RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180658
ทั้งหมด:13491893
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 371, 372, 373 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยง ภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มูลค่า 179412.21 ล้านบาท เปิดปี 2568
*ความเป็นมา
*เชื่อมภูมิภาคสู่อาเซียน
*รูปแบบขบวนรถ เป็น Fuxing CR300AF แบบ 8 ตู้
*รูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง ทางลอยฟ้า 188.68 กิโลเมตร ทางระดับดิน 54.09 กิโลเมตร อุโมงค์ที่มวกเหล็กและลำตะคอง ยาวรวม 8 กิโลเมตร รวม 250.77 กิโลเมตร
*แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - หนองคาย มี 6 สถานี ซื้อรถไว้ใช้ 6 ขบวนเดินรถ ตั้งแต่ 06.00 - 22.00 น. เดินรถทุกๆ 90 นาที กะว่าผู้โดยสารปีแรกคิดที่ 5310 คนต่อวัน
ค่าโดยสาร
สถานีกลางบางซื่อ - นครราชสีมา 535 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - ปากช่อง 393 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - สระบุรี 278 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - อยุธยา 195 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - ดอนเมือง 105 บาท
*รูปแบบสถานี
สถานีกลางบางซื่อ มี 3 ชั่น + ชั้นใต้ดิน
สถานีดอนเมือง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอยู่ชั้น 3 ชานชลารถไฟไทยจีนกะรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ชั้น 4
สถานีอยุธยามี 3 ชั้น ชั้น 1 ชานชลารถไฟฟ้าสายสีแดงและระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน
สถานีสระบุรีมี 4 ชั้น ชั้น 1 ให้รถไฟระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋วระหว่างเมือง ชั้น 3 ขายตํ่วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลา รถไฟไทยจีน
สถานีปากช่อง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พัฒนาเชิงพาณิชย์ ชั้น 3 ขายตั๋วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลารถไฟไทยจีน
สถานีนครราชสีมา มี 3 ชั้น ชั้น 1 ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน

*การดำเนินงานและความก้าวหน้า แบ่งงาน 14 ช่วง ตอนแรก 3.5 กิโลเมตร เสร็จไป 73.81% ตอน 2 ยาว 11กิโลเมตร เสร็จไป เสร็จไป 8.65%
*ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/3572506246097554?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2020 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งฟันผู้บุกรุก 212 หลังพ้นไฮสปีด-เวนคืนเพิ่ม 28 ไร่ เร่งส่งมอบพื้นที่ให้ซี.พี.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:45 น.
คมนาคมพอใจความคืบหน้าไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:24 น.

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ขณะที่ซีพี ลงพื้นที่สำรวจทรัพย์สินแอร์พอร์ตลิงก์แล้ว คาดโอนงาน ต.ค.64

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เปิดเผยว่า ทุกอย่างทั้งการเวนคืน การส่งมอบพื้นที่ยังเป็นไปตามแผน แต่ยังต้องเร่งรัดการใช้งบประมาณ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพื่อพิจารณาภาพรวมของโครงการ พบว่า เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยกำชับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งรัดการอนุญาตให้รื้อย้ายสาธารณูปโภค

ที่ประชุม รับทราบการขอรับจัดสรรงบประมาณ (งบกลาง) ปี 2563 สำหรับรื้อย้ายสาธารณูปโภคเปิดพื้นที่ก่อสร้าง โดยก่อนหน้านี้ วงเงินที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติกรอบไว้ 497 ล้านบาท แต่จากการสำรวจล่าสุด พบว่า สามารถปรับลดเหลือ 335 ล้านบาท ดังนั้นส่วนที่เหลือ จะคืนรัฐ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาอื่น เช่น สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

ยังเป็นไปตามแผน
เบื้องต้นได้รับทราบว่าในเนื้องานของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้าและการประปาจะใช้เงินน้อยลง แต่ได้ย้ำกับทุกหน่วยงานว่า งบประมาณที่รัฐบาลอนุมัติเป็นกรอบวงเงินเท่านั้น ให้ใช้เท่าที่จำเป็นจะใช้เกินไม่ได้เด็ดขาด ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคได้ทยอยทำเรื่องขออนุญาตเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแล้ว

ซี.พี.ขอขยายเขตทางจ่อเวนคืนเพิ่ม
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้รับทราบการขอขยายเขตทางของบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ด้วย โดยมีการสรุปผลกระทบดังนี้

1.พื้นที่เวนคืน เพิ่มขึ้นจาก 857 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา เป็น 885 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา เพิ่มขึ้น 28 ไร่ 29 ตารางวา

2.แปลงที่ดิน เพิ่มขึ้นจาก 924 แปลง เป็น 931 แปลง เพิ่มขึ้น 7 แปลง

3.อาคารสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นจาก 334 หลัง เป็น 360 หลัง เพิ่มขึ้น 26 หลัง

4.ต้นไม้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังเป็น 517 แปลง ตามเดิม

ฟ้องบุกรุก 212 หลัง
ส่วนผู้บุกรุก มีการรายงานความคืบหน้าคือ จำนวนผู้บุกรุกยังมีเท่าเดิมคือ 1,352 หลัง แบ่งเป็น
กลุ่มที่ 1 ช่วงดอนเมือง – สุวรรณภูมิ 782 หลัง อยู่ในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับโครงการ 197 หลัง ในจำนวนนี้ มีผู้บุกรุกที่มีเอกสารไม่ครบถ้วน 206 หลัง

และกลุ่มที่ 2 ช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา 570 หลัง อยู่ในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับโครงการ 301 หลัง และมีผู้บุกรุกที่ยังยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน 37 หลัง

ทั้งนี้ มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว 212 หลังแบ่งเป็น ช่วงเขาพระบาท 25 หลัง, บางละมุง 128 หลัง, พัทยา-บ้านห้วยขวาง 57 หลัง และเขาชีจรรย์ 2 หลัง

นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ยังระบุว่า ได้รับทราบว่ากลุ่ม ซี.พี.ได้เริ่มเข้าสำรวจทรัพย์สินโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ ช่วงพญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะต้องรับมอบจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) แล้ว โดยได้ย้ำว่า การส่งมอบทรัพย์สินจะต้องทำให้การบริการดีกว่าเดิม จะแย่กว่าเดิมไม่ได้ โดยคาดว่า จะถ่ายโอนงานให้ได้ช่วงเดือนตุลาคม 2564 ส่วนบุคลากรของแอร์พอร์ตลิงค์ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับกลุ่มซีพี และรฟท.ที่จะพิจารณาร่วมกัน พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งตามแผน กำหนดไว้ว่า รฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่ช่วงลาดกระบัง-อู่ตะเภา ภายใน 1 ปี 3 เดือน และดอนเมือง-พญาไท ภายใน 2 ปี 3 เดือน หลังลงนามสัญญา โดยหลังจากนี้ จะประชุมติดตามงานทุกเดือน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 10:03 am    Post subject: Reply with quote

เร่งส่งพื้นที่ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เริ่มขุดเจาะชั้นดิน - “ซีพี” สำรวจทรัพย์สินเร่งโอน “แอร์พอร์ตลิงก์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:04
ปรับปรุง: วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:03




“คมนาคม” กางผังเวนคืน เร่งทยอยส่งมอบพื้นที่ “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” เข้าพื้นที่ขุดเจาะสำรวจชั้นดินแล้ว มั่นใจไม่มีปัญหา ขณะที่ “กลุ่มซีพี” เริ่มสำรวจทรัพย์สิน “แอร์พอร์ตลิงก์” เร่งโอนก่อน ต.ค. 64 ตามเงื่อนไขสัญญา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ครั้งที่ 4/2563 (ครั้งที่ 6) วันที่ 10 มิ.ย. ว่าการเคลียร์พื้นที่เพื่อให้บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) เริ่มดำเนินการก่อสร้างนั้นยังอยู่ในกรอบแผนงานและระยะเวลาที่กำหนด โดยขณะนี้ทางกลุ่มซีพีได้เริ่มเข้าพื้นที่ขุดเจาะสำรวจชั้นดินแล้ว

โดยเน้นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในโครงการจะเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งจะต้องมีการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อไม่ให้มีปัญหา โดยได้สั่งการให้ทั้ง 3 หน่วยงานไปเร่งรัดขั้นตอนการอนุญาต และแนะนำการดำเนินการกับผู้ที่จะขออนุญาตเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากต้องมีกระบวนการ ขั้นตอนการขออนุญาตตามระเบียบทางกฎหมายที่ต้องใช้เวลาดำเนินการพอสมควร

เริ่มสำรวจทรัพย์สิน “แอร์พอร์ตลิงก์” เร่งโอนก่อน ต.ค. 64

สำหรับการโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์นั้น ตามสัญญาจะต้องโอนให้กลุ่มซีพีภายใน 2 ปี หลังการลงนามในสัญญา หรือภายในเดือน ต.ค. 2564 โดยขณะนี้ทางเอกชนได้เข้าทำการสำรวจทรัพย์สินและระบบรถไฟฟ้า ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์แล้ว โดยได้เน้นย้ำในเรื่องการบริหารและให้บริการระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ หลังจากที่มีส่งมอบให้ซีพีไปแล้วว่าจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องปรับปรุงบริการ โดยกลุ่มซีพีจะรับโอนทรัพย์สินของโครงการ

สำหรับพนักงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด จะมีการโอนไปยังผู้รับสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่นั้น ไม่มีการกำหนดไว้ในสัญญา แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกลุ่มซีพีว่ามีความต้องการอย่างไร

สำหรับพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. เวนคืนที่ดิน 2. พื้นที่บุกรุก และ 3. การรื้อย้ายสาธารณูปโภค มีความคืบหน้าเป็นที่พอใจ โดยจากการเข้าสำรวจพื้นที่อย่างละเอียด พบว่า ในส่วนการเวนคืน เดิมประเมินว่าต้องเวนคืน 857 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา (ตร.ว.) ล่าสุดจะเวนคืนเพิ่มเป็น 885 ไร่ 3 งาน 88 ตร.ว. โดยมีแปลงที่ดินที่ต้องเวนคืนเพิ่มเป็น 931 แปลง จากเดิม 924 แปลง / อาคารสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มเป็น 360 หลัง จากเดิม 334 หลัง

ส่วนพื้นที่บุกรุก มี 2 กลุ่ม จำนวนรวม 1,352 หลัง โดยกลุ่มที่ 1 คือ ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ มีผู้บุกรุก 782 หลัง โดยที่มีผลกระทบต่อโครงการจำนวน 197 หลัง และกลุ่มที่ 2 ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีผู้บุกรุก 570 หลัง กระทบต่อโครงการ 30 หลัง โดยกลุ่มที่ 1 นั้น ไม่ต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้บุกรุก แต่กลุ่มที่ 2 ต้องทำการฟ้องร้อง 212 หลัง

ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคนั้น จากการสำรวจพบว่างบประมาณสำหรับการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเปิดพื้นที่ก่อสร้างมีจำนวนลดลง โดยเดือน ม.ค. 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการขอรับจัดสรรงบประมาณกลางปี 2563 เพื่อดำเนินงานดังกล่าว จำนวน 479 ล้านบาท แต่ล่าสุดเดือน มี.ค. ลดลงเหลือ 335.74 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินที่รายงาน ครม.นั้นเป็นกรอบดำเนินการ แต่เมื่อสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดแล้วพบว่าตัวเลขมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพพื้นที่จริง และคาดว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณภายในเดือน พ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 10:40 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แฉเบื้องลึกคันทางไฮสปีดไทย-จีน3.5กม.สร้าง3ปี
*เงินน่ะมีจ่าย!”แต่ติดเอกสารทางหลวงไม่ครบ”
*นัดส่งงานเคลียร์งบ17 ล้านปิดจ็อบลุยวางราง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2622583584629810?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 11:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563


https://www.facebook.com/pr.railway/posts/3572506246097554?__tn__=-R

สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช จากข้อมูล ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

วันนี้ทางการรถไฟได้แชร์ภาพสไลด์รายละเอียดทั้งหมดของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช

ซึ่งอาจจมีรายละเอียดไม่มากเท่าไหร่ เลยขออนุญาตเอาภาพมาอธิบายในจุดสำคัญอีกทีครับ

เรามาเริ่มต้นที่การอนุมัติโครงการ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2560

ซึ่งทางรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณไว้ 179,421 ล้านบาท ในเฟสที่ 1 กรุงเทพ-โคราช

จากแผนเต็ม กรุงเทพ-หนองคาย เชื่อมต่อกับทางรถไฟของลาว ที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวใหม่(รถไฟ)โดยจะอยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ประมาณ 50-30 เมตร

ขบวนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช

จะใช้ขบวนรถไฟ Series Fuxing hao รุ่น CR300AF แบบ 8 ตู้ ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง

และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร

รูปแบบทางวิ่งโครงการ

ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ

- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร

รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที

โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่

สถานีกลางบางซื่อ มี 3 ชั่น + ชั้นใต้ดิน
สถานีดอนเมือง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอยู่ชั้น 3 ชานชลารถไฟไทยจีนกะรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ชั้น 4

สถานีอยุธยามี 3 ชั้น ชั้น 1 ชานชลารถไฟฟ้าสายสีแดงและระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/629629310808885?__tn__=K-R

สถานีสระบุรีมี 4 ชั้น ชั้น 1 ให้รถไฟระหว่างเมือง ชั้น 2 ขายตั๋วระหว่างเมือง ชั้น 3 ขายตํ่วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลา รถไฟไทยจีน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/630481400723676/?d=n

สถานีปากช่อง มี 4 ชั้น โดย ชั่น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พัฒนาเชิงพาณิชย์ ชั้น 3 ขายตั๋วรถไฟไทยจีน ชั้น 4 ชานชลารถไฟไทยจีน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/634748183630331/?d=n

สถานีนครราชสีมา มี 3 ชั้น ชั้น 1 ชั้น 2 ขายตั๋ว ชั้น 3 ชานชลา รถไฟไทยจีน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629142004190949/?d=n

มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคสะอาด

รูปแบบการเดินรถไฟ ค่าโดยสาร และการคาดการณ์ประมาณผู้โดยสาร

รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)

ค่าโดยสารในโครงการ

จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาท

จากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้ครับ
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท

ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน

——————————

รูปแบบสัญญาก่อสร้าง

แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. งานโยธา ฝั่งไทยรับผิดชอบเองทั้งหมด ประมูลตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของไทย แบ่งเป็น 14 สัญญา

เริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 สัญญา คือ
- กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง เพื่อเทียบมาตรฐานการก่อสร้าง และทำวิธีการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง เสร็จไป 73.81% รายละเอียดตามนี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo

และคลิปความคืบหน้า ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo

- สีคิ้ว-กุดจิก 11 กิโลเมตร รายละเอียดและความคืบหน้า(เดิม) ตามลิ้งค์นี้ เสร็จไป เสร็จไป 8.65%
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/857110788060735/?d=n

งานก่อสร้างอีก 12 สัญญา อยู่ระหว่างการรออนุมัติ EIA เพื่อเซ็นสัญญา ซึ่งมีบางประเด็นที่คณะกรรมการ EIA ยังไม่อนุมัติ เช่นรูปแบบสถานีอยุธยา ซึ่งโครงสร้างใหญ่ อาจะมีผลกระทบทรรศนะวิสัย ของเมืองอยุธยา ซึ่งเป็นมรดกโลก

และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือระบบราง อาณัติสัญญาณ และตัวรถไฟฟ้า ซึ่งเราเจรจาจ้างจีนโดยตรง ในสัญญาที่ 2.3

โดยล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้เจรจากับจีน ซึ่งรอสรุปรายละเอียด ค่าเงินที่กู้จากจีน ในสัญญานี้ ตามลิ้งค์ที่รัฐมนตรีออกมาแถลงข่าว

https://www.facebook.com/cheerbjt/videos/2632248537023241/?vh=e&d=n

ตอนนี้ โครงการยังติดที่ EIA แต่คงเคลียร์เสร็จพร้อมเซ็นสัญญาทุกสัญญา ภายในปีนี้ จะได้เริ่มเต็มที่ซักที่

เราคงจะได้นั้นรถไฟความเร็วสูงสายนี้ ในปี 2568
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/949437542161392?__tn__=K-R

รายละเอียดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวใหม่(รถไฟ)

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/647886825649800/?d=n
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2020 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีเริ่มเจาะไฮสปีด3สนามบิน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า ภาพรวมโครงการยังเป็นไปตามแผนไม่ติดปัญหาจึงมีความสบายใจ แต่ได้กำชับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง(ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งรัดการอนุญาตให้รื้อย้ายสาธารณูปโภคโดยให้แนะนำกลุ่มซีพีปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายให้เร็วและครบถ้วน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมรับทราบการเตรียมขอรับจัดสรรงบประมาณ (งบกลาง) ปี 63 สำหรับรื้อย้ายสาธารณูปโภคเปิดพื้นที่ก่อสร้างวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติกรอบไว้ 497 ล้านบาท จากการสำรวจล่าสุดลดเหลือ 335 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะคืนรัฐ ส่วนพื้นที่เวนคืนเดิม 857 ไร่ ใหม่ 885 ไร่ เพิ่มขึ้น 28 ไร่ แปลงที่ดินเดิม 924 แปลง ใหม่ 931 แปลง เพิ่มขึ้น 7 แปลง อาคารสิ่งปลูกสร้าง เดิม 334 หลัง ใหม่ 360 หลังเพิ่มขึ้น 26 หลัง และต้นไม้เท่าเดิม 517 แปลง พื้นที่บุกรุกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ช่วงดอนเมือง ถึงสุวรรณภูมิ 782 หลัง กระทบโครงการ 197 หลัง กลุ่มที่ 2 ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 570 หลัง กระทบโครงการ 301 หลัง อยู่ระหว่างฟ้องร้องพร้อมเจรจาส่วนใหญ่เป็นชุมชน รฟท.ต้องจัดหาพื้นที่ให้ใหม่

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า กลุ่มซีพีเริ่มเข้าเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อเตรียมรื้อย้ายสาธารณูปโภคในบางจุดแล้วพบว่าหลายจุดอาจต้องปรับแบบเพิ่ม เช่น พื้นที่ ทล.ที่เป็นจุดสะพานข้ามทางรถไฟ จึงให้ ทล.ไปอัพเดทข้อมูลสะพานข้ามทางรถไฟในพื้นที่โครงการทั้งหมดรวมถึงแผนก่อสร้างในอนาคตจะได้ประสาน รฟท.ออกแบบให้สอดคล้องกัน ขณะเดียวกันกลุ่มซีพีได้เข้าสำรวจทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์แล้วโดยย้ำเน้นการเตรียมการส่งมอบว่าเมื่อกลุ่มซีพีเข้ามา บริหารแล้วต้องดีกว่าเดิมไม่แย่ลง คาดว่าจะถ่ายโอนงานให้กลุ่มซีพีเดือน ต.ค. ปี 64 ส่วนบุคลากรของแอร์พอร์ตลิงก์ขึ้นอยู่กับกลุ่มซีพีและรฟท.พิจารณาร่วมกัน

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันยังไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กลุ่มซีพี อยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นที่ผู้บุกรุก และออก พ.ร.ฎ.เวนคืนเพิ่มเติม กลุ่มซีพีต้องการให้ รฟท.ส่งมอบพื้นที่เป็นแปลงใหญ่จะได้ก่อสร้างโครงการต่อเนื่องคาดว่าจะแก้ปัญหาแล้วเสร็จ และเตรียมส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มซีพีได้เดือน ม.ค.-ก.พ. 64 ภาพรวมงานล่าช้า 1-2 เดือน เพราะติดปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย ทั้งนี้กลุ่มซีพีได้ลงพื้นที่เจาะสำรวจทางวิศวกรรมเตรียมพร้อมรองรับงานก่อสร้างแล้ว โดยขุดเจาะสำรวจไปกว่า 600 จุด จากทั้งหมด 900 จุด เบื้องต้นมั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก ช่วงลาดกระบัง-อู่ตะเภาตามแผนกำหนด คือ ภายใน 1 ปี 3 เดือน หลังจากลงนามสัญญาเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2020 10:49 pm    Post subject: Reply with quote

ก้าวเข้าใกล้อีกก้าวสำหรับ มหาอำนาจทางรางอันดับหนึ่งของอาเซียน

ของไทยใช้รุ่นนี้! มาชมรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช CR300AF รุ่นที่จะใช้วิ่งจริงในไทย รองรับความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. วิ่งจริงที่ความเร็ว 250 กม./ชม. #มีไวไฟ #พร้อมที่ชาร์จมือถือและคอมพิวเตอร์
.
#กรุงเทพโคราชห่างกันแค่90นาที โดยขบวนรถ CR300AF ที่จะนำมาวิ่งในเส้นทางกรุงเทพนครราชสีมาสีมา มีทั้งหมด 594 ที่นั่ง/ขบวน แบ่งเป็น 2 คลาสโดยสาร
.
ชั้นโดยสาร First Class จะอยู่บริเวณตู้ที่ 1 และตู้ที่ 8 ของขบวน ความจุผู้โดยสารตู้ละ 48 ที่นั่ง รวม 96 ที่นั่ง/ขบวน จัดผังที่นั่งแบบฝั่งละ 2-2
.
ชั้นโดยสาร Second Class จะเป็นตู้ที่ 2-3-4-5-6-7 รวมทั้งหมด 498 ที่นั่ง จัดผังที่นั่งแบบฝั่งละ 3-2
.
มีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร พร้อมห้องน้ำสำหรับผู้พิการ มีช่องเก็บกระเป๋าสัมภาระขนาดใหญ่
.
ขบวนรถ CR300AF ผลิตโดยวิศวกรรมและเทคโนโลยีของประเทศจีนทั้งหมด ของบริษัท CRRC Qingdao Sifang เป็นขบวนรถรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาโดย CRRC
https://www.facebook.com/BKkILoveYou/posts/155036852744669?__tn__=K-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2020 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวระบบคมนาคมขนส่ง
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เสาตอม่อ #โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง สีคิ้ว - กุดจิก
ที่ อ.#สูงเนิน จ.นครราชสีมา
📸 Cr. แสงธรรม แปด
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/photos/a.115478370149086/138037307893192/?type=3&theater

ข่าวระบบคมนาคมขนส่ง
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563
งานก่อสร้างเสาตอม่อ #โครงการรถไฟความเร็วสูง
ช่วง สีคิ้ว - กุดจิก ที่ อ.#สูงเนิน จ.นครราชสีมา
📸 Cr. Jirawat Yongseng Sorawong
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/posts/138303977866525?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2020 11:32 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทางรถไฟเชื่อมโลก! เมื่อสร้างทางรถไฟไทย-จีน แล้วเสร็จ เอเชียกับยุโรปจะเดินทางไปมาหาสู่ง่ายขึ้น
https://board.postjung.com/1220983
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3122914981088759&set=a.3033691060011152&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2020 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ซีพีเริ่มเจาะไฮสปีด3สนามบิน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563




รฟท.เร่งเต็มสูบ ส่งมอบพื้นที่ "ไฮสปีดซีพี" ก.พ.64
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:30 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,583 วันที่ 14-17 มิถุนายน พ.ศ. 2563


รฟท.เร่งเต็มสูบ เหลือเวลา 7เดือน ส่งมอบ พื้นที่ ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน ช่วงแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ให้ซีพี ภายใน เดือนม.ค.-ก.พ. ตามแผน หลัง ติดรื้อย้าย - ออกพรฏ.เวนคืนเพิ่ม

กรอบสัญญาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามกับ บริษัท รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออก เชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) หรือกลุ่ม CPH เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 แบ่งการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม3สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ระยะทาง 220กิโลเมตรวงเงิน 2.24แสนล้านบาท ไว้3 ช่วง นับตั้งแต่เซ็นสัญญา ได้แก่ ช่วงที่1 สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ระยะเวลา2ปี ช่วง พญาไท - ดอนเมือง 4ปี ส่วน แอร์พอร์ตลิงค์ หาก กลุ่มซีพี จ่ายเงินให้กับรฟท. ได้เมื่อใดเมื่อนั้นสามารถรับโอน กิจการเดินรถ ได้ทันที แต่กรอบเวลาไม่เกิน2ปีเช่นเดียวกับ การส่งมอบพื้นที่ช่วงแรก

กรอบเวลาดังกล่าว เป็น เสมือนแนวกันชน ป้องกัน ความผิดพลาดหน่วยงานรัฐ หากการส่งมอบติดปัญหา เกิดความล่าช้าทั้ง ผู้บุกรุกไม่ออกจากพื้นที่ การเสียเวลาอุธรณ์ฟ้องร้องต่อศาลกรณีผู้ถูกกระทบจากการเวนคืนไม่ออกจากพื้นที่หรือไม่พอใจ ค่าชดเชย




ราศีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2563

โควิดพ่นพิษ! ผู้ประกอบการใน ภูเก็ต แห่ขอพักชำระหนี้กับสถาบันการเงิน 15 แห่ง
www.เยียวยาเกษตรกร.com ตรวจสอบสถานะ “เยียวยาเกษตรกร” รอบ2 ลั่น สิ้นสุดการรอคอย
ยอดผู้ใช้ "ไทยชนะ"กว่า 26 ล้านคน


แต่เนื่องจาก กลุ่มซีพีต้องการ รับมอบพื้นที่ยกแปลง100% เพื่อ ไม่ให้การก่อสร้างสะดุด ไม่ต้องการ แบกภาระต้นทุนดอกเบี้ย เกิดเบี้ยปรับหาก ต้องขยายสัญญาออกไป เกินจากสัญญา 5ปี กรณีอาจมีผู้บุกรุกภายหลัง รฟท. จึงทำแผนเร่งรัด ส่งมอบพื้นที่ ให้เร็วขึ้น ได้แก่ ช่วง ที่ 1 สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ภายใน 1ปี3เดือน หรือ วันที่ 1มกราคม 2564 ช่วงที่2 พญาไท-ดอนเมือง ภายใน 2ปี 3เดือน และ แอร์พอร์ตลิงค์ ภายใน2ปี อย่างไรก็ตาม หาก รฟท.ยังติดปัญหาอุปสรรค ไม่เป็นไปตามแผนเร่งด่วนนั่นหมายความว่า ยังมีเวลา เหลือให้ดำเนินการ ตาม กรอบสัญญาที่ระบุไว้


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ถึงความคืบหน้า การส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้ทุกหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคได้เคลียร์ทุกปัญหาที่ติดขัดก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้ว เช่น การรื้อย้ายสายไฟฟ้าแรงสูง ท่อประปา และท่อส่งน้ำมัน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างรอรัฐจัดสรรงบประมาณ งบกลางปี 2563 วงเงิน335.744 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างรื้อย้ายสาธารณูปโภคตามแนวก่อสร้างโครงการทั้งหมด

“ขณะนี้หลายหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ทำการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างรื้อย้ายไปก่อนหน้าแล้ว แต่รอรับจัดสรรงบกลางเพื่อมาทำสัญญา และเริ่มงานรื้อย้าย เปิดพื้นที่งานก่อสร้างให้กับซีพี ซึ่งภาพรวมตอนนี้ล่าช้าไป ประมาณ 1 – 2 เดือน เพราะติดปัญหาโควิด -19 ”

ขณะภาพรวมการส่งมอบพื้นที่ให้ ให้กับกลุ่มซีพียังอยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค พื้นที่ผู้บุกรุก และออก พระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เวนคืนเพิ่มเติม อีกทั้งทางซีพีต้องการให้ รฟท.ส่งมอบพื้นที่เป็นแปลงใหญ่ เพื่อก่อสร้างโครงการได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถทยอยส่งมอบบางส่วนได้ ส่วนพื้นที่เวนคืน ปัจจุบันได้ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนแล้ว แต่เนื่องจากซีพีขอขยายเขตทางเพิ่มเติม เพื่อนำไปวางเครื่องจักรก่อสร้าง ทำให้ รฟท.ต้องลงสำรวจพื้นที่เวนคืน และออก พ.ร.ฎ.เวนคืนเพิ่มเติม ล่าสุดได้ปักหมุดสำรวจพื้นที่แล้ว คาดว่าต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม 28 ไร่ ทำให้การส่งมอบพื้นที่เวนคืนจะล่าช้ากว่าแผนออกไปเล็กน้อย



ขณะที่การส่งมอบพื้นที่ที่มีผู้บุกรุก รฟท.ได้ดำเนินการฟ้องศาลเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกในส่วนที่เจรจายากและไม่ยอมย้ายออกตามกำหนด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งมอบพื้นที่ได้ทันในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์2564

อย่างไรก็ตามการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาทางกลุ่มซีพีได้ลงพื้นที่เพื่อเจาะสำรวจพื้นที่วิศวกรรม เตรียมความพร้อมรองรับงานก่อสร้างแล้ว โดยทำการขุดเจาะสำรวจไปกว่า 600 จุด จากพื้นที่ทั้งหมดที่ต้องขุดเจาะราว 900 จุด อีกทั้ง รฟท.ยังเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบให้กลุ่มซีพีตามกำหนด โดยไม่ได้ชะลองานแต่อย่างใด เบื้องต้นยังมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก ช่วงลาดกระบัง - อู่ตะเภา ตามแผนกำหนด คือ ภายใน 1 ปี 3 เดือน หลังลงนามสัญญาส่วนแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่ผ่านมากลุ่มซีพีได้เข้าไปสำรวจทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 371, 372, 373 ... 542, 543, 544  Next
Page 372 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©