RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180445
ทั้งหมด:13491679
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 215, 216, 217 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 2:41 pm    Post subject: Reply with quote



ทีวีช่องดังฟิลิปปินส์ ทำรายการเปรียบเทียบระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ VS มะนิลา Reporter's Notebook
https://www.facebook.com/reporterjourney/photos/a.140887172750283/1465323656973288/?type=3&theater
https://www.youtube.com/watch?v=iS6cntQzmwU
https://www.youtube.com/watch?v=0Jz3W7Dvoi8


Last edited by Wisarut on 12/06/2020 10:37 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 9:04 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จบโควิด BEM ลงทุนก้าวกระโดด เชื่อมใต้ดินสวนลุม-ศูนย์สิริกิติ์
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 - 13:26 น.



เอ็มดี BEM มองธุรกิจหลังโควิด ครึ่งปีหลังพ้นจุดต่ำสุด-ปีหน้าโตสนั่น
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 มิถุนายน 2563 - 10:30 น.


สัมภาษณ์
กว่า 20 ปีที่ “สมบัติ กิจจาลักษณ์” ทำงานภายใต้ชายคา “บมจ. ช.การช่าง” กลั่นประสบการณ์ สางงานหินมาอย่างยาวนาน

ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจาก “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” ให้นั่งเป็นเอ็มดี “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” คุมธุรกิจรถไฟฟ้าคู่กับ “พเยาว์ มริตตนะพร” ที่คุมธุรกิจทางด่วน

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค “โควิด-19” ที่เขย่าขวัญไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจ “ทางด่วน-รถไฟฟ้า” เพราะการจะหยุดเชื้อได้ต้องหยุดอยู่บ้าน ทำให้การเดินทางทุกโหมดชะงัก ยิ่งรัฐออก “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-มาตรการเคอร์ฟิว” ทำให้การเดินทางยิ่งลดน้อยลงไปจากปกติหลายเท่าตัว

“สมบัติ” ฉายภาพผลกระทบจากโควิดต่อธุรกิจรถไฟฟ้าและทางด่วน รวมถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรและผู้โดยสารท่ามกลางวิกฤตปัญหาไว้อย่างชัดเจน

Q : การบริหารจัดการช่วงโควิด
ตอนนี้รัฐบาลกำลังบาลานซ์การแก้ปัญหาของโรคกับการใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไปด้วยกันได้ ในส่วนของบริษัทที่ผ่านมาให้ความร่วมมือกับรัฐเป็นอย่างดีเรื่องมาตรการคุมการระบาดของโรค เพราะเราเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ มีคนใช้บริการจำนวนมาก

เช่น ทำความสะดวกฉีดพ่นรถไฟฟ้าทุก 30 นาที สถานีปลายทางที่หลักสอง เตาปูน คลองบางไผ่ และภายในสถานีจัดระเบียบผู้โดยสารก่อนเข้าใช้บริการ ให้สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง 1 เมตร ลดการใช้เงินสด เติมเงินบัตรโดยสารผ่านทรูวอลเลต และแบงก์กรุงไทย ล่าสุดแจกหน้ากากผ้าฟรี 1 ล้านชิ้น ที่ 53 สถานีสายสีน้ำเงิน และสีม่วง


ยังมีมาตรการหลังบ้านดูแลพนักงานบริษัท ดูแลสุขอนามัยให้มีไมนด์เซตที่ดีเท่ากับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะมีหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ต้องดูแลตัวเองหลังกลับบ้าน ไม่ออกไปสถานที่เสี่ยง รวมถึงต่างประเทศ มาทำงานต้องตรวจวัดอุณหภูมิ ทำความสะอาดมือทุกครั้ง สวมหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ เรายังซื้อประกันโควิดให้พนักงานทุกคนเพิ่มจากปกติมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว

Q : สถานการณ์บริษัทในปัจจุบัน
โควิดส่งผลกระทบต่อธุรกิจบริษัท ทุกที่ได้รับผลกระทบหมด คาดว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ โดยบริษัทได้รับผลกระทบรายได้ลดแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะถึงจะมีโควิด คนทำงานที่บ้าน เวลาการให้บริการสั้นลงเพราะมีเคอร์ฟิว แต่คนยังเดินทาง เราก็ต้องเตรียมการบริการรองรับการเดินทางเท่ากับเวลาปกติ เพราะไม่มีโหมดอื่นทดแทน เราต้องปรับตัวสอดรับกับสถานการณ์

หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ระยะ 3-4 จะกลับมาดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ขณะนี้ทางด่วนคนเริ่มใช้มากขึ้นใกล้แตะ 1 ล้านเที่ยวคันต่อวัน รถไฟฟ้าอยู่ที่ 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน อาจจะช้าหน่อยเพราะยังถูกจำกัดเว้นระยะห่างทางสังคม แต่วันที่ 1 ก.ค.เปิดเทอม เมืองเปิด ธุรกิจคลายล็อกดาวน์ คาดว่าปลายปีนี้น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอยู่ที่ 4 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากเดือน เม.ย.ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว เป็น เม.ย. 2563 มีครั้งเดียวในชีวิตเรา

ถึงปีนี้เราจะเดินรถสายสีน้ำเงินครบลูปแต่เจอโควิด ทำให้ผู้โดยสารลดลง 50-70% โดยเฉลี่ยปี 2563 อยู่ที่ 3 แสนเที่ยวคน ต่ำจากเป้า 4.5 แสนเที่ยวคน ขึ้นอยู่ที่ไตรมาส 3-4 รัฐจะยกเลิกมาตรการเว้นระยะห่างหรือไม่ ถ้าเลิกปริมาณผู้โดยสารจะกลับมาแน่นอน เพราะดีมานด์มีอยู่แล้ว แต่ถ้ายังคงไว้ถึงจะมีรถวิ่งครบ 49 ขบวน แต่คาพาซิตี้หายไป 75% จาก 15,000 เที่ยวคนต่อชั่วโมงต่อระยะทาง เหลือ 4,000 เที่ยวคนต่อชั่วโมงต่อระยะทาง

Q : ภาพรวมรายได้ทั้งปีนี้
ปีนี้เป็นปีพิเศษ มีโควิดเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จะกระทบต่อการรับรู้รายได้โดยรวมทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าลดลง15% หรือหายไป2,000 ล้านบาท อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วอยู่ที่ 15,000-16,000 ล้านบาท แยกเป็นทางด่วน 9,000 ล้านบาท ลดลง 10% จากปีที่แล้ว รถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ถึงสายสีน้ำเงินรายได้จะลด 50% แต่มีค่าจ้างเดินรถสายสีม่วง 1,800 ล้านบาท และพัฒนาเชิงพาณิชย์ 700 ล้านบาท แม้ว่ารายได้จะลดลงแต่ยังมีกำไรแต่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ในปีนี้คาดว่าจะมีกำไร 2,000 ล้านบาท จากปีที่แล้ว 3,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วกำไรปิดบวก และครึ่งปีหลังจะกลับมาเป็นปกติใกล้เคียงกับปีที่แล้ว

Q : คาดการณ์ปี 2564
หากไตรมาส 4 เข้าสู่ปกติ จะเริ่มรีคัฟเวอร์ตั้งแต่ปลายปีนี้ และทำให้ปี 2564 รีคัฟเวอร์ทั้งปี ซึ่งผู้โดยสารรถไฟฟ้าน่าจะโตจากที่ประมาณการไว้ 4.5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากปกติจะโต 5-10% เพราะในเส้นทางจะมีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทำให้เกิดกิจกรรมในการเดินทาง

เช่น ศูนย์การค้ายังได้แรงหนุนการเปิดสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดตลอดสายปลายปีนี้ มีการเชื่อมต่อการเดินทางที่สถานีห้าแยกลาดพร้าวและจตุจักร จะทำให้ผู้โดยสารเข้ามาในระบบสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน เหมือนสายสีม่วงที่ป้อนคนเข้าระบบสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูนมากกว่า 70% ยังมีสายสีชมพู และสายสีเหลืองที่จะเปิดบริการในเดือน ต.ค.ปีหน้า ในปี 2564 เป็นปีที่น่าสนใจมาก เพราะหากปีนี้ฐานผู้โดยสารต่ำจะทำให้ปีหน้าการเติบโตของรายได้จะมากกว่า 20%

Q : แผนการลงทุนปีนี้
ภายในต้นเดือน มิ.ย.จะออกหุ้นกู้ 3,000 ล้านบาท ชำระหนี้ 2,500 ล้านบาท อีก 500 ล้านบาทเก็บไว้เป็นทุน ถึงจะมีโควิดแต่เราไม่กลัวการลงทุน ขอให้มีโปรเจ็กต์ดี ๆ หลังเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินร่วมกับ ซี.พี. ในปีนี้จะมีประมูล PPP รถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.28 แสนล้านบาทจะร่วมกับ ช.การช่างบริษัทแม่เข้าประมูล เตรียมพร้อมแล้วทั้งพันธมิตรซัพพลายเออร์ เช่น

ซีเมนส์ ญี่ปุ่น ด้านแหล่งเงินทุนที่เจรจากับแบงก์ไว้หลายแห่ง ประเมินแล้วจากโควิดน่าจะมีการแข่งขันสูง ทุกคนหลังพิงฝา อะไรก็เกิดขึ้นได้ปีหน้าจะร่วมประมูลสายสีม่วงใต้อีกกว่า 1 แสนล้านบาท ปัจจุบันถึงประเทศจะประสบปัญหาเศรษฐกิจ แต่รัฐยังคงมีโครงการลงทุนระบบรางต่อเนื่อง และใช้ PPP ให้เอกชนลงทุนให้ก่อน ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทุกโครงการเป็นโอกาสการลงทุนของเอกชนทั้งหมด แต่เราก็ต้องเลือก อะไรที่ทำแล้วขาดทุนเราไม่ทำ

Q : แนวโน้มธุรกิจทางด่วนและรถไฟฟ้า
ทางด่วนยังดีอยู่ ปัจจุบันมีปริมาณจราจรทั้งระบบ 1.2 ล้านเที่ยวคันต่อวัน การเติบโตจะต่ำเพราะฐานใหญ่ขึ้น แต่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ตอนนี้รัฐเริ่มลงทุนสร้างมอเตอร์เวย์เชื่อมระหว่างเมืองมากขึ้น เราก็ต้องขยายการลงทุนเข้าไปรองรับ ส่วนรถไฟฟ้าการลงทุนยังอยู่ในเมืองเป็นหลัก อีก 3 ปีข้างหน้าแลนด์สเคปเมืองจะเปลี่ยนโฉม เห็นชัดบนถนนพระราม 4 มีโครงการ “วันแบงค็อก” จะมีทางเชื่อมใต้ดินเข้ากับสถานีรถไฟฟ้า ยังมีสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ปิดซ่อม 3 ปี มีผู้โดยสารใช้สถานีนี้ปีละ 1 ล้านเที่ยวคน แต่หลังปรับปรุงเสร็จจะใหญ่ขึ้นเป็น 3 เท่า ทำให้ผู้โดยสารเราเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2020 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

“5ทุ่มยกเลิกเคอร์ฟิว” รถไฟฟ้า 5 เส้นทางพร้อมเดินรถถึงเที่ยงคืน
วันที่ 14มิถุนายน 2563 12:27 น.

“5ทุ่ม ยกเลิกเคอร์ฟิว”-“คลายล็อกดาวน์เฟส4” รถไฟฟ้า 5 เส้นทางคึกคัก พร้อมกลับมาให้บริการเดินรถตามปกติถึงเที่ยงคืน

เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง การใช้ชีวิตของคนเมืองจะกลับสู่ภาวะปกติตามแบบฉบับวิถีใหม่ หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติ ยกเลิกเคอร์ฟิว หรือการห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาลตั้งแต่ 23.00น.หรือ 5ทุ่ม วันที่ 14มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป พร้อมกับการคลอยล็อกดาวน์ ระยะที่ 4 หลายกิจการกลับมาให้บริการตามปกติ คืนการใช้ชีวิตกลับมามีชีวิตชีวายามค่ำคืนอีกครั้ง โดยเฉพาะ ความสะดวกในการเดินทาง โดยรถไฟฟ้า ที่จะกลับมา ให้บริการถึงเที่ยงคืน หรือ เวลา24.00น. เช่นเคย แต่ทั้งนี้ ความเข้มข้นมาตรการเว้นระยะห้างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาความสะอาด ยังคงมีต่อเนื่องสำหรับรายละเอียดการให้บริการเดินรถไฟฟ้า มีทั้งสิ้น 5 เส้นทาง เชื่อมการเดินทางเข้าสู่ ย่านธุรกิจ ศูนย์การค้า แหล่งงาน ตลอดจนที่อยู่อาศัย ไลฟสไตล์คนรุ่นใหม่ ได้แก่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.15น.-24.00น. เช่นเดียวกับบีทีเอสสายสีลม เช่นเดียวกัย รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ให้บริการ ในเวลา ไล่เรี่ยกัน เวลา06.00น. ไปจนถึง 24.00น.รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เวลา 05.30น. ไปจนถึง24.00 น.รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เริ่มเปิดให้บริการเดินรถ ตั้งแต่เวลา05.30นไปจนถึง เที่ยงคืนเช่นเดียวกันรถไฟฟ้าทั้ง5เส้นทางจะ เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ เพื่อการเดินทางสะดวกขึ้นแหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า การเปิดให้บริการ วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน นี้ คาดว่า ประชาชน จะใช้บริการเดินรถ 100% บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือBEM เพิ่มขบวนรถและความถี่ แต่ทั้งนี้ยังคงความเข้มงวดมาตราการ เว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางเพื่อป้องกันการระบาดโควิด-19




ทั้งนี้ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM ระบุว่าหลังคลายล็อกดาวน์ระยะที่4 เปิดบริการเดินรถไฟฟ้าได้100% คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการตามปกติ แต่ทั้งนี้ยังต้องปฏิบัติตามการเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ด้วยความพร้อมของขบวนรถและความถี่ในการให้บริการคาดว่า จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยอย่างอย่างรวดเร็ว ด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่รถไฟฟ้าบีทีเอส ระบุว่าการยกเลิกเคอร์ฟิว และการคลายล็อกดาวน์ ระยะที่4 ส่งผลให้กิจการเดินรถไฟฟ้ากลับมา ให้บริการปกติ เป็นผลดี ต่อผู้ใช้บริการ และเป็นจังหวะเปิดทดลองเดินรถ ไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ วิ่งยาวไปถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ช่วยให้การเดินทางสะดวก มากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2020 10:34 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสาร”แอร์พอร์ตลิงก์-MRT”เพิ่ม-ถก”กรมราง”คลายมาตรการเว้นระยะ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2563 เวลา 20:20



“แอร์พอร์ตลิงก์”วิ่งรถเสริมเร่งด่วนเช้า,เย็น 24 ขบวน รับยกเลิก”เคอร์ฟิว” รองรับผู้โดยสารเพิ่มกว่า 3.3 หมื่นคน/วัน ด้าน รฟม. เผยMRT เพิ่มกว่า 2.3 แสนคน ลุ้นถกกรมรางฯ ผ่อนเว้นระยะ ลดแออัด

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ได้กลับมาให้บริการตามเวลาปกติ 05.30-24.00 น. หลังประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว และการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมในระยะที่ 4 ดังนั้น เพื่อลดความแออัดของผู้โดยสาร ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า และเย็น จึงเพิ่มขบวนรถเสริม เป็น24 เที่ยว/วัน โดยทั้งวันจะมีขบวนรถให้บริการ กว่า 220 เที่ยว และได้บริหารการเดินรถโดยช่วงเช้าเพิ่มความถี่ขาเข้าเมือง และปรับเพิ่มถี่ขาออกเมืองในช่วงเย็น เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้บริการจริง

โดยล่าสุด จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่แล้วมีผู้โดยสารเฉลี่ย 31,000 คน/วัน คาดว่า สัปดาห์นี้จะเพิ่มเป็น 33,000 คน/วัน ขณะที่ ในระบบรถไฟฟ้า ยังคงใช้มาตรการ รักษาระยะห่าง( Social Distancing ) ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง ซึ่งจากการเพิ่มขบวนรถเสริมทำให้ภาพรวมในช่วงเช้า ไม่มีผู้โดยสารตกค้าง หรือต้องจำกัดจำกัดปริมาณผู้โดยสารที่จะขึ้นสู่ชั้นชานชาลา และภายในขบวนรถไฟฟ้า (Group Release)

ทั้งนี้ ตามปกติ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้745 คน/ขบวน ซึ่งมาตรการเว้นระยะห่าง จำกัด นั่งแบบ ที่เว้นที่ และยืนเว้นระยะห่าง ทำให้รองรับลดลงเหลือไม่เกิน180 คน/ขบวน โดยวันที่ 17 มิ.ย. นี้ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง จะประชุมร่วมกับผู้ให้บริการระบบรางเพื่อพิจารณาผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะ ซึ่งหากปรับเป็น นั่ง2 เว้น1 จะเพิ่มความจุเป็น 400-500 คน/ขบวน จะทำให้ ลดความแออัดได้อีกระดับหนึ่ง

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเฉลี่ยกว่า 231,011 คน/วัน โดยสายสีน้ำเงิน เฉลี่ย210,000 คน สายสีม่วง 38,000 คน /วัน ซึ่งยังลดลงจากปกติ 60% ส่วนมาตรการเว้นระยะห่างนั้น ทำให้ขีดรองรับผู้โดยสารของรถ1ขบวน เหลือ 25% หรือประมาณ 200-250 Shocked/ขบวน จากปกติ รับได้ 800-1,000 คน/ขบวน ซึ่งหากผ่อนคลายการเว้นระยะจะเพิ่มความจุได้เป็น 500 คน/ขบวน

อย่างไรก็ตามคาดว่า จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าMRT ที่ลดลง จากสถานการณ์โควิด นั้น คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงเพิ่มขึ้นกลับไปเท่าจำนวนก่อนจะเกิดโรคโควิด อีกทั้งยังมีหลายปัจจัยที่ยังทำให้การเดินทางไม่เป็นปกติ เช่น นักท่องเที่ยว ยังไม่กลับมา ,ประชาชนส่วนหนึ่งยังมีความกังวล ติดเชื้อ และไม่เดินทางด้วยระบบสาธารณะที่มีความแออัด ประเมินปลายปีนี้ จำนวนผู้โดยสารจะอยู่เพิ่มมาอยู่ในระดับ 60% และปีหน้าจึงจะเพิ่มกลับไปที่ระดับเดิม สีม่วงกว่า 60,000 คน/วัน สีน้ำเงินกว่า 400,000 คน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2020 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

ผุด “โดมครอบทางด่วน-รถไฟฟ้า” ลดมลภาวะ ซื้อใจม.เกษตรไฟเขียวใช้พื้นที่ก่อสร้าง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 16:35 น.

วันที่ 16 มิถุนายน 2563 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ได้เชิญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาร่วมหารือด้วย เนื่องจากยังมีความเห็นไม่ตรงกันในส่วนของการดำเนินโครงการช่วงทดแทน N1 ระยะทาง 6.4 กม.

โดยการประชุมครั้งนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการได้เสนอแนวคิดการทำโครงการดังกล่าวเข้ามาใหม่ โดยยังยืนยันที่จะให้ทำแบบยกระดับ ขนาด 4 ช่องจราจร แต่จะให้มีการสร้างหลังคาโดมครอบทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลีในช่วงที่ผ่านบริเวณดังกล่าว เพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง จะมีการติดตั้งเครื่องปล่อยละอองน้ำขนาดเล็กเพื่อดักจับฝุ่นด้วย โดยรูปแบบการก่อสร้างแบบนี้มีใช้ในต่างประเทศแล้ว เช่น จีนและเกาหลีใต้ โดยอยู่ระหว่างสรุปต้นทุนและมูลค่างานต่างๆ อยู่

ส่วนตัวเลือกการทำอุโมงค์ลอด กทพ.ศึกษาแล้วพบว่ามีต้นทุนสูงกว่าการทำยกระดับถึง 20,000 ล้านบาท ต้นทุนที่สูงขึ้นมาจากการขุดอุโมงค์ที่ต้องลึกลงไปต่ำกว่าอุโมงค์ลอดแยกเกษตร ซึ่งมีผลกับการทำทางขึ้น-ลง จะมีความชันมากกว่าปกติ และความยาวอาจจะต้องเลยไปถึงแยกพงษ์เพชรด้วย ซึ่งไม่ตอบโจทย์ของทางด่วนช่วงนี้ที่จะต้องไปเชื่อมต่อกับทางด่วนศรีรัช และเบื้องต้นที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันกับแนวคิดนี้แล้ว ยกเว้น ม.เกษตรศาสตร์เพียงแห่งเดียว

“ทาง ม.เกษตรตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมยังต้องเอาทางด่วนอีก เพราะ ม.เกษตรเห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ทำไมกระทรวงจึงไม่ส่งเสริมการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ จึงได้ตอบกลับทางมหาวิทยาลัยว่า เราไม่มีทางเลือกอีกแล้ว หากมหาวิทยาลัยกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ก็ได้ออกแบบโดมหลังคาและระบบป้องกันต่างๆ ให้แล้ว ม.เกษตรจึงต้องตัดสินใจว่าจะซื้อแนวคิดนี้หรือไม่“


อีกทั้งการทำทางด่วนก็เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน อย่าคิดแต่ว่าอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งจะดีที่สุด เพราะบางทีมีสถานการณ์อื่นๆ เข้ามา อาจจะจำเป็นต้องใช้อีกทางเลือกหนึ่งก็ได้ ดังนั้น การที่กระทรวงมีแผนลงทุนทำทั้งรถไฟฟ้า รถไฟ ถนน เรือ ก็เพื่อให้เป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน กระทรวงไม่คิดอยากได้ทุกอย่าง แต่คิดว่าอะไรที่เป็นความจำเป็นและสำคัญของระบบคมนาคม ยืนยันว่าเราทำงานเพื่อประชาชน ไม่ได้ทำงานเพื่อคนของคมนาคม” ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวและว่า

“หากหลังการเจรจา 2-3 สัปดาห์ ถ้าคุยกันจบก็จะเสนอเข้ามาที่คณะทำงานอีกครั้ง แล้วรายงานให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับทราบ เพื่อให้ กทพ.ออกแบบโครงการร่วมกับ รฟม.ต่อไป และอีกด้านหนึ่งก็จะริเริ่มทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เฉพาะช่วงทดแทน N1 พร้อมกันไปด้วย ในการทำ EIA ได้ประสานให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยสื่อสารให้ชุมชนในแถบเกษตรและงามวงศ์วานเข้าใจถึงความพยายามของกระทรวงและมหาวิทยาลัย“

ดังนั้น จึงให้ ม.เกษตรศาสตร์ไปตั้งคณะทำงานด้านวิศวกรรมศาสตร์และสิ่งแวดล้อมขึ้น หารือร่วมกับคณะทำงานด้านเทคนิคจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ กทพ., กรมทางหลวง (ทล.), สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อหารือในรายละเอียด เพื่อลงลึกถึงการออกแบบ Detail Design ร่วมกันไปเลย

โดยให้เวลาทำงานร่วมกัน 2-3 สัปดาห์ ส่วนตอม่อทางด่วนจะล้ำเข้าไปในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยหรือไม่ คาดว่าคณะทำงานชุดนี้จะรวมไปศึกษาด้วย และตนก็ได้ฝากการบ้านให้ไปคิดด้วย ในช่วงทดแทน N1 ไม่ควรมีจุดขึ้นลงของโครงการหรือถ้าจะต้องมีก็ให้น้อยที่สุด

เพื่อให้รถวิ่งได้ยาวไปบรรจบกับทางด่วนศรีรัช และให้ศึกษาบริเวณจุดบรรจบระหว่างช่วงทดแทน N1 กับทางด่วนศรีรัชด้วย เพราะช่องจราจรของทั้ง 2 โครงการต่างกัน ทางด่วนศรีรัชมี 6 เลน แต่ช่วงทดแทน N มี 4 ช่องจราจร การเชื่อมต่ออาจจะทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นคอขวดได้ เพราะฉะนั้นจึงให้หาทางแก้ไขด้วย

“คมนาคม” ลุยปรับรูปแบบทางด่วนขั้น 3 N1 หนุน “สายสีน้ำตาล”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 16:50 น.

“คมนาคม” เดินหน้าโครงการทางด่วนขั้น 3 ตอน N1 วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เร่งปรับรูปแบบเทคนิคด้านวิศวกรรม-อีไอเอ หลัง มก.เห็นชอบหลักการสร้างสายสีน้ำตาล คาดใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอนN1 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พร้อมกับการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งทั้ง 2 โครงการวางแนวเส้นทางผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) โดยเบื้องต้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เห็นด้วยในหลักการในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลผ่านมหาวิทยาลัย แต่ยังมีประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการก่อสร้างและผลกระทบสิ่งแวดล้อม

“เราได้มอบหมายให้ทีมงานของกระทรวงคมนาคม รฟม.และมก.ไปพิจารณารูปแบบการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งโครงสร้างและเทคนิคเชิงวิศวกรรม รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การป้องกันเสียงและฝุ่นละออง ก่อนสรุปให้ได้ใน 2 สัปดาห์และนำกลับมาเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง”


รายงานข่างจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ที่ประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ยังหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาส่วนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอนN1 ซึ่งมีแนวเส้นทางผ่านมก.เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลด้วย แต่ขณะนี้ มก.ยังไม่ได้เห็นด้วยหรือคัดค้านการก่อสร้างN1 เนื่องจากยังมีประเด็นข้อกังวลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนั้นที่ประชุมจึงมอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ไปชี้แจงทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนสรุปเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งภายใน 2-3 สัปดาห์


“สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง N1 ที่เคยมีข้อเสนอให้ก่อสร้างบางช่วงอุโมงค์ลอดใต้ดินแทนทางยกระดับนั้น ได้ข้อสรุปแล้วว่าควรสร้างเป็นทางยกระดับจะคุ้มค่ามากกว่าในหลักวิศวกรรรม และระยะเวลาดำเนินการ เพราะต้องทำฐานรากรถไฟฟ้าอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแนวเดียวกันเพียงแค่เสาของแต่ละโครงการสลับฟันปลากันเท่านั้น”



อย่างไรก็ตามหาก มก. รฟม.และกทพ.ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว กทพ.และ รฟม.ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ให้เรียบร้อย คากว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีน่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ โดยการก่อสร้าง N1 ประมาณการเบื้องต้นจะใช้เงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดย กทพ.จะลงทุนเองไม่ใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(TFF)



ปรับแบบทางด่วน N1 ยกระดับผ่านเกษตร-ใส่หลังคาครอบตลอดแนวกันเสียง และฝุ่นPM2.5
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 19:21



คมนาคมปรับแบบทางด่วนขั้น3 สายเหนือตอน N 1 ช่วงผ่านม.เกษตรเป็นทางยกระดับใส่หลังคาครอบกันเสียงและฝุ่นPM2.5 หลังแบบอุโมงค์ใต้ดิน ค่าก่อสร้างเพิ่มสูงปรี๊ดอีก 2 หมื่นล. ตั้งทีมเทคนิคคุยม.เกษตร ขอใช้พื้นที่ปักตอม่อโมโนเรลสีน้ำตาล เร่งสรุป ใน 3 สัปดาห์

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะทำงานร่วมฯพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ว่า ที่ประชุมซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้หารือถึงการก่อสร้างทางด่วนตอนทดแทน N 1 ซึ่งเป็นโครงข่ายที่มีความจำเป็นในการเชื่อมการเดินทางจากกรุงเทพฯด้านวงแหวนตะวันตก-วงแหวนตะวันออก โดยได้รับทราบหลักการรูปแบบการก่อสร้างทางด่วนตอนN1 เป็นทางยกระดับมีหลังคาครอบ โดยได้ให้ตั้งทีมงานด้านเทคนิควิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกัน มีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรมทางหลวง และม.เกษตร เพื่อร่วมหารือและออกแบบรายละเอียด และสรุป ภายใน 2-3 สัปดาห์ และนำเสนอคณะทำงาน หากได้ข้อยุติจะเร่งนำเสนอรมว.คมนาคม เห็นชอบ และนำไปสู่การดำเนินโครงการ

ทั้งนี้ ล่าสุด กทพ.ได้เสนอรูปแบบก่อสร้างช่วงถนนงามวงศ์วาน ผ่านม.เกษตร เป็นทางด่านยกระดับและก่อสร้างหลังคาครอบด้านบน เพื่อป้องกันผลกระทบเสียงและฝุ่นละออง ควันพิษ PM2.5 ลงสู่ด้านล่าง ซึ่งในหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี มีการก่อสร้างทางด่วนในรูปแบบนี้ โดยยกระดับและทำหลังคาครอบในช่วงที่ผ่านเมืองหรือชุมชน จึงเห็นว่าเป็นแนวทางที่ก่อสร้างได้

ส่วนแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงถนนงามวงศ์วาน จะใช้พื้นที่ของม.เกษตร บางส่วน ก่อสร้างตอม่อ เนื่องจากติดอุโมงค์ ถนนงามวงศ์วาน ซึ่งได้ออกแบบเบื้องต้น พบว่า จะมีการใช้พื้นที่สำหรับวางตอม่อรถไฟฟ้า 2 จุด คือ บริเวณสะพานยกระดับข้ามถนนวิภาวดี เบี่ยงเข้าไปในเกษตร ประมาณ 8-9 เมตร และ ช่วงถนนงามวงศ์วาน ระหว่างแยกวิภาวดีและแยกพหลโยธิน ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า ใช้พื้นที่สำหรับทางขึ้น-ลง ซึ่งสถานีจะอยู่ตรงกลาง สามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีแดงได้

ซึ่งเบื้องต้นม.เกษตร ระบุว่าต้องการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แต่การใช้พื้นที่สำหรับวางตอม่อและทางขึ้น-ลงสถานีรถไฟฟ้านั้นจะต้องหารือในรายละเอียดอีก โดยเป็นการขอใช้พื้นที่ ไม่มีการเวนคืน เป็นการรอนสิทธิ์ขอปักตอม่อ โดยกทพ.และรฟม.จะจ่ายค่าใช้พื้นที่ โดยที่ดินยังเป็นของม.เกษตรเหมือนเดิม
ส่วนก่อนหน้านี้ ที่มีการศึกษารูปแบบ อุโมงค์ทางด่วนช่วงผ่านม.เกษตรนั้น พบว่ามีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 20,000 ล้านบาท และมีความยากในด้านวิศวกรรมออกแบบและก่อสร้างเพราะอุโมงค์ต้องลึกมาก เพื่อลอดต่ำกว่าอุโมงค์ลอดทางแยกถนนพหลโยธินในปัจจุบัน และเมื่อพ้นช่วงเกษตร จะต้องปรับยกระดับขึ้นค่อนข้างชันเพื่อไปเชื่อมกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก แต่หากทำ N1 เป็นทางด่วนยกระดับ ทางเทคนิคจะทำได้ง่ายกว่า โดยช่วงผ่านวิภาวดีจะยกสูงขึ้นเป็นระดับ 4 เหนือดอนเมืองโทลล์เวย์ เท่านั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้ค่าก่อสร้างน้อยกว่าอุโมงค์ทางด่วนมาก

สำหรับ ช่วง N2 จากแยกเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงินลงทุน 14,3742 ล้านบาท คณะกรรมการ(บอร์ด) กทพ.เห็นชอบแล้ว แต่การดำเนินโครงการ ที่เกิดประโยชน์นั้นจะต้องดำเนินการช่วง N1 ด้วย เพราะเป็นโครงข่ายในการเชื่อมการเดินทางโซนตะวันออก-ตะวันตก ( East –West Corridor) หากไม่มี N1 การก่อสร้าง N2 ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น จะต้องเร่งสรุปN1 ให้เร็วที่สุด เพื่อผลักดันทั้งโครงการ

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเส้นทาง จะไปตามถนนงามวงศ์วาน พงษ์เพชร ไปถึงแคราย ซึ่งจะมีสถานีร่วมเชื่อมกับสายสีชมพูที่หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และยังเชื่อมกับรถไฟฟ้าสีม่วงได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้ มีความพร้อมในการดำเนินโครงการแล้ว อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)

“ม.เกษตร บอกว่าต้องการรถไฟฟ้าสีน้ำตาล เพราะจะเกิดประโยชน์ในการเดินทาง ซึ่งคาดว่าจะมีกว่า1 แสนคน/วัน ทั้งนิสิต นักศึกษา อาจารย์กว่า 7 หมื่นคน ยังมีบุคลากร ข้าราชการของหน่วยงานที่อยู่บริเวณเกษตร”
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3128286907218233
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2020 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยพัฒนา'บางกะปิบ้านเรา3L' เชื่อมต่อระบบขนส่ง'รถ-ราง-เรือ'
อังคารที่ 16 มิถุนายน 2563 เวลา 12.15 น.

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ย่านบางกะปิ เตรียมพร้อมดำเนินโครงการ บางกะปิบ้านเรา 3 L เพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่ง รถ ราง เรือ มุ่งเน้นอำนวยความสะดวกให้ประชาชน️

ที่ห้องประชุมโยธา 1 ชั้น 6 อาคารสำนักการโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ย่านบางกะปิ เพื่อเตรียมความพร้อมดำเนินโครงการ บางกะปิบ้านเรา 3 L ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนต่างๆ อาทิ รถ ราง และทางเรือ โดยมี นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตบางกะปิ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าฯ ห้างน้อมจิตต์ บางกะปิ กลุ่มผู้นำชุมชนบางกะปิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

สำหรับแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ย่านบางกะปิ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง และถนนศรีนครินทร์ โดยมีชุมชนบางกะปิเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อในพื้นที่บริเวณริมคลองแสนแสบ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา ได้นำเสนอในที่ประชุมในส่วนของรูปแบบการดำเนินโครงการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าบริเวณแยกบางกะปิ (sky walk) ระยะทาง 1,400 เมตร และแนวทางการดำเนินการรวมไปถึงงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่โดยจะเน้นพื้นที่ช่วงบริเวณเกาะกลางและsky walk เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้เชื่อมต่อกันระหว่าง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟฟ้าบางกะปิ ไปจนถึงวัดศรีบุญเรือง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกายภาพของพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบางกะปิและบริเวณวัดศรีบุญเรือง ปัจจุบันมีทางเท้าสาธารณะที่มีลักษณะแคบมาก ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าฯ และภาคเอกชนในพื้นที่ย่านบางกะปิ จึงเตรียมหารือแนวทางในการบริจาคที่ดิน เพื่อให้โครงการก่อสร้าง sky walk สามารถเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักการโยธาได้ขอความร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้องหาข้อสรุปถึงกรณีดังกล่าว และในส่วนของรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ให้ทางสมาคมฯสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ และพัฒนารูปแบบร่วมกับสำนักการโยธาได้ เพื่อให้รูปแบบโครงการฯ มีความสมบูรณ์และตรงกับบริบทของพื้นที่ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเพื่อความสะดวกสบาย และลดผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด....
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/06/2020 5:23 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดแผนประมูลระบบราง CK-STEC-SEAFCO-BEM เฮ!
ทันหุ้น ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ทันหุ้น-สู้โควิด - รฟม. เปิด Timeline เตรียมแผนประมูล 6 โครงการระบบราง โบรกจับกลุ่มรับเหมารับอานิสงส์ทั่วหน้า ทั้ง CK, STEC, SEAFCO และ PYLON ด้านธุรกิจระบบราง ชู BEM เต็ง 1 ทั้งสายสีส้มใต้ และ สีม่วงส่วนต่อขยาย

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดแผนการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าทั่วประเทศ ของ รฟม. ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้หาเอกชนผู้ร่วมลงทุน Public-Private Partnerships Net Cost หรือ PPP ในระยะ 5 ปี 6 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร วงเงิน 1.42 แสนล้านบาท ปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกอยู่ระหว่างพิจารณาเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (ร่าง TOR) โดยมีแผนที่จะประกาศเชิญชวน (ขายร่าง TOR) ภายในเดือนมิถุนายน 2563 มีกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอกลางเดือนสิงหาคม และได้ผู้ชนะการประมูลในเดือนธันวาคม 2563

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินลงทุนก่อสร้าง เวนคืน และจัดหาระบบกว่า 1.24 แสนล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคางานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ได้ในเดือนกันยายน 2563

3.โครงการรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 41.7 กิโลเมตร วงเงินราว 3.4 หมื่นล้านบาท มีแผนเปิดประมูลภายในปี 2563

4.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเสนอครม.ขออนุมัติดำเนินโครงการช่วงกลางปี 2564 เบื้องต้นมีกำหนดเริ่มก่อสร้างภายในมีนาคม 2565 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2570

5.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา รวมระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร วงเงินรวม 8.2 พันล้านบาท และ 6.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพิษณุโลก ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร วงเงินรวม 3.4 พันล้านบาท คาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP-Net Cost และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566

หนุน Backlog รับเหมา

นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุ การลงทุนภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 หนุนโอกาสเติม Backlog ให้กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจขนส่งทางราง

โดยโครงการใหญ่ที่คาดว่าจะประมูลได้คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก, รถไฟฟ้าสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง, และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ฝ่ายวิเคราะห์ ประเมินผู้เข้าประมูลหลักน่าจะมีเพียง 2 กลุ่ม คือ BSR (BTS-STECRATCH) และ BEM (Sub-contract งานก่อสร้างให้ CK) เบื้องต้นให้น้ำหนักกลุ่ม BEM มีโอกาสมากกว่า เนื่องจากเป็นผู้เดินรถทั้งบนดินและใต้ดินรายเดียวในประเทศ จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" CK ราคาเหมาะสมที่ 24 บาท, STEC ราคาเหมาะสมที่ 23 บาท, SEAFCO ราคาเหมาะสม ที่ 6.90 บาท คาดอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 4.1%, และ PYLON ราคาเหมาะสมที่ 6.80 บาทคาดอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 5.9%

ชู BEM เต็งหนึ่งสีส้ม-ม่วงใต้

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า BEM มี Upside Risk คือ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.23 แสนล้านบาท ซึ่งผู้บริหารเชื่อมั่นว่าจะชนะประมูล เนื่องจากความเชี่ยวชาญของกลุ่ม CK ในการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน และประสบการณ์บริหารรถไฟใต้ดินของ BEM และความได้เปรียบในเชิงกายภาพของแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน นอกจากนี้การขยายสายสีม่วงตอนใต้ภาครัฐยังคงเดินแผนอย่างต่อเนื่อง (BEM ให้บริการตอนเหนือ) จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 13 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2020 9:07 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสีส้ม-สีม่วงมาแล้ว CKเต็งคว้างาน2แสนล.
รายงาน : เฉลิมชัย ศิรินันทวิทยา
บรรณาธิการ : เฉลิมชัย ศิรินันทวิทยา

ทันหุ้น ฉบับวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

CK ตั้งเป้า Backlog ระดับสูงที่ 2 แสนล.



ทันหุ้น–สู้โควิด–ศักดิ์สยามลั่น ชัดเจนแล้ว รฟม. ประกาศ TOR ประมูลสายสีส้มตะวันตก 1.1 แสนล้านก.ค.นี้ ประกาศผู้ชนะปีนี้ เตรียมประมูลงานโยธาสีม่วงใต้ก.ย.ต่อเนื่อง ได้ผู้ชนะปีนี้เช่นกัน เข้าทาง CK-BEM เต็มๆ โบรกเชื่อมีโอกาสกินรวบ ชี้ CK แบ็คล็อคเข้าปีหน้า 2 แสนล้าน การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลปีหน้า



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะประกาศหลักเกณฑ์เชิญภาคเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (งานโยธาสายสีส้มตะวันตก และงานเดินรถตลอดทั้งเส้น) มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท ได้ภายในเดือนกรกฏาคม 2563และเปิดให้เอกชนยื่นประมูลในเดือนตุลาคม คาดว่าจะสรุปผลการประมูลได้ภายในสิ้นปี 2563



ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) มีกำหนดเปิดประมูลงานโยธา มูลค่ากว่า 8หมื่นล้านบาทภายในเดือนกันยายน 2563 นี้ โดยคาดว่าจะสรุปผลการประมูลได้ภายในสิ้นปี 2563เช่นกัน และเมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สามารถเปิดให้บริการได้ตลอดทั้งสายทาง ทาง รฟม.มีแผนจะเปิดประมูลงานเดินรถและพัฒนาระบบ (O&M) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ราษฎร์บูรณะ-คลองบางไผ่)



สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) นั้นนายศักดิ์สยาม ยอมรับว่า ไม่สามารถเปิดเดินรถได้ตามกรอบเวลาปี 2564 เนื่องจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เพื่อก่อสร้างก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อล่าช้าจากวิกฤติโควิด-19 เบื้องต้นผู้รับเหมาขอขยายเวลาก่อสร้างกว่า 500วัน อย่างไรก็ตาม งาน O&M โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง นั้น นายศักดิ์สยาม แสดงทรรศนะส่วนตัวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี



นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ รฟม. ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณากรอบวงเงินเยียวยาผู้ประกอบการระบบขนส่งทั้งทางถนน, ระบบราง, ทางน้ำ, และทางอากาศ เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง หลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19



“โควิด-19ไม่กระทบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ทุกโครงการจะยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลพร้อมที่จะยืดหยุ่นอายุสัมปทานให้อย่างเหมาะสมไม่จำเป็นต้องแค่ 30 ปี รวมถึงการพิจารณาเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งก็ต้องรอดูตัวเลขที่เหมาะสม และขอยืนยันว่าเรามีคณะกรรมการกลั่นกรองที่รอบคอบ โปร่งใสและตอบได้ทุกคำถาม”



ด้านนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) มูลค่า 4.8หมื่นล้านบาทที่มีทั้งงานโยธาและงาน O&M ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบฐานรากส่วนที่ต้องใช้พื้นที่ร่วมกับทางด่วนตอน N1และ N2 ระยะทาง 7กิโลเมตร คาดจะส่งแบบที่แล้วเสร็จในกลางเดือนกรกฏาคม 2563ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อเจรจาว่าจ้างให้ กทพ.ดำเนินการงานโยธาช่วงดังกล่าวให้ พร้อมกับการก่อสร้างทางด่วนของกทพ.



ขณะเดียวกัน รฟม.เตรียมจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำรายงาน PPP ภายไตรมาส 4/2563 เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6เดือน ดังนั้นคาดว่าจะสามารรถเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลได้ภายในปี 2564



CK ผนึก BEM ลุยประมูล



นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เปิดเผยว่า การประกาศประมูลรถไฟฟ้า 2 สายในปีนี้ เป็นผลบวกต่อกลุ่มก่อสร้าง หลังจากที่ผ่านมาเจอปัญหาเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณ ทำให้ไม่มีงานเข้ามา ทั้งนี้กลุ่มก่อสร้างมีอัพไซด์จากราคาเป้าหมายมากกว่า 30% อย่างไรก็ดีเบื้องต้นมองว่า BEM และ CK มีโอกาสได้รับงานสายสีส้มตะวันตก และ สายสีม่วงได้ เนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการรถไฟฟ้าใต้เดินอยู่แล้ว ส่วนสายสีม่วงก็เป็นผู้ดำเนินการในช่วงเตาปูน-บางใหญ่อยู่แล้ว



“CK-BEM มีความเชี่ยวชาญด้านงานรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่แล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เป็นงานใต้ดินทั้งหมด ขณะที่ทีสายสีม่วงมีงานใต้ดินเป็นหลัก 10 สถานี จาก 17สถานี แต่ที่น่าสนใจเพิ่มคือ การที่สายสีส้มจะฟีดคนให้สายสีน้ำเงินให้เพิ่มขึ้นมากกับ BEM อาจจะเป็นแต้มทำให้ BEM สามารถใช้การซินเนอร์จี้นี้ กำหนดราคาที่เป็นต่อได้”



ขณะที่ CK ได้มีการปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายปีหน้าขึ้นจากเดิมที่ทำไว้ 27 บาท ปรับเป็น 30.85 บาท เนื่องจากประเมินว่า CK มีแบ็คล็อคเพิ่มขึ้นสูงมากจากเดิม 35,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาทปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2020 9:09 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.เปิดแผนประมูลระบบราง CK-STEC-SEAFCO-BEM เฮ!
ทันหุ้น ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563


Link อยู่นี่ครับ
https://www.thunhoon.com/article/224536
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2020 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

‘ม.เกษตร’ ยอมถอยกทพ.ลุย ‘ทางด่วนขั้นที่ 3- รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล’
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออลไลน์เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 08:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 11
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,585
วันที่ 21 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ม.เกษตร ถอยหลัง กทพ.เจรจาเดินหน้าลุยทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ-รถไฟฟ้าสีน้ำตาล รวมเฉียดแสนล้าน แก้รถติดช่วงหมอชิต-วิภาวดีฯหลังช้ามานาน เผยใช้แนวคิดหลังคาโดมกันฝุ่นจิ๋ว

เกือบ 20 ปี สำหรับเสาตอม่อ ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ก่อสร้างพร้อมกับถนน ประเสริฐมนูกิจ (หรือเกษตร-นวมินทร์) ของกรุงเทพมหานครรองรับ โครงการทางด่วนขั้น 3 สายเหนือในอนาคต เพื่อไม่ต้องเสียเวลาขุดเจาะใหม่เมื่อถึงเวลาก่อสร้างจริง แต่จนแล้วจนรอด ไม่มีทีท่าได้ลงมือก่อสร้างเนื่องจากติดปัญหางบประมาณ การเปลี่ยนแปลงขั้วการเมืองบ่อยครั้ง การปรับเปลี่ยนนโยบายก่อสร้างโครงการระหว่างทางด่วนกับรถไฟฟ้า และปัญหาการคัดค้านของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องความปลอดภัยและปัญหามลพิษนายชาตรี ตันศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างทางพิเศษ รักษาการรองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือนั้น ขณะนี้ที่ประชุมได้เชิญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมหารือหลังจากพบว่ามีความเห็นบางเรื่องที่ไม่ตรงกันขณะเดียวกันได้สั่งการให้กทพ.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กลับไปหารือเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติม เนื่องจากกทพ.มีแนวคิดสร้างหลังคาโดมครอบทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ซึ่งเป็นระบบป้องกันในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อควบคุมมลภาวะทางเสียงและอากาศ รวมถึงลดการเกิดปัญหาจากฝุ่น PM 2.5 เหมือนต่างประเทศ วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งบรรยากาศเป็นที่น่าพอใจและเตรียมนัดเจรจาภายใน 3 สัปดาห์ นับจากนี้

อัพเดท "เยียวยาเกษตรกร"เช็ก www.moac.go.th โอนเงินกลุ่มตกค้างเพิ่มถึงสิ้น มิ.ย.
www.เยียวยาเกษตรกร.com ธ.ก.ส.ย้ำเกษตรกร 1.4 แสนรายรีบแจ้งบัญชีด่วน
22 มิ.ย. “เราไม่ทิ้งกัน” โอนเงินเยียวยา 5000 ให้ผู้รับสิทธิ์ 3 วันรวด



สำหรับแนวคิดนี้ถือเป็นแนวคิดที่ได้รับกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากในปัจจุบันบริเวณ มก.มี 2 เส้นทาง ซึ่งเป็นทางยกระดับอยู่แล้ว หากจะสร้างอุโมงค์ทางลอดจะทำให้ระยะทางในการขุดเจาะอุโมงค์ลึกลงไป อาจกระทบระบบสาธารณูปโภคใต้ดินรวมถึงบริเวณนั้นจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินค่อนข้างมาก ประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหว ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะทำอุโมงค์ทางลอด เพราะแนวคิดที่ กทพ.เสนอถือเป็นแนวคิดที่ดีที่สุดแล้วส่วนการเวนคืนที่ดินจากการสำรวจบริเวณมก.พบว่า แนวคิดนี้ไม่มีการเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าว แต่บริเวณแนวเส้นทางอื่นๆจะต้องมีการสำรวจเพิ่มเติมว่าจะมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่ขณะเดียวกันที่ประชุมมีความเห็นให้โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1 ควรใช้แนวเส้นทางเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี เนื่องจากบริเวณ มก.ช่วงถนนงามวงศ์วานเชื่อมต่อวิภาวดีรังสิต พบว่ามีตอม่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี จำนวน 17 ฐาน ภายในพื้นที่ของมก. ซึ่งเป็นแนวเส้นทางใกล้ที่สุดในการดำเนินโครงการดังกล่าว เบื้องต้นที่ประชุมเน้นย้ำให้ กทพ.ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องที่มก.ยังมีความกังวล


“ที่ผ่านมา มก.เห็นด้วยกับหลักการสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แต่ต้องรอดูการวางฐานตอม่อและบริเวณที่ต้องวางตอม่อว่ามีบริเวณใดบ้าง”หากมก.เห็นชอบ จะเริ่มจัดทำรายงานการประเมินผกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)และออกแบบภายในปีนี้ ซึ่งระยะเวลาดำเนินการขึ้นอยู่กับ มก. เป็นผู้ตัดสินใจขณะเดียวกันหากสามารถดำเนินการโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1 ได้ จะทำให้ลดการจราจรติดขัด เนื่องจากทางด่วนเส้นทางนี้เป็นเส้นทางช่วง East-West Corridor ที่เชื่อมต่อทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก หากทางด่วนเส้นทางนี้เชื่อมต่อระหว่างกันได้ ทำให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้ทางด่วนบริเวณหมอชิต-วิภาวดี ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการจราจรดีขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเส้นทางสายเหนือสามารถเดินทางสะดวกมากขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางไม่ถึงชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 215, 216, 217 ... 277, 278, 279  Next
Page 216 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©