RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181747
ทั้งหมด:13492985
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2020 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

เจรจาลงตัวดีลซื้อระบบรถจีน5หมื่นล้าน สร้าง”ไฮสปีดสายอีสาน”เซ็นสัญญาต.ค.นี้
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 - 11:03 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2563 ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เป็นการหารือในประเด็นสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

“ได้ข้อตกลงร่วมกันวงเงินลงทุนจะแบ่งใช้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 80% วงเงิน 40,506 ล้านบาท (1,313 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และสกุลเงินบาทไทย 20% จำนวน 10,126 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้ว อีกทั้งทางจีนยังได้ลดค่าใช้จ่ายในวงเงินดังกล่าวอีก 3,000 ล้านบาท“


โดยในร่างสัญญาระบุจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวันที่ 25 เม.ย.-30 พ.ย. 2562 คือ 30.82955 บาท/1 เหรียญสหรัฐฯ โดยสัญญานี้มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2563-2568 โดยกำชับกับเจ้าหน้าที่ ถ้ามีการชำระค่างวดงาน ขอให้พิจารณาอัตราเงินบาทแข็งตัวด้วย เพื่อให้ดำเนินการยังอยู่ภายใต้งบประมาณ

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการกำหนดวันลงนามในสัญญา ซึ่งวางเอาไว้ว่าจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย และจะเทียบเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีด้วย ส่วนทางการจีนก็ต้องนำเรื่องเรียนกับคณะรัฐบาลของประเทศให้ทราบและดำเนินการคัดเลือกประธานของทางการจีนมาร่วมลงนามที่ประเทศไทยต่อไป

อย่างไรก็ตาม จะต้องรายงานความคืบหน้าของการประชุมในครั้งนี้ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก่อน หลังจากนั้นจึงจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน คาดว่าการลงนามจะเกิดขึ้นช้าสุดไม่เกินเดือน ต.ค.นี้ แต่จะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องของทั้งไทยและจีนว่าจะทำได้รวดเร็วแค่ไหน ส่วนหนังสือให้เริ่มต้นงาน (Notice to Proceed : NTP) จะร่างเสร็จภายในปีนี้

คมนาคมเคาะจบดีลสัญญา2.3 รถไฟไทย-จีน วงเงิน5.06หมื่นล้าน

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:02 น.


26 พ.ค.2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ผ่านระบบ Video Conference กับ นายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ที่ประชุมทั้ง2ฝ่ายได้ข้อยุติ ร่วมกัน ในส่วนของร่างสัญญา 2.3 สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท

สำหรับข้อสรุปเงื่อนไขสัญญา 2.3 ในเรื่องสกุลเงิน วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยเห็นชอบที่จะให้ชำระเป็นเงินดอลลาร์ 80 % เป็นจำนวน 1,313,885,237 เหรียญสหรัฐ และชำระเป็นเงินบาท 20 % เป็นจำนวน 10,126,700,000 บาท อัตราแลกเปลี่ยน 30.82955 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (ตามอัตราเฉลี่ยธนาคารแห่งประเทศไทยช่วง ระหว่าง 25 เม.ย.62 - 30 พ.ย.62

“ สัญญา 2.3 กำหนดมูลค่าไว้ที่ 53,633 บ้านบาท แต่ไทย-จีน ได้มีการเจรจาร่วมกันและได้ปรับลดค่าระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ค่าตัวรถไฟฟ้า และค่าฝึกอบรมพนักงาน ทำให้สามารถปรับลดวงเงินลงได้กว่า 3 ,000 ล้านบาท”นายศักดิ์สยาม กล่าว

อย่างไรก็ตามโดยหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ส่งร่างสัญญา ต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะสรุปร่างสัญญาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินและเงื่อนไข คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยจะลงนามในสัญญานี้ได้ภายในเดือนต.ค. 63 หรือเร่งรัดให้เร็วที่สุด อาจจะภายในเดือนส.ค. –ก.ย. นี้ โดยจะเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานลงนาม ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย เพื่อให้สามารถเริ่มงานภายในปี 63 เนื่องจากโครงการล่าช้ามานานจากที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ ระยะเวลาการดำเนินโครงการจะใช้เวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 63-68 อย่างไรก็ตามส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 29 นั้น ฝ่ายไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาไม่เกินเดือนต.ต.63
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2020 10:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เจรจาลงตัวดีลซื้อระบบรถจีน5หมื่นล้าน สร้าง”ไฮสปีดสายอีสาน”เซ็นสัญญาต.ค.นี้
คมนาคมเคาะจบดีลสัญญา2.3 รถไฟไทย-จีน วงเงิน5.06หมื่นล้าน

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:02 น.


สำนักข่าวซินหัวพูดถึงการ เจรจาลงตัวดีล สัญญา2.3 รถไฟไทย-จีน วงเงิน5.06หมื่นล้าน สร้าง”ไฮสปีดสายอีสาน”เซ็นสัญญาต.ค.นี้
http://www.xinhuanet.com/english/2020-05/25/c_139087013.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2020 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยเซ็น 12 สัญญารับเหมา หลัง มิ.ย. EIA ไฮสปีด ไทย-จีนผ่าน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 8
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,579
วันที่ 31 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รฟท. เตรียมเซ็นสัญญา 12 ผู้รับเหมา หลังค้างเติ่ง ติดยื่น อีไอเอเพิ่มเติม จากการปรับแนวเส้นทาง คาดว่าได้รับอนุมัติมิ.ย.นี้

รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ MOC ก่อสร้างโครงการ รถไฟความเร็วสูง สายอีสาน ( ไฮสปีด) ไทย-จีนสายแรก กรุงเทพ –หนองคาย ระยะทางรวม กว่า 600 กม. มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทยรฟท.ตั้งแต่ ตั้งแต่วันที่19 ธันวาคม 2557 และลงมือ ก่อสร้างระยะแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา ปลายปี 2560 แบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น14สัญญา โดย

ช่วงแรกสัญญาที่1 กรมทางหลวงก่อสร้าง ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5กิโลเมตร มีเป้าหมาย1ปีก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ปัจจุบัน มีความคืบหน้าเพียง75%

ส่วนที่เหลือ ทะยอยเปิดให้เอกชนประมูล โดยช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร วงเงิน 3,350.47 บมจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง คว้างานต่ำกว่าราคากลาง 7% ล่าสุด อยู่ระหว่างรื้อย้ายสาธารณูปโภค เฉือนชนะยักษ์ใหญ่ บมจ.อิตาเลียนไทยแบบฉิวเฉียด

เหลืออีก 12สัญญา ในจำนวนนี้ มี 7 สัญญา รอลงนามในสัญญา หลังผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟท.) อีก 3สัญญารอเข้าบอร์ดรฟท. เห็นชอบ ส่วนอีก 1สัญญาก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย (เดโป้) อยู่ระหว่างรอเปิดซองราคา แต่ วงในระบุว่า บมจ.อิตาเลียนไทยชนะประมูล ขณะสัญญาสุดท้ายที่ 14 บางชื่อไป ดอนเมือง ยังไม่เปิดประมูลต้องรอหารือกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม3สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา) เกี่ยวกับพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อน

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้าง ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ติดปัญหา การปรับแบบใหม่เกือบตลอดแนว ส่งผลให้ต้องยื่นทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอเพิ่มเติมคาดว่า เดือนมิถุนายนอีไอเอน่าจะได้รับการอนุมัติ หลังจากนั้น ผู้รับเหมาทั้ง7สัญญา สามารถลงพื้นที่ก่อสร้างได้ทันที อย่างไรก็ตามยอมรับว่า เกิดความล่าช้า คาดว่า สามารถเปิดให้บริการได้ ราวปี2567 จากแผนเดิม ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี2566แหล่งข่าวจากรฟท. ยอมรับว่า การก่อสร้าง มีความล่าช้าไปจากแผนกว่า6เดือน เนื่องจาก ติดอุปสรรคต้องแก้ไขปรับแนวก่อสร้างบางจุด จึงเป็นสาเหตุให้ต้องยื่นแก้ไขอีไอเอใหม่ จึงไม่สามารถเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเพื่อลงมือก่อสร้างได้

สำหรับไฮสปีดไทย-จีน ระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,413 ล้านบาทที่รอเซ็นสัญญา อาทิ

สัญญาช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคา 8,626 ล้านบาท ,

สัญญาช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้เสนอราคา 11,525 ล้านบาท

สัญญาช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 9,429 ล้านบาท,

สัญญางานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เสนอราคา 4,279.328 ล้านบาท

สัญญาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคา 8,560 ล้านบาท,

สัญญาช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคา 9,330 ล้านบาท,

สัญญาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เสนอราคา 9,788 ล้านบาท

อยู่ระหว่างรอบอร์ดอนุมัติ 3 สัญญา ได้แก่

สัญญาช่วงบันไดม้า-โคกกรวด ระยะทาง 26.1 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีปากช่องของบริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคา 9,838 ล้านบาท
สัญญางานโยธาช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงิน 9,913 ล้านบาท และ
สัญญาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK วงเงิน 7,750 ล้านบาทและ
สัญญางานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท บมจ.อิตาเลียนไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2020 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

“รถไฟไทย-จีน” ซูเปอร์ดีเลย์! แก้ EIA-สปีดก่อสร้าง-เร่งเซ็นซื้อระบบรถ ฝัน?..เข็นเปิดหวูดกรุงเทพ-นครราชสีมา ปี 68
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หน้kเศรษฐกิจ-ธุรกิจ การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม คมนาคม-ขนส่ง
เผยแพร่: จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 07:55
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 08:50




“รถไฟความเร็วสูง” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ถูกผลักดันตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นรัฐบาล คสช.ปี 2557 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีโยกคันเกียร์รถเครนเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อ 21 ธ.ค. 2560

กลายเป็นอีกโปรเจกต์ที่ใช้เวลาดำเนินการยาวนาน นับตั้งแต่ คสช.ถึงรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ถึงรัฐบาล “ประยุทธ์ 2” จาก รมว.คมนาคม “พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง” ส่งไม้ต่อ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” จนถึงมือรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งอย่าง “เสี่ยโอ๋” ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ที่รับสานงานต่อ ตั้งแต่ 18 ก.ค. 2562

ถึงวันนี้...เบ็ดเสร็จใช้เวลามาแล้ว 6 ปี ...เพราะเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจีนออกแบบทั้งหมด เพราะเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน ขณะที่ประเทศไทยไม่มีประสบการณ์มาก่อน แม้จะร่วมมือกันทำงาน แต่ ทุกอย่างจะต้องให้ฝ่ายจีนตรวจเช็ก และเห็นชอบก่อน

ที่เคยทำได้ง่ายๆ ก็กลายเป็นเรื่องยาก...และใช่เวลาเพิ่มขึ้น เพราะข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐต่อรัฐ ต้องปฏิบัติภายใต้ขั้นตอนและกฎหมาย

3 ปีกว่า ก่อสร้างได้แค่ 2 สัญญา ระยะทาง 14.5 กม.

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค (ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะหน่วยงานผู้ขับเคลื่อนโดยแบ่งงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา กรอบวงเงินจาก ครม.117,914.08 ล้านบาท

ปัจจุบันก่อสร้างได้ 2 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362.52 ล้านบาท มีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ก่อสร้างนำร่องให้ก่อน ขณะนี้งานคืบหน้า 82.81% ล่าช้ากว่าแผน 4.19%

และช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท มีบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง เซ็นสัญญาเมื่อ 6 มี.ค. 2562 ก่อสร้าง 540 วัน หรือสิ้นสุดในเดือน ต.ค. 2563 ขณะนี้งานคืบหน้า 23.29% ล่าช้ากว่าแผน 12.54% จากปัญหาการเข้าพื้นที่ล่าช้า และโควิด-19 คาดว่าอาจจะต้องต่อขยายเวลาออกไป

ส่วนอีก 12 สัญญา วงเงินประมาณ 106,765 ล้านบาทนั้น เปิดประมูลแล้ว 11 สัญญา วงเงินประมาณ 96,764.12 ล้านบาท ส่วนอีก 1 สัญญา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงินราว 10,000 ล้านบาท ยังเปิดประมูลไม่ได้ เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งรอเสนอรายงาน EIA

สำหรับกรอบวงเงินค่างานโยธาที่ ครม.อนุมัติที่ 117,914.08 ล้านบาท หลังจากประมูลไปแล้ว 13 สัญญากับอีก 1 สัญญา ที่ทับซ้อนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประเมินว่าจะใช้เงินค่าก่อสร้างราว 110,241 ล้านบาท ประหยัดค่างานโยธาได้ราว 7,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม งานโยธาที่ประมูลเสร็จแล้ว 7 สัญญา แต่ยังเซ็นสัญญากับผู้รับจ้างไม่ได้ เพราะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากการออกแบบโครงการ มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วน ทำให้ต่างไปจาก EIA ฉบับเดิมที่เคยได้รับอนุมัติแล้ว

โดย 29 พ.ค. คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) กระทรวงทรัพยากรและธรรมชาติ ได้มีการพิจารณา EIA เพิ่มเติม ช่วงกรุงเทพ-ภาชีแล้ว และเตรียมเสนอต่อ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป

ส่วนช่วงภาชี-นครราชสีมา ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเร่งส่งข้อมูลเพิ่มเติม EIA ไม่เกินเดือน มิ.ย. คาดว่า คชก.จะเร่งประชุมพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ หาก EIA ได้รับการอนุมัติทั้งหมด งานโยธาจะเดินหน้าการก่อสร้างได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตามกรอบ จะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 64 เดือน หรือประมาณ 5 ปีเศษ

“ศักดิ์สยาม” ประชุมนัดเดียว ปิดดีลสัญญา 2.3 ซื้อระบบไฮสปีดจีนแบบชิลๆ

จากที่คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ไทยและจีน มีการประชุมเจรจากันมาถึง 27 ครั้ง จนได้เริ่มการก่อสร้าง แต่งานระบบรถไฟ หรือสัญญา 2.3 ซึ่งครอบคลุมการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ ยังไม่ลงตัว

งานระบบสัญญา 2.3 นั้น ครม.อนุมัติไว้ที่ 38,558.35 ล้านบาท แต่วงเงินขยับเพิ่มเป็น 51,000 ล้านบาท จากการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูงจากรุ่น “เหอเสีย”เป็นรถรุ่นใหม่ล่าสุด “ฟู่ซิงเฮ่า” ซึ่งมีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น และประหยัดพลังงานมากกว่า ทำให้ราคาตัวรถสูงกว่าเดิมอีกทั้งมีการโยกวงเงินในส่วนของการบำรุงทาง ที่เดิมนำไปรวมไว้ในงานโยธา มาอยู่ในส่วนของสัญญา 2.3

ฝ่ายไทยพยายามต่อรองเพื่อปรับลด เพื่อให้วงเงินรวมโครงการอยู่ในกรอบ 1.79 แสนล้านบาท โดยไทยใช้โอกาสในประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2562 ณ กรุงปักกิ่ง ...เรื่องนี้ก็ต้องเครดิต “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คมนาคมในขณะนั้น ที่เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไป เจรจาจนลดกรอบวงเงินลงเหลือ 50,600 ล้านบาท

เคลียร์วงเงินแล้ว ...ยังเหลือเงื่อนไขในร่างสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไทย และสกุลเงินที่จะใช้ในการจ่ายชำระ ที่ต้องต่อรองกันอีก

หลัง “อาคม” ส่งไม้ต่อให้ “เสี่ยโอ๋” มีการเจรจาในเงื่อนไขที่เหลือ ทั้งแบบคณะทำงานชุดเล็ก และการเจรจาระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับนายหลี เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนระหว่างวันที่ 4-6 พ.ย. 2562

รวมถึงการประสานเป็นการส่วนตัวของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม ที่ควง “รมต.ศักดิ์สยาม” ไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อตกลงเรื่องรายละเอียดข้อกฎหมาย และสกุลเงิน

ข้อสรุปเงื่อนไขสัญญา 2.3 ไทยตกลงซื้อระบบ และรถไฟจากจีน วงเงินรวม 50,633.5 ล้านบาท โดยชำระค่างวดๆ กำหนดสัดส่วน ชำระเป็นเงินสกุลดอลลาร์ 80% หรือจำนวน1,313,895,273 ดอลลาร์ (40,506.8 ล้านบาท) ชำระเป็นสกุลบาท 20% หรือ 10,126.5 ล้านบาท

โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในช่วงวันที่ 25 เม.ย. 2562 - วันที่ 30 พ.ย. 2562 ที่อัตรา 30.82955 บาทต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในขณะนี้เนื่องจากการชำระเงินก็เรื่องระบบสัญญา 2.3 นั้นจะชำระเป็นงวดๆ ซึ่งมีการดำเนินโครงการ 5 ปี (2563-2568) ซึ่งขณะนี้ มีเรื่องโรคไวรัส โควิด-19 แต่หากสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้ จะทำให้ค่าเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น

แต่ทุกอย่างมีอันต้องสะดุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การเดินทางถูกล็อกดาวน์หมด

ที่สุด ไทย-จีนได้มีการประชุม JC ครั้งที่ 28 ไปเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ผ่านระบบ Video Conference เพราะโควิด-19 ยังระบาดอยู่ ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในเงื่อนไขสัญญา 2.3 ทั้งหมด พร้อมวางไทม์ไลน์กำหนดเซ็นสัญญาไม่เกินเดือนต.ค. 63

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ระบุว่า จะรายงานความคืบหน้าต่อ ครม.ในวันที่ 2 มิ.ย. ขณะที่ ร.ฟ.ท.จะส่งร่างสัญญา 2.3 ให้อัยการสูงสุดตรวจ ซึ่งก่อนหน้านี้อัยการสูงสุดได้ช่วยดูร่างสัญญามาแล้ว อาจจะจะใช้เวลาสัญญาตรวจร่างสัญญาไม่ถึง 2 เดือน และอาจจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ซึ่งเร็วกว่ากำหนดในแผนที่จะเซ็นสัญญาในเดือน ต.ค. 2563

ในการเซ็นสัญญา 2.3 โครงการรถไฟไทย-จีน จะเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งวางแผนว่าจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย เพื่อให้สามารถเริ่มงานภายในปี 2563 เนื่องจากโครงการล่าช้ามานานจากที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

ก่อสร้างดีเลย์...สปีดยังไม่เข้าเป้า

รถไฟไทย-จีน มีโครงข่ายจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทางรวม 608 กม. ใช้วงเงินลงทุนประมาณ 391,170 ล้านบาท โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ

ระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. ก่อสร้าง 5 ปี (2561-2566) ส่วนงานระบบ (สัญญา 2.3) แล้วเสร็จและเปิดเดินรถในปี 2568



ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงินลงทุน 211,757 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนออกแบบรายละเอียดงานโยธา ตามแผนมีระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี (2563-2568) ล่าสุด

ตารางแผนงานกับผลงานจริง ไม่ง่าย ...งานนี้เชื่อว่าต้องมีปรับเลื่อนกันอีกหลายรอบแน่นอน ...

นอกจากนี้ ตามข้อตกลงจะต้องมีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยสถาบันฯ จะดำเนินงานประสานงานในด้านต่างๆ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีมาตรฐานระบบราง อุตสาหกรรมระบบราง การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการทดสอบและการทดลอง โดยพิจารณาแนวทางจัดตั้งองค์กรเป็นรูปแบบองค์การมหาชน

และจัดตั้ง “องค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง” เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง จะต้องหารือกับสภาพัฒน์ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า

และยังจะต้องฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยี การบริหารรถไฟความเร็วสูง ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การขับและซ่อมแซมระบบรถ ดังนั้น ก่อนจะเปิดเดินรถยังต้องงานที่ต้องทำอีกมากมาย

โครงการใหญ่...เงินลงทุนสูง...แถมยาก เพราะไทยไม่เคยทำมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ นับจากวันเริ่มค้นเมื่อปี 2557 วันนี้ คงต้องรอลุ้นเฟสแรกที่ตั้งเป้า เสร็จปี 2568 ก่อน ว่าทำได้จริงหรือเปล่า ...เพราะถ้าไม่เลื่อน ไม่เลต...นั่นก็เท่ากับโครงการใช้เวลาถึง 11 ปี ไปถึงแค่นครราชสีมา

แต่ถ้าปี 2568 เข็นเปิดหวูดเฟสแรกถึงโคราชไม่ได้ เป้าหมายเฟส 2 ต่อถึงหนองคาย อีก 355 กม.พร้อมสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม “ไทย-ลาว-จีน”...คงต้องรออีกยาว!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2020 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

#การไฟฟ้านครหลวง ขออนุญาตปักเสาไฟฟ้าชั่วคราว
#โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 1/2563
การไฟฟ้านครหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษภาคตะวันออก ร่วมพิจารณาหาข้อตกลงในส่วนของ
1) แผนผัง รูปแบบ และแผนการดำเนินการปักเสาไฟฟ้าชั่วคราว
2) แผนการดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าชั่วคราว
3) แผนการดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าชั่วคราว
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับนโยบายและระเบียบข้อบังคับของกรุงเทพมหานคร และเป็นไปในแนวทิศทางเดียวกัน ในที่ประชุมได้รับแนวทางการดำเนินงาน และจัดทำรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อมานำเสนอและบังคับใช้ในโครงการฯ ต่อไป
https://www.facebook.com/yotabma/photos/a.436127576478629/2955773611180667/?type=3 H_559XX_T2lBveMuuYwgL5vaZYWhUpqg5uiNC5RMfyZv_p0VWbkV0YyO8f1&__tn__=H-R
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/2981373231944649
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2020 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟครส.สายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน "อาจ"ใช้ขบวนรถไฟจากผู้ผลิตสัญชาติ "ญี่ปุ่น"และมีผู้ให้บริการรถไฟจาก "อิตาลี " รู้จักพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ของ CP
Thailand Development Report
4 มิถุนายน 2563

ขณะที่กระบวนการเวนคืนที่ดินและเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางกําลังอยู่ในระหว่างดําเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เราก็พอจะทราบข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ชนะประมูลโครงการอย่างกลุ่ม CPH ที่จะนําระบบรถไฟความเร็วสูงมาให้คนไทยได้ใช้บริการ โดยรัฐบาลมีแผนงานว่า 1 ปี หลังลงนามต้องเริ่มก่อสร้างได้ หลังจากนั้นใช้เวลา 5 ปีในการสร้าง ซึ่งการแล้วเสร็จอาจไม่ทันปี 2566 ตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ แต่อาจจะได้ในปี 2568 เนื่องจากภายในปีนี้คาดว่าจะมีการมอบที่ดินได้บางส่วน โดยการแจกแจงหน้าที่ของพันธมิตร CPH จากทั่วโลกด้วยโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 2.24 แสนล้านบาทประกอบไปด้วย
.
บจ. เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (CPH) สัดส่วนลงทุน 70%
บจ. ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC) สัดส่วนลงทุน 10%
บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) สัดส่วนลงทุน 10%
บมจ. ช.การช่าง (CK) สัดส่วนลงทุน 5%
และ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ฯ (ITD) สัดส่วนลงทุน 5%
.
- บทบาทของไชน่าเรลเวย์คอนสตรัคชัน -
.
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดเดาไว้ ณ ตอนแรกเริ่มเมื่อเห็นบริษัทไชน่าเรลเวย์คอนสตรัคชัน ก็มักจะนึกภาพไปถึงว่า CP จะยกกลุ่มบริษัทสัญชาติจีนเข้ามาดําเนินโครงการรวมถึงกู้เงินจากจีนด้วยเช่นกัน บางคนถึงขั้นวิตกไปไกลถึงขั้นว่าไม่ต่างอะไรกับการยกที่ดินให้จีน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไชน่าเรลเวย์คอนสตรัคชั่นเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่อันดับต้นๆของโลก มีผลงานการรับเหมาโครงการเมกะโปรเจ็กต่างๆโดยเฉพาะงานด้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยเรียกได้ว่าเชี่ยวชาญที่สุดในโลก ดังนั้นแล้ว การที่ได้ CRCC มาเป็นผู้ถือหุ้น และมาดําเนินงานก่อสร้าง จะเป็นผลดีต่อผู้รับเหมาไทยในโครงการอย่าง ITD และ CK ที่จะได้มีการเรียนรู้เทคนิคการการก่อสร้างใหม่ๆที่นําไปต่อยอดในโครงการอื่นได้
.
-พันธมิตรเชิงกลยุทธ์-
.
ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร (CEO) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวถึงความพร้อมในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเครือซีพีและพันธมิตรในกลุ่ม CPH ว่า “รัฐเร่งอยากให้เริ่มสร้างเร็วทีมเราก็ค่อนข้างพร้อมเรามี operating partner จากอิตาลี เรามีบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ ทั้งอิตาเลียน-ไทย, ช.การช่าง และซีอาร์ซีซี ของจีน ซึ่งเป็นบริษัทรถไฟไฮสปีดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเรามีพาร์ตเนอร์จากญี่ปุ่นด้านหัวรถไฟ” ศุภชัยเล่าโดยสรุปแต่ยังขอไม่ระบุชื่อพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่น บอกแต่เพียงความพร้อมของทีมงานที่เครือซีพีได้รวมพันธมิตรหลายบริษัทเข้ามาร่วมในกลุ่ม CPH ที่ค่อนข้างมั่นใจว่าพร้อมสำหรับการพัฒนาโครงการ 2.2 แสนล้านบาทนี้อย่างไม่ต้องกังวล"
.
- Ferrovie dello Stato Italiane -
บริษัทรถไฟแห่งชาติอิตาลี (Ferrovie dello Stato Italiane S.p.A.) หรือ FS เป็นรัฐวิสาหกิจบริการรถไฟในประเทศอิตาลี ที่นอกจากจะให้บริการรถไฟในประเทศแล้ว ยังดําเนินธุรกิจเป็นที่ปรึกษาและบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงต่างๆ โดยมีผลงานที่สําคัญในไต้หวันและสหรัฐอเมริกา สําหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อสามสนามบินคาดไว้ว่า FS จะมาทํางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ฝั่งไทยคือ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการและพาร์ทเนอร์ให้บริการรถไฟ

- HITACHI , JBIC , JICA -
ฮิตาชิมีแนวโน้วสูงนํารถไฟหัวกระสุน "ชินคังเซ็น" มาใช้ในโครงการ ฮิตาชิเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่คนไทยต่างรู้จักเป็นอย่างดีในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่รู้หรือไม่ว่า อีกหนึ่งธุรกิจสําคัญของฮิตาชิ คือสินค้ากลุ่มระบบรางที่ในปีที่แล้วมีมูลค่าถึง 6 แสนล้านเยน

โดยนอกจากตลาดญี่ปุ่นและยุโรปที่ฮิตาชิดําเนินงานอยู่นั้น ฮิตาชิเองก็มองหาโอกาสที่จะเป็นผู้จัดหารถไฟให้กับแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยโดยพร้อมที่จะร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่จะใช้ความร่วมมือทางการเงินจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) และ apan Bank for International Cooperation (JBIC) เพื่อสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้โครงการด้วย แลกกับ CP ต้องจัดซื้ออุปกรณ์ด้านระบบรางจากฮิตาชิ
.
จุดสังเกตเพิ่มเติม ในการลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงก็มีเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ท่านชิโร ซะโดะชิมะ ได้มาร่วมเป็นพยานในการลงนามด้วย โดยที่ไม่ได้มีบ.สัญชาติญี่ปุ่นร่วมถือหุ้นกับซีพี พอจะเป็นการคาดเดาได้ว่า มีการทําข้อตกลงกับพันธมิตรญี่ปุ่นไว้แล้ว
.
“ระบบของฮิตาชิที่ ซี.พี.กำลังเจรจาไม่ใช่ระบบชินคันเซ็นแบบญี่ปุ่นที่เป็นระบบปิด แต่เป็นระบบเปิดตามมาตรฐาน ETCS จากยุโรป ที่ฮิตาชิผลิตให้ที่อังกฤษมาแล้ว ยังเป็นระบบที่เชื่อมกับระบบ CTCS ของจีนที่ใช้ในสายอีสานได้ เพราะจีนก็เรียนรู้ระบบจากยุโรปก่อนจะนำมาพัฒนาเป็นของตัวเอง อยู่ที่ ซี.พี.เป็นผู้เลือก”
https://www.facebook.com/ThaiDevReport/posts/1807840379358245
Ref: รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินโครงสร้างธุรกิจใหม่ “เครือซีพี” - Forbe Thailand 14 พฤษภาคม 2563

Hitachi targets high-speed rail projects from Texas to Thailand Nikkei 24 พฤศจิกายน 2019
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2020 8:35 am    Post subject: Reply with quote

ช้ามากแต่เสร็จคันทางไฮสปีด3.5กม.
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รองบ17ล้านสร้างถนนคู่ขนาน ฝีมือทางหลวงเป๊ะผ่านสเปกจีน

นายไพจิตร แสงทอง รอง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) ในฐานะนายช่างผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างคันทางรถไฟจาก สถานีกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา กม.150+500-กม. 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. วงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาท ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยจีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท เปิด เผยว่า คันทางรถไฟได้ผลงานรวม 90% เหลือเก็บรายละเอียดของงานทั้งความสะอาด ตกแต่งงานคอนกรีตและปลูกหญ้า

นายไพจิตรกล่าวต่อว่า โครงการล่าช้ากว่าแผนที่ปรับใหม่เล็กน้อยเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้แรงงานส่วนใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว ถูกกักตัว 14 วันจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกัน ทล.กำลังรอการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจ้าของโครงการเบิกจ่ายงบประมาณ 17 ล้านบาท เพื่อนำมาปูผิวแอสฟัลต์คอนกรีตถนนบริการ ซึ่งเป็นถนนคู่ขนานเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 4 กม. กว้าง 6 เมตร ขนาด 2 ช่องไปกลับ จากกลางดง-ปางอโศก

เมื่อได้รับงบฯ แล้วจะเร่งให้เสร็จ และส่งมอบงานให้รฟท. ราวสิ้นเดือน มิ.ย นี้ เพื่อให้ รฟท.วางรางและระบบอาณัติสัญญาณต่อไปซึ่งจะเสร็จก่อนแผนที่ปรับใหม่ประมาณ 3 เดือน จากที่ต้องแล้วเสร็จ ก.ย. 63 ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการฯจากประเทศจีนมาตรวจโครงการพบว่าผลงานได้เป็นไป ตามมาตรฐานตามที่กำหนด ทั้งงานก่อสร้าง ความมั่นคงแข็งแรงของงานคอนกรีตและกำลังอัดคอนกรีต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รฟท.และทล.ลงนามความร่วมมือก่อสร้างคันทางปลายปี 60 แผนเดิมจะเสร็จ ส.ค. 61 แต่เกิดปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่าง 2 หน่วยงานต้องปรับแผนหลายครั้งหากเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้จะใช้เวลา 3 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2020 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

มีทุนการศึกษาฟรี.... ด้านระบบรางระดับ ปวส. มาฝากจ้า
วิศวกรรมรถไฟเทียนจินLike Page
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:30 น.
โครงการนี้ไปเรียนที่จีน เรื่องระบบรางโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นทุนเรียนฟรี พร้อมที่พัก แล้วยังมีค่าขนมให้อีก

ใครสนใจทางด้านนี้ รีบแชร์ให้ลูกให้หลานเลยจ้าาาาา

หมดเขต 10 มิถุนายน 63 นี้แล้วนะ.....
https://www.facebook.com/TianjinRailway/photos/a.106779997447418/191708342287916/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2020 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

เบื้องลึกคันทางไฮสปีด3.5กม.สร้าง3ปี
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รฟท.แฉเงินมีแต่ทางหลวงไม่เป๊ะ นัดสงงานเคลียร์17ล้านปิดจ๊อบ!!

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า สัปดาห์นี้กรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะผู้ก่อสร้างคันทางรถไฟจากสถานีกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราช สีมา กม.150+500-กม. 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. วงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาทในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท จะส่งมอบงานก่อสร้างคันทางรถไฟที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้กับ รฟท.เพื่อเบิกจ่ายงบงวดงานต่อไปประมาณ 17 ล้านบาทในการใช้ปูผิวแอสฟัลต์คอนกรีตถนนบริการ ซึ่งเป็นถนนคู่ขนานเส้นทางไฮสปีด ระยะทาง 4 กม. กว้าง 6 เมตร ขนาด 2 ช่องไปกลับ จากกลางดงปางอโศก

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่าการก่อสร้างคันทางรถไฟช่วง 3.5 กม. แรกนี้ รฟท. มอบให้ ทล. เป็นผู้ดำเนินการ โดยลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง รฟท. และ ทล. ซึ่งจะเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกันโดยขั้นตอนในการทำงานนั้น ทล. จะจัดทำแผนที่ชัดเจนว่าทำถึงไหนและจะเบิกเงินเมื่อไหร่ โดยก่อนเริ่มงาน ทล.จะเบิกงบฯ จาก รฟท.ไปหนึ่งก้อนเพื่อนำไปใช้ดำเนินการก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างในส่วนนั้นแล้วเสร็จ จะนำงาน พร้อมรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายมาส่งให้คณะกรรมการตรวจจ้างของ รฟท. เมื่อตรวจแล้วเสร็จจะได้รับเงินเพื่อไปใช้ก่อสร้างในส่วนต่อไปตามแผนที่ ทล. ได้จัดทำไว้ ยืนยันว่า รฟท. มีงบฯ เตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างแต่ติดปัญหาที่ลักษณะการเบิกจ่ายมากกว่า

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่าส่วนใหญ่ปัญหาของการเบิกจ่ายเงินจะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารงานงวดที่ทำไปแล้วซึ่งบางครั้งเอกสารไม่ครบถ้วน กว่าจะรวบรวมเอกสารได้ครบ ก็ทำให้การเบิกจ่ายงบฯและการก่อสร้างล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังถือว่างานยังอยู่ในแผนที่ปรับใหม่ซึ่งต้องแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือน ก.ย. 63 สำหรับงานในส่วนต่อไปทาง รฟท.จะเป็นผู้ดำเนินการวางราง และติดตั้ง

ระบบอาณัติสัญญาณซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว ว่าจะลงนามระหว่างไทย-จีนในสัญญา 2.3 การวางระบบราง ไฟฟ้า และเครื่องกล ระบบการเดินรถระบบ อาณัติสัญญาณ พร้อมจัดหาขบวนรถ และฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาทไม่เกินเดือน ต.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวราย งานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วมทำพิธีเริ่มก่อสร้างคันทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 60 ภายใต้แนวคิด "น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น" ซึ่งเดิมวางเป้าหมายก่อสร้าง 3.5 กม. ให้แล้วเสร็จภายใน 6-8 เดือนหรือภายในเดือน ส.ค. 61

เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกเกิดขึ้นแล้ว แต่เกิดปัญหาการเบิกจ่ายงบฯ ระหว่าง 2 หน่วยงาน ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปจากเดิมมากจนต้องปรับแผนงานก่อสร้างหลายครั้ง เป็นแล้วเสร็จ เดือน เม.ย. 62 และล่าสุดได้ขยายระยะเวลา MOU ไปสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 63 ซึ่งหากส่งมอบงานกันได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ หากนับจากปี 60 ที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนร่วมทำพิธีเริ่มก่อสร้างจะใช้เวลาก่อสร้างคันทางรถไฟไฮสปีด 3.5 กม. เกือบ 3 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยง ภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา
*ความเป็นมา
*เชื่อมภูมิภาคสู่อาเซียน
*รูปแบบขบวนรถ เป็น Fuxing CR300AF แบบ 8 ตู้
*รูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง ทางลอยฟ้า 188.68 กิโลเมตร ทางระดับดิน 54.09 กิโลเมตร อุโมงค์ที่มวกเหล็กและลำตะคอง ยาวรวม 8 กิโลเมตร รวม 250.77 กิโลเมตร
*แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - หนองคาย มี 6 สถานี ซื้อรถไว้ใช้ 6 ขบวนเดินรถ ตั้งแต่ 06.00 - 22.00 น. เดินรถทุกๆ 90 นาที กะว่าผู้โดยสารปีแรกคิดที่ 5310 คนต่อวัน
ค่าโดยสาร
สถานีกลางบางซื่อ - นครราชสีมา 535 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - ปากช่อง 393 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - สระบุรี 278 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - อยุธยา 195 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - ดอนเมือง 105 บาท
*รูปแบบสถานี
สถานีกลางบางซื่อ มี 3 ชั่น + ชั้นใต้ดิน
สถานีดอนเมือง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอยู่ชั้น 3 ชานชลารถไฟไทยจีนกะรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ชั้น 4
สถานีอยุธยามี 3 ชั้น ชั้น 1 ชานชลารถไฟฟ้าสายสีแดงและระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน
สถานีสระบุรีมี 4 ชั้น ชั้น 1 ให้รถไฟระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋วระหว่างเมือง ชั้น 3 ขายตํ่วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลา รถไฟไทยจีน
สถานีปากช่อง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พัฒนาเชิงพาณิชย์ ชั้น 3 ขายตั๋วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลารถไฟไทยจีน
สถานีนครราชสีมา มี 3 ชั้น ชั้น 1 ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน

*การดำเนินงานและความก้าวหน้า แบ่งงาน 14 ช่วง ตอนแรก 3.5 กิโลเมตร เสร็จไป 73.81% ตอน 2 ยาว 11กิโลเมตร เสร็จไป เสร็จไป 8.65%
*ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/3572506246097554?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 542, 543, 544  Next
Page 371 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©