Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179870
ทั้งหมด:13491102
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 214, 215, 216 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2020 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

‘BEM’ ประกาศชิงรถไฟฟ้า 2 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
25 พฤษภาคม 2563 เวลา 14:25 น.

“บีอีเอ็ม”พร้อมประกาศชิงประมูล แพ็กเกจสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี 35 กม. ค่าก่อสร้าง-สัมปทานเดินรถ ทั้งระบบ 2 แสนล้าน แยกเป็นงานโยธาสีส้มตะวันตก 9 หมื่นล้าน ปีหน้าลุยต่อม่วงใต้ 1 แสนล้าน มั่นใจแข่งดุเดือด
หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์การระบาดไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 2 พบว่าปริมาณผู้โดยสาร ทั้งทางพิเศษ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มีสัดส่วนผู้โดยสารกลับมาใช้บริการ 80% เทียบจากปริมาณรถยนต์บนทางด่วน ช่วงสถานการณ์ปกติ ที่ 1.1 ล้านคัน ต่อวัน รถไฟฟ้า 5 แสนคนต่อวัน คาดว่าภายในไตรมาส 3 สถานการณ์น่าจะคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม BEM ได้รับผลกระทบไม่รุนแรงนักเนื่องจากเป็นธุรกิจดึงคนเข้า สู่ระบบการเดินทาง อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อม มีกระแสเงินสด ทรัพย์สิน สภาพคล่องค่อนข้างคล่องตัว สามารถลงทุนโครงการใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ ของนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ระบุว่า ภายในปีนี้ บริษัทมีความพร้อมลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม- บางขุนนนท์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเปิดประมูลงานโยธาวงเงิน 9 หมื่นล้านบาท รูปแบบพีพีพี เน็ตคอสต์ โดยบริษัทหาเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าจากธนาคาร ที่เจรจาไว้แล้ว ทั้งนี้หากชนะประมูล บริษัทต้องลงทุนก่อน และรัฐจ่ายคืนในภายหลัง ขณะสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร รูปแบบจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งบมจ.ช.การช่าง กับพันธมิตรอยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนการสัมปทานเดินรถคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติผูกสายสีส้มตะวันออกและตะวันตก (สายสีส้มช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ไว้ด้วยกัน ซึ่ง BEM มั่นใจว่าน่าจะคว้าสัมปทาน คาดว่าเร็วๆ นี้รฟม.จะน่าเปิดขายซองส่วนการแข่งขันมองว่าค่อนข้างรุนแรงทั้งด้านราคาและคู่แข่ง เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีโครงการรถไฟฟ้าออกประมูลเพียงโครงการเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2020 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

จบโควิด BEM ลงทุนก้าวกระโดด เชื่อมใต้ดินสวนลุม-ศูนย์สิริกิติ์
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 - 13:26 น.

BEM ชี้ไตรมาส 3 ธุรกิจทางด่วน-รถไฟฟ้าพ้นจุดต่ำสุด โควิดกระทบกำไรทั้งปี ไตรมาส 4 อัดลงทุน ออกหุ้นกู้ 3,000 ล้าน ลุยเมกะโปรเจ็กต์ ผนึกพันธมิตรชิงงาน 2 แสนล้านสายสีส้ม-สีม่วงใต้ 3 ก.ค.ขึ้นค่าตั๋วสายสีน้ำเงิน เร่งเจาะอุโมงค์เชื่อมสถานีศูนย์สิริกิติ์-สามย่าน มิตรทาวน์-วันแบงค็อก

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่บริษัทยังคงมั่นใจปี 2563 ยังเป็นปีที่ดีของ BEM โดยช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้เซ็นสัญญาขยายสัมปทาน 15 ปี 8 เดือน ทางด่วนขั้นที่ 2 และบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้สิ้นสุดพร้อมกันวันที่ 31 ต.ค. 2578 เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายครบโครงข่าย 48 กม. เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และในไตรมาส 2 จะเข้าร่วมประมูลสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) และสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ในปี 2564

โควิดคลาย Q3 ผ่านจุดต่ำสุด
สำหรับสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบระยะสั้น คาดว่าในไตรมาสที่ 3 หลังเดือน มิ.ย. การเดินทางจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จากปัจจุบันรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้การเดินทางเริ่มไต่ระดับขึ้น ในช่วงเดือน พ.ค.มีผู้ใช้ทางด่วนกลับมา 80-85% ประมาณ 9 แสนเที่ยวคัน/วัน จากทั้งระบบ 1.2 ล้านเที่ยวคัน/วัน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะกลับมาช้า เพราะมีมาตรการเว้นระยะห่าง มียอดผู้โดยสารเฉลี่ย 1.5 แสนเที่ยวคน/วัน จากปกติ 4 แสนเที่ยวคน/วัน

“ตั้งแต่ ก.พ.-มี.ค. ทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและเคอร์ฟิว และมาตรการคุมเข้มโควิด เพราะคนทำงานอยู่บ้าน ทำให้การเดินทางลดลง ซึ่ง มี.ค.หนักสุด แต่พอเข้า เม.ย.เริ่มผ่านจุดต่ำสุด แต่มีวันหยุดเยอะ ตอนนั้นทางด่วนมีรถวิ่ง 5-6 แสนเที่ยวคน/วัน รถไฟฟ้าผู้โดยสารเหลืออยู่ 30% เพิ่งกลับมาดีขึ้นช่วง พ.ค. และได้เพิ่มรถเสริมเป็น 49 ขบวน และเพิ่มความถี่เดินรถช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็น ลดความแออัดในขบวนรถและเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ”

คาดทั้งปีรายได้-กำไรลดลง
จากผลกระทบโควิดทำให้ผลประกอบการไตรมาสแรกลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้รวม 3,889 ล้านบาท แยกเป็นทางด่วน 2,300 ล้านบาท รถไฟฟ้า 1,293 ล้านบาท แต่ยังกำไร 508 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2 ยังไม่พ้นจุดต่ำสุด แต่มั่นใจว่าไตรมาสที่ 3 หลังรัฐบาลเปิดเมือง รายได้ทางด่วนและรถไฟฟ้าจะกลับมาทันที 70% และฟื้นตัวเต็มที่ 100% ในไตรมาสที่ 4

“รายได้ปีนี้ทั้งปีลดแน่นอนเพราะโควิด แต่จะลดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับรัฐจะผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 3-4 เมื่อไหร่ หากเร็วทุกอย่างก็กลับมาเร็วขึ้น ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้จากทางด่วน 10,302 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟ้ามีรายได้ 5,022 ล้านบาท และรายได้เชิงพาณิชย์กว่า 700 ล้านบาท มีกำไร 5,000 ล้านบาท ทั้งธุรกิจทางด่วนและรถไฟฟ้ายังเป็นธุรกิจเติบโตทุกปี ซึ่งทางด่วนยังโตเฉลี่ยปีละ 1-2% โดยเฉพาะโครงข่ายนอกเมืองโต 4-5%”


3 ก.ค.ขึ้นค่าตั๋วสีน้ำเงิน 1 บาท
ขณะเดียวกันในฐานะที่ BEM เป็นคู่สัญญากับรัฐ เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย ได้ทำหนังสือถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอสงวนสิทธิ์เมื่อเกิดผลกระทบกับทางด่วนและรถไฟฟ้าเช่นนี้ ตามสัญญาจะมีการบริหารความเสี่ยงอย่างไร เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและรอนโยบายจากภาครัฐ

” 3 ก.ค.เราต้องขึ้นค่าโดยสารสายสีน้ำเงินตามสัญญาปรับทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภคหรือ CPI คำนวณแล้วปรับขึ้น 1 บาทในบางสถานีเท่านั้น ส่วนอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นและสูงสุดยังคงเดิม 16-42 บาท รอ รฟม.อนุมัติ และยังเตรียมจัดโปรโมชั่นให้ผู้ใช้บริการด้วย”

สภาพคล่องล้นลุยชิงดำสายสีส้ม
สำหรับสภาพคล่องของบริษัทยังมีกระแสเงินสด 8,000-9,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับดำเนินธุรกิจในปีนี้จะเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.28 แสนล้านบาท จะร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง ซึ่ง รฟม.จะเปิดประมูลเดือน มิ.ย. และปีหน้าจะร่วมประมูลสายสีม่วงใต้อีกกว่า 1 แสนล้านบาท หาก BEM ชนะทั้ง 2 โครงการ ทำให้ปริมาณผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าเติบโต10-20% ต่อปี ในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า

“สายสีส้มเรามั่นใจ เพราะมีประสบการณ์สร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน รู้ต้นทุนดี เป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง ทำการบ้านไว้หมดแล้ว คุยกับแบงก์หลายแห่งสนับสนุนเงินลงทุน ซึ่งสายสีส้มเป็นการลงทุน PPP รัฐจ่ายค่าเวนคืนและอุดหนุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท ใน 10 ปี เอกชนลงทุน 32,116 ล้านบาท งานระบบและรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย 30 ปี เป็นงานใหญ่ของปี ที่รัฐต้องรีบผลักดันให้มีการลงทุน จากปัญหาเศรษฐกิจ ก็ต้องสู้กันเต็มที่ ใครบริหารต้นทุนการเงินดี ก็มีโอกาสชนะสูง”

จ่อออกหุ้นกู้ 3 พันล้าน
ในเร็ว ๆ นี้ บริษัทจะออกหุ้นกู้ 3,000 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนดเดือน ต.ค.นี้ 2,500 ล้านบาท จากหนี้ทั้งหมด 60,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้จากการลงทุนทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

นายสมบัติกล่าวอีกว่า รถไฟฟ้านอกจากจะทำให้คนเดินทางสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังเปลี่ยนโฉมการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ในแนวเส้นทาง มีศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม สำนักงาน หรือแม้แต่การสร้างทางเดินเชื่อมเข้ากับสถานี โดยที่ผ่านมาสายสีน้ำเงินมีโครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ สร้างเชื่อมใต้ดินกับสถานีเพชรบุรี ศูนย์การค้าสามย่าน มิตรทาวน์ สร้างอุโมงค์เชื่อมกับสถานีสามย่าน ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค สร้างทางเชื่อมกับสถานีบางแค ยังมีโครงการวันแบงค็อกสร้างอุโมงค์เชื่อมทะลุสถานีลุมพินี และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโฉมใหม่ มีทางเชื่อมใต้ดินกับสถานีรถไฟฟ้าด้วย จะเปิดบริการในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2020 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

EP.4 Monorail/รถไฟรางเดี่ยว มันคืออิหยังวะ!!!
รถไฟฟ้าMonorail หรือ รถไฟฟ้ารางเดี่ยว อยู่ในเกณฑ์นั้นด้วยเช่นกัน คือสามารถรับผู้โดยสารได้สูงสุดมากกว่า 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

—————————
การออกแบบเส้นทางของรถไฟฟ้าในเมือง ของ Light Rail (Monorail)

ซึ่งเป็นระบบรองของ Heavy Rail ลงมา เรียกว่า Minor Trunk Route ซึ่งจะเป็นการขยายเขตการให้บริการของสายหลัก เพื่อส่งคนจากเขตชานเมืองที่มีความหนาแน่นต่ำเข้าสู่ระบบหลัก

ซึ่งการออกแบบเส้นทางจะไม่ได้เป็นการวิ่งตรงเข้าสู่เขตกลางเมือง แต่เป็นการวิ่งด้านนอกเมือง และเน้นการตัดกับ สายหลัก เพื่อส่งถ่ายคนเข้าสู่ระบบหลัก เพื่อเป็น Feeder ให้กับสายหลัก ไม่ได้คาดหวังให้ผู้โดยสารนั่งระยะยาวบนสายทาง

เช่น การเดินทางของสายสีชมพู จากพื้นที่รามอินทรา มาเพื่อเปลี่ยนรถกับ รถไฟฟ้า สายลีส้มที่มีนบุรี สายสีเทาที่วัชรพล และ สายสีเขียว ที่วัดพระศรีมหาธาตุ

โดยทำสถานีถี่ในระยะ 1-2 กิโลเมตร/สถานี เพื่อรับคนให้มากที่สุด ให้ประชาชนในระยะ 1 กิโลเมตรรอบสถานี สามารถเดินถึงสถานีได้ในเวลา 10-15 นาที เช่นเดียวกับ Heavy Rail
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/836895386748942/

รู้จัก Monorail สายสีสีชมพู ให้มากกว่านี้ในงาน Asia Pacific Rail 2020

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/845079625930518/

EP.4.1 Monorail แบบคร่อม กับแบบแขวน มันต่างกันยังไง?? แล้วทำไมเราถึงเลือกแบบคร่อม??
เรามาทำความรู้จัก Monorail ทั้ง 2 แบบก่อนครับ

1. แบบคร่อม (Straddle Type) ซึ่งเป็นแบบที่เราใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และเหลือง รวมถึงเป็นที่นิยมทั่วโลกมากกว่า 80% ของระบบ Monorail
ซึ่งมาตรฐานแบบคร่อมที่ใช้ในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน ALWEG
ต้นแบบโครงการ อยู่ที่ Cologne ประเทศเยอรมัน ตะวันตก (ในขณะนั้น)
ลิ้งค์เว็บไซต์ ข้อมูล ALWEG
http://alweg.de/alwegarchives.html

2. แบบแขวน (Suspended Type) ที่หลายๆคนถามถึง ซึ่งในญี่ปุ่นเองมีใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนจริงๆ แค่ 2 โครงการ จาก 8 โครงการ แต่ทั่วโลกก็มัใช้จริงๆ ไม่น่าเกิน 10 โครงการ
ซึ่งมาตรฐานของแบบแขวนที่ใช้ในปัจจุบันคือ มาตรฐาน SAFEGE
ต้นแบบอยู่ที่ ฝรั่งเศส แต่ได้เลิกไปแล้ว
ลิงค์เว็บไซต์ ข้อมูล SAFEGE
http://www.monorails.org/tMspages/TPSafege.html
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/846325695805911/?d=n

จักรวาล ขนส่งมวลชน EP.4.2 สงสัยมั้ย ทำไม Monorail ถึงสร้างไวจัง ทำอย่างไร???
ก่อนอื่นเราต้องดูที่ความแตกต่างของตัวรถ Monorail ที่มาใช้ในสายสีชมพู และ เหลืองก่อน

ซึ่งเราใช้รุ่น Innovia Monorail 300 ของ Bombardier

monorail มีน้ำหนักตัวเปล่าเพียง 14 ตัน (ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร)

ซึ่งเทียบกับ รถไฟฟ้า ของ BTS ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) ของเราใช้ของ Siemens มีน้ำหนักถึง 138 ตัน/ ขบวน หรือตู้ละ 34 ตัน

ดังนั้น โครงสร้างของโครงการ BTS จึงต้องรับน้ำหนักตัวรถ และผู้โดยสารมากกว่า Monorail มากๆ

จึงทำให้โครงสร้างของ BTS ต้องเป็นการหล่อเสาในที่ เมื่อเทียบกับ Monorail ซึ่งเบากว่าสามารถใช้โครงสร้างสำเร็จรูปได้
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/941887252916421?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2020 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายใหม่ ปีนี้ได้นั่งชัวร์ สีเขียว-สีทอง
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 มิถุนายน 2563 - 17:55 น.

หลังรัฐบาลทุ่มเม็ดเงินมหาศาล โหมสร้างรถไฟฟ้าสารพัดสีกันมาหลายสาย-นานหลายปี

ในปี 2563 นี้ มีคิวทยอยเปิดหวูด เพื่อเพิ่มทางเลือกให้คนกรุงได้ใช้บริการหลีกเลี่ยงรถติดบนท้องถนน

4 มิ.ย.เปิดสีเขียวถึงวัดพระศรีฯ
เปิดบริการแน่วันที่ 4 มิ.ย.นี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” เชื่อมการเดินทางจากชานเมืองยิงยาวเข้าสู่ใจกลางเมือง มี “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกดปุ่ม

หลัง “กทม.-กรุงเทพมหานคร” เจ้าของโครงการ และ “BTS-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” ซึ่งปัจจุบันยังมีสถานะเป็นผู้รับจ้างเดินรถก่อนจะเป็นผู้ครอบครองสัมปทานสายสีเขียวทั้งโครงการในอนาคต จากการทุ่มเงินแสนล้านร่วมลงทุนรับภาระหนี้แทน กทม.

ที่ผ่านมาไล่ทยอยเปิดมาถึง “สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ล่าสุดกำลังทดสอบระบบให้พร้อมเปิดเพิ่ม 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และเปิดตลอดสายถึงปลายทางสถานีคูคตครบ 16 สถานีภายในปลายปี 2563 ส่วนค่าโดยสารคิดตามระยะทางจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียวในอัตรา 15-65 บาท


ต.ค.สายสีทองปลุกฝั่งธนฯคึก
ตามมาติด ๆ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” ที่กลุ่มไอคอนสยามทุ่มเงิน 2,000 ล้านบาท จับมือ กทม.เนรมิตเฟสแรก จากกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ระยะทาง 1.7 กม. ขณะนี้อาศัยจังหวะโควิด-19 โหมสร้าง 24 ชั่วโมง ให้เสร็จพร้อมรับการทดสอบระบบ

ไล่จากไทม์ไลน์ที่ “KT-บจ.กรุงเทพธนาคม” เซตไว้ร่วมกับ BTS ผู้รับจ้างจัดหาระบบและเดินรถ หลังขบวนรถสั่งผลิตจากจีน มาถึงประเทศไทย ประมาณวันที่ 10-11 มิ.ย. จะเริ่มทดสอบภายในเดือน มิ.ย. จากนั้นเดินรถเสมือนจริงในเดือน ก.ย. และเปิดบริการอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. 2563 เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย รับกับสถานการณ์ที่รัฐคลายล็อกดาวน์เปิดเมืองเต็มรูปแบบพอดี

มี 3 สถานี ได้แก่
1.สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส
2.สถานีเจริญนคร (ไอคอนสยาม) อยู่บริเวณเจริญนคร 6 และ
3.สถานีคลองสาน เยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน พร้อมทางเดิน sky walk

สายสีแดงเลื่อนเปิดยาวถึงปี’65
ที่ยังลุ้นกันต่อไป “รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง” ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต หลัง “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ปักหมุดเป็นมั่นเป็นเหมาะจะเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 ล่าสุดต้องยอมจำนนเลื่อนยาว 1 ปี เป็นในปี 2565 หลังรับเหมาแท็กทีมขอต่อเวลาออกไปอีก โดยเฉพาะสัญญาที่ 3 งานระบบที่ขอยืดเวลาจากสิ้นสุดสัญญาในเดือน มิ.ย.นี้ ไปถึงเดือน ต.ค. 2564

ขณะที่นโยบายการเดินรถยังไม่นิ่ง จะเป็นบริษัทลูกโดย “บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด” ที่มีประสบการณ์เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์มารับไม้ต่อสายสีแดง หรือจะเปิดให้เอกชนมืออาชีพมาร่วมลงทุนทั้งสายสีแดงสายหลักที่ยังต้องการเงินอัดฉีดเพิ่มกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยายใหม่ แลกสัมปทานเดินรถ

ตามที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” มีความปรารถนาอยากใช้โมเดลนี้ทะลวงการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ท่ามกลางสถานการณ์งบประมาณรัฐที่หมดไปกับการถอนพิษโควิด-19

ถึงแม้หลายคนจะปรามาสแนวคิดของบิ๊กคมนาคม ว่าสุดโต่ง ทั้งที่ขบวนรถมาจอดรอออกวิ่งอยู่แล้ว โดยตามแผนเดิมของ ร.ฟ.ท.วางไว้ในเดือน ธ.ค.นี้ จะทดสอบเดินรถเสมือนจริง จากนั้นประมาณเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564 จะเปิดทดลองใช้บริการฟรี 3-5 เดือน

รอเคาะผู้เดินรถ
แต่หากย้อนดูความเป็นมาของรถไฟฟ้าสายนี้จริง ๆ กว่าจะเข็นงานก่อสร้างออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เห็นปัจจุบันเจอสารพัดปัญหา ต้องปรับเพิ่มงบประมาณไปถึง 5 ครั้ง และกำลังขอคณะรัฐมนตรีขยายกรอบวงเงินก่อสร้างอีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท

หากได้รับไฟเขียวนับเป็นครั้งที่ 6 จากเนื้องานที่เพิ่มและค่าเคลมของผู้รับเหมาที่ขยายเวลา เป็นภาระงบประมาณของรัฐและเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะของประเทศ

ที่สำคัญ ร.ฟ.ท.ยังเคลียร์ปัญหาไม่จบ ไม่ว่าจะเป็นกระแสไฟฟ้าที่จะนำมาจ่าย ศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) ที่ยังสร้างไม่เสร็จ การบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อยังไม่รู้จะไปทิศทางไหน และอื่น ๆ อีกจิปาถะ หากเคลียร์ไม่จบอาจจะมีน้ำลดตอผุดตามมาภายหลัง

สีชมพูแบ่งเปิด 3 เฟส
ที่ไม่ต้องลุ้นให้เหนื่อย เพราะมาตามสัญญาแน่ ๆ แม้งานก่อสร้างจะล่าช้า นั่นคือรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย “สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง” ได้กลุ่มบีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป ทุ่มทุนสร้างแสนล้าน แลกสัมปทาน 30 ปี

ความก้าวหน้า “สราวุธ ทรงศิวิไล” อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. วันที่ 20 พ.ค. 2563 อนุมัติขยายระยะเวลาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้กับเอกชนผู้รับสัมปทานออกไปอีก 365 วัน หรือ 1 ปี จากเดิมสัญญาสิ้นสุดเดือน ต.ค. 2564 เป็นเดือน ต.ค. 2565

มีปัญหาส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง 8 จุด ในแนวถนนติวานนท์และแจ้งวัฒนะจุดใหญ่อยู่ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ติดการใช้พื้นที่ของกรมทางหลวงที่ให้สถานีตำรวจบางเขนใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถ จะต้องจัดหาพื้นที่ใหม่เป็นการทดแทน ซึ่งเอกชนขอขยายเวลามา 430 วัน แต่บอร์ดอนุมัติให้ทั้งโครงการ 365 วัน

“เคลียร์ปัญหาพื้นที่จบแล้ว เอกชนก็เดินหน้าก่อสร้าง ซึ่งปลายปีนี้รถขบวนแรกจะมาถึงประเทศไทย จะทำการทดสอบก่อนเปิดบริการ 6 เดือน คาดว่าเริ่มในเดือน เม.ย. และทดสอบเสมือนจริงเดือน ส.ค. 2564”

แต่เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของเอกชนและปัญหาการจราจร จะทยอยเปิดบริการเป็น 3 ช่วง ในเดือน ต.ค. 2564 จะเปิดจากสถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการ เชื่อมกับสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ แต่จะไม่จอดทุกสถานี เช่น สถานีนพรัตน์ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น อีก 6 เดือน หรือในเดือน เม.ย. 2565 เปิดจากสถานีศูนย์ราชการ-สถานีกรมชลประทาน และเปิดตลอดสายถึงแคราย ต.ค. 2565

สีเหลืองแบ่งเปิด 2 เฟส
สำหรับ “สายสีเหลือง” นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. อัพเดตว่า บอร์ด รฟม.อนุมัติการขยายเวลาก่อสร้างให้ไปแล้ว จำนวน 265 วัน ติดการส่งมอบพื้นที่ทำให้สร้างช้ากว่าแผนงานที่จะเสร็จเปิดบริการในเดือน ต.ค. 2564 เป็นในเดือน ก.ค. 2565

เช่น แยกบางกะปิพื้นที่ทับซ้อนกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องปรับแบบรื้อสะพานสร้างใหม่ การรื้อย้ายสาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า การเข้าใช้พื้นที่ถนนของกรมทางหลวง (ทล.) ช่วงศรีนครินทร์-สมุทรปราการ ปรับแบบอาคารจอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) ที่สถานีวัดศรีเอี่ยม เป็นต้น

“สายสีเหลืองเพื่อช่วยเอกชนผู้รับสัมปทานให้มีรายได้ จะทยอยเปิดบริการเป็น 2 ช่วง เพราะรถขบวนแรกจะมาพร้อมสายสีชมพูปลายปีนี้ ในช่วงแรกจะเปิดตามสัญญาในเดือน ต.ค. 2564 จากสถานีสำโรง-พัฒนาการ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์ และในเดือน ก.ค. 2565 เปิดตลอดสายถึงสถานีลาดพร้าวเชื่อมกับสายสีน้ำเงิน โดยค่าโดยสารทั้ง 2 สายนี้ ทางเอกชนมีสิทธิจะเก็บได้ทันทีที่เปิดบริการ”

สีส้มตะวันออกคืบ 60%
ปิดท้าย “สายสีส้มตะวันออก” ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี งานก่อสร้างโดยรวมทั้ง 6 สัญญา คืบหน้ากว่า 60% ส่วนการเปิดบริการเนื่องจากงานระบบและจัดหาขบวนรถไปติดพันอยู่กับการเปิด PPP net cost ช่วงตะวันตกบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม

โดย รฟม.จะเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนกว่า 1.28 แสนล้านบาท ก่อสร้างช่วงตะวันตกและรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย 30 ปี โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท และอุดหนุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา

ขณะนี้รอประกาศราชกิจจานุเบกษาหลักเกณฑ์ PPP จากนั้นออกประกาศเชิญชวนเอกชนมาซื้อซองประมูล ตามแผนจะให้ได้เอกชนภายในสิ้นปีนี้

จากความล่าช้าทำให้ รฟม.ขยับไทม์ไลน์การเปิดบริการสายสีส้มตะวันออกใหม่จากเดิมในปี 2566 เป็นปี 2567 และเปิดตลอดสายพร้อมกับสีส้มช่วงตะวันตกในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2020 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

Series จักรวาล ขนส่งมวลชน EP.4.3 ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ของ Monorail เป็นอย่างไร ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

หลังจากโพสต์ก่อนหน้านี้ ที่พูดถึงเรื่องการก่อสร้างทางวิ่งของ Monorail มีคนสนใจเยอะมากๆ

วันนี้เลยขอมาพูดถึงศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ของ Monorail บ้างว่าศูนย์ซ่อมบำรุงของทั้ง 2 สายอยู่ที่ไหน มีอะไรบ้าง ต่างจากศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) แบบ BTS และ MRT อย่างไร

————————
อย่างที่ทราบอยู่แล้วว่าเรามีโครงการรถไฟฟ้า Monorail อยู่ 2 สายคือ

- สายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) จะอยู่ที่สถานีปลายทางมีนบุรี
- สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) จะอยู่ที่สถานีศรีเอี่ยม

ซึ่งภายในศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ต้องรองรับการซ่อมบำรุงของรถ Monorail ได้ทั้งหมด แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

- ซ่อมบํารุงเบา (Light Maintenance)

1. การตรวจสอบนํ้าท่ีล้าง กระจกหน้า การตรวจสอบสารหล่อลื่น ฯลฯ

2. งานประจําในการรักษาให้คงความพร้อมในการทํางานของรถไฟฟ้า (Routine Function Control)

เช่น การตรวจสอบ (Inspection) การทําความสะอาดภายในและ ภายนอกตู้รถไฟฟ้า การซ่อมเล็ก ๆ น้อย ๆ (Minor Repairs) การถอดและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ติดตั้งหลังคา รถไฟฟ้า (เช่น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ) และมีพื้นที่ยกระดับเพื่อทํางานบนหลังคา (Roof Working Platform)

- ซ่อมบํารุงหนัก(Heavy Maintenance)

1. การซ่อมบํารุงหลัก (Major Overhaul)
2. การเปลี่ยนหรือซ่อมแคร่ (Bogie Exchange or Repair)
3. การซ่อมแซมหนัก (เปลี่ยนชิ้นส่วนหนักจากใต้พื้น)
4. การบํารุงรักษาทั่วไป (Regular Maintenance)
5. การเปลี่ยน อะไหล่ (แบตเตอรี่ Compressor เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์)
6. การซ่อมแซมตัวรถไฟฟ้า (Body Repair)
7. การเปลี่ยนยางล้อ และการทําสี (Painting)

————————
ที่พิเศษไปกว่ารถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) แบบ BTS และ MRT คือ Monorail ใช้ล้อยางในการรับน้ำหนัก และขับเคลื่อนรถไฟฟ้า ซึ่งต่างจาก BTS ที่ใช้ล้อเหล็ก

จึงมีความจำเป็นต้องมีส่วนที่ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงยาง เพิ่มขึ้นมาจาก Depot ทั่วไป

ซึ่งนอกจากพื้นที่ซ่อมบํารุงเบา (Light Maintenance) และพื้นที่ซ่อมบํารุงหนัก(Heavy Maintenance) ทั่วไปแล้ว ยังมีพื้นที่และเครื่องจักรเฉพาะทางดังนี้

1. โรงซ่อมแคร่(Bogie Repair Facility)ใช้สําหรับยกตัวแคร่(Bogie) ออกจากตัวรถ (Car Body)

โดยการแยกตัวแคร่ของระบบ Monorail ใช้วิธีหย่อนตัวแคร่ (Bogie Drop) ไปยึดกับคานรางหลัก (Main Track Beam) และคานสามารถหมุนยกขึ้นหรือยกลงได้ และรูปแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม (Engineering Specification) ของโรงซ่อมแคร่ของระบบ Monorail ดูได้จากในรูป

2. โรงวินิจฉัยล้อและเปลี่ยนยางล้อ (Wheel Diagnostic and Tyre Replacement Facility)

ภายหลังจากรถไฟฟ้าเปิดให้บริการไประยะเวลาหน่ึง สภาพยางล้อจะเร่ิมสึกหรอเนื่องจากการเสียดสีระหว่าง ล้อกับยางกับทางวิ่ง จึงจําเป็นต้องมีการก่อสร้างโรงวินิจฉัยยางล้อไว้เพื่อตรวจสอบสภาพของยางล้อเป็นระยะ ๆ ตาม โดยใช้วิธียกโบกี้ พร้อมตัวรถออกจากคานทางวิ่ง (Guide way beam)

ซึ่งช่วงเวลาหรือระยะทางที่ทางโรงงานผลิตยางล้อได้กําหนดตารางเวลาการบํารุงรักษาไว้ โดยเครื่องมือตรวจ วินิจฉัยล้อและเปลี่ยนยางล้อ ดูได้ตามรูป

3. โรงทําสี (Paint Shop) ระบบรถไฟฟ้าจําเป็นต้องทําสีเป็นคร้ังคราว เนื่องจากอุบัติเหตุ และสภาพแวดล้อม ดังสรุปได้ดังนี้

ก) ห้องทําสีภายในศูนย์ซ่อมบํารุงเป็นห้องท่ีจัดเตรียมไว้สําหรับการดูแลและบํารุงรักษาสี ของตัวรถไฟฟ้า ซึ่งได้ทําสีตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในต่างประเทศ การใช้งานส่วนใหญ่ เป็นการติดสติ๊กเกอร์ป้ายข้างตัวรถไฟฟ้า โดยห้องทําสีได้ออกแบบให้ปลอดจากฝุ่นละอองและสามารถทํางาน ได้สะดวกและมีคุณภาพ การทําสีใหม่ให้กับตัวรถไฟฟ้าจะดําเนินการเมื่อรถไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุและสีของตัว รถไฟฟ้าซึ่งมีโอกาสเกิดข้ึนน้อยมากหรือตามอายุการใช้งานของสีที่จะต้องทําสีใหม่ทุก 10 - 15 ปี

ข) ห้องทําสีมีลักษณะเป็นห้องท่ีมีการปิดมิดชิดมีระบบกําจัดมลพิษจากสีที่จะนํามาใช้ โดย ไม่มีผลกระทบกับบริเวณอื่นๆสีท่ีใช้เป็นประเภท Water-Based Color ที่มีมลพิษต่ำหรือสีประเภทอื่นๆท่ี มีมลพิษตํ่าตามเทคนิคของผู้ผลิตรถไฟฟ้า รวมทั้งขยะมูลฝอยท่ีเกิดจากกระบวนการพ่นสีจะถูกแยกเก็บ รวบรวมในภาชนะแยกเฉพาะและส่งกําจัดรวมกับขยะอันตรายโดยหน่วยงานท่ีรับกําจัดขยะ มูลฝอยอันตราย โดยเฉพาะ

———————
นอกจากส่วนอาคารซ่อมบำรุงแล้ว ยังมีอีกส่วนสำคัญคือ โรงจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard Building)

ใช้เป็นที่จอดรถไฟฟ้าและเป็นที่สําหรับทํา ความสะอาดภายในตัวรถ เพื่อเตรียมรถให้พร้อมกับการใช้งาน และเป็นจุดเก็บรถไฟฟ้าในตอนกลางคืน

จึงมีห้องเก็บของทําความสะอาด (Train Cleaner Room) ที่แต่ละปลายของอาคาร จอดรถไฟฟ้าเพ่ือความสะดวกของพนักงานทําความสะอาด ทัศนียภาพของโรงจอดรถไฟฟ้า มีความจุเท่ากับ 43 ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 6 คันต่อขบวน (43x6 - Car Trains) หรือเท่ากับรถไฟฟ้า 258 ตู้

——————————
ส่วนประกอบอื่นๆ ของศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ของ Monorail ได้แก่

1. อาคารบริหารและศูนย์ควบคุมการเดินรถ (Administration Building and Operation Control Center)

ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องพักผ่อน ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ห้องมั่นคง (Strong Room) ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Room) ห้องเครื่องทําน้ําเย็นและเครื่องสูบนํ้า (Chiller and Pump Room) ห้องแบตเตอรี่ (Battery Room) ห้องระบบไฟฟ้าสํารอง (UPS Room) ห้องไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Room) ห้องควบคุมการเดินรถ (Central Traffic Control) ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล (SCADA) ห้องเก็บสารดับเพลิง (Gas Bottling Room) ฯลฯ

โดยศูนย์ควบคุมการเดินรถ (Operation Control Center หรือ OCC) เป็นศูนย์กลางการควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานของระบบรถไฟฟ้าท้ังหมดระหว่างและ ภายหลังการให้บริการแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมระบบต่าง ๆ

2. ศาลาทดสอบรถไฟฟ้า(Test Track Shelter)ตั้งอยู่บริเวณปลายทั้งสองข้างของราง ทดสอบเพื่อให้ทีมผู้ทดสอบขึ้น - ลง

3. สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation Building)

มีหน้าท่ีจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ระบบรถไฟฟ้า โดยรับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง และมีเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารอง (Standby Diesel Generator) เพื่อจ่ายไฟฟ้าสํารองในกรณีท่ีมีแหล่งจ่ายไฟขัดข้อง

4. โรงเก็บวัสดุอันตราย (Dangerous Goods Building)

มีไว้เพื่อเก็บน้ํามัน (Oil) จาระบี (Grease) และสารเคมีต่าง ๆ (Chemicals) ชั่คราวเพื่อนําไปกําจัดทิ้งภายหลัง

—————————
ส่วนที่ผมแปลกใจ และพึ่งเห็นว่าในพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงศรีเอี่ยม ของสายสีเหลือง มีการเผื่อพื้นที่ เขียนว่าเป็น โรงงานประกอบรถไฟฟ้า (อนาคต)

ซึ่งพึ่งเห็นโครงการรถไฟฟ้าแบ่งพื้นที่ในจุดประสงค์นี้เป็นครั้งแรก

แอบดีใจว่า อย่างน้อยทาง รฟม. และที่ปรึกษา ได้มองถึงการประกอบรถไฟฟ้า ด้วยตัวเองในอนาคต (ไม่รู้จะได้เกิดจริงมั้ย แต่ก็มีที่พร้อมทำแล้ว)

—————————
ถ้าโครงการเปิด ผมล่ะอยากไปเยี่ยมชมจริงๆครับ แล้วไปนั่งดู Monorail switch สับไปมาระหว่างราง (เลื่อน guide Way สับราง Monorail) คงเพลินใช่ย่อย
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/944110659360747
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2020 7:57 am    Post subject: Reply with quote

กทม.สะกิดรฟม.แก้ระบบระบายน้ำ บริเวณสร้างรถไฟฟ้ากันน้ำท่วม
หน้าข่าวกทม.-จราจร
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 19.10 น.

กทม. ประสาน รฟม.เร่งแก้ไขระบบระบายน้ำจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน โดยดำเนินการเปิดช่องรับน้ำฝน ยกขอบบ่อพักท่อระบายน้ำ เก็บเศษวัสดุภายในบ่อพัก ก่อสร้างรางระบายน้ำรูปตัวยู เปิดฝาบ่อพักที่โดนปิดทับ

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารสำนักการโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 เขตดินแดง นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯที่ส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ โดยมี นายสมพงษ์ เวียงแก้ว ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สำนักงานเขตในพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม



เนื่องจากปัจจุบันเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ประกอบกับในพื้นที่กรุงเทพฯ มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่หลายสาย ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และโครงการระบบมวลชนขนาดรองสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก)

โครงการก่อสร้างดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ ทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจร สำนักการโยธา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตรวจสอบปัญหาและหาแนวทางแก้ไขผลกระทบต่อระบบระบายน้ำที่เกิดจากการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยบูรณาการร่วมกับสำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตในพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อพิจารณาหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ


จากการตรวจสอบพบว่าระบบระบายน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่เกิดจากช่องรับน้ำฝนและฝาท่อระบายน้ำถูกทับจากการปูผิวจราจรแอสฟัลต์ทำให้มีขนาดเล็กลง ประกอบกับบ่อพักในผิวจราจรมีเศษวัสดุก่อสร้างตกหล่นอยู่ในบ่อพักเป็นจำนวนมาก อีกทั้งท่อระบายน้ำที่ถูกตัดยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยแนวทางการแก้ไขได้ประสานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการเปิดช่องรับน้ำฝน ยกขอบบ่อพักท่อระบายน้ำ เก็บเศษวัสดุภายในบ่อพัก ก่อสร้างรางระบายน้ำรูปตัวยู เปิดฝาบ่อพักที่โดนปิดทับ ทั้งนี้สำนักการโยธาจะเร่งติดตามการดำเนินงานแก้ไขให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2020 7:41 am    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 🔛 ดังนี้

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 62.42% - มี 17 สถานี ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 59.42% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 52.94% - มี 23 สถานี ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 58.78% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 52.64% - มี 30 สถานี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร

https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2526579084225477/?type=3
https://www.facebook.com/bangkokian.co/photos/a.113817080152637/161088648758813/?type=3&theater


Last edited by Wisarut on 08/06/2020 10:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2020 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

ดูการรับงานต่างประเทศของ อิตาเลียนไทยดิเวลอปเมนต์สิครับ ไปได้สวยจริงๆ
https://www.facebook.com/reporterjourney/photos/a.140887172750283/1464028210436166/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2020 1:01 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.คิกออฟ “ระบบตั๋วร่วม” แค่แตะเชื่อมรถไฟฟ้า BTS-MRT-สีม่วง
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 8 มิถุนายน 2563 - 18:30 น.


ยังคงไม่สะเด็ดน้ำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา การพัฒนา “ระบบตั๋วร่วม” ของประเทศไทย ที่รัฐบาลปรารถนาให้ประชาชนพกบัตรใบเดียวใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้ทุกรูปแบบ รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือโดยสาร ทางด่วน มอเตอร์เวย์

ในเมื่อระบบเป็นเรื่องใหม่ จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนากว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจากยังมีปัญหาอุปสรรคทั้งข้อกฎหมายและข้อมูลที่เอกชนยังเก็บเป็นความลับทางธุรกิจ

แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้า “คมนาคม” หัวขบวนขับเคลื่อน แบ่งการพัฒนา “ระบบตั๋วร่วม” เป็น 2 ระยะ โดยระยะเร่งด่วนต้องทำให้สำเร็จในปี 2563 พัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบหรือ interoperable



ต.ค.คิกออฟตั๋วข้ามระบบ 3 สาย
นำร่องสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียว รองรับการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บัตรแมงมุม 2 แสนใบ บัตร MRT Plus และบัตร MRT 2 ล้านใบ และบัตรแรบบิท 12 ล้านใบ

ล่าสุด “คมนาคม” โดย “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) ระยะเวลา 1 ปี กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นที่เรียบร้อยแล้ววันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา

ส่วนระยะยาว ใช้เวลาดำเนินการ 18-24 เดือน หรือภายในปี 2565 โดย “รฟม.” จะดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ account based ticketing (ABT) เป็นระบบเปิด เป็นการใช้บัตรผ่านระบบบัญชีบัตร ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือโดยสาร ทางด่วน ร้านสะดวกซื้อ ด้วยบัตรใบเดียว


เร่งเจรจาค่าธรรมเนียมใช้บัตร
“พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน” รองปลัด กระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า จากการติดตามความก้าวหน้าระบบตั๋วร่วมระยะเร่งด่วน พัฒนาเป็นการใช้ข้ามระบบในสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียว จะเลื่อนจากเดิมในเดือน มิ.ย.เป็นในเดือน ต.ค.นี้ เนื่องจากบริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบของ BTS และ BEM ที่ประเทศสิงคโปร์ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และอาจจะใช้เวลาดำเนินการถึงปลายปีนี้ แต่กำชับให้เสร็จตามแผนที่ปรับใหม่

“ยังมีเรื่องข้อตกลงเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรข้ามระบบที่ยังไม่มีข้อสรุปร่วมกัน โดย รฟม.เสนอให้เก็บในอัตรา 0.3% สำหรับผู้ออกบัตร โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี”

ด้าน “เผด็จ ประดิษฐเพชร” ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า การใช้บัตรโดยสารข้ามระบบเดือน ก.ค.นี้ ใช้ได้แค่สายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียวของบีทีเอส ยังไม่รวมแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากติดปัญหาผู้พัฒนาระบบ ทราบว่าจะเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ และรองรับได้แค่บัตรแมงมุม 2.5 และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หากจะรับระบบอื่นเพิ่มต้องลงทุนเพิ่มอีก 40 ล้านบาท

“บัตรโดยสารแตะเข้าข้ามระบบ เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทาง ซึ่งผู้ใช้บริการยังจ่ายค่าแรกเข้าและค่าโดยสารตามเดิม ก่อนจะพัฒนาเป็นค่าโดยสารร่วม โดยจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียวในอนาคต”

นายเผด็จกล่าวอีกว่า สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรแมงมุม 2.5) ซึ่งกรมบัญชีกลางออกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีกว่า 1.35 ล้านใบ สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT BTS แอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ จะหมดอายุในเดือน ต.ค. 2565 จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน (บัตรแมงมุม 4.0) เป็นระบบเปิด EMV ผ่านบัตรเครดิต ระบบเดียวกับที่ รฟม.กำลังพัฒนา

“กรมการขนส่งทางบกขอให้เพิ่มสิทธิใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กับรถโดยสารเอกชน 14 เส้นทางที่ บขส.ไม่ได้วิ่งบริการ ส่วน ขสมก.ขอให้ใช้กับรถร่วมเอกชนได้ ซึ่งกรมบัญชีกลางให้รวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมพิจารณาต่อไป”



วงเงินบัตรสวัสดิการซ้ำซ้อน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีปัญหาซ้ำซ้อนการใช้วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ถือบัตรแมงมุม 2.5 จำนวน 3,858 ใบ หรือ 9.56% นำบัตรไปใช้บริการรถเมล์ ขสมก. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สีม่วง BTS และแอร์พอร์ตลิงก์ ทำให้เกิดปัญหาการใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐเกินวงเงินที่ได้รับ 500 บาทต่อเดือน

เป็นผลมาจากระบบการหักบัญชีและการชำระดุลต่างกัน โดย รฟม.หักเงินในชิปการ์ดก่อนส่งข้อมูลให้แบงก์กรุงไทยเบิกค่าโดยสารในวันถัดไป ส่วนระบบของกรุงไทยที่พัฒนาให้กับ ขสมก. BTS และแอร์พอร์ตลิงก์ ตัดวงเงินจากบัญชีออนไลน์ ทำให้เกิดวงเงินซ้ำซ้อนเป็นเหตุให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้ได้เกินวงเงินที่กำหนด โดยเป็นบัตรแมงมุมของ รฟม. 500 บาท และขสมก. BTS และแอร์พอร์ตลิงก์อีก 500 บาท เกิดภาระงบประมาณซ้ำซ้อน

นโยบายไม่นิ่งหวั่นงบฯบานปลาย
อีกปัญหาที่มีการ “สะท้อน” ในที่ประชุม โดยผู้แทน”สคร.-สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ” และ “สศช.-สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ให้คำนึงถึง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

รวมโครงการรถไฟฟ้า’ ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามหัวเมืองหลักภูมิภาคในอนาคต
Thailand Future
วันที่ 9 มิถุนายน 2563
• รถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

วงเงินลงทุนโครงการรวมประมาณ 35,000 ล้านบาท ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร จำนวน 21 สถานี รูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ถือเป็นโครงการที่มีความก้าวหน้าและพร้อมดำเนินการมากที่สุด

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา ก่อนเสนอไปยังคณะกรรมการ PPP และ ครม. ต่อไป

ซึ่งคาดว่าจะคาดว่าจะเริ่มการคัดเลือกเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2563 ก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2564 และเปิดให้บริการในช่วงเดือนมีนาคม 2568
——————————————
• รถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีะบ้านนารีสวัสดิ์

วงเงินลงทุนโครงการ 7,914 ล้านบาท ระยะทาง 11.7 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 20 สถานี รูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา

ความคืบหน้าปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงเดือนเมษายน 2565 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในกรกฎาคม 2568
——————————————
• รถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

วงเงินลงทุนโครงการ 27,000 ล้านบาท ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี รูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา

ตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จ จะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากครม. ประมาณกลางปี 2564 เริ่มก่อสร้างภายในเดือนมีนาคม 2565 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2570
——————————————
• รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดงจากช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – เซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก

วงเงินลงทุนโครงการ 1,666.78 ล้านบาท ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร จำนวน 15 สถานี รูปแบบรถรางล้อยาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติให้ รฟม.เริ่มดำเนินโครงการทั้งศึกษา ออกแบบรายละเอียดและรูปแบบการลงทุน PPP

ตามแผนจะเสนอขออนุมัติรูปแบบลงทุนในเดือน พฤษภาคม 2564 คัดเลือกเอกชนในเดือนกันยายน 2565 ก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2566 และเปิดบริการในเดือนธันวาคม 2569
——————————————
• รถไฟฟ้าจังหวัดขอนแก่น สายสีแดงจาก สำราญ-ท่าพระ

บริษัท KKTS เร่งร่างสัญญาเจรจาโครงการนำร่องรถไฟฟ้า LRT สายแรกของจังหวัดขอนแก่น นำโดย CKKM Joint Venture และ KLRTT Consortium ชี้ CDB (China Development Bank) สนใจลงทุน 22,000 ล้านบาท พร้อมทบทวนผลการศึกษา สนข.รออนุมัติ 21 สถานี คาดเห็นความชัดเจนปลายปี”63 แต่ยังไม่คอนเฟิร์ม

อยู่ระหว่างรออนุมัติที่ดินจากกรมการข้าวที่จะนำมาพัฒนา แต่ยังไม่มีความคืบหน้า รวมไปถึงสัญญาจากผู้ประมูลรับจ้างโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ และรายละเอียดของโครงการต้องศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย
——————————————
• รถไฟฟ้าหาดใหญ่ สายสายคลองหวะ-สถานีรถตู้

กระทรวงมหาดไทยและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) ได้ร่วมกันผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายคลองหวะ-สถานีรถตู้

ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 16,100 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยอสังหาริมทรัพย์ 1,327 ล้านบาท, ค่าก่อสร้าง 7,682 ล้านบาท และระบบรถไฟฟ้า 7,090 ล้านบาท แนวเส้นทางทั้งหมดจะเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ

ปัจจุบันโครงการโมโนเรลหาดใหญ่ได้ทำการศึกษาและออกแบบเสร็จแล้ว โดยอยู่ระหว่างเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) พิจารณา

ถ้าหาก ครม. เห็นชอบแล้ว ก็จะดำเนินการเปิดประมูลแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP) โดยภาครัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเวนคืนที่ดิน ด้านเอกชนจะเป็นผู้จัดหาขบวนรถ เดินรถไฟฟ้า และได้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์บนสถานีบางส่วน ส่วนองค์กรท้องถิ่นจะทำหน้าที่บำรุงรักษาโครงการ
——————————————
• รถไฟฟ้าเมืองพัทยา สายสีเขียว ระยะ 9 กม.วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา-มอร์เตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-ถนนพัทยาสายสอง-แยกทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย

เมืองพัทยา ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการคมนาคมขนส่งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในรูปแบบรถไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนนำเสนอโครงการเพื่อจัดหางบประมาณก่อสร้าง

หรืออาจออกมาในรูปแบบของการร่วมลงทุนกับเอกชน ตามประกาศของคณะกรรมการ EEC กำหนดรูปแบบรถไฟฟ้าไว้ 3 ประเภท คือ การจัดทำโครงการในรูปแบบบนพื้นถนนหรือ Tram แบบยกระดับ หรือ Monorail

ซึ่งได้เลือกระบบ Monorial เป็นโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่สูงกว่าระดับถนนเดิมแล้วแต่การกำหนด การก่อสร้างที่มีผลกระทบน้อย เพราะจะมีเพียงพื้นที่ก่อสร้างตอม่อ หรือ Pier ที่กว้างเพียง 1.8 เมตร และมีการนำมาประกอบเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง ขณะที่งบการลงทุนก็น้อยกว่าระบบอื่น ที่สำคัญเหมาะกับพื้นที่ผิวถนนเดิมของเมืองพัทยาที่มีความกว้างเขตทางไม่มากนัก

ด้านรูปแบบการลงทุนอาจะเป็นแบบ PPP หรือร่วมกับเอกชน ซึ่งจะมีการประเมินตามผลการศึกษาว่าจะดำเนินการในรูปแบบใดต่อไป
——————————————
** ถึงแม้เมืองอุดรธานีจะไม่มีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่จะมี รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถเมล์ไฟฟ้า)เป็น ระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองอุดรธานี โดยที่ปรึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทฯ ระยะเวลา 20 ปี( 63-82) คือ แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 100.5 กม. วงเงินรวมประมาณ 2,021 ล้านบาท
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105928067440208/283585346341145/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 214, 215, 216 ... 277, 278, 279  Next
Page 215 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©