RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180586
ทั้งหมด:13491821
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2020 10:53 pm    Post subject: Reply with quote

ในที่สุดก็ถึงเวลาที่ต้องรื้อสะพานข้ามแยกบางกะปิเพื่อสร้างใหม่โดยใช้ตอม่อร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยดำเนินการรื้อสะพานไปอย่างช้าๆเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563
https://www.facebook.com/thailand.etc.club/photos/a.1209882435728231/2951125701603887/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2020 12:38 pm    Post subject: Reply with quote

งานก่อสร้าง #สถานีลาดพร้าว71 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
เสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 เวลา 14:29 น.

น้องทันใจมาอัพเดทภาพการดำเนินงานก่อสร้างให้ทุกท่านได้ชมกันอีกเช่นเคยค่ะ
วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานของสถานีลาดพร้าว 71 กันค่ะ

สถานีลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 71 ก่อนถึงจุดตัดถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งได้มีการดำเนินงานมาจนถึงขั้นตอนของการยกติดตั้งชิ้นส่วนคานสถานี (Cross Beam Station) และ ดำเนินงานก่อสร้างในส่วนของ ถังเก็บน้ำ(Water Tank) และ ห้องจ่ายไฟของสถานีรถไฟฟ้า(Generator Room) สำหรับสถานีภาวนา และเร็วๆนี้ ก็จะมีการดำเนินงานยกติดตั้งคานสถานี หรือเรียกอีกอย่างว่า I-Girder และ TT - Girder เพื่อรองรับการก่อสร้างงานสถานีในส่วนของชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นชานชาลา นั่นเองค่ะ

ครั้งหน้าน้องทันใจจะนำภาพการดำเนินงานของโครงการฯ จุดไหน สถานีใด มาให้ชมกันอีกนั้น โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ

งานก่อสร้าง #สถานีลาดพร้าว71 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/photos/a.442110922829358/1098052890568488/?type=3


ความก้าวหน้าการก่อสร้างสถานีวัดศรีเอี่ยม ศรีลาซาล ศรีแบริ่ง
https://www.youtube.com/watch?v=W6cL_QgN-eg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2020 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

ยืด “โมโนเรลสีเหลือง” เชื่อมรัชโยธินสะดุด BTS ยื้อเงื่อนไขชดเชยแย่งผู้โดยสาร MRT
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 15 มิถุนายน 2563 เวลา 06:24
ปรับปรุง: 15 มิถุนายน 2563 เวลา 08:24

รฟม.ยังปิดดีลสัญญาสายสีเหลืองต่อขยายไม่ได้ เหตุกลุ่ม BTS ยังไม่รับเงื่อนไขชดเชยผลกระทบผู้โดยสาร MRT ส่วนสีม่วงใต้ เร่งปรับแบบจุดขึ้น-ลงสถานี คาดเปิดประมูลโยธา 7.7 หมื่นล้าน ก.ย.นี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การเจรจา 3 ฝ่าย ระหว่าง รฟม., บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT กรณีที่การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ส่งผลกระทบทำให้ผู้โดยสาร MRT ลดลง ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากกลุ่ม EBM ยังไม่ตอบยืนยันในการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร

ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ได้รับทราบแล้ว และให้ รฟม.ไปเจรจาต่อเพื่อให้ได้ข้อยุติ โดยจะนัดประชุม 3 ฝ่ายอีกครั้งในสัปดาห์นี้ ซึ่งหากทางกลุ่ม EBM ยังไม่ยืนยันชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจจะต้องเสนอบอร์ด รฟม.พิจารณาตัดสิน

จากการศึกษาพบว่า กรณีต่อขยายสายสีเหลืองจากลาดพร้าวไปถึงแยกรัชโยธิน ซึ่งจะเป็นการไปต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นมีผลกระทบทำให้ผู้โดยสาร MRT ลดลง เบื้องต้นประมาณ 6,000 คน/วัน แต่ทาง BEM จะต้องพิสูจน์จำนวนผู้โดยสารและรายได้ที่ลดลงจริงว่าเป็นเท่าไร ซึ่งจะต้องรอให้โครงการสีเหลืองต่อขยายเปิดบริการก่อน

เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงนั้นอาจจะมีหลายปัจจัย ทั้งเรื่องมีส่วนต่อขยายสายสีเหลือง หรือจากโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ครอบคลุม ซึ่งบางจุดอาจจะส่งต่อผู้โดยสารให้กัน แต่บางจุดอาจจะแย่งผู้โดยสารกัน

ทั้งนี้ ในหลักการเห็นตรงกันแล้ว แต่ รฟม.ต้องให้ EBM ตอบรับการชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อระบุเป็นเงื่อนไขในสัญญาส่วนต่อขยาย ว่าหากในอนาคตรถไฟฟ้า MRT มีผลกระทบเกิดขึ้นและพิสูจน์ว่าเกิดจากส่วนต่อขยายสายสีเหลืองจะทำให้สามารถเปิดเจรจากันได้

สำหรับสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ลงทุนกว่า 3,700 ล้านบาท โดยมีกลุ่ม EBM (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) รับสัมปทาน

@คาด ก.ย.นี้เปิดขายซองสายสีม่วงใต้ 7.7 หมื่นล้าน

ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ว่า ขณะนี้ รฟม.ได้ร่วมกับสำนักงานทรัพยสิน กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลงพื้นที่สำรวจเพื่อปรับเขตทางบริเวณทางขึ้น-ลงสถานี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติเร็วๆ นี้ จากนั้นจะทำการปรับแก้แบบให้เป็นไปตามข้อตกลง และคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ก.ย.นี้

โดยรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. (โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กม.) มีค่างานโยธา 77,385 ล้านบาท การประมูลแบ่งเป็น 6 สัญญา ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา งานทางยกระดับ 1 สัญญา และงานระบบราง 1 สัญญา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 และเปิดบริการในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2020 7:26 pm    Post subject: Reply with quote

พิษโควิด! จีนผลิตรถโมโนเรล “ชมพู-เหลือง” ช้า-เลื่อนส่งมอบกระทบเปิดเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 17 มิถุนายน 2563 เวลา 07:29
ปรับปรุง: 17 มิถุนายน 2563 เวลา 08:42


จีนเจอโควิด-19 กระทบไลน์การผลิตรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองสะดุด ขอเลื่อนแผนส่งมอบรถไฟฟ้าขบวนแรก จาก ธ.ค. 63 ออกไป 3 เดือน รฟม.หวั่นกระทบแผนทดสอบและเปิดเดินรถช่วงแรกไม่ทัน ต.ค. 64 จี้ “กลุ่มบีทีเอส” ประสานจีนเร่งการผลิต

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ได้พิจารณาขยายเวลาการก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เนื่องจากติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ล่าช้านั้น แต่ในส่วนการเปิดเดินรถนั้นยังคงเป็นไปตามสัญญาเดิม โดยจะปรับเป็นการทยอยเปิดเดินรถแบ่งเป็นช่วงๆ (Partial) ซึ่งช่วงแรกจะเปิดในเดือน ต.ค. 64 และจะให้บริการตลอดสายภายในเดือน ต.ค. 65

โดยในช่วงเกิดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 นั้น งานก่อสร้างงานโยธาได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มาก เช่น มีเคอร์ฟิว ทำให้การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์จากซัปพลายเออร์มีข้อจำกัด ซึ่งได้ปรับระบบโลจิสติกส์จัดส่งในเวลากลางวันมากขึ้น

ส่วนงานระบบและรถไฟฟ้ามีผลกระทบค่อนข้างมากกว่า เนื่องจากได้สั่งผลิตตัวรถและ Rolling Stock จากเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ล่าสุดทางผู้ผลิตได้แจ้งว่าต้องการเลื่อนการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าจากเดือน ธ.ค. 2563 ออกไปประมาณ 3 เดือน เนื่องจากติดโรคโควิด-19 ทำให้โรงงานต้องหยุดไลน์การผลิตไปช่วงหนึ่ง และแม้ว่าสถานการณ์ในประเทศจีนจะดีขึ้นแล้ว แต่ไลน์การผลิตยังเปิดไม่เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทานสายสีชมพู และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM ) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลืองซึ่งเป็นกลุ่มของ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ราชกรุ๊ป เป็นผู้ร่วมทุน ได้เจรจากับผู้ผลิตจีนยืนยันให้เร่งการผลิตและทยอยส่งมอบรถไฟฟ้าให้ตามแผนเดิมซึ่งทางฝ่ายจีนยังไม่ตอบยืนยัน

“ตามแผนจะต้องเริ่มทยอยส่งมอบรถไฟฟ้าในเดือน ธ.ค. 63 จะมีเวลาประมาณ 9 เดือนในการเตรียมพร้อมทดสอบระบบรถ ระบบควบคุมโดยรวม ทดสอบการเดินรถเสมือนจริงซึ่งใช้เวลาราว 6 เดือน ซึ่งเป้าหมายแรกเปิดเดินรถในเดือน ต.ค. 64 แต่หากต้องส่งมอบรถช้าไปอีก 3 เดือน เวลาที่เหลืออาจจะทดสอบระบบไม่ทัน ดังนั้น หากสิ้นปี 63 รถไฟฟ้ายังส่งมอบไม่ได้อาจจะกระทบการเปิดเดินรถช่วงแรกที่จะต้องขยับออกไปด้วย”

สำหรับปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 58.78% และงานระบบรถไฟฟ้าคืบหน้ากว่า 52.64% โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 59.42% และงานระบบรถไฟฟ้าคืบหน้ากว่า 52.94%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2020 3:35 am    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างทางวิ่งสายสีเหลืองจะวิ่งลอดใต้โครงสร้าง Airport Rail Link จากนั้นจะยกขึ้นเข้าสู่สถานี ก่อนจะยกข้ามสะพานข้ามแยกพัฒนาการ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3141147902598800&set=a.2048582948521973&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2020 10:28 am    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส” โต้ยื้อเจรจา “สีเหลืองต่อขยาย” ชี้ไม่มีหน้าที่ชดเชย BEM
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 13:42
ปรับปรุง: พุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 16:58

BTS โต้ปมยื้อเจรจาขยายสายสีเหลืองเชื่อมสีเขียวที่แยกรัชโยธิน ยันไม่มีหน้าที่ชดเชยผลกระทบให้ BEM ชี้ รฟม.ต้องพิจารณาเอง ยันพร้อมลงทุน 100% เพื่อประโยชน์ประชาชน หากผู้โดยสารเกินเป้าต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม.เพิ่มอยู่แล้ว

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการระบุว่าการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธินยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากติดปัญหาที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังติดการเจรจากับ EBM เรื่องการชดเชยให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT กรณีที่การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่งผลกระทบต่อรายได้และผู้โดยสารของ MRT สายสีน้ำเงิน

ซึ่งยืนยันว่าการเสนอต่อขยายสายสีเหลืองไปอีก 2.6 กม. จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปตามถนนรัชดาภิเษกซึ่งจะทำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 นั้นมีค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัท EBM เป็นผู้ลงทุนทั้ง 100% เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีทางเลือกเพิ่ม เป็นประโยชน์แก่ทุกคน เพราะในทางกลับกัน สายสีเหลืองจะเชื่อมคนจากสายสีเขียวไปยังรถไฟฟ้า MRT ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ กรณีที่คาดว่าการขยายสายสีเหลืองจะทำให้ผู้โดยสารของ MRT ลดลง เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ตัวเลขที่เกิดจริงในอนาคต แต่การที่จะให้บริษัทยอมรับในการชดเชยผลกระทบดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำได้ โดยในวันนี้ (24 มิ.ย.) บอร์ดบริษัท EBM จะประชุมในเรื่องนี้และจะเร่งทำหนังสือถึงรฟม.ทันที

โดยจะยืนยันกับ รฟม.ว่าบริษัทฯ พร้อมลงทุนส่วนต่อขยายเองทั้งหมด 100% และพร้อมแบ่งรายได้เพิ่มให้รฟม.กรณีที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่กำหนดส่วนแบ่งให้ รฟม.เพิ่ม

“ก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้เคยตอบไปแล้ว แต่ รฟม.ให้บริษัททบทวนเพื่อยืนยันการชดเชยกรณี BEM ได้รับผลกระทบ ซึ่งเราจะยืนยันกลับไปว่าทำไม่ได้เพราะบริษัทไม่ได้เป็นคู่สัญญากับ BEM ดังนั้นเป็นหน้าที่ของ รฟม.ในฐานะคู่สัญญาของ BEM จะต้องพิจารณา” นายสุรพงษ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถยุติเรื่องนี้ได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไม่สามารถก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองได้นั้น นายสุรพงษ์กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่ รฟม.ตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นเอกชน การเสนอลงทุนไปเพราะมองว่าประชาชนได้ประโยชน์ หากไม่ได้สร้างก็ไม่เป็นไร

ด้านนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้ถือหุ้นบริษัท EBM กล่าวว่า การที่ BEM ระบุว่าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายแย่งผู้โดยสาร MRT สีน้ำเงินนั้น อยากให้มองว่าหากสีเหลืองมีผู้โดยสารเพิ่มสูงกว่าประมาณการ บริษัทฯ มีหน้าที่แบ่งรายได้ให้ รฟม.เพิ่ม ส่วนผลกระทบของ BEM รฟม.ต้องพิจารณาว่าจะชดเชยอย่างไร การที่บอกว่า รฟม.คุยกับบริษัทไม่รู้เรื่อง แต่คุยกับ BEM รู้เรื่องจึงไม่เป็นธรรมต่อบริษัทฯ อย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2020 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ศึก BTS หัก BEM
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
พุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 21:05 น.

BTS ประกาศชัดไม่รับชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสายสีน้ำเงินหรือ BEM ได้ ยืนยันพร้อมลงทุนส่วนต่อขยายสายสีเหลือง 100 % และแบ่งรายได้ให้ รฟม.

จากกรณีที่มีการระบุว่าการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าวถึงแยกรัชโยธินยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากติดปัญหาที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังติดการเจรจากับ EBM เรื่องการชดเชยให้ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT กรณีที่การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่งผลกระทบต่อรายได้และผู้โดยสารของ MRT สายสีน้ำเงิน


นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ได้เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีนี้ว่า ขอยืนยันว่าการเสนอต่อขยายสายสีเหลืองไปอีก 2.6 กม.จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปตามถนนรัชดาภิเษก ซึ่งจะทำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 นั้นมีค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัท EBM เป็นผู้ลงทุนทั้ง 100% เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีทางเลือกเพิ่ม เป็นประโยชน์กับทุกคน เพราะในทางกลับกันสายสีเหลืองจะเชื่อมผู้โดยสารจากสายสีเขียวไปยัง MRT ได้อีกด้วย

"การที่คาดว่าการขยายสายสีเหลืองจะทำให้ผู้โดยสารของ MRT ลดลง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ตัวเลขจริงกันต่อไป แต่การที่จะให้บริษัทยอมรับในการชดเชยผลกระทบดังกล่าว ไม่สามารถทำได้ "



นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ (24 มิ.ย.) บริษัท EBM ได้ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้และจะเร่งทำหนังสือถึง รฟม.ทันที โดยยืนยัน กับรฟม.ว่าบริษัทพร้อมลงทุนส่วนต่อขยายเองทั้งหมด 100% และพร้อมแบ่งรายได้เพิ่มให้ รฟม.กรณีที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่กำหนดส่วนแบ่งให้ รฟม.เพิ่มสูงกว่าที่ตกลงกันไว้ แต่ไม่สามารถรับภาระชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสายสีน้ำเงินได้

หากไม่สามารถยุติเรื่องนี้ได้ และส่งผลให้ไม่สามารถก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองได้นั้น เรื่องนี้อยู่ที่รฟม.ตัดสินใจ บริษัทในฐานะที่เป็นเอกชนได้เสนอลงทุนไปเพราะมองว่า ประชาชนได้ประโยชน์ หากไม่ได้สร้างก็ไม่เป็นไร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2020 2:47 am    Post subject: Reply with quote

“รถไฟฟ้า”มา ปั้น“บางกะปิ” เมืองทันสมัย
เสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 เวลา 12:42 น.

“รถไฟฟ้า” 2สาย สีเหลือง-ส้ม มา “ นิด้า –กทม. –การเคหะ ฯ” ปั้นเมือง“บางกะปิ” ย่านทันสมัยน่าอยู่ ตามแผนพัฒนาเมือง โครงการ Bangkapi Smart District


“บางกะปิ “ ชุมชนเก่าแก่โซนตะวันออกกรุงเทพมหานคร ถูกพลิกโฉมตามความเจริญจากรถไฟฟ้า เชื่อมโยงพื้นที่ถึง 2เส้นทาง ได้แก่ สายสีเหลือง วิ่งมาตามเส้นทางถนนลาดพร้าว ผ่านแยกบางกะปิตัดกับสายสีส้มตะวันออก บริเวณ สถานีร่วม ลำสาลี จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารสำคัญที่โอบล้อม ด้วยห้างสรรพสินค้า ร้านรวงอาคารพาณิชย์ โครงการคอนโดมิเนียม สลับกับ เจ้าถิ่นแฟลตคลองจั่น ของการเคหะแห่งชาติ ตั้งอยู่บนทำเลทองที่น่าจับตา และถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง

แหล่งข่าวจากการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า ทันทีที่ความเจริญผ่านเข้าพื้นที่ ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น ล่าสุด การเคหะฯได้ทำความเข้าใจให้กับชาวชุมชนเคหะชุมชนคลองจั่น ถึงแผนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน และแนวคิดการพัฒนาชุมชนภายใต้โครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” ที่ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชาวบางกะปิ



เมื่อเร็วๆ นี้ การเคหะแห่งชาติได้จัดการประชุมชี้แจงแผนพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชนคลองจั่น และแผนการพัฒนาโครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” โดยมี ผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนจากนิติบุคคลอาคารแฟลต 1 – 30 โครงการเคหะชุมชนคลองจั่น และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ห้องอเนกประสงค์ มูลนิธิสยาม รวมใจ (ปู่อินทร์) บริเวณโครงการเคหะชุมชนคลองจั่น เพื่อชี้แจงถึงแผนการพัฒนาโครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้รับเชิญจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และกรุงเทพมหานครที่ได้ทำการศึกษาพื้นที่บริเวณโดยรอบของย่านบางกะปิ เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาชุมชนให้พร้อมรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต รวมถึงยังได้ฟังความคิดเห็นของชาวชุมชนที่มีต่อแผนพัฒนาดังกล่าว รวมถึงยังได้ตอบประเด็นสงสัยของชาวชุมชนในประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชาวชุมชน รวมถึงยังได้เน้นย้ำกับตัวแทนชาวชุมชนว่าการดำเนินโครงการใดๆ ของการเคหะแห่งชาติในปัจจุบันหรืออนาคต ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวมจะต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนเสมอ เพื่อให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2020 11:54 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม 960 ล้านบูม “บางกะปิ” ผุด “สกายวอล์ก” เชื่อมห้าง-รถไฟฟ้า-ท่าเรือ
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 มิถุนายน 2563 - 18:10 น.


เริ่มปฏิบัติการรื้อ “สะพานข้ามแยกบางกะปิ” ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2563 ตามแผนใช้เวลาดำเนินการ 24 เดือน หรือไม่เกินปลายปี 2564 จะแล้วเสร็จ

การทุบสร้างใหม่ในครั้งนี้ เพื่อเคลียร์จุดทับซ้อนบริเวณหน้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ เปิดทางวางตอม่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วง “ลาดพร้าว-สำโรง” ตามแบบที่ “บจ.อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล” ของกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป ผู้รับสัมปทานออกแบบไว้

พร้อมดำเนินการตามข้อตกลงของ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ที่ให้ทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ เนื่องจากสะพานผ่านการใช้งานมานานแล้ว ขณะที่ “กทม.” เตรียมจะสร้างทางเดินลอยฟ้าหรือสกายวอล์กเชื่อมการเดินทางในย่านบางกะปิ

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กทม.อยู่ระหว่างของบประมาณจากสภา กทม. จำนวน 960 ล้านบาท ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมแยกบางกะปิกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสถานีลำสาลี นิด้าและศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ


“รอสภาอนุมัติงบประมาณ ตามแผนจะสร้างให้เสร็จเปิดใช้พร้อมกับสะพานและรถไฟฟ้าในปี 2564”

ความเคลื่อนไหวอีกด้านหนึ่ง “กทม.” ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ย่านบางกะปิ เตรียมพร้อมดำเนินโครงการ “บางกะปิบ้านเรา 3 L” เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบขนส่ง “รถ-ราง-เรือ”

โดยเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ศักดิ์ชัย บุญมา” รองผู้ว่าฯ กทม.ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานของ กทม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าฯ ห้างน้อมจิตต์บางกะปิ กลุ่มผู้นำชุมชนบางกะปิ ร่วมกันเดินหน้าโครงการ

จะพัฒนาพื้นที่ย่านบางกะปิ เชื่อมโยงพื้นที่ตลอดแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มตั้งแต่ช่วงถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง และถนนศรีนครินทร์ มีชุมชนบางกะปิเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อในพื้นที่บริเวณริมคลองแสนแสบ

รูปแบบจะก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าบริเวณแยกบางกะปิระยะทาง 1,400 เมตร เชื่อมต่อระหว่างสายสีเหลืองที่สถานีรถไฟฟ้าบางกะปิ ไปจนถึงวัดศรีบุญเรือง รวมถึงปรับปรุงเกาะกลางถนน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

แต่ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพของพื้นที่ ปัจจุบันมีทางเท้าสาธารณะที่มีลักษณะแคบมาก ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าฯ และภาคเอกชนในพื้นที่ย่านบางกะปิ เตรียมหารือแนวทางการบริจาคที่ดิน เพื่อให้โครงการก่อสร้าง ทางเดินลอยฟ้า สามารถเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2020 11:19 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อขยาย "สีเหลือง" BTS ปะทุ รฟม. จ่อหย่าศึกชดเชย BEM
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:40 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,588 วันที่ 2-4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จับตา รฟม. หย่าศึก ส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ต้องควักค่าชดเชย รายได้-ผู้โดยสารหาย ให้ บีอีเอ็ม สายสีน้ำเงิน ทดแทน หากไฟเขียวบีทีเอสก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว-รัชดาฯถึงพหลโยธิน ของบีทีเอสกรุ๊ป แม้มีระยะทางสั้นๆเพียง 2.6 กิโลเมตร แต่ผลกระทบรุนแรงไม่เบา สำหรับ MRT สายสีน้ำเงิน ที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เดินรถ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงกรณีการต่อขยายสายสีเหลืองที่บีทีเอสเสนอมานั้น ขณะนี้ยังให้ข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างบีทีเอสและ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ว่าจะดำเนินการกันอย่างไร ทั้งนี้อยากให้การเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายจบเร็วที่สุด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 ฝ่ายถึงประเด็นการเจรจาที่ รฟม.ให้กลับไปพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้ง

“จากผลการศึกษาถึงการเจรจาส่วนต่อขยายสายสีเหลือง พบว่า BEM มีส่วนได้รับผลกระทบด้านรายได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเรา ไม่สามารถตอบได้ว่า BEM ได้รับผลกระทบเท่าไร เนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย”

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ระบุว่า BEM ได้รับผลกระทบ กรณีส่วนต่อขยายสายสีเหลือง เพราะผู้โดยสาร ไม่ได้เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินแต่จะ วิ่งไปเชื่อมกับ บีทีเอส สายสีเขียวโดยตรงที่พหลโยธิน อย่างไรก็ตาม หาก เป็นเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และผู้โดยสาร ลดลง ทางออก เชื่อว่า รฟม. น่าจะชดเชย หากเกิดการแข่งขัน แย่งชิงผู้โดยสาร ไม่เป็นไปตามสัญญาที่ระบุไว้ เดิม

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮสดิ้ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เปิดเผยว่า ถึงกรณีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธินที่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้น เนื่องจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังติดการเจรจากับ EBM เรื่องการชดเชยให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT กรณีที่การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่งผล กระทบต่อรายได้และผู้โดยสารของ MRT สายสีน้ำเงิน ขณะนี้ทางบีทีเอส ยืนยันว่าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 2.6 กม. จากสถานีลาดพร้าว-รัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธินของรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะเป็น ผู้ดำเนินการลงทุนเองเต็ม 100% ซึ่งมีค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนสะดวกในการเดินทางมากขึ้น

“เราดำเนินการลงทุนเองทั้งหมด โดยที่รฟม.ไม่ต้องลงทุน เพราะเราต้องการให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางและสามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันเราเข้าใจว่า BEM ไม่เห็นด้วย เพราะจะกระทบต่อรายได้ รวมถึงจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงของ MRT แต่เราอยากให้มองถึงข้อเสนอนี้ หากสามารถดำเนินการได้ รฟม.จะได้ส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อถึงจุดที่กำหนดส่วนแบ่งแก่ รฟม. กรณีที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น”

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา รฟม.เคยให้บีทีเอสพิจารณาทบทวนถึงการต่อขยายสายสีเหลือง ที่จะต้องชดเชยให้แก่ BEM หากได้รับ ผลกระทบ ซึ่งบีทีเอสเคยให้คำตอบแล้วว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้เป็นคู่สัญญาของ BEM ซึ่งเป็นหน้าที่ของ รฟม.ที่จะพิจารณาในฐานะที่เป็นคู่สัญญา หากข้อเสนอนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ไม่เป็นไร เพราะประโยชน์ในครั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการ

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้ถือหุ้นบริษัท EBM กล่าวว่า ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองอาจทำให้ BEM ได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้โดยสารลดลงในอนาคต นั้น ไม่อยากให้มองตรงนั้น แต่อยากให้มองว่าหากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ทางบริษัทต้องแบ่งรายได้แก่ รฟม.อยู่แล้ว ส่วน จะดำเนินการชดเชยแก่ BEM อย่างไร ขึ้นอยู่ รฟม.เป็น ผู้พิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 64, 65, 66  Next
Page 15 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©