RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179954
ทั้งหมด:13491186
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 160, 161, 162 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2020 7:27 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เดินหน้าแก้แหล่งเสื่อมโทรมภายในที่ดินรถไฟ
สำนักข่าวไทย 24 มิ.ย. 2020 14:27:00

กรุงเทพฯ 24 มิ.ย.- การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาจราจร ปัญหาอาชญากรรม และแหล่งเสื่อมโทรมภายในพื้นที่ พร้อมร่วมมือกับ ปตท. จัดทำโครงการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผู้บุกรุก บริหารจัดการ และจัดระเบียบการใช้พื้นที่ บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 นิคมรถไฟมักกะสัน บางชื่อ และจิตรลดา เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฯ ได้เริ่มดำเนินการเข้าปรับปรุงพื้นที่ของการรถไฟฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนรถไฟ และสังคมส่วนรวมให้ได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาด้านการจราจร ปัญหาอาชญากรรม การเกิดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาด้านสาธารณสุข ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่

ส่วนของการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังและปัญหาจราจร การรถไฟฯ ได้เริ่มโครงการขุดลอกแก้มลิงและระบบระบายน้ำภายในชุมชนรถไฟ บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ไปแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบนถนนวิภาวดีรังสิต และในพื้นที่เขตจตุจักร โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่กองพลพัฒนาที่ 1 กองทัพบก ในการถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางทางระบายน้ำ การกำจัดวัชพืช ทำทางลำลองเข้าพื้นที่ และการขุดลอกบ่อรองรับน้ำ

“จากการดำเนินการขุดลอกแก้มลิงฯ ในพื้นที่บ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 พบว่าช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตได้เป็นอย่างดี โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเขตกรุงเทพฯได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนนูรีและมีฝนตกชุกหลายวัน โครงการแก้มลิงฯ บ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 สามารถช่วยรองรับการระบายมวลน้ำจากเขตจตุจักรและถนนวิภาวดีรังสิตเข้าพื้นที่ได้ปริมาณมาก จนไม่เกิดน้ำท่วมขังบนถนนวิภาวดีฯตลอดสายตั้งแต่เขตดินแดงจนถึงสนามบินดอนเมือง” นายสมยุทธิ์กล่าว

นายสมยุทธิ์ กล่าวอีกว่า โครงการขุดลอกแก้มลิงในพื้นที่บ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 การรถไฟฯ ต้องการนำที่ดินของรฟท.มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม รวมทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และกองอำนวยการน้ำแห่งชาติที่ต้องการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังบนถนนสายหลักของกรุงเทพฯในช่วงฤดูฝน โดยการรถไฟฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถขุดลอกบ่อโครงการแก้มลิงฯ จำนวน 2 บ่อให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งสามารถรองรับการระบายน้ำได้สูงสุดถึง 157,001 ลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้ รฟท.ยังร่วมมือกับชุมชนในการเข้าพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกันปรับปรุงพื้นที่ภายในตลาดบริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย พร้อมกับรณรงค์ให้ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และภายในเร็วๆนี้ รฟท.ยังมีแผนยกระดับคุณภาพชีวิตของคนรถไฟ และชาวกรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการปลูกป่าบริเวณโดยรอบพื้นที่แก้มลิง เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวเป็นปอดแห่งใหม่ของชาวกรุงเทพฯ อีกด้วย-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2020 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.เดินหน้าแก้แหล่งเสื่อมโทรมภายในที่ดินรถไฟ
สำนักข่าวไทย 24 มิ.ย. 2020 14:27:00


เมิ่อวันที่ 22 มิ ย 63 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ลงพื้นที่ กม.11 มอบเครื่องดื่มขอบคุณทหารที่เข้ามาร่วมปรับปรุงพี้นที่นิคมรถไฟ กม.11 โดยการนำกำลังทหาร และเครื่องมือหนักเข้ามาขุดช่องทางระบายน้ำ และปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบนิคมรถไฟ กม.11 ซึ่งขณะนี้เข้าช่วงหน้าฝนอาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังดังเช่นที่ผ่านมา
....หลังจากนั้น ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ลงตรวจเยี่ยมให้กำลังใจคณะทำงานฯ และดูความคืบหน้าการปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเป็นรูปธรรม จากครั้งแรกที่ลงพื้นที่ภาพรวมดูเสื่อมโทรม แต่ปัจจุบันเริ่มปรับปรุงดีขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณคณะทำงานฯ ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเข้าจัดระเบียบพื้นที่ รวมทั้ง พนักงานรถไฟที่ยอมเสียสละรื้อโรงจอดรถยนต์ และสิ่งต่อเติมที่ผิดระเบียบ เพื่อประโยขน์ส่วนรวมของสังคมรถไฟ

ผู้ว่าการรถไฟฯ ขอฝากให้พนักงานรถไฟทุกคนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นิคมรถไฟ กม.11 ต้องช่วยกันปรับปรุงดูแลพื้นที่ให้เกิดความเป็นระเบียบ สวยงาม เนื่องจากการรถไฟฯ มีการปล่อยปะละเลยมานาน ทำให้เกิดปัญหาผู้บุกรุกเข้ามาสร้างที่พักอาศัยอย่างไม่ถูกต้อง และนำมาซึ่งปัญหายาเสพติด และยังมีการสร้างที่พักอาศัยกีดขวางช่องทางระบายน้ำ ทั้งนี้ ขอให้เข้าใจว่าผู้ว่าการรถไฟฯ ดำเนินการไปทั้งหมดก็เพื่อต้องการพัฒนาปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพนักงานรถไฟ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3151020928278164&set=a.3033691060011152&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2020 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อสัญญาเช่าที่ดิน 3 ตระกูล เขย่าทำเล RCA ล้างหนี้รถไฟ
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 14:15 น.

“ศักดิ์สยาม” ลุยจัดระเบียบที่ดินรถไฟ เร่งสร้างรายได้ปลดหนี้ 1.67 แสนล้าน บอร์ดใหญ่ไล่เช็กบิลตระกูลดัง “โสภณพนิช-จิราธิวัฒน์-ภิรมย์ภักดี” สั่งเปิดประมูลใหม่โรงแรมหัวหิน 70 ไร่ เขย่าอาร์ซีเอ 62 ไร่อาณาจักรเครือแบงก์กรุงเทพ รื้อผลตอบแทน ก.ค.นี้ชี้ชะตาสนามกอล์ฟเบียร์สิงห์ 500 ไร่

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ได้รับมอบนโยบายจากนายศักดิ์สยามชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 234,976 ไร่ทั่วประเทศ เพื่อหารายได้ล้างหนี้สะสม 1.67 แสนล้านบาท จากปัจจุบันมีรายได้จากการพัฒนาที่ดินแค่ 3,000 ล้านบาทต่อปี

เขย่าที่เช่า 6 พันสัญญา
ที่ดินเชิงพาณิชย์มี 6,042 สัญญา มูลค่า 2,858 ล้านบาท เป็นอาคาร 3,106 สัญญา ค่าเช่า 260 ล้านบาท ที่ดิน 2,936 สัญญา ค่าเช่า 2,597 ล้านบาทแยกเป็นสัญญาต่ำกว่า 1 แสนบาท มี 5,315 สัญญา ตั้งแต่ 1 แสนบาท-1 ล้านบาท มี 532 สัญญา และ 1 ล้านบาทขึ้นไป มี 195 สัญญา ที่ต่อสัญญาแล้ว 4,739 ราย ส่วน 1,303 สัญญายังไม่ได้ต่อระยะสั้นจะเร่งพื้นที่กรุงเทพฯ 124 แปลงแนวถนนรัชดาภิเษก ย่านพหลโยธิน จตุจักร ตลาด อ.ต.ก.บริเวณหัวมุม 21 แปลง สถานีแม่น้ำ 271 ไร่ ที่ดิน RCA จะหมดสัญญาปี 2565 ต้องคิดค่าเช่าใหม่

“ที่มูลค่าสูงใกล้หมดสัญญาปี 2563-2565 เช่น ริมถนนราชปรารภ ถนนเทิดพระเกียรติ ย่านสถานีแม่น้ำ ถนนพหลโยธินถนนรัชดาภิเษก ตลาดศรีสมรัตน์ แปลงวิเศษสถาปัตย์ ซึ่งต้องเร่งทำโดยเร็ว”

ประมูลใหม่โรงแรมหัวหิน
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า บอร์ดสั่งให้เปลี่ยนวิธีบริหารจัดการใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะมีบริษัทลูก บจ.บริหารสินทรัพย์ที่มีมืออาชีพมาบริหารอสังหาริมทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้

“ขณะนี้กำลังรีวิวผลศึกษาโรงแรมหัวหินช่วงต่อสัญญาชั่วคราว 2 ปี ข้อมูลเดิมใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเปิดประมูลใหม่ ไม่ใช่ต่อสัญญาแบบเดิม จะเป็นรายใหม่หรือรายเก่าก็อยู่ที่ผลประโยชน์ตอบแทน สัญญาเช่าจะอยู่ที่ 30 ปี ถ้าลงทุนสูงอาจจะ 50 ปีเหมือนอีอีซี ต้องดูกฎหมายก่อนว่าทำได้หรือไม่”

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า การสร้างรายได้ที่เร็วสุดคือการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ในมือ ระยะสั้นจะดูสัญญาเช่า 1 หมื่นสัญญา เพื่อเจรจาใหม่ รวมถึงนำที่ดินที่ยังไม่เคยให้เช่ามาเปิดประมูลด้วย

ดึงรายใหม่แข่งเซ็นทรัล
ล่าสุด กำลังศึกษารูปแบบที่ดินโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน ของกลุ่มเซ็นทรัล เพราะศักยภาพเปลี่ยนไปหมดแล้ว ปัจจุบันเป็นทำเลพรีเมี่ยมของหัวหินที่ติดทะเลและตลาดหัวหิน ซึ่งวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา บอร์ดขยายสัญญาเช่าให้ 2 ปี (พ.ค. 2563-พ.ค. 2565) โดย ร.ฟ.ท.ได้ค่าเช่าปีละ 108 ล้านบาท เผอิญเกิดโควิด-19 จึงลดค่าเช่าให้ 50% ถึงเดือน ก.ย.นี้


แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ที่ดินโรงแรมเซ็นทรัลหัวหิน สัญญาสิ้นสุด 15 พ.ค. 2562 บอร์ดต่อให้ 1 ปี และต่อให้อีก 2 ปีเมื่อ 14 พ.ค. 2563-15 พ.ค. 2565 พอดีเกิดโควิด-19 ข้อเสนอของเซ็นทรัลยังพิจารณาไม่ครบ บอร์ดจึงนัดประชุมอีกครั้งเมื่อ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเซ็นทรัลขอต่อสัญญา 10 ปี 2 ครั้ง ลดค่าเช่า 50%แต่นโยบายใหม่ให้เปิดประมูล ซึ่งที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนรวมเป็นเงิน 8,927 ล้านบาท แยกค่าเช่ารวม 30 ปี ไม่ต่ำกว่า 5,727 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าเซ็นทรัลต้องลงทุน 3,200 ล้านบาท สร้างโรงแรมระดับ 3-4 ดาวเพิ่ม

“จะเอาผลศึกษาเดิมเป็นที่ตั้ง อยู่ที่เอกชนจะเสนอผลตอบแทนเท่าไร จริง ๆ ร.ฟ.ท.น่าจะมีรายได้มากกว่านี้ ซึ่งเซ็นทรัลอยากเจรจา ไม่อยากแข่งขัน เพราะไม่อยากจ่ายมากกว่านี้”

รื้อ RCA 62 ไร่
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาที่ดินบริเวณโครงการรอยัลซิตี้อเวนิว (RCA) ถนนพระราม 9 ตามแนวรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน ที่มี บจ.นารายณ์ร่วมพิพัฒน์เป็นผู้เช่า 3 แปลง ซึ่ง 2 แปลงจะหมดสัญญาแล้ว แต่บริษัทขอต่อสัญญาใหม่ 3 แปลงในเดือน ต.ค. 2565 และขอเจรจาต่อสัญญาเช่าอีก 20 ปี บอร์ดต้องคิดโมเดลพัฒนาและค่าเช่าใหม่ โดยคิดตามมูลค่าที่ดิน จากสัญญาเดิม 30 ปี ค่าเช่าถูกมาก ร.ฟ.ท.จึงเตรียมเปิดประมูลใหม่ให้มีการแข่งขัน โดยรวบที่เป็นแปลงเดียวรวม 62 ไร่ ไม่เกินเดือน พ.ย.นี้จะสรุปผลได้

“ที่แปลงนี้หน้าแคบแต่ยาวถึงสน.มักกะสัน ปัจจุบันทำเลอยู่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน มีศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 9 จะให้เป็นสภาพเดิมคงไม่คุ้ม” แหล่งข่าวกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บจ.นารายณ์ร่วมพิพัฒน์ จดทะเบียนเมื่อ 16 ต.ค. 2521 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาทให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ อาคารและที่ดิน กรรมการประกอบด้วย นายชาลี โสภณพนิช นายสงกรานต์ อิสสระ นายพิชัย นิธิวาสิน นายวิวัฒน์ สุทธิพงษ์ชัย นายสาธร ฉันท์เรืองวณิชย์ และนางสุชาดา ลีสวัสดิ์ตระกูล มี บจ.ซิตี้เรียลตี้ ของตระกูล “โสภณพนิช” ถือหุ้นใหญ่ 50.9842% ผลประกอบการมีกำไรทุกปี

ล่าสุดปี 2562 มีรายได้ 253.6 ล้านบาท กำไรสุทธิ 100.9 ล้านบาท จากการสำรวจทำเลอาร์ซีเอตลอดทาง 2 กม.เป็นอาคารพาณิชย์ให้เช่าเป็นสำนักงาน เช่น บมจ.กรุงเทพประกันชีวิตบมจ.ปูนซีเมนต์เอเชีย ออฟฟิศเมท ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร อาร์ซีเอพลาซ่าผับ บาร์ โดยให้เช่า 2-3 ปี มีปรับค่าเช่าเพิ่มทุกปี ส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าช่วงเป็นหลัก

อาณาจักรโสภณพนิช
โดยตระกูล “โสภณพนิช” ได้ซื้อที่ดินเพิ่มย่านพระราม 9 โดยเจาะทางเข้าอาร์ซีเอ มีโครงการคอนโดมิเนียมไอ-เฮ้าส์ อาร์ซีเอและไอบิซ่า ล่าสุดลงทุน2,600 ล้านบาท นำที่ดินหลังโรงพยาบาล

ปิยะเวท พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มีโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรีกรุงเทพ ซิตี้แคมปัส ขนาด 15 ไร่ เปิดเมื่อปี 2561 และมีโรงแรมมายเทรียณ์ ระดับ 4 ดาว สูง 16 ชั้น 230 ห้อง จะเปิดบริการเดือน ก.ย.นี้ และมายเทรียณ์ เรสซิเดนซ์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ให้เช่า 2 อาคาร สูง 14 ชั้น 219 ห้อง เปิดเมื่อปี 2562 รองรับย่านธุรกิจและรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) มีสถานี

จอดหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บจ.ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ กล่าวว่า ราคาประเมินที่ดินอาร์ซีเออยู่ที่ 53,000 บาท/ตร.ว. ราคาซื้อขายเฉลี่ย 2-3 แสนบาท/ตร.ว. หากคิดรวม 62 ไร่ มูลค่าที่น่าจะเกิน 2,500 ล้านบาท

รื้อสนามกอล์ฟเบียร์สิงห์
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทำเลต่อไปที่บอร์ดจะพิจารณาในเดือน ก.ค.นี้ คือที่ดินสนามกอล์ฟหัวหิน 500 ไร่ ที่ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่ ของตระกูล “ภิรมย์ภักดี”เช่าอยู่ สัญญาสิ้นสุดเมื่อปี 2558 รอต่อ

สัญญารอบใหม่ ซึ่งบริษัทจ่ายค่าเช่ารายปีเท่ากับปีสุดท้าย 476,000 บาท สัญญาใหม่จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินจะอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากเดิมมาก และจะต่อสัญญาให้ 30 ปี แต่เอกชนต้องลงทุนเพิ่มไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงสนามกอล์ฟ สร้างคลับเฮาส์ โรงแรมและพูลวิลล่า อีกแห่งคือโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง ของ บจ.โกลเด้นแอสเซ็ท สัญญาหมดปี 2564 มูลค่าทรัพย์สิน 700 ล้านบาท คาดว่าจะต่อให้ 20 ปี แต่เอกชนต้องลงทุนเพิ่ม 200 ล้านบาท ทั้งนี้อยู่ที่การพิจารณาของบอร์ดจะเห็นด้วยหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/06/2020 6:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รื้อสัญญาเช่าที่ดิน 3 ตระกูล เขย่าทำเล RCA ล้างหนี้รถไฟ
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 14:15 น.

นับถอยหลังถนนธุรกิจบันเทิงฤๅ 'RCA' จะเหลือแค่ตำนาน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ยังต้องลุ้นที่เช่าย่านกลางเมือง อย่าง "อาร์ซีเอ" หรือรอยัล ซิตี้ อเวนิว เนื้อที่ 62 ไร่ มี บจ.นารายณ์ร่วมพิพัฒน์ ของกลุ่มแบงก์กรุงเทพ เช่าระยะยาว 30 ปีจาก "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ใกล้จะสิ้นสุดสัญญาในเดือน ต.ค. 2565

รายเก่าจะได้ไปต่อหรือจะมีรายใหม่เข้ามาแทนที่ หลัง "ร.ฟ.ท." ยุคปัจจุบันการเจรจาพาทีไม่เหมือนเดิมอย่าง ที่ผ่าน ๆ มา

หลังมีผู้ว่าการคนใหม่ "นิรุฒ มณีพันธ์"ดีกรีนายแบงก์และมือกฎหมาย กำหนดเป็นนโยบาย ที่ดินทำเลมีศักยภาพ ทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ จะต้องศึกษาค่าเช่าให้เป็นปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้นต้องเปิดประมูลให้มีการแข่งขันให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้สูงสุด เพื่อปลดแอกหนี้ที่พุ่งทะยาน 1.67 แสนล้านบาท

ตอนนี้เริ่มรวบรวมสัญญาเช่าทั้งหมด มาแบบนโต๊ะ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีที่ดิน อาร์ซีเออยู่ในลิสต์ทำเลเด็ดด้วย ล่าสุด ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาประเมินมูลค่าที่ดิน ไม่เกินเดือน พ.ย.นี้จะเคาะว่าที่ดินอาร์ซีเอ ที่ตระกูลโสภณพนิชกอดสัญญาไว้ตลอด 30 ปี ปัจจุบันมูลค่าจะดีดขึ้นไป มากขนาดไหน

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สภาพพื้นที่อาร์ซีเอ ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยรอบมีการพัฒนาใหม่ ๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า อนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

"ค่าเช่าที่ประเมินไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้วกับตอนนี้ต้องต่างกันมากอย่างแน่นอน แต่อย่าให้บอกเลยที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ ค่าเช่าเท่าไหร่ เพราะต่ำมาก"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้บริษัท ทำหนังสือขอต่อสัญญาเช่าอีก 20 ปี ยังไม่รับพิจารณาเพราะต้องรอผลศึกษา และรอฟังนโยบายผู้บริหารด้วย จะให้เจรจารายเดิมต่อหรือไม่ เพราะนโยบายใหม่ต่อไปสัญญาเช่าที่ดินแปลงใหญ่ ต้องเปิดประมูลให้แข่งขันราคาเพื่อให้ได้ค่าเช่ามากที่สุด

ถึงแม้จะเหลือเวลาอีกกว่า 2 ปีจะสิ้นสุดสัญญาเช่า แต่ดูเหมือนที่ดินผืนนี้ยังมีความไม่แน่ไม่นอนสูงเช่นกัน จะได้ไปต่อ หรือต้องลงสนามแข่งกับ รายใหม่ ที่ประเมินกันว่าน่าจะมี ขาใหญ่เข้าคิวรอกันหลายราย ในเมื่อทำเลอยู่ใกล้ย่านซีบีดี

เว้นแต่ "กลุ่มแบงก์กรุงเทพ" ที่ปัจจุบันไปสร้างอาณาจักรย่าน อาร์ซีเอ-พระราม 9 ไว้อย่างอลังการ จะใจปายอมทุ่มเงินก้อนโตเพื่อให้ได้ครอบครองที่ดินแปลงนี้ต่อ

ปัจจุบันที่ดินอาร์ซีเอจาก "ถนนธุรกิจบันเทิง" เป็นแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นถนนเส้นเลือดใหญ่ต่อเชื่อมกับโครงการในพอร์ตกลุ่มแบงก์กรุงเทพ ที่ขยายการลงทุนไม่ขาดสายในละแวกนั้น ทั้งคอนโดมิเนียม โรงแรม และโรงเรียนนานาชาติ ให้เข้าออกได้สะดวก เพราะสามารถไปทะลุพระราม 9 และเพชรบุรีได้

โดยเก็บค่าใช้บริการใช้ถนนเป็น รายเดือนสำหรับลูกค้าในโครงการ ส่วนลูกค้าทั่วไปที่เข้ามาจะต้องเสียค่าจอดชั่วโมงแรก 10 บาท ชั่วโมงต่อไป 10 บาท หากประทับตราจอดฟรี 3 ชั่วโมง เกินจากนี้คิดเพิ่มชั่วโมงละ 10 บาท

ขณะที่การบริหารพื้นที่ ยังจัดโซนเหมือนเดิม ด้านหน้าเป็นโซนผับ บาร์ ร้านนั่งดื่ม ร้านอาหาร ที่ปักหลักอยู่มี "ROUTE66-โอลด์เล้ง" ก่อนจะมี โควิด-19 ลูกค้ามีทั้งต่างชาติและคนไทย ที่เข้ามาเที่ยว แต่พอเกิดโควิดเลยทำให้ปิดบริการ แต่ก็มีบางร้านปรับมาขายอาหารช่วงกลางวันแทน และมีบางร้านก็ปิดประกาศเซ้งด่วน

"อาร์ซีเอเงียบมาหลายปีแล้ว เหลือแต่ ร้านเก่า ๆ อย่าง ROUTE66 ที่อยู่มา นานมาก จะมีคึกคักบ้างวันเสาร์และอาทิตย์ เพราะคนเปลี่ยนไปเที่ยวที่อื่นหมด ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าทัวร์จีนที่มา ตรงดีซีแล้วมาเที่ยวต่อที่อาร์ซีเอ แต่ค่าเช่าก็ปรับทุกปีนะ" พนักงานในร้านโอลด์เล้งกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ถัดจากโซนกินดื่ม ซ้ายมือเป็นอาคารสำนักงานให้เช่า ที่มีทั้งลูกค้าเก่าที่ผูกสัญญามานานอย่าง บมจ.กรุงเทพประกันภัย บมจ.ปูนซีเมนต์เอเชีย ด้านขวามือจะเป็นร้านค้าขายข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขาหมู ร้านตำมั่ว ร้านสะดวกซื้อเซเว่นฯมี 2 สาขา กาแฟอเมซอน เคอรี่ฯ เป็นต้น

ตรงไปจะเป็นสำนักงานให้เช่า ร้านสตาร์บัคส์ ออฟฟิศเมท อาร์ซีเอพลาซ่ามีลักษณะเป็นอาคารเก่าขนาด 4 ชั้น ภายในมี ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ จากนั้นมีอาคารเก่าที่ปล่อยร้าง ก่อนถึงทางเข้าออกที่จะทะลุไปซอยศูนย์วิจัย มักกะสันและเพชรบุรี

จากการสอบถามสำนักงานโครงการระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่เช่ายังมีว่างอยู่พอสมควร เนื่องจากหมดสัญญาเช่าและย้ายออกไป โดยสัญญาเช่าเป็นระยะสั้น 2-3 ปี ค่าเช่า แต่ละโซนไม่เท่ากัน ซึ่งมีปรับค่าเช่าทุกปี นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนใหม่ เช่น โรงหนัง HOUSE ที่ย้ายออกไป ล่าสุดกลุ่มไทยไฟท์ได้มาเช่าพื้นที่แทน กำลังปรับปรุงเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มีสนามมวย และร้านอาหาร

เมื่อธุรกิจบันเทิงย่านนี้ถึงจะไม่ล้ม หายตายจาก แต่ก็ไม่ได้หอมหวนเหมือนอย่างที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้สูงที่ที่ดิน กลางเมืองผืนนี้จะพัฒนาโมเดลใหม่ ให้รับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ให้สม ประโยชน์ทั้งผู้เช่า-ผู้ให้เช่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2020 10:20 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
รื้อสัญญาเช่าที่ดิน 3 ตระกูล เขย่าทำเล RCA ล้างหนี้รถไฟ
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 14:15 น.

นับถอยหลังถนนธุรกิจบันเทิงฤๅ 'RCA' จะเหลือแค่ตำนาน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ:
นับถอยหลังถนนธุรกิจบันเทิง หรือ “RCA” จะเหลือแค่ตำนาน ?
ข่าว อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 มิถุนายน 2563 - 09:35 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2020 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

คณะทำงานเฉพาะกิจฯ ร.ฟ.ท. ร่วมกับตำรวจรถไฟ ติดตั้งป้ายประกาศ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บุกรุกที่ดิน 35 ไร่ ย่านบางซื่อ ซึ้งอยู่ในพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ให้เร่งออกจากพื้นที่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3168406459872944&set=a.3033691060011152&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 11:16 am    Post subject: Reply with quote

‘ผู้ว่ารถไฟฯ’ ตั้งโจทย์ 4 ปีในตำแหน่ง เร่งบริหารจัดการ-ปั้นรายได้จากที่ดินกว่า 2 หมื่นไร่ เล็งประเดิมพื้นที่สถานีใหญ่ ‘ขอนแก่น-โคราช’ วางเป้ารูปธรรมภายในปีนี้
2 กรกฎาคม 2563

“นิรุฒ” ผู้ว่ารถไฟฯ ลุยปั้นรายได้ที่ดินรถไฟ 2 หมื่นไร่ เล็งพื้นที่สถานีใหญ่ “ขอนแก่น-โคราช” วางเป้ารูปธรรมปีนี้ พร้อมเตรียมลงดาบผู้บุกรุกเขตทางรถไฟ เน้นย้ำความปลอดภัย จ่อถก “กรุงไทย” ผุดแอปจ่ายค่าเช่า หวังล้อมคอกเงินรั่วไหล
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่มาตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 นั้น ได้พบว่าการรถไฟฯ มีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์จากที่ดิน และนำมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมในการบริหารทรัพย์สินเพื่อเพิ่มมูลค่าในพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ จากที่ดินที่ รฟท. มีทั่วประเทศกว่า 240,000 ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่มีศักยภาพ ในเส้นทางภาคตะวันออกเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟนครราชสีมา

ทั้งนี้ การสร้างรายได้จากที่ดินของการรไฟฯ จึงเป็นโจทย์ที่ตนในฐานะผู้ว่าการรถไฟฯ 4 ปี ต้องเข้ามาบริหารจัดการ และจัดลำดับความสำคัญ เนื่องจากมีรายได้จากการเก็บค่าเช่าเพียงปีละ 2,000-3,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก โดยหลังจากนี้จะเข้าไปดูและปรับการบริหารจัดการทรัพย์สินให้เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมในปีนี้ ทั้งเรื่องการปรับค่าเช่าบางพื้นที่ ลดขั้นตอนการบริหารจัดการ เป็นต้น

นอกจากนั้น ในส่วนของพื้นที่บุกรุกตามเขตทางรถไฟ ยอมรับว่ามีหลายพื้นที่ที่มีการบุกรุก และมีการจ่ายค่าเช่าที่ไม่เข้ารถไฟโดยตรง ซึ่งตรงนี้ยอมรับว่า ไม่สามารถยอมได้ ดังนั้นต้องเข้าไปจัดระบียบ บริหารจัดการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมขึ้น จะมีการประสานกับธนาคารกรุงไทย เพื่อให้เข้ามาจัดระบบการจ่ายเงินค่าเช่าผ่านธนาคารหรือผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ผู้เช่าที่ พื้นที่ของรถไฟจ่ายค่าเช่าผ่านแอปพลิเคชั่นตรง ซึ่งส่วนนี้จะทำให้เงินไม่รั่วไหล โดยเรื่องนี้จะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เร็วๆ นี้

ในส่วนกรณีพื้นที่ตลาดที่อยู๋ตามเขตทางรถไฟนั้น นายนิรุฒ กล่าวว่า บางพื้นที่ต้องจัดระเบียบใหม่ โดยเฉพาะในเส้นทางวงเวียนใหญ่-มหาชัย-แม่กลอง และเส้นทางกาญจนบุรี เนื่องจากไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถไฟ เนื่องจากติดเขตทาง รางรถไฟ เช่น ตลาดคลองตัน ส่วนตลาดร่มหุบ แม่กลองนั้น ถือเป็นอันซีนเมืองไทยจะยังมีอยู่แต่จะเข้าไปจัดระเบียบให้เรียบร้อย แต่ยังคงต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3171572079556382&set=a.2805255826188011&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

“นิรุฒ”ลั่นยอมไม่ได้!!เคลียร์ผู้บุกรุกทุกพื้นที่ของรถไฟ
*จบแล้ว1ตลาด/คิวต่อไป”ตลาดร่มหุบ”
*ถกหนักวิถีชุมชนต้องคู่ความปลอดภัย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/photos/a.1879214052300104/2641795866041915/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2020 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

ถึงเวลาสะสาง"สมบัติชาติ" รฟท.ต้องกล้าลงดาบ"คนฮุบที่ดิน"
คอลัมน์ : สืบเสาะเจาะข่าว
โดย :  "ระฆังแก้ว"
อังคารที่ 7 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 น.

“การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)“ ถือว่าเผชิญภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ “รฟท.“ ก็ยังมีขุมทรัพย์สำคัญ ที่ช่วยสร้างรายได้ก็คือ”ที่ดิน”ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพียงแต่ว่า ยังไม่สามารถสร้างรายได้ให้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อันเนื่องมาจากปัญหาบางประการ



เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ออกมาแถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนรฟท. ว่า 2 เดือนที่ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่า รฟท. ได้ลงพื้นที่ดูงาน และตรวจเยี่ยมพนักงานทั่วประเทศ ทำให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินงาน และการบริหารทรัพย์สินของ รฟท.

รวมถึงปัญหาที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของประชาชน ที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของ รฟท. ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียกับ รฟท. และประชาชน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องจัดระเบียบกับผู้บุกรุกที่รุกล้ำเข้ามาทุกพื้นที่ของรฟท. ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไรไม่รู้ แต่ถ้าดูแล้วไม่ปลอดภัยกับประชาชน และเกิดความสูญเสียกับรฟท. จะไม่อะลุ้มอะล่วย และไม่ประนีประนอมแน่นอน เรื่องนี้ยอมไม่ได้จริงๆ




นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ขณะนี้สามารถจัดการพื้นที่ที่มีผู้บุกรุกได้สำเร็จแล้ว 1 พื้นที่คือ ตลาดคลองตัน ซึ่งอยู่บนทางรถไฟ เสี่ยงอันตรายมาก โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ  1 สัปดาห์  ส่วนตลาดต่อไปที่กำลังพิจารณาคือ ตลาดร่มหุบ จ.สมุทรสงคราม แต่เนื่องจากตลาดนี้เป็นแลนด์มาร์คของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก

จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก กำลังหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามว่าจะทำอย่างไร ให้ตลาดนี้ซึ่งเป็นวิถีชุมชนยังคงอยู่ต่อไป ควบคู่ไปกับเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตามตลาดร่มหุบ เป็นตลาดที่อยู่สถานีปลายทาง ซึ่งรถต้องชะลอก่อนเข้าถึงสถานีอยู่แล้ว จึงมีความปลอดภัยมากกว่า ไม่เหมือนกับตลาดคลองตันที่อยู่ระหว่างทาง ที่รถไฟต้องใช้ความเร็ว  

ขณะเดียวกันผู้บริหารรฟท. ยังกล่าวถึง ยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานมี 3 ด้าน หนึ่งในนั้น คือเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย จะมุ่งเน้นการสร้างรายได้ทั้งในธุรกิจหลัก อาทิ การขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก อาทิ ที่ดิน รฟท. เพื่อสร้างให้เกิดรายได้และประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้เรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่นั้น ได้มีนโยบายวางแนวทางการจัดระเบียบผู้เช่าให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน พร้อมทั้งระบุว่า สำหรับโครงการระยะเร่งด่วน ภายในปีนี้จะจัดระบบบริหารจัดการที่ดินให้มีรายได้มากขึ้น เพราะขณะนี้ที่ดินรถไฟกว่า 2 หมื่นไร่ แต่สร้างรายได้ให้แค่ 2-3 พันล้านบาทต่อปี



มีตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารายได้จากที่ดินของ รฟท. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะทำงานศึกษากำหนด ยุทธศาสตร์การบริหารพื้นที่และติดตามกำกับนโยบายจากการจัดการรายได้ จากทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของรฟท. ซึ่งมี “นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ( ขร ) เป็นประธานในการประชุม หนึ่งในวาระการประชุม มีการหารือในประเด็น จำนวนสัญญา ประเภทสัญญา และมูลค่าสัญญาของแปลงที่ดินของรฟท. โดยให้ รฟท. จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแปลงที่ดินต่างๆ พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการ

เพื่อให้สามารถจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของ รฟท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง “บริษัท ซัสเซส แพลน จำกัด “ เข้ามาเกี่ยวข้อง และสะท้อนความล้มเหลว ความไร้ประสิทธิภาพของรฟท. ในการจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงาน

บริษัท ซัสเซสฯ ได้สิทธิ์ในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินสถานีหัวหิน หรือ”หัวหินบาร์ซาร์” เนื้อที่ 2.34 ไร่ บริเวณทางลงชายหาดหัวหิน ถนนเรศดำริห์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากรฟท. หลังชนะการประกวดราคา แต่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น ขัดขวางการเข้าพัฒนาพื้นที่ จนต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา เสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย

ที่ดินสถานีหัวหิน หรือ”หัวหินบาร์ซาร์” เดิมรฟท.ให้เทศบาลหัวหินเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ตั้งแต่ปี 2526 โดยทางเทศบาลหัวหินได้สร้างอาคาร แบ่งเป็นห้องให้ผู้ประกอบการเช่าช่วงค้าขาย จนสัญญาเช่าสิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2546 รฟท.จึงได้บอกเลิกสัญญากับเทศบาลหัวหิน และให้ผู้ประกอบการ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายทรัพย์สิน ออกจากพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2546



ต่อมาวันที่ 26 มี.ค. 2553 รฟท.ประกาศเชิญชวน ให้ผู้สนใจเสนอโครงการพัฒนาที่ดินดังกล่าว เพื่อหารายได้นำไปพัฒนากิจการของรฟท. ซึ่งบริษัท ซัสเซสฯ เข้าร่วมประมูล และชนะการประกวดราคา โดยได้ทำกับรฟท. 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1.สัญญาเช่าที่ดินจากรฟท.เพื่อปลูกสร้างอาคาร มูลค่า 17.29 ล้านบาท มีกำหนดระยะ เวลาก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555 ถึง 31 ธ.ค. 2557 ซึ่งในสัญญาหากดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ตามกำหนดจะต้องถูกริบเงินประกัน และอาจถูกบอกเลิกสัญญาเช่าได้

ฉบับที่ 2.สัญญาเช่าเพื่อดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ มีกำหนดระยะเวลาเช่า 20 ปี หลังสร้างอาคารศูนย์การค้าแล้วเสร็จ เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 ถึง 31 ธ.ค. 2578 และต้องจ่ายค่าเช่าในปีแรก 1.49 ล้านบาท และต้องเพิ่มค่าเช่าร้อยละ 5 ของค่าเช่าเดือนสุดท้ายทุก 1 ปี

โดยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2554 บริษัท ซัสเซสฯได้ชำระค่าตอบแทนให้กับ รฟท.ทั้งค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมจัดผลประโยชน์ เป็นเงิน 10.37 ล้าน พร้อมกับวางหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร จำนวน 17.29 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2558 จ่ายค่าเช่า สำหรับปี 2556 และ 2557 อีก 1.87 ล้านบาท

รวมเป็นเงินที่บริษัท ซัสเซสฯ จ่ายให้รฟท.ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 12.24 ล้านบาท แต่ปัญหาคือ แม้บริษัท ซัสเซสฯ จะได้สิทธิ์ในการเข้าทำประโยชน์ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินใดๆ ในที่ดินดังกล่าวได้



เพราะนับตั้งแต่รฟท. มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า และแจ้งให้ผู้ประกอบการค้าในที่ดิน ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินตั้งแต่1 มิ.ย. 2546 จนบริษัท ซัสเซสฯชนะประมูล แต่ผู้ประกอบการทั้ง 27 ราย และหนึ่งในนั้น มี”นายมนตรี ชูภู่ “ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นถึง "รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองหัวหิน" เปิดร้านขายอาหารเครื่องดื่ม ร่วมกับผู้ค้ารายอื่นๆไม่ยอมรื้อถอนออกจากพื้นที่ ทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย และไม่เสียค่าเช่าแต่อย่างใด แถมยังพยายามร้องเรียนหน่วยงาน เพื่อประวิงเวลาไม่ยอมย้ายออก

โดยในปี 2553 นายมนตรี และพวก รวมตัวกันร้องเรียนสำนักนายกรัฐมนตรี /ร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี /ร้องเรียนต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และวันที่ 18 มิ.ย. 2553 ไปยื่นฟ้องรฟท.ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนประกาศ เชิญชวนเสนอโครงการพัฒนาที่ดินของ รฟท. และขอให้ยกเลิกการทำสัญญาระหว่างบริษัท ซัสเซสฯ กับรฟท. แต่ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง

หลังศาลพิพากษายกฟ้อง บริษัท ซัสเซสฯได้มีหนังสือแจ้งให้นายมนตรี และพวกขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน แต่นายมนตรีและพวกยังคงเพิกเฉย ทำมาค้าขายหากินกันต่อไป บริษัท ซัสเซสฯจึงยื่นฟ้องขับไล่”นายมนตรี” และพวก และเรียกค่าเสียหายจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน และต้องเสียโอกาสทางธุรกิจต่อศาลจังหวัดหัวหิน ในวันที่ 19 พ.ย. 2558 จนเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 นายมนตรีกับพวกยอมความ โดยขอประกอบกิจการในที่ดินต่อไปอีก 10 เดือน จนถึงวันที่ 3 เม.ย. 2561 เมื่อครบกำหนดแล้วจะย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน โดยในสัญญาประนีประนอมยอมความนายมนตรีและพวก จะได้สิทธิทำการค้าในศูนย์การค้าแห่งใหม่ เมื่อก่อสร้างศูนย์การค้าแล้วเสร็จ

แต่เมื่อครบกำหนดย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน”นายมนตรี” และ”พวก” ก็ยังไม่ยอม ยังคงประกอบกิจการแสวงหาผลประโยชน์กันต่อไป

ขณะเดียวกันก็ให้ ”นางสาวสมพิศ บุญนวน” หนึ่งในผู้ประกอบการร้านค้า ยื่นหนังสือถึง ”นายนพพร วุฒิกุล “ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน ลงวันที่ 18 พ.ค.2561 ขอให้เทศบาลเมืองหัวหินช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าหัวหินบาร์ซาร์ โดยอ้างว่าได้รับความเดือดร้อน และขอให้เทศบาลช่วยเหลือทำสัญญา เช่ากับรฟท.แล้วนำให้ผู้ค้าเช่าช่วง

ที่น่าแปลกใจคือ “นายนพพร วุฒิกุล “ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน รีบทำหนังสือถึงรฟท. ขอทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณอาคารหัวหินบาร์ซาร์ โดยอ้างว่าเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งหนังสือดังกล่าว ลงวันที่ 18 พ.ค. 2561 และเป็นวันเดียวกับที่นางสาวสมพิศ ยื่นถึงนายนพพร



เมื่อ”นายมนตรี”และพวก ไม่ยอมย้ายออกจากที่ดิน วันที่ 25 พ.ค. 2561 ศาลจังหวัดหัวหิน จึงต้องออกหมาย ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการขับไล่รื้อถอน โดยมีกำหนดจะนำหมายไปปิดประกาศในวันที่ 24 ส.ค. 2561

การดื้อแพ่งของ ”นายมนตรี” และพวก ที่พยายามประวิงเวลา กินเวลายืดเยื้อ ทำให้บริษัท ซัสเซสฯ ไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ ปลูกสร้างอาคาร ได้ภายใน 3 ปี ตามเงื่อนไขสัญญา จน รฟท.มีหนังสือ ลงวันที่ 11 มิ.ย. 2561 เรื่องริบเงินประกันสัญญา กรณีผิดเงื่อนไขสัญญาเช่า และหนังสือเรื่อง ขอให้ชำระเงินตามสัญญาหนังสือค้ำประกันของธนาคาร จำนวน 17.29 ล้านบาทด้วย

ทำให้”นายมนตรี”และพวก อาศัยหนังสือของรฟท. เรื่องริบเงินประกันสัญญา เป็นข้ออ้างว่าบริษัท ซัสเซส ฯ ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหัวหิน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีชั่วคราว ต่อมาวันที่ 8 ต.ค. 2561 ศาลจังหวัดหัวหิน เลื่อนการปิดประกาศขับไล่รื้อถอนออกไป จึงทำให้นายมนตรี และพวก ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินจนถึงปัจจุบัน และในเดือนส.ค. 2562 รฟท.ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับบริษัท ซัสเซสฯ

การเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในที่ดินสถานีหัวหิน หรือหัวหินบาร์ซาร์ โดยไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ของ ”นายมนตรี” และพวก และพยายามขัดขวาง บริษัท ซัสเซส ฯ ซึ่งมีสิทธิ์ชอบด้วยกฎหมาย จนไม่สามารถเข้าทำประโยชน์ใดๆ

ต่อไปหาก รฟท. จะนำที่ดินมาหาผลประโยชน์ เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาประมูล เพื่อหารายได้เข้าร.ฟ.ท. ถามว่า จะมีใครที่ไหนกล้ามาลงทุน หากต้องมาเจอกับผู้มากบารมีในท้องถิ่น ที่คอยจ้องขัดขวาง คนที่มาขัดผลประโยชน์ส่วนตนแบบนี้



เป็นคำตอบที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตอบคำถามให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะ”กระทรวงคมนาคม (คค. )” ในยุคที่มี “นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ “ เป็นรัฐมนตรว่าการฯ จะกล้าทำในสิ่งถูกต้องหรือไม่

................................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 11:42 am    Post subject: Reply with quote

"ส.ส.จักรพันธ์" วอน รฟท.ดูแลถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ หวั่นอันตรายต่อ ปชช.
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
พุธที่ 8 กรกฎาคม 2563 เวลา 22:46 น.


ส.ส.จักรพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ ขอ รฟท.เข้าไปดูแลถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ที่อยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยวดยานพาหนะ พร้อมขอให้ช่วยเหลือจัดหางบอุดหนุนให้กับศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ


เมื่อวันที่ 8 ก.ค.63 นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ หารือประธานสภา ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้พิจารณาดูแลรักษาถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ไปจนถึงเขตทวีวัฒนา ในพื้นที่ กทม. ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยวดยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไฟฟ้าส่องสว่างที่ชำรุดเสียหาย ผิวจราจร รวมทั้งช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ในหลายจุดทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดอันตรายแก่ผู้สัญจรไปมาทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งฝั่ง กทม.และฝั่งจังหวัดนนทบุรี โดยให้ รฟท.ได้ดำเนินการดูแลให้เรียบร้อย

พร้อมกันนี้ยังขอให้ กทม. ได้พิจารณาการก่อสร้างสะพานคนเดิน ระหว่างสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนบางขุนนนท์ ข้ามคลองบางกอกน้อย ไปยังบริเวณวัดนายโรง เขตบางกอกน้อย เพื่อเป็นการเปิดสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกายและพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวที่จะเชื่อมต่อริมคลองบางกอกน้อยทั้งสองฝั่ง

นอกจากนี้ ยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณางบประมาณอุดหนุนอาหารเสริมประเภทนมให้กับศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ซึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้มีคำสั่งใน กทม.ให้ศูนย์เด็กเล็กจัดหาอาหารกลางวันและนมให้กับเด็ก แต่ก็ยังพบปัญหาว่าศูนย์เด็กเล็กเหล่านั้น จำเป็นจะต้องหางบประมาณเพื่อจัดหาอาหารและนมให้กับเด็กด้วยตัวเอง จึงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือ หางบประมาณให้กับศูนย์เด็กเล็กอย่างเร่งด่วน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 160, 161, 162 ... 197, 198, 199  Next
Page 161 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©