรุง ดึงนักท่องเที่ยวไทย-เทศเข้าพื้นที่ ไม่ต้องเสียเวลานั่งเรือข้ามฝาก เผยชาวบ้าน คึกคักแห่ประกาศขายที่ดิน ไร่ละ 6-8 ล้านบาท รับความเจริญแผ่เข้ามา

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) นอกจากส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีแล้ว ยังเป็นเส้นทางมรดกทางวัฒนธรรมรท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างน่ามหัศจรรย์ เมื่อ ชาวชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ต่างยินดีปรีดา ว่ารถไฟฟ้าเส้นนี้กำลังนำพานักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุม เมืองเข้าพื้นที่สร้างสีสันความเจริญเป็นย่านเศรษฐกิจใหม่ที่น่าจับตา เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มุดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา พา
ผู้โดยสารขึ้นฝั่งวิ่งไปที่ ที่สถานีราษฏร์บูรณะและสถานีพระประแดง โดยไม่ต้องเดินทางจากใจกลาง เมืองมาลงที่บีทีเอสบางนา ต่อเรือบริเวณท่าเรือวัดบางนานอก ข้ามฟากไปยังคุ้งบางกระเจ้าที่ท่าเรือวัดบางน้ำผึ้งนอก อ.พระประแดง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาโอบล้อมให้พื้นที่นี้มีรูปทรงคล้ายกระเพาะหมู โอเอซีสใกล้กรุงที่มีไอเย็นจากฝั่งกทม.พัดผ่านเข้ามาตามฤดูกาล ทำให้กลายเป็นแลนด์มาร์กทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด ที่นี่กลายเป็นปอดใหญ่ใกล้เมืองที่ได้รับความนิยมขณะราคาที่ดิน เวลานี้บอกขายกันไร่ละ 7-8 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบางกะเจ้ายังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ สร้างอาคารได้ไม่เกิน 3 ชั้น

แต่เสียงสะท้อนของชาวบ้านจำนวนมากต้องการขยับขยายนำที่ดินออกขายให้ได้ราคา หรือไม่ก็ต้องการพัฒนาเชิงพาณิชย์รองรับความเจริญที่แผ่ขยายเข้ามาและประเมินว่า ราคาที่ดินจะขยับสูงกว่านี้ เพราะมีกระแสว่า นอกจากสวนมะพร้าวน้ำหอม การทำการเกษตร แล้วยังมีโฮมสเตย์ บ้านจัดสรร สถานที่พักตากอากาศ โรงแรม ขนาดเล็ก กึ่งรีสอร์ทที่จะเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งปัจจุบันมีนายทุนเข้าไปซื้อต่อจากชาวบ้าน และจากการสำรวจพบว่า มีที่ดินประกาศขายหลายแปลง อาทิ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ที่ดินซ.เพชร หึงษ์ 14 (ซอยหลัง รร.วัดป่าเกด) สภาพแวดล้อมทางเข้าติดถนน สภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติ เฉลี่ยแปลงละ 1-2 ไร่ โดยแปลงนี้บอกขายไร่ละ 6 ล้านบาท หรือตารางวาละ 15,000 บาท

แหล่งข่าวจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ได้ศึกษาพื้นที่จัดวางผังเมืองเฉพาะพื้นที่ บางกะเจ้าซึ่งพบว่ามีประชาชนต้องการปลดล็อกที่ดินให้อยู่นอกเขตควบคุม เพื่อออกขายหรือ นำไปพัฒนา ให้เกิดช่องทางสร้างรายได้ที่สูงกว่าตามศักยภาพที่ควรจะเป็นเนื่องจากอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามได้เสนอแนะว่าควรกำหนดโซน ให้ชัดเจน อนุรักษ์ไว้และเปิด พื้นที่บางส่วนพัฒนา เพื่อไม่รอนสิทธิ์จนเกินไป ทั้งนี้ คุ้งบางกะเจ้า หรือพื้นที่สีเขียวกระเพาะหมู เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ประกอบด้วย พื้นที่ 6 ตำบล คือ ต.บางน้ำผึ้ง ต.บางยอ ต.บางกอบัว ต.บางกะสอบ ต.บางกะเจ้า และ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 11,819 ไร่มีครัวเรือน 13,209 ครัวเรือน ประชากร 39,226 คน มีพื้นที่สีเขียวประมาณ 5,600 ไร่

ขณะกลางใจเมือง ฝั่งพระนคร รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จะผ่านย่านประวัติศาสตร์สำคัญ เกาะรัตนโกสินทร์มรดกกรุงเก่า ซึ่งกทม.มีแผนพัฒนาเป็นย่านเศรษฐกิจใหม่รองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผ่านย่านชุมชนการค้าเก่าแก่ อย่างบางลำพู วังบูรพา แยกสามยอด เชื่อมสายสีน้ำเงินไปยังเยาวราชชุมชนเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่สามารถดึงคนเข้าพื้นที่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ตลอดเส้นทาง อย่างวังบางขุนพรมธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะย่านสามเสน เกียกกายมีอาคารรัฐสภาใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีการซื้อขายที่ดินจากโรงเลื่อยเก่าเป็นคอนโด มิเนียมกันมาก นักท่องเที่ยวอาจเลาะชุมชนริมน้ำ เยี่ยมชมอาคารรัฐสภาแห่งนี้ ได้

ราคาที่ดินบริเวณนี้ไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนต่อตารางวา ขณะ สถานีเชื่อมเตาปูน สายสีน้ำเงิน สายสีม่วงใต้และสายสีม่วงเหนือ (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่จะรับผู้โดยสารวิ่งข้ามไปยังจังหวัดนนทบุรี ได้อย่างสะดวก ซึ่งสายสีม่วงจะเชื่อมทั้งกทม.ฝั่นธนบุรี-ฝั่งพระนครและข้ามไปอีก2จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการและนนทบุรีดังกล่าว

ขณะการประมูลเส้นทางสายสีม่วงใต้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเปิดประมูลงานโยธา ภายในปีนี้ ซึ่งแหล่งข่าวจากรฟม. ยืนยันว่า จะเปิดประมูลให้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้หากไม่ได้จะต้องไม่เกินปลายปีนี้ เพื่อเป็นการติดเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางเศรษฐกิจซบเซาให้เกิดการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม มองว่าเอกชนน่าจะให้ความสนใจ ไม่แพ้สายสีส้ม โดยเฉพาะบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็มซึ่งรับจ้างเดินรถให้กับรฟม.อยู่แล้วน่าจะ ดำเนินการส่วนนี้ต่อ สอดคล้องกับ นายสมบัติ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ระบุว่า บริษัทมีความพร้อม ประมูลและเดินรถสายสีม่วงใต้ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายสายสีม่วงในปัจจุบัน

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ระบุว่า เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ น่าจะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตามแนวเส้นทางได้อย่างแน่นอน โดยลำดับแรกน่าจะทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมากขึ้นในอนาคต แต่อาจจะไม่ใช่ตลอดเส้นทางเพราะว่าเส้นทางช่วงตั้งแต่สถานีเตาปูนลงไปทางทิศใต้นั้น ผ่านสถานที่สำคัญและมีข้อจำกัดในการพัฒนาที่ค่อนข้างมากเช่น กฎหมายผังเมือง ห้ามก่อสร้างอาคารสูงแต่มีหลายจุดหรือหลายทำเลที่น่าสนใจ เช่น

1. พื้นที่รอบๆ สถานีเตาปูน แม้ว่าจะเหลือที่ดินให้พัฒนาไม่มากแต่โครงการนี้จะทำให้สถานีเตาปูนเป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟฟ้า 2 เส้นทางที่สมบูรณ์แบบในอนาคต

2. พื้นที่รอบๆ สถานีผ่านฟ้าที่จะเป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกในอนาคต แม้จะมีข้อจำกัดในการพัฒนาค่อนข้างมาก แต่ช่วยให้การเดินทางเข้ามายังเขตเมืองเก่าของคนรอบนอกมีความสะดวกมากขึ้น

3.พื้นที่รอบๆ สถานีสามยอด (วังบูรพา) เป็นอีกพื้นที่ที่น่าสนใจเพราะอยู่ในเยาวราช แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและยังสามารถเดินทางมาจากเขตเมืองเก่าที่สถานีวังบูรพาได้ด้วย

4.พื้นที่รอบๆ สถานีวงเวียนใหญ่ที่อาจจะเป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงในอนาคต (ถ้าสายสีแดงมีการพัฒนา) แต่ปัจจุบันพื้นที่รอบๆ สถานีก็มีความน่าสนใจอยู่แล้วเพราะไม่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสีลม และ

5. พื้นที่รอบๆ สถานีต่างๆ ที่อยู่บนถนนสุขสวัสดิ์ก็เป็นอีกพื้นที่ที่น่าสนใจเพราะสามารถพัฒนาอาคารสูงและเป็นชุมชนขนาดใหญ่ อีกทั้งปัจจุบันก็มีโครงการคอนโดมิเนียมทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่อยู่หลายโครงการแล้ว และเป็นพื้นที่ที่มีโครงการคอนโดมิเนียมมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

วันที่ ๖ สิงหาคม ครบรอบ ๔ ปีของการเปิดให้บริการเดินรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง
"ฉลองรัชธรรม เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม"
-------------------------------------------------
#วิสัยทัศน์ รฟม. (พ.ศ.2560-2565)
เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2574769019406483/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2020 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ 11 เขต 1 อำเภอ
คุณภาพชีวิต
7 สิงหาคม 2563
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ 11 เขต 1 อำเภอ
7 สิงหาคม 2563 - 21:43 น.

ราชกิจจาฯ เผยแพร่พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 8 เขตในกทม.-อ.พระประแดง
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 - 19:42 น.


ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ 11 เขต กรุงเทพมหานคร และ 1 อำเภอ จังหวัดสมุทรปราการ

7 สิงหาคม 2563 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563"

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี

มาตรา 5 เขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 ให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

มาตรา 7 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน

มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์เข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

REF: พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๓

วันเดียวกัน เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 และมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563"

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป



มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี

มาตรา 4 ที่ดินที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

มาตรา 5 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะและการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้ดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

REF: พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๓
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2020 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ 11 เขต 1 อำเภอ
คุณภาพชีวิต
7 สิงหาคม 2563
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ 11 เขต 1 อำเภอ
7 สิงหาคม 2563 - 21:43 น.

ราชกิจจาฯ เผยแพร่พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 8 เขตในกทม.-อ.พระประแดง
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 - 19:42 น.


REF: พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๓

REF: พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๓



คลอดแล้วพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” วงเงิน1.5หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 - 22:51 น.

คลอดแล้ว! พรฏ.เวนคืน รถไฟฟ้า"สายสีม่วงใต้" 8เขตกทม.ยันพระประแดง
วันที่ 8 สิงหาคม 2563 -10:34 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
คลอดแล้ว! พรฏ.เวนคืนรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2563
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.ฎ.กำหนดที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ และอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 2563

เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน -ราษฎร์บูรณะ

พ.ร.ฎ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันถัดไปที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลบังคับใช้ 4 ปี โดยมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพ.ร.ฎ.นี้ และกำหนดให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนตามพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่พ.ร.ฎ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้

สำหรับพ.ร.ฎ.เวนคืนฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา จะเวนคืนที่ดินประมาณ 410 แปลง อาคารสิ่งปลูกสร้าง 267 หลังคาเรือน และเวนคืนเพื่อเป็นจุดขึ้น-ลง 17 สถานี พื้นที่ก่อสร้างที่จอดรถไฟฟ้า (เดโป้) 50 ไร่ โดยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ กำหนดกรอบวงเงินไว้ประมาณ 15,913 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ รฟม.ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ประกาศ พรฏ เวนคืน เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ส่วนต่อขยายใต้ ช่วง เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
8 สิงหาคม 2563

Update ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วง เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ ได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกาเวนคืน ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2563

หลังจากนี้ก็จะเข้าสู่กระบวนการสำรวจพื้นที่ เพื่อเตรียมเวนคืน และจ่ายค่าชดเชยเวนคืน ตามขั้นตอนทางกฏหมาย

ความน่าสนใจของขอบเขตพื้นที่การเวนคืนคือ จะมีขอบเขตการสำรวจการเวนคืน 200 เมตร ตลอดแนวเส้นทาง แต่จะมีพื้นที่ๆ มีความกว้างมากกว่า ปรกติ 7 จุดคือ

1. บริเวณถนนทหาร ซึ่งตรงนั้นจะก่อสร้างพร้อมกับถนนผังเมือง ง.8 เส้นใหม่ โดยทางรถไฟจะลดระดับลงระดับใต้ดิน (Transition Structure) แล้วเลี้ยวขวาบนถนนทหาร ทำให้ต้องมีขยายเขตการเวนคืน แต่อยู่ในเขตพื้นที่ทหาร

2. บริเวณบางลำพู เป็นการตีโค้งของอุโมงค์จากบนถนนสามเสน เลี้ยวไปบนถนนพระสุเมรุต้องใช้พื้นที่มากกว่าปรกติ

3. บริเวณวงเวียนใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการทำทางขึ้น-ลง ของสถานีรถไฟฟ้า วงเวียนใหญ่ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงในวงเวียนด้วย

4. บริเวณโค้งหน้าซอยสุขสวัสดิ์ 1 ระหว่าง สถานีดาวคะนอง กับ สถานีบางปะแก้ว ซึ่งจุดนี้ก็เป็นโค้งแคบ เลยอาจจะต้องมีการตีโค้งเพิ่มเติม

5. บริเวณสถานีบางปะกอก ซึ่งเป็นการเวนคืนเพื่อก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร

6. บริเวณสถานีราษฎร์บูรณะ เป็นการเวนคืนเพื่อก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร เช่นกัน

7. ปลายทาง ที่บริเวณติดวงแหวนกาญจนาภิเศก ด่านบางครุ จะเป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Depot) ของโครงการส่วนนี้ เพื่อเป็นโรงจอดและซ่อมบำรุงเบาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งสาย

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/992789004492912
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 121, 122, 123  Next
Page 76 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©